Islamic Politics

เคาะหฺลีฟะฮ์ทั้ง 4 damas2
   damas1
ปกครองชาวมุส
ลิมในระหว่างปี ฮฺ.ศ. 11-40(ค.ศ.632-661) ได้แก่  
เคาะห์ลีฟะฮฺ อบูบักร์ (รอฎียัลลฮุอัลลฮุ),
เคาะห์ลีฟะฮฺ อุมัร อิบนุอัลค็อฎฎอบ (รอฎียัลลอฮุอัลลฮุ)630
เคาะห์ลีฟะฮฺ อุษมาน (รอฎียัลลอฮุอัลลฮุ)
เคาะห์ลีฟะฮ์ อาลี (รอฎียัลลอฮุอัลลฮุ)
   อุมัยยะฮฺ 
   ท่านามุอามัยยะฮฺ เป็นเคาะลีฟะฮฺองค์แรกในราชวงศ์อุมัยยะฮฺ ในสมัยการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮฺ ท่านมุอาวียะฮฺ ได้เปลี่ยนแบบการปกครองจากสาธารณรัฐเป็นราชอาณาจักร ทำให้ตำแหน่างเคาะลีฟะห์เป็นตำแหน่งกษัตริย์โดยการสืบสันติวงค์ ทรงแต่งตั้งยะซิต โอรสของท่านให้เป็นกษัตริย์ ซึ่งได้กลายเป็นตัวอย่างการแต่งตั้งเคาะลีฟะฮฺ ซึ่งเป็นรากฐานการปกครองในราชวงศ์ต่อๆ มาอีกด้วย  ศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่ชามหรือประเทศซีเรียในปัจจุบัน 26=3
    ในขณะนั้นชาวมุสลิมตกอยู่บนความแตกแยกซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยท่านเคาะห์ลีฟะฮฺ อุษมานถูกฆาตกรรม เมื่อท่านมุอามัยยะฮฺขึ้นเป็นเคาะหฺลีฟะห์ ท่านจึงอุทิศเพื่อผนึกความเป็นปึกแผ่นโดยเรียกร้องความสามัคคี และเมื่อตั้งตัวได้จึงสานเจตนารมณ์จากเคาะหฺลีฟะฮ์ในอดีต คือ มุ่งพิชิตดินแดนต่าง
  ในทางบริหาร ทรงเป็นผุ้จัดตั้งกรมสารบรรณ และกรมไปรษณีย์ จัดตั้งกองกำลังตำราจและกองทไรองค์รักษ์ ทรงแต่งตั้งเจ้าเมืองให้ทำการบริหารส่วนท้องถิ่นและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่พิเศษให้เป็นผู้บริหารเงินรายได้ของแผ่นดิน(คลัง)..
   ราชวงศ์อุมัยยะฮฺ มีเคาะห์ลีฟะฮฺ ทั้งหมด 14 พระองค์ ซึ่งปกครองตั้งแต่ปี ฮ.ศ. 41-132 (ค.ศ. 41-132) มีอาณาเขตปกครองครอบคลุมทั้ง 3 ทวีป คือ
      - ทวีปเอเชียไปถึงเมือง และเมืองกาบูล
      - ทวีปยุโรป ไปถึงเมืองอันดาลุส ประเทศสเปนในปัจจะบัน
      - ทวีปแอฟริกา ไปถึง ประเทศที่ติดอยู่กับทะเลแอตแลนติก
     อับบาสิยะฮ์
ราชวงศ์ถูกโค่นล้ม ราชวงศ์อับบาสียะฮิขึ้นครองราชแทน ได้ย้ายเมืองหลวงจากชามมายังเขตอิรักในแบกแดด ครองอำนาจตั้งแต่ ค.ศ.750-1258  ราชวงศ์อับบาสียะฮ์ มีบทบาทสำคัญต่อประวัติศาสรต์อิสลาม และต่อประวัติศษสตร์โลกโดยรวม นักประวัติศาสตร์จึงแบ่งยุคประวัติศาสตร์อับบาสียะฮ์ออกเป็นสองยุคใหญๆ เพื่อสะดวกต่อการศึกษา คือ26=0
        ยุคต้น ตั้งแต่เริ่มแรกสถาปนาราชวงศ์อับบาสียะฮ์ ในปี ฮ.ศ. 132-232 (ค.ศ. 750-847) เป็ฯเวลากว่าศตวรรษ
        ยุคปลาย ตั้งแต่ ฮ.ศ. 232-656 (ค.ศ. 847-1258) โดยแบงออกเป็นสี่ช่วงดังนี้
- ช่วงเติร์กเรื่องอำนาจ รวมระยะเวลาประมาณ 102 ปี ช่วงเวลานี้ชาวเติร์กมีบทบาทมากในการกำหนดทิศทางทางการเมืองการปกครองและการทหารของราชวงศ์อับบาสียะฮฺ
- ช่วงบูไวยฮฺเรื่ออำนาจ ในช่วงนี้อำนาจทางการเมืองและการปกครองตกอยู่ในมืองพวกบูไวยฮฺซ฿งเป็นชีอะฮ์
- ช่วงเซลจูลเรืองอำนาจ ตกอยู่กับพวกเซลจุล ซึ่งเป็นสุนีย์ เข้ามาโค่นอำนาจของพวกบูไวยฮฺซึ่งเป็นชีอะฮ์
- ช่วงสุดท้ายและการล่มสลาย เป็นช่วงที่พวกเซชจุกกำลังเสื่อมโทรม ในขณะเดียวกันมีการเคลื่อนไหวเพื่อฟื่นฟูอำนาจ แต่ก็ถูกคุกคามโดยอำนาจใหม่จากราชวงศ์มงโกลกระทั่งล่มสลายในที่สุด…
  
    สมัยการปกครองของราชวงศ์อับบสียะฮฺ เป็นสมัยของการสร้างความเป็นเอกภาและความรุ่งเรื่องสูงสุด มีการขยายอาณาเขตการปกครอง ทางทิศตะวันตกอิสลามเผยแพร่ถึงแอฟริกาเหนือ สเปน ทางทิศตะวันออกถึงฝั่งเปอร์เซียและอินเดีย โดยอยู่ภายใต้การปกครองของเคาลีฟะฮ์ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่แบกแดดbagdad
     เคาะฮฺลีฟะฮ์ได้เป็ฯผู้อุปถัมภ์วิทยาการ ทรงทนุบำรุงนักปราชญ์และนักวิทยาศาสตร์ ที่มีความสามารถซึ่งได้สร้างประโยชน์อันมีค่าให้แก่วัฒนธรรมของโลก ทรงเป็นแผนกแปลเพื่อรักษาผลงานด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมของต่างชาติไง้เช่น ผลงานของอริสโตเติล กาเลน และคงจะหายสาปสูญไปหากมุสลิมไม่เก็บรักษาไว้ด้วยการแปลเป็นภาษาอาหรับ..นอกจากนี้ความรู้เรื่องเคมมี การแพทย์ และคณิตศาสตร์ อัลรอซี และอิบนุซินาเป็นแพทย์ที่ยิ่งใหญ่ที่โลกรู้จัก ตำราอัลกอนูนของอิบนุซินา ถูกใช้เป็นตำราทางการแพทย์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในยุโรปมาหลายร้อยปี  ได้มีการสร้างโรงพยายบาลขึ้นซึ่งเรียกว่า “บิมาริสตาน” สัลยกรรม เภสัชกรรม และวิชาเกียวกับสายตา ก็เจริญก้าวหน้ามากในสมัยอับบสียะฮฺ รวมถึงทั้งวิทยาการในแขนงอื่นๆ อาท ปรัชญา นักประดิษฐ์ซึ่งได้เกิดมี “อริศโตเตลอาหนับ”คือ ท่านฟารอบี เขียนตำราด้านจิตวิทยา การเมืองและอภิปรัชญาไว้มากมาย ดาราศาสตร์มีการสร้างหอดูดาว การอธิบายแผนที่โลกเป็นเล่มแลกในศตวรรษที่ 9 มีการสร้างห้องทดลอง …

     อาณาจักรออตโตมาน หรือ ราชวงศ์อุษมานียะฮ์Mehmet_II_The_Conqueror_by_Nusrat
   ออตโตมาน มีปาดีชะห์หรือสุลต่านปกครอง
ประมุขสูงสุดของอาณาจักรเรียกว่า  สุลต่าน ผู้มีอำนาจรองลงมาคื วาซีร อะซัม(แกรนด์วิเซียร์) ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าดิวาน ซึ่งในปัจจุบันอาจหมายถึง รัฐบาล และอีกตำแหน่างคือ ไซคุลอิสลาม ทำหน้าที่ดูแลฝ่ายกิจกรรมศาสนา มีฐานะเที่ยบเท่า แกรนด์วิเซียร์ ทั้งสามสถาบันนับเป็นสถาบันหลักของอาณาจักรออตโตมาน
  อาณาจักออตโตมานมีสุลต่านปกครองทั้งสิ้น 36 พระองค์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1299-1922 ในสมัยสุลต่านสิบพระองค์แรกนับเป็นสุลต่านที่มีความสามรถเข้มแข็งในการรบ เพราะต้องรักษาดินแดนพร้อมกับการขยายดินแดน bluemosque
   ในสมัยสุลต่านสุไลมานที่ 1 เป็นการเริ้มความเสื่อมของอาณาจักรออตโตมาน ซึ่งเกิดจากการอ่อนแอของสุลต่านเอง  ปล่อยให้แกรนด์วิเซียร์เป็นผุ้บริหารบ้านเมืองแทน เป็นเหตุให้เกิดการคอรับชั่น ขอาอาวุธยุทโธปกรณ์ทีทันสมัย และกษัตริย์ยุโรปร่วมมือกันล้มล้างอาณาจักรออตโตมาน
   กลุ่มยังเติร์กเรียกรอ้งให้เมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสุลต่านเป็นระบบสาธารณรัฐและให้มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายในการปกครองประเทศ  ในที่สุดเคมาล ปาชา ผู้นำกลุ่มยังเติร์กสามารถชนะกรีก และต่อมาประกาศเลิกระบบสุลต่าน เลิกระบบเคาะลีฟะฮ์ เป็นการสิ้นราชวงศ์ออตโตมาน ผุษมานียะฮฺ) เปลี่ยนเป็นสาธารณรับประเทศตุรกีในปีค.ศ. 1922 กระทั่งปัจจุบัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)