วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

Ethnicity in Middle East II

      ชาวเติร์ก ตุรกีเชื่อว่าบรรพบุรุษของเขาคือชนเผ่าเติร์กกลุ่มหนึ่งซึ่งชาวจีนเรียกว่า "ชาวถูเจี๋ย" ดินแดนของถูเจี๋ยในยุคราชวงศ์ยังเลยขึ้นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเล็กน้อย ถ้ามองจากแผนที่จะอยู่บริเวณด้านเหนือของทะเลทรายทากลามากัน ค่อนไปทางตะวันตก บทบาทและอิทธิพลของชาวเฟ่าถูเจี๋ยมีสูงมากในสมัยราชวงศ์สุยต่อมาเมือเปลี่ยนมาเป็นราชวงศ์ถัง ชาวถูเจี๋ยเป็นภัยคุกคามทางตอนเหนือย่างยิ่ง ถังไท่จง ฮ่องเต้ (หลีชื่อหมิน) ในเทโศบายผูกมิตรไว้ก่อนในช่วงแรกจนะมือรัฐบาลถงแช็.แรงพร้อมจึ้งก่อสงครามกับชาวถูเจี๋ยจนได้รับชัยชนะ ขับไล่ขาวถูเจี๋ยออกไปจากแดนซื่อวี๋ได้สำเร็จ



          ขาวถูเจี๋ยที่พ่ายศึกเดินทางผ่านเส้นทางสายไหม ผ่านยูเรเซียไปถึงที่ราบสูงอนาโตเลีย แล้วก็เป็นพรรพบุรุษของขาวเติร์กที่เป็นประเทศตุรกีในปัจจุบัน...

     (ข้อมูลเพ่ิมเติม : https://draft.blogger.com/blog/post/edit/57583117367728393/2487512331205007712)

          ชาวเปอร์เซ๊ย เป็นกลุ่มชนอิหร่านที่มีประชากอาศัยอยู่ในประเทศอิหร่านมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ โดยมีระบบวัฒนธรรมคล้ายกันและพูดภาษาเปอร์เซ๊ยเป็นภาษาแม่ เช่นเดียวกันกับภาษาที่มีความใกล้ชิดกับภาษาเปอร์เซ๊ย

           ในอดีต ชาวเปอร์เซียโบราณอพยพไปยังภูมิภาคเปอร์ซิส ใน ศตวรรษที่ 9 ก่นคริสต์กาล ซึ่งปัจจุบันอยู่ในจังหวัดฟอร์สที่อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอิหร่าน ในอดีตพกเขาเคยเป็นจักรวรรดิที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก แล้วส่งอิทธิพลทางวัฒนธรรม การเมือง และสังคมไปทั่วดินแดนและประชกรในดโลกโบราณ ตลอดทั้งประวัติศาสตร์ ชาวเปอร์เซียมีส่วนร่วมอย่างมากทั้งในด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์ วรรณกรรมเปอร์เซ๊ยเป็นหนึ่งในแนววรรณกรรมที่โดดเด่นที่สุดในโลก

          ในศัพท์แบบปัจจุบัน ผุ้คนซึ่งอาศัยอยู่ใอัฟกานิสถาน ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน ในปัจจุบันถูกเรียกเป็น ชาวทาจิก ในขณะที่กลุ่มชนในคอเคซัส (ส่วนใหญ่อยู่ในอาเซอร์ไบจาน และ สาธารณรับคาเกสถาน ประเทศรัสเซีย) แม้ว่าจะุูกดูดกลืนทางวัฒนธรรมไปแล้ว ถูกเรียกเป็นชาวดัต อย่างไรก็ตาม ในอดีต คำว่า "ทาจิก"กับคำว่า "ดัต"เป็นคำที่มีความหมายพ้องกันและสามารถใช้คำว่า "เปอร์เซีย"แทนกันได้  อิทธิพลเปอร์เซ๊ยนอกอิหร่านขยายทางตะวันออกเฉียงเหนือไปถึงเอเซียกลางกับอัฟกานิสถาน และทางตะวันตกเฉียงเหนือไปถึงคอเคซัส...     

            ชาวเคิร์ต เป็นกลุ่มชนอิหร่าน ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคบนภูเขาของเคอร์ติสถานในเอเซียตะวันตก ซึ่งกินพื้นท่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอิหร่าน ทางเหนือของอิรัก และทางเหนือของซีเรีย โดยมีดินแดนส่วนแยกของชาวเคิร์ดในอานาโตเลียกลาง โฆรอซอน และคอเคซัส เช่นเดียวกันกับสังคมชาวเคิร์ดพลัดถิ่นในเมืองทางตะวันตกของตุรกี (โดยเฉพาะอิสตันบูล) แะยุโรปตะวันตก (โดยเฉพาะในประเทศเยอรมัน) ประชาชกรชาวเคิร์ด มีประมาณ สามสิบถึง สี่สิบห้าล้านคน

         


  ชาวเคิร์ดพูดภาษาเคิร์ดและกลุ่มภาษาซาซา-โกรานี ซึ่งอยู่ในสาขาอิหร่านตะวันตกของกลุ่มภาษาอิหร่านในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน

            หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และการพ่ายแพ้ของจักรวรรดิออดโตมัน ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทำข้อกำหนดสำหรับรัฐเคิร์ดตาสนธิสัญญาในสามปีต่อมา เพราะมีการแบ่งดินแดนตามสนธิสัญญาโลซาน ทำให้ชาวเคิร์ตมีสถานะเป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศใหม่ทั้งหมด


                                                                 ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย. OGR Online บางส่วนจากบทความ "เพราะตุรกีถือวาอุยกร์เป็นเพี่น้อยเลือดเดียวกัน"

                             


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

“rural resentment.”

         บางส่วนจากบทสัมภาษณ์  Jon K. Lauck  ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งมหา วิทยาลัยเซาท์ดาโกตา ซึ่งได้คิดค้นสาขาการศึกษาเก...