ความเจริญและ วิทยาการต่าง ๆบนโลกนี้ล้วนมีรากฐานมาจากอารยธรรมโบราณทั้งสิ้น
อารยธรรมจีน
ยุคหินเก่า จีนเป็นดินแดนทที่มนุษย์อาศัยเป็นเวลานานที่สุดในทวีปเอเซียหลักฐานที่พบคือมนุษย์หยวนโหม่ว มีอายุประมาน 1,700,000 ปี ล่วงมาแล้ว พบที่ยูนาน ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และพบโครงกระดูกมนุษย์ปักกิ่ง
ยุคหินกลาง 10,000-6,000 ล่วงมาแล้ว ใช้ชีวิตกึ่งเร่ร่อน ไม่มีการตั้งหลักแหล่งถาวร มีกาพบเครื่องถ้วยชาม หม้อ มีการล่าสัตว์ เก็บอาหาร
ยุคหินใหม่ 6,000-4,000 ปีล่วงมาแล้ว เริ่มตั้งเป็นแหล่งชุมชน รู้จัเพาะปลูกข้าวฟาง เลี้ยงสัีตว์ ทอผ้า ปลูกบ้านมีหลังคา ในยุคนี้มนุษย์ทำเครื่องปั้นดินเผา และเขียนลายสี
ยุคโลหะ 4,000 ปีล่วงมาแล้ว หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดคือ มีดทองแดง และยังพบเครื่่องสำริดเก่าที่สุด ซึ่งนำมาใช้ทำภาชนะต่าง ๆ
ยุคโบราณ สมัยประวัติศาสตร์จีน
ยุคเซี่ย
ถือเป็นราชวงศ์แรกในยุคประวัติศาสตร์จีนโบราณ ด่อนที่นักโบราณคดีจะค้นพบหลักฐานในยุคโลหะในบริเวฯอันหยาง มลฑลเหอหนาน ในปี 1928 ซึ่งไม่สามารถแยกได้ว่าการก่อเกิดของราชวงศ์เซี่ยเป็นเพียงตำนานปรือเป็นเรื่องจริงในประวัติศาสตร์ แต่หลังจากนักโบราณคดีค้นพบหลักฐานโดยเฉพาะในทศวรรต ที่1960-1970 ได้ค้นพบภาชนะทองเหลืองและหลุมฝั่งศพในบริเวณเดียวกันกับที่ระบุในหนังสือที่เขียนไว้ตั้งแต่ยุคโบราณ เป็นการยืนยันการมีอยู่จริงของราชวงศ์เซี่ย
ยุคซาง
ผุ้ก่อตั้งราชวงศ์ซางคือผู้ต่อต้าน โค่นล้าราชวงศ์เซี่ย ความเจริญในยุคนี้อยู่ที่การเกษตรการเลี้ยสัตว์ที่ได้จากการล่า การพัฒนาที่สำคัญที่สุดในยุคนี คือ รบบการเขียนหนังสือ เป็นการเขียนหนังสือโดยการแกะสลักลงบนกระดองเต่าหรือกรูดูกสัตว์เรียบแบน
การทำภาชนะทองเหลือง ก็พัฒนาในยุคนี้ ซึ่งภาชนะเหล่านี้ได้นำไปใช้ในพิธีต่างๆ อย่างแพร่หลาย
อาณาจักรของซางส่วนใหญ่อยู่ทางตอนเหนือของประเทจีน และมีเมืองหลวงตั้งอยู่ที่อันหยาง ซึ่งเป็นเมืองที่มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างสุขสมบูรณ์ ในด้านการปกครองนั้นกองทัพซางออกไปสู้รบกับแคว้นเพื่อนบ้านและพวกชนเผ่าเลี้ยงสัตว์เร่ร่อน ในด้านความเชื่อยังขึดถือการกราบไหว้พรรพบุรุษเป็นหลัก การค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีในส่วนของหลุมศพพรเจ้าแผ่นดิน ซึ่งมีการนำสิ่งของมีค่าจำนวนมากฝั่งรวมเพื่อเตรียมไว้สำหรับชีวิตภพหน้าตามความเชื่อ
ยุคโจว
ผู้ปกครองในยุคซางใช้ิวิธีการอันโหดเหี้ยมกับประชาชน จนถูกโค่นล้ม โดยหังหน้าชนเผ่าโจวและสถาปนาอาณาจักรโจว มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองค่าว ใกล้กับซีอาน หรือฉางอัน ยุคโจวเป็นยุคที่รุ่งเรื่องที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ มีการยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของแม่นำฉางเจียง แล้วนำภาษาและประเพณีของสมับซางไปใช้ร่วมกันกับชาวพื้นเมืองที่ยึดครอง จึงเป็นการกระจายภาษาและประเพณีของซางไปทั่วแผ่นดินจีน
ยุคโจวเป็นที่ปกครองนานที่สุดในสมัยประวัติศาสตร์จีนโบราณ และยุคนี้เองมีการก่อเกิดแนวคิดปรัชญาการปกครองเรื่อง "บัญชาสวรรค์" และเรียกผู้ปกครองว่า "โอรสสวรรค์"
ระบบศักดินาถูกนำมาใช้ในยุคโจว ด้วยการปกครองแบบกระจายอำนาจ ศักดินาในแบบของโจวนั้นคำนึงถึงพงศ์เผ่าเชื้อสายมากกว่ากฎหมาย นอกจากนั้นยังปูนบำเหน็จความชอบด้วยที่ดินและทรัพย์สินแก่ขุนนางซึ่งสร้างความชอบแก่แผ่นดินหรือเจ้าแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย
ราชวงศ์โจวตราระบบสืบสายวงศ์ขึ้นใช้อย่างชัดเจนเป็นครั้งแรก โดยกำหนดว่า ตำแหน่งกษัตริย์หรือเจ้านครรัฐต่าง ๆ ต้องสืบทอดเฉพาะบุตรคนโตของำรรยาเอกเท่านั้น บุตรที่เหลือจะรับการแต่งตั้งในตำแหน่งรองลงไป การสืบทอดชัดเจนนี้สร้างความาั่นคงแก่ราชวงศ์ยิ่งขึ้น
เมือพรเจ้าโจวโยวหวัง เมืองเฮ่าซึ่งเป็นเมืองหลวงเกิดแผ่นดินไหวร้ายแรง เกิดโรคระบาด ประชาชนลำบากโดยกษัตริย์ไม่ไยดี ลุ่มหลงสุรานารี ขุนนางประจบสอพละ ไม่ทำงานตาหน้าที่ ทำให้เจ้านครรัฐบางคนรวมตัวกับชนเผ่าเฉวี่ยนหรงเข้าโจมตีและปลงพระชนม์กษัตริย์ จึงสิ้นสุดอาณาจักรโจวตะวันตก
โจวตะวันออก (ยุคชุนชิว)
จากนั้นจึงสถาปนารัชทายาทอี้จิ้ว ขึ้เป็นกษัตริย์องค์ใหม่ทรงพระนามว่า พระเจ้าโจวผิงหวัง แล้วย้ายไปตั้งเมืองหลวงที่ ลั่วอี้ นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงการครองอำนาจของราชวงศ์นี้ว่า ยุคชุนชิว ซึ่งมีสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ของเจ้านครรัฐต่าง ๆ เป็นระยะเพือความเป็นเจ้าผุ้นำนครรัฐ
ยุคเลียดก๊ก
ต้นยุคชุนชิวแผ่นดินจีนมีประมาณสองร้อยนครรัฐ แต่การสงครามทำให้เหลือเพียงรัฐใหญ่เจ็ดรัฐมหาอำนาจในตอนปลายยุคชุนชิวนักประวัติศาสตร์เรียกว่า เจ็มหานครแห่งยุคจั้นกั๋ว ได้แก่ รัฐฉี รัฐฉู่ รัฐเยียน รัฐฉิน รัฐหาน รัญเว่ย และรัญเจ่า ยุคสมัียนี้สงครามดุเดือดต่อเนื่อง รัฐฉินกับรัฐฉีได้รับการขนานนามเป็นสองรัฐมหาอำนาจฟากตะวันออกและฟากตะวันตก ซึ่งถือเป็นดุลอำนาจต่อกัน
ยุคสงครามระหว่างรัฐ ปลายสมัยราชวงศ์โจว เกิดความวุ่นวายทางการเมืองทำสงครามระหว่างรัฐเพื่อแย่งความเป็นใหญ่ เกิดเป็นรัฐต่างๆ กระทั้งรัฐจิ๋นปราบปรามและรวบรวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและสถาปนาตนเป็น จิ๋นซีฮ่องเต้ และสร้างกำแพงเมืองจีน อันเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลก
แม้ปลายสมัยราชวงศ์โจว เกิดความวุ่นวาย แต่ในยุคนี้มีการพัฒนาทางความคิด และ เหล่าจื้อ ผู้ก่อตั้งปรัญชาสำนักเต่า ขงจื้อ ผู้เป็นศาสดาลัทธิขงจื้อ ก็ถือกำเนิดในยุคนี้
อารยธรรมกรีก -โรมัน
อารยธรรมกรีซโบราณ เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในดลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถ่ินฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียน ของตุรกี (ไอโอเนีย) ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี(แมกนา เกรเชีย)และุถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศษ ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อับแบเนียและอียิปต์
ยังไม่แน่ชัดว่ากรีกโบราณนั้นมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดอยู่ตำแหน่งใด โดยทั่วไปแล้วจะกล่าวถึงประวัติศาสตร์กรีกก่อนหน้าจักรวรรดิโรมัน
ชาวกรีกเป็นพวกอินโด-ยูโรเปียน ซึ่งมีหลักแหล่งดั้งเดิมอยู่แถบบริเวณลุ่มแม่น้ำดานูบ เป็นชนเร่ร่อนซึ่งยังไม่ีมีความเจริญแต่อย่างไร
อารยธรรมดังเดิมในแถบทะเลเอเจียน ก่อนหน้ากรีกจะอพยพเข้ามในแหลมนี้ มีชาวพื้นเมืองดั้งเดิมอาศัยอยู่ก่อนแล้ว คือ ชาวเกาะครีต หรือครีตัน ประกอบอาชีพค้าขาย มีความเจริญทางด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะสิ่งก่อสร้างอาคาีรที่พักอาศัย
เมืองไนซีเนตั้งอยู่บนแหลมเพลอพอนเนซัส พวกนี้เข้ามาตั้งรกราก คือ เอเีคียนซึ่งได้ชัยชนะเหนือพวกครีต และได้รับอิทธิพลอารยธรรมครีตเป็นส่วนใหญ่ และแผ่อำนาจเหนือบริเวณทะเลเอเจียนทั้งหมดแทนพวกครีตัน
อารยธรรมทรอย เมืองทรอยตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเอเชียไมเนอร์ เป็นนครเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งที่ได้รับอารยธรรมจากครีต
ด้วยสภาพภูมิประเทศของกรีกที่เป็นภูเขา คาบสมุทร อ่าว ฝั่งทะเลล้วนแต่มีพัฒนาการต่อการปกครองในรูแบบนครรัฐ ที่เน้นการพึ่งพาตนเองและสนใจแต่กิจการภายในรัฐของตน
ลักษณะการปกครองของกรีกในนครรัฐ บางรัฐเป็นการปกครองแบบราชธิปไตย ที่อำนาจอยู่ที่กษัตริย์ สภาขนนาง และสภาสามัญ บางรัฐ อำนาจของสภาขุนนางมีมากกว่าอำนาจกษัติย์ แต่โดยทั่งไปนครรัฐของกรีกเป็นทั้งหน่วยสังคมทางการเมือง และเป็นสูนยกลางในการปกครอง รัฐที่สำคัญอาทิ เอเธนส์ ทีบีส เมการา สปาร์ตา และคอรินธ์
- สปาร์ตา ประชาชนเป็นชาวเชื้อสายดอเรียนแท้ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะทำให้รัฐสปาร์ตาเน้นรูปการปกครองออกมาในระบบเผด็จการ เพราะการเข้ามาของสปาร์ตาคือการทำสงครามชนะ สปาร์ตาจึงเห็นความสำคัญทางการทหาร ลักษณะนิสัยแบบทหาร ฝั่งรากลักในจิตใจชาวสปาร์ตา ชาวสภาร์ตามีลักษณะของคนหัวเก่า ไม่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพราะกลัวว่าการเปลี่ยนแปลงจะมีผลทไให้ระบบของสปาร์ตาอ่อนแด และยังเห็นว่าความคิดใหม่ ๆ เป็นอันตรายต่อประทเศ จึงไม่ให้ความสนใจกับการเดินทงและการค้ากับโลกภายนอก และบีบบังคับพวกทาศให้อยู่ใต้อำนาจ เต็มไปด้วยบรรยากาศที่ตึงเครียดและทำใ้ห้เกิดความล้าหลังทางวัฒนธรรม
- เอเธนส์ มีประวัติศาสตร์ที่แต่กต่างจากสปาร์ตา ในชนชั้นปกครองไม่มีทหารที่มีอิทธิพลต่อการปกครอง การอพยพของพวกไอโอเนียนเป็นค่อยเป็นค่อยไป และความาั่งคั่งของแค้วนอัตตะิกานี้ มีขึ้นด้วยแร่ธาตุ ท่าเรื่อที่ดี ซึ่งมีผลทำให้นครรัฐเอเธนส์มีพัฒนาการทางด้านการค้าและมีความเจริญทางด้านวัฒนธรรม
ประชาธิปไตยของเอเธนส์เจริยรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยเพริคลิส เป็นช่วงที่สภาประชาชนได้ับอำนาจที่จะริเริ่มกฎหมายเพื่อเพิ่มอำนาจในการให้สัตยาบัน หรือปฏิเสธข้อเสนอของสภาขุนนาง และเป็นช่วงที่สถาบันการปกครองอันหนึ่ง คือ คณะนายพลทั้ง 10 เริ่มมีบทบาท คณะนายพลเลือกโดยสภาประชาชนให้อยู่ในตำแหน่ง 1 ปี และอาจได้รับเลือกเข้ามาใหม่อีกโดยไม่มีกำหนด แม้นายพลทั้ง 10 จัะมีอำนาจมาก แต่ไม่เป็นเผด็จการ เพราะมีสภาประชาชนเป็นผู้ตรวจสอบนโยบายของเขาอีกที และะอาจถูกเรียกกำนาจคือเมือง 1 ปี สิ้นสุดลงหรือถูกฟ้องว่าประพฤติผิดวินัย
ในสมัยนี้ระบบการศาลของเอเธนส์จริยถึงจุดสูงสุด คณะลูกขุนจะมีจำนวน ตั้งแต่ 201-1,001 โดยมีความเชื่อว่ายิ่งผู้พิพากษามีจำนวนมากเท่าไร โอกาศที่จะตัดด้วยความยุติธรรมก็จะมีมาเท่านั้น
โซเครติส เป็นผู้ที่เชื่อในความสำคัญของมนุษย์ มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความคิดอยู่เสมอ จึงมีหน้าที่จะต้องตอบปัญหาต่าง ๆ โดยไม่ยอมรับอะไรง่าย ๆ วิธีการของโซเครติส คือ ชักชวนให้คยขบคิดปัญหาต่าง ๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางศีลธรรม จรรยา ให้สานุศิษย์ตอบโดยลำดับคำตอบอย่างมีเหตุผลทีละขั้น ๆ จนในที่สุดสรุปได้คำตอบที่ถูกต้อง
เพลโตล เป็นศิษย์ของโซเครติส ตั้งโรงเรียน อะเคเดมี เขาแสดงความคิดทางการเมืองไว้ในหนังสือเรื่อง สาธารณรัฐ เขาเน้นถึงความสำคัญของผู้ปกครองว่าจะต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถฉลาดปราดเปรียว เพราะเชื่อว่าความดีคือความรู้ ในระยะหลังเพลโตยกย่องว่ากฎหมายมีความสำคัญสูงสุด เพราะเป็นเครื่องแสดงออกของประสบการณ์และความรอบรู้ของมนุษย์ กฎหมายจะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้ผู้ปกครองปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยมุ่งถึงประโยชน์ส่วนรวม
อริสโตเติล เป็นพระอาจารญ์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช เขาตั้งสถานศึกษาชื่อว่า ลิเซียนม ใกล้วกรุงเอเธนส์ อริสโตเติลกล่าวว่า มนุษย์ต้องการอยู่ในสังคม มีธรรมชาติคือหวงแหนในเสรีภาพ โดยไม่เห็นด้วยกับการแบ่งสังคมเป็นชนชั้น
โดยทั่วไปแล้วจะหล่าวถึงกรีกยุคโบราณตั้งแต่การล่มสลายของไมซีนีกระทั้งถึงการพิชิตของโรมัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ช่วงคือ
1 ช่วงเรขาคณิต ยุคมืด Greek Dark Age 1100-800 ปีก่อนคริสต์ศักราช
3 ช่วงคาสสิค Classical Greece 500 - 323 ปีก่อนคริสต์ศักราช
4 ช่วงเฺฮเลนนิส 323-146 ปีก่อนคริสต์ศักราช
กรีกมีความเชื่อในแบบพหุเทวะ คือพระเจ้ามีหลายองค์ มีอารมณ์ ลักษณะคล้ายมนุษย์แต่มีอาหารทิพย์ มีความเป็นอมตะ แต่ละองค์ล้วนมีอานุภาพ และมีหน้าที่คุ้มครองส่วนสำคัญบนโลก
ในเรื่องความตายชาวกรีกโบราณเชื่อว่าเมือตายแล้วเงาหรือผีจะอยู่สักพักหลังจากนั้นจะไปอยู่ที่ิดินแดนแห่งความตาย กับเทพผู้ดูแลนครบาดาล ชาวกรีกมีความเชื่อว่าเป็นโลกอีกโลกหนึ่งไม่ใช้นรก ไม่ใช่สวรรค์ และไม่มีการรับความดี หรือความผิดหลังความตาย
อิทธิพลที่มีต่ออารยธรรมอื่น อาทิ การแข่งกีฬาโอลิมปิก ในยุคกรีกโบราณเป็นการแสดงความรื่นเริงถวายพระเจ้า เป็นการแข่งกีฬาถวายพระเจ้า
นักปราชญ์ในยุคสมัยกรีกที่ส่งผลต่อชนรุ่นหลังเป็นอย่างมาก อาทิ อริสโตเติล พลาโต โสเคตรีส
โรมัน
โรมันโบราณ Ancient Rome คือวัฒนธรรมที่วิวัฒนาการขึ้นมาจากชุมชนเกษรตกรบน คาบสมทรูอิตาลี ที่เร่อมตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสต์ศักราช ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โรมันโบราณกลายเป็นจักวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โบราณ
การปกครองของโรมันโบราณมีการปกครองทั้งแบบราชาธิปไตย สาธารณรัฐคณธิปไตย และระบบจักรวรรดิ แบบอัตตาธิปไตย อารยธรรมโรมันมามีอำนาจและอิทธิพลต่อทวีปยุโรปตะวันตกเฉียงใต้ ทวีปยุโรปตะวันออกเฉียงใต /คาบสมุทรบอลข่าน และในบริเวฯทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยการพิชิตและการปสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมกับท้องถิ่นที่เข้าไปปกครอง
จักรวรรดิโรมันตะวันตกเสือมและสลายตัวในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ซึ่งมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งภายในและการถูกโจมตีโดยกลุ่มต่าง ๆในสมัยการโยกย้ายถิ่นที่อยู่ จักรวรรดิโรมันตะวันตก อันประกอบด้วย ฮิสปาเนีย กอล บริทาเนีย และอิตาลี แยกตัวออกเป็นรัฐอิสระ ล
จักรวรรดิโรมันตะวันออก หรืออาณาจักไบแซนไทน์ ซึ่งศูนย์กลางอยู่ที่คอนสแตนติโนเปิล ประกอบด้วย กรีซ ส่วนที่พิชิตโดยจักรวรรดิ บัลแกเรียที่ 1 อานาโตเลีย ซีเรีย และอียิปต์ รอดจากวิกฤติการณ์ที่จักรวรรดิทางฝั่งตะวันตกประสบ และแม้วาจะเสียซีเรียและอียิปต์แก่จักวรรดิอิสลามของอาหรับ จักรวรรดิก็รุ่งเรืองต่อมาอีกหนึ่งสหัสวรรษ กระทั้งมาเสียกรุงคอนสแตนตินให้กับจักรวรรดิออตโตมัน ของตุรกี
วัฒนธรรมโรมันมักจะจัดอยู่ใน "ยุคโบราณ" ร่วมกับกรีกโบราณซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เป็นต้นตอและแรงบันดาลใจให้กับวัฒนธรรมโรมันโบราณ โรมันโบราณมีบทบาทในการวิวัฒนาการทางด้านกฎหมาย การสงคราม ศิลปะ วรรณคดี สถาปัตยกรรม เทคโนโลยี และภาษาของโลกตะวันตก และประวัติศาสตร์โรม ก็ยังคงมีอิทธิพลต่อโลกกระทั้งปัจจุบันนี้
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
เป็นอารยธรรมโลหะอารยธรรมแรกของอินเดีย เป็นอารยธรรมสำริด รุ่งเรื่องเมือประมาณ 2600-1900 ปีกอ่นคริสต์กาล มีการขุดค้นพบแหล่งอารยธรรมสินธุขนาดใหญ่ที่สำคัญที่เมืองฮาัปปา และโมเฮน-โจดาโร อารยธรรมสินธุมีการสร้างบ้านด้วยอิฐ มีระบบผังเมืองและชลประทานที่ก้าวหน้า ปัจจบันคือ ประทเทศอินเดียและปากีสถาน วัฒนธรรมเก่าแก่เริ่มจาก
- เมืองอัมรี บริเวณปากแม่น้ำสินธุ อายุ 4,000ปีก่อนพุทธกาล พบเครื่องปั้นดินเผาระบายสี คล้ายของเมโสโปเตเมีย
- เมืองฮารับปา และโมเหนโจ-ดาโรอายุ 2,600-1,9001ปีก่อนพุทธกาล
- เมืองชุคาร์ และจันทุดาโร อายุ 1,000-500 ปีก่อนพุทธกาล
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ มีเมืองสำคัญที่ได้รับการขุค้นและ้ว 2 แห่ง คือ เมืองฮารัปปา และเมืองโมเหนโจ-ดาโร ทั้งสองเมืองมีอารยธรรมที่เหมือนกันทุกประการ แม้ห่างกัน 350 ไมล์(600 กิโลเมตร)จัดเป็นสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ อินเดีย เพราะพบจารึกจำนวนมาก แต่ยังไม่มีผุ้ใดอ่านออก
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุถูกโจมตีอย่างรุนแรง พบโครงกระดูกถูกฆ่าตายจำนวนมาก หรืออาจล่มสลายเพราะภัยธรรมชาติ เช่นน้ำท่วม หรือโรคระบาด หรือเพราะความมั่งคั่ง
ชาวอารยันผุ้รุกราน ค่อย ๆ แพร่จากภาคเหนือไปทางตะวันออก และลงไปทางใต้อย่างช้า ๆ ลงไปยังดินแดนคาบสมุทรเดดข่าน(วัฒนธรรมหินใหม่) นำทองแดง และเหล็กไปเผยแพร่ ทางใต้จึงเปลี่ยนจาหินใหม่เป็นโลหะทันที เมื่ออารยธรรมตั้งหลักแหล่งในอินเีดียแล้ว จึงเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์อินเดียอย่างแท้จริง
ยุคพระเวท ชาวอารยันไม่ใช่ชาวอินเดีย แต่เป็นพวกที่พยพมาจากต่างประเทศ และสร้างอารยธรรม อินโด-อารยันในอินเดีย ที่สำคัญที่สุด คือ อารยธรรมทางศาสนา เช่น ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาเชน ศาสนาพุทธ
คัมถีร์พระเวท หลักฐานที่สำคัญที่ให้รายละเีอียดเีกี่ยวกับพวกอารยันมี 2 อย่าง คือ คัมำีร์พระเว? และมหกาพย์ พระเวทมี 3 เล่ม คือ ฤคเวท สามเวท ยชุรเวท เรียกว่า ไตรเวท ต่อมามีอาถรรพเวทเิพ่มเติม มหากพย์มี 2 เล่ม คือ รามยณะและมหาภารตะ
ฤคเวทเกิดขึ้นประมาณ 1,500 ปีก่ิิิอนคริสตกาล เป็นคัมภีร์ที่เก่าแด่ที่สุดและให้รายละเียดเกี่ยวกับควมเป็ยอยู่ของพวกอารยันเป็นจำนวนมาก จนนักโบราณคดีเรียกสมัยของอารยันว่า ยุคพระเว?
ชนชาติอารยัน เป็นเผ่าพันธุ์พระพุทธเจ้าท ถิ่นเดิมของอารยันสันนิษฐานว่าอาศัยอยู่ทางภาคกลางของทวีปเอเชีย บริเวณทะเลสาบแคสเปียน ต่อมาจึงอพยพไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของโลก
ยุคมหากาพ เป็นยุคที่อารยันขยายตัวเต็มที่
รามยณะ หรือรามเกียรติ์ ได้ให้รายละเียดเกี่ยวกับสภาพสังคมท เศรษฐกิจ การปกครองของอารยันไว้เป็นอย่างดี บุคคลสำคัญ ๆ ในเรื่องแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ อารยันกับมิลักขุ คือ บุคคลในอุดมคติ และผอีกฝ่ายคือตัวแทนแห่งความโหดร้าย ทารุณ ป่าเถื่อน
มหาภารตะ เป็นคำประัพันธ์ประเภทร้อยกรองที่ยาวที่สุดในโลก เนื้อเรื่องคือการทำสงครามชิงแผ่นดินระหว่างพี่น้อง 2 ตระกูล ซึ่งเป็นตัวแทนของฝ่ายธรรมะ และอธรรม มหาภารตะยังให้รายละเอียดเกี่ยวกับการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมสมัยมหากาพย์เป็นอย่างดี
อารยธรรมอินโด-อารยัน
ศาสนาพราหมณ์(ฮินดู) ก่อนที่จะมีศาสนาพราหมณ์เหรือฮินดูในปัจจุบันนี้ ชาวอารยันมีศาสนาเป็นของตนเอง ซึ่งหัวใจของศสนาอยู่ที่การบูชายัญ มีการบูชาภูมผี และอำนาจต่าง ๆ ทางธรรมชาติ ต่อมามีการบูชารูปปั้นของเทวะและเ่ทวี และกลายเป็นต้นแบบของศาสนาฮิดูในปัจจุบัน
พระเจ้าของอารยันที่ปรากฎในัมภีร์ฤคเวท คือ พระอินทร์เป็ฯเพทสูงสุด พระอัคนีเป็รองจากพระอินทร์ พระอัคนีมี 3 รูป คือ ในโลกมีรูปเป็นไฟ ในบรรยากาศมีรูปเป็นแสงสว่าง ในสวรรค์มีรูปเป็นดวยอาทิตย์ ศาสนาพราหมณืหรือฮิดูมีพ้นฐานมาจากศาสนาของอารยัน ความเจริญรุ่งเรืองขอศาสนพราหมณ์เกิดขึ้นในสมัยเรื่องอำนาจ คือ ปลายสมัยมหากาพย์
ศาสนาเชน เป็นอารยธรรมทางศาสนาของอินโด-อารยัน เกิดบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียปัจจุบัน เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับศาสนพุทธ ระหว่าง ปี 540-468 ก่อนคริสตกาล มีวัตถุประสงค์คือปฏิรูปสังคมอินเดียนแบบวรรณะ โดยประวัติของศาสนาคล้ายลคงกับศาสนาพุทธ
ศาสนาพุทธ เป็นอีกศาสนาที่กำเนิดในที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา และเป็นศาสนาของชาวอินโด-อารยัน
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์
อารยธรรม คือ วัฒนธรรมที่พัฒนาถึงขึ้นสูงสุดจึงเป็นอารยธรรม คือความเจริยทั้งทางด้านวัตถุ และจิตใจ สองสิ่งนี้ รวมอยู่ในรัฐที่สถาบันการปกครอง สถาบันศาสนา และสถาบันอื่นๆ จึงเรียกว่าอารยธรรม
อียิปต์โบราณ หรือ ไอยคุปต์ เป็นหนึ่งใน อารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของทวีป แอฟริกา มีพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางจนถึงปาก แม่น้ำไนล์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้องของประเทศ อียิปต์ อารยธรรมอียิปต็เริ่มตั้งแต่ ประมาณ 3150 ปี ก่อนคริสตกาล โดยการรวมอำนาจทางการเมืองของอียิปต์ตอนเหนือและใต้ ภายใต้ฟาโรห์องค์แรกแห่งอียิปต์ และัพัฒนาการเรื่อยมามากกว่า 3,000ปี...
มัมมี่ คือ ศพที่ดองหรือแช่ในน้ำยาพิเศษ พันทั่วทั้งร่างกายด้วยผ้าลินินสีขาว เพื่อเป็ฯการรับกาษสภาพของศพเพื่อรอการกลับคืนร่างของวิญญาณผู้ตาย ตามความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณ "มัมมี่" มาจากคำว่า "มัมมียะ" ซึ่งเป็นคำในภาษาเปอร์เวีย มีความหมายถึงร่างของซากศพที่ถูดองจนกลายเป็นสีดำ....
หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ที่ยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบัน มีขนาดใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดในหมู่พีระมิด
พีระมิดคาเฟร ทางทิศตะวันออกของพีระมิดคาเฟรมี มหาสฟิงซ์
พีระมิดเมนคูเร เล็กที่สุด และเก่าแก่น้อยที่สุด มักปรากฎในภาพถ่ายพร้อมหมู่พีระมิดราชินีทั้ง 3
พีระมิดทั้งสามสร้างเรียต่อกันเป็นระยะทางกว่า 1 กิโล ทางทิศตะวันตกของกรุงไคโร...
คำสาปฟาโรห์
"มรณะจักโบยบินมาสังหารสู่ผู้บังอาจรังความสันติสุขแห่งพระองค์ฟาโรห์"
ฟาโรห์ตุตันคามุน เป็นฟาโรห์องค์ที่ 12 ในราชวงศ์ที่ 18 ของอียิปต์โบราณ ครองราชในช่วงระยะสั้นเพียง 9 ปี และสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุทั้งที่พระชนมายุยังไม่ครบ 19 ชันษา อีกทั้งไม่มีทายาทจึงสร้างสุสานถวายอย่างง่ายๆ
สองร้อยปีต่อมา มีการสร้างสุสานของฟาโรห์รามเสสที่ 6 ทับสุสานฟาโรห์ตุตันคามุน เนื่องจากเข้าใจผิดคิดว่าเป็นสุสานของบุคคลธรรมดา สุสานฟาโรห์ตุตันคามุนจึงถูกเก็บรักษาไว้อย่างปลอดภัย
ในปี 1922 ลอร์ด คาร์นาร์วอน ได้ว่าจ้างคณะสำรวจ นาย โฮเวิร์ด คาร์เตอร์ เข้าทำการสำรวจค้นหาสุสานฟาโรห์ตุตันคามุนในหุบผากษัตริย์ ทำการสำรวจเป็นเวลา 10 ปี จึงค้นพบ ห้องเก็บพระศพ และโลงพระศพที่ำทำด้วยทองคำบริสุทธิ์ รวมทั้งทรัพย์สมบัติและเพชรนิลจินดา
ทำให้ทุกคนล้วนยินดี ต่างละเลยในคำสาปที่นักบวชไอยคุปย์บรรจงสลักไว้ภายในสุสาน
ลอร์ด คาร์นาร์วอนเสียชีวิตอย่างกะทันหันภายในห้องพักของโรงแรมในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ สาเหตุการตายเนื่องจากถูกยุงกัด ทำให้เป็นนิวมอเนีย ที่น่าประหลาดคือ ที่มัมมี่ของฟาโรห์ตุตันคามุนก็มีรอยยุงกัดที่แก้มซ้าย ซึ่งเป็นจุดเดียวกับที่ลอร์ดคาร์นาร์วอนถูกยุงกัดเช่นกัน
ภายในระยะเวลา 6 ปี ผุ้ร่วมขุดข้นตายไป12 คนโดยส่วนใหญ่มีอาการเหนื่อยอ่อนและเสียชีวิตเฉยๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ และในระยะเวลา 7 ปีผู้ร่วมขุดสุสานรวอชีวิตอยู่เพียง 2 คนเท่านั้น นอกจากนี้ผู้ใกล้ชิดของผู้ร่วมขุดสุสานจำนวน 22 คนเสียชีวิตก่อนวัยอันควร รวมทั้ง เลดี้คาร์นอาร์วอน ภรรยา ลอร์ด คาร์นาร์วอน ซึ่งฆ่าตัวตายเนื่องจากเสียสติ
คลีโอพัตรา
คลีโอพัตรา ในปัจจุบันคลีโอพัตราที่ 7 ฟิโลปาตอร์ นับเป็นผุ้ปกครองอียิปต์โบราณที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ในความเป็นจริงพระนางไม่เคยปกครองอียิปต์ตามลำพัง..อย่างไรก็ดีการครองราชย์ร่วมกันดังกล่าวมีผู้ร่วมบัลลังก์เป็นเพียงกษัตริย์ตามพระยศเท่านั้น อำนาจที่แท้จริงอยู่ในมือของคลีโอพัตราทั้งสิ้น
หลักฐานที่ค้นพบในปัจจุบันเป็นที่เชื่อกันว่า พระนางคลีโอพัตรามิใช่หญิงเลอโฉมที่สุด ไม่ได้เป็นผู้ที่มีลีลารักพิศดารร้อนแรงและมัดใจชายด้วย
เรื่องบนเตียง แต่เป็นผู้หญิงที่มีความฉลาดและ
ทรงอำนาจ
"เราได้รับคำบอกเล่าว่า ความงามของคลีโอพัตรานั้นมิไใช่งามเลิสไร้ที่ติจนดึงดูดสายตาของผุ้พบเห็นในนาทีแรก แต่นางมีเสน่ห์อันใครต้านทานไม่ได้ มีบุคลลิกแปลกแลุทรงอำนาจ จนทำให้ทุกวาจาและท่าทีของนางสะกดผุ้คนให้ตกอยู่ในมนต์เสน่ห์อันนี้เอง" (พลุตาร์ตนักเขียนชีวประวัติ)
อียิปต์ตกเป็นเมืองขึ้นอาณาจักรโรมันตั้งแต่ครั้งพรเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และรวบรวมแผ่นดินอียิปต์และตั้งวงศ์กษัตริย์ปกครองอียิปต์เรื่อยมา
ตามกฎมณเฑียรบาลของอียิปต์ ฟาโรห์ต้องสมรสกับพี่สาวหรือน้องสา่วเพื่อปกครองอียิปต์ร่วมกัน คลีโอพัตราเป็รราชินีเคียงคู่กับน้องชาย ได้แก่ ปโตเลมี ที่ 13, ปโตเลมีที่ 14 พระอนุชาทั้งสองพระองค์ ของพระนางเมื่อ พระอนุชาทั้งสองพระองค์สวรรคต คลีดอพัตราได้แต่งตั้งให้โอรสของพระนางเป็นกษัตย์องค์ต่อไป มีพระนามว่า ปโตเลมีที่ 15 ซีซาเรียน โดยครองบัลลังค์ร่วมกัน
ซีซาร์ คลีโอพัตรา
ในสมัยปโตเลมีที่ 13 คณะที่ปรึกษาของปโตเลมี นำโดยขันที่โปธินุส ได้ยึดอำนาจจากพระนางและบังคับให้พระนางออกจากอียิปต์ พระนางหนีออกจากอเล็กซานเดรียไปซีเรรีย เพื่อจัดกองทัพบุกอียิปต์ (ซีเรียเคยเป็นหนี้บุญคุณมาก่อน) ในขณะนั้นอาณาจักรโรมันเกิดสงครามกลางเมืองระหว่าง "จูเลียส ซีซ่าร์" และปอมเปย์ แมกนัส" ผุ้ชนะคือซีซ่าร์ พระนางคลีโอพัตราวางแผนเข้าพบซีซาร์
เมื่อทาสผิวหมึกร่างกำยำ นำพรมม้วนใหญ่ มาบรรณาการ มอบถวายแต่ซีซาร์กลางท้องพระโรงกรุงโรม เจ้าทอสทอดพรมผืนนั้นบนพื้นร่างที่ม้วยกลิ้งออกจากพรมก็คือ โฉมงามคลีโอพัตรา ซีซาร์เป็นผู้ชื่นชอบในอิสตรี เมื่อซีซาร์เห็นภาพที่แสนตรึงใจเช่นนี้ การณ์ทุกอย่างจึงเป็นไปตามพระนางปรารถนา ซีซาร์ช่วยให้พระนางเป็นพระราชินีสำเร็จ ทั้งสองครองรักกันแม้ซีซาร์จะมีภรรยาอยู่แล้ว..พระนางคลีโอพัตราให้กำเนิดบุตรชายคนหนึ่งแก่ซีซาร์ เวลาผ่านไปเพียง 3 ปี ซีซาร์ถูกลอบสังหารกลางกรุงโรมและในเหตุการนี้ได้มีอมตะวาจา (ปริศนาวาจา) จากซีซาร์ก่อนสิ้นพระชนม์ καὶ σύ, τέκνον (kaì sú, téknon) ในภาษากรีก และ "Tu quoque, fili" ในภาษาละตินซึ่งแปลว่า "เจ้าก็ด้วย ลูกชายของข้า" ซึ่งวลีนี้ต่างมีความเห็นไปต่างๆ กัน บางก็ว่า บุตรชายซีซาร์รู้เห็นในการลอบสังหารครั้งนี้ บางว่าเป็นคำสาปแช่ง บางว่าเป็นการบอกกว่าบุตรชายว่าจะต้องเจอชะตากรรมเดียวกัน บ้างก็ว่าเป็นพินัยกรรมให้บุตรสืบทอดอำนาจของซีซาร์..
มาร์ก แอนโทนี่
"asp"งูเห่าอียิปต์ |
พวกโรมัน อ็อกตาเวียนได้เล็งเห็นความกระด้างกระเดื่องของแอนโทนี้ จึงโน้มน้าวให้วุฒิสภาเปิดสงครามกับอียิปต์ และมาร์ค แอนโทนี่ และคลีโอพัตรารู้ว่าไม่มีทางที่จะสู้รบได้จึงปลิดชีพตนเองทั้งคู่
อารยธรรม เมโสโปเตเมีย
เมโสโปเตเมีย เป็นคำกรีกโบราณ ตามรูปศัทพ์แปล่า "ที่ระหว่างแม่น้ำ" โดยมีนัยปมายถึง "ดินแดนระหว่างแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีส ดินแดนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของ "ดินแดนวงพระจันทร์เสี้ยวไพบูลย์ ซึ่งเป็นดินแดนรูปครึ่งวงกลมผืนใหญ่ ทอดโค้งขึ้นไปจากฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ไปจรดอ่าวเปอร์เซีย
เมโสโปเตเมียเป็นดินแดนที่อากาศร้อนและกันดารฝน น้ำที่ได้รับส่วนใหญ่เป็นน้ำจากแม่น้ำที่มาจากการละลายของหิมะบนเทือกเขาในอาร์เมเนีย น้ำจะพัดพาเอาโคลนตมมาทับถมชายฝั่งทั้งสอง ทำให้พื้อดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก การเอ่อล้นของน้ำอันเกิดจากหิมะละลลายไม่มีำกำหนดเวลาที่แน่นอนและบางครั้งทำความเสียหายแก่บ้านเมือง ไร่นา ทรัพย์สิน และชีวิตผุ้คน การกสิกรรมที่จะได้ผลดีในสภาพแวดล้ิอมเช่นนี้ต้องอาศัยระบบชลประทาน ที่มีประสิทธิภาพ
ความอุดมสมบูรณืของลุ่มแม่น้ำเป็นสิ่งดึงดููดให้ผู้คนเข้ามาทำมาหากินในบริเวฯนี้แต่ความร้อนของอากาศก็เป็นเครื่องบันทอนกำลังคนที่อาศัยอยู่ทำให้คนเหล่านั้นขาดความกระตือรือร้น เมื่อมีพวกอ่นเข้ารุกรานจึงต้องหลีกทางให้ผู้ที่เข้ามาใหม่ ซึ่งเมืออยู่ไปนาน ๆ เข้าก็ประสบภาวะเดียวกันต้องหลีกให้ผู้อื่นต่อไป
พวกที่เข้ามารุกรานส่วนใหญ่มักจะมาจากบริเวณหุบเขาทีราบสูงทางภาคเหนือ และตะวันออกซึ่งส่วนใหญ่เป็ฯเขาหินปูนไม่อุดมสมบูรณืเท่าเขตลุ่มแม่น้ำ และยังมีพวกที่มาจากทะเลทรายซีเรียและอาระเบีย เรื่องราวของอินแดนแห่งนี้จึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอารยธรรมของคนกลุ่มต่าง ๆ หลายกลุ่ม มิได้เป็นเรื่องราวของอารยธรรมที่สืบต่อกันเป็นเวลายาวนานดังเช่นอารยธรรมอียิปต์
คนกลุ่มแรกที่สร้างอารยธรรมเมดสโปเตเมียคือชาว "สุเมเรียน" ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก อารยธรรมที่ชาวสุเมเรียน ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก อารยธรรมที่ชาวสุเมเรียนขึ้นเป็นพ้นฐานสำคัญของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยกรรม ตัวอักษร ศิลปกรรม อื่นๆ ตลอดจน ทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวสุเมเรียน ได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตอลดช่วงสมัยโบราณ
ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เมโสโปเตเมียเป็นอู่อารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งปนึ่งของโลกสมัยโบราณ โดยตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำไทกริส และ แม่น้ำยูเฟรทีส ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศ อิรัก แม่น้ำทั้ง 2 สายมีต้นน้ำอยู่ในอาร์เมเนียและเอเชียไมเนอร์มาบรรจบกันเป็นแม่น้ำชัตต์อัลอาหรับ แล้วไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย
บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีสตอนล่างเรียกว่า บาบิโลเนีย เป็นเขตซึ่งอยู่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีชื่อเรียกในสมัยหนึ่งว่า ชีนา เกิดจากากรทับถมของอินที่แม่น้ำพัดพามา กล่าวคือ ในฤดูร้อนหิมะบนภูเขาในอาร์เมเนียละลายไหลบ่าลงมาทางใต้พัดพาเอาโคลตมมาทับถมไว้ยังบริเวณปากน้ำ ทำให้พื้นตรงปากแม่น้ำงอกออกทุกปี โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 1 ไมล์ครึ่งๆ ทุก ๆ ศตวรรษ
อาณาบริเวณที่เรียกว่าเมโสโปเตเมีย มีทิศเหนือจรอทะเลดำและทะเลแคสเปียน ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดคาบสมุทรอาหรับ ซึ่งล้อมรอบด้วยทะเลแดง และมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันตกจรดที่ราบลซีเรีย และปาเลสไตน์ ส่วนทิศตะวันออกจรดที่ราบสูงอิหร่าน
สุเมเรียล Sumerial เป็นชนเผ่าแรกทีเข้าครองครอง และทำการก่อสร้างระบบชลประทานเป็นชาติแรก สังคมสุเมเรียลยกย่อง เกรงกลังเทพเจ้า นิยมก่อสร้างศาสนสภารเรียกว่า "ซิกกูแก" สร้างด้วยอิฐตากแห้ง
ชาวสุเมเรียลเป็นกลุ่มแรกที่ประดิษฐ์อักษร ได้แก่ อักษรลิ่ม หรือ "คูนิฟอร์ม" นักประวัติศาสตร์จึงยึดเป็นเกณฑ์ในการแบ่งยุคประวัติศาสตร์ "กิลกาเมซ" Epic of Gilgamesh เป็นมหากาพย์ ที่ถูกแต่งขึ้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับน้ำท่วมโลก มีความเจริญทางด้านคณิตศาสตร์ ปฏิทิน และการชั่ง ตวง วัด
มอไรต์ Amorite เมื่อสุเมเรียลเสืออำนาจ ชาวอามอไรต์ ตั้งอาณาจักรบาบิโลน และปกครองแบบรวมศูนย์ การจัดเก็บภาษี การเกณฑ์ทหาร สมัยพระเจ้าฮัมมธราบี มี"ประมวลกฎหมายฮัมุราบี" เป็นลายลักษณ์อักษร จารึกแผ่นศิลา ยึดถือไลัก ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ในการลงโทษ
ฮิตไทต์ Hittite เข้ายึดครองบาบิโลน
คัสไซต์ Kassite อพยพจากเทือกเขาซากรอส เข้าครอบครองต่อ และมีอายุยาวนานต่อเนื่องกว่า 400 ปี
อัสซีเรีย Assyrian เข้ายึดครองกรุงบาบิโลน มีศูนย์กลางที่ นิเนเวห์ ตั้งจักรวรรดิอัสซีเรีย
คาลเดีย Chaldean เข้ายึดครองนิเนเวห์สำเร็จ สถาปนากรุงบาบิโลนขึ้นใหม่
สมัยพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ สามารถตีเยรูซาเลม และกวาดต้อนเชลยมาเป็นจำนวนมาก และสร้าง "สวนลอยแห่งบาบิโลน" Hanging Gardens Of BaBylon ชาวคาลเดีย เป็นชาติแรกที่นำความรู้ด้านดาราศาสตร์มาพยากรณ์โชคชะตามนุษย์ และยังสามารถคำนวณด้านดาราศาสตร์ได้อย่างแม่นยำ
พระเจ้าไซรัสมหาราช แห่งเปอร์เซีย เข้ายึดครอง และผนวกเข้ากับจักรวรรดิ์เปอร์เซีย ทำให้ประวัติศาสรแถบเมโสโปเตเมียสิ้นสุดลง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น