วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Proxy War..(Korea War)

บทบาทและท่าทีของสหรัฐอเมริกา
       สหรัฐฯให้การสนับสนุนเกาหลีใต้ในสงครามเกาหลี สงครามเกาหลีเป็นการปะทะเสียเลือดเนื้อดินแดนเกาหลีเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของโลก
     สงครามเกาหลีเริ่มด้วยกองกำลังเกาหลีเหนือบุกข้ามเส้นขนานที่ 38 เหนือเข้ามาในเกาหลีเกาหลีเหนือเป็นฝ่ายรุก เลขาธิการสหประชาชาติ ทวิกเว ลี ในเวลานั้น เรียกประชุมคณะมนตรีความมั่นคงเป็นการณีพิเศษเพื่อขอมติปฏิบัติการเคลื่อนกองกำลังทหารผสมสหประชาชาตช่วยเกาหลีใต้ เพราะรุสเซียเรียกตัวแทนรุสเซียกลับรุสเซียเนืองจากไม่พอใจหรัฐอเมริกาที่นำประเทศสาธารณรัฐจีนเข้าเป็นสมาชิกหนึ่งในห้าของคณะมนตรีความมั่นคงประเภทถาวร ทำให้มติไม่เป้ฯไปตามข้อตกลงกองกำลังทหารผสมไม่สามารถออกปฏิบัติการได้ กองกำลังเกาหลีเหนือยึดกรุงโซลได้  ประธานาธิบดีทรูแมนสั่งเคลื่อกองกำลังอเมริกันสามเหล่าทัพภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลดักลาส แมคอาเธอร์ และให้กองเรือรบอเมริกันที่เจ็ดเข้าคุ้มกันเกาะไต้หวันด้วยเกรงกองกำลังจีนคอมมิวนิสต์เข้าโจมตี ตัวแทนังกฤษร้องของความช่วยเหลือด้านกองกำลังจาชาติสมาชิกองค์การสหประชาชาติผลคือ 16 ชาติสมาชิกองค์การสหประชาชาติให้ความร่วมมือส่งกองกำลังเข้าช่วยเกาหลีใต้ภายใต้ชื่อกองกำลังสหประชาชาติ ประกอบดวยสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม แคนาดา โคลัมเบีย เอธิโอเปีย ฝรั่งเศส กรีก ลักเซมเบิร์ก เนอเทอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ ฟิลิปินิส์ แอฟริใต้ ตุรกี และไทย อีก 41 ชาติร่วมส่งเพียงยุทธปัจจัยอาหารและของใช้ การรบช่วงกลางปี 1950 กองกำลังสหประชาชิติเป็นฝ่ายรุกเริ่มด้วยในวันที 8 กันยายน โดยชนะการรบในพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาหลีใต้ 15 กันยายน ยกพลขึ้นบกบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตกของกรุงโซล ยึดกรุงเปียยางเมืองหลวงเกาหลีเหนือได้ รุกขึ้นเหนือเรื่อยไปถึงลุ่มแม่น้ำยาลูเป็นเส้นทางน้ำกั้นระหว่างกาหลีหนือกัยสาธารณรัฐประชาชนจีน จีนมองว่ากองกำลังสหประชาชาตที่บลุ่มน้ำยาลูเป็นการท้าทายจีนคอมมิวนิสต์และต้องการช่วยเกาหลีเหนือซึ่งเป็นประเทศร่วมอุดมการณ์การเมืองเดียวกันกับจีนคอมมิวนิสต์ ทั้งต้องการรับกษาพันธมิตรเกาหลีหนือในเอเชียตะวันออกให้คงอยู่ต่อไป ในทางปฏิบัติจีนเคลื่อนกองกำลังทหารเข้าช่วยเกาหลีเนหือ รุสเซียหนุนดานอาวุธยุทธปัจจัย เป็นผลให้กองกำลังสหประชาชาติถูกโจมตีต้องถอยร่นลงใต้ การรบช่วงเดือนพฤศจิกายน กองกำลังจันเป็นฝ่ายรุก นับจากช่วงปลายปี 1950 กองกำบังสหประชาชิถอยกลับสู่เกาหลีใต้ กองกำลังสหประชาชาติพยายามตรึงอยู่ที่เส้นที่ 38 เหนือ และในเดืนอมกราปี 1951 กองกำลังสหประชาชาติยึดกรุงโซลกลับคืนมาได้ ช่วงกลางปี 1951 พักรบชั่วคราวครั้งแรกเพื่อการเจรจา การเจรจาไมเป็นผลการรบจึงดำเนินต่อไป มีการเจรจากันอีกในเวลาต่อมาและยุติสงครามในวันที่ 27 กรกฎาคม 1953 ในสมัยประธานาธิบดี ไอเซนฮาวร์
จีนแดง
      มีความหวังเปี่ยมล้นที่จะรวมประเทศทางทหารที่มุ่งหมายคือ ธิเบต และไต้หวัน แต่การอุบัติขึ้นของสงครามเกาหลีทำให้แผนการรวมประเทศต้องดำเนินไปครึ่ง ๆ กลาง ๆ สงครามเกาหลีปิดโอกาสจีนมิให้รวมไต้หวัน สหรัฐอเมริกาประกาศพิทักษ์ไต้หวัน ดดยพฤตินัยด้วยการส่งกองทัพเรือภาคที่ 7 เข้าประจำข่องแคบไต้หวัน เพื่อป้องกันจีนฉวยโอกาส
     ภาวะตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศด้วยการสงครามเกาหลี บทบาทของจนในสงครามเกาหลี การรวมไต้หวันไม่สำเร็จ ปฏิกิริยาของอเมริกาที่แสดงออกถึงความเป็นปฏิปักษ์และการที่กองทัพสหประชาชาติ การปกิวัติแต่ะละครั้ง หรือการัฐประหารก็ดี เปลี่ยนผู้นำการปกครองในรูปแบบวิธีการใดก้ดีย่อมจะทำให้ผู้ปกคอรงหรือผู้มีอำนาจกลุ่มใหญ่ตระหนักถึงความจำเป็นในการรักษาอำนาจที่ได้มาการปกครองในขั้นต้นจึงมกจะเป็นแบบรวมอำนาจ ดดยเฉพาะสำหรับพวกคอมมิวนิสต์ได้มีการเร่งรีบเผยแพร่ปลูกฝังลัทะดอุดมการณ์และสร้างองค์กรต่าง ๆ ขึ้นทั่วรับ จีนแดงได้นำรูปแบบองค์กรมาใช้แทนที่การสร้างระบบและนำอุดมการ์มาปลูกฝังใจประชาชนแทนธรรมเนียมทัศนคติ
      ในระยะนั้น ฝ่ายปฏิปักษ์หรือผุ้ใดเพิกเฉยต่อระบบการปกครองมักะถูกขจัดกวาล้างดดยวิธีรุนแรง ประชาชนได้เริ่มตระหนักถึงคำพูดขงเมาเซตุง ซึ่งได้เตื่อนไว้ตั้งแต่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ใคประกาศ  “แนวประชาธิปไตย” เมือเป็นปฏิปักษ์เช่นนั้น เมาได้ย้ำว่า “ใครก็ตามที่เป็ฯปฏิปักษ์ต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ จงเตรียมตัวรอคอยการถูกทำลายล้างอยางสิ้นเชิง” ภัยสงครามเกาหลีปรากฎใกช้พรมแดนจีน เหล่านี้ล้วนเป็นภัยคุกคามเสถียรภาพความมั่นคงของจีนสั่นสะเทือนอำนาจของรัฐบาลจีนแดงเป็อย่างยิ่ง ภายในประเทศเอง จีนแดงก็มีความวิกตมิใช่น้อยในพลังอำนาจของ่ายปฏิปักษ์ซึ่งยังปรากฎทั่วไป ถัยทั้งภายในและภายนอกประเทศทำให้จีนแอดงต้องการขวัญกำลังใจอันเด็ดเดียวจากประชาชนในการสนัสนนุนอำนจของพรรคจีนคอมมิวนิสต์ให้สามารถปกครองจีนได้โดยตลอดรอดฝั่งจีนแดงจึงดำเนินการรณรงค์ ด้วยมาตรการต่างๆ อาทิ
- การกวาดล้าบรรดาผุ้เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิวัติของตน โดยยืมมือประชาชนให้ประหัตประหารกันเอง..
- การต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมของสหรัฐอเมริกาโจมตีสหรัฐอเมริกาว่าเป็นจ้าวจักรวรรดินิยมนายทุน แทรกแซงในกิจการเมืองภายในของชาติอื่น
- การรณรงค์ ต่อต้านสิ่งชั่วร้าย สามประการ,การรณรงค์ต่อต้านสิ่งชั่วร้ายห้าประการโดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงการบริหารใมความตื่นตัวและเร่งรัดพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาภ
- ปัญญาชนเป็นกลุ่มคนที่นับหน้าถือตาในสังคมจีนมานานแล้วในฐานะที่เคเป็นผู้นำสังคมและเช่อมรัฐกับสังคมเข้าด้วยกัน ซคงเมาเซตุงเห็นความสำคัญข้อนี้จึงย้ำเรื่องนี้ต่อคณะกรรมการกลางว่า “ถ้าปราศจากความร่วมมือจาปัญญาชน การปฏิวัติจะไม่สามารถบรรลุชัยนะได้”ถ้าปัญญาชนเป็นคอมมิวนิสต์ประชาชนส่วนใหญ่ย่อมถือเป็นแบบอย่างปฏิบัติตาม การกล่มเกลาบรรดาปัญญาชนให้เป็นคอมมิวนิสต์จึงเป็นหน้าที่ความจำเป็นของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
     สงครามที่พยายามจะเปลี่ยนสถานะเดิมแห่งการแบ่งแยกเกาหลีนั้นได้ยุติลงโดยเกาหลียังคงแบ่งแยกต่อไปเมือนเดิม ปัญหาภายในของสองเกาหลีหนักหน่วงยิ่งขึ้นด้วยเหตุสงครามที่ได้มีการสับประยุทธ์กันบนผืนแผ่นดินเกาหลี ระบอบคอมมิวนิสต์ตึ้งมั่นในเกาหลีเหนือ ระบอบประธิปไตยแต่เพียงผิวเปลือกนอกตั้งมั่นในเกาหลีใร้ ชาวเกาหลีจึงมีการปกครองแบบเผด็จการฝ่ายขวาและเผด็จการฝ่ายซ้ายให้เลือก การพัฒนาประเทศของเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ถือเป็นกรณีตัวอย่างทดลองประสิทธิภาภาพของลัทธิอุดมการณ์ขันแข่งกันอยู่ในเวลทีการเมืองโลก
รุสเซีย
      ในช่วงสงครามเกาหลี รุสเซียได้ให้ความช่วยเหลือทางการทหารแก่ จีนและเกาหลีในสมัยที่สตาลินยังคงมีชีวิตอยู่สหภาพโซเวียตไม่มีข้องตกลงให้ความช่วยเหลือกับประเทศที่อยู่นอกเขตอิทธิพลของตน แตหลังการตายของสตาลินสภาพการณ์ก็เปลี่ยนแปลงไป
     5 มีนาคม 1953 สตาลินได้ถึงแก่อนิจกรรมโดยมิได้มีทยาทสืบต่ออำนาจทางการเมืองอย่างเป็ฯทากงการ กลไกและองค์ประกอบลแห่งการปกครองรวนเร คณะผู้นำใหม่เต็มไปด้วความไม่มั่นใจและหวาระแวงในอำนาจการปกครอง ผุ้นำใหม่ที่สำคัญมีสามคนคือ นายจอร์จิ เอ็ม มาเลนคอฟ นายลาเวรนตี บีเรีย นายวยาเชสลาฟ โมโตลอฟ และผุ้ที่มีอำนาจอิทธิพลอยูเบื่องหลังคือ นาย นิกิตา เอส ครุสเชฟ การปกครองโดยบุคคลทั้งสามข้าต้นแสดงว่าไม่มีผู้ใดมีอำนาจเด็ดขาดแต่ผู้เดียว รุสเซ๊ยตกอยู่ภายใต้การปกครองโดยหมู่คณะ
    แม้คณะผู้นำจะแย่งกันเป็นใหญ่แต่ผู้เดียวแต่ก็เห็นพ้องต้องกันที่จะสลายลักษณะเผด็จการแบบสตาลินและต้องพยายามธำรงไว้ซึ่งเอกภาพและพลกำลังให้เป้ฯที่ประจักษ์แก่สายตาโลก อสัญกรรมของสตาลินมีผลกระทบต่อนโยบายต่างประเทศของรุสเซยมาก นโยบายต่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญชี้ขาดอำนาจของผุ้นำรุสเซียได้ดีเท่าๆดับชี้ขาดสงครามหรือสันติภาพสำหรับประชาคมโลกด้วย กลุ่มผู้นำใหม่ยังไม่มีอำนาจสิทธิขาดในชั้นต้น ระยะเวลาดังกล่าว คือ 1953-1955 รุสเซียไม่มีนโยบายอันแน่วแน่ ความตึงเครียดภายในประเทศและการเมืองที่ไม่แน่นอนเป็นเครื่องกำหนดให้รุสซียต้องดำเนินนโยบายต่างประเทศในลักษณะที่อำพรางจุดอ่อนดังกล่วมิหใปนที่ปรากฎ และการดำเนินนโยบายต้องมีความระมัดระวังพอควรเพื่อมิให้พลังพลาดได้ในสามวิถีทางแห่งการมืองสัมพันธภาพกับสามฝ่าย คือ ในฐานะอภิมหาอำนาจ,ในฐานะผู้นำโลกคอมมิวนิสต์,และในฐานะที่เป็นผู้นำโลกคอมมิวนิสต์
     การเมืองโลกได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง โดยเฉพาะการชะงักงันของสงครามเย็น และพุลยภาพแห่งอำนาจชัวขณะในเอเชียและยุโรป สถานการณ์เช่นนั้นเป็นปัจจัยเสริมให้รุสเซียต้องตระหนักถึงความจริงที่ว่า สตาลินได้สร้างความตึงเครียดขึ้นดดยไม่จำเป็นหลายครั้ง อันเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อรุสเซีย
    การดำเนินนโยบาบเสียงปฏิวัติยุโรปตะวันออกให้เป็นคอมมิวนิสต์ และสนับสนุนเกาหลีเหนือให้รวมประเทศ การสร้างวิกฤติการณ์ปิดล้อมเบอร์ลิน และการสร้างศัตรูต่อตุรกี โดยเหตุแห่งปรารถนาดินแดนบางส่วนจนตุรกีตั้งตนเป็นปฏิปักษ์ต่อรุสเซีย เหล่านี้ล้วนเป็ฯการดำเนินนโยบายเสี่ยงทำสงครามที่นับว่าเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรุสเซีย โดยไม่จำเป็น รุสเซยมีความมั่นคงในพรมแดนของตนทั้งในยุโรปและเอเซียอยู่แล้ว รุสเซียมีอาวุธนิวเคลียร์ คณะผู้นำรุสเซียจึงรู้สักว่า รุสเซียมีความมั่นคงในอำนาจแม้จะต้องถลำลงไปในภาวะความสับสนอันใดที่จะเดิกขึ้น อีกประการ การกำหนดนโยบายผ่อนคลายความตึงเครียดนั้นมีเหตุผลเพียงพอตามที่สตาลนได้วเคราะห์ไว้ว่า “ความขัดแย้งเข้มข้นจะรุนแรงยิ่งขึ้นในโลกเสรี เป็นโอกาสเหมาะที่รุสเซียจะสามารถรอคอยความพินาสซ่งจะบังเกิดขึ้น โดยรุศียมิต้องเผชิญหน้ากับโลกเสรีโดยตรงนโยบายผ่อนคลายความตึงเครียดจนถึงระดับที่สามารถจะทำให้โลกคอมมิวนิสต์และโลกเสรีอยู่ร่วมกันได้โดยสันติ
     สงครามเกาหลีได้พิสูจน์ให้รุสเซียเห็นว่า การปฏิวัติโลกให้เป็นคอมมิวนิสต์โดยวิธีการต่อสู้ดวยการใชกำลังอาวุธนั้นเป็นไปมิได้ เพราะโลกเสรีกำลังอำนาจทางทหารและความเป็นปึกแผ่นมั่นคงในการต่อต้าน ตลอดจนมีการแสดงนโยบายปิดล้อมรุสเซียอยางเปิดเผย อันเป็นผลมาจากสงครามเกาหลีนั้นด้วย
     ความก้าวร้าวรุกรานของฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์ผลักดันให้โลกเสรีภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกาตัดสินจเสริมสร้างกำลังรบให้แก่ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และไต้หวัน ในเดือนพฤษภาคม 1951 สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำในการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับญี่ปุ่น แม้จะเป็นการการละเมิดข้อตกลง ของที่ประชมมหาพันธมิตรทีกรุงมอสโก ข้อตกลงแห่งยังตาและพอตสดัมก็ตาม เพราะรุสเซียและจีนซึ่งเป็นคู่ศึกกับญี่ปุ่นได้ร่วมลงนามด้วย การลงนามในสันธิสัญาสันติภาพนั้นเป็นการสิ้นสุดการยึดครองญี่ปุ่น และเริ่มต้นการสร้างญี่ปุ่นให้เป็นมหาอำนาจใหม่อีกครั้ง..

วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Enland After WW2

     หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษได้กลายเป็นมหางเช่นอำนาจลำดับรองลงมาจาก สหรัฐฯและรุสเซีย อังกฤษสูยเสียชีวิตผู้คนและกำลงเงิน ตลอดจนทรัพย์สินไปมาก เพราะต้องทำการรบโดดเดี่ยวเป็นเวลานาน เศรษฐกิจของอังกฤษตกต่ำเนื่องจากการใช้จ่ายจำนวนมากในการทำสงคราม ส่งผลให้นโยบายต่างประเทศของอังกฤษจึงไม่เข็มแข็งเด็ดเดี่ยวนักส่วนใหญ่จะคล้อยตามสหรัฐอเมริกา
     การประชุมที่ยาลต้า ได้พิจารณาเกี่ยวปัญหาต่าง ๆ และตกลงให้รุสเซียมีอิทธิพลในรูเมเนีย บุลการเรีย และอังการี กรีกอยู่ภายใต้อิทธิพลยุโรปตะวันตก ในข้อตกลงต่าง ๆ รุสเซียเข้าไปมีอิทธิพลเหนือประทเศต่างๆ ในยุโรปตะวันออก ซึ่งไม่ตรงกับความประสงค์ของอังกฤาและอเมริกา เพราะไมต้องการให้ประเทศเหล่านั้นปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์
30_31    หลังจากการแบ่งเยอรมันแล้วย อังกฤษก็ยอมให้เอกราชแก่อาณานิคมของตน เนื่องจากการเรียกร้องเอกราชดังเช่นในอินเดีย อังกฤษจัดการแบ่งอินเดียออกเป็น 2 ส่วน คือพวกที่นับถือศาสนาอิสลามปกครองปากีสภาน และพวกฮินดูปกครองอินเดีย อาณานิคมอื่น ๆก็เรียกร้องเอกราชเช่นกันในขณะที่เศรษฐกิจของออังกฤษตกต่ำ อังกฤษจึงยอมปล่อยประเทศเหล่านั้น
     อังกฤษได้ส่งกองทหารเข้าร่วมรบในสงครามเกาหลี โดยช่วยเกาหลีได้ทำสงครามกับเกาหลีตามคำเรียกร้องของสหประชาชาติ
บทบาทของอังกฤษในตะวันออกกลาง คือการเข้ามามีบทบาทในการสงครามระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับกับอิสราเอล เนื่องจากชาวยิวต้องการกลับไปอยู่ในปากเลสไตน์โดยได้รบการสนับสนุนจากอังกฤษซึ่งมีอิทธิพลมากในตะวันออกกลาง มีอิทธิพลเหนืออียิปต์และคลองสุเอซอังกฤษให้การสนบสนุนทั้งอาหรับและยิวเพื่อเหตุผลทางการเมืองและเศรษฐกิจ อังกฤาสนับสนุนเตอรกีให้ทำการต่อต้านซึงการปกครองอาหรับในเวลานั้น
ในปี 1922 สันนิบาติโลกตกลงให้อังกฤษอารกขาปาเลสไตน์ กระทั่งปี 1947 สหประชาชาติได้ตัดสินปัญหากรณีพิพาทระหว่างอาหรับและยิว โดยการแบ่งปาเลสไตน์เป็น 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นของชาวอาหรับและส่วนที่เป็นของชาวยิวได้แก่ประเทศอิสราเอลซึ่งอาหรับไม่พอใจจึงเกิดเป็นสงครามระหว่างยิวและอาหรับ ในปาเลสไตน์เมื่อปี1947-1949 ซึ่งอังกฤษถอนกองทัพออกจากเขตนั้น ผลคืออาหรับแพ้และสูญเสียดินแดนให้แอสราเอล
     อิสราเอลเข้าโจมตีอียิปต์ อังกฤษและฝรั่งเศส ยื่อนคำขาดให้อียิปต์และอิสราเอลถอนทหารออกจากคลองสุเอวเป็นระยะทาง 10 ไมล์ ภายใน 12 ชั่วโมง แต่อียอปต์ไม่ยอมปฏิบัติตาม อังกฤษ และฝรั่งเศสจึงทำลายกองทัพอากาศของอียิปต์ผลของสงครามอียิปต์เป็นฝ่ายปราชัยแต่อังกฤษและฝรั่งเศสถูกประณาม โดยเฉพาะภายในประเทศ ประชาชนบางพวกไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าว ในที่สุด เซอร์  แอนโทนี่ อีเดน ก็ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
    ตั้งแต่ปี 1956 เป็นต้นมา อังกฤษหมดความเป็นมหาอำนาจในตะวันออกกลางอย่างไรก็ดีสหรีฐอเมริกาเป้นผู้ที่คอยส่งกำลังอาวุธให้แก่อิสราเอลและสหภาพโซเวียตก็คอยให้วามสนับสนุนอีผิปตือยู่ตลอดเวลา ทังอาหรับและอิสราเอล ก็พยายามเจรจาสันติภาพกันอยู่และคาดว่าคงประสบความสำเร็จ

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Eastern Bloc


- การห้ามพรรคคอมมิวนิสต์ใรฐบริวารมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดต่อกัน การสมาคมกันทุกด้านต้องอยู่ในสายตาของรุสเซีย และรุสเซียได้ย้ำหลักการผู้นำรวมศูนย์ คือ รวมศูนย์อยู่ที่รุเศียเท่นั้น และมีความสัมพันธ์กันได้แบบทวิภาคี ตัวต่อตัว พรรคต่อพรรค แต่ห้ามการมีความสัมพันธ์แบบรวามกลุ่ม ด้วยวิธีนี้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรุสเซียกับรัฐบริวารและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบริวารด้วยกันเองเป็นแบบทวิภาคี ทุกรัฐทุกพรรคอยู่ในภาวะโดยเดี่ยว ต้องพึ่งรุสเซียเพื่อความอยู่รอดของรัฐและของพรรค ตลอดจนความอยู่รอดของตัวบุคคลเองคือ คณะผู้นำ รุสเซีย คือ ผู้ที่จะครอบงำทุกรัฐบริวาร

      ระบบรัฐบริวาร การบวนการปฏิวัติยุโรปตะวันออกให้เป้ฯคอมมิวนิสต์ระหว่าง ปี 1945-1948 อาจจะนับได้ว่า เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในลักษณปฏิวัติ การพัฒนาไปสู่เป้าหมายคือ สังคมในระบอบสังคมนิยมเป็นความฝันอันสูงสุดตามอุดมการณ์ สติลินได้กำหนดแบบอย่างการพัฒนาต้องเป็นแบบรุสเซียหรือแบบสตาลินนั้นเอง เอกภาพความเป็นปึกแผ่นย่อมเกิดจากการที่อยู่ในงคมแบบเดียวกัน และมีความสมัครสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เอกภาพเช่นนี้จักเกิดขึ้นได้เมื่อทุกประเทศในระบบีความสัมพันธ์ที่ดีและแน่นแฟ้น หลักการนี้เป็นที่ยอมรับในโลกคอมมิวนิสต์ แต่โดยเนื้อแท้แล้ว หลักการนั้นเป็นเพียงเคร่องมืออธิบายให้เหตุผลความถูกกต้องชอบธรรมสำหรับรุสเซียที่จะสร้างระบบคอมมิวนิสต์ที่มีเอกภาพ มีอุดมการณ์เดียวกัน และอยู่ภายใต้การนำของรุสเซีย รุสเซียคือแกนกลางหรือศูนย์กลางแห่งโลกคอมมิวนิสต์ รุสเซียคือปิตุภูมิบ่อเกิดแห่งลัทธิคอมมิวนิสต์ ความสำเร็จในการปฏิวัติรุสเซียคือแบบอย่างสำหรับการปฏิวัติต้นแบบ คือเหตุผลที่จะทำให้รุสเซียได้รับการยกย่องและยอมรับให้เป็นเจ้าลัทธิผู้มีสิทธิ์แต่ผู้เดียวในการตีความหมายลัทธิและเป็นผู้นำโลกคอมมิวนิสต์ รุสเซียคือผู้ชี้แนะแนวทางแก่ขบวนการคอมมิวนิสต์ทุกหนแห่งในปฏิวัติโลกให้เป็นคอมมิวนิสต์ตามครรลองแบบอย่างของรุสเซีย    
     เพื่อเอกภาพแห่งลัทธิและเอกภาพของโลกคอมมิวนิสต์ รัฐบริวารจะต้องมีความสัมัพันธ์อันแนบแน่นกับรุสเซีย แต่ถ้าอธิบายโดยความเป็นจริงแล้ว มันมีความหมายหลักประการเดียวคือ เพื่อความเป็นใหญ่ในโลกคอมมิวนิสต์ หรือในจักรวรรดิ รุสเซียต้องกำหนดความสัมพันธ์กับรัฐบริวารให้ใกล้ชิดมิให้เอาใจออกห่างนั้นเอง การอ้างอุดมการณ์จึงเป็นเพียงการฉาบผิวเปลือกนอกของความสัมพันธ์ให้ดูมีหลักการและเหตุผลเป็นที่ยอมรับเท่านั้น
     ด้วยความที่สตาลินเป็นนักการเมืองที่เจนจัดกุศโลบายทางการเมือง สตาลินได้วางรากฐานความสัมพันธ์ระหวางรัฐบริวารกับรุสเซียโดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดทางการเมืองเป็นหลัก สตาลินถือว่า โครงสร้างสูงสุด คือโครงสร้งทาการเมืองที่ต้องมีพื้นฐานเป็นโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม โลกคอมมิวนิสต์จะมีความหมายยิงใหญ่ได้ก็เฉพาะเมือได้รับการเสริมพลังด้วยการปฆิวัติเท่าน้น พลังปฏิวัตินั้นจะเสริมให้ระบอบการปกครองแข็งแกร่งในการสร้างระบอบสังคมนิยม ทุกรัฐบริวารต้องยอมรับวา เพื่ออุดมการณ์สูงสุด ผลประโยชน์ของรุสเวียมีความสำคัญลำดับแรก ปราศจากการโต้แย้งใด ๆ ในข้อนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐคอมมิวนิสต์ตองอยู่บนพื้นฐานบื้องต้นของการเมือง และผลประโยชน์ของรุสเซีย เป็นความสัมพันธ์ที่มีการริเริ่มและการทดลองใช้เป็นเบื้องต้น ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ มีสองระดับคือ ระดับทางการ และระดับที่ไม่เป็นทางการ
     ระดับทางการ คือ ความสัมพันธ์ระดับประเทศมีการทูตต่อกันและมีข้อตกลงประเภทต่าง ๆ เป็นเครื่องผูกมัดความสัมพันธ์ต่อกัน ข้อตกลงประเภทสนธิสัญญามัลักษณะเป็นสนธิสัญญาทวิภาคี ไม่มีสนธิสัญญาที่มีคู่สัญญาหลายฝ่าย สนธิสัญญาที่รุเสเซ๊ยทำกับรัฐบริสวารจะมีลักษณะเหมือกันหมด คอ เกี่ยว้องกับมิตรภาพ ความร่วมมือ ความช่วยเหลือต่อกัน และความเป็นพันธมิตรต่อต้านภัยเยอมันเป็นหลัก สนธิสัญญาประเภทนี้มีข้อห้ามหลายประการเหมือนกันคือ ห้ามคู่ภาคีมีความสัมพันธ์ถึงขั้นรวมกลุ่มรวมเหล่า กันเองในหมู่รัฐบริวาร หรือกับประเทศอื่นใดนอกระบบรัฐบริวารเพื่อต่อต้านคู่ภาคีอีกฝ่าย สัญญาระบุคู่ภาคีจะปกป้องสันติภาพ ต่อต้านแผนที่มีลักาณะก้าวร้าวที่คิดจะให้เยอรมันสร้างกำลังรบ หรือคิดจะสร้างพันธมิตร สนธิสัญญาระบุการเคารพเอกราช อำนาจอธิปไตย ไม่มีการแทรกแซงกิจการภายใน และมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างเสมอภาค และท้านสุด สนธิสัญญาระบุควมร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ มีข้อน่าสังเกตว่า สนธิสัญญาประเภททวิภาคีนั้นไม่มีฉบับใดกล่าวถึงบทบาทรุสเซียในฐานะผู้นำ และบทบาทรุสเซียในการแทรกแซงกิจการภายในรัฐบริวาร การที่ไม่ระบุเช่นนั้นแสดงว่า คู่ภาคีมิได้ยอมรับบทบาทนั้นหรือ ข้อนี้ไม่แจ้งัดในเจตนารมรณ์ของคู่ภาคี ฝ่ายใดต้องการหลีกเลี่ยงไม่ระบุเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ ความสูงเด่นเหนือรัฐบริวารของรุสเซียจึงขาดพื้นฐานทางการรองรับ มีแต่พื้นฐานทางอุดมการณ์เท่านั้น
     ระดับไม่เป็นทางการ เป็นความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ใช้วิธีการต่าง ๆนานัปการเป้ฯการส่วนตัว ที่สำคัญได้แก่
- สตาลิน โดยตัวบุคคลแล้ว สตาลินสามรถจะใช้ตนเองเป็นเครื่องมือไม่เป็นทางการในการมีความสัมพันธ์ในลักษณะควบคุม สอดส่องดูแลรัฐบริวารได้ สตาลินมีบุคคลิกภาพเป็นคนที่มีอำนาจอยู่ในตัวมากพอทีจะทำให้รัฐบริวารครั้งคร้ามเมื่อเข้าใกล้ หวาดกลัวเมืออยู่ห่างไกล แม้ห่างตาห่างใจแต่ก็ทำให้รัฐบริวารรู้สึกเหมือสตาลินเป็นเงาติดตามพฤติกรรมตนตลอดเวลา ผู้นำรัฐบริวารทั้งเกลียด ทั้งกลัว และทั้งชื่นชมนับถือสตาลิน สตาลิน คือสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์พิเศษระหว่างรุสเซียกับรัฐบริวาร และสัญลักษณ์ของผู้ประสบความสำเร็จในการปฏิวัติ สตาลินอ้างตนเองเป็นผู้สร้างลัทธิสังคมนิยมให้มีรากฐานอันมั่นคง สตาลิน โดยตัวบุคคลแล้ว จึงก่อเกิดผลทางจิตใจและความรู้สึกนานปการแก่ผู้นำรำฐบริวารบรรดาผู้นำรัฐบริวารล้วนสยบอยู่แทบเท้าสตาลิน ยอมเป็นรัฐบริวารก็เพราะสตาลินเป็นปัจจัยสำคัญ ความเหี้ยมหฤโหต ความชาญฉลาดในการไต่เต้าสู้ตำแหน่งทางการเมืองและความเป็นอัจฉริยะเชิงการทูต เหล่านี้ล้วนเป็ฯคุณสมบัติของสตาลินที่ให้ทั้งคุณและโทษแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเนทางใดทางหนึ่งเสมอ แม้แต่ศัตรูคู่แข่งที่เคียดแค้นว่าตามเขาไม่ทันในเลห์กลอุบาย ก็ญังยอมรับว่าเขาเป็นอัจฉริยะทางการทูตอย่างหาตัวจับได้ยาก ดังเช่น เชอร์ชิล และนายพลเดอโกล ซ฿งล้วนมีประสบการ์ต้องเกียวข้องกับสตาลินมานานก็อดมิได้ทีจะยอมรับในความเป็นอัจฉริยะทางการทูตของสติลิน
     ด้วยความที่เกรงกลัวกันมาเป็นการส่วนตัว ทำให้บรรดาผู้นำรัฐบริวารเพียรพยายามเอาใจและอ่านใจสตาลิน ปฏิบัติตนให้เป็ฯที่พอใจของสตาลิน นโยบายหรือการกระทำต่าง ๆ ในการปกครองประเส เป็ฯนโยบายและการกระทำที่ผู้นำรัฐบริวารพยายามทำโยคาดเอาว่าจักเป้ฯที่พอใจของสตาลิน ทั้ง ๆ ที่สตาลินอาจจะมิได้มีดำริหรือสังการให้กระทำ
      สตาลินเป็นผู้ที่ให้คุณและให้โทษแก่ผู้นำรัฐบริวารตำแหน่งผู้นำระดับสูงในพรรคและรัฐบาลล้วนมาจากการที่สตาลินเป็นผู้แต่งตั้งถอดถอนหรือโยกย้ายเปลี่ยนแปลง บรรดาผู้นำรัฐบริวารจึงไม่เคยรู้สึกว่ามีความมั่นคงในตำแหน่ง จำเป็นต้องเพรียรทำดีต่อสตาลิน วันใดสตาลินเพียงแต่ไม่สนับสนุนการกรทำอันใด ผู้นผู้นั้นย่อมถือเป็นวันหมดอำนาจวาสนาผู้นำรัฐบริวารจึงต้องจับตาดูสตาลินทุกย่างก้าวว่าจะคิดจะทำอะไร  เพื่อจะได้ประพฤติตนให้ถูกต้อง บรรดาผุ้นำรัฐบริวารล้วนยกย่องสตาลินและรุสเซยเป็นผู้นำและเป็นเจ้าลัทธิ ทุกคนคิดไปในแนวเดียวกันกับรุสเซย ผู้ใดคิดนอกลู่นอกทางย่อมประสบวันจุดจบของความก้าวหนาในหน้าที่การงาน ประเทศใดคิดนอกรีตนกอรอยย่อมจะอยู่ในสังคมคอมมิวนิสต์ไม่ได้ โดยตัวบุคคลแล้ว สตาลิน จึงเป้ฯเครื่องมือสำคัญในการควบคุมบรรดารัฐบริวารที่ได้ผลดียิ่งนัก
- การควบคุมตนเองอย่างเป็นอิสระรุสเซียสามารถใช้กรรมวิธีนี้อย่างได้ผลยิ่ง เพราะรัฐบริวารล้วนนับถือเกรงกลัวสตาลิน ความเป็ฯสตาลินทรงอิทธิพลพอที่จะทำให้รัฐบริวารควบคุมตนเองได้โดยไม่ต้องมีรุสเซียบังคับควบคุมโดยตรง แม้เพียงคำพูดเปรย ๆ หรือแสดงทีท่าให้ปรากฎ หรือบทความในหน้าหนังสือพิมพ์ “ปราฟด้า” ก็เพียพอที่จะทำให้รัฐบริวารรับปฏิบัติตนให้เป็นที่ประสงค์ของรุสเซีย การกระทำบางครั้งแม้รุสเซียมิได้สั่งหรือขอร้องให้ปฏิบัติ รัฐบริวารเป็นฝ่ายปฏิบัติเองด้วยความเต็มใจเพราะคาดหมายว่าเป็นการกระทำที่รุเซียประสงค์และปฏิวัติการเป็นอิสระด้วยตนเองเพื่อความพอใจของรุสเซีย รัฐบริวารจะปกครองประเทศโดยคำนึงถึงความชอบไม่ชอบและนโยบายความพใจของรุสเซียเป็นหลัก รุสเซียไม่จำเป็นต้องควบคุมโดยออกคำสั่งหรือบีบบังคับแต่อย่างใด ความเป็ฯสตาลินมีอำนาจเพียงพอที่จะควบคุมรัฐบริวารได้ดีอยู่แล้ว นแดจากควบคุมรัฐบริวานในระดับสูงแล้ว ความเป็นสตาลินยังมีอิทธิพลแผ่ครอบคลุมถึงประชาชนทั่วไปด้วยโดยวิธีต่อไปนี้
      .. การปลูกฝั่งจิตสำนึกที่ผู้กัพนะป็นพันธกรณ๊ต่อรุเซ๊ย การศึกษาทุกระดับของรัฐบริวารละการเผยแพร่วัฒนธรรมรุสเวียล้วนเป็นสื้อสำคัญในการปลูกฝังจิตสำนึกของประชาชนให้ผูกพันเป็นพันธกรณีต่อรุสเซียให้ถือว่ารุสเซีย คือปิตุภูมิของลัทธิสังคมนิยม รุสเซย มีทัศนคติที่ดีต่อรุสเซียและนิยมรุสเซีย
     .. การเทอดทูนบูชาสตาลินว่าเป็นปูชนียบุคลประหนึ่งเทพสตาลิน คือ เจ้าลัทธิและเจ้าโลกคอมมิวนิสต์ สตาลิน คือผู้เสียสละเพื่อโลกคอมมิวนิสต์ สตาลินคือผุ้ชุบชีวิตยุโรปตะวันออกให้รอดพ้นจากภัยนาซี สตาลิน คือผุ้ประสบความสำเร็จในการปฏิวัติรุสเซ๊ยสู่ระบอบสังคมนิยม สตาลิน คือผู้สร้างสถาบันหลักของประเทส ที่สำคัญคือสถาบันการเมืองการปกครอง แบบอย่งของสตาลินทุกด้านคือแบบอย่างที่ทุกรัฐบริวารและชายยุโรปตะวันออกพึงเจริยรอยตาม ตามอาคารสถานที่ร้านค้า สถานที่ราชการและอาคารบ้านเรื่อน ตลอดจนสถานที่สาธารณะ ถนนนหนทางสถานีรถไฟ สนามบิน เป็นต้น ล้วนมีภาพโปสเตอร์หรือภาพ่ถ่านสตาลินขนาดต่าง ๆ ติดตั้ง และมีรูปปั้นสตาลินแบบต่าง  ๆ ตั้งอยู่ทั่วไปชื่อสตาลินเป็นชื่อของสรรพสิ่งสรธารณะในสังคม การชุมนุมสมาคมทุกประเภทของชายุโรปตะวันออกล้วนแสดงความนิยมสตาลินและสดุดีสตาลินอย่างสูงสุด
     การควบคุมทางการเมือง รุสเซียสามารถควบคุมการเมืองของยุโรปตะวันออกได้โดย
- การปรึกษาหารือ เมือเกิดปัญหาความขัดแย้งในความสัมพันธ์ระหว่งรุสเซียกับรัฐบริวาร หรือเมือเกิดปัญหาใดในรัฐบริวาร ที่อาจกระทบกระเทือนผลประโยชน์ของรุสเซย สตาลินจะเรียกตัวคณะผู้บริหารระดับสูงไปพบสตาลินเป็นการส่วนตัวเพื่อปรึกษาหารือกัน แต่โดยความเป็นจริงแล้ว เป็นการพบสตาลินเพื่อรับฟังคำสั่ง คำแนะนำคำเตือนหรือคำขู่ อย่างใดอย่างหนึ่ง อนึ่ง แม้สตาลินจะให้ผุ้นำรัฐบริวารเข้าพบและมีผุ้นำรัฐบริวารอื่น ไ ร่วมด้วย แต่สตาลินจะให้พบตนที่ละคณะหรือที่ละคน และจะอ้างง่า ผู้นำอื่น ๆ ห็นชอบด้วยกับรุสเซียแล้วที่จะให้รัฐนั้น ๆ ปฏิบัติตาม สตาลินไม่เปิดโอกสให้ทุกฝ่ายพบเพื่อประชุมร่วมกันกับสตาลิน เพื่อป้องกันการรวมตัวกันสร้างแรงกดดันต่อสตาลินในการกำหนดวินิจฉัยสั่งกา และป้องกันมิให้รัฐบริวารมีสิทธิร่วมการกำหนดวินิจฉัยสังการด้วย
- เอกอัครราชทูตรุเซียประจำรัฐบริวาร ทูตรุสเวียมีหน้าที่อ่นที่สำคัญกว่าหน้าที่ทูตทั่วไป คือ การควบคุม กำกับดูแลรัฐบริวารและรายงานสถานการณ์รอบด้านอย่างสม่ำเสมอต่อรุสเซียเมื่อเกิดสถานการณ์ร้ายแรงขึ้น ทูตมีอนำนาจหน้าที่สั่งการคณะผู้นำระดับสูงของรับบริวาร เป็นการแทรกแซงกิจการภายในรัฐนั้น ๆ โดยตรง แม้จนถึงการอยู่เบื้องหลังการแย่งอำนาจในแวดวงผุ้นำของรัฐบริวารนั้น ในกรณีที่ไม่มีการเรียกตัวไปพบสตาลินเพื่อปรึกษาหารือ ทูต คือ ผู้ถ่านทอดคำสั่งสตาลินมาให้คณะผู้นำของรัฐบริวารเพื่อให้แก่ไปญหาสถานการณ์ อาจจะกล่วได้ว่า ทูต คือผู้ที่ “เป็นหูเป็นตา”ให้แก่รุสเซีย
- ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระดับพรรค รุสเซียอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งโยกย้ายถอดถอนคณะผุ้นำพรรค ผุ้ดำรงตำแหน่งระดับสูงต้องเป็นบุคคลที่รุสเซียไว้วางใจแล้วเท่านั้นคื อเป็นผุ้ที่จงรักภักดีต่อรุสเซีย หรือเป็นผุ้ที่เคยทำงานใกล้ชิดกับรุสเซียมาก่อน ข้าราชการรุสเซียระดับสูงดำรงตำแหน่งสูงในวงราชการและพรรคของรัฐบริวาร เมือเกิดเหตุอันใดขึ้น ผู้นำพรรคระดับสูงของรุสเซียจะไปเยือนเพื่อกำกพับดูแลการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ เมื่อรุสเซียมีการเปลี่ยนนโยบายอันใดที่เกี่ยวข้องกับรัฐบริวาร ก็ถ่ายทอดคำอธิบายฝ่ายทูตหรือให้ผุ้นำระดับสูงของตนเป็นผู้ไปเยื่อนรัฐนั้น ๆ เพื่อชี้แจงนโยบาย
      การแทรกซึมกลไกอำนาจรัฐ รุสเซียเข้าควบคุมกลไกอำนารัฐระดับสูง โดยเฉพาะประเภทที่เป็นเครื่องมือสำคัญทางการเมือง คือ กระทรวงกลาโหมมหาดไทย การศึกษา สารนิเทศ กองทัพ ตำรวจ กองกำลังในรูปแบบอื่น ๆ รุสเซยจะเควบคุมโดยผ่านการแต่งตั้งข้าราชการรุสเซียหรือชาวรุสเซียให้ดำรงตำแหน่งระดับสูงของกลไกอำนาจรัฐนั้น ๆ หรือโดยการมีที่ปรึกษารุสเซยควบคุมแลกำกับดูแล ทุกกลไกอำนาจรัฐมีการเชื่อมต่อประสานงานกับรุสเซีย กลไกควบคุมที่สำคัญหนึ่งคือ ตำรวจลับโครงสร้างตำรวจลับเน้นการปกครองตนเองเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อรัฐบริวารประเทศตน แต่ขึ้นต่อรุสเซีย แม้แต่กองทัพของรัฐบริวารเอง รุสเซียก็ไม่มีนโยบายส่งเสริมการสสร้างกำลังรบให้แก่รัฐบริวาร หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพส่วนใหญ่สลายกำลังพล หรืออ่อนแอลง กองทัพไม่มีงบประมาณจะพัฒนากองทัพให้ทันสมัย รุสเซียได้กำจัดนายทหารระดับสูงที่ไม่นิยมรุสเซยและเป็นปฏิปักษ์ต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ออกจากกองทัพ ตำแหน่างระดับสูงในกองทัพและตำรวจล้วนเต็มไปด้วยบุคคลที่นิยมรุสเซียหรือเป็นาวรุสเว๊ยโดยตรง
     การควบคุมทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจของแต่ละรัฐต้องเข้าร่วมระบบเศรษฐกิจของกลุ่มรัฐบริวาร คื อต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเพื่อประโยชน์สุขของโลกคอมมิวนิสต์โดยส่วนรวม แต่โดยเนื้อแม้แล้ว เพื่อประโยชน์สุขของรุสเซียเองมากกว่า ความสัมพันธ์กันทางเศรษฐกิจขึ้นอยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์แบบทวิภาคีและการอยู่ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยจากภายนอกโดยตรง ในระยะแรกรุสเซียได้เอาเปรียบระบบเศรษฐกจิของรัฐบริวารในด้านต่อไปนี้
- การเรียกค่าปฏิกรรมสงครามจารัฐบริวารที่เคยเป็นฝ่ายอักษะ คือ ฮังการี รูเมเนีย ลัลแกเรียและเยอรมันตะวันออก และตั้งตนเป็นผู้แทนของรัฐบริวารในการเรียค่าปฏิกรรมสงคราม
- การกำหนดราคาพิเศษของสินค้าและบริการ รุสเซียมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับรัฐบริวาร รุสเซยเป็ฯผุ้กำหนดระเบียบข้อบังคับการค้าและกำหนดราคาพิเศษของสินค้า และบิรการที่เป็นประโชน์แก่รุสเซียเอง
- เมื่อรุสเซียยึดครองดินแดนส่วนใดของยุโรปตะวันออกรุสเซยจะรื้อถอนสรรพสิ่งของเยอมันอันมีมูลค่าทางเศรษฐกิจกลับประเทศของตน
- การจัดตั้งบริษัทร่วมหุ้น รุสเซียถือหุ้นร้อยละ 50 และรุสเซียจะถือห้นในลักษณะที่นำทรัพย์สินส่วนที่ยึดได้เป็นทุน
- การค้าท้งปวงให้ถือระบบเงินตราสกุลรุสเซีย ซึ่งเริ่มใช้ในปี 1950
- ในเดือนมกราคม รุสเซยเป็นผุ้นำฐบริวารในการจัดตั้งสภาความช่วยเหลือร่วมกันทางเศรษฐกิจ หรือที่เรียกว่าโคเมคอน เพื่อร่วมกันพีฒนาเศรษฐกิจ ประสานการค่าในกลุ่ม โดยเฉพาะกับรุสเซีย และเน้นหนักการพัฒนาอุตสาหกรรมทหาร
     สตาลินคือผุ้ตั้งระบบระหว่งรัฐขึ้นและต่อมา ระบบระหว่างรัฐเช่นนั้นได้มีการพัฒนาไปภายใต้ความดำริเห็นชอบของผุ้นำรุสเซียรุ่นต่อไป แต่ลักษณะแท้ของระบบแบบสตาลินมิได้เปลี่ยนแปลง มีเพียงวิธีการที่ปรับให้สอดคล้องกับสถานการเท่านนั้น
     ภัยคอมมิวนิสต์ที่คุกคามระหว่าง 1945-1948 และการที่ยุโรปตะวันออกตกเป็นรัฐคอมมิวนิสต์บริวารของรุสเซีย แสดงให้เห็นว่า รุสเซียได้ดำเนินนโยบายแผ่ขยายอำนาจอาณาเขต เพื่อความเป็นใหญ่ในยุโรป มากว่าจะเพียงแต่ต้องการสร้างแนวป้องกันตนเองเพื่อความมั่นคงดังที่ได้กล่าวอ้างขอความเห็นใจจากมหาพันธมิตร สหรัฐและอังกฤษจึงวิตกภัยรุสเซียมากยิ่งขึ้น และความสัมพันะนธ์กับรุสเซียก็มีแต่เลวร้ายลงไปตามลำดับ เพราะไม่สามารถจะเจรจาตกลงกันได้ในเรื่องการลงโทษฝ่ายอักษะ..

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Korean War


     การที่เกาหลีถูกบรรดามหาอำนาจลิขิตให้แบ่งเป็นสองประเทศตามประเพณีนิยมแห่งการทูตยุคสมันั้น ทำให้การพัฒนาประเทศเกาลหีมีปัญหามาก และขีดคั่นความสามารถในการพัฒนาแตกต่างกันมาก เมือกาลเวลาฝ่านไป เกาหลีเหนือดูจะมีพลกำลังเขม้มแข็งกว่เกาหลีใต้เพราะรุสเซียได้เสริมสร้างกำลังแสนยานุภาพให้เกาหลีเหนือเพื่อยุทธการรบรุก และเป็นเพราะเกาหลีเหนือเองมีแร่ธราตุทรัพยากรและพลังน้ำเหลือเฟือเพื่อการพัฒนา ความเหนือกว่านั้นเองที่ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ใหญ่ที่มีผลมหันต์ต่อเสถียรถาพความมั่นคงของเกาหลี วิกฤตกาณ์เกิดขึ้นด้วยน้ำมือชาวเกาหลีเหนือเองเป็นผู้ยั่วยุก่อน แต่แม้เกาหลีเหนือไม่ปฏิบัติการทางทหารก่อนเกาหลีไต้ก็อาจจะกระทำ เพราะต่างก็รณรงค์ทางการเมืองเพื่อรวมประเทศ
     นโยบายรุสเซียที่จะปฏิวัติเกาหลีเป็นคอมมิวนิสต์ด้วยการเสี่ยงทำสงครามใช้กำลังอาวุทธต่อสู้เพื่อรวมประเทศเกาหลีนั้น เป้ฯนโยบายที่จะมไย่วยุให้เกิดสงครามเผชิญหน้ากับสหรัฐอเมริกา รุสเซียไม่คาดคิดว่าจะมีมหาอำนาจใดแทรกแซงทางทหารในการรวมประเทศซึ่งเป็นกิจการภายในประเทศ การรวมประเทศโดยยุทธวิธีนั้นจะบีบบังคับให้ทั่วโลกต้องตกกระไดพลอยโจนยอมยอมรับการรวมประเทศโดยปริยาย สงครามเกาหลีจึงเป็ฯความพยายามที่จะเปลี่ยนสภานะเดิมด้วยวิธีการต่อสู้โดยใช้กำลังอาวุธ อย่างไรก็ตาม ก็มีผู้วิจารณ์ว่า รุสเซียส่งเสริมให้เกิดสงครามเกาหลีเพื่อเป็นการตอบโต้ที่สหรัฐอเมริกามีที่ท่าจะทำสัญญาสันติภาพกับญี่ปุ่น ความเป็นไปได้ของการที่สหรัฐฯจะเป็นผู้ร่วมมือกันทางทหารกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้รุสเซียสนับสนุนให้เกิดสงครามเกาหลี
     บทบาทของรุสเซียในสงครามเกาหลีค่อนข้องจะเด่นชัด คือเป็นผู้ชีแนะทางการเมือง ให้คำปรึกษาทางทหาร ให้อาวุธยุทโธปกรณ์ ให้ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค ให้นักบิน และดำเนินการทูต “ป้องปราม”โดยข่มขู่ว่าลั่นกลองรบ รุสเซียย่ามใจยิ่งขึ้นเมือสหรัฐอเมริกาประกาศแนวป้องกันน่านน้ำแปซิฟิกที่มิได้รวมถึงเกาหลีใต้ ส่วนเกาหลีเหนือเองมิได้รอช้า ทันที่ที่มหาอำนาจรุสเซียและสหรัฐฯถอนทหารออกจากเกาหลีในปี 1948 เกาหลีเหนือก็วางแผนรวมประเทศ เดือนมกราคม 1950 รุสเซียเปิดไฟเขียวให้เกาหลีเหนือและรุสเซียหนุนช่วยเกาหลีเหนือโดยเตรียมพร้อมทางการเมืองและการทหาร อาวุธยุทโธปกร์รุสิว๊ยได้หลั่งไหลเข้าสู่เกาหลี่หนือโดยผ่านแมนจูเรีย พร้อมกันนั้นจีนส่งมอบกำลังทหารเกาหลี่ที่ส่งไปช่วยจีนต่อสู้ในแมนจูเรียคือแก่เกาหลี
      ในเดือนมิถุนายน 1950 เกาหลีเหนือรุกเกาหลีใต้ชนิดสายฟ้าแลบ และมีทีท่าจะสำเร็จผล หากแต่องค์กรสหประชาชาติเข้าขัดขวางเสียก่อน การแทรกแซงทางการทหารขององค์การนั้นเป็นปัจจัยสคัญที่รุเซียและเกาหลี่เหนือมิได้คาคการณ์มาก่อน
    นายพลแมคอาเธอร์กล่าวข่มขู่จีน ว่าจะมีการขยายสงครามข้ามแม่น้ำยาลู โจมตีทำลายแมนจูเรียทางอากาศ ปิดล้อมจีนด้วยกำลังแสนยานุภาพทางทะเล และจะสนับสนุนให้จีนชาตินิยมยกพลขึ้นบกแผ่นดินใหญเพื่อล้มระบอบคอมมิวนิสต์ คำแถลงท้าทายยั่วยุจีนเช่นนั้นจะมีผลยั่วยุให้รุสเว๊ยถูกภาวะบีบบังคับจำยอมให้ต้องเผชิญหน้ากับสหรัฐอเมริกาอย่างหลีแหลี่ยงมิได้ สหรัฐอเมริกาจึงพิจารณาเห็นว่าการขยายสงครามเข้าสู่แผ่นดินใหญ่จีนจะทำให้ “เราจะต้องเผชิญกับการทดแทนสองเท่า เนื่องจากปักกิ่งและมอสโกเป็นพัมธมิตรกันตามสนธิสัญญาและตามความผูกพันทางอุดมการณ์ ถ้าเราโจมตีจีนคอมมิวนิสต์ เราจะต้องเผชิญกับการที่รุสเซียจะเข้าแทรกแซงทางทหาร”อีกทั้งขณะนั้น กองทัพสหประชาชาติเองสามารถผลักดันทหารจีนอาสาสมัครและเกาหลีเหนือพ้นเส้นขนานที่ 38” ไปแล้วเกาหลี่ใต้ปลอดภัยแล้ว กองทัพสหประชาชาติจึงไมมีความจำเป็นที่จะต้องขยายสงครามอันจะเป็นการก่อเกิดวิกฤติการณ์ที่ใหญ่หลวงมากในเอเซยตะวันออก แผนของแมคอาเธอร์จึงเป็นอันมิได้นำไปปฏิบัติแต่มิได้หมายความว่าสงครามจะยุติลงได้
     ทั่วโลกเริ่มแสดงความคิดเห็นที่จะให้สงครามยุติ แต่จะยุติโดยวิธีใดและโดยเงื่อนไขใดเท่านั้นที่ยังเป็นข้อควรคิด จีนปรารถนาที่จะยุติสงคราม แต่ต้องการจะปฏิบัติการทางทหารให้ได้ตัวเมืองโซลก่อนเพื่อใช้เป็นเครื่องต่อรองในการเจรจายุติสงคราม การรบรุกในเดือนเมษายนและพฤษภาคมเพื่อจะรุกข้ามเส้นขนานที่ 38 ล้มเหลว แต่ไม่มีฝ่ายใดมีชัยชนะโดยเด็ดขาดเช่นกัน ต่างได้รบความเสียหายอย่างหนัก สงครามเกาหลีมีทีท่าจะกลายเป้นสงครามยือเยื้อควรแตการวิตกสำหรับคู่สงครามและมหาอำนาจที่เกี่ยวข้อง
     ท่ามกลางความแตกแยกของวงการเมืองโลก เกาหลีได้กลายเป็นเหยืออธรรมเสมือนลูกไก่ในกำมือมหาอำนาจที่จะบีบก็ตาย จะคลายก็รอด เกาหลี่คือกรณีพิพาทอันร้อนแรงที่เปิดฉากสงครามเย็นในเอเซีย กรณีพิพาทนั้นยือเยื้อยากที่จะยุติได้ ทั้ง ๆ ทมี่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตระหนักดีว่ามีอันตรายใหญ่หลวงในการที่สงครามยืดเยื้อโดยปราศจากจุดจบเช่นนั้น รุสเซียตระหนักถึงภัยมหันต์นั้นได้ดี ณ ที่ประชุมสภาสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์รุสเซีย รุสเซียเปลี่ยนแปลงนโยบายจากเดิมเสียงสงครามาเป็นการฝ่านอคลายความตึงเครียด เพื่อหลีกเลื่ยงการเผชิญหน้ากับฝ่ายโลกเสรีอันจะเป็นประโยชน์แก่สถียรภาพความมั่นคงของรุสเซียเอง โดยผลพลอยได้ก็จะตกแก่จีนและเกาหลีรุสเซียได้เป็นฝ่ายริเริ่มการเจรจาสันตุภาพตั่งแต่เดือนกรกฎาคม เมือถึงปีต่อมาดังกล่าวการเจรจารุดหน้าไปมาก แต่หาข้อยุติมิได้ในประเด็นสำคัญคือ การแลกเปลี่ยนเชลยศึก องค์การสหประชาชาติยึดหลักการแลกเปลี่ยนแชลยศึกโดยความสมัครใจของเชลยศึก องค์การสหประชาชาติยึดหลักการแลกเปลี่ยนเชลยศึกโดยความสมัครใจของเชลยศึกเอง แต่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ ยึดหลักการแลกเปลี่ยนเชลยศึกโดยมิต้องคำนึงถึงความสมัครใจของเชลยศึก ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่าประมาณร้อยละ 70 ของเชลยศึกจีนและเกาหลี่เหนือแสดงความประสงค์ที่จะไม่กลับคนประทเศของตนถ้ายินยอมตามเช่นนั้น ทั่วดลกย่อมจะเล็งเห็นว่า ระบอบคอมมิวนิสต์มิได้มีคุณวิเศษแต่อย่างใดดังที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้เพรียรโฆษณาชวนเชื่อเสมอมา ฝ่ายคอมมิวนิสต์จึงไม่ยินยอมโดยเด็ดขาด
      เมื่อการเจรจาหยุดชะงักลง สหรัฐอเมริกาได้ขู่ที่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์เพื่อข่มขวัญและบีบบังคับให้ฝ่ายคอมมิวนิสต์ยอมอ่อนข้อ สหรัฐอเมริกาได้ข่มขู่ว่าจะโจมตีแม่น้อยาลูทางอากาศ เป็นเหตุให้จีนกับรุสเซียต้องหันหน้าเข้าหากันเพื่อปรึกษาว่าควรตอบโต้อย่างไรดี ทั้งนี้และทั้งนั้น ความปริวิตกของสองปรเทศมิได้เกิดจากความห่วงกังวลในความมั่นคงของเกาหลีเหนือ และความปรารถนาของสหรัฐอเมริกาที่จะยุติสงครามก็มิได้เกิดจากความต้องการที่จะปกป้องเกาหลีเหนือ และความปรารถนาของสหรัฐอเมริกา ที่จะยุติสงครามก็มิได้เกิดจากความต้องการที่จะปกป้องเกาหลีใต้เพียงประการเดียว ทั่วโลกเบื่อสงครามเกาหลีมาก สงครามนั้นไม่เป็นที่ต้องการของฝ่ายใด การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดยได้นายพลไอเซนฮาวรร์เข้าดำรงตำแหน่งมีผลต่อชะตากรรมเกาหลีหย่างมาก ประธานาธิบดีคนใหม่ได้เร่งรัดให้จีนรับข้อเสนอยุติสงครามของฝ่ายองคก์การสหประชาชาติ โดยข่มขู่ว่าจะใช้อาวุธนิวเคลียร์ ถ้าจีนยังบิดพริ้วไม่ยอมยุติสงคราม การข่มขู่นั้นได้ผลมาก จีนเร่งรุดเจรจากับสตาลินในปี 1953

วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

38th Parallel


      ชะตากรรมเกาหลีถูกผูกพันอยู่กับลักษณะที่ตั้งของตนเอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ดฝดยที่เกาหลีอยู่กึ่งกลางระหว่างจีน ญี่ปุ่นและรุสเซีย ทำให้เกิดความพิบัติจากสงครามวามขัดแย้งและความแตกแยกอย่างรุนแรงในคาบสมุทรเกาหลี ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาหลีก็ยังคงแบ่งแยกด้วยเหตุผลทางการเทหารเพื่อสะดวกแก่การปอดอาวุธญี่ปุ่น รุสเซียปลดอาวุธในภาคเหนือ สหรัฐฯปลดอาวุธในภาคใต้
      ในที่ประชุมที่ไคโร ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า “เกาหลีจะเป็นอิสระและเป็นเอกราชในเวลาอันสมควร ความนั้นสะท้อนหลักการว่าด้วยการกำหนดวินิจฉัยด้วยตนเอง แต่ก็สะท้อนว่า ปัญหาเกาหลีเองเป็นเรื่องที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้และความนั้นแสดงความไม่แน่ใจของมหาพันธมิตรต่อเกาหลีเองว่า เกาหลีควรจะปกครองตนเองด้วยระบบใด เมื่อหาข้อยุติมิได ประเด็นเกาหลีก้ต้องถูกกำหนดให้แก้ไขด้วยวิธีการชัวคราวก่อนคือ การปลดอาวุธญย๊ปุ่นซึ่งการตกลงนี้เป็นการตกลงทางการทหาร และกลายเป็นข้อตกลงทางการเมืองในที่สุด



     ในการปลดอาวุธญี่ปุ่นรุสเซียได้ส่งทหารเข้าภาคเหนือของเกาหลีเพื่อปลดอาวุธญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาส่งทหารเข้าภาคใต้ ปัญหาเกาหลีของเกาหลีได้มาถึงจุดที่จะต้องตัดสินใจแก้ไขกันอีกวาระหนึ่ง อังกฤษ รุสเซย จีนและสหรัฐอเมริกา ได้ตกลเห็ฯชอบที่จะให้เกาหลี่อยู่ภายใต้การดูแลของนานาชาติ คือภายใต้ภาวะทรัสตี้ต่มา ปที่ประชุมเมืองมอสโก บรรดารัฐมนตรีว่าการต่างประเทศได้ตกลงเห็นชอบที่จะให้สหรัฐอเมริกาและรุสเซียตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อดำเนินการสร้างระบบการปกครองให้แก่เกาหลีภายใต้ภาวะทรัสตี้ของนานาชาติ แต่ปรากฏว่าชาวเกาหลีเองไม่เห็นด้วย และรุสเซียเองมีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะควบคุมเกาหลีด้วย ทำให้การดูแลเกาหลีโดยนานาชาติไร้ความหวัง อย่างไรก็ตามตามคำบงการของสหรัฐและรุสเซียเกาหลีถูกแบ่งโดยปริยาย เส้นขนานที่ 38 กลายเป็นเส้นการเมืองในปี 1946 เป็นต้นมา การรวมประเทศและการให้นานาชาติดูแลเกาหลีสิ้นสุดหนทางที่เป็นไปได้
     สู่การแบ่งแยก
ภาคเหนือ รุสเซียมีจุดประสงค์ที่จะสถาปนาเกาหลีเป็นรัฐคอมมิวนิสต์และได้เป็นปู฿ชี้แนะแนวทางให้พรรคคอมมิวนิสต์เกาหลีจัดตั้งรัฐแบบโซเวียตขึ้นในภาคเหนือ ในทุกระดับของการปกครองโดยบรรดาคณะกรรมการแงประชาชาติ องค์ประกอบคอมมิวนิสต์ได้มีบทบาทสำคัญควบคุมไว้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นระดับเทศบาล ระดับเมืองง หรือระดับมณฑล พรรคการเมืองมากมายได้ถูกส่งเสริมให้จัดตั้งขึ้นเพื่อระดมกรรมกรชาวนา ยุวชนสตรีเป็นต้น ให้ออกมามีบทบาทอยู่ในแนวหน้าระดับชาติ พฤติกรรมของรุสเซียเช่นนั้นย่อมทำให้ความหวังของชาวเกาหลีที่จะเห็นการรวมประเทศสิ้นสุดลง จะเห็นได้ว่า มีการจัดการเลือกต้งขึ้น ตามติดด้วยการจัดตั้งประชุมของคณะกรรมการแห่งประชาชาติที่เมืองเปียงยางในเดื่อนกุมภพันธ์ ผลการประชุมคือ การจัดตั้งสภาแห่งประชาชาติ ซึ่งทำหน้าที่เลือกคณะกรรมการแห่งประชาชาตให้ปกครองประเทศชั่วคราว พรรคคอมมิวนิสต์ดำเนินการผลปลุกระดมมวลชนและปูกฝังอบรมลัธิแก่ประชาชน ที่ปรึกษาของรุสเซียได้ขชี้นำกองกำลังกึ่งทหารแห่งปราชาติ ซึ่งเป็นกำลังสนับสนุนพรรคโดยตรง
     ในชนบทพรรคคอมมิวนิสต์ได้จัดตั้งมวลชนอย่างกระตือรือร้น โดยมาในรูปของการปฏิรูปที่ดิน อันได้แก่การริบที่ดินแล้วจัดสรรที่ดินใหม่ให้แก่ชาวนา ในตัวเมือง มีการโอนกิจการอุตสาหกรรมเป็นของรัฐและวางแผนเศรษฐกิจแห่งชาติ แม้แต่พรรคคอมมิวนิสต์ก็ต้องผ่านการจัดตั้งใหม่ตั้งแต่ระดับบนลงล่างโดยที่แน่นอนที่สุดว่า รุสเซียย่อมครอบงำพรรคที่เกาหลีไม่มีหนทางเลือกเป็นอื่นไปได้
     ภาคใต้  บทบาทสหรัฐอเมริกาในภาคใต้ก็มิได้น้อยหน้าไปกว่ารุสเซียเช่นกัน สหรัฐอเมริกาได้พยายามพัฒนาเกาหลีใต้ แต่ความยุ่งยากลำบากและลักษณะปัญหาอันสลับซับซ้อนต่าง ๆ ทำให้สหรัฐอเมริกาไม่พร้อมที่จะเข้าพัฒนาเกาหลีได้อท่าไดนัก  สหรัฐอเมริกาจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลขึ้น รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการแห่งประชาชาติระดับท้องถิ่นขึ้นทั่วภาคใต้เพื่อให้ช่วยธำรงไว้ซึ่งความสงบสุขและระเบียบแบบแผน  และ ได้ประกาศสถาปนาสาธารณรัฐแห่งประชาชาติเกาหลี เป็นการประกาศจัดตั้งระบอบการปกครองแต่ในด้านการเศรษฐกิจยังมีปัญหามากพอควร
     เมื่อสหรัฐฯยึดครองเกาหลีได้นั้น สหรัฐอเมริกาได้เผชิญปัญหาว่า เศรษฐกิจเกาหลีระหว่างที่เป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นผูกมัดไว้กับญี่ปุ่นมาก เมื่อเป็นเอกราชแล้วและไร้การผูกพันกับญี่ปุ่น เศรษฐกิจได้ประสบความยากลำบากมาก การบูรณะปฏิสังขรณ์มิได้เป็นภาระกิจง่ายแต่อย่างใดสหรัฐอเมริกาต้องจัดระบบระเบียบใหม่ให้แก่เกาหลีไต้ ในเดือนธันวาคม สหรัฐอเมริกาสนับสนุนให้มีระบบนิติบัญญติที่มาจากการเลือกตั้งส่วนหนึ่ง เพือ่อเป็นการสถาปนาการปกครองโดยใช้กฎหมายเปห็นหลักและเป็นพื้นฐานของเสรีภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ สหรัฐอเมริกามีจุดมุ่งหมายที่จะให้เกาหลีได้มีรัฐบาลที่มั่นคงจากการเลือกตั่งก่อนแล้วจึงจะมีการปฏิรูปเศรษฐกิจการปฏิรูปที่ดินได้ล่าช้าออกไป เพราะกระบวนการขอการเมืองเองเป็ฯกระบวนการที่เต็มไปด้วยความคิดอนุรักษ์นิยม
     ฉากการเมืองเกาหลีไดถูกจัดตั้งขึ้นแล้วเป็ฯการเมืองสุดขั้วสองขั้ว ในเกาหลีใต้ ขบวนการปราบคอมมิวนเสต์มีความรุนแรงเหี้ยมโหดมาก พวกที่มีความคิดไม่รุนแรงถูกกีดกันออกไปจากการเมืองเช่นนั้น ดังจะเห็นได้ว่าผู้นำเกาหลีใต้ถูกลอบสังหารในเดือนกรฎาคม 1947 ปัญหาเกาหลีใต้จึงเป็นปัญหามากแก่สหรัฐฯ จนท้านสุด ได้มอบเรื่องเกาหลีใต้ให้อยู่ในความดูแอลขจององค์การสหประชาชาติ องค์การได้ตั้งคณะกรรมาธิการเพื่ดำเนินการรวมประเทศและการจัดตั้
การเลือกตั้ง การมีรัฐบาลเองของเกาหลีใต้ทำให้สหรัฐอเมริกาต้งอยุติการยึดครองเกาหลีใต้ ส่วนในเกาหลีเหนื ได้มีการเลื่อตั้ง ในปี 1948 และประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งประชาชาติเกาหลี ..ตั้งแต่กลางปี 1948 สหรัฐและโซเวียตได้ถอนกำลังทหารออกจากเกาหลี การแบ่งประเทศเป็นที่ยอมรับแล้วว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งสองประเทศได้กลายเป็นตัวแทนของสองลัทธิอุดมการณ์ที่ครอบงำโลกอยู่ในระยะนั้นคื อคอมมิวนิสต์และประชาธิปไตย

วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

stronghold

    บทบาทในโลกตะวันออกยุคใหม่ ลักษณะที่ตั้งช่วยลิขิตชีวิตเกาหลีให้ดำเนินไปในทิสทางตรงกันข้ามกับความปรารถนาของเหลีเอง เกาหลีไม่สามารถจะหลีกหนีตะวันตกที่พยายามล่วงล้ำกำเกินพรมแดนเกินจุดประสงค์ของเกาะหลี โดยลักษณะที่ตั้ง เกาะหลีอยู่บนเส้นทางการสร้างจักรพรรดิระสเซียบนแผ่นินใหญ่อเดซียตะวันออก และโดยลักษณะที่ตั้งอีกเช่นกันที่ทำให้ญี่ปุ่นถือว่าเกาหลีคือปราการด่านแรกของการที่จะมีชาติใดรุกรานญี่ปุ่น และเป็นปราการด่านแรกของการที่ญี่ปุ่นจะสร้างจักรวรรดิบนฝืนแผ่นดินใหญ่เช่นกัน ลักษณะที่ตั้งของเกาหลีนับว่าสำคัญมาก ที่สำคัญมากที่สุดสำหรับจีน เพราะเกาหลีมีแม่น้ำยาลูเป็นพรมแดนธรรมชาติติดกับจีนอริราชศัตรูที่จะรุกรานจีนที่ใกล้ที่สุดเพื่อจู่โจมนครหลวงปักกิ่งและหรือโจมตีแมนจูเรีต้องผ่านเกาหลีก่อน ความสำคัญในด้านที่เป็นจุดยุทธศาสตร์เช่นนั้นเป็นที่ยอมรับมาช้านานตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน หลีหุงจางนักการทูตอาวุโสของจีนได้ย้ำถึงความสำคัญของเกาหลีในแง่ยุทธศาสตร์ไว้ว่า “..เกาหลีมีความสำคัญต่อเรามากในฐานะที่เป็นแนวป้องกันบรรดามณฑลตะวันออก นับถอยหลังย้อนไปสู่เกาหลี ด้วยจุดประสงค์ที่โจมตีเยนชิง จากฐานกำลังแสนยานุภาพมหาศาลมาสู่เกาหลี ด้วยจุดประสงค์ที่จะโจมตีเยนชิง(ปักกิ่ง) จากฐานที่มั่นแห่งคาบสมุทรเหลียวตุง การที่ญี่ปุ่นระกรานเกาหลีจึงเป็ฯมหันตภัยต่อดินแดนเหลียวชิง “
    ลักษณะที่ตั้งของเกาหลีได้ลิขิตให้เกาหลีต้องเผชิญโศกนาฎกรรมครั้งแล้วคร้งเล่าตั้งแต่อดีตจนถึงศตวรรษที่ 20 เกาหลีเปรียบเสมือนแหล่งวังน้ำวนในห้วงมหรรณพที่ดึงดูดให้มหาอำนาจเข้าไปเวียนวนและห้ำหันพิฆาตกันจนอาสัญกันจนอาสัญหลายครั้งหลายครา เกาหลีจึงเป็นเสมือนรัฐในท่านกลางปัยหาระหว่างประเทศเสมอมา มีข้อควรพิจารณามิใช้น้อยว่า เหตุใดมหาอำนาจจึงต้องตัดสินใจทำสงครามด้วเรื่องเกาหลี ซึ่งเป็นประเทศเล็ก ๆ รุสเซียสนใจเกาหลี เพราะต้องการเมืองท่าของเกาหลีในเขตอากาศหนาวอบอุ่นแทนไซบีเรียของตนที่หนาวเย็นเป็นน้ำแข็งไม่เหมาะแก่การสร้างเมืองท่า ญี่ป่นสนใจ เพราะเกาหลีเสมือนประการด่านแรกให้อริราชศัตรูรุกรานญี่ปุ่นได้โดยง่าย ดังที่ญี่ปุ่นได้เปรียบเปรยเสมอว่า เกาหลีนั้นคือ “กรชที่หมายมุ่งตรงสู่หัวใจ”แต่ในขณะเยวกัน เกาหลีคือบนไดขั้นที่  สำหรับญี่ปุ่นในการสร้างจักรวรรดิ ในสายตาของจีน ชนชั้นปกครองของเกาหลีมีสิทธิปกครองประเทศ  เพราะจีนรับรองให้อำนาจอาญาสิทธิ เกาหลีเองยอมรับความเหนือกว่ายิ่งใหญ่ของจีน และถ่อมตนเป็นประเทศราชด้วยความเต็มใจเพราะมีความนับถือยำเกรงในความเหนือกว่า ยิ่งใหญ่หว่าของจีนมาแต่แรกแล้ว ดังจะเห็นได้ว่า เกาะหลีได้ถวายเครื่องราชบรรณาการอย่างสม่ำเสมอ และยอมรับนับถืออารยธรรมจีนมาก เครื่องพิสูจน์สำคัญคือการที่เกาะหลีได้ใช้ระบบปฏิทินจีน ความสัมพันธ์อันแนบแน่นโดยมีลักณะกาเมหืองเศรษฐกิจและวัฒนธรรมอันยาวนานเช่นนั้นเป็นความสัมพันธ์ที่จีนเองแสดงอำนาจอาญาสิทธิเหนือเกาหลีโดยที่ เกาหลีเองไม่เคยแสดงความเต็มใจที่จะซือตรงจงรักภักดีต่อจีน แต่กระนั้น ความสัมพันธ์ลักษณะนั้นได้สะท้อนถึงการทีจีนแสดงความสัมพันธ์อันเป็นตัวอย่างคดีนิยมที่ว่า ประเทศใหญ่กว่าเข้มแข็งกว่าย่อมรักใคร่ประเทศที่เล็กกว่า ประเทศเล็กต้องแสดงความนอบน้อมถ่อมตน ความสัมพันธ์ดังกล่าวได้เปิดโอกาสให้เกาหลีปกครองตนเองเป็นอิสระได้และมีความสัมพันธ์กับโลกภายนอก จีนจะเกี่ยวข้องเฉพาะเมือเกาหลีถูกรุกรานเท่านั้น
     เมื่อเกาหลีอยู่ภายใต้การปกครองจน เกาหลีไม่สนใจการค้าระหว่าประเทศ เกาหลีพึงพอใจกับการปิดประเทศอยู่โดดเดี่ยวมากกว่า ภาวะอยู่โดดเดี่ยวเองนั้นมีพื้นฐานอยู่ที่ความหวาดกลัวซึ่งบังเกิดขึ้นเมือเกาหลีถูกญี่ปุ่นรุกราน และเกาหลีรู้สึกตนมั่นคงปลอดภัยอย่างแท้จริงเฉพาะเมือได้อยู่อยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารแห่งจักรพรรดิจีนเท่านั้น และไม่ต้องการสมาคมกับประเทศใด แม้แต่การติดต่อเพื่อประโยชน์ทางการค้าเกาหลีก็ไม่ปรารถนาด้วยเชื่อมั่นว่า เกาหลียากจน ถ้าติดต่อค้าขายกับโลกภายนอก จะทำให้สินค้าทรัพยากรธรรมชาติหลังไหลออกนอกประเทศ ราคาสินค้าจะขึ้นสูงเพราะสินค้าขาดแคลนในท้องตลาด ผุ้คนจะตกยากมาก เกาะหลีจะตกอยู่ในสภาวะอ่อนแอได้ เกาะหลีจึงเชื่อว่าตนเองไม่มี
ประสบการณ์ พื้นฐาน และภูมิหลังทางเศรษฐกิจเพื่อจะติดต่อค้าขายกับใครได้ อีกทั้ง เศรษฐกิจเพื่อความดำรงคงอยู่เรียบง่ายไม่สามารถาจะทำให้ประชารชนมีกิเลสใคร่ได้สินค้าใด อันจะนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิดการซ์อขายได้ เกาหลีจำกัดการค้าไว้กับจีนเท่านั้น ญี่ปุ่นเองก็มีสถานีการค้าอยู่ที่เมืองปูซาน
     ในต้นศตวรรษที่ 19 ชาวตะวันตกได้เรียกร้องของติดต่อค้าขายและมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลี แต่ไร้ผล การก่อเหตุวิวาทกันตามชายฝั่งทะเลเป็นเหตุปกติวิสัย เกาหลีกำหนดนโยบายปฏิบัติต่อชาวตะวันตกไว้ชัดเจนว่า จะให้ความข่วยเหลือเรือที่อัปปาง แต่ปกป้องมิให้ชาวตะวันตกกล้ำกรายเกาหลีได้ และมักผลักดันให้ออกไปให้พ้นชายฝั่งตนเมื่อชาวตะวันตกของเจรจาด้วยเกาหลียืนกรามแข็งขันมากที่จะไม่เจรจาอันใดด้วย และไม่ยินยิมค้าขายด้วยทรรศนะเช่นนั้นเป็นที่พึงพอใจสำหรับจีนมาก จักรพรรดิจีนได้เคยตรัสแก่ชาวอังกฤษว่า จีนไม่สามารถจะเปิดประเทศเกาหลีให้ติดต่อค้ากับใครได้ เพาะเกาหลีมิได้เป็นส่วนหนึ่งของจี แต่ในขณะเดียวกัน จีนก็ย้อำว่าเกาหลีให้ติดต่อค้ากับใครได้ เพราะเกาหลีมิได้เป็นส่วนหนึ่งของจีน แต่ในขณะเดียวกัน จีนก็ย้ำว่าเกาหลีเปิดประเทศเองมิได้เช่นกัน เพราะเกาหลีมิได้เป็นประเทศที่มีเอกราชอำนาจอธิปไตย หลักการของจีนต่อประเทศราชเยี่ยงอย่างเกาหบีได้แก่ การที่เกาหลมีอิสระในการปกครองตนเองแต่จีนมีอำนาจอธิปไตย เหนือเกาหลี หลักการปกครองตนเองโดยอิสระไม่ขัดแย้งแต่อย่างใดกับหลักการอำนาจอธิปไตยที่จีนมีเหนือเกาหลี
     จีนได้กำหนดนโยบายต่อเกาหลีไว้ว่า จีนปรารถนาที่จะให้เกาหลียังดำรงตนเป็นประเทศราชของจีน และต้องการให้เกาหลีมีสถานะเหมือนเดิมทุกประการเพื่อความมั่นคงของจีนเอง จีนไม่ปรารถนาที่จะให้กาหลีเปลี่ยนแปลงอันอาจจะทำให้จีนต้องผูกมัดตนเองเข้าช่วยเกาหลีดังอดีต จีนจึงปรารถนาที่จะให้เกาหลีไม่มีเหตุพิพาทอันใดกับตะวันตก แต่จีไม่สามารถที่จะบงการมหาอำนาจตะวันตกให้ใฝ่สันติต่อเกาหลีได้ โดยสรุป จีนมีนดยบายไม่แทรกแซงกิจการภายในของเกาหลี และไม่แทรกแซงทางทหารเพื่อำนาจผลประโยชน์ที่พิสูจน์ได้ดีว่าอันตรายยิ่งต่อจีน จีนต้องการรักษาสถานะเดิมของเกาหลี ดังนั้น สงครามต้องไม่อุบัติขึ้นอันจะเปลี่ยนแปลงสถานะเดิมของเกาหลี แต่ในขณะเดียวกัน การที่จีนพยายามดำรงตนเป้นกลางโดยยับยั้งข้อพิพาทระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีนี้นมิได้มหายความว่า จีนจะรับผิดชอบกับพฤติกรรมที่เกาหลีได้ปฏิบัติต่อต่างชาติตามที่เป็นที่คาดหมายกัน และมิได้หมายความว่าจีนจะสามารถควบคุมเหล่ามหาอำนาจได้ตามที่เกาหลีคาดไว้แต่อย่างใด ทังนั้นย่อมประจักษ์ได้จากความขัดแย้งระหว่างเกาหลีกับญี่ปุ่น
     อย่างไรก็ตาม เมือญี่ปุ่นเปิดเกาหลีแล้ว มหาอำนาจอื่นก็ดาหน้ากัน “เบียบเสียดยัดเยียด”เข้าไปในประเทศเกาหลี คคือ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และรุสเซีย เกาหลีสุดที่จะดพเนินการทูตใดได้ ด้วยไม่มีประสบการณ์ในการต่างผระเทศกับนานาประเทศมาก่อน เหาหลีใต้ทำสนธิสัญญากับสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศตะวันตกประเทศแรก กษัตริย์เกาหลีได้ทรงย้ำสถานภาพเกาหลีในพระราชสาสน์ถึงประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาไว้ว่า
     “ในกิจการเกี่ยวกับเกาหลีเป็นเมืองขี้นของจีนนั้น ไม่ว่าจะเป็นคำถามใดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างสองประเทศนั้นอันสืบเหนื่องมาจากการที่เหลีเป็นเมืองขึ้นสหรัฐอเมริกา จักไม่แทรกแซงกิจการภายในในทางใดๆ ทั้งสิ้น”
พระรสาสน์นั้นระบุชัดถึงสถานภาพเกาหลีว่าเป็นเมืองขึ้นของจีน แต่มีความเป็นอิสระในการเจริญพระราชไมตรีกับนานาประเทศบนพื้นฐานแป่งความเสมอภาพกัน จีเองก็ยินยิมเห็นชอบด้วย โดยถือว่าการที่เกาหลีทำสนธิสัญญากับนานาประเทศไม่เป็นการขัต่อหลักการของจีนที่ถือว่า เกาหลีเป็นเมืองขึ้นของจีน
     การเปิดประเทศได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในประเทศเกาหลี กล่าวคือทฤษฎีปรัชญาการเมืองและศิลปวิทยาการตะวันตกได้หลั่งไหลเข้าไปในเกาหลี ที่สำคัญคือ ลัทธินิยมวิทยาศาสตร์และลัทธิชาตินิยม ความเปลี่ยนแปลงถึงขึ้นปฏิวัติได้เกิดขึ้นในแวดวงประชาชนและประเทศชาติ ปัญหาความขัดแย้งที่สำคัญคือ วิธีการพัฒนาเกาหลี หลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มอนุรักษ์นิยมจีนแต่ต่ดต้านตะวันตก อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มหัวก้าวหน้านิยมการพัฒนาชาติตามวิธีการญี่ปุ่นการแบ่งแยกนั้นย่อมเปิดช่องจังหวะโอกาสเหมาะให้จีนและญี่ปุ่นได้แทรกเข้าไปในกิจการเกาหลีได้โดยง่าย
     แรงกดดันของกลุ่มชนต่างชาติกลุ่มต่าง ๆ เกาหลีไม่สามารถจะรวมกันได้ การที่จะขจัดอิทธิพลจีนและประกาศให้เกาหลีเป็นเอกราชนั้นเป็นเรื่องหนึ่งแตกต่างจากการที่จะจัดตั้งการปกครองตามวิถีทางของการสร้างชาติให้เจริญแบบญี่ปุ่น การเมืองในเกาหลีทวีความเช้มชั้นยิ่งขึ้น เมื่อนักปฏิรูปผุ้นิยมญี่ปุป่นถูกลอบสังหารในเขตนานาชาติในเซี่ยงไฮ้ เป็นจังหวะเดียวกันกับที่ญี่ปุนเองประสบความล้มเหลวในการช่วยเกาหลีสร้างชาติให้เจริญแบบญี่ปุ่น โอกาสอำนายเมื่อเกิดเหตุลุกฮือในภาคใต้ โดยพยายามจะล้มราชบัลลังก์ แต่ไร้ผล ต่างฝ่ายต่างขอความช่วยเหลือจากญี่ปุ่นและจีน ผลคือญี่ปุ่นเป็นฝ่ายชนะในสงครามครั้งนี้ ญ่ปุ่นได้คาบสมุทรเหลียวตุงซึ่งเป็นจุดกันชนมิให้จีนและรุสเซียล่วงล้ำพรมแดนเกาหลี แต่ถ้าญี่ป่นเห็นความสำคัญของเหลี่ยวตุง มหาอำนาจอื่นโดยเฉพาะรุสเซียก็เห็นความสำคัญเช่นนั้นด้วยรุเซียได้ยื่นบันทึก “แนะนำ” ญี่ปุ่นให้คืนเหลียวตุงให้แก่จีนญี่ปุ่นตระหนักดีว่าการขอดินแดนเหลี่ยวตุงเป็นความผิดพลาดของตน และจำต้องยินยอมคืนเหลี่ยวตุงให้แก่จีน เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับรัสเซีย ซึ่งมีเยรมันและฝรั่งเศสสนับสนุนอยู่ ญ่ปุ่นจึงต้องจำใจยอมรับ
    ญี่ป่นกับรัสเซีย สนธิสัญญาที่จีนทำกับญี่ปุ่นที่เมืองชิโมโนเชกิ มีข้อหนึ่งระบุกำหนดให้เกาหลีเป็นเอกราชตั้งแต่นั้นมา เนื่องจากความล้มเหลวในการจัดต้งโครงสร้างการปกครองและการคลังของเกาหลีเช่นกัน  องค์ผุ้สำเร็จราชการเกาหลีได้ทรงรื่อถอนการหฏฎิรูป ขับผู้บังคับบัญชาขอกองทหารผสมญี่ปุ่นกับเกาหลี ครั้นเมือ่ญี่ปุ่นส่งผู้ว่าราชการคนใหม่มา ผู้สำเร็จราชการทำการก่อรัฐประหาร จับประเจ้าโคจอง แล้วแต่งตั้งผุ้สำเร็จราชการเป็นประธานที่ปรึกษาส่วนพระองค  กบฎสำเร็จโษสมเด็จพระราชินี และพลพรรคของพระนาง สร้างความตกตะลึงแก่วงการทูตทั่วโลก พระเจ้าโคจองก็ต้องเสด็จลอลหนีไปลี้ภัยประทับอยู่ในสถานทูตชั้นสองของรุสเซีย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทำให้อิทธิพลญี่ปุ่นลดฮวบและเสื่อมถอยลงเป็นเวลาสองปี
     โดยเนื้อแท้แล้ว รุสเซียครอบงำราชสำนักเกาหลีให้ปกครองตามจุดประสงค์ของรุสเซีย จนถึงการที่รุสเซียมีอำนาจในการเปลี่ยนแปลง แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการได้ตามอำเภอใจ รุสเซียควบคุมการเงินการคลังโดยตึ้งธนาคารรุสเซียกับเกาหลี เป็นองค์กรดำเนินการ รุสเซียได้สัมปทานเข้าดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมในเกาะเดียร์ ซึ่งอยู่ในเมืองท่าผูซาน การที่รุสเซียมีอิทธิพลในเกาหลีและฐานะที่มั่นทางทหารในเมืองท่าพอร์ต อาเธอร์และเตเรน ย่อมเป็นที่น่าวิตกสำหรับอังกฤษและญี่ปุ่นเป็นอย่างยิ่ง รุสเซียเองได้เพีรประนีประนอมกับทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะการยินยอมยกเลิกการตั้งธนาคารรุสเซียกับเกาหลี และวเปิดการเจรจากับญี่ปุ่น ซึ่งไร้ผลเมือรุสเซียฮวยโอกาสยึดครองแมนจูเรีย ในปี 1900 ผลักดันให้ญี่ปุนตระหนักถึงภัยรุสเซียคืบคลานสู่เกาหลีมากขึ้น
     สนธิสัญญาพอร์ตสมัธ ได้กำหนดชี้ขาดให้ญี่ปุ่นมีฐานะสูงสุดในเกาหลีสมปรารถนา สิ่งที่ญีป่นุ่นจักต้องเร่งปฏิบัติมีเพียงประการเดียวคือ การกลืนกินเกาหลี เกาหลีเองซึ่งเป็นประเทศสุดท้ายในภูมิภาคเอเซียตะวันออกที่จำต้องเปิดประเทศ ไม่ว่าจะเร็วหรือช้า ย่อมต้องสยบยอมต่อญี่ปุ่นผู้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศให้ทันสมัย เมื่อสงครามเปิดฉากขึ้น เกาหลีต่องลงนามในพิธีสาร ยินยอมให้ญี่ปุ่นสถาปนาการปกครองเกาหลีโดยคณะที่ปรึกษา ซึ่งหมายถึง ญี่ปุนควบคุมการบริหาราชการแผ่นดินและการต่างประเทศของเกาหลี
     ความเป็นรัฐของเกาหลีได้ถึงกาลสิ้นสุด เมื่อปี 1910 ในขณะที่ชาวเกาหลีเริ่มมีจิตสำนึกในเชื่อชาติของตน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชั้นชนสูง นักปฏิรูป ทหารชาวนา ล้วนมีความรู้สึกรักชาต แต่สรรพสิ่งล้วนเป็นไปตามคำบงการของญี่ปุ่นโดยสิ้นเชิง การติดต่อโลกภายนอกต้องฝ่ายความเห็นชอบของญี่ปุ่นนับแต่นั้นมา
     “ เกาหลีแทบจะไม่มีช่วงระยะสมัยใดที่เป็นไทแก่ตัว ในอดีต เกาหลีตกอยู่ภายใต้ฉายาอำนาจของจีน เกาหลีเป็นเสมือนประทเศ “ข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย” ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการให้ทั้งจีนและญี่ปุ่นความเป็นเอกราชของเกาหลีระยะยสั้น ๆ เป็นอันตรายทั้งต่อจรเองและต่อมหาอำนาจที่เข้ามาเกี่ยวข้อง สงครามญี่ปุ่นกับรุสเซียอุบัติด้วยเหตุเกาหลีซึ่งเป็นที่หมายปองของทั้งญี่ปุ่นและรุสเซีย ความเป็นเอกราชสิ้นสุดลงด้วยเหตุมหาอำนาจบงการและด้วยเหตุที่เกาหลีแบ่งฝ่ายในทุกเรืองทุกกรณี  เกาหลีแทบไม่ได้เป็นประเทศเอกราชอย่างแท้จริงเลย”

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

“Che” Ernerto Guevara

    
เอนร์เนสโต เกบารา หรือที่รู้จักในชื่อ “เช” เป็นนักปฏิวัติลัทธิมากซ์ นายแพทย์ นักเขียนผู้นำนักรบกองโจร นักการทูต และนักทฤษฎีทางการทหารชาวอาร์เจนตินา ในฐานะที่เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งจากการปฏิวัติคิวบา ภาพใบหน้าของเขาได้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่พบได้ทั่วไปของวัฒนธรรมต่อต้านและการกบฏ และเป็นตราต้นแบบที่รู้จักกันเป็นสากลภายในวัฒนธรรมนิยม
     ขณะที่ยังเป็นนกศึกาแพทย์ เกบาราได้เดินทางไปทั่วทวีปอเมริกาใต้และรู้สึกสะเทือนใจกับความยากจนข้นแค้น ความหิวโหย และโรคภัยที่เขาได้พบเห็นระหว่างการเดินทาง ความปรารถนาจะทำลายล้างสิ่งที่เขามองว่าเป็นการขูดรีดของทุนนิยมในลาตินอเมริกาผลักดันให้เขาเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิรูปสังคมกัวเตมาลาภายใต้รัฐบาลนายฮโกโบ กุซมัน แต่สุดท้ายประธานาธิปดีผู้นี้ก็ต้องพ้นจากตำแหน่งหลังถูกทำรั
ฐประหารซึ่งไป้รับความช่วยเหลือจากซีไอเอ นั่นทำให้อุดมการณ์ทางการเมืองของเกบาราแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ต่อมาขณะอาศัยอยู่และพิพากษาใหตในกรุงเม็กซิโกซิตี้ เขาได้พบกับราอุลและฟิเดล กัสโตร เข้าร่วมขบวนการ 26 กรกฎาคม และออกเดินทางสู่คิวบาโดยใช้เรือยนต์ขนาดเล็กชื่อ กรันมา ด้วยจุดประสงค์ที่จะขับไล่ผู้นำเผด็จการฟุลเฮนซีโอ บาติสตา  ไม่ช้าเกบาราก็ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสำคัญในกองกำลังกบฏดังกล่าว ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองผุ้บัญชาการ และมีบทบาทสำคัญยิ่งในการสู้รบแบบกองโจรซึ่งสามารถล้มระบอบบาติสตาได้สำเร็จภายในเวลาสองปี

  หลังการปฏิวัติคิวบา เกบาราเข้าไปมีบทบาทสำคัญหลายอย่างในรัฐบาลใหม่ไม่ว่าจะเป็นการร่วมพิจารณาคดีในศาลการปฏิวัติและพิพากษาในศาลการปฏิวัติและพิพากษาให้ผู้ต้องโทษ อาชญากร
สงครามถูกยิงเป้าโดยหมู่ทหาร เริ่มดำเนินการปฏิรูปที่ดินการเกษตรในฐานะรัฐมนตรีอุตสาหกรรม เป็นหัวหอกในการรณรงค์เพื่อการรู้หนงสือทั่วประเทศซึ่งก็ประสบผลสำเร็จ ปฏิบัติหน้าที่ผู้การการธนาคารแห่งชาติและผุ้อำนวยการฝึกสอนให้แก่กองทัพคิวบา และเดินทางไปทั่ว”ลกในฐานะผู้แทนทางทูตจากสังคมนิยมคิวบาตำแหน่งต่างๆ ดังกล่าวังทำให้เขามีหน้าที่หลักในการฝึกสอนกองกำลังอาสาสมัครซึงสามารถขับไล่ผุ้รุกรานอ่าวพิกส์ออกไปได้ และชักนำนำใหสหภาพโซเวียตเข้ามาติดตั้งขีพปนาวุธนิวเคลียนร์ในคิวบาซึ่งกระตุ้นให้เกิดวิกฤตการณ์ขีปนาวุธในปี 1962 นกอจานี้เขายังเป็นนักจดบันทึกและนักเขียนทีผลิตผลงานออกมาจำนวนมาก โดยเขียนคู่มือปฏิบัติการรบแบบกองโจรซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อเหตุการณ์ภายหน้า ร่วมกับบันทึกความทรงจำเกียวกับการเดินทางไปทั่วทวีปด้วยจักรยานยนต์ในวัยหนุ่มของเขา ประสบการณ์ชีวิตและความรู้เกี่ยวกับลัทธิงทางเดียวมเพียวยามียยาร์กซ์-เลนินนำพาให้เขาสรุปว่าความด้อยพัฒนาและการตกอยู่ในภาวะพึงพาของโลกที่สามเป็นผลที่แท้จริงจากจักรวรรดินยม ลัทธิอาณานิคมแนวใหม่ และทุนนิยมผูกขาด ทางเยียวยามีเพียงทางเดียวคือ การใช้แนวคิดสากลนิยมของชนชั้นกรริโลกตมาชีพและการปฏิวัติโลกเกบาราออกจากคิวบาในปี 1965 เพื่อจะก่อให้เกิดการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ในประเทศอื่นอีก ครั้งแรกในคองโก-กินชาซาแต่ไม่ประสบความสำเรจ และครังต่อมาใบลิเวีย ที่นี่เขาถุกจับได้โดยกองทพโบลิเวียซึงมีซีไอเอสนับสนุนอยู่และถูกสังหารโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม
   เกบาราเป็นบุคคลทางประวัติศาสตร์ที่ได้รับทั้งเสียงยกย่องและเสียงประณามมุมมองบรตาง ๆ เกี่ยวกับตัวเขาได้รบเลือกจากนิตยสารไทม์ให้เป็น 1ใน 100  บุคคลผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่  20 ภาพถ่ายของเขาได้บการยกย่องว่าเป็รนภาพถ่ายที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก
      เชทิ้งฐานันดร และครอบครัวของเองไว้ที่เม็กซิโก แล้วมุ่งสู่ประเทศคิวบาเพื่อหวังจะล้ม้างระบอบการปกครองเผด็จการของผูลเจลซิโอ บาติสต้า สร้างกลุ่มกำลังของตนเอง เพื่อหวังจะทำการปฏิวัติในิวบาหลังปฏิวัติสำเร็จในคิวบา เชออกจากคิวบาโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะใช้ประเทศอื่นเพื่อก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวทางการเืมืองอี เช่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และประเทศโลลิเวีย ซึงที่โบลิเวียนี้ เขาถูกโดยกองทัพโบลิเวียที่สนับสนุนโดยซีไอเอของสหรัฐอเมริกา และถูกประหารชีวิตทันทีหลังจากที่ถูกจับตัวได้ 9 ตุลาคม 1967 ในวันสุดท้ายของชีวิตของเขาทหารดบลิเวียกำลัของโลลิเวียกำลังจะประหารชีวิตเขา เชกล่าวประโยคสุดท้ายของชีวิตเขาว่า "ยิงฉันเลย...ฉันมันก็แค่ผู้ชายธรรมดาคนนึง..."แต่การตายของชายธรรมดาในวันนั้น มีความหมายอย่างยิ่งกับการเมืองโลก เหล่านักศึกษา หนุ่มสาวต่างรับรู้และยกย่องการกระทำที่กล้าหาญของเขา ภายหลงการตายของผู้ชายคนนึง เกิดการปฏิวัติในฝรั่งเศสถึงการเดินประท้วงเรียกร้องอิสรภาพของประเทสเวียดนาม เหล่าวัยรุ่นใประเทสเวียดนาม นำรูปของเชมาใช้เดินขบวน และกระทั่งทุกวันนี้ ชายคนนี้ก็ยังเป็นสัญักษณ์ของการปกิวัติ

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...