วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

Ethnicity in Middle East II

      ชาวเติร์ก ตุรกีเชื่อว่าบรรพบุรุษของเขาคือชนเผ่าเติร์กกลุ่มหนึ่งซึ่งชาวจีนเรียกว่า "ชาวถูเจี๋ย" ดินแดนของถูเจี๋ยในยุคราชวงศ์ยังเลยขึ้นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเล็กน้อย ถ้ามองจากแผนที่จะอยู่บริเวณด้านเหนือของทะเลทรายทากลามากัน ค่อนไปทางตะวันตก บทบาทและอิทธิพลของชาวเฟ่าถูเจี๋ยมีสูงมากในสมัยราชวงศ์สุยต่อมาเมือเปลี่ยนมาเป็นราชวงศ์ถัง ชาวถูเจี๋ยเป็นภัยคุกคามทางตอนเหนือย่างยิ่ง ถังไท่จง ฮ่องเต้ (หลีชื่อหมิน) ในเทโศบายผูกมิตรไว้ก่อนในช่วงแรกจนะมือรัฐบาลถงแช็.แรงพร้อมจึ้งก่อสงครามกับชาวถูเจี๋ยจนได้รับชัยชนะ ขับไล่ขาวถูเจี๋ยออกไปจากแดนซื่อวี๋ได้สำเร็จ



          ขาวถูเจี๋ยที่พ่ายศึกเดินทางผ่านเส้นทางสายไหม ผ่านยูเรเซียไปถึงที่ราบสูงอนาโตเลีย แล้วก็เป็นพรรพบุรุษของขาวเติร์กที่เป็นประเทศตุรกีในปัจจุบัน...

     (ข้อมูลเพ่ิมเติม : https://draft.blogger.com/blog/post/edit/57583117367728393/2487512331205007712)

          ชาวเปอร์เซ๊ย เป็นกลุ่มชนอิหร่านที่มีประชากอาศัยอยู่ในประเทศอิหร่านมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ โดยมีระบบวัฒนธรรมคล้ายกันและพูดภาษาเปอร์เซ๊ยเป็นภาษาแม่ เช่นเดียวกันกับภาษาที่มีความใกล้ชิดกับภาษาเปอร์เซ๊ย

           ในอดีต ชาวเปอร์เซียโบราณอพยพไปยังภูมิภาคเปอร์ซิส ใน ศตวรรษที่ 9 ก่นคริสต์กาล ซึ่งปัจจุบันอยู่ในจังหวัดฟอร์สที่อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอิหร่าน ในอดีตพกเขาเคยเป็นจักรวรรดิที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก แล้วส่งอิทธิพลทางวัฒนธรรม การเมือง และสังคมไปทั่วดินแดนและประชกรในดโลกโบราณ ตลอดทั้งประวัติศาสตร์ ชาวเปอร์เซียมีส่วนร่วมอย่างมากทั้งในด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์ วรรณกรรมเปอร์เซ๊ยเป็นหนึ่งในแนววรรณกรรมที่โดดเด่นที่สุดในโลก

          ในศัพท์แบบปัจจุบัน ผุ้คนซึ่งอาศัยอยู่ใอัฟกานิสถาน ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน ในปัจจุบันถูกเรียกเป็น ชาวทาจิก ในขณะที่กลุ่มชนในคอเคซัส (ส่วนใหญ่อยู่ในอาเซอร์ไบจาน และ สาธารณรับคาเกสถาน ประเทศรัสเซีย) แม้ว่าจะุูกดูดกลืนทางวัฒนธรรมไปแล้ว ถูกเรียกเป็นชาวดัต อย่างไรก็ตาม ในอดีต คำว่า "ทาจิก"กับคำว่า "ดัต"เป็นคำที่มีความหมายพ้องกันและสามารถใช้คำว่า "เปอร์เซีย"แทนกันได้  อิทธิพลเปอร์เซ๊ยนอกอิหร่านขยายทางตะวันออกเฉียงเหนือไปถึงเอเซียกลางกับอัฟกานิสถาน และทางตะวันตกเฉียงเหนือไปถึงคอเคซัส...     

            ชาวเคิร์ต เป็นกลุ่มชนอิหร่าน ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคบนภูเขาของเคอร์ติสถานในเอเซียตะวันตก ซึ่งกินพื้นท่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอิหร่าน ทางเหนือของอิรัก และทางเหนือของซีเรีย โดยมีดินแดนส่วนแยกของชาวเคิร์ดในอานาโตเลียกลาง โฆรอซอน และคอเคซัส เช่นเดียวกันกับสังคมชาวเคิร์ดพลัดถิ่นในเมืองทางตะวันตกของตุรกี (โดยเฉพาะอิสตันบูล) แะยุโรปตะวันตก (โดยเฉพาะในประเทศเยอรมัน) ประชาชกรชาวเคิร์ด มีประมาณ สามสิบถึง สี่สิบห้าล้านคน

         


  ชาวเคิร์ดพูดภาษาเคิร์ดและกลุ่มภาษาซาซา-โกรานี ซึ่งอยู่ในสาขาอิหร่านตะวันตกของกลุ่มภาษาอิหร่านในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน

            หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และการพ่ายแพ้ของจักรวรรดิออดโตมัน ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทำข้อกำหนดสำหรับรัฐเคิร์ดตาสนธิสัญญาในสามปีต่อมา เพราะมีการแบ่งดินแดนตามสนธิสัญญาโลซาน ทำให้ชาวเคิร์ตมีสถานะเป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศใหม่ทั้งหมด


                                                                 ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย. OGR Online บางส่วนจากบทความ "เพราะตุรกีถือวาอุยกร์เป็นเพี่น้อยเลือดเดียวกัน"

                             


วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

Ethnicity in middle east : Arab

          " ตะวันออกกลาง" ในภาษาอังกฤษ น่าจะมีกำเนิดในคริสต์ทศวรรษ 1850 ที่สำนักงานอินเียของบริติช อย่างไรก็ตาม ศัพท์กลายเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายเมือนักยุทธศาสตร์ทางเรืออเมริกัน อัลเฟรด เธเยอร์ มาฮาน ใช้คำนี้ใน ค.ศ. 1902 เพื่อ "กำหนดพื้นที่ระหวา่งอาระเบียกับอนเดีย ในช่วงทีจักรวรรด์บริติชและรัสเซีย กำลังแย่งชิงอิทธิพลกันในเอเซียกฃลาง การแข่งขันนี้จะกลายเป็นทีรู้จักในฐานะ The Great Game มาฮาน ไม่เพียงตระหนักถึงความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของภูมิภาคนี้เท่านั้น แต่ยังตะรหนักถึงอ่าวเปอร์เซีย ศูนย์กลางของบริเวณนี้ด้วย เขาระบุพื้นที่รอบอ่าวเปอร์เซียเป็นตะวันออกกลาง และกล่าวว่าเป็นดินแดนที่สำคัญต่อคลองสุเอชของอิยิปต์ ซึ่งเป็นเส้นทางที่สำคัญที่สุดในการควบคมสำหรับอังกฤษ เพื่อป้องกันไม่ให้รัสเซ๊ยรุกคืบเข้ามายังบริติชราช


           ก่อนหน้าสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นเรื่องปกติที่จะอ้างถึงพื้นี่ที่มีศูนย์กลางรอบตุรกี เป็นชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็น "ตะวันออกใกล้" ส่วน "ตะวันออกไกล" มีจุดศูนย์กลางที่จีน จากนั้นในช่วงปลายคริสทศวรรษ 1930 ทางอังกฤษ ได้จัดตั้งกองบัญชาการตะวันออกกลางที่มีศูนย์บัญชาการในไคโร สำหรับกองทัพในภูมิภาคนี หลังจากนั้น ศัพท์ "ตะวันออกกลาง" ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางทั้งในยุโรปและสหรัฐ โดยมีการจัดตั้งสถาบันตะวันออกกลางขึ้นที่ ดี.ซี. วอชิงตัน ในขณะที่ศัพท์ที่ไม่ได้อิงยุโรปเป็นศูนย์กลางอย่าง "เอซียตะวันตกเฉียงใต้" ก็มีการใช้อย่างประปราย

          ตะวันออกกลาง เป็นภูมิภาคทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ประกอบด้วย คาบสมุทรอาหรับ เอเซยน้อย (ตุรกีฝั่งทวีปเอเซีย ยกเว้น จังหวัดฮาทัย) เทรซตะวันออก (ตุรกีฝั่งุโรป) อียิปต์ อิหร่านกับลิแวนด์ (รวมอัชชามและไซปรัส) เมโสโปเตรเมีย (ปัจจุบันคือประเทศอิรัก) และหมู่เกาโซโดตรา(ส่วนหนึ่งของประเทศเยเมน) ศัพท์นี้เร่ิมมีการมช้งานอย่างแพร่หลายเืพ่อแทนที่คำว่า "ตะวันออกใกลเ้"(ตรงข้ามกับตะวันออกไกล) ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า "ตะวันออกกลาง" ทำให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับคำจัำกัดความที่เปลี่ยนไป และบางคนมองว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ หรือมีคววามเป็นยุโรปเป็นศูนย์กลางเกิดไป ภ๔มิภาคนี้ได้รวมดินแนส่วนใหญ่รวมอยู่ในคำจำกัดควาทที่เกีี่ยวข้องอย่างใกล้ขิดของเอเซียตะวันตก (รวมอิหร่าน) แต่ไม่รวมคอเคซัสได้ และรวมทพืนที่ทั้งหมดของอียิปต์(ไม่ใช่เพียงภูมภาคไซนาย) และตุรกี (ไม่ใช่เฉพาะส่วนเทรชตะวันออก

           ประเทศในตะวันออกกลางส่วนใหญ่ 13 จาก 18 ประเทศ) เป็นส่วนหนึ่งของโลกอาหรับ ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในภูมิภาคนี้คืออียิปต์ ตุรกี และอิหร่าน ส่วนประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศที่มีพื้นที่มากที่สุดในตะวันออกกลาง ประวัติศาสตร์ตะวันออกกลางสืบไปได้ถึงสมัยโบราณ โดยมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์ของภูมิภาคที่ได้รับการยอมรับมานับพันปี 

           "อาหรับ" หรือ "ชาวอาหรับ" เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ที่ส่วนใหญ่อยู่ในโลกอาหรับ คำว่า "อาหรับ" ในกลุ่มภาษาเซนิติก แปลว่า ทะเลทรายหรือผู้ที่อาศัยอยู่ในทะเลทราย (ส่วนใหญ่ดำรงชีพแบบเร่ร่อน) คำว่า "อาหรับ" จึงหมายถึง "เร่ร่อน" ได้ด้วย ในปัจุบัน คำนี้หายถึงผู้ที่าจากประเทศอาหรับซั่งมีภาษาพื้นเมืองเป็นภาษาอาหรับ ซึ่งแตกต่างจากคำจำกัดความดั้งเดิมที่มีความหมายครอบคลุมแต่ผู้สืบเชื้อยสายจากชนเผ่่าแห่งคาบสมุทรอาหรับ


           คำนี้ยังสามารถครอบคลุมถึงชนชาติที่พูดภาษาอาหรับทั้งหมดที่อาศัยอยู่ตั้งแต่ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของมอริเดเนีย ไปจนถึงแอฮ์วอซของอิหร่าน รวมถึงรัฐอาหรับในเอเซียตะวันตกเฉียงใต้ แอฟริกาเหนือ จะงอยแอฟริกา หมู่เกาะในหาสุทรอินเียตะวันตก(รวมถึงคอโมโรส) และยุโรปไไต้( เช่น แคว้นชิชิบี มอลตา และคาบสมุทรไอบีเรีย) และประชากรจำนวนมากในทววีป อเมริกา ยุโรปตะวันตก อินโดนีเซีย อิสราเอล ตุรกี อินเดีย และอิหร่าน" 

                                                            ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย

วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

Israel II

           คริสตศตวรรษที่ 7 ทั่วภูมิภาครวมทั้งเยรูซาเลม ถูกอาหรับที่เพิ่งเข้าอิสลมยึดครอง และเปลี่ยนแปลงระหว่าง รัฐเคาะลีฟะโ์รอซิดิน อุมัยยะฮ์ อับบาซียะฮ์ ฟาดิมียะห์ เซลจุก ครูเซเตอร์ และอัยยูบิคในช่วงสามศตวรรษถัดมา

          ระหว่างการล้อมเยรูซาเลมในสงครามครูเสดครั้งที่ หนึ่ง(ครูเสด ครั้งที่ 1 https://draft.blogger.com/blog/post/edit/57583117367728393/7978371754150860399) ผู้อยู่อาศัยในนครชาวยิวร่วมกันต่อสุู้เคียงบ่าเคียงไหลกับกำลังประจำ ที่ตั้งฟาดีมียะห์ และประชากรมุสลิมซึ่งพยายามปกป้องนครจากนักรบครูเสดอย่างไร้ผล เมื่อนครแตก มีผู้ถูกสงหารหมู่ประมาณ 60,000คน รวมทั้งยิวกว่า 6,000 คนที่ลี้ภัยในธรรมศาลาแห่งหน่ึ่ง ในเวลานั้นซึ่งล่วงเลยการล่มสลายของรัฐยิวมาครบ 1,000 ปี  มชุมชนยิวกว่า 50 แห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ อลเบิร์ตแห่งอาเดน ระบุว่า ผู้อยู่อาศัยในไฮฟา  ชาวยิวเป็นกำลังสู้รบหลักของนคร และ "ปะปนกับทหารซาราเซ็น (ฟาดิมียะห์" พวกเขาต่อสู้อย่างกล้าหาญเกืบเดือนจนถูกกอบทัพเรือและทัพบกนักรับครูเสดบับให้ล่าถอย

          ปี 1165 ไม่นอนีติซ เยือนเยรู่ซาเลมและสวดภาวนาบนเนินพระวิหารใน "สถานศักดิ์สิทธิใหญ่

           ปี 1141 กวีชาวสเปนเชื้อสายยิว เยฮูดา ฮาเลวี เรียกร้องให้ยิวย้ายไปยังแผ่นดินอิสราเอลซึ่งเขาเดินทางไปด้วยตนเอง

            ปี 1887 สุลตานเศาะลาฮุดดีน พิชิตนักรบครูเสดในยุทธการ ฮัททิน และต่อมายึดเยรูซาเลมและปาเลสไตน์เกือบทั้งหมด ในเวลานั้น "เศาะลาฮิดดีน" ออกประกาศเชิญชาวยิวให้หวนคืนและตั้งถ่ินฐานในเยรูซาเลม และยูดาห์ อัลฮารีซีระบุว่า "นับแต่อาหรับยึดเยรูซาเลม ชาวอิสราเอลก็อาศัยอยู่ที่นั่น

            ปี 1211 ชุมชนชาวยิวในประเทศเข้มแข็งขึ้นเมืองกลุ่มยิวจากฝรั่งเศสและอังกฤษกว่าสามร้อยคนเข้ามา ซึ่งมี "แรมไบเซมซัน เบน อับราฮัมแห่งเซนส์"แนคแมนีติช แรบไปชาวสเปนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13และผู้นำชาวยิวที่รับรองและยกย่องแผ่นดินอิสราเอลอยางสูงและมองว่านิคมยิวเป็นข้อบัญญัติแน่นอนที่มีผลต่อยิวทุกคน เขาเขียนว่า "หากผู้มิใช่ยิวประสงสร้างสันติ เราจักสร้างสันติและปล่อยพวกเขาไว้บนเงื่อนไขชัดเจน แต่สหรับเรื่องแผ่นดิน เราจักไม่ยอมปล่อยให้ตกอยู่ในมือพวกเชา หรือในดินแดนของชาติใด ไม่ว่าในอายุคนใด"

           ปี 1260 การควบคุมภูมิภาคปาเลสไตน์ตกเป็นสุลต่านมัมลุกอิยิปต์ (https://draft.blogger.com/blog/post/edit/57583117367728393/8356578481448851387

         ประเทศที่ตั้งอยู่ระหวางศูนย์กลางอำนาจของมัมลูกสองแห่ง คือ ไคโร และ ดามัสกัส และมีการพัฒนาบ้างตามถนนส่งจดหมายที่เชื่อมระหว่างสองนคร  เยรูซาเลมแม้ไม่มีการคุ้มครองจากำแพงนครไดๆ มาตั้งแต่ปี 1219 ก็มีโครงการก่อสร้างใหม่ๆ ที่ตั้งออยู่รอบมัสยิดอัลอักศอบนเนินพระวิหาร ในปี 1266 สุลต่านไบมาส์แห่งมัมลุกเปลี่ยนสภาพถำ้อัครบิดร ในฮีบรอนเป็นสถาที่คุ้มภัยของอิลามโดยเฉพาะและห้ามคริสต์ศษสนิกชนและยิวเข้า ซึ่งเดิมสามารถเข้าไดด้โดยต้องจ่ายยค่าธรรมเนียม คำสั่งห้ามีผลจนอิสราเอลเข้าควบคุมอาคารในปี 1967

          ในปี 1516 ภูมภาคนี้ถูกจักรวรรดิออกโตมัน พิชิต และอยู่ในการควบคุมของออตโตมันจนสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 1  เมื่อบริเตนพิชิตกำลังออกโตมันและตั้งรัฐบาลทหารขึ้นปกครองทั่วอดีตออตโตมันซีเรีย 

           ปี 1920 ดินแดนดังกล่าวถูกแบ่งระหว่างบริเตนและฝรั่งเสสภายใต้ระบบอาณัติ และพื่นที่ที่บริเตนบรหารราชการแผ่นดินซึ่งรวมอิราเอลสมัยใหม่ได้ชื่อว่า ปาเลสไตน์ในอาณัติ..

          

                                                        ข้อมูลจาก วิกิพิเดีย...

            

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

Herod The Great

     ในปี 63 ก่อนคริสตกาลพวกโรมันได้บุกโจตีเยรุูซาเลมและตั้งฮีร์คานุสเป็นกษัตริย์ แต่ฮีร์คานุสไม่ได้ปกครองเอย่างเอกเทศ พวกโรมันได้เข้ามาและไม่ถอนอิทธิพลออกจากดินแดนนี้ ฮีร์คานุสกลายเป็นผู้นไประชาชนที่ต้องปกครองภายใต้อำนาจของโรม และต้องพึ่งการสนับสนุนจากโรมเพื่อรักษาพัลลังก์เอาไว้ เขาสามารถจะบริหารจัดการเรืองภายในได้ตามที่ต้องการ แตะในเรื่องความสัมพันธ์กับชาติอื่นๆ เขาจะต้องทำตามนโยบายของโรม 

      ฮีร์ดานุสเป็นผู้ปกครองที่ไม่เข้มแข็ง แต่เขาได้รับการสนับสนุนจากอันทิพาเทอร์ชาวอดูเมัยซึ่งเป็นบิดาของเฮโรดมหาราช อันทิพาเทอร์เป็ฯผู้มีำนาจที่ให้การช่วยเหลืออยู่เบื้องหลัง เขาสามารถควบคุมพวกยิวกลุ่มต่างๆ ที่คิดจะต่อต้านกษัตริย์ได้ และในไม่ช้าตัวเขาเองก็มีอำนาจเหนือยูเดียท้งหมด อินทิพาเทอร์ได้สอนลูกของตนว่าไม่ว่าจะทำสิ่งใดก็ตามต้องอยู่ในความเห็นชอบของโรม ซ่ึ่งเฮโรดก็ได้จำคำสอนนี้ไว้เป็นอย่างดี เฮโรดในวัย 25 ปี ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการ และกลายเป็นที่ชื่อชอบของทั้งชาวยิวและชาวโรมันเนื่องจากเขาได้ปราบปรามกองโจรทั้งหลายอย่างแข็งขันให้หมดไปจากเขตปกครอง

       43 ปีก่อนคริสตกาลอันทะพาเทอร์ถูกวางยาพิษ เฮโรดกลายเป็นผู้อนาจมากที่สุดในยูเดีย และก็มีศัตรุูด้วยเช่นกัน ขุนนางในเยรูซาเลมถือว่าเฮโรดเป็นผู้ช่วงชิงอำนาและพยายมเกลี้ยกล่อมให้โรถอดเขาออกจากตำแหน่ง ความพยายามนี้ล้ำมเหลว โรมยังเห็นคุณความดีของอันทิพาะเทอร์และชื่นชมควาสามารถของเฮโรด

       เกิดการแย่งชิงอำนาจในาชบัลลังก์ของฮัสโมเนียนในปี 40 ก่อนคริสตกาล ฝ่ายสนับสนุนอาริสโดบุสที่ต่อต้านโรมันก็ทำสำเร็จด้วยความช่วยเหลือจากชาวปาร์เทยซึ่งเป็นศัตรูของโรม และเป็นห้วงเวลาเดียวกันกับที่โรมเกิดความโกลาหลวุนวายภายในเนืองจากสงครามกลางเมือง พวกเขาฉวยโอกาสโจมตีซีเรย ถอดถอนฮร์คานุส และแต่งตั้งสมาชิกของราชวงศ์อัสโมเนียคนหนึ่งที่ต่อต้านโรมขึ้นครองอำนาจ

      เฮโรดได้หนีไปโรม และได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น โรมยังคงต้องการดินแดนยูเดียกลับคือนมาจึงแต่งตั้งเฮโรดเป็นกษัตริย์แห่งยูเดีย ด้วยความช่วยเหลือจากกอบทหารโรมัน เฮโรดเอาชนะศัตรูในยูเดียและวงบัลลังคืนมาได้เขาแก้แค้นผุู้ที่เคยต่อต้านอยางโหดเหี้ยม เขากำจัดราชวงศ์ฮัสโมเนียนและเหล่าขุนนางชาวยิวที่สนับสนุนราชวงศ์นี้ รวมั้งใครก็ตามที่ไ่พอใจจะอยู่ใต้อนาจผู้ปกครองที่เป็นมิตรกับโรม

       ในช่วงหลายปีหลังจากนั้น เฮโรดได้สร้างความมั่นคงให้กับอาณาจักรของตนโดยทำให้กรุงเยรูซาเลมกลายเป็นศูสย์กลงวัฒนธรรมกรีก เขาได้ริเร่ิมโครงการสร้างขนาดใหญ่ เช่น ราชวังหลายหลัง เมืองท่าซีซาเรีย และพระวิหารในกรุงเยรูซาเลม ที่ประกอบด้วยสิ่งก่อรสร้างใหม่ๆ ที่ใหญ่โตหรูหรา ตลอดช่วงเวลานั้ นโวบายของเฮโรดมุ่งเน้นที่การรักษาความสัมพันธ์กับโรมซึ่งเป็นขุมกำลังของตน..

            จักรวรรดิโรมัน สืบทอดการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปิก่อนคริสตกาล-ศตวรรษทิ่1 ก่อนคริสตกาล) ซึ่งอ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่าง ไกอุส มาริอุสแลุซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่าง จูเลิยส ซิซ่าร์ และ ปอมปิย์ 

           จักรวรรดิโรมันมิดินแดนในครอบครองมากมายทั้งในยุโรป และ ตะวันออกกลาง และเอเซิยไมเนอร์ประชาชนทั่วไปท่ิอาศัยอยู่ในจักรวรรดิโรมันเริยกว่า ชาวโรมัน และดำเนินชิวิตภายใต้กฎหมายโรมัน  มความรุ่งเรืองถึงขิดสุดในจักรพรรดิทราจัน ด้วยชัยชนะเหนือ ตาเซย(ปัจจุบันคือประเทศ โรมาเนิยและมอลโตวา และส่วนหนึ่งของฮังการ บัลแกเรยและยูเครน) อทธิพลของโรมันได้ส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านภาษา ศาสนา สถาปัตยกรรม ปรัชญา กฎหมายและระบการเมืองมาจนถึงปัจจุบัน

             จักรวรรดิถูกแบ่งออกเป็นฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกในสมัย จักรพรรดิไดโอคลเซยน ปละถือเป็นการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันในช่วงเวลปิ ค.ศ. 476 เมื่อจจักรพรรดิโรมลุส เอากุสตุส จักรพรรดิองค์สุดท้ายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกขับไล่และเกิดการจลาลจข้นในโรม อย่างไรก็ตาม จักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือ จักรวรรดิไบแซนไทน์ ก็ได้รักษา กฎหมาย ขนบธรรมเนิยมประเพณิแบบ กริก-โรมัน รวมถึง ศาสนคริสต์นิกายออโธดอกซ์ไว้ได้อกสหัสวรรษต่อมา จนการล่มสลายเมือครั้งเสิยกรุงคอนสแตนติโนเปิล ให้กับจักรวรรดิ ออตโตมัน ใน ป 1453...

           

                              -                                ข้อมูล จาก วิกิพิเดีย


วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

Israel

 


      Israel อิสลาเอลเป็นประเทศที่มีภูมิลักษณ์หลากหลายมีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก กรุงเทลาวีฟเป็นศุูนย์กลางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ที่ตั้งของรัฐบาลตามประกาศคือกรุงเยรูซาเล็มแม้ยังไม่ได้รับรองในระดับนานาชาติ..
     ในคัมภีร์อิบรู  ราชอาณาจักรอิสลาเอลเป็นหนึ่งในสองรัฐที่ก่อตั้งขึ้นหลังจากกษัตริย์ชาโลมอนสวรรคต นักประวัติศาสตร์มักใช้ชื่อว่า "อาณาจักรสะมาเรีย" เพื่อให้มีชื่อแตกต่างกับอาณาจักรยูดาห์ตอนใไต้
      ราชอาณาจักรอิสราเอลก่อตั้งใน 930 ปีก่อนคริสตกาลจน๔ุกพวกจักรวรรดิอิสซีเรยใหม่ยึดครองใน 720 ปีก่อนคริสตกาล มีเมืองสำคัญได้แก่ เซเคม.ทิรซาห์ และ สะมาเรีย
       คัมภีร์ฮบรูพรรณนาถึงอาณาจักรสะมาเรีย เป็นหนึ่งในสองรัฐที่สืบทอดต่อจากสหราชอาณาจักรอิสราเอล ซึ่งเคยถูกปกครองโดยกษัตริย์ดาวิดและซาโลมอนพระราชโอรส อีกแห่งคืออาณจักรยูดาห์ทองตอนใต้ อย่างไรก็ตามนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีไม่เชื่อเรืองราวที่มีอยู่พระคัมภีร์
       อาณาจักรต่างๆในดินแดนนี้มีหลายอาณาจักรปกครองผ่านเวลานับพันปี อาณาจักรที่สำคัญอาทิ
       อิสซีเรีย  เป็นอารยธรรมหลักในเมโสโปเตเมียโบราณที่เร่ิมต้นในฐานะนครรัฐในศตวรรษที่ 21 ก่อนคริสตศาสนาถึงศตวรรษที่ 14 แล้วพัฒนาเป็นรัฐอาณาเขตและกลายเป็นจักรวรรดิ์ในศตวรรษที่ 14 ถึง ศตวรรตที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช
         อาณาจักรบาบิโลนเนีย อารยธรรมของชาวบาบิโลนเนียได้พัฒนามาจากชาวสุมาเรียนซึ่งตั้งหลักปักฐานบริเวณแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรทีส(3,200-2,300ปีก่อนคริสตกาล)ซึ่งมีความเจริญมาก่อนหลายร้อยปี
         อัสซีเรียถือเป็นหนึ่งในสองอาณาจักรหลักร่วมกับ บาบิโลน ในตะวันออกใกล้โบราณ อัสซีเรียมีอำนาจสูงสุดในสมัยอัสซีเรียใหม่ โดยก    องทัพอัสซีเรียเคยเป็นกองทัพที่แข็งแกร่งที่สุดในโลกและเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่ในประวัติศาสตร์โลก กินพื้นที่ในอิหร่านทางตะวันออกถึงอียิปต์ทางตะวันตกในปัจจุบัน
                                                                                

        จักรวรรดิอัสซีเรียล่มสลายตอนปรลายศตวรรษที่ 7 กอ่นคริสตกาล อยางไรก็ตามวัณนธรรมและธรรมเนียมอัสซีเรยโบราณยังคงดำรงอยู่หลายศตวรรษ อัสซีเรียได้ทิ้งมรดกทางวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะในจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่สร้างความประทับใจในอัสซีเรียยุคหลัง กรีก โรมัน และวรรณกรรมกับธรรมเนียมทาศาสนาในภาษาฮิบรู
         บาบิโลนใหม่(อาณาจักรคาลเดีย) ในสมัยที่รุ่งเรื่องในยุคพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ ได้ยกทัพไปพิชิตเมืองเยรูซาเรมและกวาดต้อนเชลยชาวยิวมายังกรุงบาบิโลน มีการสร้างพระราชวังขนาดใหญ่และวิหารบนฝั่งแม่น้ำยูเฟรตีสและเหนือพระราชวังมีการสร้างสวนลอยฟ้าเรียกว่า"สวนลอยแห่งบาบิโลนน"เป็นสิ่งมหัส

บาบิโลนใหม่

จรรย์ของโ่ลกในยุคสมัยก่อน มีการนำความรู้ทางการชลประทานทำให้สวนลอยเขียวทั้งปีมีความรู้ด้านดาราศาสตร์ แบ่งสัปดาห์ออกเป็น 7 วันแบ่งวันออกเป็น 12 คาบคาบละ 120 นาทีสามารถคำนวนเวลาโคจรของด้วยดวงอาทิตย์ในรอบ 1 ปีได้อยางแม่นยำพยาการณ์สุริยุปราคา ชาวคาลเดียนเป็นชาติแรกที่ริเริ่มนำเอาความรุ้ทางดาราศาสตร์มาทำนายโชคชะตาของมนุษย์อาณาจักรบาบิโลนใหม่ถูกกองทัพเปอร์เซียเข้ายึดครอง..
           จักรวรรดิ์เปอร์เซ๊ย เป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในยุคโลราณ และมารุ่งเรื่องที่สุดในยุคพระเจ้าดาไรอัสมหาราชผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นศ้ตรูคนสำคัญของอาณาจักรกรีกโบราณ ที่ตั้งเดิมของอาณาจักรในปัจจุบันอยู่ในอิหร่าน
           สมัยเฮลเลนนิสต์ เป็นสมัยที่เริ่มขึ้นหลังจากอเล็กซานเดอร์มหาราชได้รับชัยชนะต่อจักรวรรดิเปอร์เซ๊ย ในช่วงนี้อารยธรรมกรีกเจริญขั้นสุดทั้งในยุโรปและเอเซีย เป็นสมัยคาบเกี่ยว(สมัยของความเสื่อมโทรมสมัยของการใช้ชีวิตที่เกินเลย)ระหว่างความรุ่งเรืองของสมัยกรีกคลาสสิคกับความเร่ิมก่อตัวของจักรวรรดิ์โรมัน เป็นยุคหลังจากอเลกซานเดอมหารราชได้สวรรคต(อเลกซานเดอร์มหาราช
        จักรวรรดิซิลูซิต เป็นรัฐอารยธรรมกรีกที่ดำรงอยู่ระหว่าง 312-63ปีก่อนคริสตกาลสถาปนาหลังมีการแบ่งราชอาณาจักรมาแกโดนีของอเล็กซานเดอร์มหาราชใน 321 ปีก่อนคริสตกาล ซิลูซิสได้ครอบครอง

บาบิโลเนีย ก่อนขยายอำนาจไปทางตะวันออกเฉียงเหนือจนตรดแม่น้ำสินธุ ในยุคที่เจริญถึงขีดสุดครอบครองดินแดนตั้งแต่ อนาโตเลียกลาง ลิแวนด์ เมโซโปเตเมีย เปอร์เซีย เติร์กเมนิสถาน อัฟกานิถานไปถึงบางส่วนของปากีสถาน
         กบฎทัคคานี เป็นการกบฎของชาวยิวนำโดยกลุ่มัคคานีเพื่อต่อต้านจักรวรรดิ์ซิลูซิสและอิทธิพลของกรีกการกบฎช่วงหลังเกิดขึ้นระหว่าง 167-160 ปีก่อนคริสตกาลและจบลงเมื่อซิลูซิสเข้าควบคุมยูเดีย แต่ความขัดแย้งระหว่าง มัคคานี ชาวยิวเฮลิลนิสต์ และซิลูซิสยังดำเนินไปจนถึง 134ปีก่อนคริสตกาล 
         จุดเริ่มต้นของการกบฎเกิดจากการปราบปรามผู้นับถือศาสนายูดาห์ใน 168 ปีก่อนคริสตกาล สาเหตุไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดแต่เชื่อกันว่าอาจมาจากความขัดแย้งทางการเมืองที่มีความเชื่อเป็นองค์ประกอบ แอนดิโอคัส และเยรูซาเลม ตกอยู่ใต้อำนาจ ซิลูซัส สั่งห้ามประกอบพิธีทางศษสนายูดาห์และดัดแปลงพระวิหารที่สองให้เป็นศาสนาสถานของลัทธิผสาน กรีก-ยูดาห์ การปราบปรามนี้น้ำไปสู่การกบฎ และทัคคนีสามารถเป็นอิสระจากการปกครองของซิลูซิสมากขึ้นกระทั้งในปี141 กอ่นคริสตกาลสามารถขับไล่กรีกออกจากป้อมอะคราในเยรุูซาเลมได้าำเร็จและก่อตั้ง ราชวงแอสโมเนียที่ปกครองยูเดียจนถึง 37 ปีก่อนคริตกาลและ 6 ปีก่อนคริสตกาลสถาปนามณฑลยูเดียของโรมัน...
                                                             
                                                              แหล่งที่มาข้อมูล wikipidai

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565

Thein Sein

            อองซาน ซูจี ถูกควบคุมตัวอยู่ 15 ปี ระหว่างปี 1989-2010 เมื่อรัฐบาลทหาร(เปลี่ยนือจาก"สลอร์ค"ในปี 1997) จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2010  พรรคึ NLD มีมติบอยคอตการเลือกตั้ง เพราะมองว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่เป็นธรรม แต่อย่างน้อยที่สุด หลังการเลือกตั้งปี 2010 และการขึ้นดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี เต็ง เส่ง จากพรรค USDP พม่าก็มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดี เร่ิมมีการแก้ไขกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกให้นักลงทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศแต่ในด้านการเมืองและการจัดการความขัดแย้ง รัฐบาลฃเต็ง เส่ง ยังอยู่ีภายใต้การควบคุมของกองทัพ ซึ่งยังมีนายพล ตาน ฉ่วย ควบคุมใอยู่ อิทธิพลของกองทัพพท่าเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดในการก้าวสู่คงวามเป็นประชาธิปไตย...เมื่อการเมืองของประชาชนฝากความหวังไว้ที่ NLD มาโดยตลอด NLD จึุงเป็นพรรคการเมืองในฝั่งประชธิปไตยเพียนงพรรคเดียวที่พอจะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ และประชาชนเอง แม้จะเป็นในพื้นที่ของพรรคกลุ่มชาติพันธุุ์ ก็พร้อมใจกันเลือก NLD เข้าไป เมื่อมีการเลือกตั้งในปี 2012 เพราะเชื่อว่า แตกต่างและจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้นได้จริง การขาดพรรคการเมืองทางเลือก..ทำให้การเมือิงพม่าเป็นอัมาพาตเมือเกิดวิกฤตกีับพรรค NLD  และแนวโน้มในอนาคตคือกองทัพพท่าจะทำทุกวิถีทางเพื่อสกัดกั้นพรรค NLD...

            บทบาทที่โดเด่นของ อูเต็ง เส่ง ต่อพัฒนาการทางการเมืองในพม่าที่กล่าวได้ว่าอยุ่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากการปกครองแบบเผด็จการทหาร มาเป็นประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แม้อิทธิพลของทหารหรือกรอบคิดเก่าจะไม่จางหายไปง่ายๆ 

          แม้ว่า เต็ง เส่งจะมีจากการแต่งตั้งโดยผู้นำทางการทหารและ เป็นทหารผู้มีอิทธิพล ลำดับ 4 ของประเทศซึ่งหนีไม่พ้นที่จะถูกกล่าวหาว่าสนับสนัุนเผด็จการทหาร แต่ผลงานที่เด่นชัดและคึวามตั้งใจตที่จะนำพม่าออกจากระบอบเผด็จการทหาร ซึ่งได้ เต็ง เส่งเป็นนักเจรจรต่อรองในหลายระดับ พม่าจึงดำเนินไปในทิศทางที่ดีร นายพลเต็ง เส่งมีท่าที่ที่ชัีดเจนและจริงจังกับคำพูด ที่จะยกเลิกระบบเก่าและสร้างสังคมใหม่ อีกทั้งบทบาทของนักปฏิรูป ของ เต็ง เส่ง เด่นชัีดมาก

           ประธานาธิบดีเต็งเส่ง แห่ง พม่า แถลงทางวิทยุเมื่อวัีนที่ 2 มกราคม 2557 ว่าสนับสนุนก

ารแก้ไขรัฐธรรมนูญ 



          3 ม.ค.2557 สำนักข่าวอิระวดีรายงานว่าในการกล่าวสุนทรพจนร์ออกอากาศทางวิทยุประจำเดือนมกราคมของ ประธานาธิบดเต็งเส่งแห่งสาธารณรัีฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ หรือ ประเทศพม่า ประธานาธิบดีเต็ง เส่งกล่าวว่า "รัฐธรรมนูญที่มีความเหมาะสมนั้นจะต้องมีการแก้ไขเป็นระยะ เพื่อที่จะได้ตอบสนองความต้องการของชาติ เศรษฐกิจ และความจำเป็นทางสังคึามมขของพวกเรา

         "ข้าพเจ้าไม่ต้องการให้มีข้อกำนดที่จำกัดสิทธิของพลเมืองไม่ว่าบุคคลใดก็ตามที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำประถเทศ" เขากล่าว "ในขณะเดียวกัน พวกเราต้องการมารตรการที่เหมาะสมเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติและอธิปไตย" (รัฐธรรมนูญแบับเก่าที่บัญญัติไว้มีผลทำให้ ออง ซาน ซูจี ซึ่งมีสามีถือสัญชาติอังกฤษ และบุตรสองคนถุือเป็นพลเมืองต่างชาติ ไม่สามารถขึ้นเป็นประธานธิบดีได้) 

         เต็ง เส่ง กล่าว่า เขาเชื่อว่ามีความจำเป็นในการแก้ไขรัฐธรรมานูญเพื่อความปรองดองแห่งชาติ นอกจากนี้เขายังต้องการทำสัญญาหยุดยิงทั่วประเทศกับกองทัพของกลุ่มชาติพันธุ์? หลังจากผ่านสงครามหลายทศวรรษ...และกล่าวว่า "การเจรจาทางการเมือง มีความจตำเป็นสำหรัีบกระบวนการปรองดองแห่งชาติ และเป็นรากฐานของกระบวนการสันติภาพแห่งชาติ ซึ่งความจำเป็นต้องแก้ไขหรือทบทืวนรัฐธรรมนูญ" ต่อข้อเรียกร้องของกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า เต็ง เส่งเตือนหากเรียกร้องจนเกิดรงรับ อาจเผชิญทางตัน จึงขอให้ทุกฝ่ายร่วมกันประคับประคอง "อย่างไรก็ตาม ข้พเจ้าอยากกล่าวว่า หากข้อเรียกร้องทางการเมืองขบองสาธารณะชนหญ่เกิดกว่าที่ระบบการเมืองปัจจุบันจะรองรับได้พวกเราก็จะเผชิญกับทางตคันทางการเมือง ถ้าสิ่งที่เกิดขึ้น เราก็จะเสียเสรีภาพทางการเมืองที่เราได้บรรลุมาไปทั้งหมด ข้าเจ้าอยากจะเตือนพวกเราทุกคนให้ช่วยกันประคับประคองสถานการณ์นี้ด้วสยความห่วงใยและใช้ภุมิปัญญา"

         รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของพม่า กำหนดให้ที่นัี่งในรัฐสภาพร้อยละ 25 ให้กับตัวแทนจากกองทัพ ขณะเดียวกันพม่าจะมีการเลือกตั้งทัี่วไปใน พ.ศ. 2558  ซึ่ง ออง ซาน ซูจีร แสดงความประสงค์ที่จะลงสมัครเป็นประธานธิบดี โดยเธอเคยกล่าวว่าพรรคอาจจะคว่ำบาตรการเลือกตั้งหากไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามล่าสุดพรรค NLDได้แถลงว่า จะลงชิงชัยการเลือกตั้งไม่ว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรอไม่ก็ตาม

        ในการเลือกตั้งซ่อมปี 2555 ทำให้อองซาน ซูจีชนะเลือกตั้งได้เป็น ส.ส. นั้น พรรค NLD ชนะเลือกตั้ง 41 เขต จากทั้งหมดที่มีการเลือกตั้งซ่อม 43 เขต

       ในวันที่ 31 ธ.ค. ประธานาธิบดีเต็งเส่ง ได้ลงนามคำสั่ง  ซึ่งเป็นคำสั่งอภัยโทษให้กับนักโทษการเมืองในพม่า และยกเลิกการดำเนินคดีแก่ผุ้ที่ถูกฟ้องร้องกล่าวหาตามความผิดของกฎหมายวต่างๆ ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการรวมตัวสมาคมอย่างผิดกฎหมาย, ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.122 ฐานทรยศ. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 124 ฐานปลลุกระดม, กฦฎหมายว่าด้วยการป้เองกำันรัฐจากการบ่อนทำลาย,กฎหมายว่าด้วยการชุมนุมและการเดินขบวนอย่างสันติ, ประมวลกฎหมายวงิธีพิจารณาความอาญา ม. 505 ว่าด้วยการกระทำที่ขัดกับผลประโยชน์สาธารณะ, และกฎหมายว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉิน ค.ศ. 1950 โดยให้ผุ้ที่ต้องคำพิพากษาแล้วให้ได้รับการอภัยโทษ.ให้ทุกคดีที่กำลังดำเนินคดีในขันศาล ให้มีการยุตคิการพิจารณาคดีทันที และให้ทุกคดีที่กำลังอยู่ในขั้นสอบสวน สิ้นสุดการสอบสวนทันทีดดยไม่มีมาตการเพ่ิมเติมใดๆ ออกมา่....

      

          ข้อมูลบางส่วนจาก...มติชนออนไลน์ ลิลิตา หาญวงษ์ "33 ปี พรรค NLD ไปต่อหรือหุดแค่นี้"

                                          ประัชาไท "ผู้นำพม่า "เต็ง เส่ง" หนุนแก้ไข รธน. ให้ "ออง ซาน ซูจี" ลงสมัครประธานาธิบดีได้

                                          "เต้นเซน" วิกิพีเดีย

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2565

NLD (National League for Demacracy)

             พรรค NLD หรือสันนิบาตแห่งชาสติเพื่อประชาธิปไตย เกิดขึ้นมาพร้่อมๆ กับการประท้วงครั้งใหย๋ที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองสมัยใหม่ของพม่าใน 1988  ก่อตั้งเมื่อ 24 กันยายน พ.ศ. 2531 เพื่อต่อต้าน "สภาฟื้นฟูระเบียบและกฎหมายแห่งรัฐ" หรือ "SLORC" ซึ่งเข้ายึดอำนาจการปกครองในนามของคณะทหาร ทำให้เกิดการจลาจลนองเลือดในเมืองใหญ่ของพม่าหลายเมือง ผุ้ก่อตั้งพรรคได้แก่ อองซาน ซูจี อองจี และติ่นจู พรรคการเมือง NLD กลายเป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดและมีอิทธิพลสุงสุด มีสมาชิกทั่วประเทศถึง 2 ล้านคน ในปัจจะบันอาจกล่าวได้ว่าความนิยม NLD เกิดขึนเพราะความนิยม อองซาน ซูจี...

          "อองซาน ซูจี"เกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2488 เป็นบุตรสาวคนสุดท้องของนายพลอู อองซาน "วีรบุรุษอิสรภาพของประเทศพม่า" ผู้นำการต่อสู้กับญี่ปุ่นและ สหราชอาณาจักร จนนำไปสู่การได้รับอิสรภาพเป็นรัฐเอกราช นายพล อู อองซาน ถูกลอบสังหารก่อนทีพม่าจะได้รับเอกราช ขณะนั้น ออง ซาน ซูจีมีอายุเพียง 2 ขวบ


          ในปี พ.ศ. 2503 นางดอว์ซิ่นจี มารดาของอองซาน ซูจีได้รับการแต่างตคั้งให้ไปดำรงตำแหน่งทูตพม่าประจำประเทศอินเดีย ซูจี จึงถูกส่งเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยม ที่ประเทศดังกล่าว

          พ.ศ. 2507-2510 อองซาน ซูจีเดินทางไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีสาขาปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์ที่เชนด์ฮิวจส์คอลลเลจมหาวิทยาลั่ยอ๊ออกฟอร์ดในช่วงเวลานั้นเธอได้พบรักกับ "ไมเคิลอริส" นักศึกษาสาขาวิชาอารยธรรมทิเบต ภายหังจบการศึกษาเธอเดินทางไป "นิวยอร์ก"เพื่อเข้าทำงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการประจำคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการตั้งคำถามเกี่ยวกับงบประมาณและการจัดการของสำนักงานเลขาธิการองค์การสหประชาชาติเป็นเวลา 3 ปี โดยในช่วงเวลาดังกล่าง องค์การสหประชาชาติมีเลขาธิการเป็นชาวพม่าชื่อนายอู่ถั่น

           พ.ศ.2515 อองซาน ซุจีแต่งงานกับไมเคิลอริสและย้ายไปอยู่กับสามีที่รราชอาณาจัีกภูำาน ซูจี ทำงานเป็นนักวิจัยในกระทรวงต่างประเทศของรัฐบาลภูฎานขณะที่ไม่เคิลมีตำแหน่งเป็นหัวกรมการแปล รวมทั้งทำหน้าที่ถวายการสอนแก่สมาชิกของราชวงศ์ภูฎาน

          พ.ศ. 2516-2520 อองซานซูจ และสามีย้ายกลับมาพำนักที่กรุงลอนดอน ประเทศองักฤษ อริสได้งานสอนวิชาหิมาลัยและทิเบตศึกษา ที่มหาวิทยาลัย อ๊อกซฟอร์ด ส่วน ซูจี ให้กำเนิดบุตรชายคนแรก "อเล็กซานเดอร์" และบุตชายคนเล็ก "คิมในปี พ.ศ. 2520 ในช่วงนี้ ซูจีเร่ิมทำงานเขชียนและงานวิจัยเกี่ยวกัยบชีวประวัติของบิดาและยังช่วยงานวิจัยด้านหิมาลัยศึกษาของสามดีด้วย ปี พ.ศ. 2528-2529  ซูจี ได้รับทุนวิจัยจากศูนย์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัีบยเกียวโต ให้ทำวิจัยเรื่องเกี่ยวกับบทบาทของนายพล อูอองซาน ที่ประเทศญี่ปุ่น ขณะที่ไม่เคิลอริสได้รับทุนให้ไปทำวิจัยที่อินเดีย เมืองซิมลาทางภาคตะวันออกของอินเดียและต่อมา ซูจีก็ได้รับทุนวิจัยจากที่สถาบันแห่งนี้ด้วยเช่นกัน

         พ.ศ. 2530 อองซานซูจีและสามีพาครอบครวย้ายกลับมาอยู่ที่ปเทศอังกฤษเธอเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่ London  School of Oriental and African Studies ณ กรุงลอนดอน โดยทำวิยานิพนธ์เกี่ยวกับวรรณคดีพม่า


       ในวัย 34 อองซาน ซูจี เดินทางกลับบ้านเกิดที่กรุงย่างกุ้งเพื่อมาพยาบาลมารดา ดอว์ซิ่น ที่่กำลังป่วยหนักในขณะนั้น ในปี พ.ศ. 2531 ซึ่งในขณะนั้นเศรษฐกิจตกต่ำ และมีความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศพม่าประชาชนจำนวนมากโดยเฉพาะกลุุ่มนักศึกษาชุมนุมเคลื่อนไหวกดดันให้นายพลเนวินลาออกจากฃตแหน่ง ประธานพรรค นายพลเนวินลาออกจากตำแหน่ง ตามมาด้วยการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยของนักศึกษาและประชาชนหลายแสนคนในกรุงย่างกุ้ง เมืองหลวงของพม่าก่อนที่การชขุมนุมจะแพร่ลามไปทั่วไปรเทศ ต่อมมาผู้นำทหารได้สั่งการให้ใช้กำลังอาวุธสลายการชุมนุมของประชาชนนับล้านคนที่รวมตัวกันเรียกร้องประชาธิไตยในกรุงย่างกุ้งและเมืองต่างๆ ทั่วประเทศพม่าผู้ร่วมชุมนุมหลายพันคนเสียชีวิต ซึ่งเรียกเหตุการณืนี้ว่า 8-8-88 

        อองซานเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเป็นครั้งแรกในปี วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2531 โดยส่งจดหมายเปิดผนึกถึุงรัฐบาลเรียกร้องให้มีการจัดต้้งคณะกรรมการอิสระเพื่อเตรียมการเลือกตั้งทั่วไป

        26 สิงหาคม พ.ศ. 2531 อองซาน ซูจี ขึ้นกล่าวปราศรัยเป็นครั้งแรกต่อหน้าผูงชขนกว่าห้าแสนคน ณ มหาเจดีย์ชเวดากอง เธอเรียกร้องให้มีรัฐบาลประชาธิปไตย แต่รัฐบาลทหารจัดตั้ง "สภาพผื้นผูกฎระเบียบแห่งรัฐ" หรือ "ส่ลอร์ค"ขึ้น และทำการปราบปรามสังหารและจับกุมผู้ตอ่้ต้านอีกหลายร้อยคน

        24 กันนยายน พ.ศ. 2531 อองซาน ซูจี ได้ร่วมจัดตั้ง "พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิไตย" หรือ NLD ขึ้นมา และได้รับดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค

         พรรค NLD ตั้งขึ้นมาเพื่อเข้าร่วมการเลือกตั้งท่วไปที่"สลอร์ค"สัญญาว่าจะจัดขึ้นในปี 1990 (พ.ศ.2533) การควบคุมตัวอองซาน ซูจีไว้ในบ้านพัก พร้อมทๆกับผู้นำพรรคอีกหลายคนย่ิงทำให้ NLD ได้รับการสนับสนุนจากมวลชขนเพิ่มขึ้น ทั้งๆ ที่ตลอดปี 1989 และต้น 1990 รัฐบาบ "สลอร์ค"พยายามทำลายความน่าเชื่อถือของ NLD มาโดยตลอด

        ผลการเลื อกตั้งในเดือนมีนาคม 1990 ซึ่งพรรคการเมืองกวา 90 พรรคเข้าร่วม ปรากฎว่าพรรค NLD ได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมทั้นคิืดเป็นร้อยละ 58.7 นำห่างพรรค NUP พรรคนอมินีที่กองทัพตั้งขึ้นมาเพื่อแข่งขันกับ NLD โดยเฉพาะ ทีได้คะแนนเสียงเพียนงร้อยละ 21.1 ความนิยมใน NLD และอองซาน ซูจี ยิ่งสร้างความไม่พอใจให้กับคนในกองทัพ กองทัพออกมาประกาศให้การเลือกตั้งปี 1990 เป็นโมฆะ..

         "เอ็นแอลดี"ตอบโต้มติของกองทัพได้ไม่มากนัก แต่ก็นัดประชุมสมาชขิกพรรคและมีมติเรียกร้องให้ "สลอร์ค" มอบอำนาจคืนให้กับประชาชนและยอมารับผลการเลือกตั้ง เพื่อนำไปสู่กระบวนการเจรจาที่ยุติธรรมและบริสุทธิ์ใจระหว่าง "เอ็นแอลดี"และ "สลอร์ค"ต่อไป แต่ฝ่ายทหารไม่ต้องการการเจรจา


           ในวันที่ 8 สิงหาคม 1990 อันเป็นวันครบรอบ 2 ปีของเหตุการณ์ 8888 พรสงห์จำนวนหนึ่งเดินขบวนประท้อง "สลอร์ค"ที่มัณฑะเลย์ และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนนับพันคน แต่ก็ถูกยิงและทุบตีจนได้รับบาดเจ็บสาหัส การประท้วงขยายมาถึงย่างกุ้ง สมาคมสงฆ์มีมติคว่ำบาตรคนในกองทัพ พระสงฆ์ประเทศจะไม่ยอมรับบาตรและประกอบพิธีกรรมทางศาสนาใดๆ ให้กับคนในกองทัพและครอบครัว "สลอร์ค"ที่ในเวลานั้น มี นายพล ซอ หม่อง เป็นประธานสั่งจับกุมแกนนำพรรค "เอ็นแอลดี"รวมทั้งสมาชิกสภาพผู้แทนราษฎรที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามารในปี 1990 จำนวน 65 คน และประกาศยุบองค์กรสงฆ์ที่ยังดำเนินกิจกรรมททางการเมืองโดยขู่ว่าหากไม่ทำตาม พระสงฆ์จะถูกจับสึกทันที นอกจากนี้ วัดนัดร้อยวัดทั่วประเทศก็ถูกบุกยึดพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงหลายรูปถูกจับกุม

           ระหว่างปี 1988-1990 ซูจีเป็นที่รู้จักในหมุ่ชาวพม่าผุ้รักประชาธิปไตยภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อเธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปลายปี 1991 ด้วยการผลักดันของไม่ีเคิล แอรส สามีของเธอเอง เธอกลายเป็นวีรสตรีประชาธิปไตยที่ต่อสู้เพื่อความเสมอภาคในสังคม..ในเวลานั้นซุจีถูกคุถมตัวอยู่ในบ้านพัก อเล็กซานเดอร์ แอริส บุตรชายคนโตจึงเป็นผุ้กล่าวสุนทรพจน์เพื่อสดุดี อองซาน ซูจี อาจกล่าวได้ว่า อองซาน ซูจี และขบวนรการเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าถภูกกดดันมากขึ้นโดยรัฐบาล..ภายหลังซูจีได้รับรางวัลโนเบล องค์กรระดับโลกหลายแห่ง เช่น สหประชาชาติ จับตามองสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในพม่าเพิ่มขึ้น และพยายามเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าหันมาเจรจากับ "เอ็นแอลดี"ตลอดจนชขนกลุ่มน้อยอื่นๆ ที่ยังทำสงครามกัีบกองทัพพม่าอยู่ แต่ข้อเสนอเหล่้านี้ก็ถูกคนในกองทัพพม่าปฏิเสธมาโดยตลอด

         10 กรกฎาคม 1995 (พ.ศ.2538) ซูจีได้รับการปล่อยตัว หลังจากถภูกควบคึุมในบัานพักของเธอมาั้งแต่กลางปี 1989 แม้จะถูกจำกัดการเคลื่อนไหว แต่ซูจีและคนในพรรค "เอ็นแอลดี"ก็เดินสายพบปะประชาชนทีั่วประเทศอีกครั้งเธอถูกกักบริเวณในบ้านพักอีกครัี้งในยปี 2000 กองทัพอ้างว่าเธอละเมิดข้อตกลงเพื่อเดินทางไปมัณฑะเดลย์ก่อนหน้านัี้น 1 ปี "สลอร์ค" ยื่นข้อเสนอให้เะอเดินทางออกนอกประเทศเพื่อไปเยี่ยมสามี ที่ป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย แต่เธอปฏิเสธเพราะมองว่าหากตัดสินใจเดินทางออกนอกประเทศ จะไม่สามารถกลับเข้าพม่าได้อีก เธอถูกปล่อยตัวอีกครั้ง ในปี 2002 แต่ก็ถูกตัดสินจำคุกในระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน2003 ภายหลังมีการปะทะกันระหว่างผุ้สนับสนุน "เอ็นแอลดี"และผุ้สนับสนุนรัฐบาล "สลอร์ค"ในเหตุการณ์ที่เรียว่า "การสังหารหมุ่ที่เดปา"หลังจากนี้ ซูจีจะถูกควบคุมตัวในบ้านพักต่อไปจนถึงปลายปี 2010 เมื่อเธอถูกปล่อยตัวถาวรใสนวันที่ 13 พฤศจิกายน...

             ข้อมูลบางส่วนจาก...มติชนออนไลน์ "กำเนิด NLD และวิถีพม่าสู่ระบอบประธิปไตย(?) โดย ลลิตา หาญวงษ์

                                          ... digitalschool.club "ประวัติของอองซานซูจี"

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...