วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556

Second Sino-Japanese War

     สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 เกิดขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สองเรียกว่า “สงครามแปซิฟิก” และดำเนินเรื่อยมากระทั่งยุติลงพร้อมกับสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดใทวีปเอเซียในคริสตวรรษที่ 20

     สถานการณ์ภายในของจีนเป็ฯปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ญี่ปุ่นสามารดำเนินนโยบายรุก ญี่ปุ่นเล็งเห็นผลประโยชน์ในดินแดนแมนจูเรียหลายประการ อาทิทรัพยากรทางธรรมชาและวัตถุดิบอุตสาหกรรม เป็นแหล่งกระจายสินค้าจากญี่ปุ่น และยังเป็นรัฐกันชนระหว่างญี่ปุ่นกับดินแดนไซบีเรียของโซเวียต

     ญี่ปุ่นเริ่มรุกรานดินแดนแมนจูอยางเปิดเผยภายหลังกรณีมุกเดน( มุกเดนหรือ เสิ่นหยางในปัจจุบัน อยู่ทางแมนจูเรียตอนใต้ ซึ่งส่วนหนึ่งของทางรถไฟที่ญี่ปุ่นยึดครองในขณะนั้นเกิดระเบิดขึ้น กองทัพญี่ปุ่นจึงใช้เป้ฯข้ออ้างในการรุกรานแมนจูเรีย และนำมาสู่การก่อตั้ง แมนจูกัว)หลังจากปะทะกันนาน 5 เดือน ญี่ปุ่นได้จัดตั้งรัฐหุ่นเชิดแมนจูกัวขึ้นอดีตจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิง เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินและจักรพรรดิแต่เพียงในนาม รัฐบาลจีนไม่สามารถตอบโต้ทางทหารได้จึงร้องเรียนของความช่วยเหลือไปยังสันนิบาตชาติ เพื่อให้ทำการสอบสวนและประณามการกระทำของญี่เป่นในการรุกรานแมนจูเรีย ญี่ปุ่นจึงต้องถอนตัวออกจากสันนิบาตชาติโดยสิ้นเชิง แต่ยังไม่มีชาติใดดำเนินนโยบายตอบโต้ทางการทหารอย่างชัดเจนแก่ญี่ปุ่น การปะทะกันในเหตุการณ์ 28 มกราคม ได้เกิดการจัดตั้งเขตปลอดทหารเซี่ยงไฮ้ขึ้นกองทัพจีนไม่สามารรถคงกำลังทหารไว้ในเมืองเซี่ยงไฮ้ของตนเองได้ทางด้านแมนจูกัวญี่ปุ่นพยายามดำเนินตามนโยบายของตนในการทำลายกองกำลังอาสาสมัคราต่อต้านญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นและกระจายเป็นวงกว้าง ต่อมาญี่ปุ่นเข้าโจมตีบริเวฯกำแพงเมืองจีน หลังจากนั้นได้มีการเจรจาพักรบตางกู ญี่ปุ่นมีอำนาจเหนือดินแดนเร่อเหอทั้งยังจัดตั้งเขตปลอดทหารบริเวณกำแพงเมืองจีนและเมืองปักกิ่ง ในจุดนี้ญี่ปุ่นพยายามจะจัดตั้งรัฐหุ่นเชิดขึ้นอีกหนึ่งแห่งระหว่างดินแดนแมนจูกัวกับดินแดนแมนจูกัวกับดินแดนของคณะรัฐบลแห่งชาติจีนที่มีฐานบัญชาการอยู่ที่นานกิง ซึ่งญี่ปุ่นทราบจุดอ่นของรัฐบาลแห่งชาติดีว่า ภายหลังการเดินทางขึ้นเหนือของคณะรัฐบาลแห่งชาติจีนอำนาจการปกครองประเทศของรัฐบาลแห่งชาตินั้นจำกัดอยู่ภายใต้อิทธิพลของเหล่าขุนศึกท้องถิ่น ญี่ปุ่นจึงพยายามผูกไม่ตรีและให้ความช่วยเหลือแก่เหล่าขุนศึกท้องถ่นในการจัดตั้งรัฐอิสระขึ้นโดยให้เป็นไมตรีกับญี่ปุ่น

      หลักฐานทางประวัติศาสตร์ส่วนมากระบุจุดเริ่มต้นของสงครามจีนกับญี่ปุ่นครั้งที่ 2 ไว้เมื่อวันที่ 7 กรกฏาคม 1937 การปะทะเริ่มด้วยเหตุการณ์ที่สะพานมาร์โคโปโล ใกล้ปักกิ่งในคืนวัน ที่ 7 เกิดเหตุการณ์การยิงกันระหว่างทหารจีนกับทหารญี่ปุ่น ในขณะที่ทหารญี่ปุ่นกำลังคิดฉ้อฉล การต่อสู้ได้แพร่ขยายออกไปอย่างรวดเร็วและกลายเป้นสงครามในไม่กี่สัปดาห์ ทางฝ่ายจีนมีการต่อต้านอย่างดื้อดึง และฝ่ายญี่ปุ่นเองขาดสิทธิขาดจนดูเหมือนว่าเต็มใจจะให้เกิดข้อตกลงระดับท้องถิ่น ทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายกองบัญชาการทหารระดับสูง  นายทหารหลายคนไม่เต็ใจที่จะให้กองทัพผู้มัดตัวเองในประเทศจีนและละทิ้งแมนจูเรียและมองโกเลีย ซึ่งจะเปิดโอกาศในถูกจู่โจมจากรุสเซีย

     ELT200805121816470145291 ทันที่ที่มีการปฏิบัติการแล้ว โตเกียวทำการเสริมกำลังรบ ในต้นเดือนสิ่งหาคม เทียนสินและปักกิ่งถูกยึดครอง เดือนกันยายนทหารกวา 150,000นายเคลื่อนพลเข้าจีน สงครามขยายสู่ทางใต้ ซึ่งเริ่มต้นที่เซียงไฮ้ มีการรบกันอย่างหนัก และบุกทลวงขึ้นไปตามแม่น้ำแยงซีสู่กรุงนานกิง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของ เจียง ไค เชค ญี่ปุ่นยึดนานกิงได้ในเดือนธันวาคม และกลายเป็นฉากแห่งการทำลายล้างผลาญชีวิตผู้คนด้วยนำมือผู้คนด้วยกันครั้งเลวร้ายที่สุดของสงคราม กองทหารญีปุ่นหย่อนระเบียบวินัย การฆาตกรรม ปล้นสะดม เผลาผลาญ ขมขื่น เหตุการณ์ดังกล่าวได้รับการกล่าวขานในเวลาต่อมาว่า “การข่มขืนที่นานกิง”

     ข้อเรียกร้องของจีนถูกเพิกเฉยจากองค์กรสันนิบาตแห่งชาติ ทั้งประเทศเตรียมพร้อมที่จะทำสงครามเต็มขนาด การปิดลิ้มทางทะเลได้ขยายไปทั่วชายฝั่งจีน รวมทั้งเมืองต่าง ๆ ของจีนก็ถูกโจมตีอย่างหนัก กำลังทหารในจีนภาคเหนือและลุ่มน้ำแยงซีเชื่อถึงกันโดยการทางบก เดือนตุลาคมปีเดียวกัน ทหารเคลื่อนพลไปตามลำน้ำแยงซีจนถึงเมืองฮันเค้า กำลังอีกส่วนในภาคใต้ไปถึงเมือกวางตุ้ง เดือนพฤศจิกายน รัฐบาลโคโนประกาศแผนการเพื่อ “ระเบียบแบบแผนใหม่” อันที่จริงแล้วญี่ปุ่นได้ควบคุมพื้นที่ที่มั่งคั้งที่สุดส่วนใหญ่ของจีนไว้ได้หมดแล้วยกเว้นมณฑลเสฉวน

      ชัยชนะของญี่ปุ่นไม่สามารถทำให้รัฐบาลพรรคชาตินิยม(The Nationlist Party ของ เจียง..)ยอมแพ้ ลัทธิชาตินิยมขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ

     การที่จะต้องเตรียมพร้อมรับมือกับรุสเซียในไม่กี่ปีข้างหน้า ผุ้นำทางการทหารญี่ปุ่นจึงเปลียนยุทธศาสตร์ แสวงหาความได้เปรียบทางการเมืองมากกว่าทางการทหาร โดยพยายามตัดจีนจากโลกภายนอก ซึ่งนำไปสู่การยึดครองไหนาน ซึ่งเป็นเขตผลประโยชน์ฝรั่งเศส และปิดล้อมเชตสัมปทานอังกฤษและฝรั่งเศสในเทียนสิน ในเวลาต่อมา แผนการดังกล่าวสำเร็จลุล่วงเมือเกิดสงครามขึ้นในยุโรป

     เหตุการณ์ในประเทศจีนมีผลกระทบสำคัญมากต่อสัมพันธภาพระหว่างญี่ปุ่นกับบรรดามหาอำนาจเมืออำนาจของญี่ปุ่นขยายออกไปจึงเป็ฯการเอื้อประโยชน์ต่อการค้าของญี่ปุ่น เป็ฯการโจมตีผลประโยชน์อังกฤษและอเมริกในบางระดับ การกระทำบางประการของญี่ปุ่นชักนำเรืออังกฤษและอเมริกาเข้ามาพัวพันในกลุ่มแม่นำแยงซี สิ่งเหล่านี้ช่วยส่งเสริมให้สองประเทศแสดงความเห็นอกเห็ใจจีน

      ญี่ปุ่นมีโอกาศที่จะถูกรุสเซียโจมตี การบีบบังคับรุสเซียให้ขายกิจการบริษัทเดินรถไฟสายแมนจูเรียใต้ ทำให้มีพรมแดนร่วมกัน การปะทะกันจึงเกิดมีเป็นระยะๆ ซึ่งญี่ปุ่นต้องคอยระวังพละกำลังของรุสเซีย

     การถูกโดดเดียวทางการทูตจากการถอนตัวออกจากองค์การสันนิบาติแห่งชาติ ญี่ปุ่นเริ่มมองหาเพื่อน จึงนำไปสูเยอรมนี…

     เมื่อศัตรูของเยอรมนีคือความเชื่อมั่นในการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์และต้องการมิตรเช่นเดียวกับญี่ปุ่น ผลคือการลงนามในสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากล เป็ฯองค์การส่งเสริมการปฏิวัติโลกให้เป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีรุสเซียอยู่เบื้องหลัง

     กลุ่มอิทธิพลฝ่ายทหาราเร่งเร้า ให้ทำข้อตกลงกับเยอรมนีและจบลงด้วยการเมื่อมีการประกาศสนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมนี-รุสเซียในขั้นแรกและรัฐบาลโคโนชุดที่สอง รัฐมนตรีต่างประเทศมีความมั่นใจว่าจะได้เปรียบเยอรมนีจากข้อตกลงร่วมกันและยังเชื่อมั่นว่าเยอรมนีจะเป็นฝ่ายชนะในยุโรป สนธิสัญญาไตรภาคี ญี่ปุ่น เยอรมนีและอิตาลถูกลงนามในเดือน กันยายน  1939 สนธิสัญญาว่าด้วยความเป็นกลาง มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ญี่ปุ่นมีความแน่นอนใจในพรมแดนของภาคเหนือของตนมากยิ่งขึ้น

     แผนการขยายอำนาจในเอซียอาคเนย์ ตั้งแต่ปี 1936 ได้มีการลงมติตัดสินใจที่ได้รับการยืนยันอีกครั้งในวงในของคณะรัฐบาลในเดือนกันยายน ว่าญี่ปุ่นควรฉวยโอกาสที่สงครามในยุโปเอื้อต่อการตั้งมั่นในอินโดจีน สยาม(ไทย)พม่า มลายูและกมู่เกาะอินเดียในขึ้นต้น ใช้วิธีทางการทูต โดยจะต้องพยายามทุกวิถีทางเพื่อหลีกเลี่ยงการขัดแย้งกับอเมริกาแต่ในท้ายที่สุดจะใช้กำลังและยอมรับการเสี่ยงทำสงคราม

      นายพลโตโจ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีโดยมาจากกระทรวงการสงคราม เขาเป็นคนนิยมใช้อำนาจตามทรรศนะของทหารที่เคร่งครัดเป็นตัวอย่างตัวแทนของกองบัญชาการทหารระดับสูง เขามีแนวทางอันไม่ประณีประนอมซึ่งเหมาะสมกับผู้นำในยามรบ การแต่งตั้งเขาเป้นนายกรัฐมนตรีจึงเป็นการนำไปสู่เผด็จการโดยทหาร เผด็จการโดยคณะเสนธิการทหารและนำไปสู่สงครามในที่สุด

       ความพยายามทางการทูตที่จะให้อเมริกาละทิ้งจีนและขยายข้อผ่อนปรนทางเศรษฐกิจเป็นการตอบแทนในการที่ญี่ปุ่นยับยั้งการรุกคือบหน้า การเจรจาล้มเหลว วอชิงตันปฏิเสธข้อเสนอและ 5 วันต่อมาที่ประชุมหน้าพระที่นั่งในโตเกียวมีมติให้โจมตี นักยุทธศาสตร์ญี่ปุ่นเชื่อว่า สหรัฐต้องตะลึงกับบรรดาประเทศในเอเชียที่ถูกรุกราน กองทัพเรืออเมริกาในแปซิฟิคที่สามารถจะคุกคามขอบข่ายการคมนาคมสื่อสารของญี่ปุ่นกับทางใต้นั้นย่อมจะต้องเป็นเป้าแรกของการโจมตี ดังนั้น การโจมตีทางอากาศครั้งสำคัญจึงมุ่งที่ฐานทัพในหมูเกาะฮาไวอิ (Hawaii)คือ เพิลล์ ฮาร์เบอร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...