ยักษ์

ยักษ์ในความเชื่อของสังคมไทยได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ในขณะที่ความเชื่อในส่วนอื่นๆ ของโลกก็มีอยู่เช่นกัน คือ อมนุษย์ ที่ชอบกินของสดของความ ตัวโตใหญ่ ซึ่งเที่ยบได้กับความเชื่อเรื่องยักษ์ในสังคมไทย
  
     ตามความเชื่อของศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ ยักษ์ มีหลายระดับขึ้นกับบุญบารมี มียักษ์ชั้นสูง มีวิมานเป็นทอง มีผิวพรรณและทรวดทรงดี มีบริวารรับใช้ ปกติจะไม่เห็นเคี้ยว เวลาโกรธจึงจะเห็น ยักษ์ชั้นกลาง ส่วนใหญ่คือยักษ์ที่รับใช้ยักษ์ชั้นสูง ยักษ์ชั้นต่ำคือยักษ์บุญน้อยรูปร่างน่าเกลียด นิสัยดุร้าย
     ยักษ์เกิดได้ สามแบบ คือ โอปาติกะ เกิดแล้วโตเลย ชราพุทชะ เกิดในครรภ์ สังเสทชะ เกิดในเหงื่อไคล
     พวกยักษ์จะอยู่ใต้ปกครองของท้าวเวสุวัณ ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกา เหตุที่เกิดเป็นยักษ์คือทำบุญด้วยความโกรธ มักหงุดหงิด


     ในวรรณคดีกล่าวถึงยักษ์หลายเรื่อง อาทิ รามเกี่รณติ์ พระอภัยมนี สังข์ทองเป็นต้น
ยักษ์ในสังคมไทย จึง มีลัษณะไปในทางดุร้าย มีอิทธิฤทธิ์ ต่อกรด้วยยาก มีกำลังมาก คือเป็นสิ่งที่น่ากลัว และมีพลังอำนาจ
 และยังใช้ในความหมายถึงความยิ่งใหญ่ พลังอำนาจ เหนือวิสัยมนุษย์ เป็นต้น


 ในพุทธศาสนายังจะเคารพในพระพุทธองค์ รวมถึงพระสงฆ์สาวกในธรรมบทมีการกล่าวถึงยักษ์ไว้หลายแห่งแต่โดยสรุป
   คือ เป็น อมนุษย์  มีลักษณะกึ่งเทพ กึ่งมารทั้งนี้ด้วยอำนาจแห่งกรรมดี-กรรมชั่วที่ตนสั่งสมมาในอดีตชาติใน ลักษณะที่ก้ำกึ่งกัน แม้จะมีสถานะเป็นเทพ แต่ก็เป็นเทพชั้นต่ำ มีหน้าที่คอยอารักขาคุ้มครองท้าวเวสสวรรณบ้าง มีหน้าที่อารักขาสถานที่ หรือสิ่งล้ำค่าที่คนส่วนมากให้ความเคารพนับทั้งที่เป็นของส่วนรวม และของที่เป็นส่วนบุคคล ขณะเดียวกันเมื่อต้องตกอยู่ในฐานะเป็นมารด้วยอำนาจกรรมเก่า ก็เป็นเหตุให้สร้างเวรสร้างกรรมใหม่ขึ้นอีก หากไม่ได้รับการแก้ไข ก็อาจเพิ่มวิบากกรรมให้หนักยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก
          เนื่อง จากมีลักษณะกึ่งเทพ กึ่งมาร และมีฤทธิ์ หรืออำนาจตามฐานานุศักดิ์ของตน ๆ ยักษ์จึงสามารถให้ทั้งคุณและโทษแก่มนุษย์ ซึ่งก็เป็นเหตุผลที่ทำให้มนุษย์เซ่นสรวงบูชา เพื่อนำมาซึ่งความสุขสวัสดีแก่ตนเอง
         

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)