วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Ideology

     นโยบายปฏิวัติโลกควรมีวิธีปฏิบัติอย่างไร นี้เป็นประเด็นหนึ่งที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรุสเซียกับจีนต้องแตกร้าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เดิมที่ นโยบายปฏิวัติโลกย่อมถือวิธีปฏิวัติของรุสเซียเป็นแม่แบบ แม้ว่าการเป็นคอมมิวนิสต์ของประเทศต่าง ๆ อาจมีวิธีปฏิบัติแต่หลัการคงเดิมเป็นที่ยอมับในวิธีปฏิวัติของรุสเซีย
     ในฐานะเจ้าลัทธิและผุ้นำโลกคอมมิวนิสต์และผุ้นำบรรดาพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลก รุสเซียได้กำหนดแล้วว่า การพัฒนาประเทศไปสู่ระบอบสังคมนิยมของโลกคอมมิวนิสต์  ต้องยึดถือวิธีปกิบัติแบบรุสเซียเท่านั้น การสัมพันธ์กับโลกภายนอก รุสเซียเป็นปต่ผุ้เดียวที่จะกำหนดวินิจฉัยนโยบาย โลกคอมมิวนิสต์เป็นแต่ฝ่านสนองตอบเท่านั้น ความเป็นหนึ่งในทางลัทธิอุดมการณ์ได้ถูกท้าทายมาแล้วตั้งแต่ ปี 1948 เมื่อยูโกสลาเวียยืนกรามที่จะเป็นคอมมิวนิสต์อิสระไม่ขึ้นต่อรุสเซีย สามารถพัฒนาประเทศโดยวิถีทางอื่น และเปิดความสัมพันธ์กับโลกภายนอก นับเป็นการท้าทายอย่างหนักแน่นจริงจังและเป็นตัวอย่างแก่โลกคอมมิวนิสต์ว่า รุสเซียไม่สามารถครองความเป็นหนึ่งทางลัทะอุดมการณ์ได้อย่างแท้จริงตั้งแต่ปี 1948 แล้ว
    ภายหลังอสัญญกรรมของสตาลิน อุดมการณ์เริ่มถูกตีความหมายหลากหลาย รุสเซียตั้งจรเป็นเจ้าลัทธิผุ้ตีความชี้ขาดอุดมการณ์ เป็นผุ้เร่มทำให้อุดมการ์ขาดความหมายเป็นหนึ่งดังเดิม กล่าวคือ ครุสเซฟได้ยกย่องการปฏิวัติจีนในปี 1949 ว่า “ภายหลังการปฏิวัติสังคมปีที่ยิ่งใหญ่ แห่งเดือนตุลาคมนั้น ชัยชนะของการปฏิวัติของประเทศจีนเป็นเหตุการณ์ที่เด่นที่สุดในประวัติศาสตร์โลก” การยกย่องการปฏิวัติที่มิได้ดำเนินตามครรลองปฏิบัติแบบรุสเซียจึงต้องนับเนื่องได้ว่ารุสเซียได้เป็นฝ่ายก้าวถอยจากบทบาทเจ้าลัทะของตน
     ความเป็นหนึ่งในลัทธิอุดมการณ์ค่อยๆ ลดความหมายลงด้วยน้ำมือของรุสเซียเองแล้ว เร่มตั้งแต่ ปี 1954 เมื่อรุสเซียยินยอมผ่อนคลายความตึงเครียดกับโลกเสรี และปรองดองกับยูโกสลาเวียถึงขนาดยอมรับรองวิธีทางไปสู่สังคมนิยมหลากหลายได้ นโยบาใหม่กระเทือนอุดมการณ์มาก เพราะ การผ่อนคลายตึงเครียดขัดต่ออุดมการณ์ที่กำหนดให้มีการเผชิญหน้าและต่อสู้จนให้ได้ชัยชนะเด็ดขาด การยอมรับวิถีทางหลากหลายสู่สังคมนิยมเป้นการยอมลดความเป็นหนึ่งของรุสเซียในการกำหนดวิธีการพัฒนาประเทศแบบรุสเซียโลกคอมมิวนิสต์เผชิญทางเลื่อกถึงสามทางในปี 1955 คือ วิถีทางยูโกสลาเวีย วิถีทางรุสเซียและวิถีทางจีน ซึ่งต่างพัฒนาประเทศตามแนวทางที่กำหนดเองโดยอิสระ
     กาะประณามสตาลินเป็นการประณามการปกครองโดยส่วนบคคลและประณามการยกย่องนับถือรัฐบุรุษประหนึ่งเทพเจ้า ซึ่งจีนยังปฏิบัติอยู่ กล่าวคือ ในประเทศจีนเป็นที่ยอมรับกันอยู่แล้วโดยทั่วไปว่า เมาเซตุงเป็นผู้กำหนดวินิฉัยนโยบายต่าง ๆ .. จีนกล่าวว่า “เป็นการสมควรที่จะวิจรร์สตาลิน แต่จีนไม่เห็นด้วยกับวิธีการวิจารณ์และไม่เห็นด้วยกับข้อวิจารณ์บางแง่มุม ต่อมาเมื่อความสัมพันะถึงขึ้นแตกหักแล้ว จีได้วิจารณ์รุสเซียเรื่องประณามสตาบลินโดยเป็นบทความในหนังสือพิมพ์ ว่า สตาลินมีคุณงามความดีล้นเหลือเหนือความผิดพลาดของเขา
     จีนมีท่าทีสนับสนุนการปกครองโดยหมู่คณะ แต่เมื่อเมาเซตุงสามารถคุมเสียงข้างมากได้ นดยบายการปกครองโดยหมู่คณะย่อมไม่เป็นที่พึงปรารถนาของเมา เซ ตุง เพราะการที่รุสเซียโจมตีการบูชาตัวบุคคล หรือสตาลินนั้น เป็นการโจมตีเมา ในขณะนั้นด้วย
     ในด้านนโยบายอยู่ร่วมกันโดยสันตินั้น ถ้าพิจารณาโดยถืออุดมการณ์เป็นหลักนโยบายนั้นขัดต่ออุดมการณ์มาก โดยที่ลัทธิมาร์กซ์และลัทธิเลนินล้วนเน้นการต่อสู้ระหว่างชนชั้นอันหลักเลี่ยงมิได้ และปราศจากการประนีประนอม และชัยชนะจักเป็นของชนชั้นกรรมาชีพ การอย่ร่วมกันโดยสัติปฏิเสธหลักการแห่งอุดมการณ์ดังกล่าวอย่างชนิดขาวเป็นดำรุสเซยได้ยืนยันว่า ยังคงดำเนินนโยบายปฏิวัติโลกเพียงแต่เปลี่ยนวิธีการจากการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ มาเป็นการแข่งขันกันสร้างความเจริญเพื่พิสูจน์คุฯวิเศษของลัทธิอุดมการณ์โดยวิธีการนั้น เป็ฯวิธีการตามครรลองแห่งสันติวิธีมิใช่ยุทธวิธีเพื่อปฏิวัติโลก อีกทั้งเป็นการยอมรับควาคงอยุ่ของระบอบในเบื้องต้นที่ลัทธิอุดมการ์มุ่งหมายทำลายมิให้คงอยู่ แต่จักสลายตัวในบั้นปลาย จีนถือว่า การอยู่ร่วมกันโดยสัติเป็นการทรยศต่ออุดมการณ์ และเป็นการปฏิเสธภาระหน้าที่ผูกพันที่จะต้องปฏิวัติโลกเพื่เห็นแก่ผลประโยชน์แห่งรัฐมากกว่าผลประโยชน์ของโลกคอมมิวนิสต์ ลัทธิชาตินิยมมีพลังเหนือลัทธิสากลนิยมแล้วสำหรับรุสเซีย
     จีนได้กำหนดลักษณะลัทธินิยมแก้ไขปรับปรุงอุดมการณ์ ไว้ว ดดยเป็นการจำกัดความของลัทธิที่ตรงกับพฤติกรรมของครุเชฟ ดังนี้
“ (ลัทธิแก้ไขปรับปรุงอุดมการณ์)ประณามไม่ยอมรับว่า พรรคคอมมิวนิสต์และพรรคของกรรมกร เป็นแนวหน้าของชนชั้นกรรมาชีพ ไม่ยอมรับหลักการเผด็จการและปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ หากแต่ยอมรับว่าลัทะนายทุนสามรถข้ามมาสู่ลัทธิสังคมนิยมได้โดยใช้มาตรการประชาธิปไตยแบบชนชั้นกลาง และใช้ลัทธิวิถีทางประชาธิปไตยฝ่ายการเลือกตั้งมีผุ้แทน การเปลี่ยนมาสู่ลัทะสังคมนิยมโดยปราศจากการทำลายล้างกลไกของรัฐของชนชั้นกลาง(พวกแปรเปลียนลัทธิ)ได้ใช้ลัทธินิยมสันติภาพความสงบสุขเข้าแทนที่การต่อสู้ลัทธิจักรวรรดินยิม นำเอาการปฏิรูปมาใช้แทนการปฏิวัติดดยชนชั้นกรรมาชีพ นำเอาลัทะชาตินิยมแบบของชนชั้นกลางมาแทนการมุงพิทักษ์และเผยแพร่ลัทะไปทั่วโลก และแทนหลักมนุษยธรรมตาททฤษฎีของมาร์กซ์และเลนินซึ่ง่าด้วยการต่อสู้ระหว่างชนชั้นต่าง ๆ”
     ลัทธินิยมแก้ไขปรับปรุงอุดมการณ์คือ ลัทธินิยมที่ไม่ยอมรับหลักการสำคัญของอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ อันได้แก่ การทีพรรคคอมมิวนิสต์และพรรคกรรมกรเป็นแนวหน้าของชนชั้นกรรมาชีพ การปฏิวัติและระบอบเผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพ ลัทธินิยมการแก้ไขปรับปรุงอุดมการณ์ยอมรบว่า ในการพัฒนาสังคมสู่สังคมนิยมนั้นลัทธิทุนนิยมเป็นองค์แระกอบหนึ่งมีปรากฎได้ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยชนชั้นกลาง ลัทธินอยมการแก้ไขปรับปรุงอุดมการณ์นิยมสันติวิธีมากกว่าวิธีการปฏิวัติเพื่อล้มล้างชนชั้นนายทุน นิยมปฏิรูปมากกว่าการปฏิวัติในการพัฒนาสังคม ลัทธินิวมการแก้ไขปรับปรุงอุดมการ์นิยมลัทธิชาตินิยมแบบชนชั้นกลาง มากกว่านิยมการปฏิวัติโลกและล้มล้างชนชั้น
    ตามหลักการชั้นต้น จีนถือว่ารุสเซียเป็นผู้นำและเจ้าลัทธิของโลกคอมมิวนิสต์การที่รุสเซียแปรเปลี่ยนอุดมการณ์จึงมีความหมายไปถึงการเปลี่ยนนโยบายของโลกคอมมิวนิสต์ต่อโลกเสรี การที่รุสเซียเปลี่ยนอุดมการณ์โดยสมานฉันท์กับสหรัฐอเมริกาและพัฒนาประเทศมุ่งไปทางวิถีทางของระบบนายทุน จีนถือว่าว่าเป็นการทรยสต่ออุดการณ์และเป็นหน้าที่ของจีนที่จะขจัดลัทธิแก้ไขปรับปรุงอุดมการณ์
     ครุสเซฟตอบโต้จีนโดยการวิจรร์ลัทธิเมา เซ ตุง ไว้ว่า
“ลัทธิคอมมิวนิสต์มิใช่ลัทธิที่จะหยิบยกขึ้นมาเหือนโต๊ะที่วางจานเปล่า และมีคนนั่งประจำโต๊ะที่เป็นคนมีจิตสำนึกสูงและมีความเสมอภาคกันอย่างสมบูรณ์ การเชื้อเชิญคนเข้าสู่ลัทธิคอมมิวนิสต์เช่นนั้นเสมือนเป็นการเชิญคนดื่มนำซุปด้วยส้อม นี้เป็นตัวตลกของลัทธิคอมมิวนิสต์แน่นอน”
     รุสเซียกล่าวหาจีนว่าเป็นผุ้ที่ท่ำให้เกิดโลกคอมมิวนิสต์หลายเส้าแล้วและเต็มไปด้วยความรักชาติอย่างคลั่งไคล้ใหลหลง ในการตอบโต้กันนั้น ต่างก็กล่าวหาอีกฝ่ายนิยมแบ่งแยกบรรดาพรรคคิมมิวนิสต์ โดยมีได้คำนึงถึงมติเสียงส่วนใหญ่และนิยมการแบ่งแยกภายในพรรค ตลอดจนนิยมการแทรกซึมกิจการพรรคอื่นเพื่อก่อเกิดการแบ่งแยกภายในพรรค นดยบายแบ่งฝ่ายในพรรคที่จีนนิยมใช้นั้นยึดถือทฤษฎีแห่งการหลีกเลี่ยงมิได้ของการแบ่งแยก เป็นการดำเนินนโยบายเพื่อให้เกิดการแบ่งแยกภายในโลกคอมมิวนิสต์ มีทั้งพรรคที่ต่อต้านและพรรคที่สนับสนุนรุสเซีย โลกคอมมิวนิสต์ปั่นป่วนยิ่งใน หลังจากที่จีนและรุสเซียแตกแยกเป็นทางการแล้ว

วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Case study Russia & China

     ความสัมพันธ์ระหวางจีนกับรุสเซียซึ่งต่างก็ชื่นชมว่าเป็นความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นลึกซึ้งนั้นจะถึง
จุดจบเร็วเช่นนี้ และจบลงอย่างปัจจุบันทันด่วน ต่างฝ่ายต่างประณามอีกฝ่ายว่าเป็นผู้ทำลายความสัมพันธ์ต่างโฆษราชวนเชื่อชักจูงให้บรรดาประเทศใหญ่น้อยทั้งในและนอกโลกคอมมิวนิสต์ให้สนับสนุนฝ่ายตนและเป็นปฏิปักษ์ต่ออีกฝ่าย ต่างฝ่ายต่างพยายามทุกวิถีทางที่จะแสดงในใครต่อใครได้รู้ว่า ฝ่ายตนเป็นฝ่านมีสัจธรรมโดยเปิดเผยสัมพันธภาพระหว่างกันแต่อดีตให้เนที่ปรากฎ หลักฐานเอกสารการติดต่อกันในทุกรูปแบบทุกลักษณะที่มีต่อกันได้ถูกตีพิมพ์เปิดเผยออกมา แล้วต่างฝ่ายต่างก็กล่าวหาวาอีกฝ่าย “สาวไส้ให้กากิน” และเป็นฝ่ายบ่อนทำลายความสามานสามัคคีของโลกคอมมิวนิสต์
     ความร้าวฉานอย่างรุนแรงเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่สำคัญมากในวงการเมือง ที่สะท้อนผลไปทั่วโลกมากที่สุด อีกทั้งอำนวยประโยชน์แก่ฝ่ายตรงข้าม คือ “โลกเสรี”อย่างที่สุด ซึ่งฝ่ายโลกเสรีมีกาตื่นตัวเรียนรู้วิเคราะห์วิจัยความแตกร้าวและคาดคะเนรูแบบความสัมพันธ์ในอนาคตของสองมหาอำนาจในโลกคอมมิวนิสต์ไปต่าง ๆ นานา การเปิดเผยหลักฐานระหว่งกันต่อชาวโลกได้ขจัดความสงสัยของผู้ที่ติดตามความเคลื่อนไหวของทั้งสองประเทศนี้ไปได้อย่างสิ้นเชิง  และสรุปเป็นประเด็นต่างๆ ซึ่งโดยเนื้อแท้แล้วสัมพันธภาพของสองมหาอำนาจโลกคอมมิวนิสต์ตมีลักษณะอย่งไร และเหตุใดจึงแตกกัน….
    

     ภาวะสงครามเย็นสืบเนืองจากอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน อุดมการมีความหมายพลิกประวัติศาสตร์ มหามิตรร่วมอุดมการณ์จะเป็นปฏิปักษ์กันนั้นเป็นเรื่องยากที่จะมีใครเชื่อในทศวรรษที่ 1960 แต่เมื่อความจริงปรากฎณ์ช่วงต้นปี 1970 เป็นต้นมา ทั่วโลกต่างตระหนักถึงความเป็นปฏิปักษ์กันอย่างแท้จริงของสองอำนาจร่วมอุดมการณ์และมีการวิเคราะห์วิจารณ์กันอย่างแพร่หลายถึงสาเหตุเเห่งการเป็นปฏิปักษ์กัน การศึกษาย่อมต้องอาศัยประวัติศาสจร์ความสัมพันธ์ของทั่งสองประเทศเป็นหลักสำคัญ รุสเซียมีความสัมพันธ์กับพรรคคอมมิวนิสต์จีนอย่างไร ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ในลักษณะใด แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ การที่ความแตกแยกนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้แลย่อมถูกลิขิตให้เป็นไปเช่นนั้นด้วยอานุภาพแห่งดครงสร้างการเมหืองระหว่างประเทศที่ได้ปลี่ยนแปลงผันผวนมาตั้งแต่ปี 1953 และความริงบางประการที่รุสเซียพัฒนาล่วงหน้าจีนกว่าชั่ว1-2 อายุคน และจีนมีประชากรมากมายกว่ารุสเซียหลายเท่า
    การวิเคราะเชิงประวัติศาสตร์
ทั้งสองประเทศเป็นประเทศที่มีเนื้อที่กว้างขวาง มีประชากรที่แน่นหนาอุดมด้วยแร่ธาตุแลทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างแท้จริงช่วงปลายศตวรรษที่ 17 ลักษณะกรณีพิพาทชายแดน ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศจึงไม่ราบรื่นนัก
   หลังจากจีนเปิดประเทศตั้งแต่ปี 1939 เป็นต้นมา รุสเซียได้ร่วมการบั่นทอนเอกราชอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพทางดินแดนของจีน ดดยอาศํยเชิงการูตที่เหนือกว่าจีน เมื่อจีนปฏิวัติและมีระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐและการเมื่องไร้เสถียรภาพตามลำดับ รุสเซียให้การช่วยเหลือพรรคชาตินิยมในการพัฒนาประเทศ และครอบงำพรรคคอมมิวนิสต์จีน ให้ดำเนินนโยบายสอดคลอ้งกับผลประโยชน์ของรุสเซียกระทั่ง ปี 1933 พรรคจีนคอมมิวนิสต์จึงเป็นอิสระในการดำเนินนโยบายของตน เมื่อรุสเซยทุ่มแทให้ความขชวยเหลือแก่พรรคชาตินิยมในการต่อสู้กับญีปุ่น พรรคจีนคอมมิวนิสต์ได้มีบทบาทตกอยู่ใต้อาณัติของรุสเซียแต่แย่งใด แม้เมื่อจีนเป็นรัฐคอมมิวนิสต์แล้ว การตัดสินใจจะดำเนินนโยบายล้วนเป็นดุลพินิจของจีนเอง
      สัมพันธภาพของจีนและรุสเซียในชั้นต้น สัมพันธภาพไม่เสมอภาคกัน  จีนยอมรับตนเป็นรัฐด้อยอาวุโส  และยอมรับความเป็นเจ้าลัทธิและผุ้นำของรุสเซียในโลกคอมมิวนิสต์โดยดูษฎีภาพ เพื่อแลกกับความคุ้มครองและความช่วยเหลือจากรุสเซีย ต่างฝ่ายต่างแสดงทีท่าว่าอีกฝ่ายเป็นมหามิตรของตน แต่โดยเนื้อแท้จีนไม่เคยแสดงทีท่ายอมเป็นเบี้ยล่างขอวงรุสเซียดังที่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันออกแสดงต่อรุสเซียรุสเซียเองก็ไม่กล้าพอมี่จะกดจีนให้อยู่ในฐานะเสมือนเป็นบริวารในแวดวงอำนาจของตนจีนจึงมีฐานะเป็นชาติอ่อนอาวุโสกว่าแต่มีความเสมอภาคกับรุสเซียอยู่ในที  แม้ว่าจีนจะยกย่องรุสเซียเป็นผู้นำโลกคอมมิวนิสต์ แต่มิได้หมายความว่าจีนจะยินยิมเป็นเพียงผุ้รับคำสั่งจากรุสเซีย จีนต้องการให้รุสเซียดำเนินนโยบายทุกประกาที่เกี่ยวกับการต่างประเทศ ระหว่างโลกคอมมิวนิสต์กับโลกเสรี โดยให้จีนรับรู้และปรึกษาหารือร่วมกัน
     ในฐานะที่เป็นมหาพันธมิตรของจีน รุสเซียได้กอบโกยผลประโยชน์จากจีนมากมายตามสนธิสัญญาปี 1950 ทั้งยังผลักดันให้จีนเข้าสู่สงครามเกาหลีเพื่อแลกกับการที่รุสเซียจะทุ่มให้ความช่วยเหลือแก่จีน  สัมพันธภาพดำเนินไปเพียงผิวเปลือกนอก ภายในใจจีนเต็ไปด้วยความระแวงแคลงใจในเจตนารมณ์ของรุสเซียในสองกรณีใหญ่ๆ คือ  การรับจีนเป็นสมาชิกองค์กาสหประชาชาติ และรใช้กำลังพิชิตไต้หวัน รุสเซียไม่ดำเนินการทางการทูตอย่างเต็มที่เพื่อให้จีนได้เป็นสมาชิก จีนถือว่ารุสเซียมีเจตนาจำกัดฐานะจีนให้ตำอยู่ใต้รุสเซียมิหให้เป็นอิสระ เป็นการจงใจกีดกันให้อยู่โดดเดียว อย่างไรก็ตาม สงครามเกาหลีผลักดันจีนให้ยึดรุสเซียมากขึ้นระยะระหว่างปี 1945-1953 จึงกล่าวกันว่าเป็นระยะข้าวใหม่ปลามันดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์เต็มที่ Concord,Honeymoon Period
     นอกจากการเข้าสูสงครามเกาหลี ซึ่งนำไปสู่การยุติสงคราม ตามข้อตกลงที่เจนีวาแล้ว จีนไม่เคยแสดงทีท่าสงสัยพฤติกรรมทางการเมืองต่างประเทศของรุสเซียอย่างเปิดเผยแต่อย่างใด กระทั้งสตาลินถึงแก่กรรม สัมพันธภาพระหว่างจีนกับรุสเซียจึงค่อย ๆ เปลี่ยนไป
     เมื่อโอกาสมาถึง ภายในมอสโกเกิดการชิงอำนาจ และต่างหวังให้จีนสนับสนุนฝ่ายตน ต่างฝ่ายต่างสรรเสริญยกย่องจีน ฐานะจีนเปลี่ยนไป จากคอมมิวนิสต์ด้อยอาวุโสมาสู่ฐานะเท่านเทียมกัน และเริ่มมีสิทธิ์มีเสียงในการกำหนดวินิจฉัยนโยบายของโลกคอมมิวนิสต์ เมาเซตุงเริ่มได้รับการยกย่องเป็นรัฐบุรุษอาวุโสของโลกคอมมิวนิสต์
      การแย่งชิงอำนาจในรุสเซียทำให้จีนจากความเป็นรัฐด้อยอาวุโสมาเป็นรัฐเสมอภาคกับรุสเซีย ผุ้นำรุสเซียหลายคนต้องการการสนับสนุนจากจีน ส่วนจีนต้องการรุสเซียเพื่อพิทักษ์ปกป้องและพัฒนาชาติตน ต่างฝ่ายต่างเห็นความจำเป็นที่จะผูกมิตรกัน แต่ในขณะเดียวกัน จีนเร่มดำเนินนโยบายขงตนโดยอิสระ รุสเซียเองเเม้จะยอมรับแต่เริ่มตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องจับตาดูจีนมากขึ้น โดยในกรณีการอยู่ร่วมกันโดยันติที่อินดเดีย ครุสเชฟยอมรับว่ายังอ่านจีนไม่ออก เขาได้วิจารณ์เมาเซตุงว่า “ข้าพเจ้าไม่เคยแน่ใจได้ว่า ข้าพเจ้าเข้าใจสิ่งที่เขาตั้งใจหมายความให้รู้”  สัมพันธภาพระหว่งกันไม่มั่นคงและเต็มไปด้วยความหวาดระแวง
       การวิเคราะห์ด้านนโยบาย ด้านหลักการ
นักวิเคราะห์สวนใหญลงความเห็นคล้อยตามจีนว่า ความแตกแยกเร่มต้นจากการประชุมสภาของพรรคคอมมิวนิสต์รุสเซีย ครั้งที่ 20 แห่งเดือนกุมภาพันธ์ 1956 ซึ่งมีการประกาศประณามสตาลินและประกาศนโยบายอยู่ร่วมกันดดยสันติ ส่วนรุสเซียว่า ที่ประชุมนั้นเป็นเพียงจุดเร่มต้นของการแตกแยก รุสเซียประกาศเปลี่ยนแนวนโยบายต่างประเทศต่อโลกซึ่งมีผลต่อจีนและประกาศประณามระบอบเผด็จการโดยเอกเทศและลัทธินิยมตัวบุคคลซึ่งมีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อจีน การประชุมแห่งปี 1956 เป็น “ก้าวแรกไปสู่วิถีทางแห่งการแปรเปลี่ยนลัทธิอุดมการณ์”โดยผุ้นำรุสเซีย
    ความเป็นปฏิปักษ์ปรากฎเด่นชัดเมือรุสเซียร่วมกับโลกเสรีในการงดทดลองอาวุธนิวเคบียร์ และเป็นเสมือน “ฟางเส้นสุดท้าย”อันเปราะบางที่สามารถทำลายพันธมิตรได้
     ตั้งแต่สตาลินถึงแก่กรรม จีนก้าวขึ้นมาเป็ฯพันธมิตรเสมอภาคกับรุสเซีย การเมืองของทั้งสองฝ่ายได้มีลักาณะคล้ายกัน ต่างก็มีผุ้นำโดยเอกเทศและบริวารครอบงำพรรคความแตกแยกเร่มขึ้นในระดับผุ้นำคือ ระหว่างครุสเชฟกับเมา ต่อมาระหว่งพรรคต่อพรรคครั้งความขัดแย้งทวีความสลับซับซ้อนจนสุความสามารถที่จะจำกัดขอบเขต ความแตกแยกกันก็ขยายต่อจากระดับพรรคมาสูระดับชาติตั้งแต่พรรคมาสู่ระดับชาติตั้งแต่ปี 1958 เป็นต้นมา ต่างฝ่ายต่างท้าทายและตอบโต้กันอย่างไม่ลดราวาศอก เป็นเหตุให้ความแตกแยกันรุนแรงยิงขึ้น
    
     การวิเคราะห์เชิงอำนาจ
จีนเริ่มพัฒนาประเทศหลังรุสเซีย 1-2 ชั่วอายุคน พัฒนามาสู่รัฐด้อยอาวุโส สู่รัฐเสมอภาค และเกิดความขัดแย้ง กลายเป็นคู่แข่งในการแสวงหาอำนาจอิทธิพลทั่วโลกกับรุสเซีย การเจริญเติบโตและพัฒนาการของคอมมิวนิสต์จีนเป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอน ในขณะที่นโยบายต่างประเทศของรุสเซียผิดพลาดหลายครั้งหลายหน ประกอบกับการการแย่งชิงอำนาจกันเองในรุสเซีย ความเป็นต่อ 1-2 ช่วงอายุคนจึงไม่เป็นผลต่อจีนเท่าไรนัก
     ประเด็นอาวุธนิวเคลียร์ รุสเซียลงนามในสนธิสัญญางดทดลองอาวุธนิวเคลียร์ ต่างฝ่ายต่างมุ่งทำลายอีกฝ่ายมิหใมพันธมิตร โดยแสวงหาอำนาจอิทธพลในโลกเสีนรและโลกที่สาม ในบั้นปลายหนทางเป็นมิตรสิ้นสุดโดยฉับพลัน เมื่อจีนก่อกรณีพิพาทชายแดนกับรุสเซีย
     และนำสู่การตอบโต้กันทั้งทางการทูตการดำเนินการแทรกแซงกจิการภายในของอีกประเทศและเกิดเป็นกรณีพิพาทในที่สุด
      ลำดับทางเหตุการและประเด็นความสัมพันธ์และนำไปสู่ความแตกแยก แบ่งออกเป็นประเด็นที่ควรศึกษาดังนี้
- ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์
- บทบาทของรุสเซียต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนก่อปี 1949
- พันธมิตรกับการเอารัดเอาเปรียบ
- การเปลี่ยนแปลงนโยบายของรุสเซียในปี 1956
- ประเด็นอาวุธนิวเคลียร์
- อุดมการณ์ “ที่แตกแยก”
- การเรียกคืนดินแดนของจีน
- การแทรกแซงกิจการภายใน
- การตอบโต้กัน

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

JFK

      เพื่อเตรียมการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนพฤศจิกายน 1964 ด้วยเหตุผลทางการเมืองประธานาธิบดีเคนเนดี้จำเป็นต้องเดินทางเยื่อฟลอริดาและเท็กซัสซึ่งเป็นสองรัฐที่มีประชากหนาแน่นที่สุดในกลุ่มรฐทางใต้เพื่อเรียกคะแนนนิยมจากประชาชน โดยเฉพาะการเยื่อนเท็กซัสมุ่งเพื่อสมานรอบร้าวพรรคเดโมแครคให้เป็นหนึ่งเดียวก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบิปี 1964 เพราะประธานนาธิบดีเอคนเนดี้มีแผนลงรับเลือกเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สอง ก่อนเยื่อนเท็กซัสประธานาธิบดีเคนเนดี้ได้รับการเตื่อ
นว่าอาจถูกชาวเท็กซัสประท้วงต่อต้าน บุคคลสำคัญผู้ร่วมเดินทางกับประธานาธิบดีเคนเนดี้ประกอบก้วยภรรยารองประธานาธิบดีลินคอน บี. จอห์นสัน และภรรยา เครื่องบินถึงดัลลัส,เท็กซัสเวลา 11.37น.ของวันที่ 22 พฤศจิกายน 1963 ตามกำหนดการกำหนดว่าขบวนรถของประธานธิบดีจะแล่นผ่านถนนสายสำคัญของเมืองดัลลัสปลายทางที่อาคารศูนย์การค้าดัลลัส จะขึ้นกล่าว
ปราศรัยแก่นักธุรกิจและชาวดัลลัสภายหลังเสร็จสิ้นรับประทานอาหารกลางวันในทางปฏิบัติ เมื่อถึงดัลลัสรถเปิดประทุนเทียบรอรับประธานาธิบดีและภรรยา ผุ้วาการัฐเท็กซัส จอห์น บี.คอนเนลลี และภรรยานั่งเบาะหลังคนขับ โดยผู้ว่าการรัฐเท็กซัส คอนเนลลีนั่งเบาะด้านขวาของรถและภรรยานั่งเบาะด้านซ้ายของรถ ประธานาธิบดีและภรรยานั่งเบาะต่อจากผู่วา
การรัฐเท็กซัสและภรรยาโดยประธานาธิบดีนั่งเบาะด้านขวาของรถ และภรรยานังเบาด้านซ้ายของรถตามด้วยรถคันที่สอง เป็นรถคณะผุ้รักษาความปลอดภัยประธานาธิบดี รถคันที่สามเป็นรถถองประธานาธิบดีและภรรยา ตามด้วยรถคณะผุ้รักษาความปลอดภัย ขณะขบวนรถแล่นมาตามถนนสายำคัญของเมืองดัลลัส มีผุ้คนเรียงรายหนาแน่นต้อนรับประธานาธิบดีและภรรยา เวลา 12.30 ใกล้ถึงอาคารศูนย์การค้าดัลลัสมีเสียกระสุน 3 นัด ประธานาธิบดีถูกยิงที่ศีรษะและคอ แจคเกาลีนเข้าประคองศีรษะปรธานาธิบดีผุ้ว่าการรัฐเท็กซัสซึ่งนั่งอยู่หน้าประธานาธิบดีถูกยิงที่หลัง ผู้บาดเจ็บทั้งสองถุกนำส่งโรงพยาบาล ประธานาธิบดีเสียชีวิตเวลา 13.00 น.ก่อนถึงโรงพยาบาล ผุ้ว่าการํบเท็กซัสเข้ารับการักษาได้ทันรอดชีวิต

   ทันที่ที่เกิดเหตุกาณ์โทรทัศน์และวิทยุรายงานข่าวการถูกยิงและเสยชีวิตของปรธานาธิบดีเคนเนดี้ให้ชาวอเมริกันและชาวโลกได้รับรู้ ลี เอช.ออสวอลด์ ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ยิงประธานาธิบดีเคนเนดี้ถูกพบโดยตำรวจสายตรวจ ชือ เจ.ดี.ทิพพิท เกิดการยิงต่อสู้กัน ตำรวจสายตรวจทิพพิทถูกยิงเสียชีวิต ออสวอลด์หนีไปได้ และถูกจับในเวลา 13.35 น. ออสวอลด์อายุ 24 ปี เคยประจำการในกองทัพเรืออเมริกันมีภรรยาเป็นคนรุสเซีย เคยพยายามโอนสัญชาติเป็นคนรุสเซย เชื่นชอบในลัทธิมาร์คซีสต้นตำรับของลัทธิคอมมิวนิสต์ และให้การสนับสนุนจอมเผด็จการคิวบาฟิเดล คัสโตร จากหลักฐานอาวุธปืนยาว ติดกล้าองส่องยิง พร้อมลายนิ้วมือบนปืนยาวและกระสุนบ่งชี้ชัดว่า ออสวอลด์คือฆาตกรแต่ออสวอลด์ปฏิเสธแม้นจะถูกสอบสวนเป็นเวลานานถึงสองวันเต็ม ในวันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 1963 ขณะออสวอลด์กำลังจะขึ้นรถเพื่อย้ายที่คุมขัง ออสวอลด์ถูกแจ็ค รูบี เจ้าของสถานเริงรมย์แห่งหนึ่งในดัลลัสเข้าประชิดตัวและยิงออสวอลด์ ออสวอลด์ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลพาร์คแลนด์ เมโมเรียลและสียชีวิตในเวลา 13.07 น. ภายหลังประธานาธิบดีเสียชีวิต 48 ชั่วโมง
       ประธานาธิบดีเคนเนดีเสียชีวิตเวลา 13.00 ของวันที่ 22 พฤศจิกายน 1963 ศพถูกบรรจุใส่ดลงนำขึ้นเครื่องบินประจำตำแหน่งประธานาธิบดี กลับวอชิงตัน ดี.ซี.ขณะเครื่องยินอยู่ระหว่างการบินในเวลา 14.38 น.รองปรธานาธิบดีลอนดอน บี. จอห์นสัน ทำพิธีสาบานตนรับตำแหน่งปรธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาลำดับที่ 36 โดยมีภรรยายืนเคียงข้างทางขวาและแจดเกอรีน เคนเนดี้ยืนเคียงข้างทางซ้าย
     ศพประธานาธิบดีเคนเนดี้ถูกฝังที่สุสานแห่งชาติอาร์ลิงตัน ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 1963 มีตัวแทนจากกว่า 90 ประเทศจำนวน 220 คนเข้าร่วมในพิธี

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

๋Japan After WW2

     พันธมิตรมอบหมายให้สหรัฐอเมริกาทำหน้าที่ปกครองญี่ปุ่นในช่วงการยึครอง องกณืคอารสำคัญที่ทำหน้าที่คือ กองบัญชาการสูงสุดสำหรับมหาอำจานพันธมิตร ผู้บัญชาการทหารสูงสุดคือนายพลดักลาส  การปกครองและการพัฒนาญี่ปุ่นเลียนแบบอย่างจากอเมริกา ถึงกระนั้นการยึดครองญี่ปุ่นก็บรรลุจุดประสงค์หลักของพันธมิตรตามที่ได้ร่างโครงการเป็นนโยบายต่อญี่ปุ่นภายหลังญี่ปุ่นแม้สงคราม    
      นายพลแมคอาเธอร์เปรียบดังโชกุนผิวขาวในสายตาญี่ปุ่นการนิรมิตรญี่ปุ่นจึงเป็นไปตามอุดมคติมากกว่าการปฏิวัติ
      องการสแค็ปได้สร้างญี่ปุ่นเป็นรัฐปลอดทหารโดยการทำลายกำลังแสนยานุภาอย่างเป็นขั้นตอน ที่สำคัญคือ การทำลายกองทัพ อาวุธยุทโธปกรณ์ ยุบหน่วยราชการทหาร สลายกำลังพลกว่า 2 ล้านให้คือถ่นกำเนิด อพยพทหาร 3 ล้านนายจากดินแดโพ้นทะเลที่ญี่ปุ่นยึดครอง ให้กลับคืนประเทศ และสลายกำลังพล ดินแดนต่าง ๆ ที่ญี่ปุ่นครอบครองมอบคืนแก่เจ้าของเดิม หรือเป็นเอกราชตามหลักว่าด้วยเชื้อชาติ ญี่ปุ่นสิ้นสุดเขียวเล็บตั้งแต่นั้นมา มาตราที่ 9 แห่งรัฐธรรมนูญญี่ปุ่นได้ย้ำความสำคัญนี้ด้วยว่า ญี่ปุ่นจะใฝ่สันติและประณามสงครา มาตรานี้ได้ปิกั้นญี่ปุ่นมิไสร้างกำลังแสนยานุภาพอีกต่อไป
    อาชการสงครามชาวญี่ปุ่นและหรือเห็นชอบหรือร่วมมือกับรัฐบาลทหารในการทำสงครามถูกพิจารณาคดีในศาลภายในประเทศ และผู้ต้องหารายสำคัญถูกส่งไปพิจารณาที่ศาลระหว่างประเทศ ภารกิจที่สำคัญขององค์การสแค็ปคือ การสร้างระบอบประชาธิปไตยขึ้นใหม่ในญี่ปุ่น เพื่อถ้าญี่ปุ่นมีโอกาส ญี่ปุ่นย่อมหันไปสู่ประชาธิปไตย สิ่งแรกที่ดำเนินการคือ การลงโทษกำจัดกวาดล้าชาวญี่ปุ่นระดับสูงในทุกวงการที่มีความคิดเผด็จการ และการปล่อยนักโทษการเมืองออกจากที่คุมขัง ต่อจากนั้นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ถูกร่างขึ้นและมีการส่งเสริมให้จัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อให้มีส่วนร่วมการปกครองโดยตรงเสรีภาพทางการเมืองและการจัดตั้งองค์กรใหม่เหล่นั้น ล้วนเกิดขึ้นในกรอบโครงสร้างใหม่สุด คือ รัฐธรรมนูญ ซึ่งใช้เวลาร่าง 3 ปี รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นเป็นแบบสหรัฐอเมริกากล่าวคือ มีระบบรัฐสภาแบบสองสภา อำนาจนิติบัญญัติเหนืออำนาจบริหารในแง่ที่มีการให้อำนาจสภาในการพิจารณารับหรือไม่รับพระราชบัญญํติบงประมาณ ถ้าสภาไม่ยอมให้งบประมาณผ่าน สามสิบวันต่อมา รัฐบาลมีอำนาจที่จะประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณได้รัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายบริหารต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภาเพราะนายกรัฐมนตรีมาจากสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นผู้เลื่อกตัวบุคคล แม้จะมีอำนาจในการยุบสภาและจัดการเลือตั้งใหม่ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นระบุการแก้ไขจะกระทำได้เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบ และประชาชนลงมติเห็นชอบหลักการลงมติสำหรับรัฐสภาปรากฎชัดว่า ต้องได้คะแนนเสียงสองในสามของสภาสูง และคะแนนเสียงสองในสามของสภาผู้แทนราษฎร การแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงมิได้เป็นการง่ายดายแต่อย่างใด
      รัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจเป็นเอกภาพโดยอยู่บนพื้นฐานของการควบคุมโดยประชาชนผ่านนรัฐสภา สถาบันกษัตริย์ไม่มีอำนาจแต่อย่างไร พระจักรพรรดิตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ทรงเป็ฯสัญลักษณ์แห่งประเทศชาติ และสถาบันนั้นดำรงอยู่โดยเจตนารมณ์แห่งประชาชาติเท่านั้น องค์จักรพรรดิทรงเป็นแกนหลางแห่งความจงรักภัดดี ซึ่งมีพื้นฐานอยู่ที่ความรักมากกว่าความเกรงกลัวในองค์พระมหากษัตริย์ดังอดีต สภานภาพแห่งพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญใหม่ได้ทำให้สถานภาพและพระเกียรติภูมิรแห่งพระมหากษัตริย์มั่งคงขึ้นมาก
    ในระยะที่สหีฐอเมริกายึดครองญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาได้ปกครองญี่ปุ่นแบบสหรัฐอเมริกา โดยพยายามสร้างรากฐานให้แก่ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นวิธีการสร้างระบอบประชาธิปไตยแนวใหม่ รากฐานนั้นได้แก่
     - การกำหนดให้ประชาชนทุดเศทุกขนชั้นมีสิทธิเสรีภาพทางการเมือง
     - การแก้ไขพระราชบัญญัติแรงงาน ให้สิทธิเสรีภาพแก่กรรมกรที่จะจัดตั้งองค์การและนัดหยุดงานได้ สหภาพการค้าได้ผุดขึ้นทั่วไปราวกับดอกเห็น เพิ่มรสชาติให้แก่การเมืองญี่ไป่นให้มีความเร่าร้อนรุนแรงมาก แต่ก็ทำให้กรรมกรมีสิทธิเสรีภาพ เป็นรากฐานสนับสนุนแก่ระบอบประชาธิปไตย
      - การประกาศพระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดิน สหรัฐอเมริกามีความเชื่อมั่นฝั่งใจมากกว่าความไม่สงบในชนบทเป็ฯปัจจัยส่งเสริมให้ญี่ปุ่นมีความก้าวร้าวรุกราน เป็นบ่อนทำลายสันติสุขในตะวันออก พระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดินจะแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือ การที่ชาวนาไร้ที่ดินทำกิน เป็นการแก้ปัญหาเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดในชนบท แต่ะพรราชยัญญตินั้นใช้มาตการที่รุนแรงเกินไป คือ การบังคับซื้อที่ดินจากผู้ที่มิได้ทำประโยชน์บนที่ดินและมิได้อาศัยบนที่ดินนั้น และการบังคับซื้อที่ดินจากผู้ที่มีดินเกินเพิกัดอัตราที่ดินตามที่กฎหมายกำหนดคือเกิด 30 เอเคอร์ รัฐบาลบังคับซื้อคืนในราคาที่ควบคุมแล้วขายในราคาถูกหรือให้เช่าแก่ผู้ที่ไร้ที่ดิน..
     - การจัดระบบศาลแบบสหรัฐอเมริกา มีศาลสูงสุด มีอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งผู้พิพากษา ตรวจตราการบริหารราชการตุลาการ และเป็นฝ่ายปกป้องรุฐธรรมนูญ ซึ่งเท่ากับเป็นหารปกป้องสิทธิมนุษยชนโดยปริยาย
     - การยุบเลิกกระทรวงมหาดไทย ในอดีต กระทรวงนี้มีอำนาจมาก และมีบทบาทสำคัญในการลิดรอนสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพทางการเมืองของชาวญี่ปุ่น องค์กรสแค็ปได้กำหนดให้ทุกจังหวัด เมื่อและตำบลหมู่บ้านเรียนรู้การปกครองตนเองโดยผ่านองค์กรตังแทนที่มาจาการเลือกตั้งปรากฏในระดับจังหวัดและเทศบาล การกระจายอำนาจมีจุดประสงค์ที่จะให้ชาวญี่ปุ่นได้เรียรู้ระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่ระดับล่างสุดของสังคม แต่โครงการนี้ไม่ใคร่จะสำเร็จผลนัก
    - กากรปฏิรูปการศึกษา สหรัฐอเมริกาได้ใช้รูปแบบและระบบการศึกษาของตนมาเป็นแม่แบบ โดยการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา ให้มีคณะกรรมการที่มาจากการเลื่อกตั้งปรากฏในระดับจังหวัดและเทศบาล และกำหนดการศึกษาเป็นหลักสูตรระยะยเวลา ประถม 6 ปี มัยม 3 มัธยมปลาย 3 ปี ..ถึงกระนั้นการปฏิรูปการศึกษาเป็นการฝึกอบรมประชาชนให้มีความรู้และมีจิตสำนึกตื่นตัวในการักษาสิทธิเสรีภาพทางการเมืองของตน เป็นการปกป้องระบอบประชาธิปไตยในระยะยาวนาน ..ไม่ว่าญี่ปุ่นเต็มใจหรือไม่ก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้นแล้วและยากจะหวนกลับคืน..
    สถาการโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  วงการการเมืองโลกได้แบ่งออกเป็นองฝ่ายตามความแตกต่างของอุดมการ์ คือ โลกเสรีนิยมประชาธิปไตย และ ฝ่ายคอมมิวนิสต์ ซึ่งก่อเกิดเป็นสงครามรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่าสงครามเย็น จีนกลายเป็นคอมมิวนิสต์ในเดือนตุลาปี 1949 สหรัฐจึงต้องทบทวนนโยบายของตนในเอเซียใหม่และได้พเจารณาถึงฐานะในแง่ยุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาใประเทศญี่ปุ่น ความคิดที่จะสร้างญ่ปุ่นเป็นพลังถ่วงดุลอำนาจคอมมิวนิสต์ในเอเซียตะวันออกเร่งเป็นจริงขึ้นเมื่อเกิดสงครามเกาหลีในปี 1950 ญี่ป่นเป็นฐานทัพส่งกำลังบำรุงให้แก่กองทัพสหประชาชาติ
     ญี่ปุ่น “เลี่ยงบาลี” จากรัฐธรรมนูญมาตราที่ 9 กำหนดให้เป็นสิทธิโดยอำนาจอธิปไตยของประชาชาติที่จะประณามสงครามชั่วนิรันดร์ ญี่ปุ่นทำได้เพียงจัดตั้งกองกำลังตำรวจสำรอง เป็นกำลังกึ่งทหาร ประมาณ 75,000 นาย มีหน้าที่รับผิดชอบต่อความมั่นคงของประเทศ กองกำลังนี้ถูกเรียกว่า “กองกำลังป้องกันประเทศ”
       ในปี 1951 การยึดครองญ่ปุ่นได้สิ้นสุดลง แต่ความผูกพันยยังเหมือนเดิมและแน่นแฟ้นเป็นพันธมิตรตามสนธิสัญญาว่าด้วยความั่นคงร่วมกัน ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นหมดโอกาสที่จะผูกมิตรกับโลกคอมมิวนิสต์
     ความสัมพันธระหว่างญี่ปุ่นกับโลกคอมมิวนิสต์เป็นตัวอย่างที่ดีของความยากลำบากที่ญี่ปุ่นจะมีความสัมพันธ์กับประเทศอื่นใดที่มิได้อยู่ในโลกเสรี แม้ญี่ปุ่นจะเป็นฝ่ายแพ้สงคราม จีนยังคงหวาดระแวงภัยญี่ปุ่น ซึ่งจีนทั้งเกลียดทั้งกลัว ญี่ปุ่นยังคงเป็นมหันตภัยคุกคามเสถียรภาพความมั่นคงของจีนและรุเซีย โดยเฉพาะเมื่อเกิดสงครามเย็นขึ้นในยุโรป สหรฐฯได้เปลี่นยนโยบาย จากากรมุ่งทำลายศักยภาพทางทหารของญี่ป่น มาเป็นนโยบายสร้างญ่ปุ่นเป็นมหาอำนาจเพื่อถ่วงดุลอำนาจคอมมิวนิสต์ในเอเซียตะวันออก  แม้ญ่ปุ่นจะสิ้นเขี้วยเล็บ แต่สามารถสร้างกำลังแสนยานุภาพเมือใดย่อมได้ ถ้าญี่ปุ่นสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญ ความหวาดกลัวภัยญี่ปุ่นสะท้อนในความออกมาในความสำคัญตอนหนึ่งของสนธิสัญญาระหว่างจีนกับรุสเซียว่าด้วยมิตรภาพ..
    อย่างไรก็ตามเมือสัมพันธภาพระหว่างญี่ปุ่นต่อรุสเซียดีขึ้นแล้ว รุสเซียจึงเปิดทางให้ญี่ปุ่นเข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติในปี 1956 ส่วนความสัมพันธ์กับจีนญ่ปุ่นก็ประสบปัญหาด้วยเช่นกัน เหตุที่จีนตั้งเงื่อนไขมากมาย และด้วยเหตุความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันระหว่าง ปค 1895-1945 ชาวญี่ปุ่นมีความรู้สึกละอายในพฤติกรรมไร้มนุษยธรรมที่ได้ปฏิบัติต่อชาวจีนในระหว่างสงครามปละแรรถนาจะมีความสัมพันธ์อันดีกับจีน แต่ในขณะเดี่ยวกัน ญี่ปุ่นได้สร้างอุปสรรคกีดขวางความปรารถนานั้นเอง โดยการเดินตามสหรัฐอเมริกาในการถือนโยบายจีนเดียว คือ ไม่รับรองจีน หากแต่รับรองจีนชาตินิยมแห่งไต้หวัน และจีนก็กล่าวหาญีปุ่นเสมอมาว่า มีเจตจำนงที่จะสร้างกำลังแสนยานุภาพใหม่…
     เพียงแค่นั้นญ่ปุ่นก็ระย่อที่จะปฏิบัติตามความต้องการของจีน  อุปสรรคยิ่งใหญ่คือสหรัฐอเมริกาและไต้หวันซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ญี่ปุ่นจะตัดสินใจเกียวกับสัมพันธภาพกับจีน แต่ความปรารถนาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจก็นับว่าสูงมา เพราะจีนและรุสเวยคือตลาดการค้าที่ใหญ่มากสำหรับญ่ปุ่น ทั้งสองประเทศมีทรัพยากรธรรมชาติมหาศาลเป็นที่ปรารถนาของญี่ป่นที่จะเขาไปลงทุนพัฒนา ทั้งรุสเซียมีแหล่งน้ำมันและแร่ธาตุในไซบีเรีย และจีนมีแหล่งน้ำมันและแร่ธาตุทรัพยากรในประทเศมหาศาลแม้ญีปุ่นจะไม่สามารถทำสนธิสัญญาสันติภาพกับสองยักษ์ใหญ่แห่งโลกคอมมิวนิสต์ ญี่ปุ่นมิได้ปิดหนทางที่จะได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากสองประเทศนั้น เพราะญี่ปุ่นถือว่า การเมืองและเศรษฐกิจเป็ฯเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกัน หลักการนั้นระบุชัดว่า “การแบ่งแยกรัฐบาลฝ่ายบริหารออกจากเรื่องของเศรษฐกิจ” คณะผู้แทนญี่ปุ่นมีคความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับสองประเทศนั้นเป็นปกติวิสัย
    การค้ากับประเทศเพื่อบ้านในเอเซียตะวันออกญี่ปุ่นประสบปัญหาในระยะแรก เพราะความหวากกลัวญีปุ่น ไม่ต้องการจะคบค้าด้วย แต่สุดท้ายด้วีบวามสามารถในการโฆษนาสินค้าแลบริการและสินค้าที่มีราคาถูกมากทำให้ญี่ปุ่นสามารถตีตลาดการค้ารหว่างประเทศได้สำเร็จในทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Berliner Mauer

    ครุสซอฟมีความหวังมากกว่า เมื่อสหรัฐอเมริกามปรธานาธิบดีคนใหม่แล้วการเจรจาเรื่องเบอร์ลินอาจจะง่ายขึ้นกว่าเดิม ดังจะเห็นได้ว่า ครุสซอฟเสนอให้มีการพบกันที่เวียนนา แต่เมือ่ได้พบกันในเดือนมิถุนายน ก็มิได้มีการอันใดก้าวหน้า เว้นเสียแต่ว่า ครุสเชฟ ได้แจ้งแก่เคนเนดีว่า ถ้าตะวันตกยังไม่ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับเยอมัน ครุสเชฟได้แจ้งแก่เคนเนดี้ว่า ถ้าตะวันตกยังไม่ลงนามในสนธิสัญญาเสริภาพกับเยอรมัน ครุสเซฟจะลงนามในสนธิสัญญากับเยอรมันตะวันออกในเดือนธันว่าคม แลเพื่อยำจุดยืนนั้นใน เวลาต่อมา ครุเชฟได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อวงการทหารว่า รุสเซีย้ำการกำหนดระยะเวลาหมดเขตและย้อเจตจำนงที่จะลงนามในสนธิสัญญาแยกต่างหากกับเยอมันตะวันออก ถ้าฝ่ายตะวันตกปฏิเสธที่จะเจรจาด้วย สหรัฐอเมริกาจึงตีความหมายคำพูดนั้นว่าเป็นการลองเชิงทดสอบเจตนารมณ์ของฝ่ายโลกเสรี และสหรัฐอเมริกาได้ตัดสินใจที่จะให้คำตอบในลักษณะของการเพิ่มงลประมาณทหารและเพิ่มศักยภาพทางทหาร รุสเซียจึงยืนบันทึกต่อสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมันตะวันตก โดยแจ้งว่า ควรมีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับเยอมัน และควรมีการเจรจาเรื่องการติดต่อสื่อสารกับเบอร์ลินตะวันตกและเรื่องสภานภาพของกรุงเบอร์ลินตะวันตก ในขณะเดียวกัน รุสเซียได้สั่งปิดทางหนีทีไล่ของกรุงเบอร์ลินตะวันออก เพื่อมิให้ชาวเยอรมันตะวันออกหลั่งไหลอกทางด้านนั้น ด้วยวิธีการสร้างกำแพงตลอดแนวพรมแดนระหว่างตะวันออกกับตะวันตกของกรุงเบอร์ลิน ตั้งแต่สิงหาคม 1961 กำแพงเบอร์ลินเป็นเครื่องชีชัดว่ารุสเซียได้เลิกล้มความตั้งใจเดิมที่จะให้มีการทำสนธิสัญญากับเยอรมันตะวันออกและได้ทำให้เบอร์ลินกลายเป็นเหยื่อที่น่ากลัวอันตรายยิ่ง
     ฝ่ายตะวันตกแตกแยกความคิดแดละเกรงสงครามจะอุบัติขึ้น จึนจึงต้องนิ่งเฉยต่อการที่รุสเซียละเมิดข้อตกลงที่พอตสดัม ยิ่งทำให้รุสเซียย่ามใจและข่มขู่มากย่งขึ้นที่จะแทรกแซงการติดต่อทางอากาศระหว่างฝ่ายตะวันตกกับเบอร์ลินตะวนตก และข่มขู่โดขการแสดงกำลังรถถังในกรุงเบอร์ลิน ซึ่งย่อมทำให้เกิดเหตุปะทะกันได้ทุกเมื่อ นอกจากนั้น รุสเซียยังประกาศที่จะทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในชั้นบรรยากาศอีกเป็นเวลา 2 เดือน ซึ่งจะเป็นการทดลองอาวุธนิวเคบียร์ที่มีประสทิธิภาพสูงมากอยางไม่เคยทดลองกันมากอ่น การประกาศเช่นนั้นย่อมเป็นการข่มขวัญตะวนตกอย่างแน่นอนว่า ความขัดแย้งใดมไว่จะสำคัญหรือไม่ก็ตามสามารถลุกลามเป็ฯสงครามนิวเคลียร์ได้ ถ้ามหาอำนาจนิวเคบียร์เข้าเกี่ยวข้องในความขัดแย้งกนั้น ๆ ทั้งนี้ มีข้อควรคิดมิใช่น้อยว่า เหตุใดครุสเชฟจึงใช้กลยุทธข่มขู่เช่นนั้น ครุสเชฟอาจจะเชื่อว่า อังกฤษ องค์การสหประชาชริต และสหรัฐอเมริกามีความกลัวอย่างจริงจังว่ากลยุทธขุ่มขู่นั้นอาจจะเป็นจริง และฝ่ายตะวันตกอาจจะต้องถอยออกจากเบอร์ลิน เป็นเวลากว่า 15 ปี มาแล้วที่ชนชั้นผุ้นำรุสเซียได้รับทราบจากประธานาธิบดีรูสเวลท์ที่ไห้ข้อวิจารณ์ไว้ว่า กองทัพอเมริกันจะไม่อยู้ในยุโรปนานเกิด 2 ปี นับจากสงครามโลกยุติลง ครุสเชฟเองก็ต้องการให้เรื่องนี้เป็นจริง เพราะในแวดวงผู้ปกครองรุสเซียเองก็มีความรู้สึกที่สับสนเมืองประกาศว่า รุสเซียพร้อมที่จะเสียงให้เกิดสงครามนิวเคลียร์ด้วยเหตุเบอร์ลิน
    ในเดือนตุลา 1961 สภาของพรรคคอมมิวนิสต์รุสเซียได้เปิดประชุมครั้งที่ 22 ทั่วโลกคาดว่าจะได้ข่าวการลงนามในสนธิสัญญากับเยอรมันตะวันออกและจะมีการท้าทายกันด้วยเรื่องเบอร์ลิน แต่ประกาฏว่า ไม่มีวีแววเรื่องเช่นนั้น ครุสเชฟได้กล่าวในที่ประชุม “เราจะไม่ยืนกรานให้มีสนธิสัญญสันติภาพอย่างแน่นอนภายในวันที่ 31 ธันวาคม สิ่งสำคัญคือ การวินิจฉัยประเด็นต่าง ๆ การขจัดซากเดนสงคราม การลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับเยอมัน นั่นคือปัญหาที่สำคัญที่สุดและจำเป็นอย่างยิ่ง” ณที่ประชุม ครุสเชฟยังได้ย้ำความสำคัญของปัญหาการกำหนดเขตปลอดนิวเคลียร์ในยุโรปและตะวันออกไกล ทั้ง ๆ ที่ครุสเชฟก็ทราบดีว่าเป็นไปมิได้ เพราะจีนกำลังผลิตอาวุธนิวเคียร์อยู่นอกเนหือการบังคับของรุสเซีย การหยิบยกประเด็นอาวุธนิวเคลียร์ข้นมาพูดถึงนั้น แสดงชัดเจนว่า รุสเซยเองในด้านหนึ่งก็ต้องการสมานฉันท์ นายอันเดร โกรมิโก รัฐมนตรี่การต่างประเทศได้กล่าวในที่ประชุมนั้นว่า “ ประเทศของเราให้ความสำคัญแก่คุณลักษณะแห่งความสัมพันธ์ระหว่างสองยักษ์ใหญ่ ถ้าสองประเทศนี้รวมความเพียรอุรสาหะในการมุ่งสันติภาพแล้วใครจะหาญและใครจะอยู่ในฐานะที่จะคุกคามสันติภาพ”
     ผู้ที่ให้ความสนใจแก่สุนทรพจน์ของโกรมิโก มีเพียงสองประเทศ คือ จีนและฝรั่งเศสนอกนั้นเพิกเฉยหมด สไตล์การกล่าวสุนทรพจน์และเนื้อหาสาระล้วนสะท้อนคุณลักษณะของการทูตรุสเซียได้ว่า เมื่อไดที่รุสเซียเห็นความจำเป็นที่จะต้องประนีประนอมกับตะวันตกรุสเซียจะแสดงออกโดยวิธีการทูตอย่างคลุมเครือแฝงชีน้ำ ทว่าเปิดช่องว่าให้ตีความเป็นหลายแง่มุมไ แม้ปรารถนาสิ่งใด รุสเซียไม่บอกกล่าวแสดงออำโดยตรง ทว่าจะแสดงท่าที่ผลักดันให้อีกฝ่ายเป็นฝ่ายริเริ่มก่อนที่สมประสงค์ของรุสเซียเอง และมักไม่เปิดเผยจุดอ่อนของตนด้วยเมื่อครุสเชฟเจรจากับสหรัฐอเมริกา ครุสเชฟระมัดระวังมากที่จะให้เป็นที่เข้าใจว่า โลกคอมมิวนิสต์ทรงไว้ซึ่งเอกภาพไม่มีวันสั่นคลอน ความร้างฉานกับจีนจะถูกซ่อนเร้นไว้เพื่อมิให้อำนาจต่อรองเรื่องเยอรมันด้อยลง และรุสเซียจะเสริมส่งให้สหรัฐอเมริกาถลำลงในห้วงมหรรณฑแห่งวิกฤติการณ์

     เมื่อกำแพงเบอร์ลินได้ก่อให้เกิดความตึงเครียดขึ้น ครุสเชฟก็พร้อมที่จะผ่อนคลายความตึงเครียดเอง เมื่อเป็นผู้ก่อสถานการณ์ ย่อมเป็นผู้ระงับเอง ดังที่เขาได้ให้สัมภาษณ์นิตยสร นิวยอร์ค ไทม์ส ฉบับเดือนกันยายน และได้ส่งสารตเป็นการกลับถึงเคนเนเ สารนั้นได้ชี้แนะให้มีการเจรจาปัญหาคิวบาและลาว และขอเชิญเคนเนดี้ไปเยื่อนมอสโก สารที่มีถ่อยความรอมชอมย่อมแตกต่างจากพฤติกรรมของครุสเชฟในการสั่งปิดเมืองเบอร์ลินด้วยกำแพง
     ข้อเรียกร้องในสารนั้นทำให้วิกฤติการณ์เบอร์ลินยุติลง และก่อเกิดภาวะการผ่อนคลายควมตึงเครียดลงได้ โดยที่รุสเซียเป็นฝ่ายเสียหายที่ได้กระทำการขัดต่อหลักมนุษยธรรม ถึงกระนั้น รุสเซียำตอ้งปฏิบัติการเช่นนั้น เพราะรุสเซียหวาดวิตกมากเรื่องเยอรมันตะวันตกจะผลิตอาวุธนิวเคลียร์และวิตกกังวลที่จีนเองก็กำลังพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ฐานะด้านยุทธศาสตร์สำหรับรุสเซียนับว่าอยู่ในขั้นน่าวิตกเพราะกระหนาบด้วยประเทศเพื่อบ้านที่ทรงพลานุภาพด้วยอาวุธนิวเคลียร์เช่นอย่างเยอรมันตะวันตกและจีน
     วิกฤติการณ์เบอร์ลินได้แสดงให้เห็นว่ารุสเซียอยู่ในภาวะยากที่จะวางตัวเป็ฯพอใจแก่โลกเสรีและดลกคอมมิวนิสต์ การรักษาภาพพจน์แห่งเอกภาพของโลกคอมมิวนิสต์นับว่าเป็นการจำเป็นเพื่อเป็นอำนาจต่อรองในการเจรจากับโลกเสรี แต่ในขณะเดียวกัน โดยผูกพันต่ออุดมการณ์ปฏิวัติโลกตามที่จีนยืนกราน รุสเซียก็ต้องแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อโลกเสรีร ซึ่งก็เป็นการทำลายโอกาสที่จะมีการสมานฉันท์กับโลกเสรีซึ่งจะช่วยยุติปัญหาเยอรมันได้ รุสเซียต้องพยายามทำลายแวดวงวัฏจักรที่มีแต่ทางตันให้ได้โดยกำหนดแผนใหม่ แต่แผนนั้นกลับทำให้โลกใกล้สู่ภาวะสงครามนิวเคลียร์ยิ่งขึ้น
        ใน ค.ศ. 1962 รุสเซียได้ลำดับความสำคัญของนดยบายที่จะปฏิบัติดังนี้
- ป้องกันมิหใจนมีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง หรือต้องควบคุมหรือจำกัดกำลังรบนิวเคลียร์ของจีน
- ป้องกันมิหใขอรมันตะวันตกมีอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งก็หมายถึงการที่รุสเซ๊ยต้องการให้มีสนธิสัญญาสันติภาพกับเยอมันทั้งสองฝ่าย เป็นการประกันเยอมันให้มีสองประเทศต่อไป และจำกัดศักยภาพทางทหารของเยรมันตะวันตก
      จุดมุ่งหมายของรุสเซียเช่นนั้นมิได้เป็นสิ่งที่โลกเสรีจะอ่นออกล่วงรู้ได้โดยตลอดโดยเฉพาะโลกเสรีไม่อาจจะประเมินได้ว่า รุสเซียมีความคิดประการใดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาวุธนิวเคลียร์กับการเมือง รุสเซ๊ยเองก็ตรองไม่ตกในเรื่องเช่นนั้น เพราะรุสเซียได้ตั้งโจทก์ตุ๊กตาที่หาคพตอบมิได้ว่า รุสเซียไม่ประสงค์ที่จะให้รัฐบริวารของตนมีอาวุธนิวเคลียร์แต่ก็เกรงว่า ถ้าเยอมันตะวันตกมีอาวุธนิวเคลียร์แล้วโจมตีเยอรมันตะวันออก รุสเซียจะทำอย่างไรเมืองตองเผชิญกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจจะทดแทนอย่างสาสม ปัญหาสงครามนิวเคลียร์ที่อาจเป็นไปได้ ทำให้รุสเซียต้องไตร่ตรองปย่งหนักว่า แม้จะชนะสงครามประเภทนั้น แต่ระบอบคอมมิวนิสต์เองจะอยู่รอดหรือไม่เป็นข้อควรคิด อีกประการหนึ่ง ถ้ามีการโจมตีมอสโกด้วยอาวุธนิวเคลียร์ รุสเซียจะแก้เกมส์ด้วยวิธีใด ปัญหาเยอรมันและปัญหานิวเคลียร์จึงเป็นปัญหาที่มีความเกี่ยวข้องกันมาก รุสเซียตระหนักดีว่า แม้โลกเสรีจะมีอาวุธนิวเคลียร์ก็คงจะไม่ใช้เว้นเสียแต่จะถูกยั่วยุสุดขคดในโลกแห่งความแตกแยกเช่นนั้น การลดกำลังรบจึงดูจะเป็นสิ่งที่ปฏิบัติมิได้ แต่เป็นประโยชน์แก่รุสเซียในการโฆษณาชวนเชื่อ รุสเซียเชื่อมั่นว่าตนมีจิตประสาทที่แข็งแกร่งกว่าโลกเสรีมาก การแข่งขันกันด้วยอาวุธนิวเคลียร์จะเป็นประโยชน์แก่รุสเซีย แม้ว่ารุสเซียจะมีอาวุธนิวเคลียร์น้อยกว่าแต่ไม่ถือเป็นประเด็นสำคัญในการแข่งขันเช่นนั้น วอชิงตันเองเป็นฝ่ายวิตกมาก และได้มีการพิจารณาที่จะสร้างระบบป้องกันการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ เป็นเหตุให้รุศเซียยิ่งเชื่อมั่นว่า โลกเสรีกลัวสงครามนิวเคลียร์อย่างมาก รุสเซียก็มีความหวาดวิตกมาก เมื่อเห็นว่าการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์เป็นจริง รุสเซียจึงสนใจที่จะให้มีกาลดกำลังรบ และการห้ามมีกลยุทธ์นิวเคลียร์ แม้จนถึงการทำลายอาวุธนิวเคลียร์ที่มีอยู่เสีย การงดทดลองเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งที่คาดได้ว่าจะมีผลน้อย ปม้รุสเซียเคยเสนอในปี 1958 ให้มีการพักการทดลองในชั้นบรรยากาศ ในปี 1961 เหตุผลทางการเมืองและเทคนิคกระตุ้นให้รุสเซียเป็นฝ่ายทดลองในชั้นบรรยากาศอีก เพื่อเป็นการตรวจสอบว่า จะสามารถป้องกันจีนและเยอรมันตะวันตกมิให้มีอาวุธนิวเคลียร์ได้หรือไม่ด้วย

The Lao People’s Democratic Republic

     ตามข้อตกลงเจนีวาแห่งปี 1954 ลาวถูกกำหนดให้เป็นประเทศเอกราชที่ต้องดำรงตนเป็นกลาง และเวียดนามแบ่งเป็นสองประเทศโดยมีเส้นขนานทร่ 17 องศา เป็นเส้นพรมแดนนับแต่นั้นมา อำนาจอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาปรากฎเด่นชัดในเวียดนามใต้และลาว ทั้งสองประเทศได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐมหาศาลเพื่อให้ดำรงความเป็นรัฐต่อไปได้เป็นการต่อต้านภัยคอมมิวนิสต์ภายในคุกคาม ความช่วยเหลือแก่ลาวมากมายนี้เประจยบกับรัฐบาลลาวเองมีทีท่านิยมโลกเสรีมากกว่า ทำให้เวียดนามเหนือและลาวแดง ภายใต้การสนับสนุนของจีนได้ก่อการร้ายขึ้นทั่วประเทศลาวในค.ศ.1959 ภาวะปั่นป่วนจากการที่รัฐบาลมิได้วางตัวเป็ฯกลาง และภัยคอมมิวนิสต์ได้เป็นปัจจัยก่อเกิดการรัฐประหารโดยฝ่ายทหารผู้รักชาติขึ้นในเดือนสิงหาคม 1960 แต่แล้วรัฐบาลใหม่ภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาก็ยึดอำนาจคืนได้อีก
     วิกฤติการณ์ในลาวยังความตื่นตระหนกมาสู่ปรเทศเพื่อนบ้าน คือไทย นายกรัฐมนตรีสุวรรณภูมาขอให้รสเซียช่วย รุสเซียส่งอาวุธยุทธโธปกรณ์มาให้ทางอากาศ ส่วนใหญ่อาวุธตกไปอยู่ในมือฝายลาวแดง ซึ่งมีกำลัเงพือ่มากขึ้นพอที่จะเป็นกำลังสำคัญในการล้มรัฐบาลลาวและเป็นกำลังแก่พวกเวียดนามเหนือให้แทรกซึมเวียนามใต้ได้เป็นอย่างดีความช่วยเหลือทางทหารของรุสเซียก่อเกิดวิกฤตณ์ความตึงเครียดขึ้นจนเกิดข้อสงสัยกันว่า รุสเซียจะเข้าไปมีบทบาทแข่งกับสหรัฐอเมริกาและจีนอย่างจิรงจัวมากน้อยเพียงใด ต่อข้อสงสัยนี้ และเพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่แน่วแน่มิให้โลกเสรีเข้าใจผิด ครุสซอฟได้กล่าวสุนทรพจน์ ณ ที่ประชุมมอสโก ในวันที่ 6 มกรราคม 1961 ว่า ขบวนการาปลดแอก (หรือ “ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์” ตามความหมายของรัฐบาลต่าง ๆ ) ที่เกดขึ้นในรัฐต่าง ๆ นั้น แม้จะเป็นขบวนการคอมมิวนิสต์ รัฐบาลรุสเซียจะสนับสนุนให้ความช่วยเหลือทางทหารเท่านั้นซึ่งหมายความว่า รุสเซียจะไม่ใช้กำลังทหารของตนเข้าแทรกแซงช่วยเหลือฝ่ายคอมมิวนิสต์พื้นเมืองต่อต้านรัฐบาล จีนถือว่า คำประกาศนั้นเป็นการปฏิเสธของรุสเซียที่จะไม่ยอมรับความเป็นผู้นำโลกคอมมิวนิสต์ (เพราะเป็นผู้นำก็ต้องช่วยเหลือคอมมิวนิสต์ทุกฝ่าย เป็นภาระที่หนักเกินไป และรุสเซียต้องเสี่ยงเผชิญหน้ากับโลกเสรี)จีน จึงประมาณว่ารุสเซียถือนโยบายเอาตัวรอด
     แม้รุสเซียจะประกาศนโยบายลาวที่แจ่มชัด แต่เวียดนามเหนือและลาวแดงก็ยังคงรุกคืบหน้าต่อไปในการทำสงครามกลางเมืองกับรัฐบาลภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาจนสหรัฐอเมริกาคิดที่จะแทรกแซงทางทหารในสงครามนั้น แต่ก็ต้องพยายามยับยั้งชั่งใจในการเผ้าดูสภานการณ์ในลาวที่เพียบหนัก ทหารเวียดนามเหนือข้ามพรมแดนเข้าไปในลาวคุกคามเสถียรภาพความมั่นคงของลาวและระเทศเพื่อนบ้านคือ ไทย ปละเวียนามใต้ สหรัฐอเมริกาและรุสเซียได้ร่วมประชุม ณ เวียนนา เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1961 ตกลงในหลักการที่จะให้ลาวเป็นกลางตามข้อตกลงเดิม ณ ที่ประชุมเจนีวา ค.ศ. 1954 ได้มีการประชุมเจนีวาครั้งที่สองในระหว่างเดือนพฤษภาคม ปี 1961 ถึงกรกฏาคม 1962 ผุ้แทนจีนเรียกร้องให้ยุบเลิกองค์การซีโต ซึ่งขณะนั้นที่มีท่าว่า ถ้าสงครามลาวจะขยายตัวมาถึงไทย ทหารจากองค์การนี้จะเข้าสงครามคุกคามเสถียรภาพความมั่นคงของจี แต่ข้อเรียกร้องนิ้มิได้รับความสนใจจากบรรดาประเทศต่าง ๆ ที่เข้าประชุม
      ที่ประชุมลงมติให้หยุดยิง และกำหนดลาวเป็นเขตปลอดทหาร ถึงกระนั้น ทหารเวียดนามเหนือก็ยยังคงประกฏอยู่ในลาวแต่เหตุกาณ์ไม่นับว่ารุนแรงมากนัก เพราะพวกคอมมิวนิสต์ในลาวที่เรียกกันว่า ขบวนการประเทศลาว มิได้มีพลังอำนาจเพ่มขึ้นตามนโยบายขงอเวียดนามเหนือที่พอใจที่จะเห็นพรรคคอมมิวนิสต์ลาวมีอำนาจในที่ราบสูงภาคเหนือ ซึ่งใช้เป้นเส้นทางส่งกำลังบำรุงสำหรับสงครามเวียดนามที่จะเกิดขึ้นในอนาคตส่วนจีนไม่ต้องการที่จะเสี่ยงเผชิญหน้าสหรัฐอเมริกา ทั้งจีและเวียดนามเหนือจึงมิได้สนับสนุนาวแดงให้ทำสงคราล้าอำนาจรัฐบาลลาว อีกประการฯง การเมหืองในเอเซียอาคเนย์นั้นถ้าเหล่นเสี่ยงเกินไปก็เป็นอันตรายต่อตนเอง
     นอกจากการแก้ปัญหาลาวแล้ว ที่ประชุมไม่พิจารณาหาข้อยุติในเรื่องอื่นใด เลยแม้ครุสเซฟจะได้ปราศรัยต่อประชาชนทางโทรทัศน์ว่า ปี 1961 เป็นปีแห่งการตกลงข้อยุติวิกฤติการณ์เบอร์ลิน แต่ปัญหาเบอร์ลินมิได้ยุติ ปัญหาเบอร์ลินกลับทำให้โลกคอมมิวนิสต์กับโลกเสรีขัดแย้งกันมากยิ่งขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Cuban Missle Crisis

     ปี 1962 เมื่อจอห์น เอฟ.เคเนดี้ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีครุสเซฟได้อ้างง่าตนมีส่วนในชัยชนะด้วย เพราะรุสเซียไม่ยินยอมให้ไอเซนฮาวร์ได้รับความเชื่อถือจามหาชนในเรื่องการประชุมสุดยอดปี 1960 และในเรื่องผ่อนคลายความตรึงเครียด ในระยะแรกความรู้สึกเป็นมิตรมีปรากฎขัดมาก เคนเนดี้ส่งนายเลเวลลิน ทอมป์สัน ติดตามครุสเชฟซึ่งไปเยื่อนไซบีเรียเพื่อทาบทามให้มีการประชุมสุดยอดในปลายฤดูใบไม้ผลิ ณ กรุงเวียนนาหรือกรุงสตอกโฮล์ม แต่ครุสเชฟเล่นแง่ปฏิเสธ ยิ่งกว่านั้น เคนเนดี้เองเริ่มไม่แน่ใจเมื่อครุสเชฟโอ้อวดและขู่จากการทีรุสเซียประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียมสู่อวกาศความปั่นป่วนต่อเกมการเมืองที่ครุสเซฟกระทำต่อเคนเนดี้ จึงเป็นที่มาของความสัมพันธ์ในลักษณะเสมือนสงครามประสาท โดยมีเป้าหมายอยู่ที่เรื่องเบอร์ลินและคิวบาซึ่งรุสเซียถือว่าเป็นเรื่องที่เกียวข้องสัมพันธ์กัน รุสเซยจะใช้คิวบาเป็นเครื่องมือให้ตะวัตกต้องผ่อนปรนแก่รุสเซียในเรื่องเบอร์ลินและเยอรมัน แต่วิกฤตคิวบากลับกลายเป็นเครื่องพิสูน์ว่า เรื่อคิวบาเกี่ยวข้องกับการที่รุสเซียสุดสิ้นหนทางที่จะแก้ปัญหาเบอร์ลินมากกว่า

   

วิกฤติการณ์คิวบา
โดยประเพณีนิยม รุสเซียดำเนินนโยบายต่อละตินอเมริกาด้วยความระมัดระวังเต็มไปด้วยความยับยั้งชั่งใจมาก เพราะพรรคคอมมิวนิสต์ของละตินอเมริกาเองอ่อนหัดและอ่อนแอ ขาดฐานมวลชนกรรมกร ความเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์เหล่านั้นมักไม่เป็นที่นิยมนักในสายตารุสเซย รุสเซียมิได้
สนับสนุนให้พรรคคอมมิวนิสต์ใดของละตินอเมริกายึดอำนาจรัฐในประเทศของตน กิจกรรมของพรรคคิมมิวนิสต์ละตินอเมริกา ส่วนใหญ่มีปรากฏในรูปของรายงานตามหน้าหนังสือพิมพ์รุสเซียและโลกคอมมิวนิสต์เท่านั้น ต่อมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รุสเซยสังเกตเห็นความเคลื่อนไหวคึกคักมากของชนชั้นปัญญาชนละตินอเมริกาที่มีความรู้สึกต่อต้านสหรัฐแมริกา และปัญหาเศรษฐกิจของภูมิภาคก็เป็นที่ประจักษ์ชัดว่ามีสหรัฐอเมริกาเข้าไปมีบทบาทช่วยเหลือเป็นนายทุนเจ้าหนี้รายใหญ่
      โดยหลักการแล้ว ลัทธิคอมมิวนิสต์ย่อมกำหนดเสมือนเป็นรอยจากรึกไว้แล้วว่า เป็นลัทธิที่จะกำหนดให้เกิดการกู้เอกราช เพื่อทำให้ฝ่ายตะวันตกเกิดความรู้สึกกระอักกระอ่วมใจ และบั่นทอน,นอำนาจของจักรวรรดินิยมนายทุน หลักการนั้นที่ต็มไปด้วยความซื่อกลายเป็นหลักการที่ลาสมัยไปแล้วโดยสิ้นเชิง และเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่ายดังที่ได้พูดจากันที่เวียนนา  ในสายตาของนักทฤษฎีคอมมิวนิสต์ ความเคลื่อนไหวของนายฟีเดล คาสโตร เพื่อล้ารัฐบาลเผด็จการเป็นความเคลื่อนไหวขึ้นฝึกหัดสำหรับการปฏิวัติไม่ควรค่าแก่ความสนใจใด ๆ ด้วยถือว่า การนิยมกบฏชิงอำนาจ ไม่ควรเป็นที่นิยมยึดถือปฏิบัติ
เพราะกบฏประเภทนั้นเป็นกบฎโดยประชาชนที่สามารถกระทำการได้สำเร็จด้วยเหตุที่สภาพเศรษฐกิจสังคมทรุดโทรม เสมือนผลไม้ที่สุกงอมพร้อมที่จะร่วงหล่นอยู่แล้วในกรณีคิวบาพรรคคอมมิวนิสต์ติดต่อคาสโตร ผู้เป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านระบอบทรราชย์ที่นำโดยนายฟูเกนซิโอ บาทิสตา และได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา คาสโตรร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์ในการต่อสู้จนระบอบทรราชย์ต้องสิ้นสุดลง ผุ้ที่ได้รับชัยชนะซึ่งมีหลายกลุ่มได้เชื้อเชิญคาสโตรหัวหน้าพลพรรคติดอาวุธไม่ถึง 2,000 คน มาเป็นผู้สถาปนาระบอบประชาธิปไตยใหม่
      สถานการณ์เช่นนั้นเป็นที่น่าวิตกสำหรับสหรัฐอเมริกา หน่วยสืบราชการลับจึงจัดตั้งกองกำลังผสมของผู้ลี้ภัยคิวบาขึ้นเพื่อเป็นกองโจรต่อสู้ ส่วนที่มอสโกเอง เรื่องคิวบาเป็นที่ถกเถียงกันมากกว่า ควรจะช่วยเหลือระบอบของคาสโตรหรือไม่ เพราะมอสโกถือว่าคาสโตรมิได้เป็นคอมมิวนิสต์  หากแต่เป็นนักการเมื่องนิยมเสียงเผชิญโชค มากว่า ที่ไม่น่าเชื่อถือและน่าจะยากแก่การควบคุมหรือครอบงำอีกทั้งประเทศคิวบาเองก็มิได้เป็นคอมมิวนิสต์ตามมาตรฐานของรุสเซีย แม้ว่าจะมีผู้นำคิวบาหลายคนเป็นคือ นายรอล และนายเช เกวารา ก็ตาม
        แต่อย่างไรก็ตาม เกาะคิวบาเป็นประเทศทีรุสเซียต้องให้ความสนใจในประเด็นที่ประเทศนี้มีความสัมพันธ์ไม่ราบรื่นกับสหรัฐอเมริกา เป็นช่องว่างให้รุสเซียได้ฉวยโอกาสเข้าครอบงำใหล้แผ่นดินใหญ่ของทวีปอเมริกา  นายมิโคยัน เดินทางไปเยื่อนคิวบา แต่ยังมิได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกัน ถึงกระนั้น รุสเซียได้ให้ความช่วยเหลือแก่คิวบาในการพัฒนาประเทศมากมาย การโอบอุ้มคิวบาได้กลายเป็นสิ่งที่รุสเซยอดมิได้ที่จะยับยั้งได้

     หน่วยงานข่าวกรองรุสเซียทราบล่วงหน้าแล้วว่า สหรัฐอเมริกาจะมีแผนปฏิบัติการทางทหนในคิวบา แต่ก่อนหน้านั้น เคนเนดี้ได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชน ว่า “สหรัฐฯจะไม่แทรกแซงทางทหารในคิวบาไม่ว่าจะโดยภายใต้เงื่อนไขใดรัฐบาลนี้จะทำทุกสิ่ง..เพื่อให้เป็นที่มั่นใจได้ว่า จะไม่มีชาวอเมริกันปฏิบัติการอันใดที่เกี่ยวข้องภายในคิวบา” แม้สหรัฐฯจะยืนยันเช่นนั้ แต่รุสเซียกรทำตรงกันข้า รุสเซียมิได้มีการเตื่อนเคนเนดี้ว่ามิให้มีการปฏิบัติการในคิวบาแต่อย่างไร
     สหรัฐฯตัดสินใจยอพลขึ้นบกที่คิวบารุสเซียโฆษณาชวนเชื่อโจมตีอย่างหนและได้แสดงทีท่าข่มขู่เฉพาะ หลังจากที่สหรัฐอเมริกาประสบความพ่ายแพ้ในการปฏิบัติการทางทหารครั้งน้นแล้ว รุสเซียไดแถลงขั้นตอนที่จะดำเนินการว่า “เราจะขยายความช่วยเหลือสรรพสิ่งที่จำเป็นให้แก่ประชาชนคิวบาและรัฐบาลคิวบาเพื่อขับไล่กานจู่โจมคิวบาด้วยกำลังอาวุธ” และเมื่อวิกฤติยติลง ครุสเชฟได้ส่งสารย้ำไปว่า “พฤติกรรมเยี่ยงโจรอย่างก้าวร้าวรุกรานจะไม่สามรถรักษาระบบของท่านได้” หลังจากชัยชนะทางการทูตในเรื่องคิวบาแล้ว รุสเซียมีความมั่นใจในนโยชายของตนมากขึ้นประจวบเหมาะกับภาวะการณ์ในลาวก็สุกงอมพร้อมที่จะให้รุสเซียเก็บเกี่ยวผลประโยชน์เย้ยหยันจีน

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...