บัณเฑะว์-บัณเฑาะก์

ขับไม้
  ความเป็นมา พิธีกล่อมช้างเป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย เป็นพิธีการที่กระทำกันมาตั้งแต่หลังพุทธกาล 250 ปี โดยเชื่อว่าเป็นการปัดรังควาญให้ช้างป่าที่จับมาได้
  ในประเทศไทยพิธีกล่อมช้าง หรือทำขวัญนั้นมีมาตั้งแต่สุโขทัยเรื่อยมากระทั้งรัตนโกสิน ในสมัยรัชกาลที่ 2 วงขับไม้เริ่มมีบทบาทในพระราชพิธีกล่อมช้าง โดยมีปรากฎ บทคำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างที่มีกาพย์ขับไม้ในตอนท้ายของบทคำฉันท์สังเวยทุกๆ รัชกาลจนถึงปัจจุบัน

 บัณเฑาะว์ เครื่องให้จังหวะในการบรรเลงประกอบ "ขับไม้" ในงานพระราชพิธี มาจากอินเดีย พบเห็นได้ในพระหัตถ์ขวาของ"พระศิวะ"

    "เพลงขับไม้บัณเฑาะว์"
เป็นทำนองเพลงเก่าสมัยอยุธยา มีอัตราจังหวะสองชั้น ใช้บรรเลงในวงขับไม้ อยู่ในตับเพลงเรื่องกระแตไต่ไม้ ซึ่งประกอบด้วยเพลงกระแตไต่ไม้ ขับนก และขับไม้บัณเฑาะว์
หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปากร)  ได้แต่งขยายจากเพลงตับกระแตไต่ไม้สองชั้น เป็นสามชั้น กลายเป็นเพลงโหมโรงกระแตไต่ไม้ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖
พระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) แต่งเป็นเพลงเดี่ยวสำหรับซอสามสาย
ครูมนตรี ตราโมท แต่งขยายจากเพลงขับไม้บัณเฑาะว์สองชั้นเป็นเพลงโหมโรง โดยแต่งเป็นทางกรอให้วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ของกรมศิลปากรนำไปเล่นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑ เพลงนี้มีความหมายในเชิงโน้มน้าวจิตใจให้สงบ มีปณิธานแน่วแน่ในการบูชาสิ่งศักดิ์ด้วยความเคารพ
ในทางดนตรีสากล ก็มีการประยุกต์ทำนองเพลงนี้ด้วย
พระเจนดุริยางค์ แต่งดนตรีประกอบภาพยนตร์ “พระเจ้าช้างเผือก” ใน พ.ศ. ๒๔๘๔ โดยมีเพลงเอกของเรื่อง ๕ เพลง
  • เพลงเดินทัพของประเจ้าจักรา (Ayudhya Eternal) ใช้ทำนองเพลงขับไม้บัณเฑาะว์ เป็นการเรียบเรียงเพลงขับไม้บัณเฑาะว์ด้วยดนตรีสากล 
  •  
            




บัณเฑาะก์ บัณเฑาะก์คำนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนาพุทธ คือ ผู้ที่ห้ามบวชในพระพุทธศาสนา
บัณเฑาะก์นั้นตามความเข้าใจคือชายรักชายหรือ หญิงรักหญิง ของคนปัจจุบันโดยทั่วไป แต่บัณเฑาะก์ในพระวินัยนี้ นั้น กล่าวคือบุรุษผู้มีเครื่องบอกเพศไม่สมบูรณ์ หรือ ขันที ที่ตัดอวัยวะเพศแล้ว
    บัณเฑาะก์ แยกเป็น 5 ประเภท
1 ชายทีมีกิจกรรมทางเพศกับชาย
2 ชายที่ไม่ถึงกับมีกิจกรรมแต่พอใจที่จะดูกิจกรรมทางเพศ โดยตัวเป็นชายแต่ก็ไปชอบใจในชายที่ดูนั้น
3 บุคคลที่ถูกตอนไปแล้ว เช่น ขันที
4 บุคคลบางคนข้างแรมเกิดความกำหนัดยินดีกระวนกระวายด้วยอำนาจแห่งอกุศลกรรม เมื่อถึงข้างขึ้นความกระวนกระวายนั้นก็หายไป
5 ผู้ที่ไม่มีเพศหญิงเพศชายไม่ปรากฎทั้ง 2 เพศ

  ประเภทที่ 1และ 2 ทรงอนุญาติให้บวชได้ แต่เมือบวชแล้วต้องรักษาวินัย และสละความประพฤติเบี่ยงเบนนั้น


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)