Madame Bovary (Gustave Flaubert)

         
กุสตาฟ โฟลแบรต์ เป็นนักเขียนที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ริเร่ิมการเขียนนวนิยายในแนวเหมือนจิรงหรือสัจนิยม หลักสำคัญของวรรณกรรมแนวนี้คือการวางตัวเป้นกลางของผุ้แต่งโดยปล่อยให้ผุ้อ่านตัดสินและประเมินค่าตัวละครหรือเหตุการณ์ต่างๆด้วยตนเอง เอมิล โซลา นักเขียนชั้นนำของกลุ่มสัจนิยมถึงกับยบยกย่องให้นวนิยายเรื่องมาดามโบวารี ของโฟลแบรต์ให้เป็นแม่บทของนวนิยายในแนวนี้ มาในยุคปัจจุบัน นักวรรณคดีล้วนเห้ฯพ้องต้องกันว่าโฟลแบรต์คือนักเขียนผุ้บุกเบิกการเขชียนนวนิยายแนวใหม่โดยดูจากเทคนิคหลายๆ ประการที่เขาใช้ไม่ว่าจะเป้น วิธีการเขียนบทพรรณนาที่มีความหมารยกลมกลืนไปกับองค์ประกอบอื่นๆ ของนวนิยาย การเสนอตัวละครจากทรรศนะของตัวละครด้วยกันเอง วมไปถึงวิธีการตัดต่อเหตุการณ์และฉากต่างๆ วึ่งเป็นเทคนิคเดียวกับการตัดต่อภาพยนตร์
          นอกจากนี้ โฟลแบรต์ยังเป้นผุ้ที่ให้ความสำคัญกับการค้นคว้าหาข้อมูลพอๆ กับการเชียนอย่างประณีตบรรจง ตามปกติแล้วเขาจะใช้เวลาเขียนนวนิยายแต่ละเรื่อง นาน 4 ข-5 ปี หรือมากกว่านั้น นวนิยายแต่ละเรื่องของเขานอกจากจะมี
ความสมจริงแล้ว ถ้อยคำและสำนวนต่างๆ ที่เขาใช้ยังมีเสียงไพเราะเสนาะโสต มีความบรรสารกลมกลืน และมีจังหวะจะโคนที่ดีอีกด้วย ที่เป้นเช่นนี้ก็เรพาะสำหรับโฟลแตรต์แล้วหัวใตจของการสร้างสรรค์ความงามทางวรรณศิลป์นั้น อยุ่ที่ลีลาการเขียนเป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่น่าแปลงใจเลยที่นวนิยายหลายเรืองของเขาซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นนวนิยายที่ยิ่งใหญ่ของโลกวรรณกรรมตะวันตกนั้น เรียกวได้ว่ามีเนื่้อเรื่องที่ธรรมดาที่สุดในสมัยนั้น เช่น เรื่อง มาดามโบวารี ซึ่งมีเนื้อหารเกี่ยวกับประเด็นทางด้านชู้สาว หรือเกือบไม่มีเนื้อเรื่องเลย เช่น เรื่องบทเรียนชีวิต ซึ่งมีเนื้อเรื่องเพียงแค่ชีวิตของชายหนุ่มผุ้หนึ่งซึ่งรำลึกได้ในตอนอวสานว่าตนได้ประสบความล้มเหลวในชีวิต
            มาดามโบวารี เอ็มมา รูโอต์/เอ็มมา โบวารี ในสายตาชาย/ชู้
         
โฟรแบรต์ใชการเล่าเรื่องด้วยบุรุษที่ 3 และใช้เสียงผุ้เล่าที่มิได้เป็นตัวละครหนึ่งในนวนิยาย แต่ใช้มุมองการเล่าเรื่องผ่านาสายตาตัวละครผู้เล่าทอดเรื่องราวผ่านสายตาของชาร์ลส์สลับกับเอ์มมาเป้นหลัก
           การบรรยายอารมร์ของตัวละครเกคือเอ็มมา หรือบทพรรณนาฉากภายในบ้านของครอบครั้งโบวารี ฉากสถานที่ของเมือโตตส์และมืองยองวิล มีรายละเอดียดลึกซึ้งจนกระทั่งผุ้อ่านเข้าใจได้ ถึงความเบื่อหน่ายหดหู้ของเอ้ฒมาที่มีต่อสภาพแวดล้อมรอบกาย ตัวอย่าง เช่น โฟลแบรต์เปิดฉากแรกของบทที 1 ภาค 2 ด้วยบทพรรณนาภาพเมืองยองวิลจากระยะไกล เร่ิมจากบริเวณนอกเมืองแล้วเขาสู่ตัวเมือง แต่โผลแบรต์มิได้ใช้กลวิธีเดียวกันนี้ในการนำเสนอรูปลักษณ์ของตัวละครเอ็มมา ผุ้อ่านมิได้เห็นภาพของเอ็มมาอย่างละเอียดในข้อความแนะนำตัวละครเป็นเนื้อเดียวกันตั้เงแต่ต้นเรื่อง ผุ้อ่รนต้องเก็บรายละเอดียดที่ละน้อยด้วยตนเองแล้วนำมาประติดประต่อกัน ที่สำคัญคือโฟลแบรต์นำเสนอภาพเอ็มมาผ่านสายตาของตัวละครอื่นๆ ซึ่งเป็นชายที่เข้ามาอยู่ในแวดวงชีวิตของเธอโดยเฉาพะอย่างยิ่งด้านชู้สาว กลวิธีนำเสนอตัวละครหนึ่งผ่านสายตาของอีกตัวละครหนึ่งทำให้ผุ้ประพันธ์ถ่ายทอดความรู้สึกของตัวละครสู่ผู้อ่านได้อย่างแยบยล
          ตั้งแต่ครั้งังเป้นนางสาวเอ็มมา รูโอต์ ก่อนจะกลายเป็นมาดามโบวารี ตัวละครนี้เป็นศูนย์กลางการมองของตัวละครชายโฟลแบรต์เปิดตัวนางเอกของเรื่องด้วยการนำเสนอภาพตัวละครผ่านสายตาเจ้าหน้าที่สาธารณสุขชื่อชาร์ลส์ โบวารี ซึ่งถูกตามตัวมารักษาบิดาของเธอ เอ็มมามิได้ปรากฎตัวต่อสายตาผุ้อ่านทันที่อย่างเต็มตัวในการพบกันครั้งแรกของตัวละครทั้งสอง ในชั้นแรก ตามสายตาชของขชาร์ลส์ ผุ้อ่านเห็นเล็บมือที่ "เงางามปลายเรียบขัดสะอาดยิ่งกว่างาช้างจากเดียป"ของเอ็มมา ซึ่งชาร์ลส์ประทับใจมาก ล้วจึงมองเห็นภาพมือที่ "ไม่สวย" แต่ส่วนที่ชาร์ลส์มองห็นว่าสวยมากคือดวงตาสีน้ำตาลที่แลดูเป็นสีเข้มจัดเนื่องจากขนตาดกหนา ต่อจากนั้นผุ้อ่านมองเห็ฯภาพริฝีปากอ่ิมเต็มและลำคอระหง รวมทังแก้มแดงระเรื่อเป็นสีกุหลาบ โฟลแบรต์ทำให้ผุ้อ่านมองเห็นภาพสาวสวนเอ็มมาผ่านสายตาของชขาร์ลส์ แลฃะทำให้ผุ้อ่านล่วงรุ้ความในยใจของชาร์ลส์ที่นึกเปรียบเทียบเอ็มมากับภรรยาคนปัจจุบันของตนซึ่งเป็นหญิงม่ายมาก่อน อายุมากก่า และมีรูปฃลักษณ์ "ขีเหร่แห้งกระงลางเหมือนไม้ซากและเนื้อตัวอุดมไปด้วยดอกดวงราวกับฤดูใบไม้ผลิ  ด้วยเหตุนี้ ตามสายตาของชาร์ลส์ เอ็มมาย่อมเป็นาวน้อยโฉมงามทรงเสน่ห์ ภายหลังการแต่งงานของทั้งสอง ความงามของเอ็มมาผนวกความเย้ายวนย่ิงกลายเป็นเสน่ห์มัดใจชาร์ลส์ให้หลงไหลในตัวภรรยาสาวไม่เสื่อมคลาย "เช่นเดียวกับเมื่อแต่างงานกันใหม่ๆ ชาร์ลส์เห็นว่าเธองมหยดย้อยและมีเสน่ห์อย่างสุดที่จะต้านทานได้...
         
การที่ผลแบรต์ใช้เสียงผุ้เล่าที่มิใช้ตัวละคร เป็นกลวิธีซึ่งเอื้อให้ผุ้อ่นม่โอกาศล่วงรุ้ความรุ้สึกของโรดอล์ฟที่มีต่อเอ็มมา ผุ้อ่านได้ยินเสียงถ้อยคำในความคิดของโรดอล์ฟ และติดตามจินตนาการของตัวละครชายหนุ่มผุ้จัดเจนเชิงโลกีญื ที่โลดแล่นไปไกลถึงขนาดนึดวาดภาพร่างเปลื่อยเปล่าของเอ็มมา
          โอเมส์ เจ้าของร้านปรุงยาแห่งเมืองยองวิล กฃล่าวชมเอ้ฒมาเมื่อชาร์ลส์กำลังจะพาเธอไปชมละครที่เมืองรูอัง โฟลแบรต์ช้ภาษาภาพพจน์เพียงสั้นๆ ผ่านคำชมของโอเมส์ ว่่า "คุณงามราวกับงีนัส" ..การเปรียบเทียบเอ็มมากับวินัส กล่าวคือ วีนัสเป็นชื่อเรียกตาทเทพปกรณัมโรมันของเทวีแอโฟไดต์ ในเทพปกรณัมกรีก และเป็นเทพธิดาแห่งความงามแบบเย้ายวน ความปรารถนา และกามารมณ์ เมื่อแอโฟรไดต์ผุดขึ้นจากฟองสมุทรและถูกนำตัวไปยังภูเขาโอลิมปัสซึ่งเป็นที่สถิตแห่งทวยเทพ เอรอส หรือเทพแห่งความรัก และเทพฮิเมรอส หรือเทพแห่งความปรารถนา ได้ร่วมเดินทางไปด้วย นัยยะเชิงนิทานเปรียบเทียบ จากเทพปรกณัมกรีก-โรมัน ได้แก่ ความงาม ความรัก และความปรารถนา เป้นสิงที่ไ่อาจแยแยกจากกันได้ ... บางส่วนจาก บทความ มาดามโบวารี : เพศหญิง เพศชาย ความตาย ชายชู้ โดยวรุณีอุดมศิลป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)