อองซาน ซูจี ถูกควบคุมตัวอยู่ 15 ปี ระหว่างปี 1989-2010 เมื่อรัฐบาลทหาร(เปลี่ยนือจาก"สลอร์ค"ในปี 1997) จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2010 พรรคึ NLD มีมติบอยคอตการเลือกตั้ง เพราะมองว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรม แต่อย่างน้อยที่สุด หลังการเลือกตั้งปี 2010 และการขึ้นดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี เต็ง เส่ง จากพรรค USDP พม่าก็มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดี เร่ิมมีการแก้ไขกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกให้นักลงทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศแต่ในด้านการเมืองและการจัดการความขัดแย้ง รัฐบาลฃเต็ง เส่ง ยังอยู่ีภายใต้การควบคุมของกองทัพ ซึ่งยังมีนายพล ตาน ฉ่วย ควบคุมใอยู่ อิทธิพลของกองทัพพท่าเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดในการก้าวสู่คงวามเป็นประชาธิปไตย...เมื่อการเมืองของประชาชนฝากความหวังไว้ที่ NLD มาโดยตลอด NLD จึุงเป็นพรรคการเมืองในฝั่งประชธิปไตยเพียนงพรรคเดียวที่พอจะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ และประชาชนเอง แม้จะเป็นในพื้นที่ของพรรคกลุ่มชาติพันธุุ์ ก็พร้อมใจกันเลือก NLD เข้าไป เมื่อมีการเลือกตั้งในปี 2012 เพราะเชื่อว่า แตกต่างและจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้นได้จริง การขาดพรรคการเมืองทางเลือก..ทำให้การเมือิงพม่าเป็นอัมาพาตเมือเกิดวิกฤตกีับพรรค NLD และแนวโน้มในอนาคตคือกองทัพพท่าจะทำทุกวิถีทางเพื่อสกัดกั้นพรรค NLD...
บทบาทที่โดเด่นของ อูเต็ง เส่ง ต่อพัฒนาการทางการเมืองในพม่าที่กล่าวได้ว่าอยุ่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากการปกครองแบบเผด็จการทหาร มาเป็นประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แม้อิทธิพลของทหารหรือกรอบคิดเก่าจะไม่จางหายไปง่ายๆ
แม้ว่า เต็ง เส่งจะมีจากการแต่งตั้งโดยผู้นำทางการทหารและ เป็นทหารผู้มีอิทธิพล ลำดับ 4 ของประเทศซึ่งหนีไม่พ้นที่จะถูกกล่าวหาว่าสนับสนัุนเผด็จการทหาร แต่ผลงานที่เด่นชัดและคึวามตั้งใจตที่จะนำพม่าออกจากระบอบเผด็จการทหาร ซึ่งได้ เต็ง เส่งเป็นนักเจรจรต่อรองในหลายระดับ พม่าจึงดำเนินไปในทิศทางที่ดีร นายพลเต็ง เส่งมีท่าที่ที่ชัีดเจนและจริงจังกับคำพูด ที่จะยกเลิกระบบเก่าและสร้างสังคมใหม่ อีกทั้งบทบาทของนักปฏิรูป ของ เต็ง เส่ง เด่นชัีดมาก
ประธานาธิบดีเต็งเส่ง แห่ง พม่า แถลงทางวิทยุเมื่อวัีนที่ 2 มกราคม 2557 ว่าสนับสนุนก
ารแก้ไขรัฐธรรมนูญ
3 ม.ค.2557 สำนักข่าวอิระวดีรายงานว่าในการกล่าวสุนทรพจนร์ออกอากาศทางวิทยุประจำเดือนมกราคมของ ประธานาธิบดเต็งเส่งแห่งสาธารณรัีฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ หรือ ประเทศพม่า ประธานาธิบดีเต็ง เส่งกล่าวว่า "รัฐธรรมนูญที่มีความเหมาะสมนั้นจะต้องมีการแก้ไขเป็นระยะ เพื่อที่จะได้ตอบสนองความต้องการของชาติ เศรษฐกิจ และความจำเป็นทางสังคึามมขของพวกเรา
"ข้าพเจ้าไม่ต้องการให้มีข้อกำนดที่จำกัดสิทธิของพลเมืองไม่ว่าบุคคลใดก็ตามที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำประถเทศ" เขากล่าว "ในขณะเดียวกัน พวกเราต้องการมารตรการที่เหมาะสมเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติและอธิปไตย" (รัฐธรรมนูญแบับเก่าที่บัญญัติไว้มีผลทำให้ ออง ซาน ซูจี ซึ่งมีสามีถือสัญชาติอังกฤษ และบุตรสองคนถุือเป็นพลเมืองต่างชาติ ไม่สามารถขึ้นเป็นประธานธิบดีได้)
เต็ง เส่ง กล่าว่า เขาเชื่อว่ามีความจำเป็นในการแก้ไขรัฐธรรมานูญเพื่อความปรองดองแห่งชาติ นอกจากนี้เขายังต้องการทำสัญญาหยุดยิงทั่วประเทศกับกองทัพของกลุ่มชาติพันธุ์? หลังจากผ่านสงครามหลายทศวรรษ...และกล่าวว่า "การเจรจาทางการเมือง มีความจตำเป็นสำหรัีบกระบวนการปรองดองแห่งชาติ และเป็นรากฐานของกระบวนการสันติภาพแห่งชาติ ซึ่งความจำเป็นต้องแก้ไขหรือทบทืวนรัฐธรรมนูญ" ต่อข้อเรียกร้องของกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า เต็ง เส่งเตือนหากเรียกร้องจนเกิดรงรับ อาจเผชิญทางตัน จึงขอให้ทุกฝ่ายร่วมกันประคับประคอง "อย่างไรก็ตาม ข้พเจ้าอยากกล่าวว่า หากข้อเรียกร้องทางการเมืองขบองสาธารณะชนหญ่เกิดกว่าที่ระบบการเมืองปัจจุบันจะรองรับได้พวกเราก็จะเผชิญกับทางตคันทางการเมือง ถ้าสิ่งที่เกิดขึ้น เราก็จะเสียเสรีภาพทางการเมืองที่เราได้บรรลุมาไปทั้งหมด ข้าเจ้าอยากจะเตือนพวกเราทุกคนให้ช่วยกันประคับประคองสถานการณ์นี้ด้วสยความห่วงใยและใช้ภุมิปัญญา"
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของพม่า กำหนดให้ที่นัี่งในรัฐสภาพร้อยละ 25 ให้กับตัวแทนจากกองทัพ ขณะเดียวกันพม่าจะมีการเลือกตั้งทัี่วไปใน พ.ศ. 2558 ซึ่ง ออง ซาน ซูจีร แสดงความประสงค์ที่จะลงสมัครเป็นประธานธิบดี โดยเธอเคยกล่าวว่าพรรคอาจจะคว่ำบาตรการเลือกตั้งหากไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามล่าสุดพรรค NLDได้แถลงว่า จะลงชิงชัยการเลือกตั้งไม่ว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรอไม่ก็ตาม
ในการเลือกตั้งซ่อมปี 2555 ทำให้อองซาน ซูจีชนะเลือกตั้งได้เป็น ส.ส. นั้น พรรค NLD ชนะเลือกตั้ง 41 เขต จากทั้งหมดที่มีการเลือกตั้งซ่อม 43 เขต
ในวันที่ 31 ธ.ค. ประธานาธิบดีเต็งเส่ง ได้ลงนามคำสั่ง ซึ่งเป็นคำสั่งอภัยโทษให้กับนักโทษการเมืองในพม่า และยกเลิกการดำเนินคดีแก่ผุ้ที่ถูกฟ้องร้องกล่าวหาตามความผิดของกฎหมายวต่างๆ ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการรวมตัวสมาคมอย่างผิดกฎหมาย, ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.122 ฐานทรยศ. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 124 ฐานปลลุกระดม, กฦฎหมายว่าด้วยการป้เองกำันรัฐจากการบ่อนทำลาย,กฎหมายว่าด้วยการชุมนุมและการเดินขบวนอย่างสันติ, ประมวลกฎหมายวงิธีพิจารณาความอาญา ม. 505 ว่าด้วยการกระทำที่ขัดกับผลประโยชน์สาธารณะ, และกฎหมายว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉิน ค.ศ. 1950 โดยให้ผุ้ที่ต้องคำพิพากษาแล้วให้ได้รับการอภัยโทษ.ให้ทุกคดีที่กำลังดำเนินคดีในขันศาล ให้มีการยุตคิการพิจารณาคดีทันที และให้ทุกคดีที่กำลังอยู่ในขั้นสอบสวน สิ้นสุดการสอบสวนทันทีดดยไม่มีมาตการเพ่ิมเติมใดๆ ออกมา่....
ข้อมูลบางส่วนจาก...มติชนออนไลน์ ลิลิตา หาญวงษ์ "33 ปี พรรค NLD ไปต่อหรือหุดแค่นี้"
ประัชาไท "ผู้นำพม่า "เต็ง เส่ง" หนุนแก้ไข รธน. ให้ "ออง ซาน ซูจี" ลงสมัครประธานาธิบดีได้
"เต้นเซน" วิกิพีเดีย