วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2567

Geopolitical concepts

           อัลเฟรด เทเยอร์ มาฮาน 1840-1914 ทฤษฎีสมุทรานุภาพ อัลเฟรด เป็นนายทหารเรือ และนัก
ประวัติศาสตร์เขาเคยเป็นอาจารย์สอนวิชาประวัติศาสตร์และุทธศาสตร์ทางเรือที่วิทยาลัยกองทัพเรือ มาอานให้ความสำคัญกับเรื่องของสมุทรานุภาพเป็นอย่างมาก โดยมาฮานได้เขียนหนังสือชื่อว่า "อิทธิพลของสมุทรานุภาพในประวัติศาสตร์" ออาเผยแพร่เมือปี 1890 โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของอำนาจทางทะเลที่มีต่อกิจการทหาร

         มาฮาน มีความเห็นว่า ประเทศที่จะเป็นมหาอำนาจได้นั้นจะต้องเป็นประเทศที่มีกำลังอำนาจควบคุมทางทะเลและมหาสมุทร และเห็นว่าไม่มีประเทศใดที่จะสามาราถเป็นมหาอำนาจทางบกและมหาอำนาจทางทะเลได้ในเวลเดียวกัน มาฮานยกตัวอยา่งประเทศอังกฤษ มีลักษณะเป็นเกาะจึงไม่ต้องกังวลกัการรุกรานทางบกจึงทำให้อังกฤษสามารถสร้างเสริมกำลังทางทะเลให้ยิ่งใหญ่ได้จนได้ขื่อว่ "เจ้าสมุทรฎ นอกจากนี้การที่อังกฤษสามารถที่จะเข้าควบคุมจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญทางทะเล หรือด่านสมุทร ซึ่งเป็นชุมทางและทางผ่านของเส้นทางเดินสมุทรเอาไว้ได้ ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อังกฤษกลายเป็นประเทศมหาอำนาจ มาฮานเห็นว่าประเทศที่จะรับช่วงการเป็นเจ้าสมุทรต่อจากอังกฤษก็คือ สหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เพราะแม้สหรัฐอเมริกาจะมีที่ตั้งอยู่บนทวีป แต่ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลกับการรุำกรานจากทางบก เพราะประเทศเพื่อบ้าน คือ แคนาดานั้นเป็นประเทศที่ไม่มีความเข้มแข็งทางการทหาร นอกจากนี้อาณาเขตของอเมริกาังติต่อกับมหาสมุทรถึงสองแห่งด้วยกัน คือ แอตแลนติกและปแซิฟิก มาฮานจึงเสนอให้สหรัฐฯสร้างกำลังทางทะเลของตนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น...

           เซอร์เฮาฟอร์ด แมคคินเดอร์ 1861-1947 ทฤษฎีฮาร์ตแลนด์ เป็นชาวอังกฤษ และทำงานเป็นอาจารย์สอนวิชาภูมิศาสตร์อยุ่มหาวิทยาลัยลอนดอน ตลอดจนเป็นผู้อำนวยการสถาบันเศรษฐศาสตร์แห่ง


ลอนดอน ทฤษำีของเขามีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อการก่อสงคราม โดยบุกเข้าไปทางรัสเซียองเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 

        แมคคินเดอร์เห็นว่าพื้นที่ของทวีปเอเซีย ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา นั้นเป็นพื้นดินที่มีความต่อเนื่องกันเป็นผืนเดียว แมคคินเดอร์เรียกแผ่นดินผืนนี้ว่ "เกาะโลก" World Iland และเกาโลกนี้มีจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญย่ิง คือ บริเวณดินแดนในแถบยูเรเซีย โดยดินแดนนี้เร่ิมจากชายฝั่งทะเลยอลติกและทะดำในทางตะวันตกไปจนกระทั่งถึงเขตไซบีเรยในทางตะวันออก และทางเหนือเร่ิมจากมหาสุทรอาร์กติกลงมาจนจรดเทือกเขาหิมาลัยทางใต้ บริเวณนี้ได้รวมเอาส่วนใหญ่ของที่ราสูงอิหร่านททางตะวันตกเฉียงใต้ และที่ราบสูงมองโกเลียทางตะวันออกเฉียงใต้เข้ามาไว้ด้วย แมคคินเดอร์ เรียกบริวเณนี้ว่า "ดินแดนหัวใจ" Hearrtland และเห็นว่ากำลังทาเรือนั้นจะเข้ามาในบริวเณดินแดนนี้ได้ยกมาก ยกเว้นแต่ทางด้านทะเลตะวันตก ซึ่งแมคคินเดอร์ก็เห็นว่าอย่างไรก็ยังไม่เป็นที่น่่ากังวลนัก เพราะในยุทธนาววีระหว่างอังกฤษกับเยอรมันที่แถบคาบมหาสมุทรยุคแลนด์ในปี 1919 นั้น เรือรบของอังกฤษไม่สามารถที่จะข้ามช่องแคบดาร์ตะเนลส์ของตุรกีเข้าไปสู่ทะเลดำได้ ทั้งเรือดำน้ำและทุ่นระเบิดของเยรอมันก็สามารถป้องกันไม่ให้อังกฤษสามารถเข้าไปในทะเลบอลติกได้ ส่วนทางบกนั้นดินแดนหัวใจถูกลัอมรอบไปด้วยภูเขา ทะเลทราย และน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์ติก ดังนั้นการบุกรุกจากทางบกก็ทำได้ยากเช่นกัน นอกจากนีั้แมคคินเดอร์ยังเห็นว่า หากใครมาสามารถครบอครองดินแดนหัวใจได้แล้วก็จะสามารถบุกไปยังยุโรปตะวันออกและยุโรปตะวันตกได้โดยง่าย ซึ่งที่ตั้งของเยอรมันเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่เกื้อกูลต่อดินแดนหัวใ เรพาะว่าถ้ารวมเยอมันเข้ากับดินแดนหัวใจแล้วก็จะสามารถขยายอิทธพลไปได้กระทั่งจรดชายฝั่งของยูเรเซีย

           ดินแดนหัวใจนั้นถูกล้อมรอบด้วยดินแดนของทวีปยุดรปและเอเชีย อันได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศษ เยอรมัน จีน ฯลฯ ซึ่งแมคคินเดอร์เรียกบริเวณนี้ว่า ดินแดนครึ่งวงกลมริมใน Inner Marginal Crescent ส่วนดินแดนที่อยุ่ถัดออกมาจากบริเวณดินแดนครึ่งวงกลมริมใน ก็ได้แก่ ทวีปอัฟริกา ทวีปออสเตรเลีย ทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้ แมคคินเดอร์เรียกบริวเณที่เหลื่อเหล่านี้ว่า "เนิแดนครึ่งวงกลมริมนอก"Outer Insular Creseent 

นิโคลัส จอห์น สปีกแมน 1893-1943 ทฤษฎีริมแลนด์ เป็นชาวอเมริกัน และเป็นอาจารย์สอนวิชาความสัมพันะ์ระหว่างประเทศอยุ่ในมหาลัยเยล สปีกแมนเห็นว่า ปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญที่จะมากำหนดนโยบายต่างประเทศ เพราะเป็นสิ่งที่มั่นคง ถาวร นอกจากนี้ สปีกแมนได้ให้นิยามของภูมิศาสตร์ว่าเป็นการวางนโยบายสำหรับความมั่นคงของประเทศ โดยอาศัยปัจจัยทางภูมิศาสตร์ว่าเป็นการวางนโยบายสำหรับความมั่คงของประเทศ โดยอาศัยปัจจัยทางภูมิศาสตร์

          แนวคิดของสปีกแมนเป็นแนวคิดที่สือบเนื่องมาจากความคิดเรื่องดินแดนหัวใจของแมคคินเดอร์ และโดยที่สปีกแมนมองว่า ดินแดนหัวใจนั้นไม่ใช่จุดยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญ แต่ดินแดนที่มีความสำคัญนั้นคือ บริเวณที่อยุ่ถัดจากดินแดนหัวใจออกมา ซึ่งได้แก่ บริเวณที่อยุ่รอบของดินแดนยูเรเซีย หรือดินแดนที่แมคคินเดอร์เรียกว่า ดินแดนครึ่งวงกลมริมในนั่นเอง แต่ทั้งนี้ยกเว้นตะวันออกกลาง ตะวันออกใกล้ ตะวันออกไกล และเอเซียอาคแนย์ เพราะบริเวณเหล่านี้เป็นบริวเณกันชน Buffer Zone ระหว่างทำนาจทางบกและอำนาจทางทะเล โดยสปีกแมนเรียกบริเวณนี้ว่า "ริมแลนด์" Rimland

          โดนัล ดับเบิลยู ไมนิก เป็นนักภูมิรัฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้แต่งหนังสือเรือง "ดินแดนหัวและริมแลนด์ในประวัติศาสตร์ของยุโรปและเอเซีย" ขึ้นในปี 1956 ได้แบ่งริมแลนด์ออกเป็น 2 ปรเภทคือ ริมแลนด์
ภายในทวีป Continental Rimland และริมแลนด์ริมทะเล Maritine Rimland โดยืั้ก่ีแย้วีิทแบรดฺออกเป็น 2 ประเภทดังกล่าวนี้ ไมนิกได้พิจารณาในแง่ของการมองข้าข้างใน(ทวีป) และการมองออกข้างนอก(ทะเล) ประเทศที่เป็นริมแลนด์ในทวีปจะมองเข้ามาข้างในทวีป เช่น จีน จีนต้องมองเข้าข้างในเพราะเกรงรัสเซียจะรุกราน เป็นต้น ส่วนประเทศที่เป็นริมแลนด์ริมทะเล จะมองออกทะเล เช่น ประเทศไทย เพราะในยุคหนึ่งศัตรูจะมาจากทางทะเล เป็นต้น ไมนิกได้พิจารณาปัจจัยในด้านต่างๆ เช่น ด้านความสามารถ ด้านความโน้มเอียงของนโยบาย และวัฒนธรรมของรัฐแถบริมแลนด์ว่าจะกำหนดอย่างไร ซึ่งก็เท่ากับได้กำหนดหน้าที่ของดินแดนหัวใจนั้นเอง

           ไมนิกได้ชี้ให้เห็นว่า นโยบายและความโน้มเอียงทางการเมืองของประเทศใดๆ ก็ตามที่อยู่ในดินแดนริมขอบ อาจจะสลับไปมาระหว่างมองเข้าข้างในและมองออกจากภายนอกได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับเหตุการณ์และความกดดันทางประวัติศาสตร์และาการเมือง ดัวอย่างของประเทศที่ไม่นิกยกตัวอย่างคือ ประเทศไทย ในยุคแรก ไทยทองเข้าไปในทวีปก็เพราะข้าศึกส่วนใหญ่รุกรานมาจากภายในทวีป เช่น พม่า เขมร เป็นต้น ในยุคอาณานิคม ไทยมองออกไปทางทะเล เพราะข้าศึกที่อาจจะรุกรานมาทางทะเล ในยุคสงครามเย็น ไทยก็มามองเข้าไปภายในทวีปอีก เพราะข้าศึกอาจจะรุกรานเข้ามาทางผืนแผ่นดินใหญ่ตอนเหนือ ได้แก่ จีนและโซเวียต

            ตามทฤษฎีของไมนิก ไม่สามารถที่จะกล่าวได้ว่าใครคุมดินแดนหัวใจได้ จะสามารถครอบครองดินแดนริมขอบได้ด้วย แต่แม้กระนั้นก็กล่าวได้วาภายในสภาพบางประการ ผุ้ที่ครอบครองดินแดนหัวใจอยู่จะมีโอกาสครอบครองดินแดนริมขอบได้ด้วย

           ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 งานเกี่ยกับอำนาจของประเทศยังคงมีอยุ่ แต่แนวโน้มมุ่งไปศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาภูมิศาสตร์การเมืองโดยเฉพาะเป็นเรื่องๆ มากกว่าอย่างอื่น ในปี 1920 หนังสือเกี่ยวกับวิชาและปัญหาของพรมแดน การประชุมระหว่างรัฐบุรุษของโลก ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้อาศัยความรู้ในวิชานี้ในการทำแผนที่ใหม่ของยุโรป เช่น วู้ดโรว์ วิลสัน Woodroll Wilson อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาซึ่งได้รับคำแนะนำจากผุ้เชี่ยวชาญทางด้านวิชานี้ คือ 

 ดร.ไอไซอาร์ โบว์แมน Isaiah Bowman ซึ่งในขณะนั้นเป็นผู้อำนวยการสมาคมภูมิศาสตร์อเมริกัน ซึ่งเป็นความสำคัญต่อวิชาการเมืองระหว่างประเทศมากผลงานของเขาเป็นที่รู้จักกันดีในวงการภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศ โบว์แมนได้ศึกษาและจัดแบ่งเขตภูมิวทยาของสหรัฐฯ และจัดพิมเป็นหนังสือเรื่องภูมิวิทยาป่าไม่ Forest Physiography โบว์แมนได้ขยายสมาคมภุมิศาสตร์จนมีความสำคัญระดับโลก หนังสือที่มีชื่อเสียงอีกเล่นหนึ่ง คือ 

          โลกใหม่ : ปัญหาทางภูมิศาสตร์การเมือง The New World : Problem in Political Geography ตีพิมพ์ในปี 1921 โบว์แมนได้อภิปรายปัญหาดินแดนทางภูมิศาสตร์ทางการเมือง หนังสือเล่มนี้ได้วางแนวทางของวิชาภูมิศาสตร์การเมืองไว้ 2 แนว

         แบบมีระบบ Systematic และแบบมีดินแดน บริเวณทางการเมือง Regional โบว์แมนนั้น นับว่าเป็นนักภูมิรัฐศาสตร์ที่ปฏิบัติงานด้านรักษาความสงบและสันติภาพให้แก่โลก โดยการชยายการทำแผนที่ความร่วมมือระหว่างประเทศลงไปทางทวีปอเมริกาใต้ ทำให้เกิดการวางแผนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การสำรวจและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ จนทำให้วิชาภูมิศาสตร์มีประโยชน์ในการวางแผนพัฒนา...


                 ที่มา : https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/BKN/search_detail/result/192642 


วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2567

Geopolitics

             ภูมิรัฐศาสตร์ เป็นวิชาที่บูรณาการจาก 3 วิชา คือ รัฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และการทหาร เร่ิมการสอน
ในประเทศสวีเดน เมือปี 1916 และถูกนำไปเป็นวิชาหลักสำคัญของเยอรมนีและแพร่ไปทั่วโลก โดยพลเอกศาสตราจารย์คาล เฮาโซเฟอร์ ผุ้เสนอทฤษฎี เลเบนสเราม์ มีแนวคิดว่ รัฐเป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องการพื้นที่ดินเพื่อขยายตัวอยุ่ตลอดเวลา จึงถูกระบอบนาซีอ้างเป็นเหตุในการขยายอาณาเขตกระทั่งกลายเป็นสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นเอง

           ภูมิรัฐศาสตร์ประกอบด้วย รัฐศาสตร์ ซึ่งภูมิรัฐศาสตร์จะเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  ภูมิศาสตร์ ตั้งเิมจะเน้นเฉพาะภูมิศาสตร์ทางกายภาพ เช่น ภูเขา ที่ราบสูง สมุทรศาสตร์ ภูมิอากาศวิทยา หิน อุตุนิยม เป็นต้น เพื่อประกอบกับเรื่องการทหาร สำหรับฝ่ายการเมืองจะนำไปเป็นข้อพิจารณาเพื่อประกอบการตัดสินใจเป็นนโยบายการต่างประเทศต่อไป แต่ภูมิรัฐศาสตร์ปัจจุบัน ได้ให้ความสำคัญต่อวิชาภูมิศาสตร์มนุษย์ ซึ่งเป็นเรื่องของคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ เช่น สาขา ภูมิรศาสตร์วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ ภมฺิศาสตร์ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์การเมือง ภูมิศาสตร์ศาสา เป็นต้น ภูมิศาสตร์มนุษย์ เป็นการศึกษาความเข้าใจและการใช้งานผืนโลกของมนุษย์ และกระบวนการที่มีผลกระทบต่อสิ่งนั้น มันเกี่ยวโยงกับทั้งสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์การศึกษาความเข้าใจและการใช้งานผืนโลกของมนุษย์ และกระบวนการที่มีผลกระทบต่อสิ่งนั้น

          อาทิ ปัญหาในตะวันออกกลางหากจะวิเคราะห์ในแง่ของภุมิรัฐศาสตร์โดยปราศจากความรู้ทางภมิศาสตร์ศาสนาจากสาขาภูมิศสตร์มนุษย์ก็ยากที่จะเขาใจได้ จึงกล่าวได้ว่า ภูมิรฐศาสตร์ยุคใหม่นี้เน้นความสำคัญของภูมิศาสตร์มนุษย์มากกว่าเดิมซึ่งให้ความสำคัญเฉพาะภูมิศาสตร์กายภาพเท่านั้น

          การทหาร ในวัชาภูมิรัฐศาสตร์นั้น กลักการที่สำคัญเป็นหัวใจของการทหารคือ War is mere continuation of policy by other means...a real political instrument...a continuation of political commerce... -สงครามเป็นเพียงความต่อเนื่องของนโยบายแบบหนึ่ง..เป็นเครื่องมือทางการเมืองอย่างแท้จริง..เป็นส่วนต่อของพาณิชย์การเมือง" 

         เมื่อสงครามโลกครังที่ 2 ยุติลง โลกได้รู้จักกับนิวเคลียร์ เกิดการแข่งขันระหว่าง 2 มหาอำนาจ สหรัฐฯและรัฐเซีย ชีปนาวุธทีสามารถยิงได้ทัี่วทุกมุมโลก ทำให้ภูม้ิรัฐศาสตร์กลายเป็นวิชาที่บรรดามหาวิทยาลัยต่างๆเลิกสอน เลิกทำการวิจัยทางภูมิรั้ฐศาสตร์เกือบหมด

        เมื่อโลกเข้าสู่สงครามเย็น ทั้งสองฝ่ายตระหนักดีว่าหากเกิดสงครามนิวเคลียร์จะได้รับผลเสียหายเป็นอย่างมาก ไม่ว่าใครจะแพ้หรือชนะ ดังนั้น 2 มหาอำนาจต่างให้การสนับสนุนความขัดแย้งในภูมิภาค หรือที่เรียกว่า สงครามตัวแทน ความขัดแย้งที่มีพื้นฐานมาจาการต่อสู้ทางอุดมการณ์และภูมิรัฐศาสตร์เพื่ออิทธิพลทั่วโลกโดยสองมหาอำนาจ 

        ดังนั้นการสงครามที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงไม่มีใครนำอาวุธนิวเคลียร์ออกมาใช้ ยังคงใช้อาวุธนานาชนิดที่ไม่ใช่นิวเคลียร์ การเมือ กองทัพทหารและต้องอาศัยภูมิศาสตร์เป็นหลักในการสงครามเหมือนในอดีต ภมฺรัฐศาสตร์ จึงกลับมาได้รับความสนใจ 

          ฟรีดริส รัทเซล เป้นนักภูมิศาสตร์และนักชาิตพันู์วิทยาที่มีชื่อเสียงที่ได้ให้คำอธิบายถึงศัพท์ "Lebensraum" หรือ "การขยายดินแดนเพื่อความอยุ่รอดของรัฐ" ความสำคัญของเขาที่มีต่อวิชาภฺมรัฐสษสตร์ก็คือ เขาเป็นผู้แผ้วทางแนวทางของภูมิรัฐศาสตร์โดยการนำความรู้ด้านภูมิศาสตร์ใสนเรื่องของระวางที่ เข้ามาผนวกเพื่อวิเคราะห์แนวทางทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความมั่นคง

          ในปี 1975 รัทเซลเดินทางกลับถคงเยอรมันและได้รับเป็นอาจารย์สอนวิชาภูมิศาสตร์ที่วิทยาลัยเทคนิคในเมืองมิวนิค และในปีถัดมาเขาได้สร้างผลงานชิ้นสำคัญข้นมาซึ่งต่อมาได้กลายเป็นรากฐานสำคัญในการก่อตังสาขาวิชา "ภูมิรัฐศาสตร์วัฒนธรรม" ในปี 1880 เขาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ ในระหว่างที่เขาเป็นอาจารย์อยุ่เมืองมิวนิคเาผลิดผลงานทางวิชาการและตำราขึ้จำนวนมาก ปี 1886 เขาได้รับแต่งตั้งให้ไปทำการสอนที่มหาวิทยาลัยในเมืองไลพ์ซิก คำบรรยายของเขาได้รับความสนใจจากคนในแวดวงภูมิศาสตร์อย่างมาก และตัวของรัทเซลก็ยิ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมากขึ้นเมือง เอลเลน ครูชิล ซิมเปิล นักภูมิศาสตร์ชาวอเมริกันได้นำคำสอนของเขาไปเผยแพร่..เขายังได้เป็นผู้วางรากฐานวิชา "ภูมิศาสตร์มนุษย์"ด้วยแต่ถูกนำไปตีความผิดๆ

          รัทเซล เกี่ยวข้องกับวิชาภูมิรัฐศาสตร์ในปี 1897 เป็ปีที่เขาตีพิมพ์ผลงานที่ชื่อว่า"ภูมิศาสตร์การเมือง" ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากโดยเฉพาะเมือแปลเป็นภาษาอังกฤษ เป็นการผนวกเรื่องระวางที่ กับเรื่องทางกเมืองเข้าด้วยกัน เป็นจุดเร่ิมต้นขแงอนวคิดแบบ "ชีวรัฐ" โดยเขามทองว่ารัฐเปรียบเสมือนสิงมีชีวิต ดังนั้น รัฐจึงต้องมีการเจริญเติบโต และเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วการที่รัฐต้องชยายดินแดนจึงเป็นเรื่องปกติเพราะการขยายดินแดนของรับก็เพื่อความอยุ่รอดของชาตินั่นเอง และยังเป็นแนวคิดทางสังคมแบบดาร์วินอีกด้วยซึ่งหลัการสำคัญของทฤษำีวิวัฒนาการของดาร์วินก็คือการคัดสรรโดยธรรมชาิตที่อธิบายว่่าสิงมีชีวิตที่มีสภาพและลักาณะเหมาะสมในการดำรงชีวติมากกว่าจึงจะสามารถดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ได้ เมื่อนำแนวคิดอย่างนี้มาใช้กับสังคมโดยเฉฑาะสังคมรัฐก็หมายถึงว่่ารัฐที่เข้มแข็งหรือเหมาะสมกว่าก็ควรทีจะอยู่ต่อไปส่วนรัฐที่อ่อนแอ่ไม่เหมาะสมก็ควรต้องสูญไป ผลงานที่เป็นรากฐานต่อมาของวิชาภูมิรัฐศาสตร์ก็เช่น  ความเรียงว่าด้วยการขยายดินแดนเพื่อความอยู่อดของรัฐ ตีพิมพ์ปี 1901 ผลงานต่างๆ ของรัทเซลเป็นรากฐานของวิชาภูมิรัฐศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเยอรมันและทำให้วิชาภูมิรัฐศาสตร์ต่อไปของเยอรมันมัลักษณะพิเศษจากที่อื่น

           ผลงานของรัทเซลในเรื่องที่เกี่ยวกับภูมศาสตร์การเมืองนั้นได้รับการผลิตออกมาในช่วงเดียวกันกับที่ลัทธิอุตสาหกรรมมนิยมในเยอรมันกำลังเจริญเติบโตภายหลังจากสงครามฟรานโก-ปรัสเซีย และเป็นช่วงหลังจาการแข่งขันในการค้นหาตลาดเพื่อระบายสินค้ากับอังกฤษ ทำให้แนวคิดของเขาตรงกับความต้องการในการแผ่ขยายจักรวรรดิของเยอรมัน....

 

                   ที่มา: https://www.matichon.co.th/article/news_4573267

                            https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/index.php?/BKN/search_detail/result/192659

                             


          

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2567

Hezbollah...

          อิซบุลลอฮ์ "พรรคแห่งพระเจ้า" เป็นพรรคการเมืองของชาวมุสลิมชีอะฮ์ในเลบานอน ซึ่งมีกองทัพของตนเอง ก่อตั้งในปีปีที่อิสราเอลบุกเลบานอน 1982 โดยมีจุดประสงค์เพื่อขับไล่กองกำลังป้องกันอิสราเอลที่ยึดครองเลบานอน จนสามารถต่อสู้และขับไล่กองทัพอิสราเอลออกจากเลบานอนได้ในปี 2000



 

         เลบานอน หรือ สาธารณรัฐเลบานอน เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉัยงใต้ ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และเป็น 1 ใน 15 ดินแดนที่ประกอบเป็น "แหล่งกำเนิดแห่งมนุษชาติ"

         แหล่งกำเนินมนุษยชาติ Cradle of Humankind... เป็นสภานที่ทางโบราณคดีในแอฟริการใต้ ซึ่ง อาจหมายถึง ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติยุคก่อนประวัติศาสตร์, วิวัฒนาการของมนุษย์ต้นกำเนิดทางชีวภาพของเผ่าพันธ์มนุษย์, ตำนานการสร้างมุมองทางเทววิทยาเกี่ยวกับต้นกำเนิดของเผ่าพันธ์มนุษย์, https://genius.com/Flogging-molly-the-cradle-of-humankind-lyrics,)

        เลบานอนมีพรมแดนติดกับประเทศซีเรยแลอิสราเอล พรมแกนที่ติดกับอิสราเอล ได้รับการรับรอง
จากองค์การสหประชาชาติ แต่พื้นที่บางส่วน เรียกวใ่า "ซีบารหามส์ ตั้งอยุ่ในที่ราบสูงโกลัีน

           ที่ราบสูงโกอัน เป็นภูมิภาคในลิแวนต์ทีมีเนื้อที่ 1,800 ตารางกิโลเมตร (ุ690 ตารางไมล์) ซึ่งมี
ความหมายแตกต่างไปตามาความหายของทางธรณีวิทยาและชีวภูมิศาตร์ ที่ราบสูงโกลันหมายถึงที่ราบสุงหินมะซอลต์ ที่มีอาณาบริเวณ แาม่น้ำยาร์มุกทางใต้ ทะเลกาลิลีและหุบเขาฮุลาทางตะวันตกเทือกเขาแอนติเลบานอนและภูเขาฮอร์มอนทางเหนือ และ Ruqqad ทางตะวันวันออก ขณะที่ในทางภูมิศาสตร์จะหมายถึงพื้นที่ของซีเรียที่ถูกอิสราเอลยึดครองในสงคราม 6 วัน เมือปี 1967 และปกครองโดยอิสราเอลตั้งแต่ปี 1981 

       หลักฐานชิ้นแรกสุดที่มนุษย์ตั้งถ่ินฐาในบริเวณนี้นั้นอยุ่ในช่วงปลายยุคหิน ในคัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า ที่ราบสูงแห่งนี้เป็นส่วนหนึี่งของเบซัน อาราจักรของชาวอามูร์ที่ถูกวงศืงานอิสราเอลพิชิต ในคัมภีร์โทราห์ระบุว่าที่ราบสูงนี้เป็น"ศูนย์กลางของการแย่งชิงอำนาจระหว่างกษัตริย์แหงอิสราเอลกับชาวแอราเมียน ที่มีฐานอยุ่ใกล้อามัสกัสในปัจจุบัน หลังอัสซีเรียและบาลิโลเนียเสื่อมอำนาจ เปอร์เซียได้เข้ามามีอำนาจและอนุญาตให้ชาวยิวกลับมาอาศัยยังที่ราบสูงนี้หลังถูกกวาดต้อนมาจากเยรูซาเลมที่ อาณาจักรบาบิโลนเข้าครอบครอง ต่อมาในศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ชาวอิทูเรียรตั้้งรกรากในที่ราบสูงและอาศัยเรื่อยมาจนสิ้นยุคไบแซนไทน์ หลังจากนั้นมีชนหลายกลุ่มอาศัยในที่ราบสูงโกลัน เช่น เมดูอิน ครูซ เติรกเมน และเซอร์คัสเซียน

        นับแต่สงคราม 6 วัน พื้นที่ทางตะวันตก 2/3 ถูกยึดและปกครองโดยอิสราเอล ขณะที่พื้นที่ทางตะวันออกอยู่ใต้การปกครองของซีเรีย ซีเรียปฏิเสธที่ะเจรจากับอิสราเอลตามข้อมติคาร์ทูมหลังสงคราม ในปี 1974 มีการจัดตั้งพื้นที่กันชนที่ดูแลโดยกองกำลังสังเกตการณ์การถอนกำลังแห่งสหประชาชาติ UNDOF ระหวา่ง อิสราเอล-ซีเรีย 

       อิสราเอลปกครองส่วนที่ยึดได้ด้วยกำลังทหารกระทั้งมีการผ่านกฎหมายปกครอง ปี 1981 ซึ่งบางฝ่ายมองวาเป็นการผนวกดินแดน ฝ่ายคณมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประณามการผ่านกฎหมายนี้ โดยกล่าวว่า "การตัดสินใจของอิสราเอลในการบังคับใช้กฎหมาย เขตอำนาจ และการจัดการการปกครองที่ราบสูงโกลันที่ยึดครองจากซีเรยถือเป็นโมฆะ และไม่มีผลทางกฎหมายระหว่างประเทศ  แต่อิสราเอลก็อ้างสิทธิตามข้อมติเดียวกัน 242 ที่เรียกร้องให้มี "เขตแดนที่ปลอดภัยและเป็นที่ยอมรับ ปลอดจากภัยคุกคามและกำลังทหาร" .. ในปี 2019 ดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐประกาศยอมรับที่ราบสูงโกลันเป็นส่วนหนึ่งของอิสราเอล ทำให้สหรัฐกลายเป็นชาติแรกที่ยอมรับอำนาจอธิปไตยของอิสราเอลเนหือที่ราบสุงโกรัน ส่วนสหภาพยุโรปประกาศไม่ยอมรับอำนาจอธิปไจยของอิสราเอลเหนือที่ราบสูงนี้ ขณะที่ เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวว่า "สภานภาพของที่ราบสูงดกลันนั้นไม่เปลี่ยนแปลง"

"ซีบาฟามส์" ตั้งอยุ่ในที่ทราบสูงโกลันยังคงครอบครองโดยอิสราเอล ซึ่งอ้างว่่าเป็นพืท้นที่ของซีเรีย กองทัพต่อต้านอ้างว่า "ซีบาฟามส์" เป็นพื้นที่ของเลบานอน ซีเรียยังคงกำลังทหารกว่า 14,000 นายในเลยานนอ ชาวเลบานนอที่สนับสนุนเลบานอนอ้างว่าเป็นการอยุ่อย่างถูกต้องเนืองจากรัฐบาลเลบานอนได้ขอไว้ ตอนเริ่มสงครามกลางเมืองเมือปี 1975 ผุ้ที่ไม่เห็นด้วยอ้างว่า การอยุ่ของซีเรียเป็นประหนึ่งการยึคครองโดยอำนาจต่างชาติ

           เลบานอนอยุนอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชในปี 1943 หลังจากนั้น เลยานอนได้พัฒนาประเทศจนสามารถรักษาความเป็น


ศูนย์กลางด้านการค้าการเงินศิลปะและวัฒนธรรมของภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้นับตั้งแต่อดีตไว้ได้ แต่ช่วงสงครามกลางเมือง ปี 1975-1991 ความขัดแย้งระหว่างอาหรับและกลุ่มคริสเตรียนในเลบานอน ซึ่งร่วมกันหาขอ้ยุติได้และฟื้นฟูประเทศหลังจากภาวะสงครามกลางเมืองอีกครั้ง

          ซีเรียเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อเลบยานอนมากที่สุด ดดยเฉพาะด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ โดยซีเรียได้ส่งกองกำลังรักษาความสงบอยุ่ในเลยานอนประมานสามหมื่นนาย และจากความสัมพันธ์ที่แนบแน่นดังกล่าว ทำให้กรณีพิพาทเรื่องเขตแดนระหว่างซีเรย เลยานอน กับอิสราเอลไม่มีความคืบหน้า

           การก่อตั้งอิซบุลลอฮ์ได้รับแรงบันดาลจจากความสำเร็จในการปฏิวัติอิสลามของ อายะดุลลอห์ โคไม่นี ผุ้นำอิหร่านในสมัยนั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องอนาธิไตยของมุสลิม และปกป้องมาตุภูมิเลบานอนให้พ้นจาการรุกรานของชาวอิสราเอล อิซบุลลอฮ์ก่อตั้งโดยกลุ่มอุละมาฮ์ในพรรค อัลอะมัล ที่ได้แยกตัวออกมาตั้งพรรคการเมืองต่างหาก พรรอะมัลเป็นการเมืองของมุสลิมชีอะห์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลซีเรีย เมือพรรคอิซบุลลอฮ์มีสมาชิกและฐานเสียงมากขึ้น ซีเรียก็ให้การสนับสนุนเที่ยบเท่ากับพรรคอัลอะมัล

          อิซบุลลอฮ์เน้นนโยบายอิสลามที่สนับสนุนความปรองดองระหว่างชาวเลบานอน เคารพสิทธิเสรีภาพของทุกศาสนาและลัทธิ และต่อสู้การรุกรานอิสราเอล อิซบุลลอฮ์จึงเป็ที่ยอมรับของชาวเลยานอน 



สหรัฐฯและอิสราเอลระบุว่า กลุ่มฮิซบุลลอฮ์ได้รับความช่วยเหลือทางด้านการเงินและการเมือง ร่วมทั้งอาวุธและการฝึกฝนจากอิหรานและซีเรีย ซึ่งทางซีเรียเองก็ยอมรับว่าให้การสนับสนุนจริง แต่ปฏิเสธเรื่องการส่งอาวุธ

         ฮิซบุลลอฮ์ได้รับการสนับสนุนจากชาวมุสลิมในเลบานอนเป็๋นอย่างดี ในปัจจบันมีเก้่าอี้ในรัฐสภาเลบานอน 2- ที่นั่ง จาก 128 ที่นั่ง ฮิซบุลลอฮ์มีนโยบายสาธารณะหลักๆ คือการสร้างโรงพยาบาล สถานศึกษา และให้บริการด้านสังคมอื่นๆ 


         8 ตุลาคม 2023 ตามเวลาท้องถ่ิน มีกระสุนปืนใหญ่ยิงมาจากตอนใต้ของเลบานอน ตกใส่บริเวณที่เรียกว่า "ทุ่งซีบา" Shebaa Farms ทางเหนือของอิสราเอล โดยเบื้องต้นยังไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต ต่อมา กองทัพอิสราเอลรายวานว่า ได้ดำเนินการยิงตอบโต้ไปยังจุดที่มีการยิงมา จากนัน กลุ่ม "ฮิซบุลลอฮ์"ออกแถลงการยอมรับว่าการโจมตีพื้นที่อิสราเอลทางตอนเหนือเป็นฝีมือของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ 

        23 ตุลาคม 2023 สงครามอิสราเอล-ฮามาส ผ่านมากว่า 2 สัปดาห์ คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 6,000 คน หลายฝา่ยประเมินว่าสงครามจะไม่ยุติในเร็ววัน เมื่อเบนจามิน เนทันยาฮฺ นายกรัฐมนตรี อิสราเอล ประกาศกร้าว "ถอนรากถอนโคน ฮามาส" ซึ่งฮามาสเองได้รับการสนับสนุนจากลุ่มประเทศอาหรับ อิหร่าน ซีเรีย และการประกาศร่วมรบกับอิสราเอลของ "กลุ่มฮิซบุลลอฮ์ ที่มีเป้าหมาย คือ "ทำลายล้างอิสราเอล" เช่นกัน

          

             ที่มา : วิกิพีเดีย

                      https://www.thaipbs.or.th/news/content/333101

                      https://www.pptvhd36.com/news..A8/207551

          






วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2567

Ansar Allah... ( Houthi )

           อับศอรอัลลอฮ์ "ผู้สนับสนุนพระเป็นเจ้า" หรือที่รุ้จักกันในชื่อ ฮูษี หรือ ฮูตี เป็นกลุ่มลุอะฮ์ซัยดียะฮ์ ซึ่งปฏิบัติการในประเทศเยเมน กลุ่นี้เอาชือมาจากฮุซัยน์ บัตร์อัดดีน อัลฮูษี ซึ่งเปิดฉาการก่อในปี 2004 และมีรายงานว่าถูกกองทัพเยเมรสังหารเมืองกันยายนปีนั้น กลุ่มนี้นำโดย อับดุลมะลิก อัลฮูฏี ซึ่งประสบความสำเร็จในรัฐประหารปี 2014/2015 และปัจจุบันยังควบคุมกรุงซานา เมืองหลางของประเทศเยเมน และรัฐสภา

            ในอดีตเยเมนถูกแบ่งออกเป็นเยเมนเหนือกับเยเมนใต้ กว่า 200 ปี

            เยเมนเหนืออยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 อาณาจักรล่มสลายเยเมนเหนือจึงได้รับเอกราช เมือปี 1918 และกลับสู่การปกครองโดยระบออบกษัตริย์ กระทั้งเกิดการรัฐประหารโค่มล้มอิหม่าามโดยหัวหร้าทหารราชองครักษ์ เป็นแกนนำ จากนั้นจึงมีการประกาศให้เยเมนเหนือปกครองโดยระบอบสาะารณรัฐ การก่อรัฐประหารดังกล่าวนำไปสู่สงครามแลางเมืองในเยเมนเหนือระหว่างกลุ่มการเมืองที่เป็นฐานอำนาจเก่าของอิหม่ามซึ่งได้รับการสนับสนุนจากซาอุดิอาระเบีย กับรัฐบาลใหม่ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากอิยิปต์ กระทั่งมีการเจรจาข้อตกลงสันติภาพระหว่างซาอุดิอาระเบียกับอียิปต์ ซึ่งต่างเปนมหาอำนาจในภูมิภาคที่เข้าแทรกแซงสถานการณ์ในเยเมนเหนือ สงครามยุติในปี 1970 โดยมีข้อตกลวสำคํย คอ การคงระบอบการปกครองเยเมนเหนือด้วยระบอบสาธารณรัฐ และการเปิดทางให้กลุ่มการเมืองที่เป็นฐานอำนาจเก่าของอิหม่ามสามารถกลับมาแข่งขันตามกลไกการเมืองปกติ

          เยเมนใต้ เดิมอยู่ภายใต้การปกครองโดยสุลด่าน ก่อนตกเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษตั้แต่ปี 1839 ต่อมาเกิดกลุ่มแนร่วมปลดปล่อยแห่งชาติในเยเมนใต้เมื่อปี 1960 เคลื่อไหวต่อต้านการยึดครองของอักฤษ กระทั่งเยเมนใต้ได้รับเอกราชจากอังกฤษเมือ พฤศจิกายน 1967 เยเมนใต้ขณะนัันได้รับอิทธิพลจากสหภาพโซเวียต จึงนำแนวคิดมาร์กซิสต์และระบอบสังคมนิยมมาใช้ปกครองประเทศ ดดยสถาปนาเยเมนต้เป็นสาธารณรัฐประชาชนเยเมน และเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐประชาธิปไตยประชาชนเยเมนเมืองปี 1970 ทั้งนี้ ความแตกต่างทากงรเมือง การปกครอง และภาวะสงครามเย็น เป็นชนวนเหตุให้เกิดความขัดแย้งระหว่างเยเมนเหนือและเยเมนใต้ และนำไปสู้การสู้รบตั้งแต่ปี 1969-1990 รัฐบาลเยเมนได้อยู่ในภาวะอ่อนแอ ประธานธิบดี อะลี อับดุลลอฮ์ ศอลิห์ ของเยเมนเหนือ ใช้โอกาสดังกล่าว่ดำเนินนโยบายสร้างความปรองดองกับเยเมนใต้ นำไปสู่การผนวกดินแดนเป็นสาธารณรัฐ เมือ 22 พฤษภาคม 1990 และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรก

           "กลุ่มกบฎฮูตี" 

             กว่า 30 ปีที่แล้ว ชาวมุสลิมนิกายชีอะห์หลุ่มหนึ่งได้่กอตั้งกลุ่มที่ชื่อว่า "ซะบาบอัลมุอ์มิน Ansarallah" ขึ้นมาเพือรณรงค์ให้เด็กและเยาวชนในนิการบีอะห์เกิดจิตสำนึกรักและหวงแหนในประวัติศาสตร์ทางการเมืองการปกครองและวัฒนธรรมตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณี การก่อตั้งดังกล่าวสืบเนืองจากผูปกครองประเทศในขณะนั้นเป็นนิกายซุนนีย์ มีความพยายามที่จะลบประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของเยเมนที่เคยถุกปกครองโดยผุ้นำที่เป็นมุสลิมนิกายชีอะห์มาเป็นเวลาหลายร้อยปีให้หมดไปจากควาททางจำของเด็กและเยาชนชาเยเมนรุ่นใหม่

 กลุ่มฮูตีตั้งขั้นในช่วงทศวรรษที่ 1990 โดย ฮุสเซน อัล-ฮูตี "กลุ่มผู้ศรัทธา" ซึ่งเป็นขบวนการฟื้นฟูศสนาสำหรับลัทธิไซอิด Zaiism นิกายย่อยอายุหลายร้อยปีของศสนอิสลามนิยายชีอะห์ ซึ่งปกครองเยเมนมาหลายศตวรรษ แต่ถุกละเลยภายใต้ระบอบการปกครองของมุสลิมนิกายซุนนีย์ ที่เข้ามามีอำนาจหลังสงครามกล่างเมืองเมือปี 1962 ขบวนการของ อัล-ฮุตี ตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนลัทะิไซอิด และต่อต้านแนวคิดของมุสลิมซุนนี่หัวรุนแรงโดยเฉพาะ Wahhabi จากซาอุดิอาระเบีย

             หลังการรวมชาติ อาลั อับดุลเลาะห์ ประธานาธิบีคนแรกของเยเมน ได้ให้การสนับสนุนเยาชนผุ้ศรัทธาในช่วงแรกๆ แต่ต่อมาความนิยมของกลุ่ม"ผู้ศรัทธา"เพือมมากขึ้นและเร่ิมมีวาทกรรมต่อต้านรัฐบาลรุนแรงขึ้น จึงกลายเป็นภัยคุกคามต่ออำนาจของซาเลห์ กระทั้งปี 2003 เมื่อซาเลห์สนับสนุนการรุกรานอิรักโดยสหรัฐฯ จึงถูกกระแสต่อต้านจากประชาชนในประทศ อัล-ฮูตี จึงใช้โอกาสนี้ จัดการเดินขบวนประท้วง โดยเหตุการปะทุนานหลายเดือน ก่อนที่ซาเลห์จะออกหมายจับเขา และถูกสังหาร ในเดือน กันยายน 2004 โดยกองทัพเยเมน แต่การเคลื่อนไหวของเขายังคงอยู่ ฝ่ายทหารฮูตีขยายตัวเมือมีนักรบเข้าร่วมมากขึน ประกอบกับแรงหนุนจากกระแสประท้วงอาหรับในช่วงต้นปี 2001 Arab Spring ทำให้กลุ่มฮูตีสามารถยึดครองจังหวัดซาดาทางตอนเนหือ และเรียกร้องให้ยุติอำนาจการปกครองของ "ซาเลห์"

 ประธานาธิบดีซาเลห์ ตกลงส่งมอบอำนาจแก่รองประธานาธิดบีอันด์ รับบูห์ มานซูร์ ฮาดี ในปี 2011 แต่รัฐบาลที่มีรากฐานจากตัวเขาไม่ได้รับความนิยมอีกต่อไป ขณะที่กลุ่มฮูตีรุกคืบขยายอำนาจในปี 2014 และเริ่มยึดครองพื้นที่บางส่วนของกรุงซานา ก่อนจะบุกยึดทำเนียบประธานาธิบดีในปีต่อมา ส่งผลให้ฮาดีต้องหนีไปซาอุดิอาระเบีย และเปิดฉากสงครามกลางเมืองต่อต้านกลุ่มฮุูตีจากนอกประเทศในปี 2015 การสู้รบระหว่างกองกำลังรัฐบาลเยเมนชุดเก่ากับกลุ่มฮูตียืดเยื้กระทั้งมีการลงนามข้อตกลงอยุดยิงในปี 2022 แต่เพียงแค่ 6 เดือนการสู้รบก็ปะทุขึ้นอีก แม้จะไม่เป็นสงครามกลางเมืองเต็มรูปแบบเช่นเดิม

          ความรุนแรงของสงครามกลางเมืองเยเมนครั้งนั้น UN ระบุว่าเป็นชนวนให้เกิดวิกฤตมนุษยธรรมที่เลวร้อยที่สุ โดยมีประชาชนเสียชีวิตเกือบ 5 แสนคน และนับจากหยุดยิง กลุ่มฮูตีได้ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของเยเมน  ขณะเดียวกันยังพยายามที่จะบรรลุข้อตกลงกับซาอุดิอาระเบียเพื่อยุติสงครามอย่างถาวรและคงบทบาทของพวกเขาในฐานะผู้ปกครองประเทศ

           กลุ่มฮูตีได้การสนับสนุนจากอีหร่าน ซึ่งเร่ิมต้นให้ความช่วยเลหือ ตั้งแต่สงครามกลางเมืองในปี 2014  ท่ามกลางความพยายวามขยายอำนาจในภูมิภาคของคู่แข่งอย่างซาอุดิอาระเบีย

           ฮูตียังเป็นส่วสนหนึ่งของกลุ่มที่เรียกว่า "อักษะแห่งการต่อต้าน " Axis of Resistance " ของอิหร่าน ซึ่งเป็นพันธมิตรต่อต้านอิสราเอลและชาติตะวันตก และเป็นหนึ่งในสามกองกำลังติดอาวุธที่โดดเด่นและได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน เช่นเดียวกับกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซา และกลุ่มอิซบอลเลาะห์ในเลบานอน


          สหรัฐฯ มีการติดตามการปรับปรุงขีปนาวุธของอกลุ่มฮูตีที่ผลิตเอง ซึ่งมีการพัฒนาอย่างต่อเนืองในด้านพิสัยโจมตี ความแม่นยำ และความรุนแรง ในช่วงแรกอาวุธส่วนใหย่ใช้ส่วนประกอบจากอิหร่านที่ลักลอบนำเข้าเยเมน ก่อนจะปรับเปลี่ยนและพัฒนาอยา่งรวดเร็วแบบก้าวกระโดด แม้อิสราเอลจะสามารถสกัดอาวุธของกลุ่มฮูตีได้ แต่ขีปนาวุธของฮูตีสามารถสร้างความเสียหายและวิกฤตให้กับทะเลแดง         

          พฤศจิกายน 2023 ฮูตีอ้างว่าได้ยึดเรือสินค้าของอิสราเอลได้ลำหนึ่ง และหลังจากนั้นก็เริ่มใช้โดรนและขีปนาวุธโจมตีเรือสินค้า ที่แล่นผ่านทะเลแดงหลายลำ โดยมีสถิตกการโจมตีบ่อยถี่ขึ้น 500% ในเดือน พฤศจิกายนและ ธันวาคม 2023 ภัยคุกคามดังกล่าวทำให้บริษัทขนส่งสินค้าทางทะเลรายใหญ่ ต้องหลีกเลี่ยงเส้นทางเดินเรือผ่านทะเลแดง ซึ่งส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านการประกันภัยพุ่งสูงกว่าเดิมถึง 10 เท่า นับแต่ต้นเดือน ธันวาคมเป็นต้นมา  โดยบริษัทขนส่งทางทะเลชั้นนำต่างก็ประกาศว่าจะเปลี่ยนเส้นทางเดินเรือใหม่ สภาพการเช่นนี้ทำให้เกรงกันว่า ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะพุ่งสูงขึ้นและห่วงโซ่อุปทานในการจัดส่งสินค้าจะได้รับการเสียหาย เนืองจากการค้าทางทะเลเกือบ 15% ของโลก อาศัยเส้นทางเดินเรือผ่านทะเลแดง  ซึ่งเชื่อมต่อกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนผ่านคลองสุเอซ อันเป็นทางลัดทีสั้นที่สุดของการขนส่งสินค้าระหว่างทวีปยุโรปกับเอเซีย 

           

                         ที่มา : วิกิพีเดีย

                                   https://www.bbc.com/thai/articles/c4nyyj1p2eno

                                   https://thestandard.co/get-to-know-the-houthi/

                                   https://www.nia.go.th/media/almanac/2022/01/99_2565_UbNFGtW.pdf

                                  SSC Focus ฉบับที่ 13-58 จุดกำเนิดของกลุ่มกบฎฮูติในเยเมน.pdf

                                   

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2567

Hamas...

            ฮามาส ย่อมาจากเราะกะฮ์ อัลมุกอวะมะฮ์ อัลอิสลามียะฮ์ แปลว่า "ขบวนการอิสลามเพื่อการยื่นหยัดต่อสู้"เป็นพรรคการเมืองหนึ่งของปาเลสไตน์ที่นับถืออิสาลามและมีกองกำลังติดอาวุธ เป็นขบวนการที่เป็นผลพงจากการต่อต้านอิสราเอลในปี 1987 เป็นกุ่มเคร่งศาสนาสายซุนนี่ สืบทอดอุดมการณืจากขบวนการภารดรภาพมุลสลิม อียิปต์  ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านที่นับถือยิกายชีอะห์ โดยขบวนการเป็นที่ทำการในอิหร่านเมือ ปี1995 อย่างไรก็ตามขบวนการนี้ตกต่ำในช่งปี 2001-2002 โดยถูกขับจากจอร์แดนในปี 2001 และแบ่งกลุ่มออกเป็นสองส่วนในเขต เวสต์แบงก์และดามัสกัส

          ฮามาสก่อตั้งเมือปี 1987 โดยเป็นเครือข่ายของกระบวนการเคลื่อนไหว ขบวนการภราดรภาพมุสลิม (เป็นขบวนการขับเคลื่อนทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจตามแนวทางของอิสลาม คาดว่ามีสมารชิก 2-2.5 ล้านคน ก่อตั้งโดยฮะซัน อัลบันนา ชาวอียิปต์ เมื่อปี 1985 กลุ่นนี้ขยายไปยังประเทศมุสลิมอื่นๆ แต่มีองค์การใหญ่ที่สุดในประเทศอียิปต์ แม้ว่าจะถูกรัฐบาลปราบปรามเรื่อยมา ขบวนการภราดรภาพมุสลิมอียิปต์ หรือ อิควานุลมุสลิม ได้สนับสนุนปาเลสไตน์โดยในปี 1948 ได้ส่งอาสาสมัครไปยับยั้งการก่อสร้างรัฐอิสราเอลทำให้ถูกประธานาธิบดี นัสเซอร์ปราบปรามอย่างรุนแรง) ฮามมาสได้รับความนิยอย่างมากทั่วปาเลสไตน์ โดยไดรับชัยชนะ ในการเลือกตั้งเข้าสู่สภาพของปาเลสไตในปี 2006 

        ฮามาสก่อตั้งดย เชคอะห์มัด อิสมาอีล ฮะซัน ยาซีน ซึ่งเป็นผุ้นำทางศาสนา ในการลุกฮือต่อต้านอิสราเอลครั้งแรก มีจุดประสงค์หลักเพื่อยุติการยึดครองทางทหารของอิสราเอล ในเขตฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน เวสต์แบงก์ และฉนวนกาซา ส่วนความมุ่งหมายที่สำคัญมไ่ยิ่งหย่อนกว่ากันคือ การสรา้างรัฐปาเลสไตน์ขึ้นอีกครั้งกนึ่ง บนแผ่นดินเดิมก่อนที่จะเป็รัฐอิสราเอลเมื่อปี 1948 ฮามาสสร้างความนิยมในหมู่ปาเลสไตนน์ที่ยากจน ด้วยการจัดหหาความจำเป็นพื้นฐานต่างๆ สร้างโรงเรีย โรงพยาบาล และศุนย์ทางศาสนา และทีแตกี่างจากกระบวนการทางการเมืองปาเลสไตน์อื่นๆ คือ ฮามาสไม่เข้าร่วมสมาชิกองค์กรปลอปล่อยปาเลสไตน์ PLO  และต่อต้านการเซ็นสัญญาสันติภาพกับอิสราเอล แม้จะเคยทำสัญญาหยุดยิงกับอิสราเอลหลายครัง และนอกประเทศ นอกจากนั้น ยังมีการสนับสนุนจากประเทศอหาหรับอื่นๆ และรัฐบาลอิหร่านอีกด้วย

         ฮามาส มีหน่วนรบอซซุดดีน อัลกอสซาม ซึ่งเชื่อกันว่ามีสมาขชิกหลายพันคน  และเคยสู้รบกับอิสราเอลหลายครัง ทั้งยังตอบโต้อิสราเอลโดยการยิงจรวดเข้าไปในเขตตอนใต้ของอิสราเอล เพื่อโต้ตอบการที่อิสราเอลโจมตีในอนวนกาซา

       


ฮามาสออกแถลงการ เมื่อเดอืนสิงหาคม ปี 1994 ประกาศจุดยืนของตนว่าจะขัดขืนและตอบโต้ขบวนการไซออนนิสต์เป็นหลัก กลุ่มนี้มองว่าข้อตกลงสันติภาพออสโลระหว่างยิวและอาหรับเป็นการยอมแพ้ต่อเงื่อนไขของไซออนนิสต์ และองค์กรปลกอปล่อยปาเลสไตน์ไม่ได้เป็นตัวแทนของชาวปาเลสไตน์อีกต่อไป จุดหมายระยะยาวของฮามาสที่ประกาศในเดือนเมษา ปี เดียวกันนั้น คือ ให้อิสราเอลถอนตัวออกจากอินแดนยึดครองทั้งหมด ปลดอาวุธผู้เข้ามาตั้งรกรากและยกเลิกการตั้งถ่ินฐนใข้กองกำลังนานาชาติบนเส้นทางสีเขียวที่สร้างขึ้นในเขตยึดครองระหว่างสงครามปี 1948 และ 1967 ให้มีการเลือกตั้งเสรีในปาเลสไตน์เพื่อเลือกตัวแทนทีแท้จริงในปาเลสไตน์ และจัดตั้งสภาที่เป็นตัวแทนของปาเลสไตน์อย่างแท้จริง

        ผุ้นำคนสำคัญหลายคนถูกลอบสังหารโดยอิสราเอล เชคยาซีนถูกลอบสังหารในปี 2004 เชคยาซีนเป็นที่เคารพนับถือของชาวปาเลบสไตน์เป็นอย่างมาก ดดยเขาเรียกร้องให้ชาวปาเลสไตน์จับอาวุธขึ้นต่อส้กับอิสราเอล โดยไม่มีการประนีประนอม เขาถูกสังหารทั้งๆที่อยู่ในสภาพต้องนั่งรถเข็น และไม่กี่สัปดาห์  อับดุล อะซีซ อัรรอนดีซี ซึ่งเป้นผุ้นำฮามาก็ยึดครองกาซาได้อย่างเหนียวแน่น และถูกลอบสังหารไปอีกคน 

        ในปี 1990 อามาสสร้างความน่านับถือโดยการแก้ปัญหาต่างในแนวนกาซาได้เป็นผลสำเร็จ จึงได้รับการสนับสนุนจากผุ้ที่ไม่ได้เป็นพันธมิตรกับอามารสมาก่อน เช่น กลุ่มคริสเตียนปาเลสไตน อามาสเริ่มปฏิบัติการพลีชีพกับอิสราเอล ในปี 1994 ในปี 2000 การเจรจาสันติภาพระหวา่งอิสราเอลกับปาเลสไตน์ล้มเหลวลงอีกครั้ง ฮามาสได้เข้ร่วมกับกลุ่มการเมืองและกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ ของปาเลสไตน์ ทำการลุกฮือต่อต้านอิสราเอลเป็นครั้งที่สอง  โดยมีการรณรงค์ต่อต้านจากพลเรือนปาเลสไตน์ในเขตยึดครอง และการเพ่ิมขึ้นของปฏิบัติการระเบิดพลีชีพในอิสราเอล เพื่อแสดงการต่อต้านการที่อิสราเอลโจมตี เวสต์แบงก์ และ ฉนวนกาซา กลุ่มฮามาสต่อต้านการประชุมสันติภาพที่กรุงออสโล ในปี 1993 และควำบาตรการเลือกตั้งในปาเลสไตน์ เพราะเห็นว่าเป็นผลมาจาการประชุมสันติภาพครั้งนั้น

        ฮามาสได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่รัฐสภาปาเลสไตน์ในปี 2006 และได้รับการสนับสนุนจากชาวปาเลสไตน์ โดยสามารถชนะกลุ่มฟาตาห์ ด้วยคำมั่นที่จะต่อต้านการคอรัปชั้นและการยึดครองของอิสราเอล ซึ่งทำให้อานิยาได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในครั้งนั้น ฮามาสได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล แต่กลุ่มหาตาห์ที่เป็นกลุ่มอำนาจเก่าไม่ต้องการเสียอำนาจจึงเกิดการปะทะกัน สหรัฐและอิสราเอลต้องการให้ฟาตะห์มีอำนาจต่อไปจึงสนับสนุนเงินกับกลุ่มฟาตาห์ ฮามาสเสนอให้จัดตั้งรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ

       สหรัฐ ประเทศสหภาพยุโรป และอิสราเอล ปรามาสว่าฮามาสเป้นกลุ่มก่อการร้าย และไม่ยอรับรองผลการเลือกตั้ง ทำให้หลังจากนันเป็นต้นมา ปาเลสไตน์ถูกลงโทษทางเศราฐกิจอย่างหนัก กลุ่มประเทศมหาอำนาจตะวันตกบังคับให้ฮามาสรับรองรัฐอิสราเอล ละท้ิงอุดมการณืต่อสุ้ด้วยอาวุธ และยอมรับการตกลงสันติภาพอื่นๆ ระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอล 

         จากความขัดแย้งกับกลุ่มฟาตาห์และการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกทำให้ผุ้นำปาเลสไตน์ที่ได้รับรองเป็นทางการ ต้องตกที่นั่งลำบาก สมาชิกที่สนับสนุนฮามาสและฟาตาห์ต่อสู้กันอยู่เนืองๆ ทังในเวสต์แบงก์ และในแนวนกาซา เพื่อช่วงชิงการปกครอง ต้นปี 2007 ทั้งสองกลุ่มตกลงประนีประนอมกันเพื่อจัดตั้งรัฐบาลร่วม เพื่อต้องการรับความช่วยเหลือจานานาประเทศ นายกรัฐมนตรี อิสมาอีล ฮะนีเยะห์ ผุ้นำอาวุโสฮามาสในฉนวนกาซา ซึ่งถูกปลดออกจาการเป็นนายกรัฐมนตรี สามารถหลุดรอดจากการตามล่าสังหารของอิสราเอลได้ 

       มิถุนายน 2007 ประธานาธิบดี มะห์มูด อับบาล และกลุ่มฟาตาห์ ร่วมมือกันยึดอำนาจในเขตเวสต์แบงก์ ทำให้การการจะเป็นผุ้ปกครองตินแดนปาเลสไตน์ของฮามาสต้องยุติลง รัฐบาลในเวสต์แบงก์มีความอ่อนแอแต่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ ฮามาสจึงยึดฉนวนกาซา แต่ถูกปิดล้อมโดยอิสราเอลมากขึ้น ทำให้ราคาอาหารสูงขึ้น นักศึกษาไม่สามารถศึกษาต่อในระดัีบสูง ขึ้นในต่างประเทศได้ การส่งออกถูกระงับ โรงงานต้องปิดตัว อิสราเอลเข้มงวดกับฉนวนกาซาโดยเพิ่มกำลังทหารและมาตการปิดล้อมทางเศรษฐกิจ รวมท้ั้งการตัดไฟฟ้า และเริ่มปฏิบัติการทางทหาร

       2017 อามาสบรรลุ "ข้อตกลงปองดอง"กับกลุ่มฟาตาห์

       ฟาตาห์ฺได้รับการสนับสนุนจากตะวันตกสุญเสียการควบคุมกาซาให้กับฮามาสที่ถุกตะวันตกและอิสราเอลมองว่าเป็นกลุ่มก่อการร้ายในการสู้รบเมืองปี 2007 ได้ตกลงที่จะยกอำนาจในกาซาให้รัฐบาลของประธานาธิบดีมาห์มูด อับบาส ที่กลุ่มฟาตาห์สนับสนุน อิยิปต์ช่วยเป็นคนกลางหลายครังในความพยายามทีั้จะทำให้สองกลุ่มนี้ปรองดองกันและก่อตั้งรัฐบาลสมานฉันท์แบ่งปันอำนาจในกาซาและเวสต์แบงก์ ฟาตาห์และฮามาสเห็นพ้องกันในปี 2014 ว่าจะก่อตั้งรัฐบาลสมาฉันท์แห่งชาติ แต่ถึงแม้ว่าจะมีขอ้ตกลงนี้ รัฐบาลเงาของฮามสก็จะยังคงปกครองฉนวนกาซาต่อไป

 "เราขอแสดงความยินดีกับชาวปาเลสไตน์เกี่ยวกับข้อตกลงสมานแันท์ที่ได้รับการบรรลุในไคโร เราพยายามทุกวิถีทางเพื่อทำให้ข้อตกลงนี้เกิดผลเพื่อที่จะเริ่มบทใหม่ของประวัติศาสตร์ของประชาชนของเรา" ฮาเซ็ม กัสเซ็มโฆษก ฮามาส กล่าวกับรอยเตอร์

         อามาสตกลงที่จะมอบอำนาจบริหารในกาซาให้กับรัฐบาลที่กลุ่มฟาตาห์หนุนเมืองเดือนที่แล้ว เหตุผลส่วนหนึ่งเนื่องจากการถูกโดดเดี่ยวทางการเงินและการเมืองของฮามาส ภายหลังผู้บริจาครายใหญ่อย่างกาตาร์เผชิญกับวิกฤตใหญ่ทางการทูตกับเหล่าพันธมิตรสำคัญ

          คณะผู้แทนจากทังสองฝ่ายอยุ่ระหว่างการเจรจาในไคโรในสัปดาห์นี้เพื่อกำหนดรายละเอียดของการส่งมอบการบริหารรวมถึงการักษาความปลอดภัยในกาซาและจุดข้ามชายแดน

           ภายใต้ข้อตกลงนี้เจ้าหน้าที่ความมั่นคงฟาตาห์ 3,000 คนจะเข้าร่วมกองกำลังตำรวจกาซา แต่ฮามาสจะยังคงมีกองกำลังชาวปาเลสไตน์ที่เข้มแข็งมากที่สุด กองกำลังทีมีนักรบติดอาวุธครบครันราว 25,000 นี้เคยทำสงครามกับอิสราเอลสามครั้งนับตั้งแต่ปี 2008 

          คู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่ายหวังวาแผนการโยกย้ายเจ้าหน้าที่ความมั่นคงจากรัฐบาลปาเลสไตน์ไปยังชายแดนกาซาจะช่วยให้อิยิปต์และอิสราเอลยกเลิกการควบคุมอย่างเช้มงวดที่จุดข้ามชายแดน ขึ้นตอนสำคัญที่มีความจำเป็นต่อการช่วยกาซาฟื้นฟูเศรษฐกิจ



         7 ตุลาคม 2023 กลุ่มติดอาวธชาวปาเลสไตน์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มฮะมาส และญิฮาดอิสลามปาเลสไตน์ ร่วมกับกลุ่มอื่นๆ เช่น กลุ่มแนวร่วมประชาชนเพื่อากรปลดปล่อยปาเลสไตน์ ได้เปิดฉากการโจมตีครั้งหใญ่ต่ออิสราเอลจากฉนวนกาซา ในรูปแบบของจรวดโจมตีและการโจมตีต่างๆ การรุกรานข้ามพรมแดนเข้าสู่อิสราเอลจากฉนวนกาซา ในรูปแบบของจรวดโจมตีและการโจมตีต่างๆ การรุกรานข้ามพรมแดนเข้าสู่อิสราเอล โดยกลุ่มฮามาสได้เรียกปฏิบัติการนี้ว่า "ปฏิบัติการน้ำท่วมอัล-อักศอ" ถือเป็นความขัดแย้งที่มีการเผชิญหน้ากันตรงๆ ภายในดินแดนของประเทศอิสราเอลนับตั้งแต่สงครามอาหรับ-อิสราเอล ปี 194...

             ที่มา : วิกิพีเดีย

                      https://mgronline.com/around/detail/9600000104290



วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2567

ISIS...Al-Qaeda...Taliban

           รัฐอิสลามอิรักและลิแวนด์ Islamic State of Iraq and the Levant : ISIL หรือ รัฐอิสลามอิรักและซีเรีย Islamic State of Iraq and Syria :ISIS, รัฐอิสลามอิรักและอัชชาม Islamic State of Iraq and Syria :IS เป็นกลุ่มก่อการร้ายและกองกำลังติดอาวุธข้ามชาติที่ดำเนินการตามแนวคิดญิฮัดซาลาฟี ซึ่งตั้งตนเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์และรัฐอิสลาม กลุ่มนี้มีชาวอาหรับนิกายซุนนีจากประเทศอิรักและซีเรีย เป็นผู้นำและเป็นกำลังส่วนใหญ่ ในปี  2015 "ไอเอส" ควบคุมดินแดนที่ประชากร 10 ล้านคนในประเทศอิรักและซีเรีย และควบคุมเหนือดินแดนขนาดเล็กในประเทศลิเบีย ไนจีเรียและอัฟกานิสถาน ผ่านกุ่ม ้องถ่ินที่ภักดี กลุ่มนี้ยังปฏิบัติการหรือมีสาขาในส่วนอื่นของโลก รวมถึงแอฟริกาเหนือและเอเซียใต้

           กลุ่มรัฐอิสลาม หรือ กลุ่มไอเอส Islamic State เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มนักรบหลายเครือข่ายถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่สงครามอิรักเมือปี 2003 เดิมทีเป็นเครือข่ายของกลุ่มอัลกออิดะห์ประจำอิรัก ต่อมาแยกมาตั้งกลุ่มใหม่และค่อยๆ แข็งแกร่งขึ้นและมีบทบา มากกวากลุ่มอัลกออิดะฮ์เดิม ซึ่งกลุ่มไอเอมีควใามสามารถในกาปลุกระดมนักรบจากทั่วโลก ทั้งจากสหรัฐอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลางหรือแม้แต่ประเทศออสเตรเลีย ส่วนใหญ่เป็นเด็กวัยรุ่นที่เปลี่ยนมานับถืออิสลาม ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ 

         ผู้นำ "ไอเอส"คนปัจจุบัน คือ อาบู บากา แบกดาดี ชาวอาหรับเชื้อสายจอร์แดน ซึ่งประกาศตนเป็นกาหลิบ (ผู้ปกครองชาวมุสลิมทั่วทุกหนแห่ง) ในเมืองโมซุลของประเทศอิรักเมือปี 2014 เขาเป็นบุคคลลักลับ ทำตัวเงียบๆ ไม่ขอบสังคม ทางการหสรัฐรู้ข้อมูลของเขาน้อยมาก รู้เพียงเกิดในอิรักและจบการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านศาสนาจากมหาวิทยาลัยในกรุงแบกแดด อิรัก เคยประกอบอาชีพเป็นนักวิชาการควบคู่ไปกับการเป็นครูสอนศาสนาที่เชี่ยวชญด้านวัฒนธรรมและกฎหมายอิสลาม  เข้ากับกลุ่มกบฎเพื่อต่อต้านสหรัฐอเมริกา หลังจากทหารอเมริกันบุกิรักเพื่อโค่นล้ม ซัดดัม ฮุสเซน ภายหลังถูกควบคุมตัวในเรือจำของกองทัพสหรัฐ เขาก้าวขึ้นเป็ฯผู้นำกลุ่มติดอาวุธกลุ่มหนึ่ง ก่อนจะร่วมมือกับกลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะห์ โดยใช้ชื่อกลุ่มว่ารัฐอิสลามแห่งอิรักเมือง พ.ศ.2011 

          กลุ่มไอเอสมีจุดมุ่งหมายในการสถาปนารัฐอิสลาม ที่ปกครองโดยผุ้นำการเมือง และผุ้นำศาสนาเพียงคนเดียวตามหลักกฎหมายอิสลาม หรือ "ชารีอะฺฮ์" แปลว่า "ทางไ หรือ "ทางไปสู่แหล่งน้ำ" กฎหมายชารีอะฮฺ คือดครงสร้างทางกฎหมายที่ครอบคลุมวิถุการดำเนินชีวิตของบุคคลและสาธารณชนที่มีพื้นฐานมาจากหลักนิติศาสตร์ ของศาสนาอิสลามสำหรับใช้โดยมุสลิม กฎหมายชารีอิฮ์ครอบคลุมด้านต่างของชีวิตประจำวันที่รวมทั้งระบอการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ ระบบการดำเนินธุรกิจ ระบบการธนาคาร ระบบการทำสัญญา ความสัมพันธ์ในครอบครัว หลักของความสัมพันธ์ทางเพศ หลักการอนามัย และปัญหาของสังคม กฎหมยชารีอะฮ์ในปัจจุบันเป็นกฎหมายที่ปรากฎบ่อยที่สุดของระบกฎหมายของโลกพอไ กับคอมมอนลอว์ และซีวิลลอว์ ในระหวางยุคทองของอิสลาม กฎหมายอิสลามอาจถือว่ามีอิทธิพลต่อวัวิัฒนาการของคอมมอนลอว์อีกด้วย

           อาจกล่าวได้ว่า จุดมุ่งหมายหลักของกลุ่มไอเอส คือการจัดตั้ง "รัฐอิสลาม" ทั่วพื้นที่ประเทศอิรักและประเทศซีเรีย ดดยเกฐภาษีกฎหมายอิสลามในเมือง แยกเด็กชายและหญิงออกจากกันในการศึกษาในดรงเรียน รวมทั้งกำหนดให้สตรีต้องสวมผ้ากลุ่มหน้าญิฮาในที่สาธารณะ ไอเอส ประกาศว่าจะทำลายพรมแดนของปรเทศจอร์แดนและเลบานอน พร้อมทั้งปลดปล่อยปาเลสไตน์ "ไอเอส" สามารถดังเสียงจากมุสลิมได้ทั่วโลก โดยเรียกร้องให้คนทั้งหมดเชื่อฟังต่อผุ้นำของกลุ่ม มีการประเมินว่า ไอเอส ยึดครองพื้นที่กว่า 40,000 ตารางกิโลเมตร บางคนก็ว่าถึง 90,000 ตารางกิโลเมตร ทั้งในอิรักและซีเรีย เชื่อกันว่ามีคนประมาณ 8 ล้านคน ที่อาศัยอยุ่ในพื้นที่การควบคุมของกลุ่มไอเอส และอยู่ภายใต้การปกครองของกฎหมายชารีอะฮ์ นักรบไอเอส คาดการณ์ว่ามีราว 31,000 คน ทั้งประเทศอิรักและซีเรีย ซึ่งเป็นนักรบต่างชาติกว่า 12,000 คน จากประเทศต่างๆ อย่างน้อย 18 ประเทศ

           ไอเอสตีความศาสนาอิสลามในแง่มุมที่ต้อต้านชาติตะวันตกอย่างสุดโต่ง สนับสนุนการใช้ความรุนแรง และกล่าวหาคนที่ไม่เห็นด้วยกับการตีความของพวกตนว่าเป็นพวกนอกรีตหรือคนไม่มีศาสนา

  2 กันยายน 2021 นักรับจีฮัดทัวโลกต่างเฉลิมแลองหลังกลุ่มตาลีบันได้กลับขึ้นสู่อำนาจในอัฟกานิสถานอีกครั้ง ผุ้เชียวชาญต่างหวั่นเกรงถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดยุคใหม่ของอุดมการณ์จีฮัด หรือการำสงครามศักดิ์สิทธิของชาวมุสลิมขึ้นในภุมิภาคตะวันออกกลางและเอเซียกลาง ทั้งจากกลุ่ม อัลเคดา และ ไอเอส

          ในข้อตกลงที่ตาลีบันทำกับสหรัฐฯ คือรับปากว่าจะไม่ให้ที่พักพิงแก่กลุ่มสุดดต่งที่มีเป้าหมายในการโจมตีชาติตะวันตก อย่าไรก็ตามสายสัมพันธืของตาลีบันกับกลุ่ม อัลเคดายังคงแน่นแฟ้น

          กลุ่มไอเอสเค ISKP กลุ่มรัฐอิสลามแห่งจังหวัดโคราซัน ( เป็นกลุ่มติดอาวุธในท้องถิ่นทีปฏิบัติการอยุ่ทั้งในอัฟกานิสถานและปากีสภาน และเป็นกลุ่มที่เขั้าร่วมกับกลุ่ม ไอเอส ไอเอส-เค ถือเป็นหลุ่มนักรบสุดโต่งและรุนแรงมากที่สุดในบรรดากลุ่มนักรบจีฮัดในอัฟกานิสถาน ก่อตั้งกลุ่มาตั้งแต่ มกราคม 2015 ) ก่อเหตุโจมตีพื้นที่รอบนอกสนามบินกรุงคาบูลในวันที่ 26 สิงหาคม ที่ผ่านมา ผุ้เสียชีวิต 170 คน 13 คนเป็นเจ้าหน้าที่สกรัฐฯ

            ลักษณะที่เหมือนกันของ ตาลีบัน, อัลเคดาและไอเอส คือแนวคิดของศาสนาอิสลามนิกายซุนนีแบบแข็งกร้าว อาจารย์จากมหาวิทยาลับชื่อดังแห่งลอนดอน ระบุว่า "ทั้งสามกลุ่มเชื่อว่าชีวิตทางสังคมและากรเมืองไม่สามรถแยกออกจากชีวิตทางศาสนาได้"

            "พวกเขาเชื่อว่าความารุนแรงในนามของศาสนาดเป็นสิ่งชอบธรรม และยังเป็นภาระหน้าที่ ผุ้ที่ไม่สุ้
รบคือมุสลิมที่ไม่ดี"และเขายังบอกว่า แนวคิดดังกล่าวเกิดจากการตีความตามตัวอักษรศักดิ์สิทธิที่เขียนขึ้นในบริบที่มีภัยคุกคามแตกต่างออกไป แม้จะมีแนวคิดตรงกันในเรืองนี้แต่ ตาลีบัน,อัลเคดาและไอเอส กลับมีความสุดโต่งที่แตกต่างกันเมืองพิจารณาจากเป้าหมายของกลุ่ม ซึ่งบรรดาผุ้เชี่ยวชาญชี้ว่าเป็นความแตกต่างที่สำคัญของทั้งสามากลุ่มนี้ ซึ่งในขณะที่ผลประโยชน์ของตาลีบันจำกัดอยุ่ในอัฟกานิสถาน แต่อัลเคดาและไอเอสกลับมีเป้าหมายระดับโลก

            ตาลีบันเคยบังคับใช้กฎหมารยชารีอะห์ ในยุคเรืองอำนาจเมืองช่วงทศวรรษที่ 1990 ซึ่งมีข้อบังคับเข้มงวดและบทลงโทษรุนแรง ชาวอัฟกานิสถานเกรงว่าจะเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นอีกจึงอพยพออกนอกประเทศ

         ผุ้เชี่ยวชาญด้านก่อการร้ายและตะวันออกกลางแห่งมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ระบุว่า หลักการขอกลุ่มอัลเคดาและไอเอสมีความสุดโต่งยิ่งกว่า เขากล่าวว่า "ในขณะที่ตาลียันมุ่งเป้าฟื้นฟูอัฟกานิสถานให้กลับคืนสู่สังคมมุสลิมในอุดมคติแบบในอดีต แต่กลุ่มไม่พยายามที่เปลี่ยนประเทศอื่นๆ แม้ทั้งอัลเคดาและไอเอส จะมีเป้าหมายในการสร้างรัฐอิสลามไปทั่วโลก แต่ก็มีความคิดที่แตกต่างกัน "ในขณะที่ไอเอสต้องการสร้างรัฐอิสลามขึ้นตอนนี้ แต่อัลเคดาคิดว่ายังเร็วเกินไป พวกเขาเชื่อว่ากลุ่มนักรบจีฮัดและสังคมมุสลิมยังไม่พร้อม และมันไม่ใช่เรื่องสำคัญอันดับแรกของพวกเขา"

         ทั้งสามกลุ่มนี้ มีศตรูที่สำคัญร่วมกัน สหรัฐฯและชาติตะวันตก และกลุ่มพันธมิตรของประเทศเหล่านี้ที่มีแนวคิดเรืองการแยกรัฐออกจากศาสนา

         ผู้เชียวชาญยังกล่าวต่อไปว่า "ตั้งแต่ต้น ไอเอสมีความรุนแรงมากกวาอัลเคดา" โดยนอกจากจะทำสงครามกับโลกตะวันตกแล้ว ยังทำสงครามกับชาวมุสลิมที่ไม่มีอุดมการณืเดียวกัน อีกความต่างที่สำคัญคือ ในขชณะที่สหรัฐฯ เป็นศัตรูสำคัญของอัลเคดา ไอเอสยังโจมตีชาวมุสลิมนิกายชีอะห์และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ ในศาสนาอิสลามในภูมิตะวันออกกลาง "แม้ว่าอัลเคดามองว่าชาวชีอะห์ฺเป็นละทิ้งศาสนา แต่ก็เชื่อว่าการเข่นฆ่าคนเหล่านี้เป็นเรื่องสุดโต่งเกินไป เป็นการสิ้นเปลื่องทรัพยากรและเป็นภัยต่อแผนการทำสงครามศักดิ์สิทธิ์"

       การที่ตาลีบันกลับขึ้นสู่อำนาจได้ทำให้เกิดความเห็นต่างยิ่งขึ้นเพราะไอเอสมองว่า ตาลีบันเป็น"ผู้ทรยส"จาการยอมเจรจาแผนการถอนกำลังทหารกับสหรัฐฯ

         ที่มา : วิกิพีเดีย

                   https://www.bbc.com/thai/international-58418849  

                   chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=31747

                  https://www.bbc.com/thai/international-58317645

วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2567

Muslim

           มุสลิม ภาษาอาหรับ อัลมุสลิมูล แปลวา "ผู้อ่นน้อม)ต่อพระเจ้า" เป็นบุคคลที่นับถือศาสนาอิลาม ศาสนาเอกเทวนิยม อยุ่ในธรรมเนียมศาสนอบราฮัมพวกเขาถือว่าคัมภีร์อัลกุลาอาน คัมภีร์ในศาสนาอิสลามเป็นพระดพรัสของพระเจ้าของอับราฮัมที่ประทานให้แก่มุฮัมมัน ศาสดกนศสนาอิสลามมุสลิมส่วนใหญ่ยัดำเนินตามคำสอนและการปฏิบัติของมุฮัมหมัน(ซุนนะฮ์)ตามที่มีการจดบันทึกในรายงานต่างๆ ฮะดีษ)



          ด้วยจำนวนผุ้นับถือเกือบ 2,000,000,000 คน ในปี 2020 เป็นประชากว่า 24.9 ของประชากรของโลกทั้งหมด โดยแบ่งตามจำนวนในทวีปต่างๆ ดังนี้ แอฟริกา 45%, เอเซียและโอเซียเนีย(โดยรวม) 25%, ยุโรป 6%, อเมริกา 1%, นอกจากนี้ เมือนำจำนวนตามภมิภาค จำนวนนั้นจะกลายเป็น 91% ในตะวันออกกลาง-แอฟริกาเนหือ 90% ในเอเซียกลาง, 65% ในคอเคซัส,  42% ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้, 32% ในเอซียใต้และ 42% ในแอฟริกาใต้สะฮารา 

         อิสลามมีนิกายต่างๆอยุ่หลายนิกาย แต่ที่มีผุ้นับถือมากที่สุดคือ ซุนนี่ 75-90%ของมุสลิมทั้งหมด และ ซีอะฮ์ 10-20% ของมุสลิมทั้งหมด

         เมื่ออิงจากตัวเลขจริงเอเซียใต้มีจำนวนมุสลิมมากที่สุด 31% จากประชากรมุสลิมทั้่วโลก ฝดยหลักออาศัยอยู่ทั่วในสามประเทศคือ ปากีสถาน,อินเดียและบังคลาเทศ

         เมื่อแบ่งตามประเทศ อินโดนิเซีย มีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลกมุสลิม โดยมีประชากรประมาณ 12% ของมุสลิมทั่วโลก 

         ส่วนในประเทศที่มุสลิมเป็นชนกลุ่มน้อย ในอินเดียและจีนมีประชากรมุสลิมมากเป็นอันดับหนึ่ง (11%)และที่สอง(2%) ตามลำดับ 

       เนื่องจากการเติบโตของประชากรมุสลิมอยู่ในระดับสูง ทำให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก

        นิกายและสำนักคิดในศาสนาอิสลาม นักวิชาการอิสลา มีทัศนะแตกต่างกันในการจำแนกจำนวนนิกายต่างๆ ในโลกอิสลาม 

          - การตีความหมายของคำว่า 73 จำพวกในที่นี้ว่ามาถึงมุสลิมจะแตกกลุ่มแยกกันมากมายหลายกลุ่ม ไม่เจาะจงวาต้องแตกออกเป้น 73 จำพวก พอดีตามตัวบทวจนะของท่านศาสดา (ซ.ล.)

          - บ้างกล่าวว่ามีมากกว่า 73 กลุ่ม

          - บ้างว่าน้อยกว่า 70 กลุ่ม

         อย่างไรก็ตามไม่ว่าศาสนาอิสลามจะแตกออกเป็นหลายกลุ่ม แต่ศาสนาอิสลามที่ถูกต้องมีเพียงกลุ่มเดียวส่วนกลุ่มอื่นๆ ที่แตกแนวนั้นถือเป็นกลุ่มนอกศาสนา เพราะที่อยุ่ของเขาเหล่านัี้นคือๆฟนรก ดังนั้นเราอาจจะสรุปได้ว่า สาสนาอิสลาม มีนิกายเดียว (เพราะนิกายอื่นๆ นั้นไม่ใช่อิสลาม ณ ที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.))

         โลกมุสลิม มีนิกายทางศาสนาที่สำคัญอยู่ 2 นิกาย คือ นิกายสุนหนี่ และ นิกายชีอะห์ ซึ่งเป็นสาเหตุประการหนึ่งของการขัดแย้งระหวางประเทศมุสลิมด้วยกันเอง อาทิ

          - หลังจากขบวนการปฏิวัิตอิสลามภายใต้การนำของอิหม่ามโคมัยนี่ประสบความสำเร็จในการโค่นล้มจักพรรดิซาห์ปาหืเลวีแห่งอิหร่นในปี 1979  อิหร่านพยายามมีบทบาทในเวทีการเมืองของโลกมุสลิม และพยายามผลักดันตนเองในการเป็นผุ้นำของประเทศมุสลิม ทั้งพยายามแย่งชิงศูนย์การนำจากประเทศอาหรับ โดยเฉพาะซาอุดิอาระเบียมาสู่อิหร่าย

              จากพฤติกรรมดังกล่าว ทำให้ประเทสอาหรับและมุสลิมอื่นซึ่งส่วนใหญ่นับถือสนุหนี่ ขัดขวางการแผ่อิทธิพลของอิหร่ายที่ชูการปฏิวัติอิสลามพร้อมกับนำแนวความเชื่อหรือนิกายชีอะหือิมามียะห์เข้าเผยแพร่ด้วย

         
  - หตุการณ์ในซาอุดิอาระเบีย มเื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 1987 นักแสวงุญอิหน่าน กว่า 150,000 คน ได้มีการรวมตัวเดินขบวนต่อต้านอเมริกา รัสเซยและอิสราเอลในนครเมกกะซึ่งเป็นที่รวมของนักแสวงบุญทั่วโลกกว่า 2 ล้านคน ด้วยเหตุที่นักแสวงบุญชาวอิหร่านนับถือชีอะห์ ทำให้ทาการซาอุดิอาระเบียซึ่งนับถือสุนหนี่เกิดความระแวงและไม่วางใจเกรงจะเกิดเหตุการณื เช่น ปี 1979 ซึ่งมีบุคคลกลุ่มหนึ่งพร้อมอาวุธเข้ายึดมัสยิด อัล-ฮะรอม ดันเป็นที่ตั้งของหินดำ (กะบะห์) จึงพยายามสกัดกั้นการเดินขบวนมิให้ลุกลามใหญ่โตจนไม่อาจควบคุมได้ แตก่ก็เกิดการปะทะระหว่างผู้เดินขบวนกับเจ้าหน้าที่รักษาคาวามสงบของทางการ ซาอุดิอาระเบียและเกิดโศกนาฎกรรม มีผุ้เสียชีวิตจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักแสวงบุญชาวอิหร่าน


             นักวิชาการมุสลิมมีความเหต็แตกต่างกันในเรื่องการกำเนิดของลัทธิชีอะห์ อย่างไรก็ตามจากการบันทึกของประวัติศาสตร์อิสลาม หลังจากที่ท่านศาสดามูฮัมมัดเสียชีวิต ชาวมุสลิมในขณะนั้นมีความเห็นแตกต่างกนในเรืองของการเลือกผุ้นำประชาชาติมุสลิม (คอลีฟะฮฺ) บางพวกเห็นว่าควรจะเป็นผุ้ที่มาจากอันซอร์(ผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองมะดีนฮฺ ซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือกแก่ท่านศาสดาและชาวมุสลิมในคราวที่มีการอพยพจากเมืองเมกกะ) บางพวกเห็ว่าควรจะเป็นพวกมูฮาญิริน(ผู้อพยพมาพร้อมท่านศาสดา บางพวกสนับสนุนให้ท่านอะลีเป็นผู้นำ ชีอะห์เกิดจากความขัดแย้งในเรื่องความเหมาะสมของผุ้ที่จะดำรงตำแหน่งผู้นำประชาชาติมุสลิมสืบทอดจากท่านศาสดาเป็นหลัก ทำให้ผุ้สนับสนุนอะลีปลีกตัวไปตั้งนิกายของตนเองเพื่อรอโอกาสที่จะความยุติสู่อาณาจักรอิสลาม แม้ว่าความเชื่อตามแนวนี้จะขัดกับมุสลิมส่วนใหญ่(สุนหนี่)ก็ตาม แต่ก็ไม่มีนักวิชาการมุลิมคนใดออกมาประณามพวกเขาว่าเป็นผุ้ตกศาสนา(กาเฟรฺ)


           

                ที่มา : วิกิพีเดีย

                           http://library1.nida.ac.th/nida_jour0/NJv28n1_05.pdf

          

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...