วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

Seventh Crusade


220px-Saint-Louis_statue-Aigues-Mortes  พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสทรงพระราชวิตกเหตุการณ์ที่เกิดในซีเรีย เมื่อสุลต่านมามลุคไบบาร์เข้าโจมตี อาณาจักรครูเสดที่ยังเหลืออยู่ (เป็นกษัตริย์ฝรั่งเศษองค์เดียวที่ได้รับการสถาปนาให้เป็นนักบุญ St.Louis)
    พระเจ้าหลุยส์ทรงพระราชวิตกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในซีเรียเมื่อสุลต่านมัมลุ้ก บัรบาร์ เข้าโจมตีคูเสด
   ไบบาร์ฉวยโอกาสหลังจากที่สาธารณรัฐเวนิส และสาธารณรัฐเจนัว ต่อสู้กัน ในการโจมตีเมืองท่าในซีเรีย
   พระเจ้าฮิวจ์ที่ 3 แห่งไซปรัส พระมหากษัตริย์ในนามแห่งราชอาณาจักรเยรูซาเลมขึ้นฝั่งที่อัคโคเพื่อรักษาเมืองขณะที่ไบเบอร์เดินทัพขึ้นไปทางเหนือถึงอาร์มีเนียซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของ "มองโกล"
   เหตุการณ์เหล่านี้ เป็นสาเหตุที่ทำให้พระเจ้าหลุ่ยส์ รวบรวมกองกำลังเพื่อเข้าร่วมในสงครามครูเสดครั้งใหม่ในปี ค.ศ. 1267 แม้ว่าจะไม่มีผู้สนับสนุนเท่าใดนัก
   พระอนุชาชาร์ลส์แห่งอองชู ทรงหว่านล้อมให้พระเจ้าหลุยส์โจมตีตูนิสก่อนเพื่อจะใช้เป็นฐานที่มั่นในการเข้าโจมตีอียิปต์ ในการทำสงครามครั้งก่อนหน้านี้ต่างก็พ่ายแพ้ที่นั่น พระเจ้าชาร์ลส์ในฐานะพระมหากษัตริย์แห่งซิซิลี ทรงมีพระประสงค์ส่วนพระองค์ในการขยายอำนาจในเมติเตอร์เรเนียน กาหลิบแห่งตูนิส มุหะเหม็ด อฺอัล มัสแตนเซอร์ เองก็ทรงมีความสัมพันธ์กับคริสเตียนในสเปน และถือว่าเป็นผู้จะง่ายต่อการชักชวนให้มานับถือคริสต์ศาสนา …


220px-Palazzo_Reale_di_Napoli_-_Carlo_I_d'Angi
246px-EdwardI-Cassell   เมือกองทัพขึ้นฝั่งที่แอฟริกากองทัพก็ลัมเจ็บ เพราะน้ำดื่มไม่สะอาด พระเจ้าหลุยส์และพระโอรส จอห์น ซอร์โรว์ เสด็จสวรรคต ด้วย “Flux in the stomach” เนื่องจากพระโอรสยังทรงพระเยาว์ ชาร์ล จึงเป็นผู้นำคนใหม่
   แต่กองทหารก็ยังถูกบั่นทอนด้วยโรคร้ายซึ่งทำให้เการล้อมเมืองตูนิสต้องยุติลง โดยการตกลงกับสุลต่าน ในข้อตกลงนี้ฝ่ายคริสเตียนสามารถทำการค้าขายอย่างเสรีกับตูนิสได้ และที่พำนักสำหรับนักบวชในเมืองก็ได้รับการการันตี
  เมือ่ได้รับข่าวการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าหลุยส์แล้ว สุลต่านมามลุคไบบาร์ แห่งอียิปต์ ก็ยกเลิกการเดินทัพ และขณะเดียกันชาร์ลส์ก็ได้เป็นพันธมิตรกับ เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งอังกฤษผู้เพิ่งเสด็จมาถึง
   เมื่อชาร์ลส์ยกเลิกการโจมตีตูนิง เจ้าชายเอดเวิร์ดก็ตัดสินใจเดินทางต่อไปยังอัคโค ที่เป็นที่มั่นสุดท้ายในซีเรียด้วยพระองค์เอง….

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

Sena Dynasty


  ราชวงศ์ เสนะ เป็นราชวงศ์สุดท้ายก่อนจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของมุสลิม… พ.ศ. 1692 เมือพระกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ปาละขึ้นครองราชย์สมบัติ ทรงเป็นพุทธบริษัทที่เคร่งครัด ปกครองได้เพียง 11 ปี เสนาบดีพราหมณ์ คือ ลาวเสน ยึดอำนาจแล้วปลงพระชนม์สถาปนาราชวงศ์เสนะ ซึ่งเป็นราชวงศ์ฮินดู พระพุทธศาสนาจึงถูกบั่นทอนทั้งที่ เบงกอล มคธ และวิกรมศิลาที่มีนักศึกษาเป็นหมื่อนเหลือเพียงไม่ถึงพันรูป..
   ในราชวงศ์เสนะครองเบงกอลและมคธนี้ กษัตริย์แห่งลังกา ได้อาราธนาพระสงฆ์และคัมภีร์จำนวนมากจากอาณาจักรโจฬะเพื่อไปปรับปรุงพุทธศาสนาที่ลังกา ซรรณกรรมหลายๆ เรื่องได้ถูกถ่ายทอดสู่ภาษาลังกา ซึ่งวรรณกรรมเหล่านี้เป็นผลงานของพระเถระชาวอินเดียใต้ในอาณาจักโจฬะ
mohd-ghori1
   ครั้นพระเจ้าราฐิกาขึ้นครองราชย์ มีนักบวชทางพุทธศษสนหรือสิทธะผู้มีชื่อเสียหลายคนร่วมกันเพื่อคุ้มคีองมหาวิทยาลัยโอทันตบุรีและวิกรมศิลา พระราชาทรงสั่งให้สร้งป้อมปราการและจัดเวรให้ทหารเผ้าดูแลอย่างดี  ในแค้วนมคธนั้นพุทธศาสนิกชนลดน้อยลงโดยศาสนิกชนอื่นเพิ่มขึ้น ส่วนทางภาคเหนือพุทธศาสนาได้ถูกทำลายลงหมดสิ้น พุทธบริษัทส่วนมากถูกบังคับให้เปลี่ยนศาสนาไปเกือบหมด ผู้ไม่ยอมรับ..ตาย
   การรบระหว่างอิสลามและอินเดียยังดำเนินอยู่ ทัพมุหะหมัด แห่งฆูร์ โจมตีทางภาคเหนือของอินเดียและปะทะกองทัพของพระเจ้าปฤฐวีราช ซึ่งได้กษัตริย์หลายพระองค์เป็นพันธมิตรเข้าช่วยเหลือ ผลการรบ สุลต่าน มุหะหมัด แห่งฆูร์ ต้องหลบหนีไปอัฟการนิสถาน..

ghazni-village-762361-lw
    การรบครั้งที่ สองพระเจ้าปฤฐวีราชพ่ายแพ้ เพราะไม่ได้รับการช่วยเหลือจากกษัตริย์พระองค์อื่น  กรุงเอินทปัตถุ์ หรือ เดลลี จึงตกอยู่ภายใต้อำนาจมุสลิมอย่างเด็ดขาดต่อจากนั้นจึงเริ่มรุกทางใต้
   ต่อมาสุลต่าน โมหัมเหม็ด กาซนี เข้าทำลายอารามที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี และที่สารนาถ ในขณะที่อกงทัพมุสลิมกำลังบุกทำลาย บรรดาสิทธะแห่งนิกายมรตรยามหรือพุทธตันตระทั้งหลายต่างช่วยกันเสกเป่าเวทย์มนต์ เพื่อให้กองทัพมุสลิมถอยกลับออกไป แทนที่จะตระเตรียมกองทัพ..กษัตริย์เชื่อคำสิทธะทั้งหลาย จึงไม่เตรียมการ สุดท้ยก็ถูยึดได้และโนทำลายอย่างสิ้นเชิง

4-11-2554 21-30-25
   ในหนังสื่อของท่านตรานถ เป็นหลักฐานที่บ่งว่า หลังจากกองทัพมุสลิมเข้ายึดครองอินเดียภาคเหนือ ภาคตะนตก ภาคตะวันออก และภาคกลางแล้ว พุทธศาสนาไม่ได้ดับวูบลงเสียที่เดียว ยังมีผู้ปกครองท้องถิ่นพยายามค้ำชูพุทธศาสนาอยู่บ้าง พุทธศาสนาค่อยๆ เสือมสูยไปที่ละน้อย แม้อินเดียเกือบทั้หมดถูกยึดครองโดยอิสลามแล้ว แต่ภาคใต้กองทัพมุสลิมยังรุกไปไม่ถึง พุทธศษสนและฮินดูเชน ก็ยังมีชีวิตรอดได้อยุ่ ดังเช่นที่เมืองนาคปัฎฎินัม และกาญจีปุรัมพุทธศาสานยังมีลมหายใจถึง พ.ศ. 2100

Hinduism Sects

gathering_god_08
นารายณ์ทรงสุบรรณ


1 นิกายไวศณพ เป็นนิกายที่นับถือพระวิษณุเจ้าเป็นเทพองค์สูงสุด เชื่อว่าวิษณุสิบปาง หรือ นารายณ์ 10 ปางอวตารลงมาจุติ มีพระลักษมีเป็นมเหสี มีพญาครุฑเป็นพาหนะ นิกายนี้มีอิทธิพลมากในอินเดียภาคและภาคกลาง ของประเทศ นิกายนี้เกิดเมือ พ.ศ. 1300 สถาปนาโดยท่านนาถมุนี
   




imagesCA12UFIA
ศิวะลึงค์



  2 นิกายไศวะ เป็นนิกายที่เก่าที่สุด นับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูสุด พระศิวะเป็นเทพทำลายและสร้างนาค์ด้วยสัญลักษณ์ อย่างหนึ่งแทนพระศิวะคือศิวลึงค์และโยนีก็ได้รับการบูชา เช่น องค์พระศิละ นิกายนี้ถือว่าพระศิวะเท่านั้นเป็นเทพสูงสุดแม้แต่พระพรหม พระวิษณุก็เป็นรองเพทะเจ้าพระองค์นี้ นิกายนี้เชื่อว่า วิญญาณเป็นวิถีทางแห่งการหลุดพ้นมากกว่าความเชื่อในลัทธิภักดี นิกายนี้จะนับถือพระศิวะและพระนางอมาหรือกาลีไปพร้อมกัน





gathering_god_06
พระลักษมี
   


 3 นิกายศํกติ เป็นนิกายที่นับถือพระเทวี หรือพระชายาของมหาเทพ เช่น สรัสวดี พระลักษมี พระอุมา เจ้าแม่ทุรคา และเจ้าแม่กาลี ซึ่งเป็นชายาของมหาเทพทั้งหลาย เป็นผู้ทรงกำลังหรือดำนาจของเทพสามีไว้ จึงเรียกว่า ศักติ นิกายนี้เป็นที่เป็นที่นิยมในรัฐเบงกอล และรัฐอัสสัม เป็นตั้น
    







gathering_god_10
พระพิฆเนศ




4 นิกายคณพัทยะ นิกายนี้นับถือพระพิฆเณศเป็นเทพเจ้าสูงสุด ถือว่าพระพิฆเนศเป็นศูนย์กลางแห่งเทพเจ้าทั้งหมดในศาสนา เชื่อว่าเมือได้บูชาพระพิฆเนศอย่างเคร่งครัด ก็เท่ากับได้บูชาเทพอื่น ๆ ครบทุกพระองค์








 gayatri
  
  5 นิกายสรภัทธะ เป็นนิกายขนาดเล็ก ในสมัยก่อนบูชาพระอาทิตย์ มีผู้นับถือมากในอดีต  ปัจจุบันมีจำนวนน้อย นิกายนี้พิธีอย่างหนึ่ง คือ กายตรี หรือกายาตรี ถือว่าอำนาจศักดิ์สิทธิ คือการกลับมาของพระอาทิตย์เป็นฤาษีวิศวามิตร









gathering_god_04
พระพรหมณ์
gathering_god_05
ตรีมูรต
   




 6 นิกายสมารธะ เป็นนิกายที่นับถือทุกเทพเจ้าทุกพระองค์ในศาสน ฮินดู ความเชื่อแบบนี้เป็นที่นิยมแพร่หลาย เพราะสามาระบูชาเจ้าได้ตามต้องกการ
gathering_god_07
พระอินทร์

Islamic Politics

เคาะหฺลีฟะฮ์ทั้ง 4 damas2
   damas1
ปกครองชาวมุส
ลิมในระหว่างปี ฮฺ.ศ. 11-40(ค.ศ.632-661) ได้แก่  
เคาะห์ลีฟะฮฺ อบูบักร์ (รอฎียัลลฮุอัลลฮุ),
เคาะห์ลีฟะฮฺ อุมัร อิบนุอัลค็อฎฎอบ (รอฎียัลลอฮุอัลลฮุ)630
เคาะห์ลีฟะฮฺ อุษมาน (รอฎียัลลอฮุอัลลฮุ)
เคาะห์ลีฟะฮ์ อาลี (รอฎียัลลอฮุอัลลฮุ)
   อุมัยยะฮฺ 
   ท่านามุอามัยยะฮฺ เป็นเคาะลีฟะฮฺองค์แรกในราชวงศ์อุมัยยะฮฺ ในสมัยการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮฺ ท่านมุอาวียะฮฺ ได้เปลี่ยนแบบการปกครองจากสาธารณรัฐเป็นราชอาณาจักร ทำให้ตำแหน่างเคาะลีฟะห์เป็นตำแหน่งกษัตริย์โดยการสืบสันติวงค์ ทรงแต่งตั้งยะซิต โอรสของท่านให้เป็นกษัตริย์ ซึ่งได้กลายเป็นตัวอย่างการแต่งตั้งเคาะลีฟะฮฺ ซึ่งเป็นรากฐานการปกครองในราชวงศ์ต่อๆ มาอีกด้วย  ศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่ชามหรือประเทศซีเรียในปัจจุบัน 26=3
    ในขณะนั้นชาวมุสลิมตกอยู่บนความแตกแยกซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยท่านเคาะห์ลีฟะฮฺ อุษมานถูกฆาตกรรม เมื่อท่านมุอามัยยะฮฺขึ้นเป็นเคาะหฺลีฟะห์ ท่านจึงอุทิศเพื่อผนึกความเป็นปึกแผ่นโดยเรียกร้องความสามัคคี และเมื่อตั้งตัวได้จึงสานเจตนารมณ์จากเคาะหฺลีฟะฮ์ในอดีต คือ มุ่งพิชิตดินแดนต่าง
  ในทางบริหาร ทรงเป็นผุ้จัดตั้งกรมสารบรรณ และกรมไปรษณีย์ จัดตั้งกองกำลังตำราจและกองทไรองค์รักษ์ ทรงแต่งตั้งเจ้าเมืองให้ทำการบริหารส่วนท้องถิ่นและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่พิเศษให้เป็นผู้บริหารเงินรายได้ของแผ่นดิน(คลัง)..
   ราชวงศ์อุมัยยะฮฺ มีเคาะห์ลีฟะฮฺ ทั้งหมด 14 พระองค์ ซึ่งปกครองตั้งแต่ปี ฮ.ศ. 41-132 (ค.ศ. 41-132) มีอาณาเขตปกครองครอบคลุมทั้ง 3 ทวีป คือ
      - ทวีปเอเชียไปถึงเมือง และเมืองกาบูล
      - ทวีปยุโรป ไปถึงเมืองอันดาลุส ประเทศสเปนในปัจจะบัน
      - ทวีปแอฟริกา ไปถึง ประเทศที่ติดอยู่กับทะเลแอตแลนติก
     อับบาสิยะฮ์
ราชวงศ์ถูกโค่นล้ม ราชวงศ์อับบาสียะฮิขึ้นครองราชแทน ได้ย้ายเมืองหลวงจากชามมายังเขตอิรักในแบกแดด ครองอำนาจตั้งแต่ ค.ศ.750-1258  ราชวงศ์อับบาสียะฮ์ มีบทบาทสำคัญต่อประวัติศาสรต์อิสลาม และต่อประวัติศษสตร์โลกโดยรวม นักประวัติศาสตร์จึงแบ่งยุคประวัติศาสตร์อับบาสียะฮ์ออกเป็นสองยุคใหญๆ เพื่อสะดวกต่อการศึกษา คือ26=0
        ยุคต้น ตั้งแต่เริ่มแรกสถาปนาราชวงศ์อับบาสียะฮ์ ในปี ฮ.ศ. 132-232 (ค.ศ. 750-847) เป็ฯเวลากว่าศตวรรษ
        ยุคปลาย ตั้งแต่ ฮ.ศ. 232-656 (ค.ศ. 847-1258) โดยแบงออกเป็นสี่ช่วงดังนี้
- ช่วงเติร์กเรื่องอำนาจ รวมระยะเวลาประมาณ 102 ปี ช่วงเวลานี้ชาวเติร์กมีบทบาทมากในการกำหนดทิศทางทางการเมืองการปกครองและการทหารของราชวงศ์อับบาสียะฮฺ
- ช่วงบูไวยฮฺเรื่ออำนาจ ในช่วงนี้อำนาจทางการเมืองและการปกครองตกอยู่ในมืองพวกบูไวยฮฺซ฿งเป็นชีอะฮ์
- ช่วงเซลจูลเรืองอำนาจ ตกอยู่กับพวกเซลจุล ซึ่งเป็นสุนีย์ เข้ามาโค่นอำนาจของพวกบูไวยฮฺซึ่งเป็นชีอะฮ์
- ช่วงสุดท้ายและการล่มสลาย เป็นช่วงที่พวกเซชจุกกำลังเสื่อมโทรม ในขณะเดียวกันมีการเคลื่อนไหวเพื่อฟื่นฟูอำนาจ แต่ก็ถูกคุกคามโดยอำนาจใหม่จากราชวงศ์มงโกลกระทั่งล่มสลายในที่สุด…
  
    สมัยการปกครองของราชวงศ์อับบสียะฮฺ เป็นสมัยของการสร้างความเป็นเอกภาและความรุ่งเรื่องสูงสุด มีการขยายอาณาเขตการปกครอง ทางทิศตะวันตกอิสลามเผยแพร่ถึงแอฟริกาเหนือ สเปน ทางทิศตะวันออกถึงฝั่งเปอร์เซียและอินเดีย โดยอยู่ภายใต้การปกครองของเคาลีฟะฮ์ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่แบกแดดbagdad
     เคาะฮฺลีฟะฮ์ได้เป็ฯผู้อุปถัมภ์วิทยาการ ทรงทนุบำรุงนักปราชญ์และนักวิทยาศาสตร์ ที่มีความสามารถซึ่งได้สร้างประโยชน์อันมีค่าให้แก่วัฒนธรรมของโลก ทรงเป็นแผนกแปลเพื่อรักษาผลงานด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมของต่างชาติไง้เช่น ผลงานของอริสโตเติล กาเลน และคงจะหายสาปสูญไปหากมุสลิมไม่เก็บรักษาไว้ด้วยการแปลเป็นภาษาอาหรับ..นอกจากนี้ความรู้เรื่องเคมมี การแพทย์ และคณิตศาสตร์ อัลรอซี และอิบนุซินาเป็นแพทย์ที่ยิ่งใหญ่ที่โลกรู้จัก ตำราอัลกอนูนของอิบนุซินา ถูกใช้เป็นตำราทางการแพทย์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในยุโรปมาหลายร้อยปี  ได้มีการสร้างโรงพยายบาลขึ้นซึ่งเรียกว่า “บิมาริสตาน” สัลยกรรม เภสัชกรรม และวิชาเกียวกับสายตา ก็เจริญก้าวหน้ามากในสมัยอับบสียะฮฺ รวมถึงทั้งวิทยาการในแขนงอื่นๆ อาท ปรัชญา นักประดิษฐ์ซึ่งได้เกิดมี “อริศโตเตลอาหนับ”คือ ท่านฟารอบี เขียนตำราด้านจิตวิทยา การเมืองและอภิปรัชญาไว้มากมาย ดาราศาสตร์มีการสร้างหอดูดาว การอธิบายแผนที่โลกเป็นเล่มแลกในศตวรรษที่ 9 มีการสร้างห้องทดลอง …

     อาณาจักรออตโตมาน หรือ ราชวงศ์อุษมานียะฮ์Mehmet_II_The_Conqueror_by_Nusrat
   ออตโตมาน มีปาดีชะห์หรือสุลต่านปกครอง
ประมุขสูงสุดของอาณาจักรเรียกว่า  สุลต่าน ผู้มีอำนาจรองลงมาคื วาซีร อะซัม(แกรนด์วิเซียร์) ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าดิวาน ซึ่งในปัจจุบันอาจหมายถึง รัฐบาล และอีกตำแหน่างคือ ไซคุลอิสลาม ทำหน้าที่ดูแลฝ่ายกิจกรรมศาสนา มีฐานะเที่ยบเท่า แกรนด์วิเซียร์ ทั้งสามสถาบันนับเป็นสถาบันหลักของอาณาจักรออตโตมาน
  อาณาจักออตโตมานมีสุลต่านปกครองทั้งสิ้น 36 พระองค์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1299-1922 ในสมัยสุลต่านสิบพระองค์แรกนับเป็นสุลต่านที่มีความสามรถเข้มแข็งในการรบ เพราะต้องรักษาดินแดนพร้อมกับการขยายดินแดน bluemosque
   ในสมัยสุลต่านสุไลมานที่ 1 เป็นการเริ้มความเสื่อมของอาณาจักรออตโตมาน ซึ่งเกิดจากการอ่อนแอของสุลต่านเอง  ปล่อยให้แกรนด์วิเซียร์เป็นผุ้บริหารบ้านเมืองแทน เป็นเหตุให้เกิดการคอรับชั่น ขอาอาวุธยุทโธปกรณ์ทีทันสมัย และกษัตริย์ยุโรปร่วมมือกันล้มล้างอาณาจักรออตโตมาน
   กลุ่มยังเติร์กเรียกรอ้งให้เมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสุลต่านเป็นระบบสาธารณรัฐและให้มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายในการปกครองประเทศ  ในที่สุดเคมาล ปาชา ผู้นำกลุ่มยังเติร์กสามารถชนะกรีก และต่อมาประกาศเลิกระบบสุลต่าน เลิกระบบเคาะลีฟะฮ์ เป็นการสิ้นราชวงศ์ออตโตมาน ผุษมานียะฮฺ) เปลี่ยนเป็นสาธารณรับประเทศตุรกีในปีค.ศ. 1922 กระทั่งปัจจุบัน

Sixth Crusade

    หลังจากเจ็ดปีของสงครามครูเสดครั้งที 5 สมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิทรงมีส่วนบทบาทเกี่ยข้าเป็นอันมาในสงครามครั้งนี้ โดยการส่งกองทัพจากเยอรมนีแต่พระองค์มิได้เข้าร่วมในกายุทธการโดยตรงแม้ว่าจะทรงได้รับหว่านล้มจาก สมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 3 และต่อมาจาก สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 9 ก็ตาม เพราะต้องการจัดการปัญหาภายในเยอรมนี และ

อิตาลี ให้เรียบร้อยก่อนที่จะเข้าร่วมในสงคราม220px-Gregory_IX FranciscusII
  ในปี ค.ศ. 1225 พระเจ้าจักรพรรดิฟริดริชทรงอภิเสกสมรสกับโยลันเดอแห่งเยรูซาเลม พระธิดาของ จอน์นแห่งบริแอนน์ กษัตริย์แต่ในนามของราชอาณาจักรเยรูซาเลม จักรพรรดิฟริดรชจึงทรงมีสิทธิในการอ้างสิทะในราชบัลลังก์เยรูซาเลมที่ยังเหลืออยู่ซึ่งเป็นเหตุผลในการพยายามกู้เยรูซาเลมคืน
   หลังจากเกรกอรีที่ 9 ได้เป็นสันตะปาปา จักรพรรดิ์ฟรีดริชและกองทัพของพระองค์ก็เดินทางโดยเรือไปยังอัคโคแต่โรคระบาดที่เกิดขึ้นทำให้พระองค์จำต้องเดินทางกลับอิตาลี พระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 9 จึงทรงประกาศควำบาต พระจักรพรรดิฟรีดริชที่ทรงบิดพริ้วสัญญาในการเข้าร่วมสงครามครูเสด ซึ่งเป็นเพียงข้ออ้างเพราะจักรพรรดิฟรีดรัชทรงพยายามรวบรวมอำนาจของพระองค์ในอิตาลีโดยการริดรอนอำนาจของสันตะปาปามาเป็นเวลาหลายปีก่อนหน้านั้นแล้ว

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

Angkor Wat





    นครวัด เป็นศาสนสถานตั้งอยู่ในเมืองพระนคร จังหวัดเสียมเรีย ประเทศกัมพูชา สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ตัวเทวสถานได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี จนเป็ฯศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญเพียงแห่งเดียวที่ยังเหลือรอดมาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่ก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่เดิมนครวัดเป็นเทวสถานของศาสนาฮินดู ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นศาสนาพุทธ นครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่มีขนาดใหญ๋ที่สุดของโลก ตัวเทวสถานถือเป็นที่สุดของสถาปัตยกรรมเขมรสมัยคลาสสิกรุ่งเรือง และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศตลอดจนได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภาย









นครธม เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายและเมืองที่เข้มแข็งที่สุดของอาณาจักรบะแมร์ สถาปนาโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อยู่ทางทิศเหนือของ นครวัด ใจกลางพระนครเป็นปราสาทหลักของพระเจ้าชัยวรมัน เรียกว่า ปราสาทบายน และมีพื้นที่สำคัญอื่น ๆ รายล้อม







Chandi Borobudur









 บุโรพุทโธสร้างโดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร์ เป็นสถูปแบบมหายาน สันนิษฐษนว่าสร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 7-9 หรือ พุทธศักราช 1393 ตั้งอยู่ทางภาคกลางของเกาะชวา บนที่ราบเกฆุ ทางฝั่งขวาใกล้ากับแม่น้ำโปรโก ห่างจากยอกยาการ์ตา ทางตะวันตกเฉียงเหนือ 40 กิโลเมตร สร้างด้วยหินภูเขาไฟประมาณ 2 ล้านตารางฟุตบนฐานสี่เหลี่ยม หว้างต้านละ 121 เมตร สูง 403 ุต เป็นรูปทรงแบบปิรามิด มีลานเป็นชั้นลดหลั่นกัน 8 ชั้น และใน 8 ั้นนั้น 5 ชั้นล่างเป็นลาน 4 เหลี่ยม 3 ชั้นบนเป็ฯลานวงกลม และบนลานกลมชั้นสูงสุดมีพระสถูปตั้งสูงขึ้นไปอีก 31.5 เมตร เป็นมหาสถูปที่ระเบียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ ลดหลั่นกันไป
   

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...