วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556

ก้าวเข้าสู่สงคราม

    
- นโยบายการต่างประเทศและการดำเนินการทางการทูตของมหาอำนาจในยุโรปส่งผลถึงการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเริ่มมาตั้งแต่สนธิสัญญาสันติภาพหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สร้างความไม่พอใจให้ประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ เยอรมนีไม่พอใจปัญหาค่าปฏิกรรมสงครามและการเสียดินแดน..อิตาลีไม่พอใจปัญหาการแบ่งดินแดนภายหลังสงคราม.. สภาคองเกรสของหเมริกาไม่ยอมลงนามรับรองสนธิสัญญาแวร์ซายเพราะมีความรู้สึกว่าสนธิสัญญาแวร์ซายส์เป็นสนธิสัญญาที่ขาดความยุติธรรม เป็นต้น
    - ประเทศมหาอำนาจในยุโรปหาทางป้องกันการเกิดสงครามขึ้นอีกในอนาคต มีการจัดตั้งองค์การสันนิบาตชาติในปี 1919 เพื่อสันติภาพของโลก และเพื่อความร่วมมือกันระหว่างประเทศ

     - ญี่ปุ่นรุกรานแมนจูเรียของจีน เป็นการเริ่มเปิดฉากและส่งสัญญาณให้รู้ว่าสงครามโลกอาจเกิดขึ้นในไม่ช้า..จีนร้องเรียนสันนิบาตชาติให้ลงโทษ..ญี่ปุ่นลาอกจากสันนิบาตชาติในปี 1933
     - ฮิตเลอร์ปกครองเยอรมนีมีนโยบายยกเลิกสนธิสัญญาแวร์ซายส์
     - นโยบายประเทศมหาอำนาจประชาธิปไตย ความขัดแย้งของนโยบายกลุ่มประเทศมหาอำนาจประธิปไตยขัดแย้งกัน และนโยบายผ่อนปรนด้วยเกรงจะเกิดสงครามครั้งใหม่ขึ้นอีก ล้วนส่งผลดีต่อกลุ่มประเทศเผด็จการ ประกอบกับความไม่กล้าตัดสินใจหากไม่มีการสนับสนุนจากประเทศประชาธิไตยด้วยกัน และการไม่พร้อมที่จะรบเนื่องจากความบอบช้ำจากสงครามครั้งที่แล้ว
     - แกนโรม-เบอร์ลิน การลงโทษขององค์การสันนิบาติชาติไม่เป็นผลต่ออิตาลีในกรณีการรุกรานเอธิโอเปีย

- การวางตัวเป็นกลางของกลุ่มประเทศมหาอำนาจประชาธิปไตยในสงครามกลางเมืองของสเปน.. นาพลฟรังโก เข้วยึดการปกครองจากรัฐบาลฝ่ายซ้ายได้รับการสนับสนุนจากพวกคอมมิวนิสต์ นาซีเยอรมันและฟาสซิสต์อิตาลีส่งกำลังทหารและอาวุธช่วยเหลือนายพลฟรังโกทำการปฏิวัติ รุสเว๊ยเข้าช่วยเหลือฝ่ายรัฐบาล แต่กลุ่มประเทศมหาอำนาจวางตนเป็นกลาง สงครามสิ้นสุดลงเมือกลุ่มชาตินินยมของนายพลฟรังโก เข้ายึดกรุงแมดริคได้
     - ข้อตกลง เยอรมนี-ญี่ปุ่น ความคล้ายคลึงกันของทั้งสองประเทศในหลายด้านจึงนำมาซึ่งความเป็นพันธมิตรกันกล่าวคือ การปกครองในระบอบเผด็จการ ต่อต้านคอมมิวนิสต์รุสเซีย มีนโยบายขัดแย้งกับองค์การสันนิบาตชาติ เป็นต้น ทั้ง 2 ประเทศร่วมลงนามต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ในปีต่อมาอิตาลีเข้าร่วมลงนามด้วย และในปี 1941 มีประเทศอื่นๆ เข้าร่วมอีก 11 ประเทศ
     - ความสัมพันธ์ เยอรมนี-รุสเซีย มีนาคม 1939 สตาลินทำข้อตกลงกับฮิตเลอร์ การที่เยอรมนีมี
สัมพันธ์ไม่ตรีกับรุสเซียครั้งนี้ อาจทำให้อังกฤษและฝรั่งเศสไม่กล้าเข้าแทรกแซงโปแลนด์เมือโปแลนด์ถูกรุกราน รุสเซียตกลงกับเยอรมนีอย่างไม่เป็นทางการว่า รุสเซียจะวางตนเป็นกลางในขณะที่เยอรมนีเข้ารุรานโปแลนด์ แลกกับโปแลนด์ตะวัออก ฟินแลนด์ เอสโทเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และเบราเบีย ทั้ง 2 ประเทศลงนามในสนธิสัญญานาซี-โซเวียต แพค

Second Sino-Japanese War

     สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 เกิดขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สองเรียกว่า “สงครามแปซิฟิก” และดำเนินเรื่อยมากระทั่งยุติลงพร้อมกับสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดใทวีปเอเซียในคริสตวรรษที่ 20

     สถานการณ์ภายในของจีนเป็ฯปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ญี่ปุ่นสามารดำเนินนโยบายรุก ญี่ปุ่นเล็งเห็นผลประโยชน์ในดินแดนแมนจูเรียหลายประการ อาทิทรัพยากรทางธรรมชาและวัตถุดิบอุตสาหกรรม เป็นแหล่งกระจายสินค้าจากญี่ปุ่น และยังเป็นรัฐกันชนระหว่างญี่ปุ่นกับดินแดนไซบีเรียของโซเวียต

     ญี่ปุ่นเริ่มรุกรานดินแดนแมนจูอยางเปิดเผยภายหลังกรณีมุกเดน( มุกเดนหรือ เสิ่นหยางในปัจจุบัน อยู่ทางแมนจูเรียตอนใต้ ซึ่งส่วนหนึ่งของทางรถไฟที่ญี่ปุ่นยึดครองในขณะนั้นเกิดระเบิดขึ้น กองทัพญี่ปุ่นจึงใช้เป้ฯข้ออ้างในการรุกรานแมนจูเรีย และนำมาสู่การก่อตั้ง แมนจูกัว)หลังจากปะทะกันนาน 5 เดือน ญี่ปุ่นได้จัดตั้งรัฐหุ่นเชิดแมนจูกัวขึ้นอดีตจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิง เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินและจักรพรรดิแต่เพียงในนาม รัฐบาลจีนไม่สามารถตอบโต้ทางทหารได้จึงร้องเรียนของความช่วยเหลือไปยังสันนิบาตชาติ เพื่อให้ทำการสอบสวนและประณามการกระทำของญี่เป่นในการรุกรานแมนจูเรีย ญี่ปุ่นจึงต้องถอนตัวออกจากสันนิบาตชาติโดยสิ้นเชิง แต่ยังไม่มีชาติใดดำเนินนโยบายตอบโต้ทางการทหารอย่างชัดเจนแก่ญี่ปุ่น การปะทะกันในเหตุการณ์ 28 มกราคม ได้เกิดการจัดตั้งเขตปลอดทหารเซี่ยงไฮ้ขึ้นกองทัพจีนไม่สามารรถคงกำลังทหารไว้ในเมืองเซี่ยงไฮ้ของตนเองได้ทางด้านแมนจูกัวญี่ปุ่นพยายามดำเนินตามนโยบายของตนในการทำลายกองกำลังอาสาสมัคราต่อต้านญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นและกระจายเป็นวงกว้าง ต่อมาญี่ปุ่นเข้าโจมตีบริเวฯกำแพงเมืองจีน หลังจากนั้นได้มีการเจรจาพักรบตางกู ญี่ปุ่นมีอำนาจเหนือดินแดนเร่อเหอทั้งยังจัดตั้งเขตปลอดทหารบริเวณกำแพงเมืองจีนและเมืองปักกิ่ง ในจุดนี้ญี่ปุ่นพยายามจะจัดตั้งรัฐหุ่นเชิดขึ้นอีกหนึ่งแห่งระหว่างดินแดนแมนจูกัวกับดินแดนแมนจูกัวกับดินแดนของคณะรัฐบลแห่งชาติจีนที่มีฐานบัญชาการอยู่ที่นานกิง ซึ่งญี่ปุ่นทราบจุดอ่นของรัฐบาลแห่งชาติดีว่า ภายหลังการเดินทางขึ้นเหนือของคณะรัฐบาลแห่งชาติจีนอำนาจการปกครองประเทศของรัฐบาลแห่งชาตินั้นจำกัดอยู่ภายใต้อิทธิพลของเหล่าขุนศึกท้องถิ่น ญี่ปุ่นจึงพยายามผูกไม่ตรีและให้ความช่วยเหลือแก่เหล่าขุนศึกท้องถ่นในการจัดตั้งรัฐอิสระขึ้นโดยให้เป็นไมตรีกับญี่ปุ่น

      หลักฐานทางประวัติศาสตร์ส่วนมากระบุจุดเริ่มต้นของสงครามจีนกับญี่ปุ่นครั้งที่ 2 ไว้เมื่อวันที่ 7 กรกฏาคม 1937 การปะทะเริ่มด้วยเหตุการณ์ที่สะพานมาร์โคโปโล ใกล้ปักกิ่งในคืนวัน ที่ 7 เกิดเหตุการณ์การยิงกันระหว่างทหารจีนกับทหารญี่ปุ่น ในขณะที่ทหารญี่ปุ่นกำลังคิดฉ้อฉล การต่อสู้ได้แพร่ขยายออกไปอย่างรวดเร็วและกลายเป้นสงครามในไม่กี่สัปดาห์ ทางฝ่ายจีนมีการต่อต้านอย่างดื้อดึง และฝ่ายญี่ปุ่นเองขาดสิทธิขาดจนดูเหมือนว่าเต็มใจจะให้เกิดข้อตกลงระดับท้องถิ่น ทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายกองบัญชาการทหารระดับสูง  นายทหารหลายคนไม่เต็ใจที่จะให้กองทัพผู้มัดตัวเองในประเทศจีนและละทิ้งแมนจูเรียและมองโกเลีย ซึ่งจะเปิดโอกาศในถูกจู่โจมจากรุสเซีย

     ELT200805121816470145291 ทันที่ที่มีการปฏิบัติการแล้ว โตเกียวทำการเสริมกำลังรบ ในต้นเดือนสิ่งหาคม เทียนสินและปักกิ่งถูกยึดครอง เดือนกันยายนทหารกวา 150,000นายเคลื่อนพลเข้าจีน สงครามขยายสู่ทางใต้ ซึ่งเริ่มต้นที่เซียงไฮ้ มีการรบกันอย่างหนัก และบุกทลวงขึ้นไปตามแม่น้ำแยงซีสู่กรุงนานกิง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของ เจียง ไค เชค ญี่ปุ่นยึดนานกิงได้ในเดือนธันวาคม และกลายเป็นฉากแห่งการทำลายล้างผลาญชีวิตผู้คนด้วยนำมือผู้คนด้วยกันครั้งเลวร้ายที่สุดของสงคราม กองทหารญีปุ่นหย่อนระเบียบวินัย การฆาตกรรม ปล้นสะดม เผลาผลาญ ขมขื่น เหตุการณ์ดังกล่าวได้รับการกล่าวขานในเวลาต่อมาว่า “การข่มขืนที่นานกิง”

     ข้อเรียกร้องของจีนถูกเพิกเฉยจากองค์กรสันนิบาตแห่งชาติ ทั้งประเทศเตรียมพร้อมที่จะทำสงครามเต็มขนาด การปิดลิ้มทางทะเลได้ขยายไปทั่วชายฝั่งจีน รวมทั้งเมืองต่าง ๆ ของจีนก็ถูกโจมตีอย่างหนัก กำลังทหารในจีนภาคเหนือและลุ่มน้ำแยงซีเชื่อถึงกันโดยการทางบก เดือนตุลาคมปีเดียวกัน ทหารเคลื่อนพลไปตามลำน้ำแยงซีจนถึงเมืองฮันเค้า กำลังอีกส่วนในภาคใต้ไปถึงเมือกวางตุ้ง เดือนพฤศจิกายน รัฐบาลโคโนประกาศแผนการเพื่อ “ระเบียบแบบแผนใหม่” อันที่จริงแล้วญี่ปุ่นได้ควบคุมพื้นที่ที่มั่งคั้งที่สุดส่วนใหญ่ของจีนไว้ได้หมดแล้วยกเว้นมณฑลเสฉวน

      ชัยชนะของญี่ปุ่นไม่สามารถทำให้รัฐบาลพรรคชาตินิยม(The Nationlist Party ของ เจียง..)ยอมแพ้ ลัทธิชาตินิยมขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ

     การที่จะต้องเตรียมพร้อมรับมือกับรุสเซียในไม่กี่ปีข้างหน้า ผุ้นำทางการทหารญี่ปุ่นจึงเปลียนยุทธศาสตร์ แสวงหาความได้เปรียบทางการเมืองมากกว่าทางการทหาร โดยพยายามตัดจีนจากโลกภายนอก ซึ่งนำไปสู่การยึดครองไหนาน ซึ่งเป็นเขตผลประโยชน์ฝรั่งเศส และปิดล้อมเชตสัมปทานอังกฤษและฝรั่งเศสในเทียนสิน ในเวลาต่อมา แผนการดังกล่าวสำเร็จลุล่วงเมือเกิดสงครามขึ้นในยุโรป

     เหตุการณ์ในประเทศจีนมีผลกระทบสำคัญมากต่อสัมพันธภาพระหว่างญี่ปุ่นกับบรรดามหาอำนาจเมืออำนาจของญี่ปุ่นขยายออกไปจึงเป็ฯการเอื้อประโยชน์ต่อการค้าของญี่ปุ่น เป็ฯการโจมตีผลประโยชน์อังกฤษและอเมริกในบางระดับ การกระทำบางประการของญี่ปุ่นชักนำเรืออังกฤษและอเมริกาเข้ามาพัวพันในกลุ่มแม่นำแยงซี สิ่งเหล่านี้ช่วยส่งเสริมให้สองประเทศแสดงความเห็นอกเห็ใจจีน

      ญี่ปุ่นมีโอกาศที่จะถูกรุสเซียโจมตี การบีบบังคับรุสเซียให้ขายกิจการบริษัทเดินรถไฟสายแมนจูเรียใต้ ทำให้มีพรมแดนร่วมกัน การปะทะกันจึงเกิดมีเป็นระยะๆ ซึ่งญี่ปุ่นต้องคอยระวังพละกำลังของรุสเซีย

     การถูกโดดเดียวทางการทูตจากการถอนตัวออกจากองค์การสันนิบาติแห่งชาติ ญี่ปุ่นเริ่มมองหาเพื่อน จึงนำไปสูเยอรมนี…

     เมื่อศัตรูของเยอรมนีคือความเชื่อมั่นในการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์และต้องการมิตรเช่นเดียวกับญี่ปุ่น ผลคือการลงนามในสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากล เป็ฯองค์การส่งเสริมการปฏิวัติโลกให้เป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีรุสเซียอยู่เบื้องหลัง

     กลุ่มอิทธิพลฝ่ายทหาราเร่งเร้า ให้ทำข้อตกลงกับเยอรมนีและจบลงด้วยการเมื่อมีการประกาศสนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมนี-รุสเซียในขั้นแรกและรัฐบาลโคโนชุดที่สอง รัฐมนตรีต่างประเทศมีความมั่นใจว่าจะได้เปรียบเยอรมนีจากข้อตกลงร่วมกันและยังเชื่อมั่นว่าเยอรมนีจะเป็นฝ่ายชนะในยุโรป สนธิสัญญาไตรภาคี ญี่ปุ่น เยอรมนีและอิตาลถูกลงนามในเดือน กันยายน  1939 สนธิสัญญาว่าด้วยความเป็นกลาง มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ญี่ปุ่นมีความแน่นอนใจในพรมแดนของภาคเหนือของตนมากยิ่งขึ้น

     แผนการขยายอำนาจในเอซียอาคเนย์ ตั้งแต่ปี 1936 ได้มีการลงมติตัดสินใจที่ได้รับการยืนยันอีกครั้งในวงในของคณะรัฐบาลในเดือนกันยายน ว่าญี่ปุ่นควรฉวยโอกาสที่สงครามในยุโปเอื้อต่อการตั้งมั่นในอินโดจีน สยาม(ไทย)พม่า มลายูและกมู่เกาะอินเดียในขึ้นต้น ใช้วิธีทางการทูต โดยจะต้องพยายามทุกวิถีทางเพื่อหลีกเลี่ยงการขัดแย้งกับอเมริกาแต่ในท้ายที่สุดจะใช้กำลังและยอมรับการเสี่ยงทำสงคราม

      นายพลโตโจ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีโดยมาจากกระทรวงการสงคราม เขาเป็นคนนิยมใช้อำนาจตามทรรศนะของทหารที่เคร่งครัดเป็นตัวอย่างตัวแทนของกองบัญชาการทหารระดับสูง เขามีแนวทางอันไม่ประณีประนอมซึ่งเหมาะสมกับผู้นำในยามรบ การแต่งตั้งเขาเป้นนายกรัฐมนตรีจึงเป็นการนำไปสู่เผด็จการโดยทหาร เผด็จการโดยคณะเสนธิการทหารและนำไปสู่สงครามในที่สุด

       ความพยายามทางการทูตที่จะให้อเมริกาละทิ้งจีนและขยายข้อผ่อนปรนทางเศรษฐกิจเป็นการตอบแทนในการที่ญี่ปุ่นยับยั้งการรุกคือบหน้า การเจรจาล้มเหลว วอชิงตันปฏิเสธข้อเสนอและ 5 วันต่อมาที่ประชุมหน้าพระที่นั่งในโตเกียวมีมติให้โจมตี นักยุทธศาสตร์ญี่ปุ่นเชื่อว่า สหรัฐต้องตะลึงกับบรรดาประเทศในเอเชียที่ถูกรุกราน กองทัพเรืออเมริกาในแปซิฟิคที่สามารถจะคุกคามขอบข่ายการคมนาคมสื่อสารของญี่ปุ่นกับทางใต้นั้นย่อมจะต้องเป็นเป้าแรกของการโจมตี ดังนั้น การโจมตีทางอากาศครั้งสำคัญจึงมุ่งที่ฐานทัพในหมูเกาะฮาไวอิ (Hawaii)คือ เพิลล์ ฮาร์เบอร์

วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556

Nanking:National state

     ด้วยความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต พรรคคอมมิวนิสต์จีน หรือ ccp ก็สามารถจัดตั้งขึ้นเป็นทางการได้สำเร็จในปี 1921 ความร่วมมือ จากรัศเซีย(โคมินเทอร์น) ccp และ พรรคก๊กมินตั๋ง ของซุน ยัด-เซ็น ทำให้พรรคเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในที่สุดก็สามารถเข้าควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไว้ได้ แต่ก๊กมินตั๋งเปลี่ยนท่าทีเป็นต่อต้านกระทั่งพรรคccp เกือบหมดอำนาจในที่สุด
       ด้วยการให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากรัสเซียทำให้ ccp เป็นองค์กรที่เป็ฯที่รู้จักมากขึ้น สามารถรวมพลังนักชาตินิยมต่อสู้กับจักรวรรดินิยมตะวันตก และยังได้รับการสนับสนุนทางด้านอาวุธเงินทะน และคำปรึกษาที่มีคุณค่าจากรัสเซีย อันทำให้พรรคเข้าใจอย่างถ่องแท้ในการเมืองระบบพรรค และวิธีการทางทหารมากว่าที่จะเป็นแค่เพียงสมาคมลับอย่างอดีต ผลของการร่วมมือคือการจัดตั้งสถาบันทหารวันเปาขึ้น อันเป็นสถบันทางการทหารที่ประกอบด้วยที่ปรึกษาทางทหารจากองค์การโคมินเทอร์น สมาชิกพรรค ccp และพรรคก๊กมินตั๋ง ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่เหนือกวากองกำลังขุนศึกทางภาคเหนือ
     การร่วมมือระหว่างที่ปรึกษาจากองค์การโคมินเทอร์นกับสมรชิกพรรคก็กมินตั๋งดำเนินไปด้วยดี การได้รับการปฏิบัติจากรัสเซียสมือนเป็นพันธมิตร โดยไม่แสดงทีท่าว่าจะเข้ายึดครองจีนเหมือมหาอำนาจตะวันตกอื่นๆ ทำให้พรรค ccp แสดงออกอย่างชัดเจนและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองไปเป็นคอมมิวนิสต์ตามอยางรัสเซียได้ทุกเมื่อ ซึ่งขัดแย้งกับสามชิกฝ่ายขวาในพรรคก๊กมินตั๋ง แม้กระนั้น ซุน ยัด-เซ็นก็ได้กล่าวว่า “การปฏิวัติจะไม่มีทางสำเร็จถ้าขาดที่ปรึกษาชาวรัสเซียเหล่านนั้น”
     หลังอสัญกรรมของ ซุน ยัด-เซ็น การแก่งแย่งอำนาจรุนแรงและมากขึ้นผู้นำฝ่ายซ้ายหัวรุนแรงคนหนึ่งของพรรคก็กมินตั๋งถูกลอบสังหาร ในที่สุด หวัง ชิง-ไหว ก็ขึ้นเป็นผู้นำคนใหม่ของพรรค แต่ที่สำคัญ หวังมีความคิดโน้มเอียงมาทาง ccp การขึ้นสู่ตำแน่งผู้นำของ หวัง ชิง-ไหวและการเติบโตของพรรค ccp กลายเป็ฯปัญหาข้อขัดแย้งทางการเมืองของพรรค  เมื่อ เชียง ไค เชค ผู้บัญชาการกองทัพก๊กมินตั๋งและผู้บัญชาการสถาบันทหารวันเปากลายเป็นผู้มีอิทธิพอย่างสูงโดยเฉพาะต่อบรรดานายทหารหนุ่มรุ่นใหม่ของกองทัพ
     เชียงไม่พอใจกับการเติบโตของคอมมิวนิสต์ ได้สังการให้จับกุมที่ปรึกษาชาวรัสเซียและนายทหารระดับผู้นำสังกัดพรรค คอมมิวนิสต์จีน ccp ด้วยข้อหาว่ายุยงให้มีการก่อรัฐประหาร แต่ต่อมาได้รับการปลดปล่อยและมีการส่งสาร์นแสดงความเสียใจ..จากนั้นเชียง ไค เชค ก็ก้าวขึ้นสู้ตำแน่งผุ้นำทางการเมือง มีอำนาจเหนือกองทัพ พรรค และรัฐบาล หวัง ชิง ไหว เลื่อกที่จะเดินทางออำนอกประเทศ ดังนั้น เชียง ไค เชค จึงกลายเป้นผุ้มีอำนาจที่แท้จริงแต่เพียงผู้เดียว
    กองทัพก๊กมินตั๋งบุกขึ้นทางเหนือแม้ขุนศึกทางเหนือจะมีกำลังพลทีมากกว่าแต่ความเด็ดเดี่ยวของเจียง ไค เชค และการให้มากกว่าการแย่งชิง ชาวไรชาวนาจึงให้การสนับสนุนกองทัพก๊กมินตั๋ง
    พรรคคอมมิวนิสต์ไม่ได้เข้าร่วมทำสงครามกับก๊กมินตั๋ง ได้แต่ดำนินการโฆษนาทางการเมือง ทั้งในพื้อนที่ที่ปลดปล่อยแล้ว และพื้นที่ที่กองทัพ เพิ่งจะปลดปลอย่  คือ เชียง ไค เชค ก้าวไปข้างหน้ามากเท่าไร อิทธิพลของคอมมิวนิสตก็ขยายตัวออกไปไกลเท่านั้น
      การรวมตัวกันของพรรค ccp และ ก๊กมินตั๋งเพื่อการรวมประเทศ ดูเหมือนจะไม่มีทางสำเร็จตั้งแต่เริ่มต้น ทั้งนี้เพราะความแตกต่างกันในเรื่องอุดมการณ์ของทั้ง 2 ฝ่าย ก๊กมินตั้งไม่มีความเชื่อว่าการต่อสู้ทางชนชั้นจะนำมาใช้เป็นพลังในการปฏิวัติ ได้ และไม่เชื่อว่าคนจนนะสามารถสู้กับคนรวย และยิ่งเป็นคนในครอบครัวเดียวกันด้วยแล้ว   เมื่อทางฝ่ายccp สามารถชิงมวลชนและจัดตั้งสหพันธ์ชาวไร่ชาวนและสหภาพแรงงาน ซึ่งตกอยู่ในการชี่นำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ส่วนใหญ่เริ่มเติบโตเข้ามแข้.ขึ้นทันที่ที่กองทัพจากไป การขัดแย่งอย่างเปิดเผยเมืองกงทัพก๊กมินตั๋ง เคลื่อนเข้าใกล้เมืองเซียงไฮ้ ก่อนที่เชียง ไค เชค จะเข้าเมือง สหภาพแรงงานภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีนรวมตัวกันจากภายในเข้ายึดอำนาจรัฐ  เชียงมองว่าเป็นแผนการการหาเสียของฝ่ายซีซีพี ด้วยเหตุนี้ เมือเชียง..เข้าเมืองได้จงสั่งการประหารสมาชิกสหภาพแรงงานเป็นจำนวนพัน ๆ คน
     เมษายน ปี 1927 สมาชิกผู้นำก๊กมินตั๋ง และเชียง ไค เชค มาพบกันที่เมืองนานกิง ประกาศจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติโดยไม่มีพรรคซีซีพีเข้าร่วม การต่อสู้แบบสามเส้รจึเกิดขึ้น ฝ่ายหนึ่งคือคอมมิวนิสต์ อีกกลุ่มได้แก่สมาชิกก๊กมินตั้งที่ค่อนข้างมีความคิดขวาและขวาจัดโดยการนำของเชียง ไค เชค และกงุ่มสุดท้ายคือก๊กมินตั๋งที่มความคิดซ้ายและซ้ายจัด หรือกลุ่มของ หวัง ชิง ไหว ซึ่งมีความคิดไปทาง ccp และที่สำคัญต่อต้าน เชียง ไค เชค เนื่องจากการเมืองภายในรุสเซียจึงไม่ให้ความช่วยเหลือพรรคคอมมิวนิสต์จีน
     ในที่สุดพรรคซีซ๊พีตัดสินใจจับอาวูขึ้นต่อสู้ ถึงแม้จะพ่ายแพ้ต่อมาในเวลาไม่ถึงสัปดาห์เพาะขาดกำลัง แต่ผู้ร่วมก่อการหลายคนได้กลายเป็นผู้นำสำคัญของกองทัพแดงในเวลาต่อมา
     รัฐบาลก๊กมินตั๋งที่นานกิง หลังจากแยกตัวกับพรรคคอมมิวนิสต์ เชียง ไค เชค หันมารื้อฟื้นนโยบายการรวามประเทศ เมื่องนานกิง ดันอุดมสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งบนลุ่มน้ำแยงซี เขายกฐานะเป็นเมืองหลวงของรัฐบาลก๊กมินตั๋ง อิทธิพลของเชียง ไคยเชค ก็ขยายตัวอย่างรวดเร็วสู่ดินแดนทางภาคเหนือและในที่สุดปักกิ่งก็ตกเป็นของเขา และรุกเรื่อไปถึงแมนจูเรีย เอนเป็นดินแดรภายใต้การปกครองของขุนศึกจา ซือ เหลียง ผุ้มีความหวาดกลัวญี่ปุ่น จึงเปลี่ยนท่าทีมาให้ความร่วมมือrabe_1937_nanking-rd-vu
    นานกิงเป็นจุดศุนย์รวมทางการเมืองและจากจุดนี้จึงความเป็นรัฐประชาชาติเริ่มก่อกำเนิดขึ้น ก๊กมินตั๋งในคำมั่นกับประชาชนว่าในอนาคตพรรคจะสามารถสถาปนาระบอบประชาธิปไตยได้สำเร็จ แตะประชาชนชาวจีนโดยทั่งไปแล้วน้อยคนจะเข้าใจความหมายประชาธิปไตยอย่างแท้จริง รวมทั้งไม่สนใจในตัวผุ้ปกครองว่าเจะเป็นเผด็จการหรือไม่ เชียง เอง ก็รมีความเป็นเผด็จการฟาสซิสต์ และนิยมในปรัชญาของขงจื้อ มีเพียงสมาชิกชนชั้นสุงรุ่นใหม่บางคนที่เข้าใจและให้ความสำคัญของการเป็นรัฐประชาชาติซึ่งมีจำนวนเพียงเล็กน้อยไม่มากพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติที่ประสิทธิภาพได้
     หลังการพ่ายแพ้ของพรรคคอมมิวนิสต์ส่งผลให้สมาชิกระดับผุ้นำหลายคน พร้อมที่ปรึกษาชาวรัสเซียจำนวนหนึ่งหลบหนีเข้าป่า บางกลุ่มก็หลบซ่อนการจับกุมของฝ่ายลบ้านเมืองอยู่ตามเมืองใหญ่
   ในข้อเขียนของเมา เชตุง หลังจากการพ่ายแพ้ของพรรคคอมมิวนิสต์อันเป็นเหตุให้ต้องหลบหนีขึ้นภูเขาไปดำเนินการต่อสู้ทางชนชั้นอย่างโดดเดี่ยว ขาดฐานสนับสนุนทางการเมืองจากคนในพื้นที่ ประกอบกับการถูกตามล่าจาพรรคก๊กมินตั๋ง เมาจึงต้องจัดกาองทหารป่า ด้วยการรวบรวมภาคใต้ของมณฑลเกียงสีเกือบทั้งหมด อาณาบริเวณนี้ต่อมาในปี 1931 ได้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า “สาธารณรับโซเวียดของชาวจีน”…
    
      การขยายอิทธพลทางการทหารของญี๋ปุ่น
ญี่ปุ่นขยายตัวทางการทหารอย่างจริงจังและเข้ายึดดินแดนทางภาคตะวัออกเฉียงเหนือ อันได้แก่ส่วนหนึ่งของแมนจูเรีย คาบสมุทรเหลียวตุงและเมืองท่าที่สำคัญอีก 2 แห่งและรวมทั้งเส้นทางรถไฟสายแมนจูเรียตอนใต้ และสิทธิในการลงทุนร่วมในกิจการสำคัญอีกหลายแห่ง โดยมีทหารญี่ปุ่นเป็นผุ้ให้ความคุ้มครองการคุกคามอำนาจอธิปไตย ซึ่งได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวจี ซึ่งแสดงให้เห็นตั้งแต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
     ในแมนจุเรีย ปุ่นมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับขุนศึกจีนคนหนึ่ง และด้วยความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้ญี่ปุ่นรอดพ้นจากการต่อต้านจากทหารฝ่ายรัฐบาลแต่เมื่อ ก๊กมินตั๋งขยายตัวสู่ภาคเหนือความสัมพันธ์จึงสะบั้นลง
      ต้นทศวรรษที่ 1930 รัฐบาลญี่ปุ่นอยู่ภายใต้อำนาจกลุ่มนายทหารหัวรุนแรง ผู้ได้รับอิทธิพลจากความสำเร็จทางการทหารของชาติ ทั้งผลกระทบจากเศรษฐกิจตกต่ำ และเพื่อปกป้องผลประโยชน์จากตะวันตก ความคิดที่จะรุกรานจคนอย่างจริงจังจึงเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้น

วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2556

สัมพันธมิตรดั้งเดิม(มหาอำนาจประชาธิปไตย)

     ฝ่ายสัมพันธมิตรดั้งเดิมในสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นกลุ่มประเทศที่เข้ามาพัวพันในสงครามโลกครั้งสองเพราะประเทศเหล่านี้ถูกรุกรานก่อน อันประกอบด้วย ผรังเศส โปแลนด์ สหราชอาณาจักร ชาติ
เครือจักรภพอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสหภาพแอฟริกาใต้ สัมพันธมิตรดั้งเดิม คือกลุ่มประเทศที่ประกาศสงครามต่อนาซีเยอรมนีในช่วงการบุกครองในปี 1939 ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีความสัมพันธ์กันจากเครื่อข่ายสนธิสัญญาป้องกันร่วมกัน และสนธิสัญญาในความร่วมมือพันธมิตรทางการทหารก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ส่วนความร่วมมือกันระหว่างสหราชอาณาจักและฝรั่งเศสสามารถย้อนไปได้ถึงความเข้าใจระหว่างอังกฤษ-ฝรั่งเศษในปี 1904 และฝ่ายไตรภาคี ในปี 1907 และดำเนินการร่วมกันในปีช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ส่วน
พันธมิตรทางการทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์ ได้ลงนามในปี 1921 ซึ่งได้รับการแก้ไขในปี 1927 และ1939 ส่วนบัญญัติป้องกันร่วมกันอังกฤษ-โปแลนด์ ลงนามในเดือนสิงหาคม ปี 1939 ประกอบด้วยสัญญาในการให้ความร่วมมือทางการทหารร่วมกันระหว่างชาติในกรณีถูกรุกรานโดยนาซีเยอรมนี
      ประเทศมหาอำนาจประชาธิปไตย มีนโยบายการต่างประเทศที่ขัดแย้งกัน โดยไม่ได้ทำความตกลงกันก่อน การที่ฝรั่งเศสยกกองทัพเข้ายึดแคว้นรูห์ อังกฤษไม่เห็นด้วย เพราะผลที่ตารมมาทำให้เยอรมนีอ้างการที่ถูกยึดแค้วนรูห์นี้ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ พวกกรรมกรในโรงงานอุตสาหรรมนัดหยุดงาน เยอรมนีไม่มีเงินจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม
     ในกรณีที่สันนิบาตชาติจักการประชุมให้มีการลดอาวูทางบกและทางเรือนั้น อังกฤษยอมให้เยอรมนีมีกำลังอาวุธทางเรือ 35 เปอร์เซ็นต์ ของกองทัพเรืออังกฤษ สร้างความไม่พอใจให้ฝรั่งเศสเป็นอย่างมากฝรั้งเศสไม่ต้องการให้เยอมนีสะสมกำลังอาวุธเพื่มขึ้น และไม่เป็นไปตามข้อตกลงขององค์การสันนิบาตชาติ
     มาตรการผ่อนปรน ต่อประเทศมหาอำนาจอักษะ คือการยอมทำตามข้อเรียกร้องของกลุ่มประเทศเผด็จการโดยหวังว่าเมือยอมฝ่านปรนเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว ประเทศนั้นคงไม่ละเมิดสัญญาเรียกร้องสิ่งอื่นๆ เพิ่มขึ้น แต่ความเป็นจริงแล้วประเทศเหล่านี้ก็ยังคงเรียกร้องในสิ่งที่ตนต้องการ และเนื่องจากผลเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งคาดว่าหากเกิดสงครามขึ้นอีกครั้งผลเสียหายจะมีมากกว่าจึ้งพยายามไกล่เกลี่ยให้เกิดสันติภาพเป็นเป็นการส่งผลดีให้ทางฝ่ายเยอรมนี ฮิตเลอร์ฉวยโอกาสเข้ารุกรานดินแดนอื่นๆ


     นโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ของฮิตเลอร์มีผลต่อประเทศมหาอำนาจพันธมิตร อังกฤษพอใจที่เยอรมนีต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ และจะมีนโยบายเป็นกลางไม่ขัดขวางการรุกรานของเยอรมนีแต่อย่างใด
     ฝรั้งเศสไม่พอใจนโยบายของพรรคนาซี แต่ผรังเศสไม่กล้าตัดสินใจทำอำไรถ้าอังกฤษไม่ให้ความสนับสนุน ฮิตเลอร์ตระหนักดีว่าฝรั่งเศส ไม่พร้อมที่จะทำสงครามและยอมรับสัมพันธภาพระหว่งฝรั่งเศสกับโปแลนก์และการเพ่มกำลังทหารรักษาเขรไรน์แลนด็ให้เข้มแข็งขึ้น นโยบายภายในประเทศ มีการแข่งขันทางการเมืองกันบ่อยครั้ง มีพวกหัวปานกลาง ซ้ายจัด และขวาจัด พวกซ้ายจัดได้แก่พรรคอมมิวนิสต์ และพวกขวาจัดคือพรรคฟาสซิสม์ ฐานะการเมืองฝรั่งเศสไม่มั่นคง เมื่อฮิตเลอร์ยกกองทัพเข้ายึดเขตไรน์แลนด์ ฝรั่งเศสไม่มีทางต่อต้านกองทัพเยอรมนี รัฐบาลฝรั่งเศสเป็นรัฐบาลผสมประกอบด้วยพรรคโซเซียลิสต์และคอมมิวนิสต์ นโยบายในการฏิรูปสังคมสร้างความตกใจแก่พรรคอนุรักษ์นิยม ซึ่งเป็นเหตุให้ฝ่ายขวาให้การสนับสนุนพรรคนาซีเยอรมนีอย่างเปิดเผย
 

  นโยบายการต่างประเทศของกลุ่มประเทศมหาอำนาจประชาธิไตยเป็นนโยบายผ่อนปรนต่อมหาอำนาจอักษะ ด้วยต้องการสันติภาพ ไม่มีการเตีรยมพร้อมที่จะทำสงครามและคาดว่าสงครามคงจะไม่เกิดขึ้นอีก ฐานะทางการเมือง
ภายในประเทศไม่มั่นคง พรรคการเมืองต่าง ๆ แย่งชิงกันเป็นรัฐบาล ไม่มีโอกาสที่จะเตรียมกำลังทหารในการทำสงคราม นโยบายการต่างประเทศของฝ่ายอักษะมั่งคงและเข้มแข็งกว่า ฮิตเลอร์และมุสโสลินีเรียกร้องในส่งที่จรต้องการตลอดเวลา และเมือใช้กำลังทหารเข้ายึดครองอินแดนต่าง ๆ กลุ่มมหาอำนาจประชาธิปไตยก็ไม่กล้าตัดสินใจทกำการต่อต้านแต่อย่างไร

วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556

Benito Amilcare Andrea Mussolini

imageเบนิโต มุสโสลินี เกิดที่เมืองฟอร์ลิ ในแคว้นดรมันญ่า บิดามีอาชีพเป็นช่างตีเหล็กที่ยากจนมารดา เป็นครูในชนบท มุสโสลินีเคยเป็นครูสอนหนังสือก่อนจะหนีการเกณฑ์ทหารไปอยู่สวิตเซอรืแลนด์ ในช่วงนี้เองเขาเลี้ยงชีพโดยการเป็นกรรมกรรับจ้าง ซึ่งทำให้เขาเริ่มหันมาสนใจในลัทธิสังคมนิยมแนวซินดิคาลิสม์ ซึ่งต้องการให้สหภาพกรรมกรเป็นกลุ่มควบคุมอุตสาหกรรมของประเทศ ต่อมาเขาเข้าร่วมกับกลุ่มปฏิวัติจึงถูกขับออาจากสวิสเซอร์แลนด์และกลับมาอยุ่ที่อิตาลีในปี 1904
เมื่อกลับมาอยู่อิตาลีเขาเข้าเป็นสมาชิกพรรคสงคมนิยมโดยทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการณ์หนังสือพิมพ์พรรค ปี 1908-1909 เขาเดินทางไปอาศัยอยู่ที่ออสเตรีย-ฮังการีซึ่งเป็นดินแดนที่อิตาลีหวังจะได้เข้าครอบครอง ซึ่งทำให้มุสโสลินีเกิดความรู้สึกชาตินิยม เขาได้มีดอกาสอ่านงานของนิชเช่ และดซเรลซึ่งเป็นกลุ่มนักปรัชญาที่สนับสนุนการใช้กำลังอำนาจ
เมื่อสงครามโลกครั้งท่ 1 มุสโสลินีเขียนบทความสนับสนุนการกระทำของฝ่ายพันธมิตรและสนับสนุนการกระทำของฝ่ายสัมพันธมิตรและสนับสนุนอิตาลีให้ประกาศสงครามกับออสเตรีย-ฮังการี เขาถูกกล่าวหาว่ารับสินบนในการเขียนบทความดังกล่าวจากฝรั่งเศส การกระทำของมุสโสลินีขัดกับนโยบายของพรรคสังคมนิยมซึ่งต่อต้านสงคราม มุสโสลินีจึงถูกบังคับให้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค หลังจากนั้นมุสโสลินีได้ก่อต้งหนังสือพิมพ์ขึ้นที่มิลานโดยมีนดยบายสนับสนุนให้อิตาลีเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 มุสโสลินีได้รับบาดเจ็บจากการเข้าร่วมรบในสงคราโลกครั้งที่ 1 และกลับมาอาศัยอยู่ที่มิลาเพื่อทำหนังสือพิมพ์ และในช่วงนี้เองที่มุสโสลินีตัดขาดจากความคิดด้านสังคมนิยม
มุสโสลินีแต่งงานกับ ราเชล กูดิ มีลูกด้วยกัน 5 คนเขาเป้นนักเขียนบทวิจารณ์ทางการเมืองและนักพูดฝีปากเอ และมีผลงานในการต่างหนังสือหลายเล่ม
ฟาสซิสต์ เป็นกลุ่มการเมืองที่มีนโยบายผสมระหว่างแนวความคิดทางการเมืองของกลุ่มซินดิคาลิสม์กับแนวความคิดชาตินิยมเข้าด้วยกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อตานคอมมูนิสต์ ต่อต้านรัฐบาลที่ไร้สมรรถภาพและเรียร้องสิ่งที่อิตาลีความได้รบจากการทำสนธิสัญญาสงบศึกทีกรุงปารีส ฟาสซิสต์ เป็นภาษาละตินและเป็นคำพนูพจน์ซึ่งหมายถึง กลุมแขนงไม้ ซึ่งถูกมัดรวมเข้ากับด้ามขวานเป็นเครื่องหมายแห่งอำนาจในสมัยดรมันโบราณ ลัทธิฟาสซิสต์ มีความเป็นชาตินยม ไม่ยอมรับอำนาจอธิปไตยของประชาชน แต่จะให้ประชาชนยกย่องและเชื่อฟังผู้นำโดยผุ้นำสัญญาที่จะมอบความก้าวหน้าให้แก่ผุ้ที่จงรักภักดีต่อผู้นำ ถือว่ารัฐเป็นสิ่งสูงสุด ไม่เชื่อในกรปกครองระบอบประชาธิปไตยเพราะคิดวาเป็นการปกครองที่ขาดประสิทธิภาพ เพราะต้องมีการวิพากษ์วิจารณ์และต้องยอมรับมติของเสียงส่วนใหญ่ จึงล่าข้า การปกครองอย่างเข้มงวดจึงปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ถูกปลูกฝั่งให้เกิดความหลงชาติดดยการดูถูกเชื้อชาติอื่นว่ามีระดับความเจริญต่ำกว่า มีนดยบายทำลายชนเชื้อชาติอื่นๆ ที่ด้อยกว่า
สมาชิกฟาสซิสต์เป็นกลุ่มที่ยกย่องความรุ่งเรืองในอดีตของจักรวรรดิดรมันภายในพรรคมีกองกำลังติดอาวธซึ่งเป็นที่เกรงขามและมีชื่อเสียงในหมุ่ประชาชน
ฟาสซิสต์โจมตีพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งได้รับความนิยมในขณะนั้น การก่อกวนศัตรูทางกาเมืองของกองกำลังฟาสซิสต์ทำให้อิตาลีเสมือนตกอยู่ในสถานการณ์ของสงครามกลางเมือง การแสดงความเป็นชาตินิยมของมุสโสลินีจึงทำให้ประชาชนและกลุ่มผุ้นำทางการเมืองรุ่นเก่าเริ่มให้ความเชื่อถือต่อมุสดสลินี และคิดว่าฟาสซิสต์จะสามารถยุติความวุ่นวายที่เกิดขึ้นได้ มุสโสลินีเห็นว่าพรรคฟาสซิสต์มีอำนาจสูงสุดในบรรดากลุ่มการเมืองจึงทดสอบการใช้อำนาจโดยสั่งกองกำลังพรรคฟาสซิสต์เดินทัพสู่กรุงโรม เมื่อเป็นดังนั้น พระเจ้าวิคเตอร์ เอมมานูเอลที่ 3 จึงมอบหน้าที่ให้มุสโสลินีเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลผสม ดดยมีจุดมุ่งหมายให้รฐบาลผสมทำหน้าทีป้องกันการปฏิวติของพวกคอมมูนิสต์ในอิตาล
กฏหมายอเซอร์โบ มุสโสลินีปกครองในระบบรัฐบาลผสมด้วยความยุงยากแต่กองกำลังของพรรคฟาสซิสต์ที่ใช้วิธีการรุนแรงยังคงเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ทำให้สามารถควบคุมสถานะการให้อยู่ในภาวะปกคติ และเพื่อเป็นการคงไว้ซึ่งอำนาจทางการปกครอง เขาจึงบังคับให้รัฐสภายอมรับกฎหมายอเซอร์โบ ซึ่งเป็นกฎหมายที่เปิดโอกาสให้มุสสลินีสามารถเปลี่ยนการปกรองอิตาลีสู่ระบอบเผด็จการ
มุสโสลินีใช้วิธีรุนแรงต่อศัตรุทางการเมือง กรณีนักการเมืองฝ่ายค้านคนหนึ่งถูกทำร้ายกระทั่งไม่สามารถเข้าร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ นักการเมืองสังกัดพรรคดังกล่าวจึงโจมตีและเขียนบทความประนามการกระทำอันเหี้ยมโหดของพรรคฟาสซิสต์ รวมทั้งเปิดโปงการทุจริตในรัฐบาล ซึ่งต่อมาก็ถูกฆ่าตาย และสร้างความไม่พอใจให้แก่ประชาชนชาวอิตาลี พระเจ้าวิคเตอร์ ไม่ทรงตัดสินพระทัยอย่างใดอย่างหนึ่ง มุสโสลินีจึงลดความกดดันทางการเมืองโดยการขับไล่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการตายดังกล่าวเป็นการชั่วคราวเมื่อสถานะการณ์สงบลงจึงต่างตั้งกลัเข้ารับราชการดังเดิม
พรรคฟาสวิสต์กลายเป็นพรรคการเมืองที่มีอำนาจเด็ดขาดเพียงพรรคเดียว อิตาลีตกอยู่ภายใต้การปกครองในระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ เสรีภาพนักหนังสือพิมพ์หมดไปเพราะถูกควบคุมโดยรัฐบาล สหภาพกรรมกรสูญเสียอำนาจ การนัดหยุดพงายเป็นสิ่งผิดกฏหมาย อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ควบคุมโดยรัฐ ระบบทุนเสรีนิยมหมดไปจากอิตาลี
มุสดสลินีเป้นนักพูดที่มีความสามารถ และมักจะใช้วะธีการกล่าวปราศัยปลุกเร้าความรู้สกของประชาชนให้หันมานิยมในตัวเขา เขาใช้วิธีการจัดสวนสนามเพื่อแสดงออกถึงความรุ่งเรืองของอิตาลีภายใตการนำของของฟาสซิสต์
มุสโสลินีแก้ปัญหาการว่างงานโดยการเร่งสร้างระบบสาธารณูปโภค และปรัปรุงเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถเลี้ยงตนเองได้ การทำอุตสาหกรรมภายในประเทศได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลโดยตรง มีการตั้งกำแพงภาษีศุลกากร เพื่อป้องกันการแข่งขันจากสินค้าภายนอกประเทศ และสงเสริมเกษตรกรรมโดยนำเอาวิธีการเกษตรสมยใหม่มาใช้
มุสโสลินียุติความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลอิตาลีกับสันตปาปาซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตั้งแต่ทหารอิตาเลียนยึดกรุงโรมในปี 1870 มีการตกลงทำสัญญาระหว่างรัฐบาลอิตาลีกับองค์สันตปาปา ในการนี้มุสโสลินีได้รับการยกย่องจากชาวอิตาเลียน และองค์สันตปาปาก็ทรงพอพระทัย
มุสโสลินีมนโยบายขยายอำนาจอิตาลีออกไปภายนอกเพื่อทe ให้อิตาลีกลายเป็นประเทสมหาอำนาจ












Adlof Hitler

4a55dbdc6c16615L      กำเนิด วันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1889 เป็นบุตรคนที่ 3 ของครอบครัว บิดารับราชการเป็นนาย ด่านมารดาคือชาวเมืองบราวเนา พรมแดนของประเทศเยอรมนีและออสเตรีย เป็นบุคคลที่เรียนดีในวัยเด็กบิดามารดาจึงให้เการสนับสนุนทางการศึกษา ต่อมาเบื่อหน่ายต่อการเรียนและหันมาสนใจวิชาดนตรีและมีชื่อเสียงในการร้องเพลง เขาจบมัธยมปีที่ 4 และบิดาถึงแก่กรรมเขาจึงเขาแสวงหาโชคที่เวียนนา ประทังชีวิตด้วยการเขียนภาพขายซึ่งมีรายได้พอประมาณ
     ฮิตเลอร์ถูกหมายจับฐานหนีการเกณฑ์ทหารเขาใช้เวลหลายเดือนในการพยายามทำความเข้าใจกับทางการออสเตรียและสุดท้ายหลุดพ้นจากข้อกล่าวหาด้วยโดยฮิตเลอร์เดินทางกลับไปรายงานตัวที่ศูนืกลางกองบัญชาการที่เมืองซัลซ์บวร์กประเทศออสเตรีย และได้พบเอกสารที่บ่งว่า “ฮิตเลอร์สุขภาพไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถรับราชการทหารได้”
     28 มิถุนายน 1914 รัชทายาทออสเตรียและพระชายาถูกลอบปลงพระชนม์ที่เมืองซาราเจโว และเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1
     ฮิตเลอร์สมัครเข้าเป้นทหารของประเทศเยอมนีสังกัดกองพันทหารราบ ทำหน้าที่เป็นทหารสื่อสารออกรบแนวรบด้านตะวันตกเข้าได้รับเหรียญกล้าหาญจากวีรกรรมในการช่วยผู้บังคับบัญชาของตน ซั่งได้รับบาดเจ็บสาหัญให้รอดพ้นความตาย เขาได้รับบาดเจ็บทั้งจากสะเก็ดระเบิดและก๊าชพิษในสงครามครั้งนี้
      พรรคนาซี หลังสงครามโลกครั้งที่ 1  พรรคกรรมกร-ชาติสังคมนิยมเยอรมัน ซึ่งรู้จักกันในนาม พรรคนาซี ถือกำเนิดขึ้นโดยการวมตัวของพรรคการเมือง 2 พรรค คือพรรคชาติสังคมนิยม และพรรคกรรมกรเยอมันเข้าด้วยกันเมื่อวันที่ 5 มกราคม 1919 โดยวิศวกรชาวเยอมัน และนักหนังสือพิมพ์ รวบรวมกรรมกรชาตินิยมจัด ในแคว้นบาเยิร์น หรือบาวาเรีย แล้วจัดตั้งพรรคขึ้น
     อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้รับฟังการอภิปรายของพรรคฯ ในฐานะผู้สังเกตการณ์จาฝ่ายทหารของรัฐบาล หลังการฟังอภิปราย ฮิตเลอร์ได้รับการทาบทามให้เข้าร่วมขบวนการกับกรรมกรเยอรมัน ซึ่งฮิตเลอร์ตอบรับทันที่ เมื่อฮิตเลอร์มีโอกาสพูดในการอภิปรายเขามีชื่อเสียงโงดังในฐานะนักพูดที่ถูกใจคนฟัง
     ปลาย ปี 1923 สภาวะเศรษฐกิจเยอมนีไม่ดีขึ้น ฮิตเลอร์กลาวดจมตีรัฐบาลที่ยอมให้ชาวยิวในประเทศมีสิทธิและเสรีภาพเท่านเทียมชาวเยอรมัน เขาโจมตีนโยบายต่างประเทศที่รัฐบาลพยายามประนีประนอมและหาทางเป็นมิตรกับฝรังเศส และโจมตีการฉ้อราษฎร์บังหลวงของข้าราชการด้วย
    ในขณะที่นายกเทศมนตรีแคว้นบาวาเรีย กำลังกล่าวสุทรพจฯขักชวข้าราชการและนักธุรกิจของแค้วน ต่อต้านรัฐบาลเพื่อแยกแคว้นบาวาเรียออกจากการปกครองของสาธารณรัฐเยอรมัน ณ ห้องประชุมของร้านเบียร์ ที่มิวนิค ฮิตเลอร์ได้ถือโอกาสนำกำลังบุกเข้าจับ และขู่ให้ร่วมมือกับพรรคนาซี ในการยึดอำนาจของรัฐ เช้าวันรุ่งขึ้น ฮิตเลอร์ร่วมมือกับนายพล เอริคช์ ลูเดนดอร์ฟ และพลพรรคนาซีเดินขบวนไปยังที่การนายกเทศมนตรี เกิดการปะทะระหว่างทหารตำรวจกับพลพรรคนาซี นาซีได้รับรับบาดเจ็บจำนวนมา และเสียชีวิต 16 คน อดอร์ฟ ฮิตเลอร์ ถูกยิงบาดเจ็บและถูกจับในเวลาต่อมา ศาลบาวาเรีย สั่งจำคุกฐานผู้ทำการกบฎเป็นเวลา 5 ปี การกบฎในครั้งนี้เป็นที่รู้จักกันในนาม กบฎฮิตเลอร์ - เดนดอร์ฟ หรือ กบฏในห้องเบียร์ ฮิตเลอร์ได้รับนิรโทษกรรมเมืองวนที่ 20 ธันวาคม ปี 1924
    หลังจากฮิตเลอร์ได้รับการปล่อยตัวเขารวบรวมสมาชิกพรรคนาซีขึ้นมาใหม่และใช้นโยบายที่รัดกุมและรอบคอบมากยิ่งขึ้นเขาเปลี่ยนนโยบายจากการใช้กำลังในการปฏิวัติเป็นการต่อสู้ในสภา เขาพยายามหาสมาชิกพรรคทั้งประเทศเยอรมันและได้สมาชิกเพิ่มเป็นจำนวนแสนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางและทหารปลดประจำการที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมในสมัยนั้นได้ คนพวกนี้จึงมอบความหวังให้กับพรรคนาซีซึ่งมีความเป้นชาตินิยมจัด ถึงอย่างไรในการเลื่อตั้งพรคนาซีก็ยังคงไรบคะแนนเสียน้อยมีผุ้แทนเพี่ยง 12 คน พรรคคอมมิวนิสต์ มีผุ้แทนถึง 54 คน และในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นปรากฎการณ์ทางการเมืองโดยพรรคสังคมประชาธิปไตย ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายซ้าย ได้คะแนนเสียงข้างมากและโอกาสจัดตั้งรัฐบาล
     ปี 1930 รัฐบาลเยอรมันไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจการเงินของประเทศได้ มีคนว่างงานจำนวนมาก ผู้นำรัฐบาลจึงลาออกจากตำแหน่ง  ไฮน์ริคช์ บรินนิ่ง ได้ทำการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้อีกเช่นกัน จึงประกาศภาวะฉุกเฉิน รัฐสภาประนามการใช้อำนาจฉุกเฉินและประกาศไม่ไว้วางใคณะรัฐบาล บรีนนิ่งจึงยุบสภา ในการเลือกตั้งครั้งใหม่นี้พรคนาซีได้รับการสนับสนุนและได้รับคะแนนเสียงเข้ามาเป็นอันดับสองในสภา ได้ทีนั่งในสภาถึง 107 ที่นั่ง
     ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเยอรมัน พรรคนาซีได้ทำการหาเสียงอย่างจริงจังแต่ทางพรรคยังขาดผู้สมัครที่มีคุณสมบัติและมีชื่อเสียงที่เป็นที่ยอมรับของประชาชนทั่วไป ทั้งเนี้เพราะฮิตเลอร์ซึ่งเป็นผู้นำคนสำคัญของพรรค ยังไม่ได้รับการโอนสัญชาติเป็นเยอรมัน แต่เมือได้สัญชาติเยอรมันแล้วจึงทำการสมัครเข้าแข่งขันในการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเยอรมัน ในนามพรรคนาซี ในการเลือกตั้งครั้งนี้ฮินเดนบวร์กได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งปรธานาธิบดี
     ฮิตเลอร์เถลิงอำนาจ  30 มกราคม  1933 ประธานาธิบดีฮินเดนบวร์ก แต่งตั้งให้ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่างนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศเยอรมนี โดยมีฟรานซ์ ฟอน ปาเปน เป็นรองนายกรัฐมนตรี โดยตั้งความหวังว่า ฟอน ปาเปน จะช่วยถ่วงดุลอำนาจและจะไม่ยอมให้ฮิตเลอร์กุมอำนาจแต่เพียงผู้เดียว เมือดำรงตำแหน่างนายกรัฐมนตรีเขาเป็นที่ชื่นชอบของประชาชน ฮิตเลอร์แสดงให้เห็นว่าเขาต้องการที่จะแก้ปัญหาต่าง ๆ ของประเทศอย่างจริงจัง เขาแต่งตั้งนักการเมืองจากพรรคต่าง ๆ เข้าร่วมในคณะรัฐบาลของเขา พร้อมประกาศให้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผุ้แทนราษฎรขึ้นใหม่
       5 มีนาคม 1933 มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผุ้แทนฯ พรรคนาซีได้เสียงข้างมากและได้พรรคชาตินิยมเยอรมัน ในการร่วมจัดตั้งรัฐบาลผสม เมื่อเปิดประชุมรัฐสภา ฮิเลอได้เข้รับตำแหน่างนายกรัฐมนตรี ฮิตเลอร์ได้ใช้อำนาจสั่งการแก้ไขปัญหาและกำจัดความวุ่นวายต่าง ๆ อย่างเด็ดขาด จึงเป็นการสิ้นสุดของสธารณรัฐเยอรมันและเป็นการสภาปนาอาณาจักรเยอรมันที่ 3
    ฮิตเลอร์ค่อยๆ กำจัดพรรคการเมืองที่ไม่ใช้นาซีด้วยวิธีการสั่งปิดและพรรคที่ถูกกลั่นแกล้งโดยรัฐบาลก็ปิดตัวเองไปบ้างแม้กระทั่งพรรคร่วมรัฐบาลก็ปิดตัวเองลงเช่นกัน ฮิตเลอร์จึงนำสมาชิกพรรคนาซีเข้าดำรงตำแหน่งแทน ภายในเวลาเพียง 6 เดือนเขาจึงกำจัดพรรคการเมืองต่างๆ ให้หมดไป
     ฮิตเลอร์เริ่มทำการยึดอำนาจมาไว้แต่เพียงผู้เดียวในการเลือกตั้งทั่วไปพรรคนาซีมีอำนาจทางการเงินแต่เพียงพรรคเดียวจึงได้รับคะแนนเสียงสูงถึง 92 เปอเซนต์กุมเสียงข้ามากในสภาอยางเด็ดขาด เขากล่าวว่าสภาสูงไม่ได้สร้างประโยชน์อันใดแก่ประเทศจึงสั่งยุบสภาสูงเป็นการประหยัดงบประมาณของชาติ ฮิตเลอร์แต่งตั้ง ไฮน์ริกช์ ฮิมเลอร์ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าตำรวจลับ พร้อมอนุมัติงลประมาณทางการทหารและการสร้างอาวุธ นักการเมืองจากพรรคต่าง ๆ เกรงว่าฮิตเลอร์และนาซีจะเข้ามามีอิทธิพลครอบงำกองทัพของชาติจึงโจตีปละประท้วง
    ฟรานซ์ ฟอน ปาเปน รองนายกรัฐมนตรี ในคณะรัฐบาลผสมของฮิตเลอร์ ได้แสดงสุนทรพจน์ กล่าวโจมตีนดยบายทั่วๆ ไปของพรรคนาซี โดยฌฉพาะนโยบายการสร้างอาวุธสงคราม หลังจากการกล่าวโจมตีนั้นไม่กีวันผู้ที่เขียนสุนทรพจน์ดังกล่าวก็ถูกจับและประหารชีวิตในเวลาต่อมา  ฮิตเลอร์พยายามยึดอำนาจไว้แต่เพียงผู้เดียวและเริ่มระแวง เขาสั่งจับและประหารผู้ที่เขาระแวงด้วยข้อหา “คิดก่อการกบฎ” ทั่งผู้ที่เป็นผู้ริเริ่มการจัดตั้งพรรคนาซีและนักการเมือง บุคคลสำคัญๆ ต่าง โดยไม่ได้รับการสอบสวนจากศาลสถิตย์ยุติธรรม  คาดกันว่าตำรวจลับของนาซีทำการฆาตกรรมหว่า พันคนในวันนั้น ฟอน ปาเปน ถูกสั่งจับ ประธานาธิบดีฮินเดนบวร์ก ถึงแก่อนิจกรรม ฮิตเลอร์จึงรวมตำแหน่างรัฐมนตรีและประธานธิบดีเข้าด้วยกัน.. และเรียตำแหนางใหม่ว่า ฟีเร่อร์ แปลว่า  “ผู้นำ” แต่นั้นมาทหารเยอรมันต้องทำการปฏิญาณตนต่อฮิตเลอแทนธงชาติโดยกล่าวว่า “จะจงรักภักดีและรับใช้ท่านผู้นำ” ทหารส่วนใหญ่วางตัวเป็นกลางต่อสถานการณ์นี้ ฟรานซ์ ฟอน ปาเปน ถูกปลดจากตำแหน่งและส่งไปเป็นเอกอัครราชทูตเยอรมันประจำออสเตรีย ฮิตเลอร์ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนเยอรมัน ซึ่งได้ทำการลงประชามติให้ฮิตเลอร์มีอำนาจตัดสินใจ โดยไม่ต้องของความเห็นชอบจากสภ ฮิตเลอร์จึงสั่งปลดสมาชิกรัฐสภาและยุบสภา ฮิตเลอร์กุมอำนจทางการเมืองได้ทั้งหมด

วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

World Communization

     เป็นนโยบายที่ถูกกำหนดขึ้นด้วยปัจจัยสำคัญสองประการเกี่ยวเนื่องกันเป็นอย่างมาก คือ ปัจจัยว่าด้วยความมั่นคงปลอดภัยของรุสเซียเองและปัจจัยว่าด้วยความผูกพันต่อลัทธิอุดมการณืคอมมิวนิสต์
     พรรคคอมมิวนิสต์ถือลัทธิมาร์กซ์เป็นอุดมการหลักของตน เสมือนคัมภีร์แม่บทของการปฏิวัติตนเองและปฏิวัติโลกให้เป็นคอมมิวนิสต์
      ลัทธิมาร์กซ์ คาร์ล มาร์กซ์ เป็นนักทฤษฎีที่มีบทบาทเฉพาะในกิจกรรมของสันนิบาตคอมมิวนิสต์ และสมคมกรรมกรสากลเท่านั้น โดยเป็นผู้ร่างโครงการของกิจกรรมเหล่านั้น ซึ่งเริ่มต้นด้วยประโยคทีลื่อลั่นว่า “ประวัติศาสตร์ของสังคมทั้งหลายในอดีต คือประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ระหว่างชนชั้น”  ข้อความนี้คือแกนกลางทฤษฎีประวัติศาสตร์ในทรรศนะของมร์กซ์ซึ่งปรากฎในผลงานเกือบทุกประเภทของเขา
      โดยเนื้อแท้ ลัทธิมาร์กซ์เป็นทฤษฎีมุ่งสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งมาร์กซ์กล่างอ้างว่า เป็นลัทธิสังคมนิยมเชิงวิทยาศาสตร์ แต่ความคิดของเขาส่วนใหญ่มิได้เกิดจากแนวความคิดริเริ่มของเขาเอง หากแต่ล้วนได้รับอิทธิพลของหลักปรัชญาของเยอรมนี ซึ่งผสมผสานกับแนวคิดอิงสิ่งลี้ลับมหัศจรรญืเหลือเชื่อที่กำลังจะมลายไปภายใต้การคืบคลานเข้ามาแทนที่ของทรรศนะแนววิทยาศาสตร์  ลัทธินิยมเฮเกลมีลักษณะแนวคิดังกล่าวและย่อมมีอิทธิพลตอ่มาร์กซ์ในการสร้างทฤษฎีประวัติศาสตร์ มาร์กซ์ได้สร้างทฤษฎีใหม่ของเขาเองที่เกี่ยวกับสังคมและวิวัฒนาการของสังคม เขาด้ชี้แนะว่าไม่มีนักปรัชญาผู้ใดคิดที่จะแสวงหาความเกี่ยวเนื่องกันของสิ่งแวดล้อมเชิงวัตถุนิยมของเยอรมนีทฤษฎีประวัติศาสตร์แบบมาร์กซ์เริ่มปรากฎรูปลักษณะเด่นชัดโดยผสมผสานแนวคิดหลากหลายที่ล้วนไม่สมบูรณ์แบบในทรรศนะของมาร์กซ์
       มาร์กซ์ ได้เพรียพยายามเป็นอย่างยิ่งที่จะชี้แนะว่า สรรพสิ่งทั้งหลายนั้นมิได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หากแต่ล้วนเกิดขึ้นตามแบบอย่างี่เรียกว่า ลัทธิวัตถุนิยมเชิงวิภาษโดยบังเอิญเขากล่าวอ้างว่า “วิธีวิภาษของข้าพเจ้ามิไตกต่างไปจากวิธีเฮเกลเท่านั้น หากแต่ว่ายังเป็นวิธีที่เป็นตรงกันข้ามกับวิธีของเฮเกลด้วย “หลักการแห่งแบบอย่างของมาร์กซ์นั้นคือแนวสามเหลี่ยมแห่งการตั้งข้อสมมุติฐาน ความขัดแย้งและความสรุปและกฎเกณฑ์แห่ง “การที่ปริมาณแปรรูปเป็นคุณภาพ” เขาเน้นว่า พลังเศรษฐกิจที่มีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสรรพสิ่งทั้งหลายย่อมชี้ขาดวิวัตนาการแห่งประวัติศาสนตร์ด้วย เพราะ “สิ่งแรกสุดในการดำรงอยู่ของมวลมนุษย์และสิ่งแรกสุดในการสร้างประวัติศาสตร์ทั้งหลายของตนขึ้นภายใต้ศาสตร์ของตนตามความพอใจส่วนตน..หากแต่สร้างประวัติศาสตร์ของตนภายใต้สภาวะแวดล้อมของตน”
     มาร์กแสดงขบวนการแห่งทฤษฎีปฏิวัติตามแนวคิดของตนว่าในแต่ละยุคสนมัย จะมีการต่อสู้ระหว่างชนชั้นซึ่งสิ้สุดโดยชัยชนะของชนชั้นกรรมาชีพ และความพ่ายแพ้ของชนชั้นกลาง เพื่อให้บรรลุถึงระบอบคอมมิวนิสต์ มาร์กซ์ได้ร่างโครงการและเสนอกลวิธีปฏิวัตสำหรับชนชั้นกรรมาชีพ กรรมกรต้องเริ่มด้วยการต่อสู้ด้วยตนเองเป็นเอกเทศ และวจัดตั้งองค์กร ต่อจากนั้นก็จัดตั้งพรรคการเมือง ท้ายสุด เปิดการต่อสู้ระหว่างชนชั้นฝ่ายนายทุนเพื่อสถาปนาระบอบเผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพในบั้นปลาย ชนชั้นกรรมาชีพจะเป็นชนชั้นปกรองเฉพาะกาลในช่วงสมัยสังครมนิยมจนกว่าจะบบรลุถึงระบอบคอมมิวนิสต์ อำนาจการเมืองจะค่อยๆ เลือหายไป ระบบการปกครองและรัฐไม่เป็นสิ่งที่จำเป็นอีกต่อไป ทฤษฎี “ล้มเลิกทรัพย์สินส่วนเอกชน”
      ลัทธิมาร์กซ์สามารถดึงดูดใจชนชั้นกรรมาชีพ เพราะเป็นลัทธิที่มองมุ่งปัญหาประจำวัน และได้เสนอแผนการสอดคล้องตามความต้องการรีบด่วนที่กรรกรต้องการ ลัทธิมาร์กซ์ให้คำมั่นสัญญาถึงผลสำเร็จ ถึงชีวิตที่จักดีขึ้น และสัญญาที่จักหยิบยื่นสันติภาพให้แก่กรรมกรลัทธิมาร์กซ์จึงให้หนทางแก้ที่ให้ผลทางจิตวิทยา ลัทธิมาร์กซ์เป็นลัทธินิยมทีทมองมุ่งสังคมในอุดมคติสำหรับผู้คนที่เชื่อว่าตนนั้นสิ้นหว้งหมดหนทางที่จะปฏิรูปสังคมได้โดยสันติวิธี
     กระบวนการปฏิวัติจะดำเนินไปโดยไม่หยุดยั้ง เป็นเหตุการ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่มีพลังใดที่จะสกัดกั้นคลื่อนปฏิวัติ ..เพื่อให้ขบวนการปฏิวัติสามารถดำนเนินรุดหน้าจึงเป็ฯหน้าที่ผูกพันประการหนึ่งสำหรับกรรมกรทั่วโลกไม่จำกัด เชือชาติ ภาษาหรือวัฒนธรรมใดไ ที่จะต้องรวมพลังกันอย่างเหนียวแน่นเป็นพลังปฏิวัติแนวหน้าที่จะต้องเกื้อกูลต่อขบวนการปฏิวัติทุกหนแห่งให้มีความเข้มแข็ง ประสานงานกันเป็นนำหนึ่งใจเดียวกันที่จะปฏิวัติโลกให้เป็นคอมมิวนิสต์ ในฐานะรุสเซียเป็นชาติแรกที่ปฏิวัติล้มระบอบจักรพรรดิและมีความมุ่งมั่นแน่วแนที่จะปฏิวัติสถาบันการเมือง เศรษฐกิจและสังไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์สมบูรณ์แบบ รุสเซียย่อมถือเป็นพันธะเกียรติยศที่จะเป็นตัวอย่างปฏิวัติและเป็นผู้นำขบวนการปฏิวัตโลก เป็นผู้เผยแพร่ลัทธิอุดมการ์ และเอื้ออำนวยส่งเสริมขบวนการปฏิวัติโลก…ด้วยอุดมการณ์นี้รุสเซียถือว่ามีพันธะต้องดำเนินการปฏิวัติโลก
     พรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนี ขบวนการคอมมิวนิสต์ของเยอรมนีได้ตั้งสันนิบาตสปาร์ตาคัส เลนินส่งคาร์ล ราเดค เลขาธิการโคมินเทอร์นไปช่วยขบวนการคอมมิวนิสต์เยอรมนีให้ดำเนินการเร่งเร้าโฆษณาชวนเชื่อด้วยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดสันนิบาตสปาร์ตาคัสว่างแผนก่อการร้ายลุกฮือในเดือน ธันวาคม 1918 แต่ล้มเหลว รุสเซียมีความหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เยอรมนีจะสามารถปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลตัวแทนชนชั้นกลางนายทุนได้ แผนปฏิวัติได้ถูกำหนดให้มีขึ้นในเดือนมีนาคม ปี 1921 แต่ก็ต้องล้มเหลวอีกเนื่องจากกลุ่มทหารเรือลุกฮือกันขึ้นมาก่อการ ความพยายามของรุสเซียนับแต่นั้นล้วนล้มเหลว 
      การปฏิวัติโดยตั้งองค์การกสิกรสากลเสริมพลังในบัลแกเรีย ยูโกสลาเวีย มาซีโดเนีย อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศสล้วนล้มเหลวทั้งสิ้น
       ขบวนการคอมมิวนิสต์ในเอเซีย เลนินพบความสำคัญของเอเซียในการเสริมสร้างขบวนการปฏิวัติโลก ได้เขียน “คำทำนายพายุปฏิวัติในตะวันออกไกล”และเสนอบทนิพนธ์ว่าด้วย “เรื่องปัญหาของชาติและอาณานิคม” ณ ที่ประชุมโคมินเทอร์ เลนินเล็งเห็น่า พลังมหาศาลของจักรวรดินิยมนายทุนตะวันตกนั้นมาจากขุมกำลังอำนาจที่ได้สร้างกันขึ้นในเอเซีย การที่จะบั่นทอนกำลังของจักวรรดินยมตะวันตกจึงต้องเริ่มด้วยการตัดเอเซียออกจากจักวรรดินิยมตะวันตกให้เด็ดขาดโดยสิ้นเชิง
      เอเซียเปรียบเสมือนประตูหลังของฝ่ายจัรวรรดินิยมตะวันตก สงครามกลางเมืองในรุสเซียสอนใตระหนักว่า ภัยคุกคามมิได้มาจากตะวันตก เท่านนั้น หากยังมาจาตะวันออก คือภัยญี่ปุ่น และการที่จักรวรรดินิยมตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลในจีน ล้วนเป็นภัยคุคามรุสเซียอย่างยิ่ง รุสเซียจึงต้องสนใจจีนและญี่ปุ่นด้วยเหตุผลทางด้านอุดมการ์
     พรรคคอมมิวนิสต์ในจีน ก่อตั้งจากความรู้สึกรักชาติ ความอัปยศอดสูที่จักวรรดินิยมตะวันตก โดยเฉพาะญี่ปุ่นได้เข้ามากอบโกยอำนาจผลประโยชน์ของจีน นักศึกษาปัญญาชนในปักกิ่งได้ก่อหวอดประท้วงมติมหาอำนาจที่ประชุมสันติภาพในปารีส ซึ่งไรบรองให้ญี่ปุ่นได้รับผลประโยชน์ของงเยอรมนีในมณฑลชานตุง ขบวนการประท้วงได้ปรากฎขึ้นในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1919 เป็นขบวนการลัทธิชาตินิยมต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยม ดังความปรารถนาของรุสเซีย
     ดร.ซุน ยัต เซ็น ประสบปัญหาควมแตแยกภายในพรรคและความล้มเหลวในการยึดอำนาจจากเหล่า
บรรดานายพลขุนศึก ดร. ซุน ยัต เซ็น ไม่อาจร้องขอความช่วยเหลือจากอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือญี่ปุ่นได้ เมื่อรุสเซียส่งนายอดอร์ฟ จอฟฟ์ มาเจรจาจึงมีการเจรจาและลงนามในข้อตกลง ซึ่งมีสาระสำคัญคือ รุสเซียยินดีให้ความช่วยเหลือในด้ารเศาษฐกิจ การเมืองและการทหารแก่พรรคชาตินิยม และดร. ซุนฯ ต้องยอมรับนโยบายสร้างแนวร่วมกับพรรคจีนคอมมิวนิสต์
     เมื่อเจียงไคเช็คได้เป็นจอมทัพดำนินการรวมประเทศ กวาดล้างบรรดานายพลขุนศึกทั่งเประเทศ เจียงไคเช็คก่อการัฐประหารที่เมืองกวางตุ้ง และดำเนินการปราบปรามคอมมิวนิสต์ตามเมืองต่าง ๆ ภายใต้การสนับสนุนของบรรดาพ่อค้า นักฑธุรกิจและจากฝ่ายญี่ปุ่น ถึงอย่างไร เจียงไคเช็คก็มิได้ประกาศตนเป็นปฏิปักษ์ต่อรุสเซีย รุสเซียยังคงพยายามให้พรรคจีนคอมมิวนิสต์แทรกซึมรัฐบาลวูฮาน
     สตาลิน ยืนหยังนโยบายใช้พรรคชาตินิยมทุกวิถีทางเพื่อคุณประโยชน์แก่รุสเซียและแก่พรรคจีนคอมมิวนิสต์ แต่
นโยบายดังกล่าวท้านสุดกลับทำลายฐานอำนาจของพรรคจีนคอมมิวนิสต์
     นโยบายการสร้างแนวร่วมสิ้นสุดลง โดยพรรคจีนคอมมิวนิสต์เป็นฝ่ายปราชัยรุสเซียมุ่งรักษาทางไมตรีกับเจียงไคเช็คมากว่าทางพรรคคอมมิวนิสต์ สตาลินอาจผิพลาดในนโยบายปฏิวัติจีนดังกล่าว แต่สตาลินได้สร้างคุณประโยชน์แก่รุสเซียโดยตรง สิ่งเดียวที่สตาลินพลาดคือเมื่อสร้างจีนใหม่ขึ้นมาแล้ว และทั้งที่ทอดทิ้งพรรคจีคอมมิวนิสต์แล้ว รุสเซียก็ยังประสบปัญหาความล้มเหลวในการควบคุมรัฐบาลพรรคชาตินิยม ซึ่งทำให้รุสเซียได้รับความอัปยศในสายตาโลกภายนอกมิใช่นอ้ย รุสเซียเริ่มหลบเลี่ยงออกห่างจากขบวนการปฏิวัติในจีนและหลีกเลี่ยงการสร้างพันธกรณีกับพรรคจีนคอมมิวนิสต์ รุสเซียต้องคอยจับตามมองพฤติกรรทการแทรกซึมของญี่ปุ่นในแมนจูเรียซึ่งสะเทือนถึงความมั่นคงของพรมแดนรุสเซียซึ่งติดกับแมนจูเรีย และพรรคคอมมิวนิสต์ในญี่ปุ่นก็ประสบชะตกกรรมเดียวกัน สาเหตุที่สำคัญที่มิอาจมองข้ามได้คือ การบงการของรุสเซียผุ้กำหนดนโยบายและกลยุทธ์ โดยมิได้คำนึถึงผลประโยชน์ของพรรคมากไปกว่าคำนึถึงเสถียรภาพความมั่นคงของรุสเซียเอง และมิได้คำนึงถึงความเป็นจริงที่ว่า  แต่ละประเทศมีวัฒนธรรมแตกต่างกันอย่างไร สภาพสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันอย่างำร การกำหนดนโยบายและกลยุทธ์เป็นไปโดยการประเมินการคลาดเคลื่อน ผลที่ตามาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คื อความล้มเหลวของพรรคคอมมิวนิสต์ในที่ต่าง ๆ ซึ่งย่อมถือได้ว่า เป็นความล้มเหลวของรุสเซียที่มิอาจจะดำเนินนโยบายปฏิวัโลกไปได้โดยตลอดรอดฝั่ง

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...