เจ็บ...


- ทัศนะคติ มีมากมายหลายความหมาย อาจพอจะกล่าวโดยรวมได้ว่า "เป็นวิธีการมองสิ่งๆ หนึ่ง หรือเหตุการณ์ ๆ หนึ่ง และให้คุณค่า ว่าดี หรือไม่ดี ชอบหรือไม่ชอบ รวมถึงการปฏิบัติต่อสิ่งหรือเหตุการนั้นๆ 
- ค่านิยม เป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติเป็นอย่างมาก รวมถึงเป็นเหตุหรือรากแห่งการเกิดทัศนะคติต่อสิ่งใด
-วัฒนธรรม หมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดมีความสำคัญ ซึ่งเป็นพฤติกรรมและคนในหมู่สร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน

    ...แน่นอนว่าในการบริหารพัฒนาประเทศย่อมมีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยกันหลายฝ่าย โดยหลักการคานอำนาจ กล่าวย้อนไปเมื่อ พ.ศ. 2475 คณะราษฎร์ อันประกอบด้วย พลเรือน เสนา อำมาตย์ มีการกบฎจาำกกลุ่มอำนาจเก่า การแตกกันภายในคณะราษฎร์เอง กระทั่งเปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยาม เป็นประเทศไทย เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองก็รอดตัวจากการเป็นประเทศที่แพ้สงครามมาได้อย่างหวุดหวิด เข้าสู่ยุคคณะรัฐประหารครองเมืองโดยมี พลโทผิน ชุณหะวัน ผลตรีแปลก (ป.)พิบูลสงคราม นาวาอากาศหลวง กาจสงคราม (เก่งระดมยิง) พันตำรวจตรี เผ่า ศรียานนท์ พันตรีสฤษดิ์ ธนะรัตน์ เรื่อยมากระทั้ง เหตุการ 14 ตุลา 16 นิสิตหนังศึกษา ประชาชน ทำการเดินขบวนขับไล่รัฐบาล เกิดการปะทะกันระหว่างทหาร และประชาชน ทำให้มีผู้ล้มตายเป็นจำนวนมาก ในที่สุด จอมพล ถนอม กิตติขจร จอมผลประพาส จารุเสถียร พันเอกณรงค์กิตติขจร ต้องทำการลี้ภัยเิดินทางออกนอกประเทศ
  กระทั้งเข้าสู่ยุคการชิงอำนาจระหว่างนักการเมืองและทหาร มาจบลงที่ประชาธิปไตยครึ่งใบในสมัย พลเอก เปรม  ติณรสูรานนท์ ต่อมา พลเอกชาตชาย ชุุณหะวัณ ขึ้นเป้นนายกรัฐมนตรี เป็นการนำอำนาจทางการเงินเข้ามาสู่ประชาธิปไตยแบบไทยๆ เป็นครั้งแรก กระทั้งถูกยึดอำนาจ โดย พลเอก สุนทร คงสมพงศ์ และ เกิดเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ตามลำดับ
  รวมเวลา ได้ 80 ปี พอดิบพอดี กับประชาธิปไตยบนแผ่นดินสยาม
ประชาธิปไตยไทย จึงมีอำนาจที่สำคัญอยู่ สองอำนาจคือ อำนาจทางการเงิน และอำนาจทางการทหาร
นักการเมืองจึงเป็น นักธุรกิจการเมือง และนักการทหารการเมือง ซึ่งจะว่ากันตามลำดับเหตุการและ จำนวนปี ประชานน เข้าำไปมีบทบาท เมื่อครัง ปี 16 ที่มีเพียง นักศึกษาซึ่งเป็นแกนนำ กระทั้่ง เมื่อ พฤษภา ปี 35 ภาคประชาชนมีส่วนรวมในการเรียกรอ้งประชาธิปไตยเ็ป็นอย่างมาก กระทั้งปัจจุบัน ภาคประชาชนเข้ามามีบทบาททางการเมือง เกิดเป็นกลุ่มมวลชนทางการเมืองต่างๆ เคลื่อนไหวทางการเมืองดังที่ผ่่านมา

  จากการถุกปกครอง และการอยู่ใต้การปกครองไม่มีสิทธิมีเสียง ใดๆ มาเป็นเวลานาน เมือมีสิทธิในการออกเสียง มีเสรีภาพในการแสดงออก จึงทำให้มองเห็น ความเหลือมล้ำ ที่ร้าวลึก ของคนในชาติ
  ถึงแม้ว่าจะเป็นการแสดงออกทางการเมือง แต่ทำให้ตระหนักถึงซึ้งความแตกต่างทางชนชั้นในสังคม ไม่ใช่การมองที่ว่าใครถูกหรือผิด ไม่ใช่การมองที่ใครชนะใครแพ้ ไม่ได้มองที่เกมการเดินแต้มทางการเมือง
  แต่เป็นการมองที่ คนในชาติ ที่อีกไม่นานจะต้องร่วมกันแข่งขันต่อสู้กันทางเศษรฐกิจ กับประเทศเพื่อนบ้าน คนในชาติที่ต่อไปจะต้องทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กัน คนที่ได้ชื่อว่าสยามเมืองยิ้ม
 เจ็บ...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)