วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Yom Kippur 1973 War

สงครามยิว-อาหรัฐในสงครามหกวันเป็นครั้งที่ 3 การรบกัน โดยฝ่ายิสราเอลได้รับชัยชนะพร้อมทั้งเข้ายึดพื้นที่บริเวณปาเลสไตน์ไว้อีกเป็นจำนวนหลายพันตารางกิโลเมตร รุสเซียได้แสดงตัวเคียงข้าอาหรับ โดยคาดว่าโลกเสรีและอิสราเอลจะยับยั้งชั่งใจ รุสเซียมีความเชื่อว่า อำนาจอิทธพลตลอดจนกำลังทางทะเลของตนในเมดิเตอร์เรเนียนมีกำลังอำนาจมากพอที่จะทำให้
โลกเสรีต้องยินยิมถอนตัวหลีกเลี่ยงเข้าสู่สงครามกับอียิปต์ที่มีรุสเว๊ยอยู่เบื่องหลัง วิกฤติการณ์จะสลายตัวโดยรุสเซียจะมีหน้ามีตา มีอิทธิพลมากขึ้นในตะวันออกกลาง อีกทั้งสามารถแสดงให้โลกเห็นว่า สันติภาพโลกขึ้นอยู่ที่รุสเซียว่าต้องการหรือไม่ต้องการมากกว่าอน ไม่มีอภิมหาอำนาจใดจะมัฐานะอำนาจเช่นรุสเซีย แม้แต่สหรัฐอเมริกายังต้องยอมถอยออกห่างเพื่อเลี่ยงสงครามเผชิญหน้ารุสเซีย รุสเซียคาดว่าจะใช้เชิงการทูตเช่นนั้นบีบบังคับอีกฝ่ายให้ยอมจำนน ถ้าแนวคิดคาการณ์ของรุสเซียนี้เปรียบเสมือนเกมพนัน ก็เท่ากับว่ารุสเซียได้เอาเกียรติยศเงินทองมาวางเป็นเดิมพันกมดสิ้นโดยคาดว่าจะเป็นฝ่ายชนะเต็มประตู แต่เกมการเมืองมิได้เดินไปในแนวที่รุสเซียหวัง นโยบายขู่คุกคามโดยแสดงกำลังไม่อาจทำให้อิสราเอลยอมงิมืองอเท้าให้ถูกปิดล้อม
     เมื่อถูกปิดล้อม อิสราเอลได้เป็นฝ่ายปฏิบัติการโจมตีอียิปต์อย่างรวดเร็ว รุสเซียคาดไม่ถึง สถานการณ์ตะวันออกกลางมิได้ถูกจำกัดขอบเขตความตึงเครียด หากแต่ได้ลุกลามขยายตัวเป็นสงครามล่อแหลมต่อการที่รุสเซียต้องแสดงพลังเข้าเกี่ยวข้อง ซึ่งหมายถึงการเผชิญหน้าโลกเสี ผิดความคาดหมายของรุสเซียโดยสิ้นเชิง รุสเซียจึงเดินแต้มดูเชิงการทูตใหม่เรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายคู่กรณีสงครามสงบศึกและต่างฝ่ายต่างคืนสูสถานะเดิมทางพรมแดนในยามยาก รุสเซียได้แสดลตนให้โลกอาหรับได้ประจักษ์ว่า รุสเซียไม่เต็มใจที่จะทุ่มตัวเสี่ยงช่วยอาหรับดังที่ค่ดกัน รุสเซียจะช่วยอาหรับได้อย่างมากที่สุดไม่เกินขีดขั้นการให้ขวัญกำลังใจและใช้เชิงการทูตเจรจายุติศึกสงครามและโจมตีอิสราเอลว่าเป็นฝ่ายก้าวร้าวรุกราน
     ทั้งสหรัฐอเมริกา และรุสเซียแสดงตนไม่เข้าเกี่ยวข้องแทรกแซงทางทหารในสงครามครั้งนั้น ต่างเผ้าจับตาดูผลของสงคราม สงครามสิ้นสุดลงอย่างรวดเร็วภายใน 6 วัน ตามมาด้วยความปราชัยอย่างย่อยยับของฝ่ายโลกอาหรับ รุสเซียผู้ให้ความช่วยเหลือทางทหารต้องพลอยได้รับความอัปยสด้วย รุสเซียต้องเสียหน้าและเกียรติภูมิ ความช่วยเหลือที่ได้ทุ่มเทแก่อาหรับไร้คว่มหมาย เป็นทหารลงทุนที่สูญเปล่าอย่างสิ้นเชิง
     สงครามยิว-อาหรับครั้งที่ 4 ปี 1973 ฝ่ายอาหรับเป็นฝ่ายเปิดฉากการรบก่อน สากเหตุของสงครามเป็นผลสืบเนื่องมาจาก การพ่ายแพ้สงคราในครั้งก่อน ๆ กลับคืน มา,ต้องการได้เปรียบในโตะประชุมเมือมีการเจรจากัน,ด้วยความกลัวอิสราเอลจะแก้แค้น เช่น กรณีของซีเรียทำการสนับสนุนให้กองโจรปาเลสไตน์ทำการจับชาวยิวเป็นตัวประกัน เป็นต้น,ความต้องการล้างอายที่ทำสงครามประสบกับความพ่ายปแพ้เสมอมา สงครามครั้งใหม่จึงเสมือนเป็ฯสงครามกอบกู้ชื่อเสียง
    ในสงครามครั้งนี้ อิสราเอลเป็นฝ่ายได้เปรียบในการรบ แต่มีสิ่งที่ต่างไปจากการสงครามในครั้งก่อนๆ สหรัฐและสหภาพโซเวียตต่างส่งอาวุธทันสมัยทุกรูปแบบเข้าช่วยในการสงครามครั้งนี้อย่างเต็มที่ โดยสหรัฐอเมริกาช่วยฝ่ายยิว ส่วนสหภาพโซเวียตช่วยฝ่ายอาหรับสงครามได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะถึงขีดที่ประเทศอภิมหาอำนาจเองเกรงสงครามจะหลายสภาพเป็นสงครามนิวเคลียร์ ดังนั้นจึงมีการดำเนินการเพื่อให้สงครามครั้งนี้ยุติลงในวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ.1973 สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตได้เสนอญัตติร่วมกันต่อองค์การสหประชาชาติ เรียกร้องให้มีการหยุดยิงภายใน 12 ชั่วโมง
     ถึงแม้ว่าสหประชาชาติจะมีมติให้หยุดยิง แต่ปรากฎว่า ไม่ใคร่มีใครปฏิบัติตามมติดังกล่าว เพราะต่างกังวลกับเรื่องเชลยศึกของฝ่ายตน ในที่สุดประธานาธิบดีซาดัตของอียิปต์จึงเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตส่งกองกำลังเข้าไปควบคุมสภานการ์ การประจันหน้ากันจึงเกิดขึ้นอีก ด้วยเหตุนี้ สหประชาชาติ จึงมีการเรียกประชุมด่วน และได้ลงมติจัดส่งทหารขององค์การสหประชาชาติเข้าไประงับเหตุการณ์
      วันที่ 12 พฤศจิกายน 1973 อียิปต์และอิสราเอลทำการลงนามในข้อตกลงมีดังนี้ คือ
- จะยอมปฏิบัติตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติเรื่องการหยุดยิง
- จะเริ่มการเจรจาเรื่องกลับเช้าตั้งในแนวหยุดยิง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 1967
- เมืองสุเอชจะได้รับอุปกรณ์ตลอดจนเครื่องอุปโภคต่าง ๆ และชาวเมืองที่บาดเจ็บจากการต่อสู้ของสงครามจะได้รับอนุญาต ให้ออกจากเมืองได้
- อียิปต์มีสิทธิจะส่งอุปกรณ์ต่าง ๆ ยกเว้นยุทธโธปกรณ์ไปให้แก่กองทัพที่ 3 ที่ถูกกองทัพอิสราเอลปิดล้อมอยู่บนฝั่งตะวันออกของคลองสุเอชได้
- เจ้าหน้าที่สหประชาชาติจะเข้าแทนที่ทหารของอิสราเอลตามด่านต่าง ๆ ระหว่างถนนสายไคโร-สุเอช
- เมื่อเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติเข้าประจำด่านต่าง ๆ ตามถนนสายต่าง ๆ แล้วจะมีการแลกเปลี่ยนเชลยศึกระหว่างยิว-อาหรับ
- เมื่อเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติเข้าประจำด่านต่าง ๆ ตามถนนสายต่าง ๆ แล้วจะมีการแลกเปลี่ยนเชลยศึกระหว่างยิว-อาหรับ
ถึงแม้จะมีการเจรจาสงบศึก ตลอดจนมีข้อตกลงเพื่อใช้ปฏิบัติหลายประการดังกล่าว แต่ยังคงมีปัญหาอื่น ๆ อีกหลายประการที่จะต้องเจรจากัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...