วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Communist and The Third World

      แนวคิดนี้ถือกำเนิดระหว่างสงครามเย็น เป็นคำซึ่งใช้เพื่อธิบาถึงประเทศที่เข้าฝ่ายเดียวกับสหรัฐอเมริกา ประเทศเหล่านี้มักมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และมีระบบเศรษฐกิจทุนนิยม หลังยุคสงครามเย็นความหมายของ “โลกที่หนึ่ง”ได้เปลี่ยนไปให้สามารถปรับใช้ได้กับยุคสมัย จากการจำกัดความดั้งเดิม คำว่า “โลกที่หนั้ง”ได้มามีความหมายในทำนองเดยวกับประทเศพัฒนาแล้ว
      หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติแล้ว โลกแบ่งออกเป็นองขั้วทางภูมิรัฐศาสตร์ อันนำมาสู่สงครามเย็น ในระหว่างสงครามเย็นมีการใช้คำว่า “โลกที่หนึ่ง”โดยองค์การสหประชาชาติ”


     คำว่า “โลกที่หนึ่ง” “โลกที่สอง” โลกที่สามถูกใช้เป็นครั้งแรกเพื่อแบ่งประเทศนโลกออกเป็นสามหมวดหมู่ ความเปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์ของฐานะเดิมหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หรือที่รู้จักกันว่าสงครามเย็นซึ่งประเทศสองอภิมหาอำนาจแข่งขันกันเพื่อความยิ่งใหญ่ในระดับโลกท้ายที่สุดด ทั้งสองประเทศได้สร้างกลุ่มประเทศสองกลุ่ม โดยพื้นฐานความคิดของโลกที่หนึ่ง และโลกที่สอง
     อัลเฟรอ โซวี นักประชากรศาสตร์ได้ประดิษฐ์คำว่าโลกที่สามเพื่อใช้อ้างอิงถึงญานันดรทั้งสมในฝรั่งเศสก่อนการปฏิวัติ ฐานันดรสองอย่างแรกคือ ชนชั้นสูงและพรสอนศาสนา ส่วนฐานันดรที่สามประกอบด้วยประชากรอื่นๆ ทั้งบหมดนอกเหนือจากสองฐานันดรแรก เขาได้เปรียบเทียบโลกทุนนิมกับชนชั้นสูง และโลกคอมมิวนิสต์กับพระสอนศาสนา โซวีเรียกประเทศที่เหลือซึ่งไม่รวมอยู่ในการแบ่งแบบสงครามเย็นังนี้ว่าโลกที่สาม ซึ่งก็คือ ประเทศซึ่งไม่เข้ากับฝ่ายใดแลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใน “ความขัดแย้งตะวันออก-ตะวันตก” ด้วยกาประดิษฐ์คำว่า “โลกที่สาม”โดยตรง ทำให้สองกลุ่มแรกกลายเป็น “โลกที่หนึ่ง”และ “โลกที่สอง”ตามลำดับ
   “โคฟี่ อันนัน” อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ ให้คำจำกัดความกับประเทศพัฒนาแล้ว “ประเทศพัฒนาแล้ว คือ ประเทศที่ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนทุกคนให้มีอิทสระเสรีและมีสุขอนามัยดี อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และยังมองค์กรอื่น ๆ พยายามให้คำจำกัดความสำหรับความหมายของประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาแล้ว ดังนี้
      การจัดกลุ่มหรือกำหนดกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนานั้น เพื่อประโยชน์ในทางสถิติและไม่จำเป็นที่จะมาใช้ในการตัดสินใสถานะของประเทศ หรือขอบเขตในกระบวนการพัฒนา
      สหประชาชาติ ให้ความเห็นดังนี้
“จากตัวอย่างที่เห็นได้ทั่วไป คือ ประเทศญี่ปุ่นใน เอเชีย แคนาดาและสหรัฐอเมริกาในอเมริกาเหนือ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในโอเซียเนีย และประเทศส่วนใหญ่ในยุโรป กลุ่มประเทศเหล่านี้ถูกพิจารณาให้เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ในเชิงสถิติทางกาต้า สหภาพศุลกากร แอฟริการใต้ยังถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และปรเทศอิสราเอลก็อยู่ในกลุ่มปรเทศพัฒนาแล้ว ส่วนในยุโรปกลุ่มประเทศที่กำเนิดขึ้นจกประเทศยูโกสลาเวียเก่าถือเป็นประเทศกำลังพัฒนา ประเทศในกลุ่มของยุโรปตะวันออก และกลุ่มที่เป็นประเทศเครือรัฐเอกราช ในยุโรป จึงไม่ถูกเรียกรวมอยู่ในกลุ่มใด ๆ ของพัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนา”

  การแสวงหารมิตรและความนิยมในโลกที่สาม ย่อมทำให้จีนกับรุสเซียยามที่จะมีความสัมพันธ์ต่อกันดีขึ้นได้ ผลประโยชน์ในโลกที่สามมีแต่จะทำให้เกิดความตรึงเครียดขึ้นอย่างหลีกเลื่ยงไม่ได้
      ความตึงเครียดได้บังเกิดขึ้นอีกเนื่องจากผู้นำของรุสเซียเองมิได้มีทีท่ายินยอมปรองดองกับจีนแต่อย่างใด ต่างแข่งขันกันแสวงหาอำนาจอิทธพลทั้งในเอเวียและแอฟริกาทั้ง ๆ ที่แต่เดิมรุสเซียเองมิได้ให้ความสนใจแก่เอเชียเท่าใดนักนองเหนือจากอินโดนิเซียและอินเดีย ครั้งครุสเชอฟหมดอำนาจแล้ว โลกที่สามเร่มเคลื่อนไกวคึกคักจะมีการประชุมดังที่เคยประชุม ณ บันดุง ท่ามกลางสปิริตบันุงครั้งที่สองนี้ จีนมุ่งโจมตีลัทธิจักวรรดินิยมแบบอเมริก และส่งเสริมบทบาทของตนในการนำโลกที่สามโดยตั้งแนวร่วมต่อต้านสหรัฐอเมริกา จีนเมแผ่ขยายอำนาจอิทธพลเข้าไปในโลกที่สามโดยผ่านที่ประชุมนั้นเต็มที่ ครั้งนั้นการประชุมกำหนดสถานที่คื อเมืองแอลเจียร์ ในเดื่อนมิถนายนก่อนหน้านั้นนายผงเจิน นายกเทศมนตรีปักก่งไปเยื่อนอินโดนีเซียแล้วกล่าวสุนทรพจน์โจมตีรุสเซียอย่างหน้าตาเฉย และถือความแตกต่างเรื่องผิวเป็นเครื่องแยกรุสเซียออกจากกลุ่มโลกที่สาม เผงเจินได้กล่าวเกริ่นถึงนโยบายกีดกันผิว ต่อต้านรุสเซียไว้ว่า “โดยถือตนเหนือกว่าทางด้านเผ่าพันธุ์ เคียงข้างพวกอเมริกาชั้นกลางและบรรดาจัรวรรดินิยม บรรดานักแก้ไขปรับปรุงลัทธิแบบครุสเชฟ ร้องตะโกนพร้อมกับพวกจัรวรรดินิยมด้วยเรื่องพวกผิวอื่น ๆ เป็นปฏิปักษ์ต่อพวกผิวขาวจีนเรียกร้องให้กลุ่มประเทศในโลกที่สามงดรับความช่วยเหลือจากรัฐใดก็ตามที่มิได้เป็นรัฐในทวีปแอฟริกาและเอเซียในที่นี้ ย่อมหมายถึง สหรัฐอเมริกาและรุสเซีย รุสเซียตอบโต้โดยแสดงความปรารถนาอย่างเปิดเผยว่าต้องการร่วมประชุมที่แอลเนียร์ด้วย นับเป็นคร้งแรกที่รุสเซียได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศต่อโลกที่สามในแนวที่ต้องกการร่วมกิจการทุกประเภทถ้าเป็นไปได้กับโลกที่สาม โดยที่ฐานะที่เป็นผู้นำหรือมีบทบาทสำคัญเช่นจีนได้ก็ยิ่งดี การประชุมที่แอลเนียร์จึงจัดเป็นเวทีการเมือง ที่ประคารมของสองฝ่ายนอกขอบเขตโลกคอมมิวนิสต์อย่างชนิดตัวต่อตัวเลยที่เดียว และเป็นเวทีสำหรับจีนและรุสเซียในการแสวงหาอำนาจอิทธพลและแรงสนับสนุนจากโลกที่สาม แต่เป็นที่น่าเสียดายที่การประชุมครั้งนั้นต้องล้มเลิกเพราะเกิดรัฐประหารในแอลจีเรีย ก่อนการประชุม 10 วัน
     ในการแข่งขันการสร้างอำนาจอิทธพลในโลกที่สาม จีนนับว่าเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำทางการทูตมากและผุ้ที่จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์แทนจีนคือ รุสเซีย ในทุกหนแห่ง จีได้ประกาศนโยบายปฏิวัติโลกแนวใหฒ่จากการใช้กำลังควารรุนแรงมาเป็นการปฏิวัติตามแบบอย่างของเมา จีนได้ทดลองวิธีปฏิวัตินั้นในกรณีเวียดนาม และในโลกที่สาม แต่ประสบความล้มเหลว เพราะจีนส่งสริมการปฏิวัติและเจริญสัมพันธไมตรีกับรัฐบาลประเทศนั้นด้วย แหล่งล้มเหลวมากคือใน อังโกลา โมซัมบิก โรดีเซีย แอฟริกาใต้ คองโก ในเอเชียเอง จีนทุ่มเทให้ความช่วยเหลือแก่อินโดนีเซียมาก แต่การปฏิวัติล้มเหลวในเดือนสิงหาคม ผลร้ายแรงที่จีได้รับจากการส่งเสริมการปฏิวัติโลกแบบเมาทุกหนแห่งดังกล่าวคื อการที่ประเทศเหล่สน้นตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนและมีความสัมพันะอันดีงามกับรุสเซีย ที่นับว่า เป็นสงครามที่ทั่วโลกสนใจคือ สงครามระหว่างอินเดียกับปากีสถานด้วยเกตุกรณีพิพาทดินแดนแคชเมียร์ในเดื่อสิงหารคม มหาอำนาจผู้เกี่ยงวขช้อง คือ สหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือแก่ปากีสถานและอินเดีย จีน และรุสเซีย ได้ประท้วงอย่างแข็งขัน จนสหรัฐอเมริกาต้องงดให้ความช่วยเหลือแก่อินเดีย ภาวการณ์ส่อชัดว่า อินเดียเป็นฝ่ายที่ชัยในการรบ ปากีสถานขอร้องให้สหรัฐอเมริกาไกล่เหลี่ยยุติสงคราม แต่นีนยังคงส่งเสริมให้ปากีสถาน ลงนามในข้อตกลงหยุดยิงและรุสเซียไกล่เกลี่ยให้เปิดการเจรจาเรื่องความขัดแย้งนั้น จีนพอจะกู้ชื่อได้บ้าง แม้จะไม่ใหญ่หลวงนักถ้าเทียบกับรุสเซียผู้มีบทบาทสำคัญในการยุติความขัดแย้ง
     นอกจากจะแสดงความช่วยเหลือพรรคคอมมิวนิสต์พ้นเมืองก่อการร้ายแล้ว โรคระบาดปฏิวัติแบบจีนโดยสื่อการทูตเรดการ์ดยังแผ่ขายลุกลามไปสู่ประเทศเพื่อบ้านด้วยก่อเกิดความไม่สงบทำให้ประเทศเพื่อบ้านมิใคร่พอใจจีนเท่าใดนัก กล่าวโดยสรุปแล้ว พฤติกรรมของจีนได้สร้างศัตรูมากกว่ามิตรในโลกเพิ่มขึ้น โลกที่สามหมดความเลื่อใสศรัทธาจีนความเป็นผู้นำที่จีนปรารถนาค่อย  ๆจางหายไป สัมพันธภาพกับรัฐต่าง ๆ เสื่อมทรามลง บทบาทจีนตั้งแต่ 1966 จึงเป็นไปในด้านที่จีนแยกตัวเองอยู่โดดเดี่ยวสมความปรารถนาของรุสเซีย
      ท่ามกลางสถานการณ์โลกที่ดึงทั้งจีนและสหรัฐอเมริกาให้ต้องเกี่ยวข้องด้วยนั้นรุสเซียได้ประเมินสถานการณ์และทบทวนนโยบายต่างประเทศ และได้กำหนดแบบอย่างนโยบายต่างประเทศโดยคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้
- วิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างสืบต่อเนื่อง
- เอกภาพในโลกคอมมิวนิสต์
- พัฒนาการของประเทศรุสเซียเอง สังคมอุตสาหกรรมบีบบังคับให้รุสเซียต้องใช้วิธีการกระจายอำนาจในการปกครอง นโยบายต่างประเทศย่อมจะถูกแปรเปลี่ยนรูปโดยยังคงลักษณะเดิม
     ความวิตกกังวลของรุสเซียนั้นอยู่ที่การธำรงไว้ซึ่งเอกภาพของโลกคอมมิวนิสต์และความเป็นผุ้นำบรรดาพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลก การสร้างเขตอิทธิพลให้สำเร็จผลในตะวันออกกลางและปัญหาการอยู่ร่วมกันโดยสันติกับสหรัฐอเมริกาโดยมิให้ผิดพ้องหมองใจกับจีนสถานการณ์โลกมีส่วนเสริมสร้างรุสเซียให้ดูโดดเด่นว่าเป็นอภิมหาอำนาจฝ่ายเดียวที่ใฝ่สันติโอกาสที่รุสเซียจะแสวงหามิตรไมตรีกับโลกตะวันตกนับว่าสูงมากนับแต่ ปี 1965 เป็นต้นมา

วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Yom Kippur 1973 War

สงครามยิว-อาหรัฐในสงครามหกวันเป็นครั้งที่ 3 การรบกัน โดยฝ่ายิสราเอลได้รับชัยชนะพร้อมทั้งเข้ายึดพื้นที่บริเวณปาเลสไตน์ไว้อีกเป็นจำนวนหลายพันตารางกิโลเมตร รุสเซียได้แสดงตัวเคียงข้าอาหรับ โดยคาดว่าโลกเสรีและอิสราเอลจะยับยั้งชั่งใจ รุสเซียมีความเชื่อว่า อำนาจอิทธพลตลอดจนกำลังทางทะเลของตนในเมดิเตอร์เรเนียนมีกำลังอำนาจมากพอที่จะทำให้
โลกเสรีต้องยินยิมถอนตัวหลีกเลี่ยงเข้าสู่สงครามกับอียิปต์ที่มีรุสเว๊ยอยู่เบื่องหลัง วิกฤติการณ์จะสลายตัวโดยรุสเซียจะมีหน้ามีตา มีอิทธิพลมากขึ้นในตะวันออกกลาง อีกทั้งสามารถแสดงให้โลกเห็นว่า สันติภาพโลกขึ้นอยู่ที่รุสเซียว่าต้องการหรือไม่ต้องการมากกว่าอน ไม่มีอภิมหาอำนาจใดจะมัฐานะอำนาจเช่นรุสเซีย แม้แต่สหรัฐอเมริกายังต้องยอมถอยออกห่างเพื่อเลี่ยงสงครามเผชิญหน้ารุสเซีย รุสเซียคาดว่าจะใช้เชิงการทูตเช่นนั้นบีบบังคับอีกฝ่ายให้ยอมจำนน ถ้าแนวคิดคาการณ์ของรุสเซียนี้เปรียบเสมือนเกมพนัน ก็เท่ากับว่ารุสเซียได้เอาเกียรติยศเงินทองมาวางเป็นเดิมพันกมดสิ้นโดยคาดว่าจะเป็นฝ่ายชนะเต็มประตู แต่เกมการเมืองมิได้เดินไปในแนวที่รุสเซียหวัง นโยบายขู่คุกคามโดยแสดงกำลังไม่อาจทำให้อิสราเอลยอมงิมืองอเท้าให้ถูกปิดล้อม
     เมื่อถูกปิดล้อม อิสราเอลได้เป็นฝ่ายปฏิบัติการโจมตีอียิปต์อย่างรวดเร็ว รุสเซียคาดไม่ถึง สถานการณ์ตะวันออกกลางมิได้ถูกจำกัดขอบเขตความตึงเครียด หากแต่ได้ลุกลามขยายตัวเป็นสงครามล่อแหลมต่อการที่รุสเซียต้องแสดงพลังเข้าเกี่ยวข้อง ซึ่งหมายถึงการเผชิญหน้าโลกเสี ผิดความคาดหมายของรุสเซียโดยสิ้นเชิง รุสเซียจึงเดินแต้มดูเชิงการทูตใหม่เรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายคู่กรณีสงครามสงบศึกและต่างฝ่ายต่างคืนสูสถานะเดิมทางพรมแดนในยามยาก รุสเซียได้แสดลตนให้โลกอาหรับได้ประจักษ์ว่า รุสเซียไม่เต็มใจที่จะทุ่มตัวเสี่ยงช่วยอาหรับดังที่ค่ดกัน รุสเซียจะช่วยอาหรับได้อย่างมากที่สุดไม่เกินขีดขั้นการให้ขวัญกำลังใจและใช้เชิงการทูตเจรจายุติศึกสงครามและโจมตีอิสราเอลว่าเป็นฝ่ายก้าวร้าวรุกราน
     ทั้งสหรัฐอเมริกา และรุสเซียแสดงตนไม่เข้าเกี่ยวข้องแทรกแซงทางทหารในสงครามครั้งนั้น ต่างเผ้าจับตาดูผลของสงคราม สงครามสิ้นสุดลงอย่างรวดเร็วภายใน 6 วัน ตามมาด้วยความปราชัยอย่างย่อยยับของฝ่ายโลกอาหรับ รุสเซียผู้ให้ความช่วยเหลือทางทหารต้องพลอยได้รับความอัปยสด้วย รุสเซียต้องเสียหน้าและเกียรติภูมิ ความช่วยเหลือที่ได้ทุ่มเทแก่อาหรับไร้คว่มหมาย เป็นทหารลงทุนที่สูญเปล่าอย่างสิ้นเชิง
     สงครามยิว-อาหรับครั้งที่ 4 ปี 1973 ฝ่ายอาหรับเป็นฝ่ายเปิดฉากการรบก่อน สากเหตุของสงครามเป็นผลสืบเนื่องมาจาก การพ่ายแพ้สงคราในครั้งก่อน ๆ กลับคืน มา,ต้องการได้เปรียบในโตะประชุมเมือมีการเจรจากัน,ด้วยความกลัวอิสราเอลจะแก้แค้น เช่น กรณีของซีเรียทำการสนับสนุนให้กองโจรปาเลสไตน์ทำการจับชาวยิวเป็นตัวประกัน เป็นต้น,ความต้องการล้างอายที่ทำสงครามประสบกับความพ่ายปแพ้เสมอมา สงครามครั้งใหม่จึงเสมือนเป็ฯสงครามกอบกู้ชื่อเสียง
    ในสงครามครั้งนี้ อิสราเอลเป็นฝ่ายได้เปรียบในการรบ แต่มีสิ่งที่ต่างไปจากการสงครามในครั้งก่อนๆ สหรัฐและสหภาพโซเวียตต่างส่งอาวุธทันสมัยทุกรูปแบบเข้าช่วยในการสงครามครั้งนี้อย่างเต็มที่ โดยสหรัฐอเมริกาช่วยฝ่ายยิว ส่วนสหภาพโซเวียตช่วยฝ่ายอาหรับสงครามได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะถึงขีดที่ประเทศอภิมหาอำนาจเองเกรงสงครามจะหลายสภาพเป็นสงครามนิวเคลียร์ ดังนั้นจึงมีการดำเนินการเพื่อให้สงครามครั้งนี้ยุติลงในวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ.1973 สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตได้เสนอญัตติร่วมกันต่อองค์การสหประชาชาติ เรียกร้องให้มีการหยุดยิงภายใน 12 ชั่วโมง
     ถึงแม้ว่าสหประชาชาติจะมีมติให้หยุดยิง แต่ปรากฎว่า ไม่ใคร่มีใครปฏิบัติตามมติดังกล่าว เพราะต่างกังวลกับเรื่องเชลยศึกของฝ่ายตน ในที่สุดประธานาธิบดีซาดัตของอียิปต์จึงเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตส่งกองกำลังเข้าไปควบคุมสภานการ์ การประจันหน้ากันจึงเกิดขึ้นอีก ด้วยเหตุนี้ สหประชาชาติ จึงมีการเรียกประชุมด่วน และได้ลงมติจัดส่งทหารขององค์การสหประชาชาติเข้าไประงับเหตุการณ์
      วันที่ 12 พฤศจิกายน 1973 อียิปต์และอิสราเอลทำการลงนามในข้อตกลงมีดังนี้ คือ
- จะยอมปฏิบัติตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติเรื่องการหยุดยิง
- จะเริ่มการเจรจาเรื่องกลับเช้าตั้งในแนวหยุดยิง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 1967
- เมืองสุเอชจะได้รับอุปกรณ์ตลอดจนเครื่องอุปโภคต่าง ๆ และชาวเมืองที่บาดเจ็บจากการต่อสู้ของสงครามจะได้รับอนุญาต ให้ออกจากเมืองได้
- อียิปต์มีสิทธิจะส่งอุปกรณ์ต่าง ๆ ยกเว้นยุทธโธปกรณ์ไปให้แก่กองทัพที่ 3 ที่ถูกกองทัพอิสราเอลปิดล้อมอยู่บนฝั่งตะวันออกของคลองสุเอชได้
- เจ้าหน้าที่สหประชาชาติจะเข้าแทนที่ทหารของอิสราเอลตามด่านต่าง ๆ ระหว่างถนนสายไคโร-สุเอช
- เมื่อเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติเข้าประจำด่านต่าง ๆ ตามถนนสายต่าง ๆ แล้วจะมีการแลกเปลี่ยนเชลยศึกระหว่างยิว-อาหรับ
- เมื่อเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติเข้าประจำด่านต่าง ๆ ตามถนนสายต่าง ๆ แล้วจะมีการแลกเปลี่ยนเชลยศึกระหว่างยิว-อาหรับ
ถึงแม้จะมีการเจรจาสงบศึก ตลอดจนมีข้อตกลงเพื่อใช้ปฏิบัติหลายประการดังกล่าว แต่ยังคงมีปัญหาอื่น ๆ อีกหลายประการที่จะต้องเจรจากัน

วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Six day War

      การปะทะระหว่างอาหรับกับยิวที่โลกรับรู้อย่างเป็นทางการมีขึ้นครั้งแรกในปี 1948 เมื่อยิวประกาศจัดตั้ง
ประเทศอิสราเอลในดินแดนปาเลสไตน์ในวันที่ 14 พฤษภาคม 1948 กองกำลังอาหรับประกอบด้วยกองทหารจากอียิปต์ อิรัก ซีเรีย เลบานอน และจอร์แดน ได้บุกโจมตีอิสราเอลในวันที่ 15 พฤษภาคม 1948 เพื่อทำลายล้างอิสราเอล ผลการสู้รบยิวสามารถรักษาความเป็นชาตอิสราเอลไว้ได้ การปะทะระหว่างอาหรับกับยิวครั้งที่สองมีขึ้นในปี 1956 ในปัญหาวิกฤติการณ์คอลองสุเอช โดยในวันที่ 29 ตุลาคม 1956 กองกำลังอิสราเอลรุกรานอียิปต์ ยึดได้ดินแดนในปกครองของอียิปต์คือฉนวนกาซา และคาบสมุทรไซนาย กองกำลังอังกฤษและฝรั่งเศสสามารถเข้าควบคุมปากทางตอนเหนือของคลองสุเอชของอียิปต์ได้ สหรัฐอเมริกาและรุสเซียให้การหนุนหลังองค์การสหประชาชาติเข้าระงับเหตุ สหประชาชาติมีมติให้อิสราเอล อังกฤษ และฝรั่งเศสถอนกองกำลังออกจากเขตยึดครองของอียิปต์ และกำหนดจัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพประจำในฉนวนกาซาและคาบสมุทรไซนาย เพื่อป้องกันกรณ๊พิพาทพรมแดนอันอาจจะเกิดได้ระหว่างอียิปต์กับอิสราเอลในอนาคต การปะทะระหว่างอาหรับกับยิวครั้งที่สามมีขึ้นในปี 1967 ในสงครามหกวันปี 1967 เหตุแห่งสงครามคือปัญหา สามประการ ปัญหาประการที่หนึ่งคือปัญหาพรมแดน กล่าวคือ อิสราเอลมีพรมแดนทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรไซนายของอียิปต์ พรมแดนทางตะวันออกติดกับจอร์แดน และพรมแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับซีเรีย นับจากปี 1956 ทั้งซีเรียและจอร์แดน และพรมแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับซีเรีย นับจากปี 1956 ทั้งซีเรียและจอร์แอนให้การสนับสนุนชนชาวอาหรับแอบข้ามพรมแดนเข้ามารุกรานโจมตีชนชาวยิวสร้างความขมขื่นไม่พอใจอิสราเอล ปัญหาประการที่สองคือ อียิปต์ ภายใต้การนำของนัสเซอร์ ในวันที่ 18 พฤษภาคม 1967 ประกาศเรียกร้องให้องค์การสหประชาชาติถอนกองกำลังทหารรักษาสันติภาพออกจากฉนวนกาซาและคาบสมุทรไซนาย ซึ่งมีพรมแดนอียิปต์ อิสราเอล อูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติขณะนั้นไม่ปฏิบัติตามคำเรียกร้องอย่างเร่งด่วนของอียิปต์ เป็นผลให้นัสเซอร์ปฏิบัติการสร้างปัญหาที่สามคือในวันที่ 22 พฤษภาคม 1967 อียิปต์ประกาศปิดช่อแคบทีราน ช่องแคบทีรานอยู่ระหว่างทะเลแดง กับอ่าวอะคาบา อันมีผลสกัดกั้นเรื่อสินค้าอิสราเอลจากทะเลแดงไม่อาจเข้าสู่อ่าวอะคาบามุ่งสู่เมืองท่าอีลาท เมื่องท่าทางใต้ของอิสราเอลได้ ด้วยปัญหาทั้งสามประการสหรัฐอเมริกาและอังกฤษไม่เห็นด้วยกับการก้าวร้าวรุกรานของซีเรียกและจอร์แดนและคัดค้านการกระทำของอียิปต์ รุสเซียให้การสนับสนุนท่าทีกลุ่มชาติอาหรับ อิสราเอลไม่พอใจ ขมขื่น มั่นใจว่าไม่อาจเกิดข้อตกลงสันติภาพได้ อิสราเอลหวาดกลัวการถูกกองกำลังอาหรับโจมรี ได้เตรียมพร้อมด้านกองกำลังอาวุธ และปฏิบัติการบุกโจมตีอียิปต์ จอร์แดนแบบสายฟ้าแลบในช่วงวันที่ 5-10 มิถุนายน 1967 เรียกสงครามหกวันปี 1967 ผูงบินอิสราเอลทำลายกองกำลังทางอากาศของสามชาติอาหรับย่อยยับและกองกำลังทางบกของอิสราเอลมีชัยชนะเหนือกองกำลังทางบกของสามชาติอาหรับ ผลอย่งเป็นทางการของสงครามหกวันปี 1967 คืออิสราเอลสามารถยึดคาบสมุทรไซนาย และฉนวนกาซา จากอียิปต์ ยึดที่ราบสูงโกลาน จากซีเรีย ยึดดินแดนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน รวมทั้งดินแดนฝั่งตะวันตกของแมน้ำจอร์แดน รวมั่งดินแดนซีกตะวันออกของกรุงยะรูซาเล็ม จากจอร์แดน ทั้งนี้

อิสราเอลประกาศทันที่อย่งเป็นทางการรวมดินแดนซึกตะวันออกของกรถงยะรูซาเล็มเป็นส่วนหนึ่งของอิสราเอล สงครามหกวันปี 1967 อิสราเอลขนะกลุ่มชาติอาหรับ แสนยานุภาพกองกำลังอิสราเอลเหนือกลุ่มชาติอาหรับ กลุ่มชาติอาหรับเพิ่มความโกรธแค้นอิสราเอล สหรัฐอเมริกาและอังกฤษสนับสนุนอิสราเอล รุสเซียสนับสนุนกลุ่มชาติอาหรับ ในวันที่ 11 มถุนายน 1967 องค์การสหประชาชาติยื่นมติกำหนดให้อิสราเอลถอนทหารออกจากดินแดนที่ยึดครองได้ในสงครามหกวัน ด้วยเกรงกลุ่มชาติอาหรับอาจใช้ดินแดนเหล่านี้เป็นเส้นทางคุกคามเอกราชอิสราเอลในอนาคต การถอนทหารอาจเกิดได้ในอนาคตต่อเมือกลุ่มชาติอาหรับยอมรับในเอกราชของอิสราเอลเท่านั้น และจากการที่อิสราเอลได้ยึดครองฉนวนกาซาและดินแดนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน มีผลให้ชาวปาเลสไตน์เชื้อสายอาหรับ ส่วนหนึ่งลี้ภัยออกจากปาเลสไตน์เข้าอาศัยในอียิปต์ ซีเนีย จอร์แดน และเลบานอน และปาเลสไตน์เชื้อสายอาหรับมีความคิดใฝ่ฝันจัดตั้งรัฐอาหรับในดินแดนปาเลสไตน์บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน เร่มการรวมตัวทางการเมืองเป็นสมพันธ์ในปี 1964 ภายใต้ชื่องค์การปลดแอกปาเลสไตน์ กระบวนการต่อสู้นิยมการต่อสู้แบบกองโจรปฏิบัติการก่อการร้าย ปละปฏิบัติการจู่โจม ผู้นำกลุ่มชาติอาหรับให้การสนับสนุนกองกำลังองค์การปลดแอกปาเลสไตน์ปฏิบัติการต่อต้านอิสราเอล ในปี 1969 ยาเซอ อาราฟัด ก้าวขึ้นเป็นผู้นำองค์การปลดแอกปาเลสไตน์ อิสราเอลไม่เกรงกลัวการปฏิบัติการใด ๆ ขององค์การปลดแอกปาเลสไตน์ ทั้งมั่นใจในแสนยานุภาพกองกำลังอิสราเอล และไม่เกรงคำขู่ใด ๆ ของกลุ่มชาติอาหรับ

Impeachment (Richard M.Nixon Part 2)

     คดีอื้อฉาววอเตอร์เกท ปี่ 1972 มีผลให้ประธานาธิบดีนิกสันต้องประกาศลาออกจากการเป็นประธานาธิบดี วอเตอร์เกท เป็นชื่ออาคารอยู่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.ถูกใช้เป็นสำรักงานใหญ่ศูนย์บัญชาการเลือกตั้งของพรรคเดโมเครติกเพื่อการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน 1972 ในเดื่อนมิถุนายปี  1972 ตำรวจเข้าจับกุมชายฉกรรจ์ 5 คน ขณะกำลังรับโทรศัพท์บนชั้นหกของอาคารวอเตอร์เกท ทุกคนมีกล้องถ่ายรูปและเพิ่งหยุดการรื้อค้นเอกสาร หนึ่งในกลุ่มจารชนคือ เจมส์ ดับเบิลยู แมคคอร์ด เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองกลาง CIA รับหน้าที่เป็นผู้ประสานงานด้านความมั่นคงของคณะกรรมการเพื่อการเลือกตั้ง
ประธานาธิบดีของพรรครีพลับบลิกันจารชนอี 4 คนเป็นชาวคิวบากลุ่มต่อต้านคัสโตรจากไมอามี่ ฟลอริดา ตำรวจไม่รู้ว่ามีอีกสองคนหลบอยู่ในอาคารวอเตอร์เกท อดีตเจ้าหน้าที่หน่วย่าวกรองกลาง CIA รับงานเป็นหัวหน้าด้านความมั่นคงของคณะกรรมการเพื่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีของพรรครีพับลิกัน และจี. กอร์ดอน ลิคดี เจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลับภายในประเทศ รับงานเป็นสมาชิกในคณะกรรมการจัดการกิจการภายในประเทศของทำเนียบขาว สามในเจ็ดจารชนล้วนใกล้ชิดประธานาธิบดีนกสัและเป็นคนในทำเนียบขาว มีการตั้งคำถามกันว่า จารชนเหล่านี้พยายามค้นหาอะไรในอาคารวอเตอร์เกท ซึ่งเป็นสำนักงานของพรรคเดโมแครต..จารชนได้ยินอะไรจากโทรศัพย์..และใครเป็นผู้สั่งดำเนินการ..
     การสอบสวนเบื้องต้นรู้ว่าจารชนทั้งเจ็ดคนเป็นคนของพรรครีพลับบลิกันส่งมาทำการจารกรรม เพื่อความคืบหน้าในคดี ศาลชั้นต้น คนของประธานาธิบดีนิกสันเข้าทำการสอบสวน ให้ความร่วมมือกับคณะกรรมาธิการแห่งวุฒิสภาเพื่อตรวจสอบปฏิบัจิการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง
     ผลการสอบสวนช่วงพฤษภา-พฤศจิกายน 1973 รุกหน้ามาก ผู้ต้องหาคนแรกให้การเปิดเผยความจริงว่าได้รับเงินจากทำเนียบขาวให้ทำจารกรรม หากถูกจับได้จะได้รับการอภัยถ้าไม่ให้การใด ๆ แก่คณะผู้สอบสวน และซัดทอดว่าจอห์น ดีนที่ปรึกษาของประธานาธิบดีนกสันและ เจบ แมกรูเอร์ หนึ่งในคณะกรรมการเพื่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีของพรรครัพับบลิกันว่ามีส่วนร่วมในคดีวอ
เตอร์เกท ทั้งสองเข้าให้การคล้ายกันว่าประธานาธิบดีนิกสันมีส่นร่วมรู้เห็นและปกปิดรายชื่อผู้วางแผนสั่งการในคดีวอเตอร์เกทประธานาธิบดีนกสันชอบใช้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐบาลข่มขู่รังควาญคู่แข่งและชื่นชอบการรณรงค์กาเสียงด้วยวิธีการผิดกฏหมายทั้งได้มอบรายชื่อศัตรูของทำเนียบขาว จอห์น อีร์ลิชแมน หัวหน้าคณะที่ปรึกษางานกิจการภายในประเทศของทำเนียบขาวและจอห์น มิทเชล อดีตอธิบดีกรมอับการช่วงปี 1969-1971 และริชาร์ด จี.คลินเดนส์ อธิบดีกรมอัยการขณะนั้น ร่วมพยายามปกปิดรายชื่อผู้วางแผนสั่งการในคดีวอเตอร์เกท การสอบสวนถูกเปิดเผยเข้าใกล้ตัวประธานาธิบดี นิกสัน คณะกรรมาธิการแห่งวุฒิสภาฯเชื่อในคำให้การของผู้ใกล้ชิดประธานาธิบดีนิกสันแต่ขาดหลักฐานสนับสนุนว่าประธานาธิบดี นิกสัน ร่วมกระทำความผิดจริง
     30 เมษายน 1973 ประธานาธิบดีนิกสันปฏิบัติการสองเรื่อง คือ ประกาศรับการลาออกของเอช อาร์. เฮลเดแมน และจอห์น อีร์ลิชแมน สองหัวหน้าคณะผู้ทำงานของทำเนียบขาว และจอห์น มิทเชล อดีตอธิบดีกรมอัยการ และริชาร์ด จี. คลินเดนส์ อธิบดีกรมอัยการและแต่งตั้งอัยการพิเศษ คุมคดีวอเตอร์เกท
    อเล็กซานเดอร์ บัตเตอร์ฟิล หนึ่งในเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวเข้าเปิดเผยให้การต่อคณะกรรมาธิการแห่งวุฒิสภาฯว่าตั้งแต่ปี 1971 ประธานาธิบดีนิกสันกำหนดให้มีการติดตั้งระบบการบันทึกเสียง การสนทนาในห้องรูปไข่ และการ
สนทนาเกี่ยวกับคดีวอเตอร์เกทตั้งมีการบันทึกเสียงเก็บไว้แน่นอนในม้วนเทป เพราะในเดือนกรกฎาคม จากการได้รู้ว่ามีม้วนเทปบันทึกจากสนทนาของประธานาธิบดีนิกสันที่ทำเนียบขาวเป็นผลให้อาร์ชิบอล คอดซ์ซึ่งเป็นอัยการพิเศษ และคณะกรรมาธิการแห่งวุฒิสภาฯร้องขอให้ประธานาธิบดีนิกสันมอบม้วนเทปดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการสอบสวน ประธานาธิบดีนิกสันปฏิเสธการมอบม้วยเทปโดยให้เหตุผลว่า การบันทักเสียงในห้องทำงานประธานาธิบดีทำไปเพื่อผลงานเป็ฯการส่วนตัว และรัฐธรรมนูญให้ประธานาธิบดีมีสิทธิคงรักษาการสนทนาที่เป็นการส่วนตัวของประธานาธิบดีเป็นความลับได้
    เพราะประธานาธิบดีนิกสันไม่ยอมมอบม้วนเทปเป็นผลให้ในเดือนสิงหาคม 1973 อาร์ชิบอล คอดซ์ และคณะกรรมาธิการแห่งวุฒิสภาฯ ร้องขอต่อศาลในการสั่งให้ประธานาธิบดีนิกสันมอบม้วนเทป ผู้พิพากษาจอห์น เจ.ซิริกา ตัดสินใจจะเป็นผู้ตวจสอบฟังม้วนเทปด้วยตนเอง และสังให้ประธานาธิบดีมอบม้วนเทปแก่ตน ประธานาธิบดีนิกสันไม่ยอมมอบม้วนเทปและอุทธรร์คำสั่ง แต่คณะผูพิพากษาสนับสนุนคำสั่งของผู้พิพากษาจอห์น เจ.ซิริกา
      ในวันที่ 19 ตุลาคม 1973 ประธานาธิบดีนิกสันเสนอจะมอบม้วนเทปสรุปย่อการสนทนาแก่ อาร์ชิบอล คอตซ์ และคณะกรรมการธิการแห่งวุฒิสภาฯ อาร์ซิบอล คอดซ์ ปฏิเสธไม่รับม้วนเทปสรุปย่อด้วยเหตุผลใช้เป็นหลักฐานในศาลไม่ได้ต้องใช้ม้วนเทปดังเดิม ประธานาธิบดีนิกสันไม่พอใจในความเคร่งครัดจริงจังของอาร์ซิบอล คอตซ์ และใอนาจบริหารก้าวก่ายอำนาจตุลาการทันที โดยสังการในคืนต่อมา ในสามเรื่องคือ หนึงให้เอลไลออท ริชาร์ดสันออกจากการเป็นอธิบดีกรมอัยการ สองสั่งให้รองอธิบดีกรมอัยการปลดอร์ชิบอล คอดซ์ออกจากการเป็ฯอัยการพิเศษ และส่งอาร์ชิบอล คอตซ์ กลับมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สามแต่งตั้งลี
ออง  จาโวร์สกี้ คนของประธานาธิบดีนิกสันเป็ฯอัยการพิเศษแทนอาร์ชิบอล คอดซ์ คนอเมริกันเรียกคือวันที่ 20 ตุลาคม 1973 ว่าการฆาตกรรมหมู่คืนวันเสาร์ปี 1973 “The Saturday Night Massacre of 1973” คนอเมริกันประท้วงคัดค้านการกระทำที่ไม่ถูกต้องของประธานาธิบดีนิกสัน หนังสือพิมพ์และผู้สื่อข่าวกลาวโจมตีการก้าวก่ายอำนาจบริหารในอำนาจตุลาการ  เปิดเผยรายละเอียดในประเด็นจำนวนเงินมหาศาลที่ใช้เพื่อการรณรงค์หาเสียงเพื่อการทำลายล้างคู่แข่งขันและปิดปากพยานถึงอ้างชื่อกลุ่มบุคคลที่มีส่วนร่วมในคดีวอเตอร์เกท สำหรับลีออง จาโวร์สกี มีความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบรีบทวงม้วนเทปทันทีจากทำเนียบขาวเมื่อเขารับตำแหน่งอัยการพิเศษ สร้างความผิดหวังอย่างมากแก่ประธานาธิบดีนิกสัน
      24 กรกฎาคม 1974 ศาลฎีกามีคำสั่งให้ประธานาธิบดีนิกสันมอบม้วนเทปแก่ผู้พิพากษาจอห์น เจ. ซิริกา ประธานาธิบดีนิกสันคงเพิกเฉย ปฏิเสธ นับจากเดื่อนตุลาคม 1973 คณะกรรมาธิการตุลาการแห่งสภาผู้แทนราษฎรร่วมพยายามเรียกร้องอย่างเป็นทางการเพื่อให้ประธานาธิบดีนิกสันมอบม้วนเทป แต่ประธานาธิบดีคงเพิกเฉยและปฏิเสธเช่นที่ผ่านมา เป็นผลให้ปลายเดือน กรกฎาคม 1974 คณะกรรมาธิการตุลาการแห่งสภาผู้แทนราษฎร มีมติยื่นฟ้องเพื่อการถอดถอน Impeachment ประธานาธิบดีนิกสันต่อวุฒิสภา ในข้อหาสามประการคือ หนึ่ง ขัดขวางขบวนการยุติธรรม ด้วยกาการปกปิดชื่อผู้วางแผนสั่งการและใช้เงินปิดปากพยานทำให้การสอบสวนเป็นไปอย่างล้าช้า สองใช้อำนาจประธานาธิบดี เกินขอบเขตด้วยการใช้อำนาจบริหารก้าวก่ายอำนาจตุลาการ สามไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ที่สั่งให้มอบม้วนเทป
     ประธานาธิบดีนิกสันมอบม้วนเทปในวันที่ 5 สิงหาคม 1974 สาเหตุจากการทวงม้วนเทปของคณะกรรมาธิการแห่งวุฒิสภา ในเดือนกรกฎาคม ผู้พิพากษาศาลจอห์น เจ. ซิริกา สั่งมอบม้วนเทปในเดื่อน
สิงหาคม อัยการพิเศษลีออง จาโวร์สกียืนยันทวงม้วนเทปในเดือน ตุลาคม 1973 ศาลฎีกาสั่งมอบม้วนเทปในเดือนกรกฎาคม 1974 , คนอเมริกันโจมตีประธานาธิบดีนิกสันที่ก้าวก่ายอำนาจตุลาการและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล และปรธานาธิบดีนิกสันรู้มติในเดือน กรกฎาคม 1974 ของคณะกรรมาธิการตุลาการแห่งสภาผู้แทนราษฎร เป็นผลให้ในวันที่  5 สิงหาคม 1974 ประธานาธิบดียอมมอบม้วนเทปแก่คณะผู้สอบสวน การสนทนาจากม้วนเทปยืนยันว่าประการแรกประธานาธิบดีนิกสันรู้เรื่องทุกอย่างของคดีวอเตอร์เกท เมื่อรู้เรื่องคดีวอเตอร์เกทเป็นเป็นอย่างดีแล้วประธานาธิบดีนิกสันปกป้องพรรคพวกไม่เปิดเผยชื่อ และปกปิดเรื่องเสแสร้งว่าไม่รู้ (ออกโทรทัศน์ในวันที่ 30 เมษายน 1973 บอกคนอเมริกันว่าจะพยายามหาข้อเท็จจริงและจะนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ) เป็นการหลอกลวงคนอเมริกัน ประการที่สองไม่มีข้อความการสนทนาตอนใดบ่งชี้ว่าประธานาธิบดีนิกสันร่วมวางแผนคดีวอเตอร์เกทในคือวันที่ 17 มิถุนายน 1972
      ผลจากการฟังม้วนเทปต่อสถานภาพความเป็นประธานาธิดี ประการแรกคือวุฒิสมาชิกในวุฒิสภาเลิกให้การสนับสนุนประธานาธิบดีนิกสัน ประการที่สองบรรดาผู้นำรีพลับบลิกันทั้งในวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรเตือนประธานาธิบดีนิกสันว่า ประธานาธิบดีต้องเผชิญกับการถูกฟ้องเพื่อการถอดถอน จากสภาผุ้แทนราษฎรและถูกถอดถอน จากวุฒิสภา ควรลาออกจากการเป็นประธานาธิบดีก่อนมีการฟ้องร้อง เพราะจะเป็นคดีอาณาต้องโทษจำคุกและจะไม่ได้รับเงินตอบแทนและสวัสดิการหลังการพ้นตำแหน่งประธานาธิบดี
   
ในวันที่ 7 สิงหาคม 1974 ประธานาธิบดีนิกสันบอกสมาชิกในครอบครัวถึงการจะลาออกจากการเป็นประธานาธิบดี ในวันที่ 8 สิงหาคม 1974 ประธานาธิบดีนิกสันออกโทรทัศน์บอกคนอเมริกันถึงความจำเป็นต้องลาออกจากการเป็นประธานาธิบดีเพราะขาดเสียงสนับสนุนทางการเมืองจากรัฐสภา และในเช้าวันที่ 9 สิงหาคม 1974 ประธานาธิบดีนิกสันลงนามลาออกจากการเป็นประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ และในเวลาเที่ยงของวันที่ 9 สิงหาคม 1974 รองประธานาธิบดีเจอรัล อาร์.ฟอร์ด เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีลำดับที่ 38 ของสหรัฐอเมริกา

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Japan(Cold war)

     ตั้งแต่ปี 1960-1970 ในประเทศญี่ปุ่นเองมีเสียงเรียกร้องให้ญี่ปุ่นเปลี่ยนนโยบายใหม่ คือ เลิกระบบพันธมิตรกับอเมริกา และดำเนินนโยบายเป็นกลาง ไม่แทรกแซงยุ่งเกี่ยวกับสงครามเย็นอีกฝ่ายหนึ่งก็เห็นด้วยเพราะสำนึกผิดที่ญี่ปุ่นได้กระทำทารุณกรรมต่อจีนอย่างสาหัสสากรรจ์ กระนั้นประชาชนส่วนใหญ่ยังคงสนับสนุนพรรคเสรีประชาธิปไตย ซึ่งถือนโยบายพันธมิตรและรัฐบาลก็ยังยึดมั่นในพันธกรณีต่อโลกเสรีไม่เปลี่ยนแปลง ญี่ปุ่นได้แถลงการณ์ร่วมกับอเมริกาว่า “การธำรงรักษาสันติภาพละเสถียรภาพในบริเวณเกาะไต้หวันเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญยิ่งของการธำรงรักษาเสถียรภาพความมั่นคงของญี่ปุ่น” ความดังกล่าว โดยเนื้อแท้แล้ว จีนคอมมิวนิสต์ไม่อาจรวมไต้หวันได้เพราะมีมหาอำนาจอเมริกาขัดขวงาอยู่การที่ญี่ปุ่นร่วมแถลงการณ์ว่าจะช่ยรักษาเอกราชยองไต้หวันย่อมจะทำให้จีนคอมมิวนิสต์ไม่พอใจทั้งนี่ญี่ปุ่นยังได้รับยอมรับโดยประยายว่า รัฐบาลจีนที่ไต้หวันเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายของจีนอยู่
     โดยเหตุดังกล่าวดังนี้ จะเห็นได้ว่า ญี่ปุ่นจะเปิดสัมพันธภาพทางการทูตกับจีนคอมมิวนิสต์ได้ยาก จีนคอมมิวนิสต์ยังคงตราหน้าญี่ปุ่นว่า เป็นชาตินิยมลัทธิทหาร ชอบตามหลังอเมริกา และเริ่มไม่สบายใจที่ญี่ปุ่นมีทีท่าว่าจะมัสัมพันธ์ภาพอันดีกับรัสเซียศัตรูหมายเลขหนึ่งของตน ส่วนญี่ปุ่นเองก็มองเห็นอุปสรรคมากมายที่จะเปิดการทูตกับจีนคอมมิวนิสต์

      เสียงเรียกร้องในญี่ปุ่นให้เปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศต่อจีนและอเมริกาเร่มหนาหูขึ้นเนื่องจากความบาดหมางกันทางการค้าระหว่างญี่ปุ่นและอเมริกาตั้งแต่ปี 1970 รัฐบาลทั้งสองพยายามหาหนทางแก้ปัญหาดุลการค้า แต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะต่างฝ่ายต่างยืนกรานในหลักการทีอีกฝ่ายปฏิบัติไม่ได้ ความบาดหมางนี้ในวงการเศรษฐกิจทั่วโลกมองไปในแง่ที่ว่าทังสองมหาอำนาจได้เปิดฉากสงครามเศรษฐกิจ กันแล้ว การเจรจาเรื่องค้าผ้าหยุดชงักหลายครั้ง อเมริกาเรียกร้องให้ญี่ปุ่นหยุดส่งผ้าเป็ฯสินค้าออกไปอเมริกา 5 ปี ญี่ปุ่นทำตามไม่ได้ เลยต้องต่อรองเรื่องกำหนดเวลา แม้ว่าจะเจรจาไม่สำเร็จและวงการอุตสาหกรรมผ้าในญี่ปุ่นจะพออกพอใจนัก ความล้มเหลวในการเจรจานี้ส่งผลไปถึงความบาดหมางระหว่างประเทศ ความบาดหมางนี้ยังทวีขึ้นอีกเมื่อเกี่ยวพันไปถึงปัญหาเรื้อรังของญี่ปุ่นคือเรื่องเกะโอกินาวา ญี่ปุ่นเรียกร้องให้อเมริกาถอนทัพและคืนเกาะนี้ให้ญี่ปุ่น แต่อเมริกาหน่วงเหนี่ยวไว้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับอเมริกานี้ทำให้ฐานะของรัฐบาลโดยเฉพาะตัวนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น นายซาโตะ ทรุดหนักและสั่นคลอนไปด้วย
     นอกจากปัญหาการค้าขายแล้ว ญี่ปุ่นยังต้องประสบปัญานโยบายจีนในปี 1970 ญี่ปุ่นมีทีท่ามากพอใช้ที่จะพิจารณาเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนคอมมิวนิสต์ ทางฝ่ายกระทรวงต่างประเทศของญี่ปุ่นได้กล่าวเป็นนัยหลายครั้งว่า ญี่ปุ่นพร้อมที่จะเปิดการเจรจาอย่างเป็นทางการกับจีนคอมมิวนิสต์ นายซาโตะ เคยปราระว่า อยากเปิดการทูตกับจีนที่ปักกิ่งและที่ไต้หวัน ญี่ปุ่นรู้ตัวดีว่า การเจรจากับจีนแดงนั้นคงยาก  เพราะญี่ปุ่นต้องคำนึงถึงสัมพันธภาพระหว่างญี่ปุ่นกับไต้หวันและกับสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นยังต้องยืนกรานในนโยบายเดิมของตน และยังได้พูดถึงสัจิภาพและเสถียรภาพของเอเซียตะวันออกว่า ถ้าองค์การสหประชาชาติพิจารณากับจีนคอมมิวนิสต์เป็นสมาชิก ควรใช้ระบบสองในสามในการลงคะแนนตัดสินวินิจฉัย ซึ่งจีนคอมมิวนิสต์ไม่พอใจมาก
     ปัญหาจีนทำให้วงการเมืองญี่ปุ่นสั่นคลอนมากขึ้น ในปี 1971 มีการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์มากว่า ญีปุ่นจะยอมเป็นชาติสุดท้ายในโลกที่จะมีการทูตกับจีนคอมมิวนิสต์หรือ..ญี่ปุ่นควรเลือกนดยบายและวิถีทางใดในการติดต่อกับจีนคอมมิวนิสต์ จะรับรองทั้งจีนคอมมิวนิสต์และจีนที่ไต้หวัน ที่เรียกว่านโยบายสองจีน หรือจะรับรองเพียงชาติเดียว คือ ไม่จีนคอมมิวนิสต์ ก็ จีนไต้หวัน และหรือ จะติดต่อกับจีนคอมมิวนิสต์วิธีใดโดยมิให้จีนไต้หวันโกรธเคือง ที่เป็นปัญหาเช่นนี้เพราะทั้งจีนคอมมิวนิสต์และจีนไต้หวัน ต่างก็อ้างว่าตนเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎกมายของจีนญี่ปุ่นเองก็รับรองจีนที่ไต้หวัน ปัญหายังยุ่งยากซับซ้อนขึ้นอีก เนืองจากญี่ปุ่นมีผลประโยชน์ทางการค้ากับจีนคอมมิวนิสต์และจีนที่ไต้หวัน ญี่ปุ่นไม่อาจจะตัดสินใจอะไรได้มากนักในปัญหาจีน ดังที่นาย ซาโตะ ได้ยอมรับว่า “ญี่ปุ่นไม่มีการทูต(กับจีนคอมมิวนิสต์)จนกว่าเราจะแก้ปัญหาจีนได้ก่อน”
     ต้นปี 1971 ญี่ป่นต้องการให้สหรประชาชาติพิจารณาเรื่องการลงคะแนนตัดสินขับไล่ไต้หวัยอออกจากการเป็นสมาชิก และเรื่องรับจีนคอมมิวนิสต์เป็นสมาชิกเป็นประเด็นสำคัญญี่ปุ่นจะถือหลักไม่เข้าแทรกแซงในกรณีทั้งสองนี้ โดยไม่ออกเสียงลงคะแนน แสดงว่าญี่ปุนถือนโยบาย 2 จีน ต้องการให้จีนคอมมิวนิสต์และจีนชาติเป็นสมาชิกสหประชาชาติ ในขณะที่ญี่ปุ่นออกความเห็นเป็ฯทางการไว้เช่นนี้ ญี่ปุ่นก็เริ่มทาบทามจีนคอมมิวนิสต์ รัฐมนตรีต่างชาติญี่ปุ่น นายเอชิ กิชิ เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นเต็มใจที่จะพูดกับจีนคอมมิวนิสต์แต่จะทำได้อย่างไร ญี่ปุ่นเองต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในเรื่องนี้ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวพันไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับจีนที่ไต้หวัน รวมทั้งการที่ญี่ปุ่นต้องคำนึงถึงการเมืองระหว่างประเทศ กล่าวคือ ญี่ปุ่นต้องปรึกษาพันธมิตรของตนก่อนได้แก่อเมริกาและเอเซียอาคเนย์
      เมื่อมีเสียงเรียกร้องให้ญี่ปุ่นปรับปรุงหรือเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศ นายซาโตะ จึงได้แต่กล่าวเตือนผู้เรียกร้องเช่นนั้นให้พิจารณาใคร่ครวญถึงผลประโยชน์ของชาติและความผูกพันที่ญี่ป่นมีต่อชาติอื่น รัฐบาลขอร้องให้ญี่ปุ่นใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการแก้ปัญหาจีนมิให้กระทบกระเทือนถึงเกียรติภูมิญี่ป่น การเมืองระหว่างประเทศและผลประโยชน์ของชาติ ความค้องการที่จะแก้ปัญหาจีนนี้มีผู้วิจารณ์ไว้ว่า การกระทำของรัฐบาลนายซาโตะนี้ได้ถูกบั่นทอนไประหว่างการตัดสินใจต้องการจะเปิดการทูตกับจีนคอมมิวนิสต์ และการที่ต้องยอมรับความจริงคือสถานการณ์โดยสิ่งแวดล้อม
     ทางจีนคอมมิวนิสต์เองได้สร้างอุปสรรคด้วยการเรียกร้องให้ญี่ปุ่นทำตามกติกาเบื้องตนของตนก่อน กติกาเหล่านี้ล้วนเป็นข้อเรียกร้องที่ญี่ปุ่นทำตามได้ยากเต็มที กติกาเหล่านี้ได้เพิ่มขึ้นตามกาลเวลา ที่สำคัญคือ ญี่ปุ่นต้องยอมรับว่าตนกำลังฟื้นฟูลัทธนิยมทหารคือสร้างกำลังแสนยานุภาพ และจีนต้องการให้ญี่ปุ่นยกเลิกสัญญาสันติภาพกับไต้หวัน
    ถึงกระนั้น ความเคลื่อนไหวเพื่อเปิดการทูตกับจีนคอมมิวนิสต์ก็ปรากฎขึ้นในปี 1971 รัฐบาลญี่ปุ่นตัวแทนเจรจาการค้ากับจีนคอมมิวนิสต์ จุดประสงค์คือการหาลู่ทางและดูท่าทีของฝ่ายจีนคอมมิวนิสต์ว่าคิดหรือมีทีท่าต่อญี่ปุ่นอย่างไร ความเคลื่อนไหวอีกประการหนึ่งคือ สมาชิกสภาผู้แทนสังกัดพรรครัฐบาล 20 คนเดินทางไปไต้หวันเพื่อดูท่าทีไต้หวัน ความเตื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นในระยะที่มีกาวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาจีนกับญี่ปุ่นมากขึ้น อันสืบเนื่องมาจากการที่จีนคอมมิวนิสต์และอเมริกาใช้กีฬาเป็นสื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ ที่เรียกว่า ปิงปองการทูต ชาวญี่ปุ่นวิตกว่ามหาอำนาจทั้งสองอาจจะมีข้อตกลงบางประการที่ขัดผลประโยชน์ของญี่ปุ่น
     แม้จะมีแรงผลักดันและการเรียกร้องมากมายเพียงใด ก็ไม่อาจจะทำให้รัฐบาลเปลี่ยนแปลงนดยบายได้ รัฐบาลเรียกร้องให้ชาวญี่ปุ่นถือนโยบายรอดูท่าที กล่าวคือ ญี่ปุ่นควรรอจังหวะเหมาะก่อน ที่ญี่ปุ่นใช้นโยบายนี้เพราะต้องการเวลาพิจารณาปัญหาจีนให้ถ่องแท้และระมัดระวังมากกว่านี้ ไม่ต้องการเร่งรัดแก้ปัญหาทั้งญี่ปุ่นต้องการรอดูท่าทีของอเมริกาว่าจะดำเนินนโยบายติดต่อกับจีนคอมิวนิสต์ก้าวหน้าเพียงใดเพื่อจะได้ใช้เป็นข้อมมูลพิจารณาปรับปรุงที่ของตนต่อจีนคอมมิวนิสต์ได้ถูกต้อง เป็นการดำเนินนโยบายสอดคล้องกับอเมริกา ด้วยหาหลักากรดีไม่ได้ การใช้นโยบายรอดูก่อนจึงเป็นหารเหมาะสมสำหรับระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงนโยบาย

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

World Political(Cold War)

     สัมพันธ์ภาพสามเส้าระหว่างจีน รุสเซียและสหรัฐอเมริกาเป็นปัจจัยมที่สำคัญของการเมืองโลกาในช่วงสงครามเย็น ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังจาก สงครามเวียดนาม วิกฤติการณ์เชโกสโลวะเกีย และกรณีพิพาทระหว่างจีนและรัสเซียทวีความซับซ้อนมากขึ้นตามลำดับimages (1)
    รุสเซียมีเหตุต้องกังวลสองประการ คือ สัมพันธภาพระหว่างตนกับยุโรป และระหว่างตนกับตะวันออกกลาง นับวันสัมพันธภาพกับสองภูมิภาคนั้นได้ทำให้รุสเซียบังเกิดความยากลำบากมากขึ้นในการดำเนินนธยบายที่จะแทรกแซงโดยไม่ต้องการเผชิญหน้ากับสหรัฐอเมริกา การรณรงค์พิทะษ์ลัทธิคอมมิวนิสต์และการแสวงหาอำนาจอิทธิพลในตะวันออกกลางสิ้นเปลืองมากสำหรับรุสเซีย และเสี่ยงต่อการก่อสงครามมากรุสเซียตั้งแต่ ค.ศ.1968 มีจุดประสงค์แน่วแน่ที่จะตึงพลังวกำลังของตนในโลกคอมมิวนิสต์มิให้แตกแยกมากขึ้นและแสวงหาอำนาจอิทธพลใรตะวันออกกลางและโลกที่สาม แต่ปัญหาดูจะมีอยู่ว่า รุสเซียจะดำเนินนโยบายอยู่ร่วมกับสหรัฐแมริกาและจีนโดยสันติด้วยมาตรการใดสัมพันธภาพระหว่างจีนกับรุสเซีย และระว่างรุสเซียกับสหรัฐอเมริกาจะแยกความสำคัญออกจากกันมิได้อย่งเด่นชัด รุสเซียเพร้อมที่จะเจรจากับทั้งสองประเทศ แต่จักยืนหยัดในควารมเป็นหนึ่งไม่อ่อนแดด้วยเหตุที่มีปัญหาเดือดร้อนนโลฃกคอมิวนิสต์
     รุสเซียจำเป็นต้องผ่อนคลายความตรึงเครียดกับสหรัฐอเมริกาด้วยเหตุหลายประการโดยประวัติศาสตร์และว ต่างไม่เคยเป็นปฏิปักษ์กระทำศึกสงครามต่อกันโดยตรง ไม่มีพรมแดนประชิดกันอันจะก่อเกิดกรณีพิพาทชายแดน ต่างก็มี “หัวอกเดียวกัน” คือ ประสบปัญหาการปกครองค่ายของตนที่แตกแยกและมหามิตรของตน “แปรพักตร์” ต่างก็เผชิญกับความจริงที่ว่า อาวุธนิวเคลียร์มีประสทิธิภาพสูงสุดในการทำลายล้างมวลมนุษยชาติ ทั้งสองฝ่ายมีจุดประสงค์ป้องปรามสงครามนิวเคลียร์มิหใกดขึ้น ต่างก็มีเสถียรภาพความมั่นคงในด้านอาวุธยิทูศาสตร์ และต่างก็ตระหนักดีถึงคุณประโยชน์อันจำกัดของอาวุธนิวเคลียร์ ทั้งสองอภิมหาอำนาจจึงเป็นประโยชน์จากการที่จะร่วมมือกันมากกว่าเผชิญหน้ากันซึ่งจะไม่ก่อเกิดผลประโยชน์อันใดแก่ฝ่ายใด อีกประการหนึ่ง สถานการร์โลกโดยเฉพาะในโลกที่สามได้ก่อเกิดการเสี่ยงที่จะต้องเผชิญหน้ากันสามฝ่าย คือ จีน รุสเซีย
และสหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศที่เกิดใหม่ล้วนมุ่งพัฒนาประเทศในลักษณะหวังผลประโยชน์จากทั้งโลกคอมมิวนิสต์และโลกเสรี อภิมหาอำนาจต้องระมัดระวังมากในการปฏิบัติต่อโลกที่สามให้สอดคล้องกับขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ แม้แต่ในโลกเสรีและโลกคอมมิวนิสต์เองก็มิได้มีนโยบายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  เพราะแต่ละฝ่ายมีความแตกแยกภายในและแข่งขันกันสร้างอิทธพลภายในโลกที่สามด้วย ยิ่งกว่านั้นฐานะอำนาจของรุสเซยในการเผชิญหน้าจีนไม่เข้มแข็งมั่นคงเท่าที่ควร เพราะต้องระมัดระวังสัมพันธภาพกับสหรัฐอเมริกาและยุโรปตะวันตกด้วย ภัยจีนเร่มคุกคามรุสเซียมาก จนรุสเซียจำเป็นต้องดำเนินนโยบายสมานฉันท์กับสหรัฐอเมริกาและยุโรปตะวันตกเพื่อจะใช้มาตรการเด็ดขาดกับจีนได้สะดวกขึ้น

วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Leonid Brezhnev

    รุสเซียภายใต้คณะผู้นำใหม่ประกอบอ้วยบุคคลสำคัญคือ  เลโอนิค เบรสเนฟ เลขาธิการพรรค,อเล็กซีโคลซีกิน นายกรัฐมนตรี, นิโคลัย พอดโกนี ประมุขแห่งรัฐ และมิคาอิล ซุสลอฟ ผู้ประสานงานสัมพันธภาพระหว่างรุสเซียกับพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลก
     รุสเซียภายใต้การนำโดยหมู่คณะต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ครุสเชฟได้ใช้วิธีค่อนข้างเสียงท้าทายโลกเสรีเกิดความจำเป็น เช่นในกรณีอเบอร์ลินและวิกฤติการณ์คิวบา คณะผู้นใหม่ตระหนักว่า การข่มขู่ใช้กำลังอาวุธก็ดี แสดงตนเผชิญหน้าก็ดี หรือการแสดงทีทาเสี่ยงก้าวร้าวรุกรานก็ดี ล้วนเป็นวิธีการที่ไม่ความเสียงในภาวะที่รุเซียเองไม่อยู่ในฐานะพร้อมที่จะรบหรือเผชิญหน้าอี เพราะสถานกาณ์โลกเปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว และสำคัญที่สุดคือ ดุลยภาพแห่งอำนาจโลกได้เปลี่ยนแปลง โดยเหตุที่จีนและฝรั่งเศสกลายเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์แล้ว โลกที่สามกำลังเพิ่มจำนวนสมาชิกมากขึ้น เป็นพลังที่รุสเซียควรสนใจหาเสียทาบทามเป็นมิตรมากกว่าก่อศัตรู โลกก้าวสู่วันเวลาที่รุสเซียและสหรัฐสิ้นสุดอำนาจเผด็จการบงการโลกดังที่เคยกระทำ และ อาวุธนิวเคลียร์สร้างอันดับฐานะทางการเมืองได้ผล แต่ไม่อาจจะทำให้รุสเซียแผ่ขยายอำนาจอิทธิพลไปทั่วโลก เพราะอีกฝ่ายก็มีอาวุธเช่นกัน ประการสุดท้าย ปัญหาในโลกคอมมิวนิสต์เอง ความซับซ้อนที่ทวีขึ้นในวิกฤติการณ์อินโดจีน ความสัมพันธ์ระหว่างรุสเซียและจีนที่มีลักษณะซับซ้อน สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุรุสเซยต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเจริญสัมพันธไมตรีกับโลกเสรี โลกคอมมิวนิสต์และโลกที่สาม
     คณะผู้นำใหม่แสดงเจตจำนงที่จะดำเนินนโยบายอยู่ร่วมกันโดยสันติดังเดิม เพียงแต่จำเป็นจ้องเปลี่ยนวิธีที่จะดำเนินนโยบายเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป ผุ้นำคณะใหม่ปรับปรุงวิธีการโดยลดระดับการเสี่ยงท้าทายฝ่ายตรงข้าม แสดงพร้อมที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติ อำพรางเจตนารมณ์ที่แท้จริง และแสวงหาโอกาสจังหวะเหมาะที่จะขยายอำนาจอิทธิพล  ระเซียเลิกใช้วิธีการข่มขู่โดยอาวุธนิวเครียทางการทูต
      นโยบายต่อโลกคอมมิวนิสต์เปลี่ยแปลงไปภายใต้คณะผุ้นำใหม่  นโยบายต่อโลกคอมมิวนิสต์มิได้เปลี่ยนแปลงเท่าใดดังที่คาดหวัง ความสัมพันธ์กับรฐคอมมิวนิสต์ยังคงเหมือนเดิม โดยเฉพาะความสัมพันธ์กับจีน
     ทันที่ฝ่ายนรุสเซียมีการเปลี่ยนผู้นำ พรรคจีนคอมมิวนิสต์ได้จับตามองอย่างใกล้ชิดเป็นที่รู้กันอยู่ว่า กาเปลี่ยนผู้นำในรุสเซียอาจจมีผลทำให้ทั้งสองฝ่ายหันหน้ามาคืนดีกันได้อีก รุสเซียแสดงทีท่าเป็ฯมิตรต่อจีนอย่างออนนอกหน้า อนาคตของจีนจึงควรจะสดในเป็นอย่างยิ่งเพราะคู่ปฏิปักษ์คือครุสเชฟก็หมดอำนาจไปแล้ว จีนแสดงคามกระตือรือร้นที่จะฟื้นผู่สัมพันธภาพอันดีงานกับรุสเซีย จู เอนไล ได้นำคณะผุ้แทนจีนเข้าร่วมฉลองวันครบรอบปีแป่งการปฏิวัติ ณ มอสโก เป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรี แสดงท่าที่ว่าจีนมีความเป็นมิตรต่อผุ้นำใหม่รุสเซีย ในขณะเดียวกัน ย่อมเป็นที่แน่นอนใจได้ว่า จีนต้องการจะหยั่งท่าทีของรุสเซียจากสุนทรพจน์ของนายเบรสเนฟเองด้วย จีนคาดว่าคงมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงนโยบายต่างประเทศไปในแนวที่จีน้องประสงค์บ้าง
     จีนรู้สึกผิดหวังกัยถ้อยแถลงการณ์ของ เบรสเนฟ ซึ่งมิได้ให้ความหว้งมากมายแก่จีนเพีงแสดงทีท่าว่าต้องการเจรจาฟื้นฟูความสัมพันธ์อันดีกับจีน และยินดีให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจและทหาร ที่สำคัญ รุสเซียเสนอให้จัดการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลก  รุสเซียหวังอย่างเดียวที่จะให้จีนเป็นพ้องกับนโยบายทั่วไปของตน ต้องการให้จีนเป็ฯมิตรกับผู้นำใหม่บ้างและต้องการขอร้องจีนมิให้ยุแยงบรรดาพรรคคอมมิวนิสต์ให้แตกความสามัคคี
     ข้อเสนอและท่าทีของรุสเซียก่อให้เกิดความขัดแย้งในชนชั้นผุ้นำของจีนมีบางคนเห็นควรรับไม่ตรีรุสเซียและรับข้องเสนอบางส่วน แต่ เมา เช ตุง ปฎิเสธข้อเสนอโดยถือว่าเป็นนโยบายของครุสเชฟ ซึ่งมีแนวโน้มไปสู่การปรองดองกับโลกเสรีและพัฒนาประเทศไปสู่หนทางลัทธิทุนนิยม เป็นการทรยศต่องอุดมการ์และเป็นการพยายามแก้ไขปรับปรุงลัทธิ ปรากฎว่า ผู้นำใหม่ยังยึดปฏิบัติตามเป็ฯส่วนใหญ่ เป็นเพียงวิธีการเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงในทรรศนะของ เมา เช ตุง  ผู้นำใหม่ไม่แตกต่างจาครุสชอฟ  แสดงว่า รุสเซียมีแนวโน้เอียงไปในการแก้ไขปรับปรุงลัทธิ ทั้นี้มิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายโดยเอกเทศส่วนบุคคลว่าครุสเชฟคิดเอง เปลี่ยนแปลงเอง หากแต่กลายเป็นว่าบุคคลชั้นนำของรุสเซียคิดเปลี่ยนแปลงเองในวิถีทางเช่นนั้น การเปลี่ยนผู้นำมิได้หมายถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบาย เพียงแต่เปลี่ยนผู้นำใหม่ที่มีวิธีการใหม่ในการดำเนินนโยบายเดิมหลักาการเดิมเท่านั้นเอง ซึงเมา เช ตุง ถือว่าเป็นนโยบายเดิมของครุเชฟ  ผู้นำใหม่ล้วนปฏิบัติตามนโยบายเดิมของครุสซอฟ ผู้นำใหม่เป็นพวกนิยมหรือเจริญรอยตามครุซอฟ เป็นความนิยมแก้ไขปรับปรุงลัทธิที่ปรากฎเด่นชัดแม้ปราศจากครุสซอฟแล้วก็ตา ในที่สุด จีนได้ตอบ
โต้ของเสนอของรุสเซยโดยพิมพ์บทความของเมา เช ตุง ชือ “เหตุใดครุซอฟหมอำนาจ” ลงในหนังสือพิมพ์ “ธงแดง”บทความสาธยายความผิดพลาดต่าง ๆ ของครุซอฟตั้งแต่การภายในถึงการภายนอกประเทศ เตือนผู้นำรุสเซียใหม่ให้สังวรณ์ว่าไม่ควรดำเนินนโยบายในแนวนั้น และเป็นการยื่นเงื่อนไขโดยพฤตินัยว่า ถ้ารุสเซียไม่ปฏิบัติตาม โอกาสคืนดีกันก็คงเป็นไปมิได้ รุสเซียเร่มลังเลแต่ยังหวังฝ่ายที่เห็นชอบข้อเสนอของตนในจีนจะมีอิทธิพลอยู่บ้างในขณะเดียวกัน รุสเซยก็เร่มตระเตรียมระเบียบวาระสำหรับการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลก รุปการณ์ส่อให้เห็นว่าจำเป็นต้องพึ่งพรรคเหล่านั้นให้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย จีนแสดงท่าทีชาเย็นอย่างเต็มที่ ทำให้โอกาสคืนดียิ่งยากขึ้น
       ลักษณะสัมพันธภาพของทังสองฝ่ายเต็มไปด้วยการชิงไหวชิงพริบกัน โดยเนื้อแท้รุสเซียไม่อาจหลักกนีพันธกรณีตามความผูกพันทางอุดมการณ์ต่อเวียดนามเหนือได้ในฐานะผู้นำโลกคอมมิวนิสต์ รุสเซียควรยื่นมือเข้าไปเกี่ยวข้องช่วยเหลือโดยตรง แต่วิกฤติกาณ์เวียดนามนั้นเป็นเรื่องอันตราย เพราะถ้าข้องเกี่ยโดยตรง รุสเซียได้ต้องเผชิญหน้าสหรัฐอมเมริกา เป็นการเสี่ยงอันตรายเกินไปและผิดจุประสงค์นโยบายหลักของรุสเซียแต่ถ้ารุสเซียวางเฉย โลกคอมมิวนิสต์โดยเฉพาะจีนคอมมิวนิสต์ก็อาจประณามรุสเซียไม่อาจผลักภาระหน้าที่ ตราบใดที่รุสเซียยังต้องการเป็นผุ้นำโลกคอมมิวนิสต์แต่ในขณะเดียวกัน รุสเซียก็ไม่ต้องการเผชิญหน้าสหรัฐอเมริกา รุสเซียจึงต้องแสวงหาทางออกที่ดีพอมี่จะรักษาฐานะอำนาจและศักดิ์ศรีของรุสเซียทั้งในโลกคอมมิวนิสต์และโลกเสรีวิกฤติการณ์เวียนามท้าทายรุสเซียยิ่งนัก
     นโยบายของรุสเซยที่เรียกร้องพลังโลกคอมมิวนิสต์ให้ต่อต้านจักรวรรดินิยมอเมริกาในเวียดนามใต้นั้น ว่าไปแล้ว มีความมิวนิสต์จีนระดับผุ้นำหลายคนเห็นด้วยว่าควรช่วยเหลือเวียดนามเหนือ รุสเซียจึงหวังว่าคนกลุ่มนี้จะทวีพลังมากพอที่จะเป็นเสียงข้ามมากในการกำหนดวินิจฉัยนโยบายของจีน แต่แล้วบุคคลชั้นนำของกลุ่มนัน คือ โล ยุย ชิง ประธานคณะกรรมการกิจการทหารและเสนาธิการฝ่ายวางแผนได้ถูกคลื่นขบวนการปฏิวัติวัฒนธรรมถาโถมเข้าโจมตีอย่างรุนแรงจน โล ยุย ชิง ต้องจำนนต่อข้อกล่าวหาทุกประการและค่อย ๆ หายหน้าหายตาไปจากวงการเมืองและวงการทหาร ต่อมา เผงเจิน ซึ่งแอนตั้รุสเซียได้เป็นผู้นำในการปฏิวัติวัฒนธรรมในแวงวงวรรณกรรม ช่วงระยะที่จีนเริ่มเผชิญคลื่อนปฉวัตินี้ รุสเซียได้เผ้าสงเกตการณ์อย่างใกล้ชิด และมีทีท่าพร้อมที่จะแทรกแซง ถ้าฝ่ายปฏิปักษ์ของเมาจะแสดงพลังความสามาถรพโดยมีนโยบายนิยมรุสเซียให้เป็ฯที่ประจักษ์ ในขณะเดียวกันจีนกับรุสเซยก็เปิดฉากก่อกรณีพิพาทชายแดนและรุสเซียเองก็มีที่ท่าพร้อมที่จะลิดรอนเอกราชอำนาจอธิปไตยของมองโกเลียนอก โดยลังเลที่จะต่ออายุสนธิสัญญาพันธมิตร ในระยะนั้นรุสเซียมีความเคลื่อนไหวภายในมาก เกี่ยวด้วยเรื่องส่งทหารไปมองโกเลียนอกเพื่อข่มขวัญจีนโดยเฉพาะปักกิ่ง ซึ่งมีชัยภูมิที่ตั้งใกล้กับมองโกเลียนอกทางตะวันออก
     ระหว่างที่เหตุการณ์ภายในจีนปั่นป่วนจับต้นชนปลายไม่ได้แน่ชัดนั้น ทั้งจีนและรุสเซียต่งอถอนทูตกลับประเทศเป็ฯการภายใน ความวุ่นวายเป็นจลาจลในประเทศจีนย่อมทำให้รุสเซียสนใจเป็นอย่างยิ่ง รุสเซียได้เฝ้ารอดูหลิวเชาชี และเติ้งเสี่ยวผิงว่าจะสามารถต้านคลื่นปฏิวัติได้ตลอดรอดฝั่ง และสามารถนำจีนมาสู่ฝ่ายรุสเซียได้ในภายหน้าหรือไม่ แต่ปรากฎว่าสองคนมิอาจทานคลื่นปฏิวัติได้ในปลายปี 1966 ทั้งสองคนค่อย ๆ หมดอำนาจทางการเมืองโดยพฤตินัย
     นโยบายจีนทวีความสลับซับซ้อนไม่มีผุ้ใดคาดได้ว่า โดยเหนื้อแท้แล้วระหว่างปกิวัติวัฒนธรรมนั้นจีนมีนโยบายต่างประเทศที่แน่นอนลักษณะใด ถ้าพิเคราะห์โดยถ่องแท้จะเห็นได้ว่า การปฏิวัติวัฒนธรรมมิได้เป็นแต่เพียงจุดหัวเลี่ยวหัวต่อทางการเมืองและอุดมการณ์ว่า จีนควรยืนหยัดต่อต้านแนวโน้มเอียงในการก้าวไปสู่วิถีทางนายทุนหรือไม่เท่านั้น หากแต่การปฏิวัติวันธรรมยังเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อทางนโยบายต่างประเทศด้วยว่ามีนโยบายใดที่เหมาะสม ส่วนนโยบายต่างประเทศทั่วไปอื่น ๆ ของจีนคงยังไม่มีข้อยุติและเห็นได้ชัดว่าคงจะมีการพิจารณาเปลี่ยนแปลงบ้างนโยบายที่เด่นชัดคือ นโยบายเป็นปฏิปักษ์กับรุสเซียและการทูตโดยใช้เรดการ์ดเป็นสื่อแสดงแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงนโยบาย ดังปรากฎว่าจีนเรียกบรรดาทูตกลับประเทศและปล่อยให้เรดการ์ดโจมตีกระทรวงการต่างประเทศแล้วประณามนายเชินยิ ผุ้เป็นรัฐมนตรีอย่างสาดเสียเทเสีย พร้อมกันนั้นก็ก่อกวยสถานทูตของฝ่ายรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ที่จีนเห็นว่าไม่เป็นมิตรเท่าใดนักกับจีนที่สำคัญคือ สถานทูตรุสเซยถูกพวกเรดการ์ดล้อ เรอดการ์ดประณามรุสเซียว่าเป็นพวกนิยมแก้ไขปรับปรุงลัทธิและส่อจักรวรรดินิยมเพราะแอบอ้างดินแดนไปจากจีน
      ทั่วโลกให้ความสนใจมากกับกรณีพิพาทชายแดนระหว่างจนกบรุสเซย อินแดนที่เป็ฯปัญหาคือ พรมแดนระหว่างรุสเซียกับมณฑลซินเกียงและระว่างรุสเซียกับแมนจูเรียจีนเรียกร้องให้รุสเซียสารภาพว่า ดินแดนที่ไปในสมัยจักรวรรดิจีนนั้นเป็นไปตามสนธิสัญญากับซาร์อย่างไม่เป็นธรรมและไม่เสมอภาค ข้อเรียกร้องนั้นเป็นเงื่อนไขเบื้งต้นของการเจรจารุสเซียไมยอมรับผิดเช่นนั้น ในระหว่างการประคารม การปฏิวัติวัฒนธรรมผลักดันให้ชนกลุ่มน้อย ยูกูร์ อพยพข้ามพรมแดนจากซินเกียงเข้าไปในดินแดนรุสเซียประมาณเกือบแสน ต่างฝ่ายต่างปิดพรมแดนและลาดตระเวนชาแดนอย่างเข้มวงดกวดขันบางครั้งบางคราวก็มีพวกเรดการ์ดก่อกวนตามพรมแดนทางซินเกียงและแมนจูเรีย การต่อต้านเป็นปฏิปักษ์ต่อรุสเซียนี้ดำเนินไปอย่างรุนแรงถึงขั้นทำลายทรัพย์สินและทำร้ายชาวรุสเซียตามเมืองท่าเดเรน จนรุสเซียต้องขู่คุกคามว่าจะตัดการค้าขายด้วย รัฐบาลจีนจึงพยายามจำกัดขอบเขตของการประท้วงรุสเซียไว้ แต่ก็ทำได้ยากมิใช้น้อยเพราะเรดการ์ดมีพลังยากแก่การควบคุม
     เอกภาพของโลกคอมมิวนิสต์นั้นไร้ความมหายและเป็นไปมิได้แล้วสำหรับรุสเซียโดยเฉพาะความแตกแยกระหว่างจีนกับรุสเซยได้เปิดโอกาสให้บรรดารัฐบริวารฉวยโอกาสปกครองตนเองที่ละน้อย ที่สำคัญคือ แอลบาเนีย ยูโกสลาเวีย รูเมเนีย ภายในโลกคอมมิวนิสต์เต็มไปด้วยเสียงวิพากษ์วิจารณ์วิธีการที่รุเซียปกครองรัฐบริวาร  โลกคอมมิวนิสต์แตกแยกแต่ยังมิได้มีขบวนการแยกออกจากโลกคอมมิวนิสต์ เพราะรัฐบริวารยังเกรงกลัวกำลังแสนยานุภาพและอำนาจของรุสเซีย อีกทั้งรัฐบริวารยังต้องพึ่งพาอาศัยความคุ้มครองปกป้องจากรุสเซียเพราะรัฐบริวารเองส่วนใหญ่มิได้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันนัก รุสเซียสามารถให้หลักค้ำประกันเสถียรภาพความมั่นคงแก่โลกคอมมิสวนิสต์มาก ประการสุดท้าย สงครามเวียดนามมีส่วนทำให้ความผิดพ้องหมองใจในโลกคอมมิวนิสต์ในด้านต่าง ๆ ลดลงมากและอำพรางข้อเท็จจริงว่า โลกคอมมิวนิสต์ขาดเสียงเอกฉันท์ในการกำหนดจุดประสงค์ร่วมกันเพื่อโลกคอมมิวนิสต์ รุสเซียเน้นเสมอว่า ความช่วยเหลือที่รุสเซียจะให้ขบวนการมีลักษณะฮักเหิมก่อศึกสงครามซึ่งจะทำให้เกิดภาวะการเผชิญหน้ากันเองของอภิมหาอำนาจและอาจทำให้เกิดสงครามนิวเคลียร์ได้

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...