วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

Hinduism Sects

gathering_god_08
นารายณ์ทรงสุบรรณ


1 นิกายไวศณพ เป็นนิกายที่นับถือพระวิษณุเจ้าเป็นเทพองค์สูงสุด เชื่อว่าวิษณุสิบปาง หรือ นารายณ์ 10 ปางอวตารลงมาจุติ มีพระลักษมีเป็นมเหสี มีพญาครุฑเป็นพาหนะ นิกายนี้มีอิทธิพลมากในอินเดียภาคและภาคกลาง ของประเทศ นิกายนี้เกิดเมือ พ.ศ. 1300 สถาปนาโดยท่านนาถมุนี
   




imagesCA12UFIA
ศิวะลึงค์



  2 นิกายไศวะ เป็นนิกายที่เก่าที่สุด นับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูสุด พระศิวะเป็นเทพทำลายและสร้างนาค์ด้วยสัญลักษณ์ อย่างหนึ่งแทนพระศิวะคือศิวลึงค์และโยนีก็ได้รับการบูชา เช่น องค์พระศิละ นิกายนี้ถือว่าพระศิวะเท่านั้นเป็นเทพสูงสุดแม้แต่พระพรหม พระวิษณุก็เป็นรองเพทะเจ้าพระองค์นี้ นิกายนี้เชื่อว่า วิญญาณเป็นวิถีทางแห่งการหลุดพ้นมากกว่าความเชื่อในลัทธิภักดี นิกายนี้จะนับถือพระศิวะและพระนางอมาหรือกาลีไปพร้อมกัน





gathering_god_06
พระลักษมี
   


 3 นิกายศํกติ เป็นนิกายที่นับถือพระเทวี หรือพระชายาของมหาเทพ เช่น สรัสวดี พระลักษมี พระอุมา เจ้าแม่ทุรคา และเจ้าแม่กาลี ซึ่งเป็นชายาของมหาเทพทั้งหลาย เป็นผู้ทรงกำลังหรือดำนาจของเทพสามีไว้ จึงเรียกว่า ศักติ นิกายนี้เป็นที่เป็นที่นิยมในรัฐเบงกอล และรัฐอัสสัม เป็นตั้น
    







gathering_god_10
พระพิฆเนศ




4 นิกายคณพัทยะ นิกายนี้นับถือพระพิฆเณศเป็นเทพเจ้าสูงสุด ถือว่าพระพิฆเนศเป็นศูนย์กลางแห่งเทพเจ้าทั้งหมดในศาสนา เชื่อว่าเมือได้บูชาพระพิฆเนศอย่างเคร่งครัด ก็เท่ากับได้บูชาเทพอื่น ๆ ครบทุกพระองค์








 gayatri
  
  5 นิกายสรภัทธะ เป็นนิกายขนาดเล็ก ในสมัยก่อนบูชาพระอาทิตย์ มีผู้นับถือมากในอดีต  ปัจจุบันมีจำนวนน้อย นิกายนี้พิธีอย่างหนึ่ง คือ กายตรี หรือกายาตรี ถือว่าอำนาจศักดิ์สิทธิ คือการกลับมาของพระอาทิตย์เป็นฤาษีวิศวามิตร









gathering_god_04
พระพรหมณ์
gathering_god_05
ตรีมูรต
   




 6 นิกายสมารธะ เป็นนิกายที่นับถือทุกเทพเจ้าทุกพระองค์ในศาสน ฮินดู ความเชื่อแบบนี้เป็นที่นิยมแพร่หลาย เพราะสามาระบูชาเจ้าได้ตามต้องกการ
gathering_god_07
พระอินทร์

Islamic Politics

เคาะหฺลีฟะฮ์ทั้ง 4 damas2
   damas1
ปกครองชาวมุส
ลิมในระหว่างปี ฮฺ.ศ. 11-40(ค.ศ.632-661) ได้แก่  
เคาะห์ลีฟะฮฺ อบูบักร์ (รอฎียัลลฮุอัลลฮุ),
เคาะห์ลีฟะฮฺ อุมัร อิบนุอัลค็อฎฎอบ (รอฎียัลลอฮุอัลลฮุ)630
เคาะห์ลีฟะฮฺ อุษมาน (รอฎียัลลอฮุอัลลฮุ)
เคาะห์ลีฟะฮ์ อาลี (รอฎียัลลอฮุอัลลฮุ)
   อุมัยยะฮฺ 
   ท่านามุอามัยยะฮฺ เป็นเคาะลีฟะฮฺองค์แรกในราชวงศ์อุมัยยะฮฺ ในสมัยการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮฺ ท่านมุอาวียะฮฺ ได้เปลี่ยนแบบการปกครองจากสาธารณรัฐเป็นราชอาณาจักร ทำให้ตำแหน่างเคาะลีฟะห์เป็นตำแหน่งกษัตริย์โดยการสืบสันติวงค์ ทรงแต่งตั้งยะซิต โอรสของท่านให้เป็นกษัตริย์ ซึ่งได้กลายเป็นตัวอย่างการแต่งตั้งเคาะลีฟะฮฺ ซึ่งเป็นรากฐานการปกครองในราชวงศ์ต่อๆ มาอีกด้วย  ศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่ชามหรือประเทศซีเรียในปัจจุบัน 26=3
    ในขณะนั้นชาวมุสลิมตกอยู่บนความแตกแยกซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยท่านเคาะห์ลีฟะฮฺ อุษมานถูกฆาตกรรม เมื่อท่านมุอามัยยะฮฺขึ้นเป็นเคาะหฺลีฟะห์ ท่านจึงอุทิศเพื่อผนึกความเป็นปึกแผ่นโดยเรียกร้องความสามัคคี และเมื่อตั้งตัวได้จึงสานเจตนารมณ์จากเคาะหฺลีฟะฮ์ในอดีต คือ มุ่งพิชิตดินแดนต่าง
  ในทางบริหาร ทรงเป็นผุ้จัดตั้งกรมสารบรรณ และกรมไปรษณีย์ จัดตั้งกองกำลังตำราจและกองทไรองค์รักษ์ ทรงแต่งตั้งเจ้าเมืองให้ทำการบริหารส่วนท้องถิ่นและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่พิเศษให้เป็นผู้บริหารเงินรายได้ของแผ่นดิน(คลัง)..
   ราชวงศ์อุมัยยะฮฺ มีเคาะห์ลีฟะฮฺ ทั้งหมด 14 พระองค์ ซึ่งปกครองตั้งแต่ปี ฮ.ศ. 41-132 (ค.ศ. 41-132) มีอาณาเขตปกครองครอบคลุมทั้ง 3 ทวีป คือ
      - ทวีปเอเชียไปถึงเมือง และเมืองกาบูล
      - ทวีปยุโรป ไปถึงเมืองอันดาลุส ประเทศสเปนในปัจจะบัน
      - ทวีปแอฟริกา ไปถึง ประเทศที่ติดอยู่กับทะเลแอตแลนติก
     อับบาสิยะฮ์
ราชวงศ์ถูกโค่นล้ม ราชวงศ์อับบาสียะฮิขึ้นครองราชแทน ได้ย้ายเมืองหลวงจากชามมายังเขตอิรักในแบกแดด ครองอำนาจตั้งแต่ ค.ศ.750-1258  ราชวงศ์อับบาสียะฮ์ มีบทบาทสำคัญต่อประวัติศาสรต์อิสลาม และต่อประวัติศษสตร์โลกโดยรวม นักประวัติศาสตร์จึงแบ่งยุคประวัติศาสตร์อับบาสียะฮ์ออกเป็นสองยุคใหญๆ เพื่อสะดวกต่อการศึกษา คือ26=0
        ยุคต้น ตั้งแต่เริ่มแรกสถาปนาราชวงศ์อับบาสียะฮ์ ในปี ฮ.ศ. 132-232 (ค.ศ. 750-847) เป็ฯเวลากว่าศตวรรษ
        ยุคปลาย ตั้งแต่ ฮ.ศ. 232-656 (ค.ศ. 847-1258) โดยแบงออกเป็นสี่ช่วงดังนี้
- ช่วงเติร์กเรื่องอำนาจ รวมระยะเวลาประมาณ 102 ปี ช่วงเวลานี้ชาวเติร์กมีบทบาทมากในการกำหนดทิศทางทางการเมืองการปกครองและการทหารของราชวงศ์อับบาสียะฮฺ
- ช่วงบูไวยฮฺเรื่ออำนาจ ในช่วงนี้อำนาจทางการเมืองและการปกครองตกอยู่ในมืองพวกบูไวยฮฺซ฿งเป็นชีอะฮ์
- ช่วงเซลจูลเรืองอำนาจ ตกอยู่กับพวกเซลจุล ซึ่งเป็นสุนีย์ เข้ามาโค่นอำนาจของพวกบูไวยฮฺซึ่งเป็นชีอะฮ์
- ช่วงสุดท้ายและการล่มสลาย เป็นช่วงที่พวกเซชจุกกำลังเสื่อมโทรม ในขณะเดียวกันมีการเคลื่อนไหวเพื่อฟื่นฟูอำนาจ แต่ก็ถูกคุกคามโดยอำนาจใหม่จากราชวงศ์มงโกลกระทั่งล่มสลายในที่สุด…
  
    สมัยการปกครองของราชวงศ์อับบสียะฮฺ เป็นสมัยของการสร้างความเป็นเอกภาและความรุ่งเรื่องสูงสุด มีการขยายอาณาเขตการปกครอง ทางทิศตะวันตกอิสลามเผยแพร่ถึงแอฟริกาเหนือ สเปน ทางทิศตะวันออกถึงฝั่งเปอร์เซียและอินเดีย โดยอยู่ภายใต้การปกครองของเคาลีฟะฮ์ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่แบกแดดbagdad
     เคาะฮฺลีฟะฮ์ได้เป็ฯผู้อุปถัมภ์วิทยาการ ทรงทนุบำรุงนักปราชญ์และนักวิทยาศาสตร์ ที่มีความสามารถซึ่งได้สร้างประโยชน์อันมีค่าให้แก่วัฒนธรรมของโลก ทรงเป็นแผนกแปลเพื่อรักษาผลงานด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมของต่างชาติไง้เช่น ผลงานของอริสโตเติล กาเลน และคงจะหายสาปสูญไปหากมุสลิมไม่เก็บรักษาไว้ด้วยการแปลเป็นภาษาอาหรับ..นอกจากนี้ความรู้เรื่องเคมมี การแพทย์ และคณิตศาสตร์ อัลรอซี และอิบนุซินาเป็นแพทย์ที่ยิ่งใหญ่ที่โลกรู้จัก ตำราอัลกอนูนของอิบนุซินา ถูกใช้เป็นตำราทางการแพทย์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในยุโรปมาหลายร้อยปี  ได้มีการสร้างโรงพยายบาลขึ้นซึ่งเรียกว่า “บิมาริสตาน” สัลยกรรม เภสัชกรรม และวิชาเกียวกับสายตา ก็เจริญก้าวหน้ามากในสมัยอับบสียะฮฺ รวมถึงทั้งวิทยาการในแขนงอื่นๆ อาท ปรัชญา นักประดิษฐ์ซึ่งได้เกิดมี “อริศโตเตลอาหนับ”คือ ท่านฟารอบี เขียนตำราด้านจิตวิทยา การเมืองและอภิปรัชญาไว้มากมาย ดาราศาสตร์มีการสร้างหอดูดาว การอธิบายแผนที่โลกเป็นเล่มแลกในศตวรรษที่ 9 มีการสร้างห้องทดลอง …

     อาณาจักรออตโตมาน หรือ ราชวงศ์อุษมานียะฮ์Mehmet_II_The_Conqueror_by_Nusrat
   ออตโตมาน มีปาดีชะห์หรือสุลต่านปกครอง
ประมุขสูงสุดของอาณาจักรเรียกว่า  สุลต่าน ผู้มีอำนาจรองลงมาคื วาซีร อะซัม(แกรนด์วิเซียร์) ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าดิวาน ซึ่งในปัจจุบันอาจหมายถึง รัฐบาล และอีกตำแหน่างคือ ไซคุลอิสลาม ทำหน้าที่ดูแลฝ่ายกิจกรรมศาสนา มีฐานะเที่ยบเท่า แกรนด์วิเซียร์ ทั้งสามสถาบันนับเป็นสถาบันหลักของอาณาจักรออตโตมาน
  อาณาจักออตโตมานมีสุลต่านปกครองทั้งสิ้น 36 พระองค์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1299-1922 ในสมัยสุลต่านสิบพระองค์แรกนับเป็นสุลต่านที่มีความสามรถเข้มแข็งในการรบ เพราะต้องรักษาดินแดนพร้อมกับการขยายดินแดน bluemosque
   ในสมัยสุลต่านสุไลมานที่ 1 เป็นการเริ้มความเสื่อมของอาณาจักรออตโตมาน ซึ่งเกิดจากการอ่อนแอของสุลต่านเอง  ปล่อยให้แกรนด์วิเซียร์เป็นผุ้บริหารบ้านเมืองแทน เป็นเหตุให้เกิดการคอรับชั่น ขอาอาวุธยุทโธปกรณ์ทีทันสมัย และกษัตริย์ยุโรปร่วมมือกันล้มล้างอาณาจักรออตโตมาน
   กลุ่มยังเติร์กเรียกรอ้งให้เมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสุลต่านเป็นระบบสาธารณรัฐและให้มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายในการปกครองประเทศ  ในที่สุดเคมาล ปาชา ผู้นำกลุ่มยังเติร์กสามารถชนะกรีก และต่อมาประกาศเลิกระบบสุลต่าน เลิกระบบเคาะลีฟะฮ์ เป็นการสิ้นราชวงศ์ออตโตมาน ผุษมานียะฮฺ) เปลี่ยนเป็นสาธารณรับประเทศตุรกีในปีค.ศ. 1922 กระทั่งปัจจุบัน

Sixth Crusade

    หลังจากเจ็ดปีของสงครามครูเสดครั้งที 5 สมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิทรงมีส่วนบทบาทเกี่ยข้าเป็นอันมาในสงครามครั้งนี้ โดยการส่งกองทัพจากเยอรมนีแต่พระองค์มิได้เข้าร่วมในกายุทธการโดยตรงแม้ว่าจะทรงได้รับหว่านล้มจาก สมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 3 และต่อมาจาก สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 9 ก็ตาม เพราะต้องการจัดการปัญหาภายในเยอรมนี และ

อิตาลี ให้เรียบร้อยก่อนที่จะเข้าร่วมในสงคราม220px-Gregory_IX FranciscusII
  ในปี ค.ศ. 1225 พระเจ้าจักรพรรดิฟริดริชทรงอภิเสกสมรสกับโยลันเดอแห่งเยรูซาเลม พระธิดาของ จอน์นแห่งบริแอนน์ กษัตริย์แต่ในนามของราชอาณาจักรเยรูซาเลม จักรพรรดิฟริดรชจึงทรงมีสิทธิในการอ้างสิทะในราชบัลลังก์เยรูซาเลมที่ยังเหลืออยู่ซึ่งเป็นเหตุผลในการพยายามกู้เยรูซาเลมคืน
   หลังจากเกรกอรีที่ 9 ได้เป็นสันตะปาปา จักรพรรดิ์ฟรีดริชและกองทัพของพระองค์ก็เดินทางโดยเรือไปยังอัคโคแต่โรคระบาดที่เกิดขึ้นทำให้พระองค์จำต้องเดินทางกลับอิตาลี พระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 9 จึงทรงประกาศควำบาต พระจักรพรรดิฟรีดริชที่ทรงบิดพริ้วสัญญาในการเข้าร่วมสงครามครูเสด ซึ่งเป็นเพียงข้ออ้างเพราะจักรพรรดิฟรีดรัชทรงพยายามรวบรวมอำนาจของพระองค์ในอิตาลีโดยการริดรอนอำนาจของสันตะปาปามาเป็นเวลาหลายปีก่อนหน้านั้นแล้ว

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

Angkor Wat





    นครวัด เป็นศาสนสถานตั้งอยู่ในเมืองพระนคร จังหวัดเสียมเรีย ประเทศกัมพูชา สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ตัวเทวสถานได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี จนเป็ฯศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญเพียงแห่งเดียวที่ยังเหลือรอดมาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่ก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่เดิมนครวัดเป็นเทวสถานของศาสนาฮินดู ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นศาสนาพุทธ นครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่มีขนาดใหญ๋ที่สุดของโลก ตัวเทวสถานถือเป็นที่สุดของสถาปัตยกรรมเขมรสมัยคลาสสิกรุ่งเรือง และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศตลอดจนได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภาย









นครธม เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายและเมืองที่เข้มแข็งที่สุดของอาณาจักรบะแมร์ สถาปนาโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อยู่ทางทิศเหนือของ นครวัด ใจกลางพระนครเป็นปราสาทหลักของพระเจ้าชัยวรมัน เรียกว่า ปราสาทบายน และมีพื้นที่สำคัญอื่น ๆ รายล้อม







Chandi Borobudur









 บุโรพุทโธสร้างโดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร์ เป็นสถูปแบบมหายาน สันนิษฐษนว่าสร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 7-9 หรือ พุทธศักราช 1393 ตั้งอยู่ทางภาคกลางของเกาะชวา บนที่ราบเกฆุ ทางฝั่งขวาใกล้ากับแม่น้ำโปรโก ห่างจากยอกยาการ์ตา ทางตะวันตกเฉียงเหนือ 40 กิโลเมตร สร้างด้วยหินภูเขาไฟประมาณ 2 ล้านตารางฟุตบนฐานสี่เหลี่ยม หว้างต้านละ 121 เมตร สูง 403 ุต เป็นรูปทรงแบบปิรามิด มีลานเป็นชั้นลดหลั่นกัน 8 ชั้น และใน 8 ั้นนั้น 5 ชั้นล่างเป็นลาน 4 เหลี่ยม 3 ชั้นบนเป็ฯลานวงกลม และบนลานกลมชั้นสูงสุดมีพระสถูปตั้งสูงขึ้นไปอีก 31.5 เมตร เป็นมหาสถูปที่ระเบียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ ลดหลั่นกันไป
   

Inca Empire




     จักรวรรดิอินคา เป็นจักรวรรดิโบราณที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ในยุคก่อนโคลัมบัส จักวรรดิอินคามีอำนาจขึ้นบริเวณที่ราบสูงของประเทศเปรูส่วนใหญ่ทางด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ซึ่งในปะัจจุบันคือประเทศเปรูในช่วงต้นคริสต์ศตวารรษที่ 13 ช่วงปี ค.ศ. 1438-1533 อินคาขยายอาณาจักรโดยทั้งสันติวิธีและวิธีทางการทหารจนสามรถปกครองดินแดนส่วนใหญ่ทางด้านทางด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ซึงปัจจุบันคือประเทศเปรู ประเทศเอกวาดอร์ ตอนใต้ของประเทศโคลอมเบีย ภาคตะวันตกและภาคใต้ของประเทศโบลิเวีย ตอนเหนือของประเทศชิลี และบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอาร์เจนตินา ชาวอินคาเชื่อว่ากษัตริย์ของตนเป็น"บุตรของพระอาทิตย์"ภาษาราชการคือ ภาษาเกชัว

       ชาวอินคาไม่มีการประดิษฐ์ตังอักษร แต่ชาวอินคามีการบันทึกโดยใช้การผูกเชือกหลากสีเป็นปมรูปแบบต่าง ๆ ที่เรียกว่ากีปู
       ในช่วงที่รุ่งเรืองที่สุด ครอบคลุมบริเวฯเปรูและโบลิเวียเกือบทั้งหมดของประเทศเอกวาดอร์ และดินแดนของชิลีจนถึงตอนเหนือของน้ำเมาเล ซึ่งพวกอินคาโดนต่อต้านจากเผ่ามาปูเช นอกจากนี้บังกินบริเวณไปถึงอาร์เจนตินาและโคลอมเบียอีกด้วย

       นักสำรวจชาวสเปนนำโดย ฟรันซิสโก ปีซาร์โร ค้นพบอาณาจักรอินคาในปี ค.ศ.1526 จึงกลับมาไปสเปนเพื่อขอพระราชานุญาตและกำลังสนับสนุนเพื่อยึดครองดินแดนอินคา

    มาชูปิกชู หรือเมืองสาบสูญแห่งอินคา เป็นซากอารยธรรมโบราณของชาวอินคา ตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงในประเทศเปรู  อารยธรรมเหล่านี้ถูกลืมจากคนภายนอกกระทั้งมีการค้นพบอีกครั้งโดยนักโบราณคดี ไฮแรม บิงแฮม เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2454
     

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

Afghan

   
   
      ชนชาติปาทานคือกลุ่มชาติพันธ์ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางใต้ และทางตะวันออกของอัฟกานิสถาน และทางภาคตะวันตกของปากีสถาน ภาษาของผู้คนกลุ่มนี้ ภาษาปุชโต ชาวปาทนส่วยใหญ่นับถือศาสนาอิสลามสายสุนนี ซึ่งมีปลุ่มที่เข้มแข็งกระทั่งสามารถตั้งวงศ์กษัตริย์ขึ้นปกครองราชอาณาจักรอัฟกานิสถาน

      ต้นกำเนิดของชนชาติปาทานยังคงเป็นปริศนา และประเด็นถกเถียง แต่ลักษณะทางภาษาศาสตร์เป็นประจักษ์พยานที่ดีว่า ภาษาของปาทานเป็นภาษา อินโด ยูโรเปียน ในขณะที่ปาทานบางเผ่ามีความสัมพัน
ธ์ทางสายเลือดกับชนชาติเซมิติก(ยิว-อาหรับ) ทั้งนี้เพราะดินแดนในอัฟการนิสถาน ตะวันอกของอิหร่าน และตะวันตกของอินเดียเป็นหนึ่งในดินแดนที่มีการรบพุ่งรุกรานมากที่สุดในประวัติศสตร์
   
      "ทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับการเข้ารับอิสลามของชาวปาทาน กล่าวโดยสรุปคือ
1 ความผูกพันทางสายเลือดและชาติพันธ์ที่ชาวปาทานส่วนหนึ่งมีความเชื่อว่ตนเองสืบเชื่อสายมาจากลุกหลานของชาวอิสราเอล พวกเขาจึงเป็จ อะหฺลุ อัล กิตาบ หรือชาวพระคัมภีร์และพวกเขาควรศรัทธาต่อศาสดา นบี มุฮัมมัด ในฐานะศาสดาท่านสุดท้ายที่พระคัมภีร์ต่าง ๆ ของชาวอิสราเอลโบราณระบุไว้ว่าท่านจะมาปรากฎในภายภาคหน้า

2 ความผูกันทางสายเลือดและชาติพันธ์ ที่ชาวปาทานส่วนหนึ่งเชื่อว่าตนเองสืบเชื้อสายมาจากหลาน ๆ ของท่านศาสดา นบี มุฮัมมัด หรือจากสหายและสาวก ของท่านศาสาดาหรือแม้แต่จากชาวอาหรับ ก็ทำให้พวกเขาไม่รีรอที่จะรับนับถือศาสนา ที่ศาสดาเป็นชาวอาหรับปละพระคัมภีร์เป็นภาษาอาหรับ

3 บทบาทของผุ้นำศษสนา หรือบุคคลผู้มีความเคร่งครัดในศาสนา ที่ทำให้ชาวปาทานพากันรับนับถือศาสนาอิสลามด้วยศรัทธาและวามพึงพอใจ..."

   ในลำดับแรกที่ชาวปาทานเป็นที่รู้จักของโลกคือ การเป็นทหารในกองทัพสุลต่าน มะห์มูด แห่งฆอสนะ กษัตริย์มุสลิมเติร์ก ผู้ทำสงคามพิชิตอินเดียจากมหาราชฮินดู ทางตอนเหนือของอินเดีย  และตั้้ัวงศ์กษัตริย์อาฟกันปกครองอินเดียถึง 300 ปี...

   ค.ศ. 1747 อะห์มัด ชาฮฺ อับดาลี รวบรวมพลจากฐานที่ตั้งอู่ในกันดาฮาร์ และพิชิตรวบรวมดินแดนที่อยู่ระหว่างอินเดีย อิหร่าน และอัฟกานิสถาน จากนั้นคนในราชวงศ์ของพระองค์ และกลุ่มตระกูลบริวารก็ได้ปกครองประเทศนี้

   กระทั่งค.ศ. 1973 อังกฤษได้เริ่มมีบทบาทต่อดินแดนของปาทานในช่วงที่อังกฤษต้องการปกป้องผลประโยชน์ของตนในอินเดีย ทำให้เกิดสงคราม อังกฤษ-อาฟกัน ในสมัยที่อังกฤษและรัศเซียแผ่อิทธิพลเข้ามาในอัฟการนิสถาน โคสต์ โมฮัมเหม็ด ข่าน ครองอำนาจอยู่ที่กรุงคาบูล  การแย่งชิงอำนาจระหว่างอังกฤษและรัฐเซีย หรือ "เกมที่ยิ่งใหญ่" ส่งผลให้อังกฤษทำสงครามกับอัฟกานิสถาน 2 ครั้งเพื่อลดทอนอิทธิพลของรัสเซียไม่ให้้ยึดครองอัฟกานิสถานไปเสียก่อน  ในยุคนี้อังกฤษและรัฐเซียทำการตกลงเรื่องพรมแดนกับอัฟกานิสถาน จะกลายเป็นพรมแดนในปัจจุบัน

     ในสงครามโลกครั้งที่ 1 อัฟกานิสถานวางตัวเป็นกลางแม้กลุ่มต่อต้านอังกฤษในประเทศจะสนับสนุนเยอรมัน และมีการก่อกบฎตามแนวพรมแดนอินเดียของอังกฤษ การวางตัวเป็นกลางของกษัตริย์ไม่ได้รับการตอบรับจากประชาชนเท่าที่ควร .. อามานุลลอห์จึงเข้าควบคุมประเทศและปรกาศสงครามอังกฤษ - อัฟกานิสถานครั้งที่ 3 ผลของสงครามทำให้อังกฤษยกเลิกการควบคุมอัฟกานิสถาน ชาวอัฟกันจึงเฉลิมฉลองวันที่ 19 สิงหาเป็นวันชาติ

     มีการสนับสนุนให้มีจัดการเลื่อกตั้งในบางส่วนของประเทศซึ่งเป็นการเตรียมการสำหรับประชาธิปไตย ในช่วงนี้เกิดพรรคการเมืองต่างๆ รวมที่้ง พรรคคอมมิวนิสต์อัฟกานิสถาน pdpa ซึ่งมีความใกล้ชิดกับโซเวียต

    พรรคคอมมิวนิสต์อัฟกานิสถานแบ่งออกเป็นสองส่วน  โดยพยายามแย่งชิงอำนาจจากราชวงศ์ดุรรานี และในเวลาต่อมาทำการปฎิวัตินองเลืยดล้มล้างรัฐบาล โดยได้รับการสนับสนุนจากโซเวียตภายใต้อิทธิพลของโซเวียตมีการจัดตั้งกลุ่มต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อต่อต้านโดยใช้ความรุนแรง
    กลุ่มเหล่านี้เป็นที่รู้จักในชื่อมูญาฺฮิดีน หรือนักรบมุสลิมผู้ศักดิ์สิทธิ เมื่อเกิดการโจมการต่อต้าน โซเวียตส่งกองทหารเข้ามาช่วยเหลือรัฐบาลคอมมิวนิสต์ กองทัพโซเวียตบุกถึงกรุงคาบูล ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการยึดครองอัฟกานิสถานและทำให้เกิดสงครามต่อต้านโซเวียตตามมา ผลของสงคราม โซเวียตถอนทหารออกไป

     ภายในช่วง 9 ปีที่โซเวียตยึดครองอัฟกานิสถาน กลุ่มมูญาฺฮิดีนก่อกบฎต่อต้านโซเวียตโดยกลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ซาอุดิอาระเบีย และปากีสถาน และมีนักรบมุสลิมจากต่างชาติเข้าร่วม

     ในกลุ่มคนต่างชาติเหล่านี้ หนึ่งในนั้นคือ อุซามะฮฺ บิน ลาดิน ผู้ซึ่งเข้าไปฝึกฝนมูญาฺฮิดีนและส่งมอบอาวุธ บิน ลา ดิน แตกออกจากกลุ่มเดิม โดยตั้งกลุ่มใหม่ของตนคือ อัลกอลิดะฮ์ เพื่อต่อต้าน โซเวียตและร่วมมือกับกองกำลังมุสลิมทั่วโลก โซเวียตถอนทหารออกหมด แต่ยังคงเหลือรัฐบาลของ โมฮัมเหม็ด นาญีบุลลอห์ ความช่วยเหลือจาสหรัฐและซาอุดิอาระเบีบ มีให้กับกลุ่มมูญาฮิดีนอย่างต่อเนื่อง กระทั่งสหภาพโซเวียตล่มสลาย รัฐบาลของนาญีบุลลอห์จึงล้มลง อับดุลซาดิด คอสตุม และอาห์เหม็ด ชาห์ มัสอูด เข้าครอบครองกรุงคาบูลและจัดตั้งรัฐอิสลามแห่งอัฟกานิสถาน

     กลุ่มอัลกอลิดะห์ ถือกำเนิดขึ้นจากแนวคิดของ โอซามา บินลาเดน ชาวซาอุดิอารเบียผู้ซึ่งเป็นบุตรคนที่ 17 จากทั้งหมด 51 คนของคหบดีที่มั่งคั่ง ในช่วงแรกนั้นอับกอลิดะห์ มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อขับไล่ทหารโซเวียตออกจากอัฟกานิสถาน และมีสถานะเป็นนักสู้เพื่ออิสรภาพ มากว่าเป็น กลุ่มผู้ก่อการร้าย
     กระทั่งเมื่อโซเวียตถอนทหารออกไปแล้ว โอซามา ลินลาเดน ก็ยกระดับการต่อสู้ของเขาเป็นการต่้อสู้เพื่อสถาปนา "รัฐอิสลามบริสุทธิ" รวมทั้งประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริก..โดยมีเป้าหมายที่การขับไล่สหรัฐอเมริกาออกจาก ซาอุดิอารเบีย และดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ในตะวันออกกลาง อันนำมาซึ่งการโจามตี สถานทูต การโจมตีเรือพิฆาต
   
    หลังจากเหตุการณ์ 9/11 ในสหรัฐ ทำให้สหรัฐอเมริกาและกลุ่มพันธมิตรนาโต้เปิดฉากโจมตีที่มั่นของ กลุ่มอัลกอลิดะห์ และกลุ่มตาลีบันในอัฟกานิสถานอย่างรุนแรงตั่งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา..

   
    เป้าหมายครั้งนี้คือ เพื่อหาและนำตัวโอซามา บิน ลาเดน และสมาชิกอังกออิดะห์ระดับสูงคนอื่น ให้มารับการพิจารณาเพื่อ และเืพื่อล้มระบอบฎอลิบาลซึ่งให้การสนับสนุนและที่พักพิงแก่อัลกออิดะฮ์..
     ซึ่งมีแกนนำสำคัญๆ ของรัฐบาล กองทัพ และฐานเสียงสนับสนุนส่วนใหญ่ประกอบขึ้นจากชนชาติปาทานที่เป็นผลเมืองส่วยใหญ่ของอัฟกานิสถาน ชื่อของชนชาติปาทานจึงกลับมาอีกครั้ง...


Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...