วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556
ก้าวเข้าสู่สงคราม
- นโยบายการต่างประเทศและการดำเนินการทางการทูตของมหาอำนาจในยุโรปส่งผลถึงการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเริ่มมาตั้งแต่สนธิสัญญาสันติภาพหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สร้างความไม่พอใจให้ประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ เยอรมนีไม่พอใจปัญหาค่าปฏิกรรมสงครามและการเสียดินแดน..อิตาลีไม่พอใจปัญหาการแบ่งดินแดนภายหลังสงคราม.. สภาคองเกรสของหเมริกาไม่ยอมลงนามรับรองสนธิสัญญาแวร์ซายเพราะมีความรู้สึกว่าสนธิสัญญาแวร์ซายส์เป็นสนธิสัญญาที่ขาดความยุติธรรม เป็นต้น
- ประเทศมหาอำนาจในยุโรปหาทางป้องกันการเกิดสงครามขึ้นอีกในอนาคต มีการจัดตั้งองค์การสันนิบาตชาติในปี 1919 เพื่อสันติภาพของโลก และเพื่อความร่วมมือกันระหว่างประเทศ
- ญี่ปุ่นรุกรานแมนจูเรียของจีน เป็นการเริ่มเปิดฉากและส่งสัญญาณให้รู้ว่าสงครามโลกอาจเกิดขึ้นในไม่ช้า..จีนร้องเรียนสันนิบาตชาติให้ลงโทษ..ญี่ปุ่นลาอกจากสันนิบาตชาติในปี 1933
- ฮิตเลอร์ปกครองเยอรมนีมีนโยบายยกเลิกสนธิสัญญาแวร์ซายส์
- นโยบายประเทศมหาอำนาจประชาธิปไตย ความขัดแย้งของนโยบายกลุ่มประเทศมหาอำนาจประธิปไตยขัดแย้งกัน และนโยบายผ่อนปรนด้วยเกรงจะเกิดสงครามครั้งใหม่ขึ้นอีก ล้วนส่งผลดีต่อกลุ่มประเทศเผด็จการ ประกอบกับความไม่กล้าตัดสินใจหากไม่มีการสนับสนุนจากประเทศประชาธิไตยด้วยกัน และการไม่พร้อมที่จะรบเนื่องจากความบอบช้ำจากสงครามครั้งที่แล้ว
- แกนโรม-เบอร์ลิน การลงโทษขององค์การสันนิบาติชาติไม่เป็นผลต่ออิตาลีในกรณีการรุกรานเอธิโอเปีย
- การวางตัวเป็นกลางของกลุ่มประเทศมหาอำนาจประชาธิปไตยในสงครามกลางเมืองของสเปน.. นาพลฟรังโก เข้วยึดการปกครองจากรัฐบาลฝ่ายซ้ายได้รับการสนับสนุนจากพวกคอมมิวนิสต์ นาซีเยอรมันและฟาสซิสต์อิตาลีส่งกำลังทหารและอาวุธช่วยเหลือนายพลฟรังโกทำการปฏิวัติ รุสเว๊ยเข้าช่วยเหลือฝ่ายรัฐบาล แต่กลุ่มประเทศมหาอำนาจวางตนเป็นกลาง สงครามสิ้นสุดลงเมือกลุ่มชาตินินยมของนายพลฟรังโก เข้ายึดกรุงแมดริคได้
- ข้อตกลง เยอรมนี-ญี่ปุ่น ความคล้ายคลึงกันของทั้งสองประเทศในหลายด้านจึงนำมาซึ่งความเป็นพันธมิตรกันกล่าวคือ การปกครองในระบอบเผด็จการ ต่อต้านคอมมิวนิสต์รุสเซีย มีนโยบายขัดแย้งกับองค์การสันนิบาตชาติ เป็นต้น ทั้ง 2 ประเทศร่วมลงนามต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ในปีต่อมาอิตาลีเข้าร่วมลงนามด้วย และในปี 1941 มีประเทศอื่นๆ เข้าร่วมอีก 11 ประเทศ
- ความสัมพันธ์ เยอรมนี-รุสเซีย มีนาคม 1939 สตาลินทำข้อตกลงกับฮิตเลอร์ การที่เยอรมนีมี
สัมพันธ์ไม่ตรีกับรุสเซียครั้งนี้ อาจทำให้อังกฤษและฝรั่งเศสไม่กล้าเข้าแทรกแซงโปแลนด์เมือโปแลนด์ถูกรุกราน รุสเซียตกลงกับเยอรมนีอย่างไม่เป็นทางการว่า รุสเซียจะวางตนเป็นกลางในขณะที่เยอรมนีเข้ารุรานโปแลนด์ แลกกับโปแลนด์ตะวัออก ฟินแลนด์ เอสโทเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และเบราเบีย ทั้ง 2 ประเทศลงนามในสนธิสัญญานาซี-โซเวียต แพค
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น