วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:1943

- การล้อมสตาลินกราดใกล้จะสิ้นสุด สหภาพโซเวียตประกาศล่วงหน้าว่าการปิดล้อมเลนินกราดได้รับการปลดปล่อยแล้วในขณะที่ ทัพโซเวียตก็เริ่มการโจมตีครั้งใหม่ที่สติลินกราด และเริ่มการโจมตีใหม่ทางเหนือ(เลนินการด)รวมถึงคอเคซัส ในที่สุดชาวเมืองสติลินกราดได้รับการปลอปล่อย นายพล กิออร์กี ซุคอฟ ได้เลื่อนขั้นเป็นจอมพล เนื่องจากการโจมตีสตกลินกราดใกล้สิ้นสุด กองทัพแดงได้รับชับชนะต่อเนื่องที่คอเคซัน ปละยึด Vitebsk ไว้ได้ กองทัพอากาศทั้งอังกฤษและสหรัฐโจมตีเบอร์ลินและฐานทัพเรือที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมัน กองกำลังที่ 6 ในสตาลินกราดยอมจำนน
- การประชุมที่คาซาบลังกา ระหว่างผู้นำฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อหาข้อสรุปในการบุกแผ่นดินใหญ่ยุโรป โดยมีข้อตกลงว่าด้วย “การยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไข”
เริ่มการโจมตีเขตอุสาหกรรมในแคว้น Ruhr เยอรมันซึ่งการโจมตีครั้งนี้กวา 4 เดือน เนอร์นแบกร์กถูกทิ้งระเบิดอย่างหนัก มิวนิกและเวียนนาถูกทิ้งระเบิด เช่นเดียวกับเบอร์ลิน
     นายพลแห่งกองทัพสหรัฐฯดไวท์ ดี.ไอเซนฮาวร์ ได้รับเลือกให้บัญชาการกองทัพสัมพันธมิตรในทวีปยุโรป
     เยอรมันประกาศสงครามเบ็ดเสร็จกับฝ่ายสัมพันธมิตร พรรคนาซีกวาดล้างกลุ่ม White rose movement และกลุ่มยุวชนต่อต้านนาซี
-ชาวญี่ปุนอพยพออกจาก บูนา นิวกีนี ได้อย่างสมบูรณ์ ทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกเพิ่มเติมที่ Lae นิวกีนี ทัพญี่ปุ่นยังคงต่อสู้ที่เกาะกัวดาคาแนล แต่ยกเลิกปฏิบัติการปาปัวแล้ว เรื่อรบชิคาโกอับปางที่ยุทธนาวีเกาะเรนเนลใกล้กับเกาะกัวดาคาแนล ญี่ปุ่นอพยพจากกัวดาคาแนล กัวดาคาแนลถูกยึดครองโดยโดยสหรัฐอเมริกาเป็นความสำเร็จครั้งแรกของกองทัพอเมริกันในแปซิฟิก
- การลอบสังหารนายพลยามาโมโต้โดยคำสั่งตรงมาจากสำนักงานประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกายังกองทัพอากาศที่สิบสาม ในวันที่ 18 เมษายน โดยการถอนรหัสจากกองทัพญี่ปุ่น ในขณะที่ยามาโมโต้ ออกตรวจเยี่ยมทหารที่ Bougainvillea เครื่องบินยามาโมโต้ ถูกยิงตกโดยเครื่องโจมตี P.38
     สัมพันธมิตรเริ่มปฏิบัติการโดดเดี่ยวเมื่องระบูลโดยยึดครองเกาะรอบ ๆ  เพื่อตัดกำลังสนับสนุนในเดือนพฤษภาคม สำหรับเยอรมัน พฤษภาคม 1943 กองเรือเยอรมันได้รับความสูญเสียอย่างหนักจนถูกเรียกว่า “พฤษภาอนธการ”
- รอมเมลถอนทัพออกไปทางตูนิเซีย และเริ่มสร้างแนวป้องกันใหม่ที่ Mareth สัมพันธมิตรเคลื่อนพลไปยังตูนิเซียเป็นครั้งแรก สัมพันธมิตรยึดครองลิเบีย รอมเมลเตรียมต่อสู้กับกองทัพอเมริกัน ในทางตะวันตกของตูนิเซีย กองทัพอเมริกันถูกบีบให้ถอยในเวลาไม่นาน รอมเมลถอนกำลังกลับขึ้นไปงเหนือจากแนวป้องกัน Mareth ในตูนิเซีย ด้วยความเหนือกว่าทั้งทางด้านยุทธปัจจัยและกำลังพลที่เหนือกว่าฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้สุดท้ายฝ่ายอักษะก็เป็นพ่ายแพ้ทหารเยอรมันและอิตาลีกว่า 230,00 คน ถูกจับเป็นเชลยศึก ในเดือนพฤษภาคม
     -  กรกฎาคม กองกำลังสัมพันธมิตรบุกซิชิลี ซิชิลียอมจำนนส่งผลให้ มุสโสลินีถูกโค่นล้มอำนาจ มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่
     - 3 กันยายนกองกำลังผสมสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกบริเวณชายฝั่งทางตอนใต้อิตาลี 8 กันยายน อิตาลียอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไข
     - 13 ตุลา รัฐบาลใหม่อิตาลีประกาศสงครามกับเยอรมัน
     - การประชุมที่มอสโคว์  30 ตุลา รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสี่ชาติคือสหรัฐอเมริกา อังกฤษ โมโลดอฟ และจีน ร่วมประชุมกันที่มอสโคว์ มติของการประชุมคือเห็ควรจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศเพื่อรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ

    เยอรมันและโซเวียตต่างเตรียมแผนการสำหรับการรุกครั้งใหญ่แถบรัสเซียตอนกลาง ในยุทธการเคิสก์ซึ่งเป็นทั้งชุดของการสงครามยานเกราะที่ใหญ่ที่สุด รวมถึงเป็นการสงครามทางอากาศวนเดียวที่ราคาแพงที่สุดในประวัติศาสตร์..
กันยายน สัมพันธมิตรเริ่มการบุกครองแผ่นดินใหญ่อิตาลีตามด้วยการสงบศึกกับสัมพันธมิตรของอิตาลี เยอรมันปลดอาวุธและยึดการควบลคุมทางทหารในพื้นที่อิตาลี่ทั้งหมด และสร้างแนวป้องกันขึ้น  ฝ่ายสัมพันธมิตรทะลวงฝ่ายแนวป้องกันเยอรมันได้หลายแนวจนถึงแนวป้องกันหลกอของเยอรมันในเดื่อนพฤศจิกายน
     22 พฤศจิกายน การประชุมที่ไคโร โดยผู้นำสหรัฐฯ อังกฤษ และจีนทั้งสามร่วมลงนามในคำประกาศไคโลกำหนดเรียกร้องให้ญี่ปุ่นยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไข
     พศจิกายน 1943 แฟรงกลิน โรสเวลต์ และวินสตัน เชอร์ชิลล์ เดินทางไปพบกับเจียง ไคเชค ระหว่างการประชุมกรุงไคโรและอีกครั้งกับโจเซฟ สตาลินระหว่างการประชุมกรุงเตหะราน และผลการประชุมทังสองครั้งได้ข้อตกลงว่าสัมพันธมิตรตะวันตกจะบุกยุโรปภายในปี 1944 และสหภาพโซเวียตจะประกาศสงครามกับญี่ปุ่นภายในสามเดือนหลังเยอรมันยอมแพ้

วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:Red Army

กองทัพแดงของกรรมกรและชาวนา Raboche-krest’yanskaya  armiya เกิดขึ้นเป็นกลุ่มการรบคอมมิวนิสต์ปฏิบัติของสกภาพโซเวียตระหว่างสงครามกลางเมืองรัสเซีย ค.ศ.1918-1922 ต่อมาเติบโตเป็ฯกองทัพแห่งชาติของสหภาพโซเวียต จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1930 กองทัพแดงเป็หนึ่งในกองทัพใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ “กองทัพแดง” หมายถึงสีดั้งเดิมของขบวนการคอมมิวนิสต์เมื่องสัญลักษณ์แห่งชาติโซเวียตแทนที่สัญลักษณ์ปฏิวัติ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946 กองทัพอดงจึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็นกองทัพบกโซเวียต กองทัพแดงได้รับชื่อเสิยงอย่างกว้างขวางว่าเป็นกำลังตัดสินชี้ขาดในชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรในเขตสงครามยุโรปสงครามโลกครั้งที่สอง
     ปฏิวัติรัสเซีย การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ เป้นการปฏิวัติเฉพาะบริเวณนครเปโตรกราด ภายใต้ภาวะความวุ่นวานสามชิกรัฐสภาหลวงดูมาถือโอกาสเข้ายึดอำนาจบริหารประเทศและจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล เหล่าผู้นำกองทัพต่างรู้สึกว่าความพยายามปราบปรามการจลาจลของตนนั้นไร้ผล แบะพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 พระเจ้าซาร์องค์สุดท้ายแห่งรัสเซียทรงสละราชย์
     อำนาจคู่ ถือกำเนิดขึ้น รัฐบาลเฉพาะกาลครอบครองอำนาจรัฐ ขณะที่เครือข่ายโซเวียตแห่งชาติซึ่งนำโดยพวกสังคมนิยมได้รับการสวามิภักดิ์จากชนชั้นล่าวและพวกฝ่ายซ้าย
     ต่อมารัฐบาลเฉพาะกาลตัดสินใจที่จะทำสงครามกับเยอรมันต่อไป บอลเชวิกและนักสังคมนิยมกลุ่มต่างๆ เริ่มออกมารณรงค์ให้ยุติการสู้รบกับเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ 1  บอลเชวิกได้ทำการเปลี่ยนกองกำลังจากชนชั้นแรงงานให้ไปเป็น เรอการ์ด ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นกองทัพแดง และกองกำลันี้ที่บอลเชวิกควบคุมเอาใจใส่อย่างมีนัยสำคัญ
     ปฏิวัติเดือนตุลาคม พรรคบอลเชวิกภายใต้การนำ วลาดมีร์ เลนิน และเช่าชนชั้นแรงงานโซวียตเข้าล้มล้างการปกครองของรัฐบาละฉพาะการ ณ กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก พวกบอลเชวิกแต่งตั้งตนเองขึ้นเป็นผู้นำในกระทรวงต่าง ๆ มากมายรวมไปถึงการเข้ายึดอำนาจตามชนบทต่าง ๆ จัดตั้งหน่วย เชกา เพื่อปราบปรามการต่อต้านการปฏิบัติ และเพ่บรรลุเป้าหมายกายุติสงครามกับเยอรมนนี บอลเชวิกได้ร่วมลงนามใน สนธิสัญญาเบรสต์-ลิโตฟส์กกับเยอรมัน
     สงครามกลางเมืองอุบัติขึ้น กองทัพแดง กับกองทัพขาว ดำเนินไปหลายปี แต่ท้ายที่สุดกองทัพแดงของฝ่ายบอลเชวิกมีชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือฝ่ายกองทัพขาว และการสิ้นสุดของระลอการปฏิวัติ และเข้าสู่ยุคสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต
     ในสมัยของสตาลินได้มัการพยายามพัฒนาประเทศ ให้เป็นอุตสาหกรรมหนักส่วนหนึ่งก็เพื่อการสร้างอาวุธที่ทันสมัยให้กองทัพแองและยังมีการอบรมสร้างนายทหารให้มีความสามารถมากขึ้น แต่ในช่วงการกวาดล้างของสตาลิน นายทหารฝีมือดีถูกกวาดล้างไปเป็นอันมาก กองทัพแดงในช่วงต้นสงครามจึงไม่เข้มแข็ง การเปลี่ยนโครงสร้างการบังคับบัญชา การเข้ามามีบทบามกาบัญชาการของพรรคคิมมิวนิสต์มากขึ้น และนำนายทหารที่มีความสามารถที่เหลืออยู่เข้ามาบัญชาการกองทัพ การย้ายโรงงานการผลิตอาวุธ เป็นปัจจัยที่ทำให้กองทัพแดงมีประสทิธิภาพมากขึ้น
    กองทัพแดงสามารถหยุดยั้งการรุกรานสตาลินกราด กองทัพที่ 6 ของเยรมันยอมจำนน กองทัพแดงกลายเป็นฝ่ายบุก มีโอกาสรุกเข้าไปในยุโรปตะวันออกและตีเอบร์ลินแตก สหภาพโซเวียตขยายอำนาจครอบครองยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตเพิ่มขึ้นเป็น 15 สาธารณรัฐ
   ต่อำมาแผ่นดินญี่ปุ่นถูกกองทัพสหรัฐฯทิ้งระเบิดปรมาณู กองทัพแดงบุกเข้าโจมตีกองทัพญี่ปุนที่ประจำการในแมนจูเรียและเกาหลี ซึ่งเป็นการโจมตีภายมต้ข้อตกลงลับของสตาลิน รูสเวลล์และเชอชิลล์ ว่าจะบุกญี่ปุ่นภายใน 3 เดือนหลังจากเยอรมันยอมแพ้

WWII:Operation Torch

     ปฏิบัติการคบเพลิง เป็นการโจมตีอาณานิคมแอฟริกาเหนือของฝรั่งเศสเขตวีซีแผนของฝ่ายสัมพันธมิตรคือการยกพลขึ้นบกเพื่อยึดท่าเรือและสนามบินที่สำคัญในโมร็อกโกและอแอลจีเรียเป้าหมายหลักของแผนปฏิบัติการนี้อยู่ที่เมืองสำคัญสามเมืองนั้นคือ กาซาบล็องกา, ออร็อง (ออราน)และแอเจียร์ ถ้าแผนการสำเร็จลุล่วงด้วยดีฝ่ายสัมพันธมิตรจะบุกไปทางตะวันออกมุ่งสู่ตูนิเซียต่อไป
     ปัญหาในการปฏิบัติการคบเพลิงนอกจากเรื่องตำแหน่งที่จะยกพลขึ้นบก ปัญหาเรื่องเวลา และยังมีปัญหาที่ต้องคอยประสานงานไม่ให้ฝรั่งเศสที่อยู่บริเวณนั้นเข้าขัดขวาง การจะทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ของผรังเศสในบริเวณยกพลขึ้นบำเป็นเรื่องยุ่งยากดินแดนแอฟริกาเหนือของฝรั่งเศสยังคมขึ้นต่อรัฐบาลซีวี หรือรัฐบาลเปแตง ซึ่งสหรัฐฯบังมีความสัมพันธ์ทางการทูตแตะอังกฤษถูกตัดความสัมพันธ์แล้ว ผู้บัญชาการสูงสุดในแอลจีเรียของฝรั่งเศส ในโมร็อกโค ขึนตรงกับนายพลเรือยีน ฟรังซัวร์ ดาร์ลัง ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของฝรั่งเศสในแอฟริกา นายพลฝรั่งเศสยินดีให้ความร่วมมือกับสัมพันธ์มิตรในแบบไม่เปิดเผยจึงมีการประชุมกันแบบลับๆ มีนายทหารซึ่งเคยถูกเยอรมันคุมขังให้ความร่วมมือกับสัมพันธมิตร แต่เกิดการไม่ยอมรับจากลูกน้อง จึงมีการแจ้งเรื่องการยกพลขึ้นบกต่อรัฐบาลเปแตง
   ปฏิบัติการคลาดเคลื่อนเนื่องจากการถูกขัดขวางโดยทหารฝรั่งเศสซีวี อย่างไรก็ตามในวันที่ 3 พฤศจิกายน กองทัพฝรั่งเศสในแอฟริกาเหนือจึงลงนามเป็นมิตรกับฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งนายพลไอเซนฮาวน์รับลงนามอนุมัติทันที่
      นายพลดไวต์ เดวิด ไอเซนฮาวร์ เกิดที่เมืองเดนิสัน รัฐเทกซัส สหรัฐอเมริกา เป็นบุตรคนที่ 3 ในบรรดาพี่น้อง 7 คน เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนนายรอยทหารบกเวสต์พอยต์ นายพลห้าดาว(เทียบเท่ากับจอมพล)ดไวต์ ดี ไอเซนฮาวร์ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ปฏิบัติการยกพลขึ้นบกในครั้งนี้
    กองกำลังอเมริกันยกพลขึ้นบกช่วงก่อนฟ้าสางที่กาซาบลังก้าของวันที่ 8 พฤศจิกายน 1942 โดยไม่มีการทิ้งระเบิดก่อนการโจมตีเพราะฝ่ายสัมพันธมิตรคาดการณ์ว่ากองกำลังฝรั่งเศสเขตวีซีจะไม่ทำการต่อต้านใดๆ ซึ่งเป็นการคาดการณ์ที่ผิดพลาดกำลังฝรั่งเศสบางส่วนต่อต้านสัมพันธมิตร
    ที่ออร็อง กองกำลังสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่หาดสามแห่ง สองแห่งอยู่ทางตะวันตกและอีกแห่งอยู่ทางตะวันออกของเมืองออร็องตามลำดับการยกพลขึ้นบกเพื่อยึดหาดที่อยู่ทางตะวันตกต้องประสบปัญหาล่าช้าเนื่องจากหลายสาเหตุ  ซึ่งนำไปปรับปรุงแก้ไขในปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกในครังต่อๆ ไป เรือประจัญบานของอังกฤษยิ่งสนับสนุนขึ้นฝั่ง ฝรั่งเศสซีวียอมจำนนในวันที่ 9 พฤศจิกายน
     สหรัฐอเมริกาใช้พลร่มเข้าปฏิบัติการเป็นครังแรก ซึ่งบินจากเกาะอังกฤษฝ่านสเปนและปล่อยลงใกล้เมืองออร็องเพื่อยึดสนามบินที่สำคัญ มีปัญหาต่างๆ จิปาถะ แต่อย่างไรก็บรรลุวัตถุประสงค์
     แอลเจียร์ มีการต่อต้านจากฝรั่งเศษซีวีเบาบาง กองกำลังสัมพันธมิตรขึ้นบกสำเร็จและเข้าโอบล้อมกองกำลังฝรั่งเศสวีซี

วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:El Alamen

   หลังจากกองทัพรอมเมลต้องหยุดชะงักในการเข้าตี เอว อาราเมนในครั้งเนืองจากกระสุนหมด ทางฝ่ายสัมพันธ์มิตร ซึ่งถอยมาจากแนวกาลาซา จึงทำการสะสมกำลังรบ ซึ่งนายพลมอนโกโมรี ขอเลื่อนการโจมตีรอมเมลเพื่อให้แน่ใจกำลังทางการรบเหนือกว่ารอมเมลจึงจะทำการบุก
     ยุทธการแห่งอาลาม อัล-ฮัลฟา เป็นยุทธการที่ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นฝ่าตั้งรับการโจมตีของรอมเมลในขณะนั้นรอมเมลมีรถถังอยู่ในมือ 300 กว่าคันในขณะที่อังกฤษและสหรัฐมีรถถังรวมกัน กว่าพันคัน รอมเมลใช้วิธีการบุกเงียบในตอนกลางคืนเพื่อยึดบริเวณทางตอนใต้ของแนวรบอังกฤษโดยไม่ให้อังกฤษรู้ตัว หลังจากนั้นจึงบุกต่อไปทางตะวันออก 30 ไมล์ แล้วจึงวกกลับขึ้นไปทางเหนือพุ่งตรงไปยังบริเวณส่งกำลังบำรุงของกองกำลังที่ 8 ของอังกฤษซึ่งอยู่บริเวณริมฝั่งทะเล ในปฏิบัติการครั้งนี้อังกฤษวางระเบิดบกเพื่อดักรถถังรอมเมลไว้หนาแน่น ชนิดที่เรียกว่ารอมเมลคาดไม่ถึงประกอบกับการทิ้งระเบิดการใช้เครื่องบินโจมตีกองทัพรถถังด้วย กองทัพรถถังรอมเมลทำไม่ได้ตามแผนเคลื่อนไปได้เพียง 8 ไมล์ การโจมตีจากระยะที่ผิดพลาดจึงผิดเป้าหมาย เมื่อไม่เป็นไปตามแผนประกอบกับการระดมทิ้งระเบิดอย่างหนัก เชื้อเพลิงรถถังเริ่มหมด รอมเมลจึงตัดสินใจค่อยๆ ถอย
     ก่อนจะมีการปฏิบัติการคบเพลิงซึ่งนายพลมอนโกโมรี่ เลื่อกในเวลากลางคืนของวันที่ 23-24 ตุลาคม 1942 หลังจากยุทธกาล “อลาม แอล ฮัลฟา”เพื่อให้แน่ใจว่ากองทัพของตนมีความเข้มแข็งเพียงพอ
     รอมเมล ล้มป่วยกลับไปนอนรักษาตัวที่ออสเตรีย ในคืนก่อนการปฏิบัติการ “ทอร์ช” กำลังทหารอังกฤษ 280,000 รถถังติดปืนใหญ่ 1,230 คัน ทางฝ่ายเยอรมันมี ทหาร 80,000 คน รถถังที่พร้อมปฏิบัติการ 210 คันเครื่องบินสนับสนุนฝ่ายอังกฤา 15,000 ลำ เยอมัน 300 ลำ และสัมพันธมิตรยังมีเรื่อดำน้ำและเครื่องบินโจมตีทำลายเส้นทาบขนยุทธปัจจัยในบริเวณเมอิเติร์เรเนียนเป็นเหไตให้กองทัพรอมเมล ขาดการสนับสนุน
     อังกฤษส่งทหารเข้าสู่แนวรบแอล อาลาเมน ในคืนวันที่ 23 ก่อนการปฏิบัติการทอร์ช เมื่อถึงวันเย็นวันที่ 25 รอมเมลเดินทางกลับมาทั้งที่ยังไม่หายป่วยก็ต้องพบว่ารถถังถูกทำลายไปกว่าครึ่ง รอมเมลหยุดยั้งการบุกของฝ่ายสัมพันธมิตรด้วยปืนต่อสู้รถถัง และวางแนวทุ่นระเบิดไว้ด้านหลังแนวกองทัพรถถัง สัปดาห์แรกรถถังฝ่ายสัมพันธมิตรเหลืออยู่ 800 คัน เยอรมัน 90 คัน มอนโกโมรี่ถอยกับมาแนวป้องกันเดิม ในขณะที่รอมเมลจะถอยมาตั้งหลักที่ฟูกา แต่ฮิตเลอร์มีสั่งห้ามถอย ฮิตเลอร์ต้องการจะรักษาที่มั่นใน เอว อาลาเมนไว้ จึงหมดโอกาสที่จะเข้าไปตั้งหลักในฟูกา ในการถอยครังใหม่รอมเมลต้องทำเร็วกว่าเดิม โดยถอยไปตูนีเซีย อังกฤษตามตีตลอด 4 สัปดาห์ ขณะนั้นกองกำลังฝ่ายอักษะในตูนีเซียไม่รวมอยู่ในแผนการบุก “ทอร์ช” อังกฤษจึงไม่บุกตูนิเซีย
     ปฏบัติการคบเพลิง ปฏิบัตการโดยกองกำลังผสมอังกฤษ-อเมริกัน เพื่อรุกรานอาณานิคมแอฟริกาเหนือของฝรั่งเศสเขาวิซี เป็นส่วนหนึ่งของแนวรบแอฟริกาเหนือ
     สหภาพโซเวียตกดดันรัฐบาลอเมริกาและอังกฤษให้เปิดแนวรบที่สองในทวีปยุโรปเพื่อกดดันกองทัพเยอรมัน ผุ้บัญชาการทหารจึงเห็นพ้องกันว่าจะเริ่มปฏิบัตการยกพลขึ้นบกในยุโรปแต่ถูกุ้บัญชาการทหารอังกฤษคัดค้านว่าจะทำให้พันธมติรตะวัตกต้องประสบกับความสูญเสียอย่างหนัก การโจมตีอาณานิคมแอฟริกาเหนือจึงถูกเสนอมาแทนโดยมีเป้าหมายเพื่อกำจัดกองกำลังฝ่ายอักษะในแอฟริกาเหนือ ปฏิบัติการคบเพลิงถูกเลื่อกวันปฏิบัติการโดยนายพลมอนโกโมรี และเป็นคืนเดียวกับการทัพที่เอวอาลาเมน

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:The US Joint Chief of Staff:JCS



    สมรภูมิแปซิฟิก นำโดยนายพล ดักลาส แม็กอาเธอร์ และผู้บัญชาการเขตมหาสมุทรแปซิฟิก พลเรือเอก เชสเตอร์ นิมิตซ์ ซึ่งทั้งสองเป็นนักการทหารที่มีความสามารถและเป็นการร่วมปฏิบัติการระหว่าง กองทัพบก และกองทัพเรือให้มีแนวทางการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน
     คณะเสนาธิการร่วม The US Joint Chief of Staff,JCS อันประกอบด้วยประธานธิบดีรูสเวลส์ นายกรัฐมนตรี เชลร์ชิล แห่งอังกฤษ พลเอก มาร์แชลล์ Gerneral Maeshall ผุ้บัญชาการทหารบกสหรัฐฯ พลเรือเอก คิง Fleet Admiral Ernest J. King ผู้บัญชาการกองทัพเรือภาคแอตแลนติกของฝ่ายสัมพันธมิตร พลเอก อาร์โนลด์ Gerneral Arnold ผู้บัชาการกองกำลังทางอากาศสหรัฐฯ  เป็นต้น
    พลเรือเอก นิมิตซ์ Admiral Nimitz ผู้บัญชาการกองเรือภาคแปซิฟิก พลเรือเอก อินเกิร์โ Admiral Ingersoll ผู้บัญชาการกองเรือภาคแอตแลนติก พลเรือเอก โกมเมลีย์ Admiral Ghormeley ควบคุมพื้นที่แปซิฟิกตอนใต้ ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาพลเรือเอก คิง
    พลเอก ดักลาส แมคอาเธอร์ อยู่ใต้บังคับบัญชา พลเอก มาร์แชลล์
      ผู้บังคับบัญชาคือ ผู้มีหน้าที่ในการปกครองบังคับบัญชาควบคุมสั่งการในการปฏิบัติของหน่วยใดหน่วยหนึ่งรวมทั้งมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย แนวทาง แกปฏิบัติให้ผู้ใต้บังคับบัญชานำไปปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของหน่วยนั้น ๆ ทางการทหารสามารถแบ่งระดับของผู้บังคับบัญชาได้ร 3 ระดับ คือ ผู้บัคับบัญชา ระดับยุทธศาสตร์ ผุ้บังคับบัญชาระดับยุทธการ ปละผุ้บังคับบัญาระดับยุทธวิธีผู้ลังคับบัญชาแต่ละระดับจะมีหน้าทีความรับผิดชอบและลักษณะของงานแตกต่างกัน
     การควบคุมบังคับบัญชาและสังการของฝ่ายสัมพันธมิตร จะต้องสังการในนามของฝ่ายสัมพันธมิตร โดยหลังประกาศสงครามกับญี่ปุ่น มีการจัดตั้งคณะเสนาธิการร่วม ประกอบด้วย ผู้บังคับบัญชาหน่วนกำลังทหารของสหรัฐฯและอังกฤษ ซึ่งเป็นผุ้กำหนดยุทธศาสตร์ และนโยบายให้แก่กองกำลังของตน ภายใต้การควบคุมของผู้นำ ประทเศทั้งสอง ดังนั้นการปฏิบัติการใดๆ ของฝ่ายสัมพันธมิตรหลังจากสหรัฐฯประกาศสงครามกับญี่ปุ่นแล้ว(8 ธันวา 1941) จะต้องได้รับความเห็นชอบ จากคณะเสนธิการร่วมดังกล่าวก่อน ยุทธศาสตร์ของอังกฤษคือกำจัดเยอรมันกอ่น Europe First และคุ้มครองเส้นางคมนาคม เข้า ออก ประเทศอังกฤษ เชอร์ชิลใช้กลยุทธ์ทางการเมืองในการชักชวน หรือชี้แนะ ซึ่งก็ได้รับการยอมรับจาคณะเสนาธิการ่วม เชอร์ชิลประสบความสำเร็จในการชักชวนรูสเวลท์ให้เปิดยุทธการ “Operatioa Torch” แผนการรุแอฟริกาเหนือของอังกฤษ ซึ่งพลเรือเอก คิง ไม่เห็นด้วยกับแรวความคิดนี้ กองทัพเรือต้องแบ่งกำลังยุทธโธปกรณ์  ไปสนับสนุน กองทัพบกในการบุกแอฟริกาเหนือ ในขณะที่ต้องเตรียมกำลังไว้รบด้านแปซิฟิกด้วย
     ซึ่งพลเรือเอก คิงทราบดีว่าวัตถุประสงค์ของสหรัฐคือการรักษาฮาวาย และเส้นทางคมนาคม เข้า ออก ฮาวาย โดยผ่านมิดเวย์ และต้องการรักษาเส้นทางคมนาคมด้ายฝั่งตะวันตกของประเทศสหรัฐฯ ร่วมทั้งเส้นทาง คมนาคมจากฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ ไปออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ พลเรือเอกคิงจึงผลักดันยุทธศาสตร์การรบด้านแปซิฟิก เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวคือจะต้องกำจัดกำลังทางเรือของญี่ปุ่นในแปซิฟิกให้หมดไปตามหลักยุทธศาสตร์ ทางเรือของ มาฮาน พลเรือเอกคิง จะต้องอธิบายยุทธศาสตร์ดังกล่าวให้ชาติสมาชิกซึ่งมีอิทธิพลหรือสิทธิเสียงในคณะเสนาธิการร่วม ซึ่งต่อมา เชอร์ชิล และรุสเวลล์ ยอมรับยุทธศาสตร์การรบ ด้านแปซิฟิกและแอตแลนติกใต้อยู่ในการควบคุมของสหรัฐฯ
     การเมืองซึ่งเข้ามามีอิทธิพลต่อภารกิจและการควบคุมสั่งการของ พลเรือเอก คิง แต่ประสบการณ์และความสามรถในการหารือกับชาติพันธมิตรต่างๆ ตวมทั้ง รูสเวลส์ และเชอร์ชิล ให้ยอมารับรุทธศาสตร์ที่สนองต่อวัตถุประสงค์ของสหรัฐฯ ในสถานการณ์และช่วงเวลาที่เหมาะสมนั้นมีผลต่อความสำเร็จในการเจรจา ซึ่งเป็นหลักของการเมืองคือการยังผลประโยชน์ร่วมกัน เมื่อพลเรือเอก คิง สามารถ ปกป้องวัถตุประสงค์ของชาติตนเองได้แล้ว จึงไม่สามารถที่จะเพิกเฉยต่อข้อเสนอของอังกฤษในการบุกแอฟริกาเหนือ
     การควบคุมบังคับ บัญชาและสังการโดยตรง ที่เป็นระบบมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งจำเป็นในการทำ สงครา ผุ้บังคับบัญชาระดับยุทธศาสตร์จำเป็นต้องควบคุมบังคับบัญชาและสังการโดยตรง ต่อผู้บังคับบัญชาระดับยุทธการ โดยมอบภารกิจ คอแนะนำที่สำคัญและกำลังรบที่เหมาะสมให้แตผุ้บังคับบัญชาระดับยุทะศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องสังการในการปฏิบัติของหน่วยรองต่าง ๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาระดับยุทธการ
     พลเรือเอก คิง จะเปลี่ยนการตัดสินใจต่อเมือได้รับข่าวยืนวันได้ กล่วคือ หลังกจากยุทธการที่ทะเลคอรับ พลเรือเอก นิมิตซ์ประมาณสาถนการณ์ ว่าญี่ปุ่นจะโจมตีมิดเวย์ และฮาวาย จังต้องทกการรวบรวมเรือบรรทุกเครื่องบิน แต่พลเรือเอก คิง ต้องการนำเรือบรรทุกเครื่องยินไปทำลายกำลังญ่ปุ่ในแปซิฟิกใต้ เพราะท่านคิดว่าขุนกำลังทางอากาศของญี่ปุ่นจะอยู่ในพื้นที่แปซิฟิกใต้ จึงแนะนำให้ พระเรือเอก นิมิตซ์ ส่งกำลังเรือบรรทุกเครื่องบินไปโจมตีกำลังของญี่ปุ่นบนเกาะมาร์แชลล์ แต่พลเรือเอก นิมิตซ์ ไม่เห็ด้วย ซึ่งต่อมา มีการตรวจสบและยือยังน ข่าวกับกาองบัญชาการกองทัพอังกฤษที่ลอนดอนทราบว่า ญี่ปุ่นยังไม่มีความตั้งใจที่จะฏิบัติการ ครั้งใหญ่ในช่วงเวลาอันใกล้นี้ พลเรือเอกคิงจึงตัดสินใจให้ปฏิบัติตามที่ พละรือเอก นิมิตซ์ เสนอ ซึ่งเหต์การณ์เป็นจริงดังพลเรือเอก นิมิตซ์ คาดการณ์ไว้ ยุทธนาวีที่มิดเวย์จึงเป็นชัยชนะของฝ่ายสหรัฐฯ
     ผุ้บังคับบัญชาระดับยุทธศาสตร์จะต้องไม่ก้าวก่ายการปฏิบัติของ ผู้บังคับบัญชาระดับยุทธการ เพราะทำให้เกิดการสับสน และขาดเอกภาพในการบังคับบัญชาแต่ควรหารือ กับผุ้บังคับบัญชาระดับยุทธการเพื่อให้ได้หนทางปฏิบัติที่ดีที่สุด
    พลเรือเอก คิง ไม่เห็นด้วยที่จะให้กำลังทาเรือสหรัฐฯอยู่ใต้การบังคับบัญชาของนายทหารบก จึงทำการต่อรองกับรูสเวลล์และพลเอก มาร์แชลล์ ผุ้บัญชาการทหารบกสหรัฐฯ ในการแบ่งพื้อที่ส่วนรับผิดชอบในแปซิฟิก โดให้ พลเอก ดักลาส แมคอาเธอร์ รับผิดชอบเฉพาะแปซิฟิกด้านตะวันตกเฉียงใต้และฟิลิปปินส์ ส่วนพื้นที่ปฏิบัติการในแปซิฟิกที่เลหือให้อยู่ในความรับผิดชอบของพลเรือเอก นิมิตซ์ ซึ่งเป็นผุ้ใต้บังคับบัญชาของ พลเรือเอก คิง และให้ทั้ง 2 ท่านรายงานตรงต่อคณะเสนาธิการร่วมสหรัฐฯ JCS

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:Midaway

      หลังจากการโจมตีเพิร์ลฮาเบิร์ล ประเทศไทยถูกเลือกเป็นสถานที่เริ่มต้นการทัพมาลายา ซึ่งเป็นชุดเหตุกาณ์การรบระหว่างกองทัพสัมพันธมิตรกับกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ในบริติชมาลายา การรบส่วนใหญ่เป็นการรบทางบก ยุทธการนี้เป็นที่จดจำจากการใช้ทหารรบจักรยาน ซึ่งช่วให้กองกำลังสามารถขนย้ายยุทธปัจจัยและเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วในภูมิประเทศที่เป็นป่าทึบ  กรมทหารช่างหลวงอังกฤษทำลายสะพานนับร้อยแป่งระหว่างการถอย ซึ่งช่วยถ่วงเวลาการรุกญี่ปุ่นได้เล็กน้อย เมื่อญี่ปุ่นยึดสิงค์โปร์ได้สำเร็จปรากฎว่าสหราชอาณาจักรสูญเสียทหารกว่าหมื่นนาย
     ฮ่องกง คราวน์โคโลนี ของอังกฤษ ถูกโจมตีและพ่านยปพ้โดยที่กองทัพแคนาดาและอาสาสมัครฮ่องกงมีส่วนสำคัญในการป้องกันดังกล่าว ฐานทัพบนเกาะกวมและเกาะเวกเสียแก่ข้าศึกในเวลาไล่เลี่ยกัน
     มกรา 1942 ญี่ปุ่นรุกรานพม่า อินเดียตะวันออกของดัตซ์ นิวกีนี หมู่เกาะโซโลมาน และยึดกรุงมะนิลา กัวลาลัมเปอร์และราบูล หลังจากกองทัพสัมพันธมิตรถูกขับไล่ออกจากมาลายา ในสังคโปร์เองก็พยายามที่จะต้านทานการรุกของญี่ปุ่นแต่ต้องยอมจำนน  ทหารอินเดีย อังกฤษ ออสเตรเลียและดัตซ์ตกเป็นเชลยกว่า 130,000 คน รวมทั้งบาหลีและติมอร์ เครื่องบินญี่ปุ่นเกือบจะกำจัดแสนยานุภาพทางอากาศเกือบทั้งหมดของฝ่ายสัมพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉพียงใต้  และกำลังโจมตีออสเตเรียตอนเหนือ
    ยุทธนาวีชวาปลายเดือนกุมภาพันธ์ปี 1941 กองเรือญี่ปุ่นได้ชัชนะครั้งใหญ่ กองทัพอินเดียตะวันออกของดัตซ์ในเวลาต่อมาสิ้นสุดด้วยการยอมจำนนของกองทัพสัมพันธมิตรบนเกาะชวาสุมาตรา การโจมตีมหาสมุทรอินเดียโดยเรือบรรทุกเครื่องบิน กองเรืออังกฤษถูกขับไล่จากมหาสมุทรอินเดีย อันเป็นการเปิดทางสำหรับการรุกรานพม่าและอินเดีย
    อังกฤษถอยจากย่างกุ้งไปยังชายแดนอินเดีย-พม่า ถนนสายพม่าอันเป็นเส้นทางเสบียงของสัมพันธมิตรให้แก่กองกำลังชาตินิยมจีน กำลังชาตินิยมจีนบางส่วนถูกจัดวางเพื่อขัดขวางคอมมิวนิสต์มิใช่ญี่ปุ่น ยิ่งไปกว่านั้น กำลังชาตินิยมจีนส่วนใหญ่เป็นขุนศึกซึ่งเป็นพันธมิตรกับ เจียง ไค เชค ซึ่งความพ่ายแพ้ของพวกขุนศึกนำเจียง ไค เชค ไปสู่การสูญเสียอำนาจ ฝ่ายญี่ปุ่นแสวงหาประโยชน์จากความขาดความสามัคคีนี้

      ความเป็นมากองทัพญี่ปุ่นเมื่อครั้งเริ่มสงครามจีน -ญี่ปุ่น
จักรวรรดินาวีญี่ปุ่น  ยึดแบบมาจากราชนาวีอังกฤษซึ่งเป็นกองทัพเรือชั้นแนวหน้าและทรงอานุภาพมากที่สุดในโลกในเวลานั้น มีที่ปรึกษาทางทหาชาวอังกฤษไปให้ความรู้และให้คำปรึกษาในการก่อร่างสร้างอกงทัพเรื่อ มีการส่งนักเรียนไปเข้ารับการศึกษาและฝึกงานในราชนาวีอังกฤษ ตลอดเวลาที่ได้ที่ปรึกษาชาวอังกฤษ ญี่ปุ่นได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับวิชาการปืนและวิชาการเดินเรือ หลักนิยมในขณะนั้นของญี่ปุนไม่ได้หวังพึ่งอานุภาพของเรือประจัญบาน แต่ให้ความสำคัญกับการใช้เรือรบขนาดเล็กที่มีความเร็วสูง อย่างเรือลาดตระเวน และเรือตอร์ปิโต ในการเข้าปะทะกับเรือข้าศึกทีมีขนาดใหญ่กว่า
     เรือรบหลักของญี่ปุนหลายลำต่อมาจากอู่เรือในอังกฤษและฝรั่งเศษ และในญี่ปุ่น
กองทัพบกญี่ปุน การพัฒนากองทัพบกญี่ปุ่นในช่วงแรกของยุคเมจิ มีแนวคิดตามแบบของกองทัพบกฝรั่งเศส มีที่ปรึกษาทางทหารของฝรั่งเศสเดินทางไปยังญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี 1073 เริ่มมีการตั้งโรงเรียนทหารและโรงงานสร้างปืนใหญตามแบบตะวันตก
      ภายหลังญี่ปุ่นเปลี่นยแปลงรูปแบบมาเป็นกองทัพบกเยอรมัน โดยเฉพาะแบบฉบับของกองทัพปรัสเซีย ปละประยุต์หลักนิยม รูปแบบและโครงสร้างของกองทัพมาให้เหมาะสมกับญี่ปุ่น ต่อมาที่ปรึกษาทางทหารชาวเยอรมัน ได้เสนอแนะให้มีการปรับโครงสร้างสายการบังคับบัญชาของกองทัพใหม่ โดยแบ่งเป็นกรมและกองพล ปรับปรุงเรื่องการส่ง กำลังบำรุง การขนส่งและอื่น ไลมีการจัดตั้งกรมทหารปืนใหญ่และกรมช่างที่มีสายการบังคับบัญชาเป็ฯอิสระ
     กองทัพญี่ปุ่นมีการจัดกำลังแบบสมัยใหม่ เป็นแองทัพที่มีรูปแบบการฝึกตามแบบกองทัพของชาติตะวันตก มีความพร้อมทั้งยุทโธปกรณ์และยุธปัจจัย นาทหารได้รับการศึกษาจากต่างประเทศและมีความรู้ทางยุทธวิธีและทางยุทธศาสตร์เป็นอย่างดี
     เมื่อครั้งเริ่มสงครามกับจีน กองทัพบกแห่งสมเด็จพระจักรพรรดิมีกำลังพลถึง 120,000 นายจัดเป็น 2 กองทัพ 5 กองพล
     นายพลเรือยามาโมโต้  แม่ทัพเรือญี่ปุ่นต้องเสียเวลากับแผนการของกองทัพบกที่เตรียมบุกออสเตรเลีย ทัพเรือจึงจำเป็นต้องส่งกำลังทางเรือกระจายออกไปเพื่อสนับสนุนการยึดพอร์ตเมอเรสบี้ ในขณะที่การบุกอร์ตเมอร์เสบี้กำลังอยูในขั้นเตรียมการ เสนธิกาของยามาโมโตก็ร่างแผน ยุทธการโจมตีและยึดเกาะมิดเวย์เสร็จสิ้นแล้ว
     มิดเวย์ เป็นเกาะทางตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะฮาวายญี่ปุ่นต้องการยึดเกาะมิดเวย์และใช้เป็นฐานทัพเพื่อบุกโจมตีหมู่เกาะฮาวายและชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกา มิดเวย์เป็นเกาะเล็กๆ ที่เป็นกุญแจสำคัญในแผนการของยามาโมโต จากชื่อของเกาะเองทำให้ทราบว่าที่ตั้งอยู่เกือบจะศูนย์กลางของมหาสมุทรแปซิฟิค ซึ่งเป็นที่ตั้งหน้าด่านที่สำคัญที่สุดสำหรับสหรัฐที่ใช้ในการส่งเครื่องบินตรวจการณ์ลาดตระเวน ซึ่งถ้าตกอยู่ในความยึดครองของญี่ปุ่นก็จะกลายเป็นลิ่มตอกเข้ตามแนวป้องกันสามเหลี่ยมซึ่งมีฐานทัพอยู่ทางฝั่งตะวันตก และที่ตรงยอดอยู่ที่ เพิร์ล ฮาเบอร์
     ยามาโมโต้รู้ดีว่าหากโจมตีมิดเวย์ กองเรือแปซิฟิคจะต้องออกมาป้องกัน แกรต้อสู้ที่อยู่กลจากญี่ปุ่นขนาดนี้ต้องเป็นปัญหาอย่างแน่นอน แต่ก็เห็นเป็นโอกาสที่จะทำให้กองเรือบรรททุกเครื่องบินสหรัฐมาติดกับ ซึ่งญี่ปุ่นเห็นว่าคุ้มกับการเสี่ยง

     ญี่ปุ่นไม่ล่วงรู้เลยว่า ฝ่ายข่าวกรองของกองทัพเรือสหรํฐอเมริกาสามารถถอดรหัสญี่ปุ่นในยุทธการมิดเวย์ได้หมดสิ้น กาองเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ เอนเตอร์ไพร์และฮิร์เนต ได้เคลื่อพลจากเพิร์ลฮาเบิร์ล เข้าประจภจุดป้องกันมิดเวย์ อีก 3 วันต่อมา เรื่อยอร์คทาวน์ก็ซ่อมเสรจและเดินทางตามมา
     แม่ทัพเรือสหรัฐได้สั่งให้จัดกองเรือในศึกมิดเวย์ครั้งนี้ประกอบด้วยเรือบรรทุกเครื่องยิน 3 ลำ เรือลาดตระเวนหนัก 7 ลำ เรือพิฆาต 14 ลำ เรือดำน้ำ 18 ลำออกเดินทางไป นอกจากนี้ฐานทัพสหรัฐฯที่เกาะมิดเวย์ยังมีเขี้ยวเล็บป้องกันอย่างดี ทั้งปืนใหญ่รักษาฝั่ง ปืนต่อสู้อากาศยาน และเครื่องบินรบแบบ p-40 และเครื่องบินทิ้งระเบิด b17 อีกจำนวนหนึ่งรอรับมือ
      ยามาโมโต้และเสนาธิการของเขากำลังดำเนินการตามแผนยุทธการของเขาโดย จัดกองเรือเป็น 3 กองกำลัง กองกำลังโจมตีลวงภายใต้การบัญชาการของนายพลเรือโอโวซายานำกำลังเรือบรรทุกเครื่องยิน 2 ลำ เรือบรรทุกเครื่องบินเบา 1 ลำ เรือประจัญบาน 3 ลำและกองเรือคุ้มกันจำนวนหนึ่ง เข้าทำการโจมตีลวงที่หมู่เกาะอาลิวเชียน รัฐอลาสกาโดยเฉพาะฐานทัพในดัช ฮาร์เบอร์ ของสหรัฐฯ ที่มีหน้าที่รักษาทะเลแบริ่งและกดดันหมู่เกาะคูริลทางเหนือของญี่ปุ่น
     กองเรือโจมตีหลักภายใต้การบัญชาการของนายพลเรือนากูโม ผู้นำการโจมตีเพิร์ลฮาเบิร์ล ประกอบไปด้วยเรือบรรทุกเครืองบิน 4 ลำคือ เรือ อะกากิ ซึ่งเป็นเรือธงของนากูโม เรือคากะ เรือฮีโรยุ และรือโซริยุ  กองเรือที่ 3 ที่เป็นกลังหนุนบัชาการโดย ยามาโมโต้เอง โดยจะตามห่างๆ เป็นกองกำลังในการยึดครองมิดเวย์  เมื่อเทียบกับกองทัพเรือสหรัฐแล้วญี่ปุ่นมีกำลังมากกว่า 4:1
     ยามาโมโต้เป็นกังวลมาที่สุดคือตำแหน่งของกองเรือกองเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐ ฝ่ายเสนาธิการจึงเสนอยุทธการ k โดยใช้เรือดำนิ้ลาดตระเวนหากองเรอบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ” ขณะที่กองเรือนากูโมเดินทางใกล้ถึงมิดเวย์ ยุทธการ k ก็ต้องยกเลิก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัฐสหรับยามาโมโต้ เขาต้องรู้ให้ได้ก่อนเริ่มยุทธการมิดเวย์ว่ากองเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯอยู่ที่เพิร์ลฮาร์เบอร์หรือไม่..ข่าวการยกเลิกยุทธการ k มาถึงยามโมโต้เมื่อกองเรือของเขาออกทะเลมาครั้งทางแล้ว ยิ่งทำให้แผนกของยามาโมโตเสียงเพิ่มขึ้นอีก ถ้าหากเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯเกิดโผล่มาอย่างไม่รู้ตัวกองเรือของนากูโมก็จะเกิดอันตราย ซึ่งยามาโมโต้ไม่สามารถที่ส่งข่าวเตือนนากูโมเพราะเสี่ยงต่อการถูกดักฟัง นากูโดกำลังเดินทางไปสู่กับดัก
      กองเรือโจมตีลวงลงมือตาแผนการที่วางไว้ สหรัฐฯล่วงรู้ถึงแผนการจึงแทบจะไม่เกิดผลใดๆ เครื่องบินจากมิดเวย์เข้าโจมตีกองเรือยกพลขึ้นบกแต่ด้วยความอ่อนด้อยประสบการและความคล่องตัวของเครื่องบินจึงถูกยิงตกเป็นว่าเล่น การโจมตีไร้ผล กองเรือนากูโมไม่รู้เรื่องการโจมตีครั้งนี้ วิทยุสื่อสารถูกบิด เครื่องบินตรวจการสหรัฐฯรายงานชัดเจนระบุจำนวนเรือบรรทุกเครื่องบินญี่ปุ่นว่ามี 4 ลำ มิดเวย์ส่ง เครื่องบินลาดตระเวนหาตำแน่งกองเรือแต่ไม่พบ
     ยุทธนาวีเปิดฉากในวันที่ 4 มินายน 1942 นากูโมสั่งเรือบรรทุกเครื่องบินทั้ง 4 ลำ ส่งเครื่องบินท้งระเบิดและเครื่องขับไล่คุ้มกัน 108 เครื่อง โจมตีมิดเวย์ สัญญานเตื่อนภัยดังทั่วฐานทัพมิดเวย์ ฝูงบินญี่ปุ่นฝ่าด่านเข้ามาได้อย่างสะดวก เข้าถึงตัวฐานทัพท่านกลางการบิงต่อสู้ของปืต่อสู้อากาศยานทุกขนาด ฝูงบินญี่ปุนได้รับชัยชนะ
     ภายใน 5 นาทีที่ทราบข่าวยอร์คทาวส่งเครื่องบิน 57 เครื่อง เรื่อบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐทั้ง 3 ลำ ส่งเครื่องบินเขาโจมตีกองเรือญี่ปุ่นโดยที่นากูโมไม่รู้ว่าเรื่อบรรทุกเครื่องบินสหรัฐที่ สามลำส่งเครื่องบินเข้าโจมตีกองเรือของตน
    เครื่องบินญี่ปุ่นเข้าโจมตีฐานทัพมิดเวย์ระลอกที่ 2 การสู้รบโดยเครื่องบินไม่สามารถทำอันตรายให้แก่ฝ่ายญี่ปุ่นได้เนื่องจากความด้อยประสบการณ์ของนักบินสหรัฐ แต่ด้วยความโชคดีของกองบินทิ้งระเบิดที่บังเอิญพบกองเรือพิฆาตญี่ปุ่นและคาดว่าจะเดินทางกลับไปสู่กองเรือบรรทุกเครื่องบินซึ่งก็จริงดังคาด เรือบรรทุกเครื่องบินของญีปุ่นจึงถูกจมลงสู้ก้นทะเล
    ความพลิกผันของโชคชะตา กองบินทิ้งระเบิดเพียงกองบินเดียวสามารถทำลายเรือบรรทุกเครืองบินญี่ปุ่นรวดเดียว 3 ลำ เรือลาดตระเวนหนัก 1 ลำ และกับเครื่องบินนาวีสหรัฐ” 18 ลำ ยุทธการมิดเวย์พินาศลง !
    ญี่ปุ่นยังเหลือฮิโรยุอีกหสึ่งลำ ซึ่งทางสหรัฐฯต้องการที่ทำลายเรือลำที่  4 นี้ จึงเกิดการสู้รบกับยอร์คทาวน์ ซึ่งเป็นการปะทะกันทางอากาศอย่างดุเดือน ยอร์คทาวน์ได้รับความเสียหาย ทางฝ่ายญี่ปุ่นรายงานว่าสามารถจมเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯซึ่งไม่ตรงกับความจริง และทำให้ทางญี่ปุ่นเข้าใจว่าอเมริกา เหลือเรือบรรทุกเครื่องบินอีกเพืยงลำเดียว จึงคิดจะพลิกสถานการณ์
     ญี่ปุ่นคิดว่าหากสู่กัน 1:1 ญี่ปุ่นต้องจมเรือสหรัฐฯได้ก่อน จึงส่งเครื่องบินปล่อยตอบิโดขึ้นบินโดยบินไปโจมตียอร์คทาวน์ซึ่งญี่ปุ่นคิดว่าเป็นเอนเตอร์ไพร์ และสามารถจมเรือได้ ญี่ปุ่นเข้าใจว่าตนเองเป็นฝ่ายชนะ แต่ความเป็นจริงญี่ปุ่นโจมตีเรือลำเดิม 2 ครั้ง การขาดความระแวดระวังเนื่องจากเข้าใจว่าเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯถูกจมลงหมดแล้ว เย็นวันเดียวกันนั้น เครื่องบินนาวีสหรัฐฯจึงทำการทิ้งระเบิดจากมุมสูง ฮิโรยุ จมลงสู่ก้นทะเลในเวลาตี 2 ของวันใหม่
    7 มิถุนายน 1942 มีการตรวจพบว่าเรือบรรทุกเครืองยินสหรัฐฯ4ลำถ้าหากเป็นความจริงจะมีเท่ากับที่ยามาโมโต้มีอยู่หากรวมกันได้ ที่ประชุมเสนาธิการจึงลงความเห็นว่าควรถอนกำลังกลับ
     ความสูญเสียของญี่ปุ่นในครั้งนี้ เรือบรรทุกเครื่องบิน 4 ลำ ได้แก่ อะกากิ คากะ ฮิโรยุ และโซริยุ เรือลาดตระเวณหนัก 1 ลำ เครื่องบินรบ 322 เครื่อง ทหารเรือ 3,500นาย ในขณะที่สหรัฐฯสูญเสียเรือบรรทุกเครื่องบินยอร์คทาวน์เนื่องจากเสียหายหนัก เครื่องบิน 150 เครื่อง ชีวิตทหาร 307 นาย

วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:United state of Amarica :KMT:CCP

     การโจมตีอ่าวเพิร์ล ฮาเบอร์สหรัฐอเมริกาจึงประกาศสงครามกับญี่ปุ่น และเพื่อให้การรบดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ  2 กุมพาพันธ์ 1942 สหรัฐอเมริกาส่งนายพลโจเซฟ สติลเวลล์ และกองกำลังส่วนหนึ่งเข้าไปจีน การผนึกกำลังครั้งนี้ไม่นานนักความขัดแย้งก็เริ่มปรากฎ
     นายพล สติลเวลล์ ผู้มีบุคคลิกที่ค่อนข้างมุทะลุดุดันมีความคิดว่าการเข้าร่วมรบเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถกองทัพจีนให้อยู่ในวิสัยที่จะต่อสู้กับญี่ปุ่นได้อย่างมีประสิทธภาพ จึงปรับปรุงกองทัพจีนทั้งหมด และรวมถึง เชียง ไค เชคจะต้องจริงจังกับการขับไล่ญี่ปุนออกจากพม่า เพื่อเปิดเส้นทางลำเลียงยุทธปัจจัย เข้าสู่แผ่นดินจีนอีครั้งหนึ่ง
     แม้ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างนั้น แต่เชียง ไค เชค ไม่เห็นด้วยกับนายพลอเมริกา  เชียง ไค เชคมีความมั่นใจว่ากำลังเท่าที่มีอยู่สามารถต่อสู้กับญี่ปุ่น หรือเหล่าขุนศึกซึ่งเป็นฐานอำนาจนิยมกษัตริย์ และรวมไปถึงกำลังกองโจรคอมมิวนิสต์ เชียงเห็นว่า สิ่งที่สหรัฐฯต้องกการทำคือยุติสงครามกับญี่ปุ่นซึ่งเป็นศัตรูโดยตรงของสหรัฐฯเอง หาใช่ทำเพื่อจีนไม่อีกทั้งยังเห็นความหาดำเนินตามแผนของนายพลสติลเวลล์ สามารถขับไล่ญี่ปุ่นออกไปได้ แต่ศัตรูภายในยังอยู่และจะจัดการอย่างไรกับศัตรุกลุ่มนี้
     ในการนำยุทธวิธีแบบใหม่มาใช้ในกองทัพ เชียงไม่ต้องการมากนัก เชียง ไค เชค มีความคิดเช่นเดียวกับผู้ปกครองจีนรุ่นเก่า ที่มักต่อต้านเทคโนโลยีตะวันตก และว่าถ้ากองทัพจีนล้าหลังเขาจะปกครองง่ายกว่า เขาเห็นว่าการได้ทหารหัวใหม่ประจำการในกองทัพย่อมไม่เป็นผลดี โดยตัวอย่างในหลายประเทศทั่วโลกที่ทหารหัวใหม่มักก่อการปฏิวัติ สิ่งที่เชียง ไค เชค สนใจคือนโยบายการสู้รบทางอากาศ โดยใช้กองบินพยัคฆ์เวหาที่อยู่ใตการบัญชาการของนาพล อคร์ เซนโนลต์ ทิ้งระเบิดเข้าใส่กองกำลังญี่ปุ่น วิธีการเช่นนี้ เชียง ไค เชค เห็นว่า นอกจากจะใช้ได้ผลแล้วยังมีส่วนช่วยให้เขาสามารถคงรูปแบบของกองทัพจีนเดิมไว้ได้อีกทางหนึ่งด้วย
      ความไม่ลงรอยของผุ้นำทั้ง 2 สังเกตได้ว่า เชียง ไค เชค สนใจกับการปราบปรามคอมมิวนิสต์มากกว่า ที่จะคิดสู้กับญี่ปุ่น นายพลสติลเวลล์เห้ฯว่าญี่ปุ่นเป็นปัญหาที่สำคัญกว่า
      หากเชียง ไค เชค ทุ่มเทการพัฒนากองทัพให้เข้มแข็งเพื่อไว้สู้กับคอมมิวนิสต์ในอนาต เป็นเหตุให้ละเลยการต่อสู้กับญี่ปุ่น นายพลสติลเวลล์ควจะต้องต่อต้าน ซึ่งหนทางสู่ความเป็นใหญ่ของ เชียง ไค เชค ไม่เกี่ยวกับทางทหาร ในทางกลับกัน โอกาสของเชีย ไค เชค ที่จะมีชัยชนะเหนือคอมมิวนิสต์มีทางเป็นไปได้มาก ถ้าหากเชียง ไค เชค ปฏิบัติตามคำแนะนำของนายพลสติลเวลล์ แต่จากการที่เขาไม่ต่อต้านญี่ปุ่น นอกจากจะเป็นการทำลายขวัญและกำลังใจแก่กองทัพแล้ว ยังทำลายภาพพจน์ของเขาในฐานะนักต่อสู้ชาตินิยมซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง
      ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ผุ้นำทั้งสอง จึงหันหลังให้กัน และเมื่อกล่าวถึง เชียง ไค เชค นายพลสติลเวลล์ มักจะใช้คำว่า “ชั่วช้าสามานย์”และ “ไม่เก่งอย่างที่คิด” เป็นคำอธิบายคุณลักษณะของเชียงไค เชค พร้อมกับการยุยงนายทหารหนุ่มของกองทัพก่อรัฐประหาร แม้จะไม่มีผลทางปฏิบัติก็ตา  ส่วน เชียง ไค เชค เองก็ไม่อาจดำเนินการอย่างเด็ดขาดได้ เพราะติดทีผลประโยชน์มหาศาลที่สหรัฐฯจัดหามาให้ แต่อย่างไรก็ดีเชียง ไค เชค ทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้นายทหารผู้นี้สร้างอิมธิพลเหนือกองทัพ การยุติความบาดหมางครั้งนี้โดยทางวอชิงตัน ประธานาธิบดี รูสเวลต์ตัดสินใจย้ายนายพลสติลเวลล์ออกจากจีน และส่งนายพลวีคไม่เยอร์มาดำรงตำแหน่งแทน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำทหารทั้งสองก็กลับสู่สภาพเดิม
      เมื่อเข้ามารู้เห็นกับการสู้รบมากขึ้น สหรัฐอเมริกาเริ่มให้ความสนใจกับกลุ่มชาตินิยมกลุ่มใหม่ นั้นคือพรรคอคมมิวนิสต์ เนืองจากความต้องการที่ตรงกัน 2 สิ่งคือ ความต้องการที่จะต่อต้านญี่ปุ่นและขับไล่ออกจากจีน  นอกจากนี้สหรัฐฯยังต้องการพันธมิตรไว้คอยช่วยเหลือนักบินสหรัฐที่ถูกยิงตกโดยเฉพาะทางภาพเหนือของจีน ซึ่งสหรัฐฯและประเทศคอมมิวนิสต์ในขณะนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกที่การให้ความช่วยเหลือในรูปแบบต่าง ๆ ของสหรัฐฯที่มีต่อประเทศคอมมิวนิสต์หลายต่อหลายประเทศโดยเฉพาะรัสเซีย แต่ในจีนและเวียดนามนั้นความช่วยเหลือของสหรัฐติดขัดอยู่ที่พันธมิตรที่สำคัญ คือ เชียง ไค เชค
     ในขณะที่ พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็ต้องการที่จะได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลภายนอกเช่นกัน เนืองจากกองกำลังที่มีขนาดใหญ่ขาดอาวุธที่ทันสมัย  และนอกจากนี้เมา เช ตุง ยังมองการณ์ไกลไปถึงเมื่อสงครามกับญี่ปุ่นเสริจสิ้นแล้วสงครามกลางเมืองระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์กับก๊กมินตั๋งคงจะต้องเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอนแลถ้าสหรัฐอเมริกายังคงให้ความช่วยเหชือแก่ก๊กมินตั๋งก็จะไม่เป็นผลดีแต่อย่างไรต่อพรรค CCp และต่อจีน ซึ่งตรงกับการวิเคราะห์ของเจ้าหน้าที่ของสหรัฐอเมริกา และนอกจากนี้ เมา เช ตุง ยังต้องการแยหตัวเป็นอิสระในการปกครองประเทศโดยปราศจากการชี้นำจาสหภาพโซเวียต บทเรียที่ได้รับจากสตาลินไม่เป็นที่ประทับใจนัก  และโซเวียตเองก็มีปัญหาภายในจึงไม่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่พรรคคอมมินิสต์จีนได้ สหรัฐฯอเมริกาจึงเป็นชาติเดียวที่ เมา เชา ตุง ต้องการคบหาเป็นพันธมิตรด้วย
      “ผู้แทนดิซี่”เป็นชื่อที่รู้จักกันในการพบปะกันอย่างลับๆ ระหว่าง เมา เช ตุง และตัวแทนจากวอชิงตันที่เมืองเยนาน ซึ่งภาพพจน์ของพรรคซีซีพีที่เขาได้พบเห็นคือ “มั่นคง เป็นที่ยอมรับ”จากคนจีนทั้งมวลโดย เฉพาะชาวไร่ชาวนา
      ความลังเลใจของสหรัฐฯคือเมือการเป็นพันธมิตรกับพรรค ccp หมายถึงต้องละทิ้งมิตรเก่า คือ ก๊กมินตั๋ง ซึ่งสหรัฐก็ไม่อาจทำเช่นนั้นได้ และเชียง ไค เชค คือผุ้นำของรัฐบาลที่ได้อำนาจมาด้วยความถูกต้อง เป็นที่ยอมรับของคนจีน และกองทัพ เชียง ไค เชค มีอาวุธที่ทันสมัยกว่า จำนวนพลมากกว่า ซึ่งเพียงพอต่อการใช้ต่อสู้กับญี่ปุ่นและประการสุดท้าย เชียง ไค เชค และภรรยา ของเขาต่างก็เป็นที่รู้จักและนิยมในหมู่อเมริกัน ภาพพจน์ของเชียง จึงเป็น “ผุ้นำในการต่อต้านการขยายอำนาจของจักรพรรดิ”

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...