วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2567

Hamas...

            ฮามาส ย่อมาจากเราะกะฮ์ อัลมุกอวะมะฮ์ อัลอิสลามียะฮ์ แปลว่า "ขบวนการอิสลามเพื่อการยื่นหยัดต่อสู้"เป็นพรรคการเมืองหนึ่งของปาเลสไตน์ที่นับถืออิสาลามและมีกองกำลังติดอาวุธ เป็นขบวนการที่เป็นผลพงจากการต่อต้านอิสราเอลในปี 1987 เป็นกุ่มเคร่งศาสนาสายซุนนี่ สืบทอดอุดมการณืจากขบวนการภารดรภาพมุลสลิม อียิปต์  ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านที่นับถือยิกายชีอะห์ โดยขบวนการเป็นที่ทำการในอิหร่านเมือ ปี1995 อย่างไรก็ตามขบวนการนี้ตกต่ำในช่งปี 2001-2002 โดยถูกขับจากจอร์แดนในปี 2001 และแบ่งกลุ่มออกเป็นสองส่วนในเขต เวสต์แบงก์และดามัสกัส

          ฮามาสก่อตั้งเมือปี 1987 โดยเป็นเครือข่ายของกระบวนการเคลื่อนไหว ขบวนการภราดรภาพมุสลิม (เป็นขบวนการขับเคลื่อนทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจตามแนวทางของอิสลาม คาดว่ามีสมารชิก 2-2.5 ล้านคน ก่อตั้งโดยฮะซัน อัลบันนา ชาวอียิปต์ เมื่อปี 1985 กลุ่นนี้ขยายไปยังประเทศมุสลิมอื่นๆ แต่มีองค์การใหญ่ที่สุดในประเทศอียิปต์ แม้ว่าจะถูกรัฐบาลปราบปรามเรื่อยมา ขบวนการภราดรภาพมุสลิมอียิปต์ หรือ อิควานุลมุสลิม ได้สนับสนุนปาเลสไตน์โดยในปี 1948 ได้ส่งอาสาสมัครไปยับยั้งการก่อสร้างรัฐอิสราเอลทำให้ถูกประธานาธิบดี นัสเซอร์ปราบปรามอย่างรุนแรง) ฮามมาสได้รับความนิยอย่างมากทั่วปาเลสไตน์ โดยไดรับชัยชนะ ในการเลือกตั้งเข้าสู่สภาพของปาเลสไตในปี 2006 

        ฮามาสก่อตั้งดย เชคอะห์มัด อิสมาอีล ฮะซัน ยาซีน ซึ่งเป็นผุ้นำทางศาสนา ในการลุกฮือต่อต้านอิสราเอลครั้งแรก มีจุดประสงค์หลักเพื่อยุติการยึดครองทางทหารของอิสราเอล ในเขตฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน เวสต์แบงก์ และฉนวนกาซา ส่วนความมุ่งหมายที่สำคัญมไ่ยิ่งหย่อนกว่ากันคือ การสรา้างรัฐปาเลสไตน์ขึ้นอีกครั้งกนึ่ง บนแผ่นดินเดิมก่อนที่จะเป็รัฐอิสราเอลเมื่อปี 1948 ฮามาสสร้างความนิยมในหมู่ปาเลสไตนน์ที่ยากจน ด้วยการจัดหหาความจำเป็นพื้นฐานต่างๆ สร้างโรงเรีย โรงพยาบาล และศุนย์ทางศาสนา และทีแตกี่างจากกระบวนการทางการเมืองปาเลสไตน์อื่นๆ คือ ฮามาสไม่เข้าร่วมสมาชิกองค์กรปลอปล่อยปาเลสไตน์ PLO  และต่อต้านการเซ็นสัญญาสันติภาพกับอิสราเอล แม้จะเคยทำสัญญาหยุดยิงกับอิสราเอลหลายครัง และนอกประเทศ นอกจากนั้น ยังมีการสนับสนุนจากประเทศอหาหรับอื่นๆ และรัฐบาลอิหร่านอีกด้วย

         ฮามาส มีหน่วนรบอซซุดดีน อัลกอสซาม ซึ่งเชื่อกันว่ามีสมาขชิกหลายพันคน  และเคยสู้รบกับอิสราเอลหลายครัง ทั้งยังตอบโต้อิสราเอลโดยการยิงจรวดเข้าไปในเขตตอนใต้ของอิสราเอล เพื่อโต้ตอบการที่อิสราเอลโจมตีในอนวนกาซา

       


ฮามาสออกแถลงการ เมื่อเดอืนสิงหาคม ปี 1994 ประกาศจุดยืนของตนว่าจะขัดขืนและตอบโต้ขบวนการไซออนนิสต์เป็นหลัก กลุ่มนี้มองว่าข้อตกลงสันติภาพออสโลระหว่างยิวและอาหรับเป็นการยอมแพ้ต่อเงื่อนไขของไซออนนิสต์ และองค์กรปลกอปล่อยปาเลสไตน์ไม่ได้เป็นตัวแทนของชาวปาเลสไตน์อีกต่อไป จุดหมายระยะยาวของฮามาสที่ประกาศในเดือนเมษา ปี เดียวกันนั้น คือ ให้อิสราเอลถอนตัวออกจากอินแดนยึดครองทั้งหมด ปลดอาวุธผู้เข้ามาตั้งรกรากและยกเลิกการตั้งถ่ินฐนใข้กองกำลังนานาชาติบนเส้นทางสีเขียวที่สร้างขึ้นในเขตยึดครองระหว่างสงครามปี 1948 และ 1967 ให้มีการเลือกตั้งเสรีในปาเลสไตน์เพื่อเลือกตัวแทนทีแท้จริงในปาเลสไตน์ และจัดตั้งสภาที่เป็นตัวแทนของปาเลสไตน์อย่างแท้จริง

        ผุ้นำคนสำคัญหลายคนถูกลอบสังหารโดยอิสราเอล เชคยาซีนถูกลอบสังหารในปี 2004 เชคยาซีนเป็นที่เคารพนับถือของชาวปาเลบสไตน์เป็นอย่างมาก ดดยเขาเรียกร้องให้ชาวปาเลสไตน์จับอาวุธขึ้นต่อส้กับอิสราเอล โดยไม่มีการประนีประนอม เขาถูกสังหารทั้งๆที่อยู่ในสภาพต้องนั่งรถเข็น และไม่กี่สัปดาห์  อับดุล อะซีซ อัรรอนดีซี ซึ่งเป้นผุ้นำฮามาก็ยึดครองกาซาได้อย่างเหนียวแน่น และถูกลอบสังหารไปอีกคน 

        ในปี 1990 อามาสสร้างความน่านับถือโดยการแก้ปัญหาต่างในแนวนกาซาได้เป็นผลสำเร็จ จึงได้รับการสนับสนุนจากผุ้ที่ไม่ได้เป็นพันธมิตรกับอามารสมาก่อน เช่น กลุ่มคริสเตียนปาเลสไตน อามาสเริ่มปฏิบัติการพลีชีพกับอิสราเอล ในปี 1994 ในปี 2000 การเจรจาสันติภาพระหวา่งอิสราเอลกับปาเลสไตน์ล้มเหลวลงอีกครั้ง ฮามาสได้เข้ร่วมกับกลุ่มการเมืองและกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ ของปาเลสไตน์ ทำการลุกฮือต่อต้านอิสราเอลเป็นครั้งที่สอง  โดยมีการรณรงค์ต่อต้านจากพลเรือนปาเลสไตน์ในเขตยึดครอง และการเพ่ิมขึ้นของปฏิบัติการระเบิดพลีชีพในอิสราเอล เพื่อแสดงการต่อต้านการที่อิสราเอลโจมตี เวสต์แบงก์ และ ฉนวนกาซา กลุ่มฮามาสต่อต้านการประชุมสันติภาพที่กรุงออสโล ในปี 1993 และควำบาตรการเลือกตั้งในปาเลสไตน์ เพราะเห็นว่าเป็นผลมาจาการประชุมสันติภาพครั้งนั้น

        ฮามาสได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่รัฐสภาปาเลสไตน์ในปี 2006 และได้รับการสนับสนุนจากชาวปาเลสไตน์ โดยสามารถชนะกลุ่มฟาตาห์ ด้วยคำมั่นที่จะต่อต้านการคอรัปชั้นและการยึดครองของอิสราเอล ซึ่งทำให้อานิยาได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในครั้งนั้น ฮามาสได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล แต่กลุ่มหาตาห์ที่เป็นกลุ่มอำนาจเก่าไม่ต้องการเสียอำนาจจึงเกิดการปะทะกัน สหรัฐและอิสราเอลต้องการให้ฟาตะห์มีอำนาจต่อไปจึงสนับสนุนเงินกับกลุ่มฟาตาห์ ฮามาสเสนอให้จัดตั้งรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ

       สหรัฐ ประเทศสหภาพยุโรป และอิสราเอล ปรามาสว่าฮามาสเป้นกลุ่มก่อการร้าย และไม่ยอรับรองผลการเลือกตั้ง ทำให้หลังจากนันเป็นต้นมา ปาเลสไตน์ถูกลงโทษทางเศราฐกิจอย่างหนัก กลุ่มประเทศมหาอำนาจตะวันตกบังคับให้ฮามาสรับรองรัฐอิสราเอล ละท้ิงอุดมการณืต่อสุ้ด้วยอาวุธ และยอมรับการตกลงสันติภาพอื่นๆ ระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอล 

         จากความขัดแย้งกับกลุ่มฟาตาห์และการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกทำให้ผุ้นำปาเลสไตน์ที่ได้รับรองเป็นทางการ ต้องตกที่นั่งลำบาก สมาชิกที่สนับสนุนฮามาสและฟาตาห์ต่อสู้กันอยู่เนืองๆ ทังในเวสต์แบงก์ และในแนวนกาซา เพื่อช่วงชิงการปกครอง ต้นปี 2007 ทั้งสองกลุ่มตกลงประนีประนอมกันเพื่อจัดตั้งรัฐบาลร่วม เพื่อต้องการรับความช่วยเหลือจานานาประเทศ นายกรัฐมนตรี อิสมาอีล ฮะนีเยะห์ ผุ้นำอาวุโสฮามาสในฉนวนกาซา ซึ่งถูกปลดออกจาการเป็นนายกรัฐมนตรี สามารถหลุดรอดจากการตามล่าสังหารของอิสราเอลได้ 

       มิถุนายน 2007 ประธานาธิบดี มะห์มูด อับบาล และกลุ่มฟาตาห์ ร่วมมือกันยึดอำนาจในเขตเวสต์แบงก์ ทำให้การการจะเป็นผุ้ปกครองตินแดนปาเลสไตน์ของฮามาสต้องยุติลง รัฐบาลในเวสต์แบงก์มีความอ่อนแอแต่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ ฮามาสจึงยึดฉนวนกาซา แต่ถูกปิดล้อมโดยอิสราเอลมากขึ้น ทำให้ราคาอาหารสูงขึ้น นักศึกษาไม่สามารถศึกษาต่อในระดัีบสูง ขึ้นในต่างประเทศได้ การส่งออกถูกระงับ โรงงานต้องปิดตัว อิสราเอลเข้มงวดกับฉนวนกาซาโดยเพิ่มกำลังทหารและมาตการปิดล้อมทางเศรษฐกิจ รวมท้ั้งการตัดไฟฟ้า และเริ่มปฏิบัติการทางทหาร

       2017 อามาสบรรลุ "ข้อตกลงปองดอง"กับกลุ่มฟาตาห์

       ฟาตาห์ฺได้รับการสนับสนุนจากตะวันตกสุญเสียการควบคุมกาซาให้กับฮามาสที่ถุกตะวันตกและอิสราเอลมองว่าเป็นกลุ่มก่อการร้ายในการสู้รบเมืองปี 2007 ได้ตกลงที่จะยกอำนาจในกาซาให้รัฐบาลของประธานาธิบดีมาห์มูด อับบาส ที่กลุ่มฟาตาห์สนับสนุน อิยิปต์ช่วยเป็นคนกลางหลายครังในความพยายามทีั้จะทำให้สองกลุ่มนี้ปรองดองกันและก่อตั้งรัฐบาลสมานฉันท์แบ่งปันอำนาจในกาซาและเวสต์แบงก์ ฟาตาห์และฮามาสเห็นพ้องกันในปี 2014 ว่าจะก่อตั้งรัฐบาลสมาฉันท์แห่งชาติ แต่ถึงแม้ว่าจะมีขอ้ตกลงนี้ รัฐบาลเงาของฮามสก็จะยังคงปกครองฉนวนกาซาต่อไป

 "เราขอแสดงความยินดีกับชาวปาเลสไตน์เกี่ยวกับข้อตกลงสมานแันท์ที่ได้รับการบรรลุในไคโร เราพยายามทุกวิถีทางเพื่อทำให้ข้อตกลงนี้เกิดผลเพื่อที่จะเริ่มบทใหม่ของประวัติศาสตร์ของประชาชนของเรา" ฮาเซ็ม กัสเซ็มโฆษก ฮามาส กล่าวกับรอยเตอร์

         อามาสตกลงที่จะมอบอำนาจบริหารในกาซาให้กับรัฐบาลที่กลุ่มฟาตาห์หนุนเมืองเดือนที่แล้ว เหตุผลส่วนหนึ่งเนื่องจากการถูกโดดเดี่ยวทางการเงินและการเมืองของฮามาส ภายหลังผู้บริจาครายใหญ่อย่างกาตาร์เผชิญกับวิกฤตใหญ่ทางการทูตกับเหล่าพันธมิตรสำคัญ

          คณะผู้แทนจากทังสองฝ่ายอยุ่ระหว่างการเจรจาในไคโรในสัปดาห์นี้เพื่อกำหนดรายละเอียดของการส่งมอบการบริหารรวมถึงการักษาความปลอดภัยในกาซาและจุดข้ามชายแดน

           ภายใต้ข้อตกลงนี้เจ้าหน้าที่ความมั่นคงฟาตาห์ 3,000 คนจะเข้าร่วมกองกำลังตำรวจกาซา แต่ฮามาสจะยังคงมีกองกำลังชาวปาเลสไตน์ที่เข้มแข็งมากที่สุด กองกำลังทีมีนักรบติดอาวุธครบครันราว 25,000 นี้เคยทำสงครามกับอิสราเอลสามครั้งนับตั้งแต่ปี 2008 

          คู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่ายหวังวาแผนการโยกย้ายเจ้าหน้าที่ความมั่นคงจากรัฐบาลปาเลสไตน์ไปยังชายแดนกาซาจะช่วยให้อิยิปต์และอิสราเอลยกเลิกการควบคุมอย่างเช้มงวดที่จุดข้ามชายแดน ขึ้นตอนสำคัญที่มีความจำเป็นต่อการช่วยกาซาฟื้นฟูเศรษฐกิจ



         7 ตุลาคม 2023 กลุ่มติดอาวธชาวปาเลสไตน์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มฮะมาส และญิฮาดอิสลามปาเลสไตน์ ร่วมกับกลุ่มอื่นๆ เช่น กลุ่มแนวร่วมประชาชนเพื่อากรปลดปล่อยปาเลสไตน์ ได้เปิดฉากการโจมตีครั้งหใญ่ต่ออิสราเอลจากฉนวนกาซา ในรูปแบบของจรวดโจมตีและการโจมตีต่างๆ การรุกรานข้ามพรมแดนเข้าสู่อิสราเอลจากฉนวนกาซา ในรูปแบบของจรวดโจมตีและการโจมตีต่างๆ การรุกรานข้ามพรมแดนเข้าสู่อิสราเอล โดยกลุ่มฮามาสได้เรียกปฏิบัติการนี้ว่า "ปฏิบัติการน้ำท่วมอัล-อักศอ" ถือเป็นความขัดแย้งที่มีการเผชิญหน้ากันตรงๆ ภายในดินแดนของประเทศอิสราเอลนับตั้งแต่สงครามอาหรับ-อิสราเอล ปี 194...

             ที่มา : วิกิพีเดีย

                      https://mgronline.com/around/detail/9600000104290



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Midwest

            "มิดเวสต์" เป็นหนึ่งในสี่ภูมิภาคสำมะโนประชากรของสำนักงานสำมะโนประชากรแห่งสหรัฐอเมริกาเรียก ภุมิภาคนี้ว่า ภุมิภาคตอนกลา...