วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

Inca Empire




     จักรวรรดิอินคา เป็นจักรวรรดิโบราณที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ในยุคก่อนโคลัมบัส จักวรรดิอินคามีอำนาจขึ้นบริเวณที่ราบสูงของประเทศเปรูส่วนใหญ่ทางด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ซึ่งในปะัจจุบันคือประเทศเปรูในช่วงต้นคริสต์ศตวารรษที่ 13 ช่วงปี ค.ศ. 1438-1533 อินคาขยายอาณาจักรโดยทั้งสันติวิธีและวิธีทางการทหารจนสามรถปกครองดินแดนส่วนใหญ่ทางด้านทางด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ซึงปัจจุบันคือประเทศเปรู ประเทศเอกวาดอร์ ตอนใต้ของประเทศโคลอมเบีย ภาคตะวันตกและภาคใต้ของประเทศโบลิเวีย ตอนเหนือของประเทศชิลี และบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอาร์เจนตินา ชาวอินคาเชื่อว่ากษัตริย์ของตนเป็น"บุตรของพระอาทิตย์"ภาษาราชการคือ ภาษาเกชัว

       ชาวอินคาไม่มีการประดิษฐ์ตังอักษร แต่ชาวอินคามีการบันทึกโดยใช้การผูกเชือกหลากสีเป็นปมรูปแบบต่าง ๆ ที่เรียกว่ากีปู
       ในช่วงที่รุ่งเรืองที่สุด ครอบคลุมบริเวฯเปรูและโบลิเวียเกือบทั้งหมดของประเทศเอกวาดอร์ และดินแดนของชิลีจนถึงตอนเหนือของน้ำเมาเล ซึ่งพวกอินคาโดนต่อต้านจากเผ่ามาปูเช นอกจากนี้บังกินบริเวณไปถึงอาร์เจนตินาและโคลอมเบียอีกด้วย

       นักสำรวจชาวสเปนนำโดย ฟรันซิสโก ปีซาร์โร ค้นพบอาณาจักรอินคาในปี ค.ศ.1526 จึงกลับมาไปสเปนเพื่อขอพระราชานุญาตและกำลังสนับสนุนเพื่อยึดครองดินแดนอินคา

    มาชูปิกชู หรือเมืองสาบสูญแห่งอินคา เป็นซากอารยธรรมโบราณของชาวอินคา ตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงในประเทศเปรู  อารยธรรมเหล่านี้ถูกลืมจากคนภายนอกกระทั้งมีการค้นพบอีกครั้งโดยนักโบราณคดี ไฮแรม บิงแฮม เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2454
     

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

Afghan

   
   
      ชนชาติปาทานคือกลุ่มชาติพันธ์ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางใต้ และทางตะวันออกของอัฟกานิสถาน และทางภาคตะวันตกของปากีสถาน ภาษาของผู้คนกลุ่มนี้ ภาษาปุชโต ชาวปาทนส่วยใหญ่นับถือศาสนาอิสลามสายสุนนี ซึ่งมีปลุ่มที่เข้มแข็งกระทั่งสามารถตั้งวงศ์กษัตริย์ขึ้นปกครองราชอาณาจักรอัฟกานิสถาน

      ต้นกำเนิดของชนชาติปาทานยังคงเป็นปริศนา และประเด็นถกเถียง แต่ลักษณะทางภาษาศาสตร์เป็นประจักษ์พยานที่ดีว่า ภาษาของปาทานเป็นภาษา อินโด ยูโรเปียน ในขณะที่ปาทานบางเผ่ามีความสัมพัน
ธ์ทางสายเลือดกับชนชาติเซมิติก(ยิว-อาหรับ) ทั้งนี้เพราะดินแดนในอัฟการนิสถาน ตะวันอกของอิหร่าน และตะวันตกของอินเดียเป็นหนึ่งในดินแดนที่มีการรบพุ่งรุกรานมากที่สุดในประวัติศสตร์
   
      "ทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับการเข้ารับอิสลามของชาวปาทาน กล่าวโดยสรุปคือ
1 ความผูกพันทางสายเลือดและชาติพันธ์ที่ชาวปาทานส่วนหนึ่งมีความเชื่อว่ตนเองสืบเชื่อสายมาจากลุกหลานของชาวอิสราเอล พวกเขาจึงเป็จ อะหฺลุ อัล กิตาบ หรือชาวพระคัมภีร์และพวกเขาควรศรัทธาต่อศาสดา นบี มุฮัมมัด ในฐานะศาสดาท่านสุดท้ายที่พระคัมภีร์ต่าง ๆ ของชาวอิสราเอลโบราณระบุไว้ว่าท่านจะมาปรากฎในภายภาคหน้า

2 ความผูกันทางสายเลือดและชาติพันธ์ ที่ชาวปาทานส่วนหนึ่งเชื่อว่าตนเองสืบเชื้อสายมาจากหลาน ๆ ของท่านศาสดา นบี มุฮัมมัด หรือจากสหายและสาวก ของท่านศาสาดาหรือแม้แต่จากชาวอาหรับ ก็ทำให้พวกเขาไม่รีรอที่จะรับนับถือศาสนา ที่ศาสดาเป็นชาวอาหรับปละพระคัมภีร์เป็นภาษาอาหรับ

3 บทบาทของผุ้นำศษสนา หรือบุคคลผู้มีความเคร่งครัดในศาสนา ที่ทำให้ชาวปาทานพากันรับนับถือศาสนาอิสลามด้วยศรัทธาและวามพึงพอใจ..."

   ในลำดับแรกที่ชาวปาทานเป็นที่รู้จักของโลกคือ การเป็นทหารในกองทัพสุลต่าน มะห์มูด แห่งฆอสนะ กษัตริย์มุสลิมเติร์ก ผู้ทำสงคามพิชิตอินเดียจากมหาราชฮินดู ทางตอนเหนือของอินเดีย  และตั้้ัวงศ์กษัตริย์อาฟกันปกครองอินเดียถึง 300 ปี...

   ค.ศ. 1747 อะห์มัด ชาฮฺ อับดาลี รวบรวมพลจากฐานที่ตั้งอู่ในกันดาฮาร์ และพิชิตรวบรวมดินแดนที่อยู่ระหว่างอินเดีย อิหร่าน และอัฟกานิสถาน จากนั้นคนในราชวงศ์ของพระองค์ และกลุ่มตระกูลบริวารก็ได้ปกครองประเทศนี้

   กระทั่งค.ศ. 1973 อังกฤษได้เริ่มมีบทบาทต่อดินแดนของปาทานในช่วงที่อังกฤษต้องการปกป้องผลประโยชน์ของตนในอินเดีย ทำให้เกิดสงคราม อังกฤษ-อาฟกัน ในสมัยที่อังกฤษและรัศเซียแผ่อิทธิพลเข้ามาในอัฟการนิสถาน โคสต์ โมฮัมเหม็ด ข่าน ครองอำนาจอยู่ที่กรุงคาบูล  การแย่งชิงอำนาจระหว่างอังกฤษและรัฐเซีย หรือ "เกมที่ยิ่งใหญ่" ส่งผลให้อังกฤษทำสงครามกับอัฟกานิสถาน 2 ครั้งเพื่อลดทอนอิทธิพลของรัสเซียไม่ให้้ยึดครองอัฟกานิสถานไปเสียก่อน  ในยุคนี้อังกฤษและรัฐเซียทำการตกลงเรื่องพรมแดนกับอัฟกานิสถาน จะกลายเป็นพรมแดนในปัจจุบัน

     ในสงครามโลกครั้งที่ 1 อัฟกานิสถานวางตัวเป็นกลางแม้กลุ่มต่อต้านอังกฤษในประเทศจะสนับสนุนเยอรมัน และมีการก่อกบฎตามแนวพรมแดนอินเดียของอังกฤษ การวางตัวเป็นกลางของกษัตริย์ไม่ได้รับการตอบรับจากประชาชนเท่าที่ควร .. อามานุลลอห์จึงเข้าควบคุมประเทศและปรกาศสงครามอังกฤษ - อัฟกานิสถานครั้งที่ 3 ผลของสงครามทำให้อังกฤษยกเลิกการควบคุมอัฟกานิสถาน ชาวอัฟกันจึงเฉลิมฉลองวันที่ 19 สิงหาเป็นวันชาติ

     มีการสนับสนุนให้มีจัดการเลื่อกตั้งในบางส่วนของประเทศซึ่งเป็นการเตรียมการสำหรับประชาธิปไตย ในช่วงนี้เกิดพรรคการเมืองต่างๆ รวมที่้ง พรรคคอมมิวนิสต์อัฟกานิสถาน pdpa ซึ่งมีความใกล้ชิดกับโซเวียต

    พรรคคอมมิวนิสต์อัฟกานิสถานแบ่งออกเป็นสองส่วน  โดยพยายามแย่งชิงอำนาจจากราชวงศ์ดุรรานี และในเวลาต่อมาทำการปฎิวัตินองเลืยดล้มล้างรัฐบาล โดยได้รับการสนับสนุนจากโซเวียตภายใต้อิทธิพลของโซเวียตมีการจัดตั้งกลุ่มต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อต่อต้านโดยใช้ความรุนแรง
    กลุ่มเหล่านี้เป็นที่รู้จักในชื่อมูญาฺฮิดีน หรือนักรบมุสลิมผู้ศักดิ์สิทธิ เมื่อเกิดการโจมการต่อต้าน โซเวียตส่งกองทหารเข้ามาช่วยเหลือรัฐบาลคอมมิวนิสต์ กองทัพโซเวียตบุกถึงกรุงคาบูล ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการยึดครองอัฟกานิสถานและทำให้เกิดสงครามต่อต้านโซเวียตตามมา ผลของสงคราม โซเวียตถอนทหารออกไป

     ภายในช่วง 9 ปีที่โซเวียตยึดครองอัฟกานิสถาน กลุ่มมูญาฺฮิดีนก่อกบฎต่อต้านโซเวียตโดยกลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ซาอุดิอาระเบีย และปากีสถาน และมีนักรบมุสลิมจากต่างชาติเข้าร่วม

     ในกลุ่มคนต่างชาติเหล่านี้ หนึ่งในนั้นคือ อุซามะฮฺ บิน ลาดิน ผู้ซึ่งเข้าไปฝึกฝนมูญาฺฮิดีนและส่งมอบอาวุธ บิน ลา ดิน แตกออกจากกลุ่มเดิม โดยตั้งกลุ่มใหม่ของตนคือ อัลกอลิดะฮ์ เพื่อต่อต้าน โซเวียตและร่วมมือกับกองกำลังมุสลิมทั่วโลก โซเวียตถอนทหารออกหมด แต่ยังคงเหลือรัฐบาลของ โมฮัมเหม็ด นาญีบุลลอห์ ความช่วยเหลือจาสหรัฐและซาอุดิอาระเบีบ มีให้กับกลุ่มมูญาฮิดีนอย่างต่อเนื่อง กระทั่งสหภาพโซเวียตล่มสลาย รัฐบาลของนาญีบุลลอห์จึงล้มลง อับดุลซาดิด คอสตุม และอาห์เหม็ด ชาห์ มัสอูด เข้าครอบครองกรุงคาบูลและจัดตั้งรัฐอิสลามแห่งอัฟกานิสถาน

     กลุ่มอัลกอลิดะห์ ถือกำเนิดขึ้นจากแนวคิดของ โอซามา บินลาเดน ชาวซาอุดิอารเบียผู้ซึ่งเป็นบุตรคนที่ 17 จากทั้งหมด 51 คนของคหบดีที่มั่งคั่ง ในช่วงแรกนั้นอับกอลิดะห์ มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อขับไล่ทหารโซเวียตออกจากอัฟกานิสถาน และมีสถานะเป็นนักสู้เพื่ออิสรภาพ มากว่าเป็น กลุ่มผู้ก่อการร้าย
     กระทั่งเมื่อโซเวียตถอนทหารออกไปแล้ว โอซามา ลินลาเดน ก็ยกระดับการต่อสู้ของเขาเป็นการต่้อสู้เพื่อสถาปนา "รัฐอิสลามบริสุทธิ" รวมทั้งประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริก..โดยมีเป้าหมายที่การขับไล่สหรัฐอเมริกาออกจาก ซาอุดิอารเบีย และดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ในตะวันออกกลาง อันนำมาซึ่งการโจามตี สถานทูต การโจมตีเรือพิฆาต
   
    หลังจากเหตุการณ์ 9/11 ในสหรัฐ ทำให้สหรัฐอเมริกาและกลุ่มพันธมิตรนาโต้เปิดฉากโจมตีที่มั่นของ กลุ่มอัลกอลิดะห์ และกลุ่มตาลีบันในอัฟกานิสถานอย่างรุนแรงตั่งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา..

   
    เป้าหมายครั้งนี้คือ เพื่อหาและนำตัวโอซามา บิน ลาเดน และสมาชิกอังกออิดะห์ระดับสูงคนอื่น ให้มารับการพิจารณาเพื่อ และเืพื่อล้มระบอบฎอลิบาลซึ่งให้การสนับสนุนและที่พักพิงแก่อัลกออิดะฮ์..
     ซึ่งมีแกนนำสำคัญๆ ของรัฐบาล กองทัพ และฐานเสียงสนับสนุนส่วนใหญ่ประกอบขึ้นจากชนชาติปาทานที่เป็นผลเมืองส่วยใหญ่ของอัฟกานิสถาน ชื่อของชนชาติปาทานจึงกลับมาอีกครั้ง...


วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

Southeast Asian Writers Award (II)

วินัย บุญช่วย ซีำไรต์ปี พ.ศ. 2536
"ครอบครัวกลางถนน"
ศิลา โคมฉาย คือนามปากกาของ วินัย บุญช่วย เรียนจบปริญญาตรีจากมหาลัยรามคำแหง ในช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519

เริ่มเขียนหนังสือโดยใช้ชื่อสกุลจริง "วินัย บุญช่วย" แต่พอหลัง 6 ตุลา กลับจากป่า ก็เขียนเรื่อสั้นมาจำนวนหนึ่ง 6-7 บรรณาธิการ คือ เสถียร จันทิมาธร จึงใช่ชื่อ"ศิลา โคมฉาย" เขาเป็นผู้ที่เขียนหนังสือได้หลากหลายตั้งแต่งานวิจารย์ กีฬา วิจารณ์เพลง วิจารย์หนัง ซึ่งก็จะใช้นามปากกาอื่น ๆ

    "ครอบครัวกลางถนน" เป็นเรื่องราวของสองสามีภรรยาวัยกลางคนชนชั้นกลาง ซึ่งใฝ่ฝันจะประกอบกิจการของ ตนเอง ทั้งคู่คิดว่านอกจากมีบ้านและรถยนต์แล้ว  มีความจำเป็นต้องเพิ่มพูนฐานะทำให้ทั้งคู่ต้องใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในรถยนต์ และบนท้องถนนในเมืองหลวง
      ด้วยวัย 38 ปีเศษ ทุกๆ วันเมื่อกลับถึงบ้านราว 5 ทุ่ม จึงแทบไม่เหลือเรียแรงจะทำสิ่งใดอีก สำหรับเขาการมีรถเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นที่พักพิงอาศัยในสัดส่วยเวลาพอๆ กับที่บ้านและที่ทำงานเลยที่เดียว...
 เรื่องราวสะท้อนการใช้รถแทนบ้านทั้งกิจกรรมต่างๆ อาทิการเล่นเกมส์ ปลูกต้นไม้ หรือแม้กระทั่งการมีเพศสัมพันธ์..


               กวีซีไรต์ปี พ.ศ. 2535 ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ  
               "มือนั้นสีขาว"

        ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ ชื่อจริงคือ กิิตติศักดิ์ มีสมสืบ เป็นชาวชัยนาท(ไวท์)
     ใช้ชีวิตในวัยเด็ก เรียนชั้นประถม มัธยมตอนต้นที่อำเภอไพศาลี จ.นครสวรรค์ เรียนต่อที่เพาะช่าง จบ ปวส.เอกจิตรกรรมสากล ศึกษาศิลปะวรรณกรรมและปรัชญาจาก จ่าง แซ่ตั้ง และกวีคนสำคัญของประเทศ
   
 



  "บัง"
      ข้ามสะพานผ่านเข้าใจเมือง
ตึกรามเขื่องค้ำง้ำเงื้อม
รถราหลายหน้าแตกต่าง
หลายรูปหลายร่างหลายรุ่น
ดั่งมดน้อยวิ่งวุ่นระหว่างตึก
..พ่อหยุดรถกึกกะทันหัน
รถข้าหน้าชนกันกระชั้นชิด
ทุ่มเถียงกูถูกมึงผิ
กระทบกระทั่งมิยั้งคิดเคียดแค้นเคือง
ละเมิดกฎ เขียน แดง เหลือง
รถราวุ่นไปทั้งเมือง คุณพระช่วย



มาลา คำจันทร์ กวีซีไรต์ ปี พ.ศ. 2534
" เจ้าจันทร์ผมหอม"

มาลา คำจันทร์ เป็นนามปากกาของ เจริญ มาลาโรจน์ เป็นชาวเชียงราย ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่อ.สันป่าตอง จ. เชี่ยงใหม่จบการศึกษาจากวิทยาลัยครูเชียงใหม่ และรับราชการเป็นครู 11 ปี และจบปรญญาตรี คณะศึกษาศาสตร ม.เชียงใหม่ และ ปริญญาโท วิชาจารึกภาษาไทย คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร  เคยเป็นอาจารย์ที่ม.หอการค้า และม.เชียงใหม่ ปัจจุบันเป็นนักเขียนอิสระ ...

   




 เจ้าจันทร์ผมหอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวน เป็นนวนิยายขนาดสั้น
 เป็นเรื่องราวของเจ้าหญิงล้านนาผู้มีคนรักอยู่แล้ว แต่ถูกเจ้าพ่อกับเจ้าแม่คลุมถุงชน พระธาตุอินทร์แขวน เป็นพระธาตุอยู่ในประเทศพม่า การเดินทางครั้งนี้เป็นเรื่องพิสูจน์หัวใจของตนเองและชายผู้ที่ถูกบังคับในแต่งงานด้วย
      พระธาตุอินทร์แขวนนั้นตามตำนานเล่าว่าผู้ใดที่ปูปมลอดพระธาตุได้ จะสมหวังในสิ่งใดก็ตามที่ตั้งใจไว้ และในการเดินทางไปบูชาพระธาตุครั้งนี้ ผู้ที่เจ้าพ่อเจ้าแม่เห็นดีเห็นงามให้แต่งด้วยนั้นให้สัจจะว่าหากเจ้าจันท์ปูผมหอมลอดพระธาตุได้เขายินดีจะให้เจ้าจันทร์แต่งงานกับคนรัก..



อัญชลี วิวัธนชัย  กวีซีไรต์ ปี พ.ศ. 2533
"อัญมณีแห่งชีวิต"


         อัญชลี วิวัธนชัย หรือ นามปากกา อัญชัน เกิดที่ฝั่งธนบุรี กทมฯ เดิมชื่อ่ อัญชลี สุธรรมพิทักษ์ ปัจจุบันอยู่ในสหรัฐอเมริกา จบการศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนราชินีบน กทมฯตอนปลายจากเตรียมอุดมศึกษา ปริญญาตรีคณะอักษรศาสตร์จุฬาฯ ปริญญาโท ที่ซิตี้ยูนิเวอร์ซิตี้ออฟนิวยอร์ก

อัญมณีแห่งชีวิต
      ประกอบด้วยเรื่องสั้น 11 เรื่อง เนื้อเรื่องมีหลากหลาย เสนอปัญหาต่างๆ ของชีวิต ตั้งแต่ปัญหาส่วนบุคคล ปัญหาครอบครัว สังคม จนถึงปัญหาที่กล่าวถึงวัฎจักรแห่งชีวิตอันเป็นสัจธรรม "อัญชัน" เสนอแนวคิดเหล่านี้โดยใช้กลการประพันธ์ที่แยบยลสอดคล้องกับเหนื้อหา มีลีลาเฉพาะตัวที่ละเียด ประณีต ลึกซึ้งและละเมียดละไม ...
     "งานเขียนประเภทเรื่องสั้น เป็นงานเขียนมุ่งเน้นเรื่องราวความเป็นจริงของสังคมทั้งด้านดีและร้ายเพื่อให้เห็นข้อเปรียบเทียบซึ่งกันและกัน และเป็นข้อคิดของผู้อ่านจะได้ทราบความดีชั่วจากการนำเสนอผ่านพฤติกรรมตัวละครในเรื่องสั้น แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่ามีงานเขียนจำนวนมามักนำเสนอภาพความรุนแรง เช่น การฆ่า การทารุณกรรม ความกลัว ฯลฯ ความรุนแรงเหล่านี้เป็นด้านมืดในวรรณกรรม:เสาวลักาณ์ อนันตศานต์,2548:157-158
      พฤติกรรมด้านมืด พบมากในวรรณกรรมปัจจุบันเพื่อสะท้อนแง่มุมบางแง่มุมของสังคมที่มีภาพลบ ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าที่เหี้ยมโหด การช่มชืนหรือการทารุณกรรม เพราะพฤติกรรมเหล่านี้มีอยู่จริงในสังคม แต่คนในสังคมมักจะไม่นำมาพูดกันอย่างโจ่งแจ้ง เพราะคิดว่าไม่เหมาะสม ดังนั้นวรรณกรรมปัจจุบันจึงเป็นตัวแทนด้านลบแล้วสะท้อนภาพของสังคมออกมาเผยแพร่อย่างมากมาย
     พฤติกรรมด้านมือ คือ พฤติกรรมของตัวละครที่แสดงความโหดร้ายออกมา ซึ่งได้แก่ การฆ่า การทารุณกรรม การแสดงความเกลียดชัง และความหวาดกลัว : เสาวลักษณ์ อนันตศาสต์,2548:157-158....
      อัญชัน นักเขียนที่มีความสามารถในการอธิบายหรือใช้ภาษาเพื่อให้เกิดจินตนการ งานเขียนของเธอมักสะท้อนภาพสังคมในมุมมองที่แปลกจากนักเขียนคนอื่น เธอสามารถที่นำมุมเล็ก ๆ ในสังคมมาขยายเป็นเรื่องราวที่ผู้อ่านรู้สึกสะเทือนไปตามอังกษรที่เธอเรียบเรียง...
      " อัญมณีแห่งชีวิต เป็นงานเขียนที่สะท้อนสังคมด้านมืด แสดงทัศนะเรื่องราวแง่มุมของสังคมให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึงความสำคัญของด้านมืดที่สังคมไม่แก้ไขและไม่ยอมทำความเข้าใจ อัญชันเสนอภาพลบของสังคมได้อย่างชัดเจนสร้างบรรยากาศและอารณ์หลากหลายทั้งอ่อนหวาน เศร้า กร้าว แกร่างง โหดร้าย แม้กระทั้งสยองขวัญ...(คณะกรรมการตัดสินรางวัลซีไรต์, 2533


    จิระนันท์ พิตรปรีชา กวีซีไรต์ ปี พ.ศ.2532
     "ใบไม้ที่หายไป"
จิระนันท์ เป็นชาวจังหวัดตรัง จบมัทธยมจากเตรียมอุดมศึกษา เข้าศึกษาต่อคณะวิทยาศาสตร์ แผนกเภสัช จุฬาฯ และได้รับเลือกให้เป็นดาวจุฬาฯ
    ในปี พ.ศ. 2516 เป็นหนึ่งในผู้นำนักศึกษาที่ร่วโครงการส่งเสริมประชาธิไตย ของศูนย์ส่งเสริมประชาธิปไตย(ศสป)..และต้องหนีเข้าไปเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หลังจากเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 หลายปี จิระนันท์มีชื่อจัดตั้งในป่าว่า "สหายใบไม้" จากนั้นไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา
   ชีวิตครอบครัว สมรสกับ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล หรือสหายไท อดีตผู้นำนักศึกษาที่ร่วมต่อสู้มาด้วยกัน..

นอกจากนี้เรื่องราวชีวิตของเธอกับสามีได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ เรื่อง 14 ตุลา สงครามประชาชน..

      "ใบไม้ที่หายไป"

    "อลังการแห่งดอกไม้"

สตรีมีสองมือ     มั่นยึดถือในแก่นสาร     เกลียวเอ็นจักเป็นงาน     มิใช่ร่านหลงแพรพรรณ
สตรีมีสองตีน     ไว้ป่ายปีนความาใฝ่ฝัน     ยืนหยัดอยู่ร่วมกัน       มิหมายมั่นกินแรงใคร
สตรีมีดวงตา       เพื่อเสาะหาชีวิตใหม่        มองโลกอย่างกว้างไกล    มิใช่คอยชม้อยชวน
สตรีมีดวงใจ        เป็นดวงไฟไม่ผันผวน      สร้างสมพลังมวล        ด้วยเธอล้วนก็คือคน
สตรีมีชีวิต           ล้างรอยผิดด้วยเหตุผล     คุณค่าเสรีชน              มิใชปรนกามารมณ์
ดอกไม้มีหนามแหลม  มิใช่แย้มคอยคนชม  บานไว้เพื่อสะสม        ความอุดมแห่งแผ่นดิน...




      นิคม รายยวา กวีซีไรต์ พ.ศ. 2531
      "ตลิ่งสูง ซุงหนัก"



 นิคม รายยวา เป็นชาวสุโขทัย จบการศึกษาระดับปริญญาตรีทางเศรษฐศาสจร์ จาก มหาวทิยาลัยธรรมศาสตร์ ทำงานเกี่ยวกับปิโตรเลียมในกรุงเทพฯ ระยะหนึ่ง แล้วเปลี่ยนไปทำงานอุตสาหกรรม น้ำมันปาล์มทางภาคใต้ ..ปัจจุบันหันมาเรียนรู้จากเกษตรกรในท้องถิ่นดั้งเดิม เพื่อทำสวนยางพารา








  ตลิ่งสูง ซุงหนัก เป็นเรื่องความผูกพันระหว่างคนกับช้าง คำงายรักพลานสุดซึ่งเป็นช้างที่พ่อมีความจำเป็นต้องขายเพื่อเอาเงินมารักษาตัว เพราะไม่มีทางเลือก ..คำงายบุตรชายซึ่งรักพลายสุดมากได้แกะสลักช้างไม้ที่สง่างามเหมือนพลายสุด เขาอุทิศทั้งกายและใจทั้งหมดในการแกะช้างไม้นั้น และในขณะเดียวกันเขาก็คิดว่าเป็นวิธีเดียวที่เขาจะได้ใกล้ชิดช้างที่เขารัก เขาจึงได้สมัครเป็นควาญช้างรับจ้างพ่อเลี้ยงโดยรับเป็นควาญของพลายสุดรับจ้างลากซุงเขาเกิดความคิดว่า มิใช่พลายสุดเท่านั้นที่กำลังลากซุง เขาเองและทุกชีวิตต่างก็กำลังลากซุงด้วยกันทั้งนั้นเพราะความอยาก หิวโหยเขาพยายามทำงานอยางขยันขันแข็งต่อไปและหวังว่าวันหนึ่งจะได้พลายสุดกลับคืนมา โดยแลกกับช้างไม้ที่เขาพยายามแกะสลักแต่ในที่สุดได้เกิดอุบัติเหตุขึ้น ร่างคำงายได้ถูกซุงบททับทำให้สิ่งที่เขาคิดไว้กลายเป็นความฝัน



ไพฑูรย์ ธัญญา กวีซีไรต์ ปี พ.ศ. 2530
"ก่อกองทราย"

          ไพฑูรย์ ธัญญา เป็นนามปากกาของ ธัญญา สังขพันธานนท์ เป็นชาวพัทลุง จบการศึกษา กศ.บ.จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา  จบกศ.ม.จากมหาวทิยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ พิษณุโลก เคยเป็นครูสอนชั้นประถม ที่พัทลุง และสุโขทัย ก่อนจะสอนวิชาวรรณกรรมวิจารณ์ที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ระดับ 8 และรองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

         ก่อกองทราย เป็นหนังสือประกอบด้วยเรื่่องสั้นรวม 12 เรื่อง ของ ไพฑูรย์ ธัีญญา มีลักษณะที่แสดงให้เห็นถึงชีวิตและธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นสากล ดังเช่นมนุษย์ทั่วไปในโลกพึงจะเป็น และในขณะเดียวกันก็มีสีสันของท้องถิ่นและความเป็นไทย ทั้งในด้านถ่อยคำและการใช้ฉากอันเป็นท้องเรื่อง

        เนื้อเรื่องมีความหลากหลายแสดงปัญหาและแง่มุมต่าง ๆ ของชีวิตหลายเรื่อง เช่น คนบนสะพาน บ้านใกล้เรื่อนเคียง และเพื่อบุณย์ ได้สะท้อนธาตุแท้ของคนส่วนเรื่อง คำพยากรณ์ และนกเขาไฟ ได้เน้นความคิด ความเชื่อของคนในชนบทที่แสดงถึงสัจธรรมของชีวิตโดยแท้จริง ตลดอจนถึงสำนวนที่ใช้สามารถให้ผู้อ่่านได้สัมผัสอย่าง สมจริง

อังคาร กัลยาพงศ์ กวีซีไรต์ปี 2529
"ปณิธานกวี"

       อังคาร กัลยาณพงศ์ เป็นทั้งกวีและจิตรกร เป็นชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช ศึกษาศิลปะที่เพาะช่าง และที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
     
        ท่านได้เป็นผู้ได้รับการยอมรับในฐานะเป็นจิตรกรและกวี เป็นกวีที่คงความเป็นไทย ทั้งในด้านความคิดและรูปแบบ อีกทั้งยังเป็นกวีที่มีความคิดเป็นอิสระ ไม่ถูกร้อยรัดด้วยรูปแบบที่ตายตัว จึงนับเป็นกวีผู้บุกเบิกกวีนิพนธ์ยุคใหม่


       " การวาดรูปกับการแต่งบทกวีต้องใช้ความคิดกับจินตนาการ อาจจะผิดกันในเรื่องเทคโนโลยีกับเทคนิค แต่ใช้จิตใจดวงเดียวกัน ทั้งงานเขียนรูปและเขียนหนังสือก็ต้องอาศัยมโนคติ บางคนเขาเรียก อิมเมจิเนชั่น ต้องมี จินตนาการความคิด เหมือนคนที่สร้างนครวัด เขาต้องมีภาพมาก่อนว่าทำอย่างไรจึงจะมีปราสาทขึ้นมา ถ้าเรามีมโนภาพกว้างใหญ่ไพศาล เราก็สามารถสร้างสรรค์อะไรที่ใหญ่โตขึ้นมา ถ้ามีมโนภาพคับแคบก็สร้่างสรรค์อะไรอยู่ในกะลาเท่านั้น"
     " คนอื่นเขาอาจจะไปทำขนมครก ไปรับเหมาทางด่วน ไปทำอะไรก็ได้ แต่ดวีต้องเป็นกวีอยู่ทุกลมหายใจ คือโดยหลักจริง ๆ แล้วผมยังเขียนบทกวีแยู่เรื่อย ๆ จะชำระของที่ดูไม่ค่อยเรียบร้อยให้เรียบร้อย ให้หมดจดขึ้น มีถ้อยคำที่ลงตัว คือพูดง่ายๆ ว่า ถ้าเราตายไปแล้ว เราก็หมดโอกาสที่จะเปิดฝาโลงขึ้นมาชะระโคลงของเราให้เรียบร้อย คนที่เขียนกวี ถ้าบทกวีชิ้นใดไม่สมบูรณ์ ก็เหมือนเราไปปรโลกแล้วยังมีห่วงอยู่"


     ใครจะอาจซื้อขายฟ้ามหาสมุทร
แสนวิสุทธิ์โลกนี้ที่พระสร้าง
สุดท้ายกายวิภาคจะจากวาง
ไว้ระหว่างหล้าและฟ้าต่อกัน


     เรามิใช่เจ้าของฟ้าอวกาศ
โลกธาตุทั่วส้ินทุกสรวงสวรรค์
มนุษย์์มิเคยนฤมิตตะวันจันทร์
แม่แต่เม็ดทรายนั้นสักธุลี


     สภาวะสรรพสิ่งทุกส่วนโลกนี้
ควรที่สำนึกค่าทิพย์วิเศษวิศาล
อนุรักษ์ดินน้ำฟ้าไว้ตลอดกาล
เพื่อเหนือทิพยสถานวิมานแก้วไกวัลย์


     ทุ่งนาป่าชัฏช้าอรัญญิกาลัย
เทือกผาใหญ่เสียดดาวดึงส์สวรรค์
เนื้อเบื้อเสือช้างลิงค่างนั้น
มดแมลงนานพันธุ์ทั้งจักรวาล


     เสมอเสมือนเพื่อสนิทมิตรสหาย
เกิดร่วมสายเชี่ยววัฏฏะสังสาร
ชีพหาค่าบ่มิได้นับกาลนาน
หวานเสน่ห์ฟ้าหล้าดาราลัย


     ถึงใครเหาะเหินวิมุตติสุดฝั่งฟ้า
เดือนดาริกาเป็นมรคายิ่งใหญ่
แต่เราขอรักโลกนี้เสมอไป
มอบใจแด่ปฐพีทุกชีวีวาย


     จะไม่ไปแม้แต่พระนิรพาน
จะวนว่ายวัฎฎะสังสารหลากหลาย
แปลค่าแท้ดาราจักรมากมาย
ไว้เป็นบทกวีแดจักรวาล


      เพื่อลบทุกข์โศก ณ โลกมนุษย์
ที่สุดสู่ยุคสุขเกษมศานต์
วานั้นฉันจะป่นปนดินดาน
เป็นฟอสซิลทรมานอยู่จ้องมอง


     สิ้นเสน่ห์วรรณศิลป์ชีวิตเสนอ
ละเมอหาค่าทิพย์ไหนสนอง
อเนจอนาถชีวีทุกธุลีละออง
สยดสยองแก่ถ่านเถ้าเศร้าโศกนัก


     แล้งโลกกวีที่หล้าวูบฟ้าไหว
จะไปรจนารุ้งมณีเกียรติศักดิ์
อำลาอาลัยมนุษย์ชาติน่ารัก
จักมุ่งนฤมิตจิตจักรวาล


     ให้ซึ้งซาบกาพย์กลอนโคลงฉันท์
ไปทุกชั้นอินทรพรหมพิมานสถาน
สร้างสรรค์กุศลศิลป์ไว้อนันตกาล
นานช้าอมตะอกาลิโก


กฤษณา อโศกสิน กวีซีไรต์ พ.ศ.2528
"ปูนปิดทอง"

กฤษณา อโศกสิน เป็นนามปากกาที่แพร่หลายมากที่สุดของ สุกัญญา ชลศึกษ์ นักประพันธ์สตรี ผู้นับได้ว่า ประสพความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยม ในด้านการประพันธ์นวนิยาย จนสามารถเรียกได้ว่า ประสพความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยม ในด้านการประพันธ์นวนิยาย จนสามารถเรียกได้ว่า "ราชินีนักเขียนนวนิยาย" ก็คงจะไม่มีผู้ใดกล้าคัดค้าน

      สุกัญญา ชลศึกษ์ เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนราชินี หลังจากจบการศึกษาก็ได้เข้าทำงานเป็นเจ้าหน้าที่เสมียนใน กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อมาศึกษาต่อในคณะพาณิชยศาสจร์และการบัญชี ม.ธรรมศาสตร์  เธอเลิกเรียนกลางคันด้วยความที่ใจรักงานเขียนมากกว่า และยังมุ่งมั่นที่จะเป็นนักเขียนต่อไป
      กฤษณา อโศกสิน เป็นนักประพันธ์ สตรีที่ประสพความสำเร็จยอดเยี่ยมในด้านการประพันธ์นวนิยายได้มุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลงานด้วยความประณีต แสดงกลวิธีในการเสนอเรื่อง ตัวละคร ฉาก ชื่อเรื่อง ชื่อตัวละคร ภาษาอันสละสลวย และแนวความคิดที่อุดมด้วยลักษณะวณณศิลป์และสุนทรียภาพ ตามทฤษฑีแห่งการสร้างสรรค์วรรณกรรม อีกทั้งยังได้แสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์กันแล้วว่า เป็นผู้ที่มีอุดมคติและมีความรับผิดชอบต่อสังคม ในฐานะนักประพันธ์ โดยการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในเรื่องผลกรรมดีกรรมชั่วของมนุษย์ มาสอดแทรก เป็นส่วนประกอบในการสรรค์สร้างนวนิยาย ทำให้ผลงานได้รับความนิยมอย่างสูงจากประชาชนและจากวงการวรรณกรรม


"ปูนปิดทอง"
     สองเมือง มธุรา ชายโสดวัยสามสิบห้าปีพระเอกของเรื่อง เจ้าของคฤหาสน์ ติดลูกไม้หลังใหม่ ดำเนินธุรกิจหลายอย่าง ซึ่งสาวในสังคมไฮโซ พยายาม "จับ"โดยไม่ได้รับรู้ถึงตัวแดงในบัญชีของเขา พ่อแม่ของสองเมืองแยกทางกันตั้งแต่ เขายังเล็ก และทิ้งไว้ที่โรงเรียนประจำ ที่ซึ่งเขาได้รู้จักเพื่อน ชือ่ สกรรจ์ ผุ้มีครอบครัวแตกร้าวไม่ต่างจากเขา พ่อแม่ของสองเมืองและสกรรจ์ ต่างก็เป็น
"คนติดลูกไม้"เป็นลูกผู้ดี แต่ก็แต่างงานกันได้ไม่นานก็ต้องหย่าร้างกัน ทว่าสกรรจ์ไม่เข้ามแข็งและต่อสู้ชีวิตอย่างสองเมือง สุดท้าย ฉกรรจ์จึง ต้องจบชีวิตด้วยโรคพิษสุราเรื้อรัง
      สกรรจ์มีน้องสาวต่างมารดาชื่อว่าบาลี ซึ่งเป็นผู้หญิงเพียงคนเดี่ยวที่สอง เมืองรักด้วยความบริสุทธิ์ใจ บาลีเป็นผู้หญิงสมัยใหม่ หลังจากที่พ่อแม่ ของบาลีแยกทางกันแม่ของบาลีก็พาบาลีไปอยู่เมืองนอก ใช้ชีวิตอย่าง อิสระ ส่วนพ่อก็มีเมียเล็กเมียน้อยอีกมากมาย
     สองเมืองกับบาลีตัดสินใจทดลองอยู่ด้วยกัน แต่หากนนั่นเป็นความต้องการของบาลีที่พยายามที่จะรักษาแผลในใจของสองเมือง ทว่ากลับกลายเป็นต่างคนต่างช่วยเหลือประคับประคองชีวิตกันและกัน
      สองเมืองเองก็มีน้องต่างมารดาอีกสองคน คื อปลอดกับเรืองราม ซึ่งถูกทอดทิ้งเช่นกัน จนมีคำว่า "สวะสังคม"ออกจากปากผู้เป็นพ่อ ทั้ง ๆ ที่สองเมืองพยายามส่งเสียเลี้ยงดูน้องทั้งสองแต่ก็ดูเหมือนจะทำคุณบูชาโทษจน ถูกทั้งสองพาพวกยกเค้า แต่ก็ต้องถูกจับเข้าคุก สองเมืองกับบาลีจึงต้องรับ ภาระดูแลลูกสองคนของเรื่องราม
    เรื่องราวอันเลวร้ายของสองเมืองและบาลีได้จบลงด้วยการเริ่มต้น เมื่อ ทั้งสองร่วมกันฝ่าฝันอุปสรรค และแต่งงานกันในที่สุดจนมีลูกน้อยอันเกิดจาก ความรัก เมือได้เป็นผู้ให้กำเนิดชีวิต ทั้งสองจึงพยายามชดเชยในสิ่งที่ เขาไม่เคยได้รับจากผู้เป็นพ่อแม่เลย..


 
   

  วาณิช  จรุงกิจอนันต์ กวีซีไรต์ ปี พ.ศ. 2527
  "ซอยเดียวกัน"

วาณิช จรุงกิจอนันต์  เป็นชาวสุพรรณ จบการศึกษาคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร และเดินทางไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริก
   วาณิช เสียชีวิตเมือ ปี 35 ด้วยโรคลูคีเมียเฉียบพลัน

"ซอยเดียวกัน"

....ผมพยายามพยายามเพ่งมองเธอทางด้านหลัง เธอไม่รู้สึกตัวเพราะมัวแต่ชะเง้อดูว่ารถวิทยาลัยมาหรือัง พอเห็นรถของวิทยาลับวิ่งมาแต่ไกลดูเธอค่อยแจ่มใสขึ้น ขยับตัวอย่างผ่อนคลายและจังหวะนั้น เธอหันหน้ามาทางผมเราสบตากัน และอาจเป็นเพราะผมตั้งใจเอาไว้ก่อนแล้วก็ได้ ผมจึงไม่รีรอที่จะส่งยิ้มออกไป

    เหมือนตาฝาด ผมเห็นเธอยิ้มตอบผม ผมหันไปมองข้างหลังเพื่อให้แน่ใจว่าเธอไม่ได้ยิ้มกับคนอื่น ไม่ เธอยิ้มให้ผมจริงๆ ทุกคนที่รอรถเมลอยู่ไม่มีใครสนใจใคร ผมหันกลับมาหาเธออีกครั้ง เธอมีรอยยิ้มมากกว่าเดิมขณะที่ก้าวขึ้นรถของทางวิทยาลัย ผมมองตามรถนั้นจนลับสายตา รู้สึกว่าโลกสว่างไสวดว่าทุกวัน หางนกยูงสีแดงสดจ้านั้น เหมือนจะแย้มยิ้มเริงรื่นไปกับผมด้วย

   ผมแทบไม่เป็นอันเรียนเลยในวันนั้น กระสับกระส่วนรอเวลาสี่โมงเย็นเพื่อจะนั่งรถกลับมารอรถวิทยาลัยของเธอที่จะพาเธอกลับมา แต่วันนี้ผมรอเก้อเพราะเธอไม่ได้กลับมากับรถของวิทยาลัยด้วย เธออาจติดธุระที่ไหนจนกลับไม่ทันรถของวิทยาลัยก็ได้ ผมปลอบใจตัวเองขณะเดินเข้าบ้าน ผมอารมณ์ดีเป็นพิเศษจนพี่ชายแปลกใจ เพราะคิดอยู่ตลอดเวลาว่าจะพูดดับเธอว่าอย่างไรดีในวันรุ่งขึ้น ที่นี้เธอรู้จักผมแล้ว เธอยิ้มให้ผมแล้ว เธอคงไม่รับเกียจที่จะพูดจากับผม เราจะรู้จักกันอย่างเป็นทางการในวันรุ่งขึ้น



     ผมตื่่นเช้ากว่าทุกวัน เมือมาเดินเกร่ออยู่แถวสะพานไม้สักพักหนึ่ง ผมเห็นผ้าเช็ดหน้าสีขาวผืนหนึ่งตกอยู่ ผมจำผ้าแบบนี้ได้ถนัด เป็นผ้าเช็ดหน้่าที่เธอชอบถือ ผมหยิบมันขึ้่นมาด้วยความดีใจ ผ้าเช็ดหน้าสีขาวมีคราบน้ำค้างและเปื้อนดิน บางที่เธออาจทำตกไว้ตั้งแตาเมือคือนนี้ก็ได้ เพราะผมคิดวาเธอคงกลับบ้านดึกเมืองคืนที่ผ่านมา ผมรอเธออยู่สักครึ่งชั่วโมง จนกระทั่งสายมาก ผมคิดว่าเธออาจไปวิทยาลัยแต่เช้าก็ได้ในวันนี้หรือบางที่เธออาจหยุดเรีรย ผมคิดขณะเดินไปขึ้นรถเมล์อย่างเหงาๆ แต่ก็ปีติใจที่เก็บผ้าเช็ดหน้าผืนน้อยได้ ผมจะเอามันไปคืนแก่เธอเมือพบกัน ทีนี้ผมจะไม่เก้อจนเกินไป เพราะมีสิ่งที่เป็ื่อให้เราได้ทำความรู้จักอย่างเป็นกิจจะลักษณะมากขึ้น ผมพับผ้เช็ดหน้าผืนนั้นใส่หนังสือเรียไว้อย่างเรียบร้อย

   ผมกลับมาบ้านในตอนเย็นเร็วกว่าปกติ เพราะไม่ต้องการพลาดรถของวิทยาลัยที่จะพาเธอกลับบ้าน มานั่งรอที่ป้ายรถเมล์เหมือนเคย..เอ๊...ผ้าเช็ดหน้าผืนนี้ของคุณหรือเปล่าครับ..คิดว่าคุนคงยังไม่ตั้งใจจะทิ้งผ้าเช็ดหน้าผืนนี้นะครับ...ผมคิดว่าผ้าเช็ดหน้าสีขาวผืนนี้เป็นของคุณนะครับ...ผมวนเวียนคิดอยูแต่ว่าจะพูดประโยคไหนกับเธอที่เข้าท่าที่สุด แต่ผมก็ไม่มีโอกาสจะพูดเหมือนที่ตั้งใ เพราะแม้กระทั้งบรถของวิทยาลัยของเธอผ่านไปแล้ว จนเกือบหกโมง เธอก็ยังไม่กลับมา

   รถตำรวจเปิดหวอวิ่งเข้าำปในซอยบ้านผมสองคัน มีคนพลุกพล่านผิดปกติ ตีกันอีกละซิ  ผมนึกในใจขณะที่เดินเข้าซอยหย่างหงอยเหงา

    มีเสียงจ้อกแจ้กกันตั้งแต่ปากซอยว่ามีคนตาย ผู้คนโดยเฉพาะเด็กๆ วิ่งเข้าไปดูทางซอยลึก เมือมองไปข้างหน้าผมจึงเห็นผู้คนเป็นร้อยชุมนุมกันอยู่ที่สะพานไม้ รถของมูลนิธิร่วมกตัญญูวิ่งผ่านผมไป

    มีใครตายที่สะพานนั่นแน่ๆ แล้ว ซอยระยำนี่มันช่างไม่น่าอยู่เลย นี้เป็นหนที่สามแล้วที่ปมเห็นเหตุการ์ทำนองนี้ ครั้งที่แล้วจิก็โก๋แทงกันตายก็ำใกล้ๆสะพานไม้แห่งนี้ ผมคิดว่าจะชวนพี่ย้ายบ้านไปอยู่ที่อื่นเมื่อเรียนจบ เพราะเบื่อความเป็นซอยทรชนของที่นี่เต็มที่ แต่วูบหนึ่งผมคิดว่าผมจะยังไม่ย้ายไปไหนจนกว่าจะได้รู้จักกับเธอ และถ้าอะไรเป็นเหมือนที่ผมฝัน ผมอาจไม่ย้ายไปไหนเบลยก็ได้


       ผมตั้งใจจะเดินเข้าบ้านโดยไม่แวะดูการเก็บศพซึ่งคิดว่าคงอยู่ในคูน้ำนั้น แต่เมื่อแว่วๆ ไทยมุงพูดว่าคนตายเป็นผู้หญิงทำให้ผมเบียบเสียดเข้าไปดูกับเขาบ้าง

 
       ผมออกมารอรถเมล์สายกว่าปกติ ไม่ได้เสียเวลาแม้แต่นิดเีดียวที่สะพานไม้แห่งนั้น แวะซื้อหนังสือพิมพ์ที่ร้านปากซอย รูปของเธอคนที่ผมอยากรู้จัก เธอคนที่ผมฝันถึงปรากฎอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์รายวันทุกฉบับ พร้อมด้วยพาดหังและรายงานข่าวอยางพิสดาร ที่นี้ผมก็รู้จักเธอผู้อยู่ในซอยเดียวกับผมแล้ว รู้ว่า เธอชื่ออะไร มาจากไหน อยู่กับใคร แต่จะมีประโยชน์อะไรอีกเล่า....


คมทวน คันธนู กวีซีไรต์ ปี พ.ศ.2526
"นาฎกรรมบนลานกว้าง"

คมทวน คันธนู เป็นนามปากกา ประสาทพร ภูสุศิลป์ธร สำเร็จการศึกษา ปริญญาตรีจาก คณะวารสารศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เมื่อสำเร้จการศึกษาได้ทำงานนิตยสาร และหนังสือพิมพ์หลายแห่ง..ปัจจุบันเป็นนักเขียนอิสระ

    เสียงเพลงช้าเจ้าหงส์ลอยหลงเือื้อน
    ภาพสงกรานต์กลางเดือนยังเหมือนฝัน
    เป็นต้นเสียงสื่อสารในงานนั้น
    ตาต่อตาต้องกันก็เอียงอาย
    เพียงคืนวันผ่านไม่นานนัก
    พร้อมความรักแรกพลันได้ผันผาย
    เจ้าทิ้งนามากรุงหวังมุ่งสบาย
    ลืมปู่ย่ตายายลืมไร่นา
    ลืมเสียงแคนแล่นแตบ่แลเหลียว
    ลืมข้าวเหนียวปลาแดกเหมือนแปลกหน้า
    ลืมกระทั่งยอดกระถินที่ิชินชา
    ลืมเปลงแดดแผนกล้าอยู่กลางลาน











อัศศิริ ธรรมโชติ กวีซีำไรต์ ปี พ.ศ.2524
"ขุนทองเจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง"

อัศศิริ ธรรมโชติเป็นชาวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อจบการศึกษาแล้วได้เริ่มทำงานกับผู้ผลิตหนังสือ"ประชากร"ระยะหนึ่ง ก่อนจะโยกย้ายไปประจำ "ประชาชาติ"สยามรัฐรายวัน"..และหวนคือนสู่ "สยามรัฐ"กระทั่งปัจจุบัน
ขุนทอง...เจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง"ซึ่งเป็นการรวมเรื่องสั้นครั้งแรกและได้รับรางวัลสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน ปี พ.ศ. 2524 ประกอบด้วยรวมเรื่องสั้น 13 เรื่องโดยเนื้อหารวมๆ-ายในเล่ม เ็ฯเรื่องสั้นที่สะท้อนภาพสังคมในแง่มุมตาง ๆ เช่น "เธอยังมีชีวิตอยู่อย่างก็ในใจฉัน"ดอกไม้ที่เธอถือมา ขุนทอง..เจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง เป็นเรื่องจากหตุการณ์การเมืองหลัง 14 ตุลา16 และ6 ตุลา 19 เรื่อง แล้้วหญ้าแพรกก็แหลกลาญ เป็นเรื่อการต่อสู้กับอำนาจ ..บนท้องน้ำเมือยามค่ำ เสนอปัญหาความยกาจนและจริยธรรมของมนุษย์.. ถึงคราจะหนีไปไกลจากลำคลองสายนั้น เป็นเรื่องของโสเภณีที่ไม่ต้องการให้ลูกสาวอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เลวร้าย.. เส้นทางของหมาบ้า เสนอกิเลสตัณหาความบ้าคลั่งของมนุษย์... ในกระแสธารแห่งกาลเวลา สะท้อนการศักษา.. เมื่อลมฝนผ่านมา เป็นเรื่องเกี่ยวกับสาธารณสุข...เมื่องยามเย็นย่ำของวันอันร้าย,เสียแล้วเสียไป,เช้าวันต้นฤดูฝน บอกเล่าเรื่องราวของคนยากจนทังชนบทและในสังคมเมื่อง ...รถไฟครั้งที่ 5 เรื่องพ่อส่งลูกสาวมาเป็นโสเภณี



เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีซีไรต์ พ.ศ.2523
"เพียงความเคลื่อนไหว"

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เป็นชาวจังหวัดกาญจนบุรี จบการศึกษาคณะนิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

   ชั่วเหยี่ยวกระหยับปีกกลางเปลวแดด                 ร้อนที่แผดก็ย่อนเพลาพระเวหา
   พอใบไม้ไหวพลิกริดริกมา                                 ก็รู้ว่าวันนี้มีลมวก
 
   เพียงกระเพื่อมเลื่อมรับวับวับไหว                      ก็รู้ว่าน้ำใสใช่กระจก
   เพียงแววตาคู่นั้นสั่นสะทก                                 ก็รู้ว่าในหัวอกมีหัวใจ

   โซ่ประตูตรึงผูกถูกกระชาก                                 เสียงแห่งความทุกข์ยากก็ยิ่งใหญ่
    สว่างแวบแปลบพร่มาไรไร                                ก็รู้ได้ว่าทางยังพอมี

    มือที่่กำหมัดชื้นจนชุ่มเหงื่อ                               ก็ร้อนเลือดเนื้อถนัดถนี่
    กระหืดหอบฮวบล้มแต่ละที                                ก็ยังดีที่ได้สู้ได้รู้รส

    นิ้วกระดิกกระเี้ยได้พอให้เห็น                             เรี่ยวแรงที่แฝงเร้นก็ปรากฎ
    ยอมหญ้าแยงหินแยกหยัดระชด                         เกียรติยศแห่งหญ้าก็ระยับ

    สี่สิบปีเปล่าโล่งตลอดย่าน                                 สี่สิบล้านไม่เคยเขยื้อนขยับ
    ดินเป็นทรายไม้เป็นหินจนหักพับ                        ดับและหลับตลอดถ้วนทั้งตาใจ

    นกอยู่ฟ้านกหากไม่เห็นฟ้า                                 ปลาอยู่น้ำย่อมปลาเห็นน้ำไม่
    ไส้เดื่อนไม่เห็นดินว่าฉันใด                                หนอนย่อมไร้ดวงตารู้อาจม

    ฉันนั้นความเปื้อยเน่าเป็นของแน่                       ย่อมเกิดแก่ความนิ่งทุกสิ่งสม
    แต่วันหนึ่งความเน่าในเปือกตม                          ก็ผุดพรายให้ซมซึ่งดอกบัว

    และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฎ                     เป็นความงดความงามใช่ความชั่ว
    มันอาจขุ่นอาจข้นอาจหม่นมัว                           แกีก็เริ่มจะเป็นตัวจะเป็นตน

    พอเสียงร่ำรัวกลองประกาศกล้า                         ก็รู้ว่าวันพระมาอีกหน
    พอปีนเปรี้ยงแปลบไปในมณฑล                        ก็รู้ว่าประชาชนจะชิงชัย




   คำพูน  บุญทวี  กวีซีไรต์คนแรกของไทยเมื่อ พ.ศ. 2522
   "ลูกอีสาน"


   คำพูน บุญทวี เดิมชื่อ คูน เป็นชาว ต.ทรายมูล อ. ยโสธร  จ.อุบลราชธานี  ปัจจุบันเป็นอ. ทรายมูลจ.ยโสธร จับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่อมาเดินทางเข้ากรุงเทพ เป็นกรรมกรรับจ้างรายวันที่ท่าเรื่อคลองเตย..กระทั่งสอบเป็นครูได้บรรจุที่ภาคใต้ สอนหนังสืออยู่ 11 ปี จึ่งเปลี่ยนมาเป็นผู้คุมเรื่อนำ ..
   เขาเขียนนวนิยายเรื่อง"เจ็กบ้านนอก"โดยใช้นามปากกาว่า กิมหลั่น และร่วมกันทำสำนักพิมพ์โป๊ยเซีย เพื่อพิมพ์หนังสือของครอบครัว..

 ลูกอีสาน  เป็นการนำเรื่องราวจากประสบการณ์ที่ผู้เขียนพบเห็นถ่ายทอดในรูปนิยายโดยได้เขียนเป็นตอนๆ ประมาณ 36 ตอน เพื่อพิมพ์ในนิตยสารฟ้าเมืองไทย ช่วงปีพ.ศ.2518-2519
   ลูกอีสาน  ใช้วิธีการเล่าเรื่องโดยผ่านเด็กชายคูนซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในถ่ินชนบทของอีสานแถบที่จัดได้ว่าเป็นถิ่นที่แห้งแล้งแห่งหนึ่งของไทยผู้เขียนได้เล่าถึงขนบธรรมเนียม ประเพณี ตลอดจน ความเชื่อของชาวอีสาน รวมไปถึง การบรรยาย ถึงสภาพความเป็นไปตามธรรมชาติของผู้คนและสภาพแวดล้อม เช่น การเกี้ยวพาราสีกัน ของทิดจุ่น และพี่คำกอง จนท้ายที่สุดก็ได้แต่งงานกัน การออกไปจับจิ้งหรีดของคูน การเดินทางไปหาปลาที่ลำน้ำชีเพื่อนำปลามีทำอาหารและเก็บถนอมเอาไว้กินนานๆ ด้วยการทำปลาร้า เป็นต้น นอกจากนั้น ยังแทรกความสนุกสนาน เพลิดเพลิน จกาการทำบุญตามประเพณี ไว้หลายตอน ด้วยเช่นกัน ได้แก่ การจ้างหมอลำหนู ซึ่งเป็นหมอลำ ประจำหมู่บ้าน ลำคู่กับหมอลำฝ่ายหญิง ที่ว่าจ้างมาจากหมู่บ้านอื่น ทั้งกลอนลำ และการแสดงออก ของหมอลำทั้งสอง สร้างความสนุกสนาน ครึกครื้น แก่ผู้ชมที่มาเที่ยวงาน อย่างมาก ลูกอีสาน เป็นการถ่ายทอดเรื่องราว จากประสบการณ์ ด้วยภาษาที่ตรงไปตรงมาและแสดงให้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ของชาวอีสานว่า ต้องเผชิญ กับความยากลำบากอยางไร การเรียนรู้ ที่จะอดทน เพื่อเอาชนะ กับความยากแค้น ตามธรรมชาติ ด้วยความมานะบากบั่น ความเอื้อารี ที่มีให้กันในหมู่คณะความเคารพในระบบอาวุโส สิ่งเหล่านี้ ปรากฎอยู่ในแต่ละตอนของลูกอีสานรวมทั้งการแทรกอารมณ์ขันลงไปด้วย..

 




วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

The Gupta Period

     อินเดียเป็นดินแดนอารยธรรมแห่งหนึ่งของโลก อารยธรรมอินเดียมีอิทธิพลต่อดินแดนต่างเป็นอย่างมากโดยเฉพาะเอเซียตะวันออกและเอเซียอาคเนย์  
     รากฐานศิลปะก่อนสมัยอินเดียโบราณคือวัฒนธรนรมที่ใช้ภาษาสันสกฤต มีศิลปะที่เมืองหะรับปา และโมเหนโช ดาโร ทางแถบลุ่มแมน้ำสินธุก่อนพุทธกาล 1,500 ปี
ยุคอินเดียโบราณ ที่ค้นพบอยู่ในช่วงราชวงศ์โมริยะ ศิลปะแบสาญจี และพระเจ้าอโศกมหาราช และถ้ำต่าง ๆ ศิลปะเกี่ยวกับพุทธศานาใช้สัญลักษณ์แทนเป็นการสลักบนรั้วและประตูล้มรอบสถูป


CCUBUD2
ศิลปะคันธารราฐ อินเดียสมัยนั้นเคยอยู่ใต้ปกครอง พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ซึ่งกรีฑททัพมาก่อนคริสกาล 200 ปี พวกถือรูปแบบเคารพเพิมที่เป็นเทพเจ้าของตนที่ปฏิบัติสืบทอดต่อๆ กันมาและเมื่อหันมานับถือพุทธศาสนา การสร้างพระพุทธรูป ครั้งแรกจึงเกิดขึ้น เป็นการผสมผสาน ศิลปะแบบกรีกโรมันและอินเดียโบราณที่สัมพันธ์กับมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ ของพระพุทธเจ้าอย่างลงตัวพระพุทธรูปคันธราฐจึงได้รับการยกย่องและยอมรับจากทั่วโลกว่ามีพุทธศิลปงดงามที่สุด และเก่าแก่ที่สุดของโลก

      พระมิลินท์ ทรงเลื่อมใสพระพุทธศาสนาและทำนุบำรุงให้รุ่งเรือง หลังการล่มสลายของวงศ์เมาริยะ เริ่มมีการสร้างพุทธรูป จำหลักหินขึ้นอย่างมากมาย เป็นศิลปกรรมแบบกรีกปสมอินเดีย เรียกตามเชื่อเมืองว่า ศิลปคันธารราฐ…

marura





 ศิลปแบบมธุรา กำเนิดทางตอนเหนือของอินเดีย พบในสมัยเดียวกันกับ คันธารราฐ เป็นพระพุทธรูปแบบไม่มีมุ่นพระเกศา






23-11-2554-15-56-33


ศิลปอมราวดี แหล่งกำเนิด อยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำกฤษณา ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 6-9 ขณะนั้นดินแดนแป่งนี้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของ ราชวงศ์อานธระ มีการสร้างงานศิลปกรรม เนื่องในพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก โดยในเมืองอมราวดีและเมืองนาคารชุนิโกณฑะ เป็นศูนย์กลางที่สำคัญ 
     ศิลปอมราวดีมีอายุร่วมสมัยเดียวกับศิลปะ แบบ คันธารราช และแบบ มธุรา ซึ่งเจริญขึ้นทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและทิศเหนือของอินเดีย แต่มี ลักษณะรูปแบบทางศิลปะและสุนทรียภาพ ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตน ต่างกันไป ลักษณะรูปแบบขแงศิปละอมราวดีแสดงให้เห็นว่ามีการสืบทอดรักษาประเพณี วัมนธรรมพ้อนเมืองที่มีมาก่อน และได้รับอิทธิพลศิปละต่างถิ่นที่แพร่หลายเข้ามาแต่ไม่มากนัก เช่น ศิลปะกรีก-โรมัน …


  



  สมัยคุปตะ  ช่วงพุทธศตวรรษที่ 9-11 ราชวงศ์คุปตะทางอินเดียตอนเหนือเจริญรุ่งเรือง ในสมัยราชวงศ์นี้ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองทางศาสนา วรรณคดี ศิลปกรรมและปรัชญา กษัตริย์ราชวงศืนี้ส่วนมากจะเป็นฮินดู แต่ก็ทรงอุปถัมภ์คุ้มครองพุทธศาสนา โดยเฉพาะฝ่ายมหายาน
    กษัตริย์ที่มีบทบาทสำคัญได้แก่ พรเจ้าจันทรคุปต์ พระเจ้าสมุทรคุปต์ พระเจ้าวิษณุคุปต์ และพระเจ้าสกันธคุปต์
    การปกครองสมัยคุปตะเป็นแบบกระจายอำนาจไปตามท้องถิ่น มีการค้าขายมากขึ้นกับเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะอินโดนิเซีย มาเลเซีย กัมพูชา และไทย พ่อค้าที่ร่ำรวยนิยมบริจาคเงินเพื่อสร้างงานสำคัญทางศาสน เช่น สถูปที่สัญจี อมาราวตี…
     พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานได้รจนาคัมภีร์ขึ้นมากมาย ทางด้านศิปล มี ศาสนสถาน และศาสนวัตถุ พระพุทธรูปมีหลายขนาดหลายปาง
    ทางด้านปรัชญา มีนัปรัชญาทางพุทธศษสนหลายท่าน อาทิ ท่านนาคารชุน ท่านอสังคะ และท่านวสุพันธ์ ท่านเหล่านี้ประกาศพุทธปรัชญาให้เป็นที่สนใจแก่ประชาย ..
   การศึกษา การศึกษาทางพุทธศาสนามีความเจริญก้าวหน้า ได้เกิดมหาวิทยาลัยนาลัน และมหาวิทยาลัยอื่นๆ อรทิ มหาวิทยาลัยวัลภี มหาวิทยาลับวิกรมศิลา..






















ศิลปะคุปตะ มีความสำคัญเป็นอย่างมากกล่าวคือได้ส่งรูปแบบให้กับศิลปะในช่วงหลัง คือ ศิปลปาละ-เสนะ ซึ่ง ศิปลปาละ-เสนะได้มีอิทธิพลต่อศิลปะในเนปาล ทิเบต และศิลปะทางภาคเหนือของไทย รวมทั้งในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ คาบสมุทรมลายู และในอินโดนีเซียที่ บุโรพุทธโธ ..






 























  ศิลปะทมิฬ หรือ ดราวิเดียน   ศิลปะแบบทมิฬแบบที่เก่าที่สุดเป็นประติกมกรรมจากศิลา รูปสำริดและสลักจากไม้  ที่รู้จักกันดีคือ รูปพระศิวะนาฎราชฟ้อนรำอยู่ในวงเปลวไฟ สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่หลังคาสร้างเป็นหินซ้อนกันเป็นชั้น..

“สมัยต่อมา พระอิศวรเป็นเจ้าเสด็จประทับ
อยู่ท่ามกลางเทวสภาบนเขาไกรลาสมีพระประสงค์จะทรงแสดงการฟ้อนรำให้เป็นแบบฉบับ   จึงเชิญพระอุมาให้ประทับเป็นประธานเหนือสุวรรณบัลลังก์ เหล่าเทพเจ้าทั้งหลาย
ประกอบทิพย์ดนตรี  คือ

                   พระนารายณ์            ทรงโทน
                   พระลักษมี               ทรงขับขาน
                   พระพรหม               ทรงฉิ่ง
                   พระอินทร์                ทรงขลุ่ย
                   พระสุรัสวดี              ทรงพิณ
และองค์อิศวรทรงฟ้อนรำให้เหล่าบรรดาเทพยดา ฤๅษี คนธรรพ์  ยักษ์  นาค ทั้งหลายที่ขึ้นไปเฝ้าได้ชมอีกครั้งหนึ่ง  ในครั้งนี้พระนารทฤๅษี ซึ่งอยู่ในที่นั้นจึงบันทึกสร้างเป็น
ตำราการฟ้อนรำขึ้น  เรียกว่า  ตำราคันธรรพศาสตร์”


     จากตำนานต่างๆ ชาวอินเดียจึงถือว่าเมืองจิทัมพรัม แค้วนทัทราฐในอินเ
ดียตอนไต้เป็ฯสถานที่ซึ่งพระอิศวรปางเมื่อเสด็จมาแสดงตำราฟ้อนรำให้มนุษยโลก ดังนั้นจึงคิดสร้างเทวรูปพระอิศวรปางเมืองทรงแสดงการฟ้อนรำ เรียกว่า “นาฎราช” (หรือ ปางปราบอสูรมูลาคนี) ถ่ายแบบสร้างต่อออกไปอย่างแพร่หลาย  ทั้งนี้ปรากฎเทวสถานแห่งหนึ่งสร้างไง้เมือประมาณพ.ศ.1800 ปรากฎลายเครื่องประดับซุ้มจำหลักเป็นรูปพระอศวนฟ้อนรำครบทั้ง 108 ท่า ตามปรากฎในตำราของพรภารตฤาษี…




71926ed6


    ศิลปะปาละ-เสนะ ศิลปะทางพุทธศาสนา ของอินเดียทางเหนือ ภายใต้การอุปถัมภ์ ของราชวงศปาละ-เสนะในแคว้นเบงกอลและพิหาร  พุทธศานในสมัยปาละ คือ พุทศาสนาลัทธิตันตระ ซึ่งกลายมาจากมหายาน โดย สถาปัตที่สำคัญ คือมหาวิทยาลัยนาลันทา ซึ่งเป็นศูนย์กลางการสอนพุทธสาสนาแบบตันตระ ในแคว้นเบงคอล ยุคราชวงศ์เสนะ นับถือฮินดู จึงเป็นยุคของประติมากรรมแบบฮินดู
   ศิลปะแบบปาละ-เสนะ ได้แพร่หลายไปยังที่ต่าง ๆ เช่นอ เนปาล ธิเบต ศรีลังกา ชวาทางภาคกลาง เกาะสุมาตราในอินโดนีเซีย พม่า และไทย..

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

Vajrayana


   นักบวชในศาสนาฮินดูปราชญ์ในศาสนาพราหมณ์ซึ่งโจมตีทั้งคำสอนของพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งในหลายสิ่งและหลายเหตุผล ที่ทำให้พุทธศาสนาสาบสูญไปจากชมพูทวีป
    พราหมณ์ศังกราจารย์ ได้ประกาศศาสนาฮิดูอย่างเข้มแข็งและเอาจริงเอจัง โดยใช้วิธี “กลืน”พระพุทธศาสนาเข้ากับฮินดู ด้วยการเลียนแบบ เช่น การมีวัด มีสงฆ์เหมือนพระพุทธศาสนา และปลูกฝังความเชื่อที่ว่า พระพุทธเจ้าเป็นอวตารของพระนารายณ์ ปางที่ 9 ชื่อว่า “พุทธาวตาร” ซึ่ง ศังกราจารย์ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งกับการปลูกฝังความเชื่อนี้ ประชาชนไม่เห็นความแตกต่างระหว่างพุทธกับฮินดู…
   ศาสนาฮินดูก็คือศาสนาพรหมณ์เดิม โดยประมาณปี  พ.ศ. 1,300 นักบวชไศวะได้นำหลักธรรมและปรัชญาในศาสนพุทธนิกายมหายานมาปรับให้เข้ากับศาสนาพราหมณ์ และตั้งชื่อเรียกใหม่ว่า ศาสนาฮินดู  ashvagosa-nagarjuna
   เป็นที่รู้กันว่า ศาสนาพุทธนั้นเป็นศาสนาเดียวในอินเดียที่ไม่ขึ้นต่อระบบวรรณะ ซึ่งก็คือการต่อต้านหรือคัดค้านความเชื่อที่มีมาแต่ก่อน
  ด้วยอัจฉริยภาพทั้งของพระศาสดาและเหล่าอัครสาวกในระยะเริ่มแรกพุทธศาสนาจึงได้รับการตอบรับและเจริญรุ่งเรื่องอย่างรวดเร็วในดินแดนชมพูทวีปประกอบกับการได้รับความอุปถัมภ์จากกษัตริย์ และการอุปถัมภ์จากกษัตริย์หรือบุคคลในสังคมชั้นสูงยังเป็นปัจจัยสำคัญของความเจริญรุ่งเรื่องทั้งในชมพูทวีปและดินแดนอื่นๆ ที่พุทธศาสนาแพร่เข้าไปถึง..
  การกำเนิดมหายาน เป็นวิวัฒนาการก้าวกระโดด และมีความสำคัญอย่างยิ่งในประสวัติศาสตร์ของพุทธศาสนา
   คำสอนและอุดมการณ์ของมหายานตั้งอยู่บนรากฐานแห่งความเชื่อในองค์พระพุทธเจ้าพระโพธอสัตว์(ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า)อีกทั้งเทพอีกหลายองค์
   อันที่จริงแล้วพระนามของพระโพธิสัตว์เล่านี้เป็นนามธรรมของคุณสมบัติ ซึ่งเป็นนามธรรม แต่ก็เช่นเดียวกับคำสอนในศาสนาทั้ง เมื่อกาลเวลาล่วงเลยไป ผู้คนพากันหลงลืมนามธรรม ยึดมั่นในรูปธรรม ไม่นำพาคุณสมบัติ ทว่าไปยึดติดในรูปสมบัติเมื่อนามธรรมถูกสมมติให้มีตัวตน เป็นพระโพธิสัตว์ มี่ฐานะเท่ากับเทพเจ้าองค์หนึ่ง และเมือเป็นเทพเจ้าก็ต้องได้รับการบูชากราบไหว้ เซ่นสรวง..
   เมื่อเทพเจ้าทั้งชายหญิงเกิดขึ้นมามายพร้อมกับพิธีกรรมเซ่นสรวงอันละเมีอยละไมเช่นนี้ บรรดาสมณะหรือภิกษุสงฆ์ก็พากันสนใจพิธีกรรมเหล่านี้ยิ่งขึ้น การศึกษาพระธรรมวินัยก็ย่อหย่อนงไปเป็นเงาตามตัว และเหนือสิ่งอื่นใด การประกอบพิธีกรรมเซ่นสรวงนานาชนิดนั้น นำมาซึ่งลาภสัการะอย่างมากและง่ายดาย
   เหตุการเสื่อมของพุทธศาสนาในอินเดีย
ประวัติศาสตร์ให้บทเรียนว่า สถาบันหรือขนบธรรมเนียมใดๆ ก็ตามซึ่งระยะเริ่มต้น อาจจมีคุณูปการหรือประโยชน์ต่อสังคม แต่เมือกาลเวลาได้ล่วงเลยไป หากสถาบันหรือขนบธรรมเนียมนั้น ๆ ไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เกมาะสมกับกาละเทศะ สถาบันหรือขนบธรรมเนียมดังกล่าว  อาจกลายเป็นอุปสรรคสิ่งขัดขวางต่อการเจริญก้าวหน้าของสังคมนั้นๆ
    พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เกิดในอินเดียศาสนาเดียวที่ไม่เข้าไปข้องเกี่ยวกับวัตรปฏิบัตทางสังคม พุธศาสนาไม่มีบทบัญญัติเป็นกิจจะลักษณะในเรื่องเกี่ยวกับการเกิด การตาย หรือการแต่งงานของพุทธศาสนิกชน พุทธศาสนาให้เสรีภาพในกิจกรรมเหล่านี้แก่พุทธศาสนิกชนอย่างสมบูรณ์
ในทัศนะของปราชญ์บางท่าน(นลินกฺษ ทัตต)เห็นว่า แม้ในระยะเริ่มแรกแห่งการก่อตั้งและเผยแผ่จะเป็นผลดีแก่พุทธศาสนา แต่ในกาลไกลแล้วเมืองวัตรปฏิบัติของศาสนิกหย่อนยาน เปิดโอกาสใหผู้มีทัศนะและความเชื่อถือแปลกแยกเข้ามาปะปนทำลายเอกภาพ
   นลินากฺษ ทัตต แสดงความเห็นไว้วา การวางตนไม่เข้าแทรกแซงกิจการทางสังคมในระยะแรกๆ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่พรุทธองค์และสานุศิษย์ผู้ปรีชาญาณของพระองค์ยังดำรงพระชนม์ชีพอยู่นั้น เป็นผลดี แต่เมื่อเวลากาลล่วงเลยมาแล้ว ลัทธิความเชื่อตลอดจนพิธีกรรมเก่า ๆ ของพราหมณ์ที่มีมาแต่โบราณ จึงคืนชีพขึ้นมาอีก
  แก่นแห่งพุทธ ได้ถูกกระพี้แห่งศาสนาพราหมณ์ปกปิด หรือบดบัง อย่างแทบจะมองไม่เห็น โดยเฉพาะจาสามัญชนคนธรรมดา
   พฤติกรรมทำนองเดียวกันได้เกิดในประเทศอื่นที่พุทธศาสนาได้แผ่ไปถึง เมื่อพุทธสาสนาได้เข้าไปประดิษฐานเป็นเวลานาน ทั้งได้รับความเทิอทูลสัการะอย่างสุงจากประชาชน แต่ในขณะเดียวกันอิทธพลของวัฒนธรรม ตลอดจนลัทธิความเชื่อถือ เดิมของท้องถิ่นก็เข้าผสมปนเปกับคำสอนอันแท้จริงของพุทธศานา อยางจะแยกกันไม่ออก
   ความตกต่ำทางมาตรฐานของสงฆ์ ตราบใดที่คณะสงฆ์มีสมาชิกที่ทรงความรู้ความสามารถเป็นประทีปทางปัญญาให้แก่ปวงชน ตราบนั้นพุทธศาสนาก็อยู่ในฐานะสูงส่ง ..เมื่อหลังพุทธปรินิพพานไม่นานก็ปรากฎตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า ได้มีความย่อหย่อนเกิดขึ้นทั้งในทางระดับภูมิปัญญา และวัตรปฎิบัติ จนเกิดการสังคายนากันเป็นระยะ ๆ ตลอดมา 


    ลัทธิตันตระ เป็นวิวัฒนการขึ้นต่อมาของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน  ความเชื่อลัทธิทางศาสนานั้น มีอิทธิพลอย่างมากมายต่อพฤติกรรมในชีวิตของมนุษยื พิธีกรรมหรือวัตรปฏิบัติ อันเกิดจากความเชื่อทางศษสนามากมายหลายกรณี ซึ่งแรกเริ่มเดิมที เกิดจากเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์อันดีงาม เป็นบุญกุศล แต่พอกาลเวลาล่วงเลยไปกิเลสของกลับแปรเปลี่นให้พิธีกรรมหรือ วัตรปฏิบัติเหล่านั้น หัสเหปในทางที่เลวร้าย…

   ตันตระอันเป็น วิวัฒนาการขึ้นต่อมาในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ความเชื่อและวัตรปฏิบัติที่นำ พุทธศาสนาไปสู่ความหายนะขั้นสุดท้ายในประเทศอินเดีย
  ตันตระประกอบด้วยคำสอนหลัก  5 ประการ ชื่อว่า  5 ม  คือ เหล้า – มัทยะ   เนื้อ – มางสะ  มัตสยะ – ปลา   มุทรา - ท่าทาง   ไมถุน - การเสพสังวาส     ทุกวันนี้ “ตันตระ” ก็ยังมีอยู่ทั่วไปในโลก
     เป็นเวลากว่า 4 ศตวรรษที่ ชาวอินเดียทั้งประเทศซึ่งเดิมนับถือ พราหมณ์ฮินดู และ พุทธ ต่างก็กตอยู่ในความครอบงำของลัทธิตันตระไม่เฉพาะแต่สามัญชน หากชนชั้นสูงรวมทั้งชนชั้นผู้ปกครองด้วยเช่นกัน

 
 
“How India Lost Buddhism?”
“ในขณะที่ความเสื่อมทางศีลธรรมและจิตใจกำลังมาสู่ประชาชาติอินเดียดังได้พรรณามานี้ การแบ่งแยกถือชั้นวรรณะตามศาสนาพราหมณ์ก็กระหน่ำทำให้ชีวิตสังคมอ่อนเปลี้ยลงอย่างที่สุด และในขณะที่ความ “เร้นลับ” ของลัทธิ “ตันตระ” กำลังทำmahmood_ghaznawi ให้สมองของประชาชนหมดสมรรถภาพอยู่นั้น กองทัพอันเกรียงไกรของมุสลิมก็เคลื่อนขบวนมาจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ คล้ายกับมรสุมใหญ่ที่กำลังพัดมาเพื่อทำความสะอาดให้แก่สิ่งโสโครกทั้งหลาย บรรดาโบสถ์วิหารและทรัพย์สมบัติเครื่องบูชาอันมีค่ายวดยิ่ง ซึ่งสะสมกันไว้ตั้งร้อย ๆ ปี ได้ถูกทำลายพินาศลงด้วยน้ำมือของพวกรุกรานมุสลิม ปฏิมาของพระโพธิสัตว์และเทพยดา ทั้งหญิงชาย ได้ถูกเหวี่ยงลงจากแท่นบูชาและเผาผลาญไม่มีเหลือ ไม่มีสิ่งใดเป็นเครื่องศักดิ์สิทธิ์ สำหรับนักรบมุสลิมผู้กระหายอำนาจและทรัพย์สมบัติเหล่านี้ “มนตร์” และพิธีกรรมต่าง ๆ ทางลัทธิ “ตันตระ” ที่เชื่อกันว่า “ขลัง” ยิ่งนักนั้นปรากฏว่าไม่สามารถให้ความคุ้มครองได้ บรรดา “ผู้สำเร็จ” และ “อาจารย์” องค์สำคัญ ๆ ต่างพากันยืนมือเท้างอต่อหน้ากองทัพมุสลิม ในที่สุดขณะที่พวก “ตันตระ” กำลังประกอบพิธีกรรมและสวด “มนตร์” อยู่อย่างไม่ลืมหูลืมตา แผ่นดินทางอินเดียภาคเหนือก็ตกไปอยู่ในกำมือของมุสลิมอย่างราบคาบ”
โดย พระภิกษุ ดร. อานันท์ เกาศัลยายน…
 

 


Nalanda


  นาลันทา
 เป็นชื่อเมือง ๆ หนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากพระนครราชคฤห์ ประมาณ 16 กิโลเมตร(1 โยชน์)  ในปัจจุบันเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ห่างจากกรุงราชคฤห์ไหม่ประมาณ 12 กิโลเมตร ห่างจากเมืองปัตนะรัฐพิหาร ประมาณ 90 กิโลเมตร
   หลวงจีนฟาเหียนซึ่งจาริกมาสืบศาสนาในชมพูทวีป ราว พ.ศ.944-953 บันทึกว่าได้พบเพียงสถูปองค์หนึ่งที่นาลันทา แต่ต่อมาไม่นาน กษัตริย์ราชวงศ์คุปตะที่1 ซึ่งครองราชย์ประมาณ พ.ศ. 958-998 ได้ทรงสร้างวัดอันเป็นสถานศึกษาขึ้นแห่งหนึ่งที่เมืองนาลันทา และกษัตริย์พระองค์ ต่อไ มาในราชวงศ์ได้สร้างวัดอื่น ๆ เพิ่มขึ้นในโอกาสต่างๆ จนมีถึงวัด อยู่ในบริเวฯใกล้เคียงกัน ในที่สุดได้มีการสร้างกำแพงใหญ่อันเดียวล้อมรอบ ทำวัดทั้ง 6 วัดรวมเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว เรียกว่า นาลันทามหาวิหาร และได้กลายเป็นศูนบ์กลางการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ แห่งสำคัญยิ่งที่นักประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน เรียกกันโดยทั่วไปว่ “มหาวิทยาลัยนาลันทา”


     พระเจ้าหาษาวรรธนะ มหาราชพระองค์หนึ่งของอินเดีย  ได้ทรงเป็นองค์อุปถันของมหาวิทยาลัยนาลันทา nalanta03
      นาลันทาเป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนาฝ่ายมหายาม และเพราะความมีกิติศัพท์เรลื่องลือมากจึงมีนักศึกษาเดินทางมาจากประเทศต่าง อาทิ จีน ญี่ปุ่น เอเซียกลาง สุมาตรา ชวา ทิเบต และมองโกเลีย เป็นต้น หอสมุดของนาลันทาใหญ่โตและมีชื่อเสียงทั่วโลก         
     อย่างไรก็ดี ในระยะหลังนาลันทาหันไปสนใจการศึกษาพุทธศาสนาแบบตันตระ ที่ทำให้เกิดความย่อหย่อนและหลงเพลินทางกามารมณ์ เซ่งเมือพระที่ควรงดเว้นเรื่องกามตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนากลับหันมาเสพกาม… ทำให้เหล่าอุบาสก อุบาสิกา เริ่มเกิดการเสื่อมศรัทธา ในขณะที่พราหมณ์เริ่มที่จะปรับตัว เพื่อต่อสู้กับการเจริญเติบโตของพุทธศาสนา จากลัทธิพรากมณ์ที่ไม่มีนักบวช ก็มี ไม่มีวัด ก็มี จากการเข่นฆ่าบูชายันต์สัตว์ ก็หันมานับถือสัตว์บางประเภทและประกาศไม่กินเนื้อ เช่น วัว …


nalanta01

     การล่มสลายของมหาวิทยาลัยนาลันทา
กองทัพมุสลิมเติร์กได้ยกมารุกรานรบชนะกษัตริย์แห่งชมพูทวีปฝ่ายเหนือ และเข้าครอบครองดินแดนโดยลำดับ ทัพมุสลิมเผาทำลายวัดและปูชนียสถานในพุทธศาสนา และสังหารผู้ที่ไม่ยอมเปลี่ยนศาสนา นาลันทามหาวิหารก็ถูกเผาผลาญในช่วงเวลานี้

   



 พระถังซัมจั๋ง หรือ หลวงจีนฮวนซังเดินทางเข้ามาสืบพระพุทธศาสนายังประเทศอินเดีย ท่านได้เดินทางตามเส้นทางสายผ้าไหมเข้ามาสู่แค้วนแคชเมียร์ ซึ่งได้รับการต้อนรับจกากษัตริย์แห่งแค้นให้พำนักและทรงอนุญาตให้คัดลอกคัมภีร์ทางพุทธศาสนา ท่านพำนักอยู่ที่แคว้นนี้เป็นเวลา @ ปี  หลังจากนั้นจึงเดินทางต่อมายังแคว้นปัญจาบ เข้าสู่อินเดียเหนือ ไปสู่เมืองมถุรา และเมืองต่างๆ ในลุ่มน้ำคงคา เข้าเยี่ยมสถานที่สำคัญต่างๆ ทางพุทธศาสนา และได้เข้าศึกษาพระธรรมคำสอนเพื่อเติมในมหาวิทยาลัยนาลันทา เป็นเวลา 5 ปีหลังจาก และพำนักจำพรรษาที่มหสวัทยาลัยนาลันทา.. หลวงจีนฮวนซังหรือพระถังซัมจั๋งเดินทางกลัมาถึงซีอานรวามเวลาทั้งสิ้น 17 ปี ระยะทางกว่า 15,000ไมล์



  บันทึกของพระถังซัมจั๋ง
“…ศูนย์กลางของพุทธศษสนานิกายมหายาน เจริญรุ่งเรืองอยู่ที่เมืองสารนาถ พุทธคย และนาลันทา
… พุทธคยานั้นมีทั้งพระสงฆ์นิกายหินยานของลังกาและพระสงฆ์ในนิกายมหายานของอินเดีย นิกายสางมิตียะซึ่งเป็นนิกายย่อยแตกออกมาจากนิกายเถรวาท เจริญรุ่งเรื่ออยู่ในนแคว้นคุชราต พระสงฆ์ในนิกายนี้มีบทบาทที่สำคัญในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ไปยังสารนาทและศราวัสตีทางทิศตะวันออก ชาวพุทธทั้งมหายานและหินยานในอินเดีย นอกจากจะมีความนิยมในการสร้างวัดเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปแล้ว การสร้างสถูปขนาดใหญ่เพื่อบรรจุพระสารีริกธาตุก็ยังควเป็นที่นิยมของชาวพุทธอยู่เสมอ ๆ แต่เนื่องจากที่พระสารีกธาตุของพระพุทธองค์เริ่มหาได้ยากมาขึ้น ชาวพุทธจึงนิยมบรรจุหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า คาถาเยธมา และพระพุทธรูปไว้ในสถูป และแม้ว่าจะมีการสร้างวัดกลางแจ้งขึ้นเป็นจำนวนมากแล้วก็ตา ความนิยมในกาสร้างวัดดด้วยการเจาะถ้ำเป็นคูหาและสร้างวิหารครอบไว้ด้านหน้า ก็ยังคงเป็นที่นิยมของพุทธศาสนิกชนนิกายมหาน..

… เมืองสารนาถเป็นศูนย์กลางของประติมากรรม มีกุฎิพระสงฆ์ในนิกายสางมิตียะเรียรายกันอยู่ถึง 1,500 หลัง นอกจากนี้ยังพบพระสงฆ์นิกายนี้ที่เมืองศราวัตติในอินเดียภาคเหนืออีกด้วย ถ้ำอชัตาทางตะวันออกเป็นศูนย์กลางของงานจิตรกรรม ซึ่งส่งอิทธิพลให้กับพระพุทธศาสนาในแคว้นคันธารารฐและเกาะลังกา อาณาจักรวัลภีแห่งแคว้นคุรชราตทางตะวันตก มีวัดทางพุทธศาสนามากกว่า 100 แห่งมีพระสงฆ์นิกายสางมิตียะประมาณ 6,000 รูป…

…บามิยาน เป็นเมืองสำคัญทางพุทธศาสนาสายมหายาน ที่มีความวดวามโรแมนติกเป็นอย่างมาก วัดวาอารามทุกวัดสร้างโดยการเจาะเข้าไปในหน้าผาหินทรายที่มีความยาวเป็นไมล์ โดยทำเป็นคูหาเรียงรายกันเป็นแถวดูเหมือนรังผึ้ง ภายนอกสร้างวิหารครอบไว้ด้านหน้า ภายในคูหานอกจากภาพสลักรูปพระพุทธเจ้าแล้ว ที่ผนังคูหาเหล่านี้ยังมีภาพจัตกรรมแบบเดียวกับจิตรกรรมในถ้ำอลันตา…
ในบรรดาคูหาที่เป็นโบลสถ์วิหารและกุถฎิเหล่านี้มีอยู่ 2 คูหาที่มีขนาดใหญ่มาก ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปทาองคำขนาดใหญ๋ ที่มีความสวยงามและสมบูรณ์ หล่อดขึ้นจากสำรัด ขนากสูง 120 ฟุต และ 175 ฟุตตามลำดับ

… บามิยาน เป็นจุดพักแรมของพ่อค้า กองคาราวานสินค้าและนักจาริกแสวงบุญ มีฝูงชนมากมายแออัดตามตลาดนัด มีสินค้าที่หลากหลายให้เลือกซื้อหากลับไปยังบ้านเมืองของตน มีนัเล่านิทานจำอวด ผู้คนที่สนุกสนานและมีความสงบสุข…
ในคูหาถ้ำทางด้านล่างตรงพระบาทขององค์พระ เป็นที่พำนักของพระภิกษุสงฆ์ มีภาพจัตรกรรมฝาผนังอยู่ภายใน เป็นภาพพระโพธิสัตว์ในคติมหายาน ภาพแสดงปางปรินิพพาน ภาพพระพุทธเจ้สพ้นองค์ ภาพสุริยประภาและจันทรประภา ภาพเทวดาและนางฟ้า….



ต่อมาในราชวงศ์หมิง ได้นำ การเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎกของหลวงจีนฮวนจัง มาประพันธ์เป็นวรรณกรรม ซึ่งเป็นวรรณกรรมเรื่องเยี่ยมและยิ่งใหญ่หนึ่งในสี่ของจีน คือ พระถังซำจั๋ง และศิษศ์ทั้งสาม คือ หงอคง (อู้คง) หมายถึง สุญญตา คือความว่างอันเป็นสมาธิขั้นสูงของผู้บรรลุธรรม  "โป็ยก่าย" (ปาเจี้ย) แปลว่า ศีลแปด และ "ซัวเจ๋ง"(ซาเซิง) หมายถึงพระผู้ใฝ่แสวงปัญญา..
    เป็นวรรณกรรมที่ต้องการสะท้อนความไม่พอใจต่อความอ่อนแอ ไ้ร้ความสามรถของชนชั้นปกครอง ที่ปล่อยให้ต่างชาติรุกรานแผ่นดิน และต่อต้านการกดขี่ข่มเหงประชาชนของนักการเมืองในสมัยนั้น โดยผู้กเรื่องเชื่อมโยงการเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎกในชมพูทวีปของพระุถังซัมจั๋ง
    ผู้แต่งให้พวกเขาได้ต่อสู้กับปีศาจร้าย คือความเลวร้ายที่ท่านจ้องเผชิญ ทำให้เห็นถึงวัตรปฏิบัติ และความมุมานะ อุทิศชีวิตฝ่าฟันอุปสรรคเพื่อค้นหา แปล และเผยแผ่พระสัจธรรมในพุทธศาสนาในจีน ทำให้เรื่องราวของพระถังซัมจั๋งเป็นที่ศรัทธาทั้งในหมู่ชาวพุทธ และชาวโลก ทั้งในฐานะนักเดินทาง นักภาษาศาสตร์ และผู้รอบรู้พระพุทธศาสนา...

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555



 ราชวงศ์ถัง

หลังการเสื่อมอำนาจของราชวงศ์ฮั่น แผ่นดินจีนจึงแตกเป็นก๊ก หรือเรียกว่ายุค สามก๊ก กระทั้ง สมุมาเอี๋ยน สถาปนาตนเองเป็นจิ้นอู่ตั้ ก่อตั้งราชวงศ์จิ้นตะวันตก แทนที่ราชวงศ์วุ่นของเฉาเขา หรือโจโฉ  จิ้นตะวันตกปราบว่อก็กได้ รวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่น ยุติยุคสามก๊ก ราชวงศ์จิ้นเปิดรับเผ่านอกต่านทางเหนือเข้ามาเป็นจำนวนมาก สุดท้ายหัวหน้าเผ่าชนเผ่าซงหนู หลิวหยวน ก็ประกาศตั้งตนเป็นอิสระ ยกกำลังเข้าบุลั่วหยาง นครหลวงของจิ้นตะวันตก จับจิ้นหวยตี้ เป็นตัวประกันและสำเร็จโทษในเวลาต่อมา
 
    การล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก ทำให้แผ่นดินจีนโกลาหล ราชสำนักจิ้นย้ายฐานที่มั่นทางการปกครองและเมืองหลวงลงใต้ สถานการณ์ทางตอนเหนือวุ่นวายหนัก แผ่นดินแตกออกเป็นแว่นแค้วนต่างๆ โดยเรียกยุคนี้ว่า ยุคห้าชนเผ่าสิบหกแคว้น เป็นยุคสั้นๆ ที่เกิดการหลอมรวมทางวัฒนธรรมของชาวจีนเชื่อสายต่าง ๆ

   ภาคเหนือของจีนตกอยู่ในภาวะจลาจลและสงครามชนเผ่า หัวหน้าเผ่าทั่วป๋าเซียน สถาปนาแคว้นเป่ยวุ่ย และตั้งนครหลวงที่เมืองผิงเฉิง (มณฑล ซันซีในปัจจุบัน) ยุติความวุ่นวายจากสงครามแย่งชิงอำนาจทางภาคเหนือ..
    หยางเจียนปลดโจวจิ้งตี้จากบัลลังก์ สถาปนาวงศ์สุย จากนั้นกรีธาทัพลงใต้ ยิตุสภาพการแบ่งแยกเหนือใต้อันยาวนานของแผ่นดินจีนได้สำเร็จ
     สุยเหลินตี้ฮ่องเต้ รวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่นได้อีกครั้ง แต่โอรส ไม่มีความสามารถ ทำให้เกิดเหตุการซ้ำรอยราชวงศ์ฉิน บรรดาผู้ปกครองหัวเมืองต่างตั้งตนเป็นใหญ่และแย่งอำนาจกัน ราชวงศ์สุยอยู่ได้เพียงสองรัชกาล..

  ราชวงศ์ถัง
หลีหยวน หรือถังเกาจูฮ่องเต้ ขุนนางใหญ่ในสมัยสุย ได้ลุกฮือที่แดนไท่หยวน และได้บุตรชายคนรองหลีซื่อหมิน ทำการชนะศึกอย่างต่อเนื่อง ได้ตั้งราชธานี ที่เมืองฉางอัน ..สุดท้ายแล้ว หลี่ซื่อหมินขึ้นเป็นถังไถ่จงฮ่องเต้ และเริ่มยุคถัง ซึ่งรุ่งเรื่องเทียบได้กับยุคฮั่น เป็นยุคที่มีความรุ่งเรื่องทั้งทางด้าน แสนยานุภาพทางทหาร การค้า ศิลปะ…

   เหตุการณ์ ณ ประตูเสวียนอู่เหมิน เป็นจุดเปลี่ยนส่งให้ฮ่องเต้ถังเกาจู่สละราชสมบัริตในที่สุดอันเนื่องมาจากแรงกดดันที่มาจากหลี่ซื่อหมิน โดยในปีต่อมา ฮ่องเต้ถึงเกาจู่สละราชสมบัริและหลี่ซื่อหมินก็ขึ้นเป็นฮ่องเต้
   เหตุการณ์มีอยู่ว่า หลี่หยวน หรือ ถังเกาจู่ ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ถังมีทายาทที่เกิจากพระมเหสี 4 คน
   - หลี่เจี้ยนเฉิง
   - หลี่ซื่อหมิน
   - หลี่เสวียนป้า(เสียชีวิตตั้งแต่อายุไม่ถึง 20 ปี)
   - หลีหยวนจี๋
เมื่อตั้งราชวงศ์ถังแล้ว ก็พระราชทานตำแหน่งให้บุตรทั้ง โดยแต่งตั้งหลี่เจี้ยนเฉิงเป็นรัชทายาท หลี่ซื่อหมินเป็น ฉินอ๋อง และหลีหยวนจี๋เป็นฉีอ๋อง
    ด้วยความที่ทั้ง หลี่เจี้ยนและหลี่ซื่อหมิน ต่างเป็นผู้มีความสามารถและมักใหญ่ใฝ่สูง และต่างก็เปรียบเป็นมือซ้ายขวา ช่วยบิดาให้สามารถครองแผ่นดินได้สำเร็จด้วยกันทั้งคู่ ทำมห้เกิดการไม่ลงรอยกัน เกิดเป็นศึกสายเลือดในที่สุด
   พี่น้องสามคนแบ่งเป็น สองฝ่าย ฝ่ายหนึ่ง หลีหยวนจี๋เข้ากับพี่ชายคนโตหลี่เจี้ยนเฉิง ส่วนอีกฝ่ายหนึ่ง คือ หลีซื่อหมิน
   ฝ่ายบิดา หลี่ยวน เมือรับทราบถึงความขัดแย้งระหว่างพี่-น้อง ที่รุนแรงกระทั้งเป็นศึกสายเลือดเช่นนี้ก็มิอาจเข้าข้างใครได้..
   กระบวนการรุกไล่ของพี่ใหญและน้องเล็ก ต่อพีรอง นั้น มีตั้งแต่การทูลพระบิดาขอกำลังพลของหลีซื่อหมินไปอกรบจนไปถึงการร่วมือกับสนมคนโปรดของพระบิดาใส่ร้ายหลี่ซื่อหมินว่ากำลังคิดไม่ซื่อ
  จนกระทั่งวันหนึ่ง หลี่ซื่อหมิน ถือโอกาสที่พี่ใหญ่และน้องสามเดินทางเวง วางกำลังและมือสังหารซุ่มไว้ที่ประตูเสวียนอู่ จากนั้นจึงลงมือขั้นเด็ขาดสังหารคนทั้งสอง…
   จากนั้นเว่ยฉือจิ้นเต๋อก็เข้ากราบทูลกับฮ่องเต้ถังเกาจู่ ว่ารัชทายาทหลี่เจี้ยนเฉิง กับองค์ชายหลี่หยวนจี๋นั้นก่อกบฎ แต่ถูกฉินอ๋อง ระแค่ะระคายและจัดการก่อน..

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...