วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

WWII:Battle of Britain

       Directive No.16 คำสั่งที่ 16 ให้เตรียมการบุกเกาะอังกฤษโดยใช้กำลังกองทัพอากาศเป็นหลักในการปฏิบัติการรบ โดยมีนายพล แฮร์มันน์ เกอริง Hermann Goring เป็นผู้บัญชาการ ฮิตเลอร์เชื่อมั่นในขีดความสามารถของกองทัพอากาศว่าเหนือประเทศอื่น โดยเฉพาะอังกฤษ ในคำสั่งจึงระบุอย่างชัดเจนว่ในการบุกเกาะอังกฤษให้กองกำลังทางอากาศเยรอมันจู่โจมเกาะอังกฤษแบบสายฟ้าแลบเพื่อไม่ให้อังกฤษมีโอกาสตอบโต้ได้ทันทั้งทางอากาศ ทางทะเล และทางบก โดยเฉพาะตามแนวชายฝั่งทะเลทั้งหมด โดยหวังว่าจะสามารถบีบให้อังกฤษยอมจำนน โดยไม่ต้องใช้ยุทธวิธีทางบกหรือทางทะเลเข้าช่วย
   


 ยุทธการเกาะอังกฤษแบ่งเป็น 5 ระยะ
- Channel Battle ยุทธการที่ช่องแคบอังกฤษ ระหว่างเดือนกำกฏา-ต้นเดือนสิหาคม
- Operation Eagle ยุทธการช่องแคบอังกฤษอินทรี ระหว่างวันที่ 13-18สิงหาคม
- Luftwaffe's Switch ระยะเปลี่ยนแผนของกองทัพอากาศเยอรมัน ระหว่างวันที่ 19สิงหาคม -6กันยายน
- Battle of London ระหว่างวันที่ 7-30 กันยายน
- ระยะที่ห้า ระหว่างเดือนตุลาคม-กลางเดือนพฤศจิกายน

      Channel Battleในยุทธการช่องแคบอังกฤษ เริ่มประปรายตั้งแต่วันที่ 10 กรกฏา ก่อนคำสั่งหมายเลข 16 จะออกมาในวันที่ 16 กรกฎาคม เนืองจากเยอรมันที่ปฏิบัติการรบอยู่ในเขตยุโรปตะวันตกอยู่ก่อนแล้วส่งเครื่องบินท้ิงระเบิด 20-30 ลำ ซุ่มโจมตีและทิ้งละเบิดหวังจะตัดกำลังฝ่ายอังกฤษเมื่อคำสั่งที่ 16 ออกมาปฏิบัติการจึงขยายขอบเขตไปถึงปากแม่นำ้เทมส์ใกล้กรุงลอนดอน สิ้นเดือนกรกฎาคม ปรากฎว่าเยอรมันสูญเสียเครื่องบินรบทั้งสิ้น 180 ลำ ในจำนวนนี้เครื่องบินทิ้งระเบิด 100 ลำ ในขณะที่อังดฤษเสูญเสียเครื่่องบินขับไล่จำนวน 70 ลำ
     ฮิตเลอร์ไม่พอใจผลการปฏิบัติการของกองทัพอากาศเยอรมันเป็ฯอย่างมาก ในวันที่ 1 สิงหาคม จึงออกคำสั่งที่ 17 Directive No.17 เร่งรัดกองทัพอากาศเยอรมันทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่จะเอื้อต่อการปฏิบัติการของอังกฤษให้ได้โดยเร็วที่สุด
    Operation Eagle ฝ่ายปฏิบัติการ คือนายพลเทโอดอร์ ออสเทอร์คัมพ์ Theodore Osterkamp และผู้ใต้บังคับบัญชาที่ฝ่านการรบในยุทธการที่ช่องแคบมาแล้ว มองเห้นว่าโอกาสที่เยอรันจะเอาชนะอังกฤษอย่างรวดเร็วนั้น คงเป็นไปไม่ได้ง่ายนัก โดยเขาได้แสดงความเห็นไว้ในการประชุมวางแผนการรบทีกรุงเฮกว่า ขณะที่ทิ้งระเบิดบริเวณรอบๆ กรุงลอนดอน เขาได้เห็นเครื่องยินขับไล่ของอังกฤษแต่ละครั้ง 500-700 ลำ และเมือสิ้นสุดยุทธการที่ช่องแคบ ก็เห็นว่าอังกฤษเพิ่มทั้งจำนวนและสมรรถนะของเครื่องบินเหล่านั้นขึ้นอีกมาก .. แต่นายพล แฮร์มัน เกอริงไม่รับฟังและยืนยันให้ปฏิบัติการตามแผนทในวันที่ 7
สิงหาคม ปฏิบัติการครั้งนี้เลื่อนออกไปเป็นวันที่ 13 สิงหาคม เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศ ความสูญเสียมีมากด้วยกันทั้งสองฝ่ายโดยที่เยอรมันสูญเสียหนักกว่า นายพล แฮร์มัน เกอริง ตัดสินใจปรับแผนครั้งใหญ่
     Luftwaffe's Switch การเปลี่ยนแผนการรบและการเปลี่ยนตัวผุ้บังคับการในแนวหน้าซึ่งมีผลให้ปฏิบัติการโจมตีเกาะอังกฤษทวีความรุนแรงและก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างหนักแก่อังกฤษยิ่งขึ้น เป้าหมายหลักคือ แหล่งอุสาหกรรมหนักและโรงงานผลิตเครื่องบินและอาวุธยุทโธปกรณ์ การบุกทิ้งระเบิดสถานที่
สำคัญตามเป้าหมายกระทำอย่างต่อเนื่องและรุนแรง การปฏิบัติการบางครั้งมีการทิ้งระเบิดติดต่อกันเป็นชุด ถึง 6 ครั้งภายในเวลา 3 วัน อังกฤษไม่ยอมจำนน Raf. กองทัพอากาศอังกฤษ ปฏิบัติกาต่อสู้ป้องกันเมืองใหญ่ๆ ที่มีความสำคัญในแต่ละพื้นที่ไว้ได้โดยเฉพาะกรุงลอนดอน แม้อังกฤษจะสูญเสียอย่างหนัก เยอรมันก็สูญเสียเช่นกัน
     Battle of London เพื่อเร่งเอาชนะอังกฤษอย่างรวดเร็วและเด็ดขาด กองทัพอากาศเยอรมันจึงตัดสินใจใช้แผนบุกโจมตีกรุงลอนดอนเมือ่วันที่ 7 กันยายน โดยนำผูงบินขับไล่ ฝูงยินทิ้งระเบิดและฝูงบินคุ้มกันที่ทรงปรสิทธิภาพจำนวนมหาศาลถล่มกรุงลอนดอนจากทุกทิสเพื่อหวังให้เมืองยนฝั่งแม่น้ำเทมส์ที่มีประชากร 7 ล้านคน ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอังกฤษถูกถล่มในพริบตา
      จอมพลอากาศ เซอร์ฮิว คาสวอลล์ ทรีเทนเฮียร์ ดาวดิง Sia Hung Caswall Tremenheere Dowding ผู้บัญชาการหน่วยรบร่วมระดมหน่วยรบจากทุกเขตมาช่วยปฏิบัติการป้องกันกรุงลอนดอนในครั้งนี้ โดยยอมเสี่ยงที่จะปล่อยพื้นที่อื่นๆ ขาดกำลังรบสำรอง
   

 15 กันยายน กองทัพอากาศเยอรมันส่งเครื่องยบินทิ้งระเบิดติดอาวุธหนัก 200 ลำ ทิ้งระเบิดกรุงลอนดอนอย่างต่อเนื่อง สปิตไฟร์และเฮาร์ริเคน จำนวน 250 ลำสามารถต้านทานการบุกทิ้งระเบิดภาคตะวันออกของลอนดอนไว้ได้ และสามารถขับไล่ฝูงบินรบของเยอรมันออกนอกพื้นที่กรุงลอนดอนเป็นผลสำเร็จ รวมทั้งสามารถทำลายเครื่องบินรบเยอรมันกว่า 60 ลำ ความพ่ายแพ้ทางทัพอากาศของซึ่งจะเป็นตัวชี้ขาดในปฏบัติการสิงโตทะเล ของเยอรมันนั้นทำให้ฮิตเลอร์ประกาศเลื่อนปฏิบัติการออกไปอย่างไม่มีกำหนด แต่การโจมตีลอนดอนก็คงดำเนินต่อไปอย่างหนักเพื่อสร้างแรงกดดันให้รัฐบาลอังกฤษยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขบางประการของเยอรมัน
      ยุทธการเกาะอังกฤษในช่วงสุดท้าย เยอรมันเน้นปฏิบัติการในช่วงกลางคืน อังกฤษถูกโจมตีอย่างหนักทั้งกลางวันและกลางคืน เพื่อหวังผลให้อังกฤษหมดแรงสู้ และทำลายขวัญและกำลัใจ
       การทิ้งระเบิดแต่ละครั้งของเยอรมันเฉลี่ยโดยประมาณ 200 ลูก กรุงลอนดอนและเมืองใหญ่อีกหลายแห่งถูกทำลายอย่างหนัก ที่เมือโคเวนทรี ทหาวิหารที่สำคัญที่สุดของเมืองถูกทำลายโดยสิ้นเชิง มีผู้เสียชีวิต 400 คน
       ตลอดระยะเวลา 4 เดือนพิสูจน์ให้เห็นว่าการทำลายล้างของฝ่ายเยอรมันไม่สามาถทำลายขวัญและกำลังใจโดยเฉพาะเหล่านักบินรบของกองทัพอากาศ กว่า 2,500 คนซึ่งมีทั้งชาวแคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ พวกลี้ภัยชาวเช็กและโปล รวทั้งกาสาสมัครไอริสและอเริกันด้วย ยุทธการที่เกาะอังกฤษจึงสิ้นสุดลงหลังวันที่ 14 พฤศจิกายน 1940 เมื่อกองทัพอากาศเยอรมันสังยกเลิกปฏิบัติการแบบสายฟ้าแลบ และฮิตเลอร์สั่งถอนกำลังส่วนใหญ่ขจของกองทัพอากาศเยอรมันไปปฏิบัติการในแนวรบด้านตะวันออกโดยมุ่งที่รัสเซียเป็นหลัก
     แม้อังกฤษจะเสียหายอย่างหนัก เหนือสิ่งอืนใดอังกฤษสามารถรักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติไว้ได้ในยามที่ยุโรปเกือบทั้งหมดต้องตกอยู่ภายใต้การยึดครองของเยอรมัน...

วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556

WWII:Oparation sealion

    ปลายยุทธการฝรั่งเศส สหภาพโซเวียตเป็นพันธมิตรกับเยอรมันโดยนิตินัย โดยความ่วมือที่เพิ่มขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง ทางด้านการทหารเพืียงเล็กน้อยแล้งก็ตาม การยึดครองรัฐบอลติก เบสซาราเบียและนอร์ทบูโควิน่าสร้างความวิตกให้แก่เยอรมัน และความตึงเครียดที่เพอ่มมากขึ้นจากความไม่สามารถบรรลุความร่วมมือระหว่าง นาซี-โซเวียตได้เพิ่มเติม ทำความสัมพันธ์ของทั้งสองเสื่อมทรามลง
      การที่ฝรังเศสต้องออกจากสงคราม ฝ่ายอังษะมีกำลังยิ่งขึ้นฮิตเลอร์รู้สึกผิดหวังที่อังกฤษยังคงทำการรบต่อไป ทั้งที่ฝรั่งเศสยอมแพ้แล้ว ฮิตเลอร์จึงมีคำสั่งให้กองทัพวางแผนบุกอังกฤษ
นายพลเรือ อีริค เรเดอร์ Erich Reder มองว่า ปัจจัยสำคัญสี่ประการซึ่งจะทำให้ยุทธการนี้สำเร็จ คือ
      - การทำลายกองทัพอากาศของอังกฤษ โดยกองทัพอากาศเยอรมัน กองทัพอากาศอังกฤษจะเป็นภัยคุกคามต่อกองเรือยกพลขึ้นบกของเยอรมันอย่างมาก
      - การทำลายกองทัพเรือของราชนาวีอังกฤษบริเวณช่องแคบอังกฤษให้ห
      - หน่วยป้องกันชายฝั่งของอังกฤษจะต้องถูกทำลาย
      - การปฏิบัติการของเรือดำน้ำอังกฤษในการขัดขวางการยกพลขึ้นบก
เมือขจัดภัยคุกคามแล้วเรือยกพลขึ้นบกจะลำเลียงทหารแบ่งออกเป็น 2 ระลอก โดยการยกพลขึ้นบกในครังแรกจะลำเลียงทหารเยอรมันจากกองทัพที่มีฐานอยุ่ในฝรั้งเศส เข้าโจมตีอังกฤษพร้อมๆ กัน ที่เมือง โดเวอร์ อีสท์บอร์น แรมสเกท เวนท์นอร์ และไลม์ เรจิส เป็นต้น โดยกำลังทหารเยอรมันในการบุกเกาะอังกฤษในครั้งนี้ เป็นจำนวน 91,000นาย รถถัง 650 คัน และม้าอีก 4,500ตัว
     แผนการในขั้นต่อมากำลังทหารเยอรมันชุดใหญ่ระลอกที่ 2 จำนวนกว่า 170,000นาย ยานยนต์ 34,200 คนและม้าอีกว่า 57,000 ตัว ซึ่งเป็นกำลังที่จะรุกเข้าสู่กรุงลอนดอน ทางทิสเหนือในขณะที่ทหารพลร่ม หรือ "ฟอลชริมเจกอร์" กว่า 25,000 นายจะกระโดร่มลงตามจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัยๆ ต่าง ๆ ทั่วเกาะอังกฤษ
    ความสำเร็จหรือล้มเหลวในยุทธการนี้ขึ้นอยู่กับการทำลายล้างกองทัพอากาศ Raf. ของอังกฤษเป็นประการแรก  ซึ่งจะเป็นการทำลายโดยใช้แสนยานุภาพทางอากาศของเยอรมันLuftwafferในขณะนั้นที่
เชื่อว่า "เหนือกว่า" เป็นสิ่งชี้ขาด
     นอกจากเงื่อนไขด้านกำลังรบแล้ว "เงื่อนไขด้านเวลา"ก็เข้ามาเกียวข้องด้วย จากยุทธการที่ดันเคิร์ก อังกฤษทิ้งยุทธโทปกรณ์ไว้ อังกฤษเกิดภาวะขาดแคลนอย่างหนัก มีผู้กล่าวว่า"หากจะบุกอังกฤษ ก็ต้องบุกในห้วงเวลานี้" แต่การบุกเกาะอังกฤษมีขึ้นหลังจากนั้นกว่าหนึ่งเดือน อังกฤษสามารถระดมอาวุธยุทโธปกรณ์ได้บางส่วนแล้ว และที่สำคัญคือเครืองบินขับไล่อันน่าเกรงขาม

วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

WWII:Royal Air Force fighter Command vs Luftwaffe

     ยุทธการที่อังกฤษเป็นปฏิบัติการทางทหารครั้งใหญ่ครั้งแรกที่ต่อสู้กันทางอากาศเท่านั้น และมันให้บทเรียนอย่างมากกับทั้งสองฝ่าย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเรดาร์(ระบบที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นเครื่องมือในการระบุระยะ,ความสูง,รวมถึงทิศทางหรือความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุ)สำหรับตรวจจับเครื่องบินศึตรู ซึ่งทำให้เครื่องบินชับไล่เข้าสกัดได้อย่างแม่นยำจากระยะไกล
      ยุทธการอังกฤษแสดงให้เห็นถึงความไม่พร้อมของเครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธีเมื่องต้องใช้ในการโจมตีระยะไกลแนวคิดเครื่องบินขับไล่ขนาดหนักแบบสองเครื่องยนต์ถูกมองว่าเป็นความล้มเหลวเมื่องเครื่อง เมสเซอร์สมิต บีเอฟ 110 กองทัพอากาศเยอรมันนั้นขาดความคล่องเเคล่วและตกเป็นเป้าได้ง่ายต่อเครื่อง เฮอร์ริเคนและสปิตไฟร์ บีเอฟจึงถูกลดขั้นมาเป็นเครื่องบินขับไล่กลางคืนและคเรื่องบินทิ้งระเบิดซึ่งพบว่ามันเหมาะมากกว่า นอกจากนั้น บีเอฟ 109 ของเยอรมันปฏิบัติการในแบบที่สุดระยะยของมันและไม่สามารถทำการรบได้นานนัก เมื่อเครื่องบินทิ้งระเบิดขาดการบินคุ้มกัน เยอรมันก็ต้องสูญเสียมากเครื่องบินมากขึ้น


                                                 Royal Air Force fighter Command
                                                 กองทัพอากาศอังกฤษในปี 1940







      สุดยอดของเครื่องบินขับไล่อังกฤษในช่วงนี้คือ เครื่องบินซุปเปอร์มารีน สปิตไฟร์ ด้วยความเร็ว 580/hr.ติดปืนกลขนาด .303นิ้ว 8 กระบอกที่ปีกสองข้าง สามารถปรับศูนญ์ฺโดยทั่วไปจะปรับแต่งให้กระสุดทั้งแปดกระบอกรวมศูนย์กันอยู่ในระยะ 594 เมตรจากลำกล้อง

ฮอว์คเกอร์ เฮอริเคน มีความเก่ากว่า สปิตไฟร์ ความเร็ว 523/hr.ติดปืนกลขนาด .303 นิ้ว แปดกระบอก มีอำนาจการยิงสูง




Luftwaffe
กองทัพอากาศเยอรมัน




เจยู 87 สตูก้า Dive Bomber Ju 87 "Stuka" ซึ่งมีความสามารถในการดำดิ่งทิ้งละเบิดอย่างแม่นยำ แต่ไม่ประสบความสำเร็จในสมรภูมิบริเตน



แมสเซอร์สมิต บี เอฟ 109 Messerchmitt Bf 109 เครื่องบินขับไล่ที่เป็นกำลังหลักในขณะนั้น โดยถูกออกแบบมาให้มีโครงสร้างที่เล็ก คล่องตัว เครื่องยนต์ที่ทรงพลังมีอัตราความเร็ซในการบินดำดิ่ง เร็วกว่าเครื่องบินขับไล่ขงออังกฤษทุกชนิด  ติดปืนกลขนาด 7.9 มม. MG17 ที่เหนือเครื่องยนต์สองกระบอกโดยทำการยิงลอดใบพัด ปืนใหญอากาศขนาน 20 มม. แบบ MG FFอีกสองกระบอก ติดที่ปีกทั้งสองข้าง 


เมอเซอร์สมิต บีเอฟ 110 ซึ่งมีข้อบกพร่องจึงต้องลดชั้นเป็นเครืองบินขับไล่ตอนกลางคืน

เครื่องบินทิ่งระเบิบ แบบ ไฮน์เกล 111 Heinkel He 111 เครื่องบินทิ้งระเบิด ติดตั้งปืนกลขนาด 7.92 มม. จำนวน สามกระบอก บรรทุกระเบิด 1,800กก. ความเร็ว 398/Hr.เครื่องยนต์สองเครื่อง

   กองทัพอังกฤษยึดมั่นในการสร้างครามเสียหายให้กับฝูงบินเยอรมันมากว่าการทำลาย โดยอังกฤษเชื่อว่า ความเสียหายจะทำให้เยอรมันต้องเสียเวลาในการซ่อมแซม และต้องใช้บุคคลากรจำนวนมาก และทำการรบได้ไม่เต็มที่ 
      ยุทธวิธีการต่อสู้ทางอากาศระหว่างอังกฤษและเยอรมันมีความแตกต่างกัน ผู้บินเยอรมันจะเข้าโจมตีในลักาณะกลุ่มหรือที่เรียกว่า กรุ๊ป โดยใช้อากาศยานรวมกัน 30-40 ลำ ในขณะที่อังกฤษจะขึ้นบินในลักษณะหมวดบิน 9-10 ลำ

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

WWII:Dunkirk

   

 กองกำลังผสม สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเบลเยี่ยมดำเนินการตั้งรับโดยการคุ้มกันอาณาบริเวฯรอบ ๆ หมู่บ้านอาร์เมนติเยร์ส่วนกองกำลังเยอรมันทางเหนือยังคงมุ่งหน้าต่อ โดยการยึดเมืองคาร์เลส์ ซึ่งเป็ฯจุดยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญทีสุดทางตอนเหนือของฝรั่งเศส กองกลังเยอรมันสามารถตรึงกำลังทหารสัมพันธมิตรจำนวนมาก ถูกปิดล้อมจากชายฝั่งทะเลในพรมแดนฝรั่เศส-เบลเยี่ยม เมื่อฝ่ายกองกำลังผสมจนมุมจึงแพ้ศึกในครั้งนี้
      ปัญหาที่ตามมาของสัมพันธมิตร คือจะอพยพทหารสัมพันธมิตรให้กลับไปยังเขตปลอดภัยในประเทศอังกฤษอย่างไรให้ได้หมดอ่อนฝรั่งเศสจะถูกยึดและทำลาย
     22 พฤษภา 1940 ปฏิบัตกการเตรียมความพร้อมเพื่อการอพยพก็เริ่มขึ้น ภายใต้รหัส ยุทธการไดนาโม โดยมีพลเรือโทเอบร์แทรม แรมเซย์เป็นผู้สั่งการจากมเืองโดเวอร์  โดยจุดประสงค์แรกคือการระดมกองเรือให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยสั่งการเรือราชนาวีทุกลำที่สามารถบรรทุกทหารได้ 1,000 นายขึ้นไปภายในพิกันมุ่งหน้าไปยังเมืองดันเคิร์กเพื่อขนถ่ายกองกำลังผสมแผ่งเกาบริเตนใหญ่กลับมายังประเทศอังกฤษภายในสองวัน
      27 พฤษคม 1940 กองเรื่อสามารถนำกำลังกลับมาได้ 120,000 นาย รัฐบาลสหราชอาณาจักรทำการของความร่วมมือพลเรือที่ครอบครองเรือและอยู่ในพิกัด ซึ่งมีความยาว 30-100ฟุต ให้ช่วยปฏิบัติการอพยพครั้งนี้ ในคืนเดียวกันการอพยพอย่างเป็นทางการครั้งแรกจึงเริ่มต้น เรือจำนวนมากรวมถึง เรือจับปลา,เรือเก่าที่ถูกซ่อมแซม,เรือนาวิกพานิชย์และเรือรบราชนาวีรวมพลกันที่เมืองเชียร์เนสและมุ่งหน้าไปยังดันเคิร์กและล้อมชายฝั่งใกล้ๆ เพื่อขนถ่ายกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตกลับแต่เนื่อจากการระดมยังด้วยปืนใหญ่อย่างหนัก มีทหารเพียง 8,000 นายเท่านั้นที่รอดกลับมาในครั้งนี้
   
      28 พฤษภาคม 1940 เรือพิฆาตอีกสิบลำถูกเรียกเข้าปฏิบัติการอพยพครั้งที่ 2 ในตอนเช้าแต่ไม่
สามารถเข้าประชิดขายฝั่งได้มากพอเนื่องจาน้ำตื้นเกิน อย่่างไรก็ตามทหารหลายพันนายได้รับการช่วยเหลือออกมาได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเรือลำเล็กมีประโยชน์มากกว่าในบางสถานะการ อู่ต่อเรือเริ่มต้นหาเรือที่มีขนาดเหมาะสมและให้รวมกันที่เมือง เชียร์เนส แชทแฮม และโดเวอร์ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดีเยียม พร้อมกลับทหารอี 16,000 นายที่กลับมาได้ แต่ยุทธการเพิ่มมาตรการทางอากาศของเยอรมันทำให้เรือหลายลำถูกอับปางและอีกหลายลำไ้ด้ีรับความเสียหาย
     29 พฤษภาคม 1940  กองกำลังยานเกราะของเยอรมันหยุดการบุกเมืองดันเคิร์กและให้ทหารราบและกองกำลังทางอากาศทำาการบุกต่อ ซึ่งเป็นยุทธวิธีที่อดอร์ฟ ฮิตเลอร์ นำมาใช้และไ้ด้ผลดีในการบุกโปแลนด์ตแ่ต่กลับไร้ผลในการนำมาใช้ครั้งนี้( การที่กองยานเกราะของเยอรมันถูกฮิตเลอร์สั่งหยุดนั้นเน เนื่องจากฮิตเลอร์มีความต้องการที่จะปล่อยอังกฤษข้ามช่องแคบ คำสั่งนี้ถูกท้วงติงอย่างหนักจากนัการทหารระดับสูงของเยอรมัน เพราะทั้งๆ ที่สามารถทำลายหรือจับทหารพันธมิตรเป็นเชลยได้ทั้งหมด แต่เพราะฮิตเลอร์คิดว่า ชาวเยอรมันและอังกฤษนั้น มีความใกล้เคียงกันทางสายเลือดถือว่าเป็นเผ่าพันธ์ชั้นสูง และเพื่อหวังว่าอังกฤษจะยอมรับคำของสงบศึกและเป็นพันธมิตรกับตน แต่อังกฤษปฏิเสธโดยตบอดกระทั่งจนสงคราม) มีทหาร14,000 นายอพยพกลับอังกฤษในวันนี้
    30 พฤษภาคม 1940 เรือลำเล็กจำนวนมากเข้าเทียบท่าพร้อมกับทหาร 30,000 นาย
    31 พฤษภาคม 1940 กองกำลังสัมพันธมิตรถูกต้อนเข้าสู่เมืองลาปานน์ และเบรย์-ดันย์ ซึ่งห่างจากเมืองดันเคิร์กอีก 5 กิโลเมตร ในวันนี้ทหารอพยพกลับ 68,000 นายและอีก 10,000 นายภายในคืนเดียวกัน การอพยพครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายทคือในวันที่ 1 มิถุนายน ทหารอีก 65,000 นายเดินทางกลับอังกฤษ แต่ปฏิบัติการย่อยๆ นั้นคงดำเนินต่อไปกระทั่งวันที่ 4 มิถุนายน
 
   

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

WWII:La IIIe Republique

      สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 เป็นชื่อของระบอบการปกครองของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ระหว่างยุคจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 กับรัฐบาลฝรั่งเศสวิซี(รัฐบาลเฉพาะกาลที่ปกครองฝรั่งเศสโดยเป็นรัฐหุ่นเชิดของนาซีเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2)
     ในยุทธการฝรั่งเศส Battle of France นั้น ฝ่ายเยอรมันใช้อุบายการตีผ่านแนวเทือกเขาอาร์เดนเนส ซึ่งเป็นแนวป้องกันทางธรรมชาติที่นักวางแผนชาวฝรั่งเศสคาดการณ์การว่าเทือกเขานี้ไม่มียานยนต์หุ้มเกราะผ่านมาได้ แต่เป็นการคาดการณ์ที่ผิดพลาด
      สงครามโลกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสเข้าสครามโดยการเตรียมตัวอย่างไม่มีประสิทธิภาพ รัฐมนตรีขัดแย้งกันเองในเรื่องการดำเนินงานในภาวะสงคราม ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนของฝรั่งเศสเชื่อในแนวรบมายิโนต์ว่าจะทำให้ทหารเยอรมันอ่อนกำลังและถอยไปเอง จึงไม่เข้าช่วยโปแลนด์ ฝรั่งเศสสนใจที่ช่วยฟินแลนด์มากว่า และเมื่อฟินแลนด์ยอมสงบศึกทำให้เกิดกาต่อต้านดาลาดิเย่ร์และคณะรัฐมนตรีของเขาต้องสลายตัว ปอล เรย์โนลด์เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยมีพรรคสังคมนิยมหัวรุนแรงอยู่เบื้องหลัง
   
  10 พฤษภา 1940 เยอรมันบุกเบลเยี่ยมและฮอลแลนด์ฝรั่งเศสและอังกฤษก็เคลื่อนพลเข้าสู่เบลเยี่ยม การโจมตีแบบสายฟ้าแลบของเยอรมันมีประสิทธิภาพ เยอรมันรุกฝรั่งเศสหนักขึ้นในทางตอนใต้ของเซตัง
     15 พฤษภา 1940 กองทัพฝรั่งเศสคุมกำลังไม่ติดที่แม่น้ำเมอร์สจึงต้องถอย การป้องกันของฝรั่งเศสล้มเหลว
     กองกำลังผสมของสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเบลเยี่ยมดำเนินการตั้งรับโดยการคุ้มกันอาณาบริเวณรอบ ๆ หมู่บ้านอาร์เมนติเยร์ ส่วนกองกำลังเยอรมันทางเหนือก็ยังมุ่งหน้าต่อไป โดยกายึดเมืองคาร์เลส์ ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดทางตอนเหนือของฝรั่งเศสทำให้กองกำลังเยอมันสามรถตรึงกำลังทหารสัมพันธมิตจำนวนมาก ถูกปิดล้อมจากชายฝั่งทะเลในพรมแดนฝรั้งเศส-เบลเยียมเมื่อฝ่ายกองกำลังผสมจนมุมุก็เท่รกับแพ้ศึกในครั้งนี้ การอพยพทหารกว่า500,000นายจึงเกิดขึ้น
     ความหายนะทำให้เรย์โนต์ต้องเปลี่ยนตัวรัฐมนตรี คาลาติเยร์ต้องไปอยู่กระทรวงการต่างประเทศ ในขณะที่เรย์โนลด์เป็นรัฐมนตรีกลาโหมอีกตำแหน่งหนึ่ง นายพลเวย์กังด์ ถูกเรียกตัวจากซีเรียให้มาจัดการเรื่องสงคราม เปแตงถูกเรียกตัวจากสเปนให้มาเป็นรองนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าที่ปรึกษาทางทหารของเรย์โนลด์ แต่สถานการณ์ทางทหารของฝรั่งเศสยุ่งยากเกินความสามารถทีนายพลคนใดจะควบคุมได้
      อังกฤษและฝรั่งเศสไม่ไว้ใจกันในการอพยพที่ดันเคิร์ก ฝรั่งเศสไม่พอใจที่พวกอังกฤษอพยพเป็นพวกแรกและทิ้งกองทหารฝรัี่งเศสเป็นพวกสุดท้าย
   
9 มิถุนายน 1940 คณะรัฐมนตรีย้ายจากปารีสไปอยู่ที่แคว้นคูรส์
      14 มิถุนายน 1940 กองทัพเยอรมันเข้ายึดปารีส ผู้นำรัฐบาลฝรั่งเศสเกิดความแตกแยกทางความคิด ฝ่ายเปแตงและวย์กังด์ เห็นว่าไม่ควรทิ้งฝรั่งเศสและยอมทำสัญญาสงบศึกกับเยอรมัน ในขณะที่เรย์โนลด์และพรรคพวกเตรียพร้อมที่จะย้ายรัฐบาลไปแอฟริกาและดำเนินการต่อสู้ต่อไป ในวันเดียวกัน รัฐบาลย้รยไปอยู่ที่บอร์โดซ์ รัฐมนตรีกลุ่มที่อยู่ข้างโซตองเรียกร้องให้ทำสัญญาสงบศึก ส่วนนักการเมืองนอกคณะรัฐมนตรี มีลาวาลและพรรคพวกก็สนับสนุนการสงบศึก เรย์โนลด์ยอมแพ้ต่อการกดดันและลาออกในวันที่ 16 มิถุนายน 1940 เปแตงดำรงตำแหน่งต่อจากเขา
     17 มิถุนายน 1940 เปแตงก็ออกประกาศยุติความเป็นศัตรูและมุ่งทำสันติภาพกับเยอรมันอย่ามีเกียรติ
     22 มิถุนายน 1940 สัญญาสงบศึกกับเยอรมันก็ได้รับการลงนามที่ตำบลคอมเบียน บนตู้รถไฟเดียวกันกับที่จอมพลฟอซได้เสนอสัญญาของเขาต่อผู้แทนเยอรมันในปี 1918
       จากสัญญาสงบศึก ฝรั่งเศสต้องถูกแบ่งเป็นสองส่วน คือ เขตที่ถูกครอบครอง และไม่ถูกครอบครอง ่วนที่ถูกครอบครองนั้น กินอาณาเขตทั้งหมดของฝั่งแอตแลนติคและแถบช่องแคบรวทั้งดินแดนทางตะวันตก ตะวันออก และทางเหนือของฝรั่งเศส กองทัพฝรั่งเศสต้องปลดอาวุธและห้ามการเคลื่อพล กองทัพเรือก็ต้องอยู่ใต้การตรวจตราของเยอรมัน ซึ่งการตรวจตรานั้นทำให้อังกฤษสงสัยว่าเยอรมันจะยึดกองทัพเรือฝรั่งเศส อังกฤษจึงโจมตีทัพเรือฝรั่งเศสที่ทะเล แดล เกปีร์ ในวันที่ 3 กรกฎา 1940
       นอกจากนี้ ฝรั่งเศสยังต้องจ่ายเงินอย่างไม่จำกัดต่อการครอบครองของเยอรมนีและฝ่ยเเยอรมันจะควบคุมเชลยสงครามไว้จนกว่าจะมีสันติภาพโดยสมบูรณ์ ในขณะนั้นดูเหมือนจะมีความเชื่อว่าสงครามจสิ้นสุดในเร็ววัน

WWII:Blitkrieg:Blitz

      10 พฤษภาคม 1940 เยอรมันบุกฝรั่งเศส เบลเยี่ยม เนอเธอร์แลนและลักเซมเบิรก เนเธอร์แลนด์และเบลเยี่ยมพ่ายด้วยยุทธวิธีบลิทซครีก Blitzkrieg ซึ่งเป็นการโจมตีอย่างรวดเร็วซึ่งพัฒนาขึ้นโดยชาติต่างๆ ระหว่างศตวรรษที่ 20 และนำมาใช้หลายปีกลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเยอรมนีใช้วิธีการนี้มากที่สุด บลิทซครีกที่โดเด่นในประวัติศาสตร์การทหารคือช่วงเวลาเริ่มต้นของสงคาโลกครั้งที่สอง บริซครีกของเยอรมันมีประสทิธิภาพมากในแนวรบด้านตะวันตกและในแนวรบด้านตะวันออกช่วงแรกๆ กองทัพส่วนใหญ่ไม่ทันระวังตัว และขากการป้องกันซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเยอรมัน
   รูปแบบบลิทซคลิก โดยทั่วไป คือ การใช้ความรวดเร็วมากว่าใช้ประสิทธิภาพที่เหนือกว่าและยังเป็นการใช้รูปแบบผสม หรือก็คือ การใช้ยานเกราะเคลื่อนที่เร็วร่วมกับทหารราบประสทิธิภาพของยานเกราะ การพัฒนาของการติดต่อสื่อสารรวมไปถึงการบัญชาการอย่างมีประสิทธิภาพ
     เยอรมันพยายามหลีกเลี่ยการรบซึ่งหน้าเพื่อที่จะทำลายขวัญกำลังใจ การติดต่อสื่อสารและประสทิธิภาพการตัดสินใจของข้าศึก การใช้ความสามารถในการโจมตีที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพผสมกับความไม่ทันระวังของศัตรูทำให้ศูน์บัญชาการของศัตรูปั่นป่วน
      หัวใจสำคัญของกลยุทธ์คือ กองกำลังรถถังและความสามารถด้านทัพอากาศหากศัตรูได้ระวังตัวก่อนทำให้บลิทซคลรีกล้มเหลว
  
  เบลเยี่ยมและเนเธอร์แลนพ่านแพ้ในเวลาเพียงไม่กี่วันและไม่กี่สัปดาห์ตามลำดับ
      บลิทซครีก เป็นการโจมตีกย่างรดวเร็วประกอบด้วยการทิ้งระเบิดโดยเครื่องบินรบก่อนที่จะใช้ยามเกราะบุกเข้าโจมตีอย่างรวดเร็วและสร้าคงามประหลาดใจให้แก่ฝ่ายข้าศึกทำให้ฝ่ายตั้งรับไม่มีเวลาที่จะตรียมการป้องกันใด ๆ แนววคิดบลิทซครีกนั้นถูกพัฒนาโดยชาติต่าง ๆ ระว่างศตวรรษที่ 20 และถูกนำออกมาใช้หลายปีกลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยเยอรมนีมากที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันการทำการศึกยืดเยื้อ บลิททซครีกที่โดดเด่นในประวัติศาสตร์การทหาร คือ ช่วงเวลาเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง
      บลิทซครีกของฝ่ายเยอรมนีนั้นมีประสิทธิภาพมากในแนวรบด้านตะวันตกและในแนวรบด้านตะวันออกช่วงแรกๆ ทำให้กองทัพส่วนใหญ่ไม่ทันระวังตัว และขาดการป้องกันซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการรบของฝ่ายเยอรมนี
       รุปแบบ โดยทั่วไปของบลิทซครีก คือ การใช้ความรวดเร็วมากว่าใช้ประสิทธิภาพที่เหนือกว่าและเป็นการใช้รูปแบบการรบแบบผสม หรือก็คือ การใช้ยานเกราะเคลื่อนที่เร็วร่วมกับทหารราบปืนใหญ่และกำลังสนับสนุนทางอากาศ ยุทธวิธีดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยความเร็วในการโจมตีประสิทธิภาพของยานเกราะ การพัฒนาของการติดต่อสื่อสารรวมไปถึงการบัญชาการอย่างมีประสิทธิภาพหัวใจกลักของบลิซครีกคือการักษาความเร็วของรถถังหุ้มเกราะวึ่งสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว
       การจู่โจมโดยปฏิบัติการบลิทซ์คลีกนั้น จะต้องสร้างความหวาดกลัวใหกับฝ่ายตรงข้าม เยอรมันใช้
เสี้เสียงไซเรนเพื่อความหวาดผวาในหมู่ศัตรูด้วย ปฏิบัติการบลิทซ์ครี ต้องกการให้ศัตรูลนลานจนเกิดข้อผิดพลาด ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการป้องกันตัวเองลดลง เนื่องจากตกอยูใีความหวาดกลัวและสับสนฝ่ายเยอรมันใช้ประทโยชน์จากวิธีนี้ครั้งเข้ารุกราน ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และเนเธอร์แลนด์
       บลิทซ์ครีก หรือสงครามสายฟ้าแลบเป็นแนวคิดจากนักทฤษฎีทางการทหารชาวอังกฤษช่อ ลิดเดลล์ ฮาร์ต ทีเน้นยุทธวิธีรุกแบบสายน้ำเชี่ยวซึ่งเขาพัฒนาขึ้นเพื่อใช้แทนยุทธวิธีแบบสงครามโลกครั้งที่ 1 กล่าวคือ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยที่สงครามในช่วงนั้นคือการตั้งรับในหลุ่มเพลาะอย่างเดียวทั้ง 2 ฝั่งโดยแต่ละฝ่าย มีจุดกวาดล้างคือตรงกลางระหว่างทั้ง 2 ฝั่ง มีทั้งลวดหนามที่กั้นไม่ให้มีฝ่ายใดทะลวงที่มั่นได้แต่ฝ่ายอังกฤษได้นำเสนอรถถังบุกทะลงที่ไร้เทียมทานต่อปืนกลและไรเฟิล ได้ข้ามลวดหนามและหลุมเพลาะแต่ทว่า ในช่วงนั้นรถถังอังกฤษผลิตไม่ได้มากพอก่อนสงครามจะยุติในขณะที่ฝ่ายสัมพันธมติรได้ศึกษารถถังมานานปีจึงได้รู้ประสบการณ์ของ "ความเปลี่ยนแปลง"หลังจากนันเยอรมันได้พยายามศึกษารถถังและใช้งานเทคโนโลยีนี้ให้ดีที่สุด
       ไฮนซ์ กูเดรีอัน ได้พัฒนาแนวความคิดโดยเขียนหนังสื่อชื่อ Achtung Panzer ที่เปรียบเสมือนคำทำนายการสงครามในอนาคต
      เขากล่าวถึงยุทธวิธีแบบสงครามสายฟ้าว่า ได้แก่ การใช้ขบวนยานเกราะบุกทะลวงโจมตีเป็นแนวลึกแต่แคบ ติดตามด้วยกองกำลังเคลื่อนที่เร็วซึ่งประกอบด้วยขบวนพาหนะบรรทุกทหารที่ใช้อาวุธทันสมัยแลมียุทธภัณฑ์ชั้นเยียม กองกำลังนี้จะขยายแนวโอบล้อมฝ่ายข้าศึก และกองทัพซึ่ง
ติดตามกองกำลังเคลื่อที่เร็วนี้ก็จะทำลายกำลังของฝ่ายศัตรูในที่สุด การปฏิบัติการตามแผนดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากกำลังทางอากาศ โดยใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดจำนวนมากปฏิบัติการครอบคลุมอาณาบริเวณ การรบแบบสงครามสายฟ้าแลบจะทำให้กองทัพของฝ่ายช้าศึกตระหนกและขวัญเสียจนแตกพ่ายไป เนื่องจากไม่สามารถต่อต้านการโจมตีรวดเร็วและอาวุธที่ทันสมัยและร้ายแรงได้
      เยอรมันทดลองยุทธวิธีแบบสงครามกลางเมืองสเปน โดยใช้ปฏิบัติการทางอากาศควบคู่กับกำลังทางพื้นดินได้อย่างมีประสิทธิภาพและน่ากลัว เพราะนอกจากจะทำให้ฝ่ายกบฎสามารถยึดเมืองต่าง ๆ มาจากรัฐบาลสเปนได้แล้วยังทำให้ชาวสเปนจำนวนมากต้องล้มตายและบาดเจ็บ
      เมื่อเกิดสงครามโลครั้งที่ 2 เยอรมนีนำยุทธวิธีนี้มาใช้ในการบุกโจมตีโปแลนด์ เบลเยียม เนเธอร์แนด์ และฝรั่งเศส ซึ่งได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างมากทั้งในแง่การวางแผนทางการทหารและการประสานงานของยุทธวิธีแบบนี้ ในการโจมตีฝรั่งเศสในยุทธการที่ฝรั่งเศส Battle of France และในการทำสงครามทะเลทรายในแอฟริกาเหนือในระยะหลังของสงคราม นายพลอเมริกาก็นำเอายุทธวิธีแบบนี้มาใช้ในการรบที่ยุโรป
       คำว่า บลิทซืครีก ในภาษาเยอรมันนี้ ต่อมาหนังสือพิมพ์อังกฤษได้ใช้ในความหมายที่ผิดไปจากเดิม คือย่อเป็นคำสั้นๆ ว่า "บลิทซ์" Blitzหมายถึงสายฟ้า คือ การที่เครื่องบินรบของฝ่ายเยอรมนีระดมท้องระเบิดเพื่อโจมตีนครลอนดอนและเมืองใหญ่ๆ ของอังกฤษอย่างรุนแรง

วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556

WWII:Navik,Norway

     นอร์เวย์ มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรนอร์เวย์ เป็นประทเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ในยุโรปเหนือ ส่วนตะวันตกของคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย มีอาณาเขตจรดประเทศสวีเดน ฟินแลนด์และรัสเซีย มีอาณาเขตทางทะเลจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ใกล้กับประเทศเดนมาร์กและสหราชอาณาจักร
      การต่อสู้ในนอร์เวย์ใช้เวลาเพียง 2-3 วันก่อนที่นอร์เวย์จะยอมจำนน กษัตริย์และรัฐบาลหนีไปประเทศอังกฤษและยังคงต่อสู้เพื่อให้นอร์เวย์เป็นอิสระ ณ ที่นั้น ชาวนอร์เวย์หลายคนประกอบกิจกรรมที่ฝิดกฎหมายระหว่างช่วงสงคราม มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างไม่มีการปิดกั้น ทั้งทางหนังสือพิมพ์และใบปลิว และอีำหลายคนที่ช่วยคนให้หลบหนีไปยังประเทศอื่น
      นอร์เวย์มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของทั้งสองฝ่ายโดยมีสองสาเหตุ คือ ความสำคัญของเมือง่านนาร์วิกซึ่งสมารถขนส่งเหล็กและโลหะจากสวีเดน ซึ่งเยอรมันต้องการมากเส้นทางเดินเรือดังกล่าวยังเป็นเส้นทางสำคํยมากเป็นพิเศษในช่วงที่ทะเลบอลติกนั้นกลายเป็นน้ำแข็ง นาร์วิกมีความสำคัญต่อดังกฤษเช่นเดียวกันเมื่ออังกฤษทราบว่าโครงการแคทเธิรียของอังกฤษที่จะครอบครองทะเลบอลติกนั้นไม่สามารถนำมาใช้ได้
       อย่างที่สองเมืองท่าของนอร์เวย์เป็นช่องว่างของการปิดลิ้มเยอรมนี เรื่อรบเยอรมันสามารถแล่นออกไปยังมหาสมุทรแอตแลนติกได้ นอร์เวย์ยังถูกมองจากพรรคนาซีว่าเป็นแหล่งกำเนินของชนชาตินอร์ติก-อารยันตามคำกล่าวของฮิตเลอร์การยึดครองนอร์เวย์ยังมีผลสำคัญยิ่งต่อความสามารถในการใช้อำนาจทางทะเลเพื่อต่อกรกับฝ่ายสัมพันธมิตร

      โดยเฉพาะฝ่ายอังกฤษ เมื่อนอร์เวย์วางตนเป็นกลาง ไม่ถูกยึดครองโดยคู่สงครามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ความอ่อนแดในการป้องกันชายฝั่งของนอร์เวย์นั้นนายพลเรือรีดเดอร์ชี้ให้เห็นหลายครั้งถึงความอันตรายของนอร์เวย์ที่จะมีแก่เยอรมนีโดยอังกฤษ หารอังกฤษฉวยโอกาสรุกรานนอร์เวย์ ถ้ากองเรืออังกฤษยึดเมือท่าเบอร์เกน นาร์วิกและทรอนด์แฮมได้เยอรมนีจะถูกปิดล้อมทางทะเลเหนือโดยสิ้นเชิง และกองทัพเรือในทะเลบอลติกจะตกอยู่ในอันตราย
       ครั้งเกิดสงครามฤดูหนาวรุสเซียรุกรานฟินแลนด์ฝ่ายสัมพันธมิตรร่วมือกับเดนมาร์กและสวีเดน ซึ่งเปิดโอกาสให้ฝ่ายสัมพันธมิตรมอบความเห็นใจอย่างจริงใจต่อฟินแลนด์และอ้างที่จะส่งกองกำลังเขายึยดครองแหล่งแร่และเมืองท่าในนอร์เวย์การเคลื่อนไหวดังกล่าวสร้างความกังวลให้แก่เยอรมนี
     สนธิสัญญาเมโลตอฟ-ริบเบนทรอฟทไให้ฟินแลนด์กลายเป็นเขตอิทธิพลของสหภาพโซเวียต เยอรมนีวางตัวเป็ฯกลางต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ความกลัวเยอรมันนั้นทำให้นายทหารระดับสูงของเยอรมนีทำนายว่านอร์เวย์และสวีเดนอาจรับความช่วยเหลือจากฝ่ายสัมพันธมิตรแต่เหตุการณ์ก็ำไม่เป็นดังคาด นอร์เวย์และสวีเดนเพิ่มความระมัดระวัลและเฝ้าจับตามอง "การทรยศโดยชาติตะวันตก"ของโปแลนด์เมือโปแลนด์ถูกรุกราน ทั้งสองประเทศไม่ต้องการที่จะทำลายความเป็นกลางของตนและเข้าพัวพันกับสงครามโลกทหารต่างชาติเดินผ่านเข้าตามแนวชายแดนด้วยสนธิสัญญาสันติภาพมอสโก แผนการต่าง ๆ ของฝ่ายสัมพันธมิตรจึงล้มเิลิกไป
      นายทหารระดับสูงของเยอรมนีให้ความสนใจความเป็นกลางของนอร์เวย์มากตราบเท่านที่เรือรบฝ่ายสัมพันธมิตรยังไม่แล่นเข้าสู่น่านน้ำของทะเลนอร์เวย์เรือขนส่งสืนค้าของเยรมนีก็ยังคงปลอดภัยที่จะเข้าสู่ชายฝั่งนอร์เวย์ จอมพลเรืออิริช เรอเดอร์ โต้แย้งแผนการโจมตี เขาเชื่อว่าเมืองท่าของนอร์เวย์นั้นเป็นที่ที่สะดวกที่สุดที่เรืออูของเยอรมันใช้สำหรับปิดล้อมอมู่เกาะอังกฤษ และยังคงมีความเป็นไปได้ที่กองทัพสัมพันธมิตรอาจจะยกพลขึ้นบกที่สแกนดิเนเวีย มีการทาบทามจากฮิตเลอรและเรดเดิร์กับวิคดัน ควิสลิง(ต่อมาเขาได้รับฉายาว่าเป็น "ผู้ทรยศระหว่างโลก")รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของรัฐบาลนิยมนาซีแต่ไม่เป็นผล
   
เหตุการณ์อัลท์มาร์ค ซึ่งเป็นเรือบรรทุกของเยอรมัน บรรทุกเชลยสงครามชาวอังกฤษจำนวน 303 คนได้ับปนุญาตให้แล่นผ่านน่านน้ำนอร์เวย์ได้ ตามกฎหมายนานาชาติอนุญตให้เรือพลเรือจากประเทศสงครามสามารถจอดพักได้เป็นบางครั้งในน่านน้ำประเทศที่เป็นกลางหากได้รับอนุญาตจาประเทศนั้น ๆ กลุ่มเรือรบอังกฤษปรากฎตัวขึ้น และฝ่าฝืนกฎหมายนานาชาติและความเป็นกลางของนอร์เวย์ เรือ HMS คอแซ็ก ทำการโจมตีเรืออัลท์มาร์ค สังหารทหารเยอรมัน 7 นายและปลดปล่อยนักโทษทั้งหมด การละเมิดความเป็นกลางได้ก่อให้เกิดความโกรธแค้นในความรู้สึกของชาวนอร์เวย์
     ฝ่ายสัมพันธมิตรมองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวอาจทำให้นอร์เวย์ตัดขากการติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตรแผ่นการจึงถูกเลื่อนออกไป
     เยอรมนีเห็นว่าเหตุการณ์การดังกล่าวแสดงให้เห็นว่านอร์เวย์ไม่มีมีความสามารถที่จะรักษาความเป็นกลางไว้ได้และอังกฤษก็มิได้ยินยอมต่อการวางตัวเป็นกลางของนอร์เวย์ ฮิตเลอร์จึงออกคำสั่งให้เร่งแผนการรุกรานให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด

      แผนการของฝ่ายสัมพันธมิตร
ปฏิบัติการวิลเฟรด คือการว่างทุนระเบิดตามน่านน้ำระหว่างนอร์เวย์ไปจนถึงเกาะอังกฟษเืพื่อป้องกันกองเรือขนส่งสินค้าเยอรมันขนเหล็กอย่างดีจาสวีเดน และหากได้รับการโต้ตอบจากฝ่่ายเยอรมนีโดยการเข้ายึดเนอร์เวย์และเมื่อถึงเวลานั้นฝ่ายสัมพันธมิตจะใช้แผนอาร์ 4 และยึดครองนอร์เวย์ เชอร์ชิลล์พยายามเป็นอย่างยิ่งที่จะโจมตีและยึดครองนอร์เวย์ เนื่องจากเขามีความต้องการที่จะย้ายการสู้รบไปจากแผ่นดินอังกฤษและฝรั่งเศษเพื่อป้องกันการถูกทำลาย
     แผนการของเยอรมนี(ปฏิบัติการเวแซร์รึบุง)
เยอรมันเตรียมการสกหรับการรุกรานนอร์เวย์ไว้แล้ว เป้าหมายหลักของการรุกราน คือ รักษาเมืองท่าและแหล่งโลหะในนอร์เวย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ เมือท่านาร์วิกและจากนั้นก็เข้ายึดนอร์เวย์
       เยอรมันโต้เถียงกันว่า มีความจำเป็นมากพอรึไม่ที่จะเ้ข้ายึดครองเดนมาร์ก เดนมาร์กเป็นส่วนหนึ่งของแผนการขั้นต่อไป เดนมาร์กเป็นทำเลที่จะสามารถครอบครองทั้งน่านน้ำแลน่านฟ้าได้ย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่บางส่วนแย้งว่าไม่มีความคำเป็นต้องทำเช่นนั้น และให้นิ่งเฉพย แต่จะเป็นการง่ายขึ้นสำหรับแผนการถ้าหากเดนมาร์กถูกยึดครองโดยกองกำลัง
      การปรับเปลี่ยแผนยังเกิดจากอีกสาเหตุคือ การเตรียมบุกฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศผแ่นดินตำ่ ซึ่งอาจต้องใช้ทหารเป็นจำนวนมาก เยอรมันต้องรบสองด้าน การรุกรานนอร์เวย์ไม่อาจเกิดขึ้พร้อมกับการรุกฝรั่งเศส

       ปฏิบัติการครั้งนี้เป็นชัยชนะขั้นเด็ดขาดของเยอรมนี ทั้งเดนมาร์กและนอร์เวย์ถูกยึดครองโดยเกิดความสูญเสียเพียงเล็กน้อย การรบในทะเลประสบความล้มเหลว กองทัพเรือเยอรมันสูยเสียอย่างมากถึงขั้นเป็นอัมพาต แม้กองทัพเรืออังกฤษจะได้รับความสูญเสียไม่ต่างกันแต่ด้วยควายขนาดของกองทัพเรือทัพเรืออังกฤษมีขนาดใหญ่กว่าความสูญเสียเมื่อเทียบกับเยอมนีแล้ว เยอรมนีมีความสูญเสียกนักกว่า อังกฤษได้การควบคุมกองเรือขนส่งนอร์เวย์ ซึ่งเป็นกองเรือหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก
       กองเรือฝรั่งเศสสูญเสียเรือประจัญบานตอร์ปิโดขนาดใหญ่ไปหน่งลำ กองทัพเรือนอร์เวย์ก็สูญเสียรือพิฆาตตอร์ปิโดไปหนึ่งลำ เรื่อป้องกันชายฝั่ง 2 ลำ รเรือดำน้ำอีก 3ลำ
     การยึดครองนอร์เวย์สร้างความยุ่งยากให้กับฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นเวลาหลายปี เนื่องจากสนามบินระยะไกลในนอร์เวย์ ฝูงบินอังกฤษจำนวนมากต้องถูกเก็บรักษาไว้ทางตอนเหนือของอังกฤษระหว่างยุทธภูมิบิรเตนและเครื่องบินทิ้งระเบิดเยอรมันสามารถใช้นอร์เวย์เป็นฐานและบินออกปฏิบัติการในมหาสมุทรแอตแลนติกได้อย่างปลอดภัยหลังจากเยอรมนีรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 ฐานบินในนอร์เวย์ถูกใช้เพื่อให้เครื่องบินไปจมขบวนเรือพาณิชยืของฝ่ายสัมพันธมิตร และก่อให้เกิดความเสียหายมหาศาล
      การยึดครองนอร์เวย์ยังเป็นภาระหนักสำหรับเยอรมนี แนวชายหาดขนาดใหญ่ของนอร์เวย์เหมาะแก่การจู่โจมของหน่วนคอมมานโด การยึดครองนอร์เวย์จำเป็นต้องใช้กองกำลังขนาดใหญ่ มีทหารเยอรมันในนอร์เวย์กว่า 400,000 นายและม่สามรถย้าไปสู้รบในฝรั่งเศสหลังปฏิวัติการโอเวอร์ลอร์ด หรือการสู้ในแนวรบตะวันออกซึ่งในขณะที่เยอรมนีกำลังจะพ่ายแพ้

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...