โดยก่อนหน้าสงครามอ่าวเกิดสงครามอิรัก-อิหร่านขึ้นมากอ่นในปี 1980 - 1988 ซึ่งสงครามในครั้งมี
บาททฤษฎีกล่าวว่าเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่รัฐบาลอิรักบุกคูเวตเนืองจากเป็นหนี้กว่า 14 พันล้านดอลลาร์ยูเอส จากการกู้มาใช้ในสงคราม และหลังสงคราม คูเวตทำการผลิตน้ำมันออกสู่ตลอดจำนวนมหาศาล ส่งผลให้ราคาน้ำมันตกต่ำ อิรักไม่มีรายได้มากพอจะชำระหนี้จึงทำการบุกครองคูเวตและถูกแทรกแซงโดยสหรัฐอเมริกาบานปลายเป็นสงครามอ่าวเปอร์เซียในที่สุด
การปฏิวัติอิหร่าน คือเหตุกำารที่เกี่ยวกับการโค่นล้มราชวงศ์ปาห์ลาวี ภายใต้พระเจ้าซาห์ โมอัมหมัด ปาห์ลาวี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอมเริกา และารแทนที่ด้วยสาธารณรัฐอิสลามภายใต้ รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี ผุ้นำการปฏิวัติ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาอกงค์การฝ่ายซ้ายและอิสลามหลายแห่ง และขบวนการนักศึกษาอิหร่าน โคมัยนี เถลิงอำนาจอย่างเป็นทางการอิหร่านออกเสียงลงคะแนนการลงประชามติทั่วประเทศให้เป็นสาธารณรัฐอิสลามเมือวันที่ 1 เมษายน 1979 และรับรองรัฐธรรมนูญเทวาธิปไตย-สาะารณรัฐนิยม แบับใหม่ ซึ่งโคมัยนี่ เป็นผู้นำสูงสุดของประเทศและประกาศตัวป็นผู้นำอิสลามนิกายชีอะห์ ทำให้มุสลิมชีอะห์ อันเป็นส่วนามากในอิรักลุกขึ้นมาก่อจลาจลต่อต้านการปกครองของรัฐบาลนิกายซุนนี ขณะเดียวกันอิรักก็มีความพยายามจะขึ้นมามีอิทธิพลครอบงำภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียแทรที่อิหร่าน
สงครามอิรัก-อิหร่าน แม้ว่าอิรักจะใช้โอกาสในขณะที่อิหร่านกำลังวุนวายเข้าโจมตีโดยไม่ประกาศก่อน แต่เข้ายึคดครองยังไม่ได้มากนักก็ถูกโต้กลับอยางรวดเร็ว อิหรานสามารถชิงดินแดนที่สูญเสียไปทั้งหมดคืนมาได้ภายในเดือนมิถุนายน 1982 และตอลดหกปีจากนี้ อิหร่านก็กลายเป็นฝ่ายรุกไล่เข้าไปในดินแดนอิรัก แม้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาติร้องขอให้มีการหยุดยิงนับสิบครั้ง แต่การสู้รบก็ดำเนินไปถึงวันที่ 20 สิงหาคม 1988สงครามครั้งนี้ทำให้มีผุ้เสียชีวิตรวมกันกว่า1,000,000 คน แต่ไม่มีฝ่ายใดได้หรือเสียดินแดน สงครามครั้งนี้ถุกนำไปเปรียบเทียบกับสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศอิสลามจำนวนมากอยุ่ฝ่ายเดียวกับชาติตะวันตกในสงครามครั้งนี้ นั่นคือการสนับสนุนอิรักโดยการให้เงินกู้. ยุ่ทโธปกรณ์และภาพดาวเทียมในช่วงที่อิรักโจมตีอิหร่าน และกว่าคณะมนตรีความมั่นคงUN จะประกาศให้อิรักเป็นผุ้ก่อสงครามก็ล่วงไปถึงปีที่ 12 ให้หลังจากอิรักรุกรานอิหร่าน และล่วงเข้าเดือนที่ 16 หลังอิรักรุกรานคูเวตซึ่งบานหลายเป็นสงครามอ่าว
การบุกยึดครองคูเวต หรือ สงครามอรัก-คูเวต เป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลพรรคบาอัธของประเทศอิรักและเอมิเรตแห่งคูเวต อิรักสามารถยึดคูเวตได้อย่างง่ายดายและปกครองคูเวตอยู่ 7 เดือน กระทั้งสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดี จอร์จ เอช.ดับเบิลยู บุช ส่งกำลังทหารเข้าแทรกแซงและบานปลายเป็นสงครามอ่าวเปอร์เซีย
สงครามอ่าวเปอร์เซีย การยึดครองคูเวตของกองทัพอิรักถูกนานาชาติประณาม และสมาชิกคณะมนตรีความมันคงแห่งสหประชาชาติ ใช้วิธีการบังคับทางเศรษฐกิจต่ออิรัก ประธานาธิบดี จอร์จ เอช.ดับเบิลยู. บุช วางกำลังทหารสหรัฐเข้าสู่ซาอุดิอาระเบียและกระตุ้นให้ประเทศอื่นส่งของตนไปที่นั้นด้วย มีหลายชาติเข้าร่วมกำลังผสม ซึ่งเป็นพันะมิตรทางทหารที่ใหญ่ที่สุดนับแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังทหรของกำลังผสมส่วนใหย่มาจากสหรัฐ โดยมีซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาณาจักรและอิยิปต์ เป็นผู้มีส่วนร่ว่มตามลำดับ ความขัดแย้งระยะแรกเพื่อขับกองทัพอิรักอออกจากคูเวตเร่ิมด้วยการระดมท้ิงระเบิดทางอากาศและทางเรือ ซึ้งดำเนินไปห้าสัปดาห์ ตามด้วยการโจมตีภาคพื้นดิน สงครามสิ้นสุดด้วยชัยชนะอย่รางขาดลอยของกองกำลังผสม
ตลอดช่วงเวลาของสงครามเย็น อิรักเป็นพันธมิตรสหภาพโซเวียตและมีประวัิตความไม่ลงรอยกับสหรัฐ ซึ่ง สหรัฐกังวลถึงตำแหน่งของอิรักต่อการเมือง อิสราเอล-ปาเลสไตน์ และการที่อิรักไม่เห็นด้วยกับสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์
สหรัฐไม่พอใจนักกับการที่อิรักเข้าสนับสนุนกลุ่มอาหรับและปาเลสไตน์ติดอาวุธอย่าางอาบูไนตัล ซึ่งทำให้มีการรวมอิรักเข้าไปในรายชื่อประเทศผู้ให้การสนับสนุนการก่อการร้ายข้ามชาติของสหรัฐ สหรัฐยังคงสถานะเป็นกลางอยางเป็นทางการหลังจากการรุกรานของอิหร่าน แม้จะคอยช่วยอิรักอย่างลับๆ ในความพยายามของสหรัฐที่จะเป็นความสัมพันธ์ทางการทูตต่ออิรัก อิรักได้ถูกนำออกจากรายชื่อประเทศที่สัยสนุนการก่อการร้าย ซึ่งอิดีตผุ้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ได้กล่าวในเวลาต่อมาว่า "ไม่มีใครที่สงสัยในเรื่องที่อิรักยังคงมีส่วนเกี่ยวข้องกับผุ้ก่อการร้าย..เหตุผลที่แท้จริงคือเพื่อช่วยให้พวกเขามีชัยเหนืออิหร่น"
การขับไล่ปาเลสไตน์ออกจากคูเวต 1991 นโยบายขับไล่ของ
คูเวตนั้นมีเหตุมาจาการที่ผุ้นำองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ ยัสเซอร์ อาราฟัส เข้าร่วมกับซัดดัมก่อนทีจะมีการรุำกรานคูเวต ก่อนหน้าสงครามทีชาวปาเลสไตน์ประมาณ 30% ของประชากรจำนวน 2 ล้านคนในคูเวต การับไล่เกิดขึ้นในสัปดาห์หนึ่งของเดือนมีนาคมหลังจากที่คูเวตถูกปลดปล่อย คูเวตได้ขับไล่ชาวปาเลสไตน์ประมาณ 3 แสนคนออกจากอาณาเขต ในปี 1991 ปัจจุบันมีชาวปาเลสไตน์ในคูเวตประมาณ 9 หมื่นคน
ปฏิบัติการเซา่ท์เธิร์นวอท์ซ ด้วยเหตุจากสงครามสหรัฐจึงคงทหารจำนวน ห้าพันนายไว้ในซาอุดิอาระเบียและเพื่มเป็น หนึงหมื่นนายในช่วงสงครามอิริัก 2003 ปฏิบัติการน้มีการบังคับใช้เขตห้ามบินเหนือพื้นที่ทางใต้ของอิรักหลังจากปี 1991 การส่งออกน้ำมันผ่านอ่าวเปอร์เซียได้รับการคุ้มกันจากกองเรือที่ห้าของสหรัฐที่มีฐานในบาร์เรน
ด้วยเหตุที่ซาอุดิอาระเบียเป็นที่ตั้งของเมกกะและเมตินา สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิม ชาาวมุสลิมจำนวนมากจึงไม่พอใจที่ทหารเข้ามาประจำการภาวรในเมือง การมีอยุ่ของทหารสหรัฐในซาอุหลังจากสิ้นสุดสงครามเป็นสาเหตุหนึ่งที่เป็นแรงจูงใจให้เกิดเหตุ 9 11 การรเเบิดหอโคบาร์ และการเลือกวันระเบิดสถานทูตสหรัฐ ซึ่งนับเป็นระยะเวลาแปดปีตั้งแต่ที่ทหารสหรัฐเข้าไปตั้งฐานในซาอุดิอาระเบีย โอซามะ บิน ลาดิน ย้ำเสมอว่าศาสดามุฮัมมัด ได้ห้ามมิให้มีการปรากฎตัวของพวกนอกศาสนาในพื้นที่ของอาหรับ ปี 1996 บิน ลาดิน ได้ทำการฟัตวาโดยเรียกร้องมให้ทหา่รอเมริกันถอนกำลังออกจากซาอุดิอาระเีบีย ธันวาคม 1999 บิน ลาดิน ให้สัมภาษณ์ว่าเขารู้สึกว่าชาวอเมริกัน "อยู่ใกล้เมกกะมากเกินไป" และมองว่าป็นการกระทำที่ยั่วยุโลกอาหรับ
ที่มา: วิกิพีเดีย