วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556

Benito Amilcare Andrea Mussolini

imageเบนิโต มุสโสลินี เกิดที่เมืองฟอร์ลิ ในแคว้นดรมันญ่า บิดามีอาชีพเป็นช่างตีเหล็กที่ยากจนมารดา เป็นครูในชนบท มุสโสลินีเคยเป็นครูสอนหนังสือก่อนจะหนีการเกณฑ์ทหารไปอยู่สวิตเซอรืแลนด์ ในช่วงนี้เองเขาเลี้ยงชีพโดยการเป็นกรรมกรรับจ้าง ซึ่งทำให้เขาเริ่มหันมาสนใจในลัทธิสังคมนิยมแนวซินดิคาลิสม์ ซึ่งต้องการให้สหภาพกรรมกรเป็นกลุ่มควบคุมอุตสาหกรรมของประเทศ ต่อมาเขาเข้าร่วมกับกลุ่มปฏิวัติจึงถูกขับออาจากสวิสเซอร์แลนด์และกลับมาอยุ่ที่อิตาลีในปี 1904
เมื่อกลับมาอยู่อิตาลีเขาเข้าเป็นสมาชิกพรรคสงคมนิยมโดยทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการณ์หนังสือพิมพ์พรรค ปี 1908-1909 เขาเดินทางไปอาศัยอยู่ที่ออสเตรีย-ฮังการีซึ่งเป็นดินแดนที่อิตาลีหวังจะได้เข้าครอบครอง ซึ่งทำให้มุสโสลินีเกิดความรู้สึกชาตินิยม เขาได้มีดอกาสอ่านงานของนิชเช่ และดซเรลซึ่งเป็นกลุ่มนักปรัชญาที่สนับสนุนการใช้กำลังอำนาจ
เมื่อสงครามโลกครั้งท่ 1 มุสโสลินีเขียนบทความสนับสนุนการกระทำของฝ่ายพันธมิตรและสนับสนุนการกระทำของฝ่ายสัมพันธมิตรและสนับสนุนอิตาลีให้ประกาศสงครามกับออสเตรีย-ฮังการี เขาถูกกล่าวหาว่ารับสินบนในการเขียนบทความดังกล่าวจากฝรั่งเศส การกระทำของมุสโสลินีขัดกับนโยบายของพรรคสังคมนิยมซึ่งต่อต้านสงคราม มุสโสลินีจึงถูกบังคับให้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค หลังจากนั้นมุสโสลินีได้ก่อต้งหนังสือพิมพ์ขึ้นที่มิลานโดยมีนดยบายสนับสนุนให้อิตาลีเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 มุสโสลินีได้รับบาดเจ็บจากการเข้าร่วมรบในสงคราโลกครั้งที่ 1 และกลับมาอาศัยอยู่ที่มิลาเพื่อทำหนังสือพิมพ์ และในช่วงนี้เองที่มุสโสลินีตัดขาดจากความคิดด้านสังคมนิยม
มุสโสลินีแต่งงานกับ ราเชล กูดิ มีลูกด้วยกัน 5 คนเขาเป้นนักเขียนบทวิจารณ์ทางการเมืองและนักพูดฝีปากเอ และมีผลงานในการต่างหนังสือหลายเล่ม
ฟาสซิสต์ เป็นกลุ่มการเมืองที่มีนโยบายผสมระหว่างแนวความคิดทางการเมืองของกลุ่มซินดิคาลิสม์กับแนวความคิดชาตินิยมเข้าด้วยกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อตานคอมมูนิสต์ ต่อต้านรัฐบาลที่ไร้สมรรถภาพและเรียร้องสิ่งที่อิตาลีความได้รบจากการทำสนธิสัญญาสงบศึกทีกรุงปารีส ฟาสซิสต์ เป็นภาษาละตินและเป็นคำพนูพจน์ซึ่งหมายถึง กลุมแขนงไม้ ซึ่งถูกมัดรวมเข้ากับด้ามขวานเป็นเครื่องหมายแห่งอำนาจในสมัยดรมันโบราณ ลัทธิฟาสซิสต์ มีความเป็นชาตินยม ไม่ยอมรับอำนาจอธิปไตยของประชาชน แต่จะให้ประชาชนยกย่องและเชื่อฟังผู้นำโดยผุ้นำสัญญาที่จะมอบความก้าวหน้าให้แก่ผุ้ที่จงรักภักดีต่อผู้นำ ถือว่ารัฐเป็นสิ่งสูงสุด ไม่เชื่อในกรปกครองระบอบประชาธิปไตยเพราะคิดวาเป็นการปกครองที่ขาดประสิทธิภาพ เพราะต้องมีการวิพากษ์วิจารณ์และต้องยอมรับมติของเสียงส่วนใหญ่ จึงล่าข้า การปกครองอย่างเข้มงวดจึงปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ถูกปลูกฝั่งให้เกิดความหลงชาติดดยการดูถูกเชื้อชาติอื่นว่ามีระดับความเจริญต่ำกว่า มีนดยบายทำลายชนเชื้อชาติอื่นๆ ที่ด้อยกว่า
สมาชิกฟาสซิสต์เป็นกลุ่มที่ยกย่องความรุ่งเรืองในอดีตของจักรวรรดิดรมันภายในพรรคมีกองกำลังติดอาวธซึ่งเป็นที่เกรงขามและมีชื่อเสียงในหมุ่ประชาชน
ฟาสซิสต์โจมตีพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งได้รับความนิยมในขณะนั้น การก่อกวนศัตรูทางกาเมืองของกองกำลังฟาสซิสต์ทำให้อิตาลีเสมือนตกอยู่ในสถานการณ์ของสงครามกลางเมือง การแสดงความเป็นชาตินิยมของมุสโสลินีจึงทำให้ประชาชนและกลุ่มผุ้นำทางการเมืองรุ่นเก่าเริ่มให้ความเชื่อถือต่อมุสดสลินี และคิดว่าฟาสซิสต์จะสามารถยุติความวุ่นวายที่เกิดขึ้นได้ มุสโสลินีเห็นว่าพรรคฟาสซิสต์มีอำนาจสูงสุดในบรรดากลุ่มการเมืองจึงทดสอบการใช้อำนาจโดยสั่งกองกำลังพรรคฟาสซิสต์เดินทัพสู่กรุงโรม เมื่อเป็นดังนั้น พระเจ้าวิคเตอร์ เอมมานูเอลที่ 3 จึงมอบหน้าที่ให้มุสโสลินีเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลผสม ดดยมีจุดมุ่งหมายให้รฐบาลผสมทำหน้าทีป้องกันการปฏิวติของพวกคอมมูนิสต์ในอิตาล
กฏหมายอเซอร์โบ มุสโสลินีปกครองในระบบรัฐบาลผสมด้วยความยุงยากแต่กองกำลังของพรรคฟาสซิสต์ที่ใช้วิธีการรุนแรงยังคงเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ทำให้สามารถควบคุมสถานะการให้อยู่ในภาวะปกคติ และเพื่อเป็นการคงไว้ซึ่งอำนาจทางการปกครอง เขาจึงบังคับให้รัฐสภายอมรับกฎหมายอเซอร์โบ ซึ่งเป็นกฎหมายที่เปิดโอกาสให้มุสสลินีสามารถเปลี่ยนการปกรองอิตาลีสู่ระบอบเผด็จการ
มุสโสลินีใช้วิธีรุนแรงต่อศัตรุทางการเมือง กรณีนักการเมืองฝ่ายค้านคนหนึ่งถูกทำร้ายกระทั่งไม่สามารถเข้าร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ นักการเมืองสังกัดพรรคดังกล่าวจึงโจมตีและเขียนบทความประนามการกระทำอันเหี้ยมโหดของพรรคฟาสซิสต์ รวมทั้งเปิดโปงการทุจริตในรัฐบาล ซึ่งต่อมาก็ถูกฆ่าตาย และสร้างความไม่พอใจให้แก่ประชาชนชาวอิตาลี พระเจ้าวิคเตอร์ ไม่ทรงตัดสินพระทัยอย่างใดอย่างหนึ่ง มุสโสลินีจึงลดความกดดันทางการเมืองโดยการขับไล่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการตายดังกล่าวเป็นการชั่วคราวเมื่อสถานะการณ์สงบลงจึงต่างตั้งกลัเข้ารับราชการดังเดิม
พรรคฟาสวิสต์กลายเป็นพรรคการเมืองที่มีอำนาจเด็ดขาดเพียงพรรคเดียว อิตาลีตกอยู่ภายใต้การปกครองในระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ เสรีภาพนักหนังสือพิมพ์หมดไปเพราะถูกควบคุมโดยรัฐบาล สหภาพกรรมกรสูญเสียอำนาจ การนัดหยุดพงายเป็นสิ่งผิดกฏหมาย อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ควบคุมโดยรัฐ ระบบทุนเสรีนิยมหมดไปจากอิตาลี
มุสดสลินีเป้นนักพูดที่มีความสามารถ และมักจะใช้วะธีการกล่าวปราศัยปลุกเร้าความรู้สกของประชาชนให้หันมานิยมในตัวเขา เขาใช้วิธีการจัดสวนสนามเพื่อแสดงออกถึงความรุ่งเรืองของอิตาลีภายใตการนำของของฟาสซิสต์
มุสโสลินีแก้ปัญหาการว่างงานโดยการเร่งสร้างระบบสาธารณูปโภค และปรัปรุงเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถเลี้ยงตนเองได้ การทำอุตสาหกรรมภายในประเทศได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลโดยตรง มีการตั้งกำแพงภาษีศุลกากร เพื่อป้องกันการแข่งขันจากสินค้าภายนอกประเทศ และสงเสริมเกษตรกรรมโดยนำเอาวิธีการเกษตรสมยใหม่มาใช้
มุสโสลินียุติความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลอิตาลีกับสันตปาปาซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตั้งแต่ทหารอิตาเลียนยึดกรุงโรมในปี 1870 มีการตกลงทำสัญญาระหว่างรัฐบาลอิตาลีกับองค์สันตปาปา ในการนี้มุสโสลินีได้รับการยกย่องจากชาวอิตาเลียน และองค์สันตปาปาก็ทรงพอพระทัย
มุสโสลินีมนโยบายขยายอำนาจอิตาลีออกไปภายนอกเพื่อทe ให้อิตาลีกลายเป็นประเทสมหาอำนาจ












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...