วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2567

Geopolitical concepts

           อัลเฟรด เทเยอร์ มาฮาน 1840-1914 ทฤษฎีสมุทรานุภาพ อัลเฟรด เป็นนายทหารเรือ และนัก
ประวัติศาสตร์เขาเคยเป็นอาจารย์สอนวิชาประวัติศาสตร์และุทธศาสตร์ทางเรือที่วิทยาลัยกองทัพเรือ มาอานให้ความสำคัญกับเรื่องของสมุทรานุภาพเป็นอย่างมาก โดยมาฮานได้เขียนหนังสือชื่อว่า "อิทธิพลของสมุทรานุภาพในประวัติศาสตร์" ออาเผยแพร่เมือปี 1890 โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของอำนาจทางทะเลที่มีต่อกิจการทหาร

         มาฮาน มีความเห็นว่า ประเทศที่จะเป็นมหาอำนาจได้นั้นจะต้องเป็นประเทศที่มีกำลังอำนาจควบคุมทางทะเลและมหาสมุทร และเห็นว่าไม่มีประเทศใดที่จะสามาราถเป็นมหาอำนาจทางบกและมหาอำนาจทางทะเลได้ในเวลเดียวกัน มาฮานยกตัวอยา่งประเทศอังกฤษ มีลักษณะเป็นเกาะจึงไม่ต้องกังวลกัการรุกรานทางบกจึงทำให้อังกฤษสามารถสร้างเสริมกำลังทางทะเลให้ยิ่งใหญ่ได้จนได้ขื่อว่ "เจ้าสมุทรฎ นอกจากนี้การที่อังกฤษสามารถที่จะเข้าควบคุมจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญทางทะเล หรือด่านสมุทร ซึ่งเป็นชุมทางและทางผ่านของเส้นทางเดินสมุทรเอาไว้ได้ ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อังกฤษกลายเป็นประเทศมหาอำนาจ มาฮานเห็นว่าประเทศที่จะรับช่วงการเป็นเจ้าสมุทรต่อจากอังกฤษก็คือ สหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เพราะแม้สหรัฐอเมริกาจะมีที่ตั้งอยู่บนทวีป แต่ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลกับการรุำกรานจากทางบก เพราะประเทศเพื่อบ้าน คือ แคนาดานั้นเป็นประเทศที่ไม่มีความเข้มแข็งทางการทหาร นอกจากนี้อาณาเขตของอเมริกาังติต่อกับมหาสมุทรถึงสองแห่งด้วยกัน คือ แอตแลนติกและปแซิฟิก มาฮานจึงเสนอให้สหรัฐฯสร้างกำลังทางทะเลของตนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น...

           เซอร์เฮาฟอร์ด แมคคินเดอร์ 1861-1947 ทฤษฎีฮาร์ตแลนด์ เป็นชาวอังกฤษ และทำงานเป็นอาจารย์สอนวิชาภูมิศาสตร์อยุ่มหาวิทยาลัยลอนดอน ตลอดจนเป็นผู้อำนวยการสถาบันเศรษฐศาสตร์แห่ง


ลอนดอน ทฤษำีของเขามีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อการก่อสงคราม โดยบุกเข้าไปทางรัสเซียองเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 

        แมคคินเดอร์เห็นว่าพื้นที่ของทวีปเอเซีย ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา นั้นเป็นพื้นดินที่มีความต่อเนื่องกันเป็นผืนเดียว แมคคินเดอร์เรียกแผ่นดินผืนนี้ว่ "เกาะโลก" World Iland และเกาโลกนี้มีจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญย่ิง คือ บริเวณดินแดนในแถบยูเรเซีย โดยดินแดนนี้เร่ิมจากชายฝั่งทะเลยอลติกและทะดำในทางตะวันตกไปจนกระทั่งถึงเขตไซบีเรยในทางตะวันออก และทางเหนือเร่ิมจากมหาสุทรอาร์กติกลงมาจนจรดเทือกเขาหิมาลัยทางใต้ บริเวณนี้ได้รวมเอาส่วนใหญ่ของที่ราสูงอิหร่านททางตะวันตกเฉียงใต้ และที่ราบสูงมองโกเลียทางตะวันออกเฉียงใต้เข้ามาไว้ด้วย แมคคินเดอร์ เรียกบริวเณนี้ว่า "ดินแดนหัวใจ" Hearrtland และเห็นว่ากำลังทาเรือนั้นจะเข้ามาในบริวเณดินแดนนี้ได้ยกมาก ยกเว้นแต่ทางด้านทะเลตะวันตก ซึ่งแมคคินเดอร์ก็เห็นว่าอย่างไรก็ยังไม่เป็นที่น่่ากังวลนัก เพราะในยุทธนาววีระหว่างอังกฤษกับเยอรมันที่แถบคาบมหาสมุทรยุคแลนด์ในปี 1919 นั้น เรือรบของอังกฤษไม่สามารถที่จะข้ามช่องแคบดาร์ตะเนลส์ของตุรกีเข้าไปสู่ทะเลดำได้ ทั้งเรือดำน้ำและทุ่นระเบิดของเยรอมันก็สามารถป้องกันไม่ให้อังกฤษสามารถเข้าไปในทะเลบอลติกได้ ส่วนทางบกนั้นดินแดนหัวใจถูกลัอมรอบไปด้วยภูเขา ทะเลทราย และน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์ติก ดังนั้นการบุกรุกจากทางบกก็ทำได้ยากเช่นกัน นอกจากนีั้แมคคินเดอร์ยังเห็นว่า หากใครมาสามารถครบอครองดินแดนหัวใจได้แล้วก็จะสามารถบุกไปยังยุโรปตะวันออกและยุโรปตะวันตกได้โดยง่าย ซึ่งที่ตั้งของเยอรมันเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่เกื้อกูลต่อดินแดนหัวใ เรพาะว่าถ้ารวมเยอมันเข้ากับดินแดนหัวใจแล้วก็จะสามารถขยายอิทธพลไปได้กระทั่งจรดชายฝั่งของยูเรเซีย

           ดินแดนหัวใจนั้นถูกล้อมรอบด้วยดินแดนของทวีปยุดรปและเอเชีย อันได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศษ เยอรมัน จีน ฯลฯ ซึ่งแมคคินเดอร์เรียกบริเวณนี้ว่า ดินแดนครึ่งวงกลมริมใน Inner Marginal Crescent ส่วนดินแดนที่อยุ่ถัดออกมาจากบริเวณดินแดนครึ่งวงกลมริมใน ก็ได้แก่ ทวีปอัฟริกา ทวีปออสเตรเลีย ทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้ แมคคินเดอร์เรียกบริวเณที่เหลื่อเหล่านี้ว่า "เนิแดนครึ่งวงกลมริมนอก"Outer Insular Creseent 

นิโคลัส จอห์น สปีกแมน 1893-1943 ทฤษฎีริมแลนด์ เป็นชาวอเมริกัน และเป็นอาจารย์สอนวิชาความสัมพันะ์ระหว่างประเทศอยุ่ในมหาลัยเยล สปีกแมนเห็นว่า ปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญที่จะมากำหนดนโยบายต่างประเทศ เพราะเป็นสิ่งที่มั่นคง ถาวร นอกจากนี้ สปีกแมนได้ให้นิยามของภูมิศาสตร์ว่าเป็นการวางนโยบายสำหรับความมั่นคงของประเทศ โดยอาศัยปัจจัยทางภูมิศาสตร์ว่าเป็นการวางนโยบายสำหรับความมั่คงของประเทศ โดยอาศัยปัจจัยทางภูมิศาสตร์

          แนวคิดของสปีกแมนเป็นแนวคิดที่สือบเนื่องมาจากความคิดเรื่องดินแดนหัวใจของแมคคินเดอร์ และโดยที่สปีกแมนมองว่า ดินแดนหัวใจนั้นไม่ใช่จุดยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญ แต่ดินแดนที่มีความสำคัญนั้นคือ บริเวณที่อยุ่ถัดจากดินแดนหัวใจออกมา ซึ่งได้แก่ บริเวณที่อยุ่รอบของดินแดนยูเรเซีย หรือดินแดนที่แมคคินเดอร์เรียกว่า ดินแดนครึ่งวงกลมริมในนั่นเอง แต่ทั้งนี้ยกเว้นตะวันออกกลาง ตะวันออกใกล้ ตะวันออกไกล และเอเซียอาคแนย์ เพราะบริเวณเหล่านี้เป็นบริวเณกันชน Buffer Zone ระหว่างทำนาจทางบกและอำนาจทางทะเล โดยสปีกแมนเรียกบริเวณนี้ว่า "ริมแลนด์" Rimland

          โดนัล ดับเบิลยู ไมนิก เป็นนักภูมิรัฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้แต่งหนังสือเรือง "ดินแดนหัวและริมแลนด์ในประวัติศาสตร์ของยุโรปและเอเซีย" ขึ้นในปี 1956 ได้แบ่งริมแลนด์ออกเป็น 2 ปรเภทคือ ริมแลนด์
ภายในทวีป Continental Rimland และริมแลนด์ริมทะเล Maritine Rimland โดยืั้ก่ีแย้วีิทแบรดฺออกเป็น 2 ประเภทดังกล่าวนี้ ไมนิกได้พิจารณาในแง่ของการมองข้าข้างใน(ทวีป) และการมองออกข้างนอก(ทะเล) ประเทศที่เป็นริมแลนด์ในทวีปจะมองเข้ามาข้างในทวีป เช่น จีน จีนต้องมองเข้าข้างในเพราะเกรงรัสเซียจะรุกราน เป็นต้น ส่วนประเทศที่เป็นริมแลนด์ริมทะเล จะมองออกทะเล เช่น ประเทศไทย เพราะในยุคหนึ่งศัตรูจะมาจากทางทะเล เป็นต้น ไมนิกได้พิจารณาปัจจัยในด้านต่างๆ เช่น ด้านความสามารถ ด้านความโน้มเอียงของนโยบาย และวัฒนธรรมของรัฐแถบริมแลนด์ว่าจะกำหนดอย่างไร ซึ่งก็เท่ากับได้กำหนดหน้าที่ของดินแดนหัวใจนั้นเอง

           ไมนิกได้ชี้ให้เห็นว่า นโยบายและความโน้มเอียงทางการเมืองของประเทศใดๆ ก็ตามที่อยู่ในดินแดนริมขอบ อาจจะสลับไปมาระหว่างมองเข้าข้างในและมองออกจากภายนอกได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับเหตุการณ์และความกดดันทางประวัติศาสตร์และาการเมือง ดัวอย่างของประเทศที่ไม่นิกยกตัวอย่างคือ ประเทศไทย ในยุคแรก ไทยทองเข้าไปในทวีปก็เพราะข้าศึกส่วนใหญ่รุกรานมาจากภายในทวีป เช่น พม่า เขมร เป็นต้น ในยุคอาณานิคม ไทยมองออกไปทางทะเล เพราะข้าศึกที่อาจจะรุกรานมาทางทะเล ในยุคสงครามเย็น ไทยก็มามองเข้าไปภายในทวีปอีก เพราะข้าศึกอาจจะรุกรานเข้ามาทางผืนแผ่นดินใหญ่ตอนเหนือ ได้แก่ จีนและโซเวียต

            ตามทฤษฎีของไมนิก ไม่สามารถที่จะกล่าวได้ว่าใครคุมดินแดนหัวใจได้ จะสามารถครอบครองดินแดนริมขอบได้ด้วย แต่แม้กระนั้นก็กล่าวได้วาภายในสภาพบางประการ ผุ้ที่ครอบครองดินแดนหัวใจอยู่จะมีโอกาสครอบครองดินแดนริมขอบได้ด้วย

           ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 งานเกี่ยกับอำนาจของประเทศยังคงมีอยุ่ แต่แนวโน้มมุ่งไปศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาภูมิศาสตร์การเมืองโดยเฉพาะเป็นเรื่องๆ มากกว่าอย่างอื่น ในปี 1920 หนังสือเกี่ยวกับวิชาและปัญหาของพรมแดน การประชุมระหว่างรัฐบุรุษของโลก ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้อาศัยความรู้ในวิชานี้ในการทำแผนที่ใหม่ของยุโรป เช่น วู้ดโรว์ วิลสัน Woodroll Wilson อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาซึ่งได้รับคำแนะนำจากผุ้เชี่ยวชาญทางด้านวิชานี้ คือ 

 ดร.ไอไซอาร์ โบว์แมน Isaiah Bowman ซึ่งในขณะนั้นเป็นผู้อำนวยการสมาคมภูมิศาสตร์อเมริกัน ซึ่งเป็นความสำคัญต่อวิชาการเมืองระหว่างประเทศมากผลงานของเขาเป็นที่รู้จักกันดีในวงการภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศ โบว์แมนได้ศึกษาและจัดแบ่งเขตภูมิวทยาของสหรัฐฯ และจัดพิมเป็นหนังสือเรื่องภูมิวิทยาป่าไม่ Forest Physiography โบว์แมนได้ขยายสมาคมภุมิศาสตร์จนมีความสำคัญระดับโลก หนังสือที่มีชื่อเสียงอีกเล่นหนึ่ง คือ 

          โลกใหม่ : ปัญหาทางภูมิศาสตร์การเมือง The New World : Problem in Political Geography ตีพิมพ์ในปี 1921 โบว์แมนได้อภิปรายปัญหาดินแดนทางภูมิศาสตร์ทางการเมือง หนังสือเล่มนี้ได้วางแนวทางของวิชาภูมิศาสตร์การเมืองไว้ 2 แนว

         แบบมีระบบ Systematic และแบบมีดินแดน บริเวณทางการเมือง Regional โบว์แมนนั้น นับว่าเป็นนักภูมิรัฐศาสตร์ที่ปฏิบัติงานด้านรักษาความสงบและสันติภาพให้แก่โลก โดยการชยายการทำแผนที่ความร่วมมือระหว่างประเทศลงไปทางทวีปอเมริกาใต้ ทำให้เกิดการวางแผนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การสำรวจและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ จนทำให้วิชาภูมิศาสตร์มีประโยชน์ในการวางแผนพัฒนา...


                 ที่มา : https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/BKN/search_detail/result/192642 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...