อับศอรอัลลอฮ์ "ผู้สนับสนุนพระเป็นเจ้า" หรือที่รุ้จักกันในชื่อ ฮูษี หรือ ฮูตี เป็นกลุ่มลุอะฮ์ซัยดียะฮ์ ซึ่งปฏิบัติการในประเทศเยเมน กลุ่นี้เอาชือมาจากฮุซัยน์ บัตร์อัดดีน อัลฮูษี ซึ่งเปิดฉาการก่อในปี 2004 และมีรายงานว่าถูกกองทัพเยเมรสังหารเมืองกันยายนปีนั้น กลุ่มนี้นำโดย อับดุลมะลิก อัลฮูฏี ซึ่งประสบความสำเร็จในรัฐประหารปี 2014/2015 และปัจจุบันยังควบคุมกรุงซานา เมืองหลางของประเทศเยเมน และรัฐสภา
ในอดีตเยเมนถูกแบ่งออกเป็นเยเมนเหนือกับเยเมนใต้ กว่า 200 ปี
เยเมนเหนืออยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 อาณาจักรล่มสลายเยเมนเหนือจึงได้รับเอกราช เมือปี 1918 และกลับสู่การปกครองโดยระบออบกษัตริย์ กระทั้งเกิดการรัฐประหารโค่มล้มอิหม่าามโดยหัวหร้าทหารราชองครักษ์ เป็นแกนนำ จากนั้นจึงมีการประกาศให้เยเมนเหนือปกครองโดยระบอบสาะารณรัฐ การก่อรัฐประหารดังกล่าวนำไปสู่สงครามแลางเมืองในเยเมนเหนือระหว่างกลุ่มการเมืองที่เป็นฐานอำนาจเก่าของอิหม่ามซึ่งได้รับการสนับสนุนจากซาอุดิอาระเบีย กับรัฐบาลใหม่ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากอิยิปต์ กระทั่งมีการเจรจาข้อตกลงสันติภาพระหว่างซาอุดิอาระเบียกับอียิปต์ ซึ่งต่างเปนมหาอำนาจในภูมิภาคที่เข้าแทรกแซงสถานการณ์ในเยเมนเหนือ สงครามยุติในปี 1970 โดยมีข้อตกลวสำคํย คอ การคงระบอบการปกครองเยเมนเหนือด้วยระบอบสาธารณรัฐ และการเปิดทางให้กลุ่มการเมืองที่เป็นฐานอำนาจเก่าของอิหม่ามสามารถกลับมาแข่งขันตามกลไกการเมืองปกติ
เยเมนใต้ เดิมอยู่ภายใต้การปกครองโดยสุลด่าน ก่อนตกเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษตั้แต่ปี 1839 ต่อมาเกิดกลุ่มแนร่วมปลดปล่อยแห่งชาติในเยเมนใต้เมื่อปี 1960 เคลื่อไหวต่อต้านการยึดครองของอักฤษ กระทั่งเยเมนใต้ได้รับเอกราชจากอังกฤษเมือ พฤศจิกายน 1967 เยเมนใต้ขณะนัันได้รับอิทธิพลจากสหภาพโซเวียต จึงนำแนวคิดมาร์กซิสต์และระบอบสังคมนิยมมาใช้ปกครองประเทศ ดดยสถาปนาเยเมนต้เป็นสาธารณรัฐประชาชนเยเมน และเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐประชาธิปไตยประชาชนเยเมนเมืองปี 1970 ทั้งนี้ ความแตกต่างทากงรเมือง การปกครอง และภาวะสงครามเย็น เป็นชนวนเหตุให้เกิดความขัดแย้งระหว่างเยเมนเหนือและเยเมนใต้ และนำไปสู้การสู้รบตั้งแต่ปี 1969-1990 รัฐบาลเยเมนได้อยู่ในภาวะอ่อนแอ ประธานธิบดี อะลี อับดุลลอฮ์ ศอลิห์ ของเยเมนเหนือ ใช้โอกาสดังกล่าว่ดำเนินนโยบายสร้างความปรองดองกับเยเมนใต้ นำไปสู่การผนวกดินแดนเป็นสาธารณรัฐ เมือ 22 พฤษภาคม 1990 และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรก
"กลุ่มกบฎฮูตี"
กว่า 30 ปีที่แล้ว ชาวมุสลิมนิกายชีอะห์หลุ่มหนึ่งได้่กอตั้งกลุ่มที่ชื่อว่า "ซะบาบอัลมุอ์มิน Ansarallah" ขึ้นมาเพือรณรงค์ให้เด็กและเยาวชนในนิการบีอะห์เกิดจิตสำนึกรักและหวงแหนในประวัติศาสตร์ทางการเมืองการปกครองและวัฒนธรรมตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณี การก่อตั้งดังกล่าวสืบเนืองจากผูปกครองประเทศในขณะนั้นเป็นนิกายซุนนีย์ มีความพยายามที่จะลบประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของเยเมนที่เคยถุกปกครองโดยผุ้นำที่เป็นมุสลิมนิกายชีอะห์มาเป็นเวลาหลายร้อยปีให้หมดไปจากควาททางจำของเด็กและเยาชนชาเยเมนรุ่นใหม่กลุ่มฮูตีตั้งขั้นในช่วงทศวรรษที่ 1990 โดย ฮุสเซน อัล-ฮูตี "กลุ่มผู้ศรัทธา" ซึ่งเป็นขบวนการฟื้นฟูศสนาสำหรับลัทธิไซอิด Zaiism นิกายย่อยอายุหลายร้อยปีของศสนอิสลามนิยายชีอะห์ ซึ่งปกครองเยเมนมาหลายศตวรรษ แต่ถุกละเลยภายใต้ระบอบการปกครองของมุสลิมนิกายซุนนีย์ ที่เข้ามามีอำนาจหลังสงครามกล่างเมืองเมือปี 1962 ขบวนการของ อัล-ฮุตี ตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนลัทะิไซอิด และต่อต้านแนวคิดของมุสลิมซุนนี่หัวรุนแรงโดยเฉพาะ Wahhabi จากซาอุดิอาระเบีย
หลังการรวมชาติ อาลั อับดุลเลาะห์ ประธานาธิบีคนแรกของเยเมน ได้ให้การสนับสนุนเยาชนผุ้ศรัทธาในช่วงแรกๆ แต่ต่อมาความนิยมของกลุ่ม"ผู้ศรัทธา"เพือมมากขึ้นและเร่ิมมีวาทกรรมต่อต้านรัฐบาลรุนแรงขึ้น จึงกลายเป็นภัยคุกคามต่ออำนาจของซาเลห์ กระทั้งปี 2003 เมื่อซาเลห์สนับสนุนการรุกรานอิรักโดยสหรัฐฯ จึงถูกกระแสต่อต้านจากประชาชนในประทศ อัล-ฮูตี จึงใช้โอกาสนี้ จัดการเดินขบวนประท้วง โดยเหตุการปะทุนานหลายเดือน ก่อนที่ซาเลห์จะออกหมายจับเขา และถูกสังหาร ในเดือน กันยายน 2004 โดยกองทัพเยเมน แต่การเคลื่อนไหวของเขายังคงอยู่ ฝ่ายทหารฮูตีขยายตัวเมือมีนักรบเข้าร่วมมากขึน ประกอบกับแรงหนุนจากกระแสประท้วงอาหรับในช่วงต้นปี 2001 Arab Spring ทำให้กลุ่มฮูตีสามารถยึดครองจังหวัดซาดาทางตอนเนหือ และเรียกร้องให้ยุติอำนาจการปกครองของ "ซาเลห์" ประธานาธิบดีซาเลห์ ตกลงส่งมอบอำนาจแก่รองประธานาธิดบีอันด์ รับบูห์ มานซูร์ ฮาดี ในปี 2011 แต่รัฐบาลที่มีรากฐานจากตัวเขาไม่ได้รับความนิยมอีกต่อไป ขณะที่กลุ่มฮูตีรุกคืบขยายอำนาจในปี 2014 และเริ่มยึดครองพื้นที่บางส่วนของกรุงซานา ก่อนจะบุกยึดทำเนียบประธานาธิบดีในปีต่อมา ส่งผลให้ฮาดีต้องหนีไปซาอุดิอาระเบีย และเปิดฉากสงครามกลางเมืองต่อต้านกลุ่มฮุูตีจากนอกประเทศในปี 2015 การสู้รบระหว่างกองกำลังรัฐบาลเยเมนชุดเก่ากับกลุ่มฮูตียืดเยื้กระทั้งมีการลงนามข้อตกลงอยุดยิงในปี 2022 แต่เพียงแค่ 6 เดือนการสู้รบก็ปะทุขึ้นอีก แม้จะไม่เป็นสงครามกลางเมืองเต็มรูปแบบเช่นเดิมความรุนแรงของสงครามกลางเมืองเยเมนครั้งนั้น UN ระบุว่าเป็นชนวนให้เกิดวิกฤตมนุษยธรรมที่เลวร้อยที่สุ โดยมีประชาชนเสียชีวิตเกือบ 5 แสนคน และนับจากหยุดยิง กลุ่มฮูตีได้ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของเยเมน ขณะเดียวกันยังพยายามที่จะบรรลุข้อตกลงกับซาอุดิอาระเบียเพื่อยุติสงครามอย่างถาวรและคงบทบาทของพวกเขาในฐานะผู้ปกครองประเทศ
กลุ่มฮูตีได้การสนับสนุนจากอีหร่าน ซึ่งเร่ิมต้นให้ความช่วยเลหือ ตั้งแต่สงครามกลางเมืองในปี 2014 ท่ามกลางความพยายวามขยายอำนาจในภูมิภาคของคู่แข่งอย่างซาอุดิอาระเบีย
ฮูตียังเป็นส่วสนหนึ่งของกลุ่มที่เรียกว่า "อักษะแห่งการต่อต้าน " Axis of Resistance " ของอิหร่าน ซึ่งเป็นพันธมิตรต่อต้านอิสราเอลและชาติตะวันตก และเป็นหนึ่งในสามกองกำลังติดอาวุธที่โดดเด่นและได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน เช่นเดียวกับกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซา และกลุ่มอิซบอลเลาะห์ในเลบานอน
สหรัฐฯ มีการติดตามการปรับปรุงขีปนาวุธของอกลุ่มฮูตีที่ผลิตเอง ซึ่งมีการพัฒนาอย่างต่อเนืองในด้านพิสัยโจมตี ความแม่นยำ และความรุนแรง ในช่วงแรกอาวุธส่วนใหย่ใช้ส่วนประกอบจากอิหร่านที่ลักลอบนำเข้าเยเมน ก่อนจะปรับเปลี่ยนและพัฒนาอยา่งรวดเร็วแบบก้าวกระโดด แม้อิสราเอลจะสามารถสกัดอาวุธของกลุ่มฮูตีได้ แต่ขีปนาวุธของฮูตีสามารถสร้างความเสียหายและวิกฤตให้กับทะเลแดง
พฤศจิกายน 2023 ฮูตีอ้างว่าได้ยึดเรือสินค้าของอิสราเอลได้ลำหนึ่ง และหลังจากนั้นก็เริ่มใช้โดรนและขีปนาวุธโจมตีเรือสินค้า ที่แล่นผ่านทะเลแดงหลายลำ โดยมีสถิตกการโจมตีบ่อยถี่ขึ้น 500% ในเดือน พฤศจิกายนและ ธันวาคม 2023 ภัยคุกคามดังกล่าวทำให้บริษัทขนส่งสินค้าทางทะเลรายใหญ่ ต้องหลีกเลี่ยงเส้นทางเดินเรือผ่านทะเลแดง ซึ่งส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านการประกันภัยพุ่งสูงกว่าเดิมถึง 10 เท่า นับแต่ต้นเดือน ธันวาคมเป็นต้นมา โดยบริษัทขนส่งทางทะเลชั้นนำต่างก็ประกาศว่าจะเปลี่ยนเส้นทางเดินเรือใหม่ สภาพการเช่นนี้ทำให้เกรงกันว่า ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะพุ่งสูงขึ้นและห่วงโซ่อุปทานในการจัดส่งสินค้าจะได้รับการเสียหาย เนืองจากการค้าทางทะเลเกือบ 15% ของโลก อาศัยเส้นทางเดินเรือผ่านทะเลแดง ซึ่งเชื่อมต่อกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนผ่านคลองสุเอซ อันเป็นทางลัดทีสั้นที่สุดของการขนส่งสินค้าระหว่างทวีปยุโรปกับเอเซีย
ที่มา : วิกิพีเดีย
https://www.bbc.com/thai/articles/c4nyyj1p2eno
https://thestandard.co/get-to-know-the-houthi/
https://www.nia.go.th/media/almanac/2022/01/99_2565_UbNFGtW.pdf
SSC Focus ฉบับที่ 13-58 จุดกำเนิดของกลุ่มกบฎฮูติในเยเมน.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น