วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Japan(Cold war)

     ตั้งแต่ปี 1960-1970 ในประเทศญี่ปุ่นเองมีเสียงเรียกร้องให้ญี่ปุ่นเปลี่ยนนโยบายใหม่ คือ เลิกระบบพันธมิตรกับอเมริกา และดำเนินนโยบายเป็นกลาง ไม่แทรกแซงยุ่งเกี่ยวกับสงครามเย็นอีกฝ่ายหนึ่งก็เห็นด้วยเพราะสำนึกผิดที่ญี่ปุ่นได้กระทำทารุณกรรมต่อจีนอย่างสาหัสสากรรจ์ กระนั้นประชาชนส่วนใหญ่ยังคงสนับสนุนพรรคเสรีประชาธิปไตย ซึ่งถือนโยบายพันธมิตรและรัฐบาลก็ยังยึดมั่นในพันธกรณีต่อโลกเสรีไม่เปลี่ยนแปลง ญี่ปุ่นได้แถลงการณ์ร่วมกับอเมริกาว่า “การธำรงรักษาสันติภาพละเสถียรภาพในบริเวณเกาะไต้หวันเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญยิ่งของการธำรงรักษาเสถียรภาพความมั่นคงของญี่ปุ่น” ความดังกล่าว โดยเนื้อแท้แล้ว จีนคอมมิวนิสต์ไม่อาจรวมไต้หวันได้เพราะมีมหาอำนาจอเมริกาขัดขวงาอยู่การที่ญี่ปุ่นร่วมแถลงการณ์ว่าจะช่ยรักษาเอกราชยองไต้หวันย่อมจะทำให้จีนคอมมิวนิสต์ไม่พอใจทั้งนี่ญี่ปุ่นยังได้รับยอมรับโดยประยายว่า รัฐบาลจีนที่ไต้หวันเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายของจีนอยู่
     โดยเหตุดังกล่าวดังนี้ จะเห็นได้ว่า ญี่ปุ่นจะเปิดสัมพันธภาพทางการทูตกับจีนคอมมิวนิสต์ได้ยาก จีนคอมมิวนิสต์ยังคงตราหน้าญี่ปุ่นว่า เป็นชาตินิยมลัทธิทหาร ชอบตามหลังอเมริกา และเริ่มไม่สบายใจที่ญี่ปุ่นมีทีท่าว่าจะมัสัมพันธ์ภาพอันดีกับรัสเซียศัตรูหมายเลขหนึ่งของตน ส่วนญี่ปุ่นเองก็มองเห็นอุปสรรคมากมายที่จะเปิดการทูตกับจีนคอมมิวนิสต์

      เสียงเรียกร้องในญี่ปุ่นให้เปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศต่อจีนและอเมริกาเร่มหนาหูขึ้นเนื่องจากความบาดหมางกันทางการค้าระหว่างญี่ปุ่นและอเมริกาตั้งแต่ปี 1970 รัฐบาลทั้งสองพยายามหาหนทางแก้ปัญหาดุลการค้า แต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะต่างฝ่ายต่างยืนกรานในหลักการทีอีกฝ่ายปฏิบัติไม่ได้ ความบาดหมางนี้ในวงการเศรษฐกิจทั่วโลกมองไปในแง่ที่ว่าทังสองมหาอำนาจได้เปิดฉากสงครามเศรษฐกิจ กันแล้ว การเจรจาเรื่องค้าผ้าหยุดชงักหลายครั้ง อเมริกาเรียกร้องให้ญี่ปุ่นหยุดส่งผ้าเป็ฯสินค้าออกไปอเมริกา 5 ปี ญี่ปุ่นทำตามไม่ได้ เลยต้องต่อรองเรื่องกำหนดเวลา แม้ว่าจะเจรจาไม่สำเร็จและวงการอุตสาหกรรมผ้าในญี่ปุ่นจะพออกพอใจนัก ความล้มเหลวในการเจรจานี้ส่งผลไปถึงความบาดหมางระหว่างประเทศ ความบาดหมางนี้ยังทวีขึ้นอีกเมื่อเกี่ยวพันไปถึงปัญหาเรื้อรังของญี่ปุ่นคือเรื่องเกะโอกินาวา ญี่ปุ่นเรียกร้องให้อเมริกาถอนทัพและคืนเกาะนี้ให้ญี่ปุ่น แต่อเมริกาหน่วงเหนี่ยวไว้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับอเมริกานี้ทำให้ฐานะของรัฐบาลโดยเฉพาะตัวนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น นายซาโตะ ทรุดหนักและสั่นคลอนไปด้วย
     นอกจากปัญหาการค้าขายแล้ว ญี่ปุ่นยังต้องประสบปัญานโยบายจีนในปี 1970 ญี่ปุ่นมีทีท่ามากพอใช้ที่จะพิจารณาเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนคอมมิวนิสต์ ทางฝ่ายกระทรวงต่างประเทศของญี่ปุ่นได้กล่าวเป็นนัยหลายครั้งว่า ญี่ปุ่นพร้อมที่จะเปิดการเจรจาอย่างเป็นทางการกับจีนคอมมิวนิสต์ นายซาโตะ เคยปราระว่า อยากเปิดการทูตกับจีนที่ปักกิ่งและที่ไต้หวัน ญี่ปุ่นรู้ตัวดีว่า การเจรจากับจีนแดงนั้นคงยาก  เพราะญี่ปุ่นต้องคำนึงถึงสัมพันธภาพระหว่างญี่ปุ่นกับไต้หวันและกับสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นยังต้องยืนกรานในนโยบายเดิมของตน และยังได้พูดถึงสัจิภาพและเสถียรภาพของเอเซียตะวันออกว่า ถ้าองค์การสหประชาชาติพิจารณากับจีนคอมมิวนิสต์เป็นสมาชิก ควรใช้ระบบสองในสามในการลงคะแนนตัดสินวินิจฉัย ซึ่งจีนคอมมิวนิสต์ไม่พอใจมาก
     ปัญหาจีนทำให้วงการเมืองญี่ปุ่นสั่นคลอนมากขึ้น ในปี 1971 มีการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์มากว่า ญีปุ่นจะยอมเป็นชาติสุดท้ายในโลกที่จะมีการทูตกับจีนคอมมิวนิสต์หรือ..ญี่ปุ่นควรเลือกนดยบายและวิถีทางใดในการติดต่อกับจีนคอมมิวนิสต์ จะรับรองทั้งจีนคอมมิวนิสต์และจีนที่ไต้หวัน ที่เรียกว่านโยบายสองจีน หรือจะรับรองเพียงชาติเดียว คือ ไม่จีนคอมมิวนิสต์ ก็ จีนไต้หวัน และหรือ จะติดต่อกับจีนคอมมิวนิสต์วิธีใดโดยมิให้จีนไต้หวันโกรธเคือง ที่เป็นปัญหาเช่นนี้เพราะทั้งจีนคอมมิวนิสต์และจีนไต้หวัน ต่างก็อ้างว่าตนเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎกมายของจีนญี่ปุ่นเองก็รับรองจีนที่ไต้หวัน ปัญหายังยุ่งยากซับซ้อนขึ้นอีก เนืองจากญี่ปุ่นมีผลประโยชน์ทางการค้ากับจีนคอมมิวนิสต์และจีนที่ไต้หวัน ญี่ปุ่นไม่อาจจะตัดสินใจอะไรได้มากนักในปัญหาจีน ดังที่นาย ซาโตะ ได้ยอมรับว่า “ญี่ปุ่นไม่มีการทูต(กับจีนคอมมิวนิสต์)จนกว่าเราจะแก้ปัญหาจีนได้ก่อน”
     ต้นปี 1971 ญี่ป่นต้องการให้สหรประชาชาติพิจารณาเรื่องการลงคะแนนตัดสินขับไล่ไต้หวัยอออกจากการเป็นสมาชิก และเรื่องรับจีนคอมมิวนิสต์เป็นสมาชิกเป็นประเด็นสำคัญญี่ปุ่นจะถือหลักไม่เข้าแทรกแซงในกรณีทั้งสองนี้ โดยไม่ออกเสียงลงคะแนน แสดงว่าญี่ปุนถือนโยบาย 2 จีน ต้องการให้จีนคอมมิวนิสต์และจีนชาติเป็นสมาชิกสหประชาชาติ ในขณะที่ญี่ปุ่นออกความเห็นเป็ฯทางการไว้เช่นนี้ ญี่ปุ่นก็เริ่มทาบทามจีนคอมมิวนิสต์ รัฐมนตรีต่างชาติญี่ปุ่น นายเอชิ กิชิ เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นเต็มใจที่จะพูดกับจีนคอมมิวนิสต์แต่จะทำได้อย่างไร ญี่ปุ่นเองต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในเรื่องนี้ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวพันไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับจีนที่ไต้หวัน รวมทั้งการที่ญี่ปุ่นต้องคำนึงถึงการเมืองระหว่างประเทศ กล่าวคือ ญี่ปุ่นต้องปรึกษาพันธมิตรของตนก่อนได้แก่อเมริกาและเอเซียอาคเนย์
      เมื่อมีเสียงเรียกร้องให้ญี่ปุ่นปรับปรุงหรือเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศ นายซาโตะ จึงได้แต่กล่าวเตือนผู้เรียกร้องเช่นนั้นให้พิจารณาใคร่ครวญถึงผลประโยชน์ของชาติและความผูกพันที่ญี่ป่นมีต่อชาติอื่น รัฐบาลขอร้องให้ญี่ปุ่นใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการแก้ปัญหาจีนมิให้กระทบกระเทือนถึงเกียรติภูมิญี่ป่น การเมืองระหว่างประเทศและผลประโยชน์ของชาติ ความค้องการที่จะแก้ปัญหาจีนนี้มีผู้วิจารณ์ไว้ว่า การกระทำของรัฐบาลนายซาโตะนี้ได้ถูกบั่นทอนไประหว่างการตัดสินใจต้องการจะเปิดการทูตกับจีนคอมมิวนิสต์ และการที่ต้องยอมรับความจริงคือสถานการณ์โดยสิ่งแวดล้อม
     ทางจีนคอมมิวนิสต์เองได้สร้างอุปสรรคด้วยการเรียกร้องให้ญี่ปุ่นทำตามกติกาเบื้องตนของตนก่อน กติกาเหล่านี้ล้วนเป็นข้อเรียกร้องที่ญี่ปุ่นทำตามได้ยากเต็มที กติกาเหล่านี้ได้เพิ่มขึ้นตามกาลเวลา ที่สำคัญคือ ญี่ปุ่นต้องยอมรับว่าตนกำลังฟื้นฟูลัทธนิยมทหารคือสร้างกำลังแสนยานุภาพ และจีนต้องการให้ญี่ปุ่นยกเลิกสัญญาสันติภาพกับไต้หวัน
    ถึงกระนั้น ความเคลื่อนไหวเพื่อเปิดการทูตกับจีนคอมมิวนิสต์ก็ปรากฎขึ้นในปี 1971 รัฐบาลญี่ปุ่นตัวแทนเจรจาการค้ากับจีนคอมมิวนิสต์ จุดประสงค์คือการหาลู่ทางและดูท่าทีของฝ่ายจีนคอมมิวนิสต์ว่าคิดหรือมีทีท่าต่อญี่ปุ่นอย่างไร ความเคลื่อนไหวอีกประการหนึ่งคือ สมาชิกสภาผู้แทนสังกัดพรรครัฐบาล 20 คนเดินทางไปไต้หวันเพื่อดูท่าทีไต้หวัน ความเตื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นในระยะที่มีกาวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาจีนกับญี่ปุ่นมากขึ้น อันสืบเนื่องมาจากการที่จีนคอมมิวนิสต์และอเมริกาใช้กีฬาเป็นสื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ ที่เรียกว่า ปิงปองการทูต ชาวญี่ปุ่นวิตกว่ามหาอำนาจทั้งสองอาจจะมีข้อตกลงบางประการที่ขัดผลประโยชน์ของญี่ปุ่น
     แม้จะมีแรงผลักดันและการเรียกร้องมากมายเพียงใด ก็ไม่อาจจะทำให้รัฐบาลเปลี่ยนแปลงนดยบายได้ รัฐบาลเรียกร้องให้ชาวญี่ปุ่นถือนโยบายรอดูท่าที กล่าวคือ ญี่ปุ่นควรรอจังหวะเหมาะก่อน ที่ญี่ปุ่นใช้นโยบายนี้เพราะต้องการเวลาพิจารณาปัญหาจีนให้ถ่องแท้และระมัดระวังมากกว่านี้ ไม่ต้องการเร่งรัดแก้ปัญหาทั้งญี่ปุ่นต้องการรอดูท่าทีของอเมริกาว่าจะดำเนินนโยบายติดต่อกับจีนคอมิวนิสต์ก้าวหน้าเพียงใดเพื่อจะได้ใช้เป็นข้อมมูลพิจารณาปรับปรุงที่ของตนต่อจีนคอมมิวนิสต์ได้ถูกต้อง เป็นการดำเนินนโยบายสอดคล้องกับอเมริกา ด้วยหาหลักากรดีไม่ได้ การใช้นโยบายรอดูก่อนจึงเป็นหารเหมาะสมสำหรับระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงนโยบาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...