Six day War

      การปะทะระหว่างอาหรับกับยิวที่โลกรับรู้อย่างเป็นทางการมีขึ้นครั้งแรกในปี 1948 เมื่อยิวประกาศจัดตั้งประเทศอิสราเอลในดินแดนปาเลสไตน์ในวันที่ 14 พฤษภาคม 1948 กองกำลังอาหรับประกอบด้วยกองทหารจากอียิปต์ อิรัก ซีเรีย เลบานอน และจอร์แดน ได้บุกโจมตีอิสราเอลในวันที่ 15 พฤษภาคม 1948 เพื่อทำลายล้างอิสราเอล ผลการสู้รบยิวสามารถรักษาความเป็นชาตอิสราเอลไว้ได้ การปะทะระหว่างอาหรับกับยิวครั้งที่สองมีขึ้นในปี 1956 ในปัญหาวิกฤติการณ์คอลองสุเอช โดยในวันที่ 29 ตุลาคม 1956 กองกำลังอิสราเอลรุกรานอียิปต์ ยึดได้ดินแดนในปกครองของอียิปต์คือฉนวนกาซา และคาบสมุทรไซนาย กองกำลังอังกฤษและฝรั่งเศสสามารถเข้าควบคุมปากทางตอนเหนือของคลองสุเอชของอียิปต์ได้ สหรัฐอเมริกาและรุสเซียให้การหนุนหลังองค์การสหประชาชาติเข้าระงับเหตุ สหประชาชาติมีมติให้อิสราเอล อังกฤษ และฝรั่งเศสถอนกองกำลังออกจากเขตยึดครองของอียิปต์ และกำหนดจัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพประจำในฉนวนกาซาและคาบสมุทรไซนาย เพื่อป้องกันกรณ๊พิพาทพรมแดนอันอาจจะเกิดได้ระหว่างอียิปต์กับอิสราเอลในอนาคต การปะทะระหว่างอาหรับกับยิวครั้งที่สามมีขึ้นในปี 1967 ในสงครามหกวันปี 1967 เหตุแห่งสงครามคือปัญหา สามประการ ปัญหาประการที่หนึ่งคือปัญหาพรมแดน กล่าวคือ อิสราเอลมีพรมแดนทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรไซนายของอียิปต์ พรมแดนทางตะวันออกติดกับจอร์แดน และพรมแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับซีเรีย นับจากปี 1956 ทั้งซีเรียและจอร์แดน และพรมแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับซีเรีย นับจากปี 1956 ทั้งซีเรียและจอร์แอนให้การสนับสนุนชนชาวอาหรับแอบข้ามพรมแดนเข้ามารุกรานโจมตีชนชาวยิวสร้างความขมขื่นไม่พอใจอิสราเอล ปัญหาประการที่สองคือ อียิปต์ ภายใต้การนำของนัสเซอร์ ในวันที่ 18 พฤษภาคม 1967 ประกาศเรียกร้องให้องค์การสหประชาชาติถอนกองกำลังทหารรักษาสันติภาพออกจากฉนวนกาซาและคาบสมุทรไซนาย ซึ่งมีพรมแดนอียิปต์ อิสราเอล อูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติขณะนั้นไม่ปฏิบัติตามคำเรียกร้องอย่างเร่งด่วนของอียิปต์ เป็นผลให้นัสเซอร์ปฏิบัติการสร้างปัญหาที่สามคือในวันที่ 22 พฤษภาคม 1967 อียิปต์ประกาศปิดช่อแคบทีราน ช่องแคบทีรานอยู่ระหว่างทะเลแดง กับอ่าวอะคาบา อันมีผลสกัดกั้นเรื่อสินค้าอิสราเอลจากทะเลแดงไม่อาจเข้าสู่อ่าวอะคาบามุ่งสู่เมืองท่าอีลาท เมื่องท่าทางใต้ของอิสราเอลได้ ด้วยปัญหาทั้งสามประการสหรัฐอเมริกาและอังกฤษไม่เห็นด้วยกับการก้าวร้าวรุกรานของซีเรียกและจอร์แดนและคัดค้านการกระทำของอียิปต์ รุสเซียให้การสนับสนุนท่าทีกลุ่มชาติอาหรับ อิสราเอลไม่พอใจ ขมขื่น มั่นใจว่าไม่อาจเกิดข้อตกลงสันติภาพได้ อิสราเอลหวาดกลัวการถูกกองกำลังอาหรับโจมรี ได้เตรียมพร้อมด้านกองกำลังอาวุธ และปฏิบัติการบุกโจมตีอียิปต์ จอร์แดนแบบสายฟ้าแลบในช่วงวันที่ 5-10 มิถุนายน 1967 เรียกสงครามหกวันปี 1967 ผูงบินอิสราเอลทำลายกองกำลังทางอากาศของสามชาติอาหรับย่อยยับและกองกำลังทางบกของอิสราเอลมีชัยชนะเหนือกองกำลังทางบกของสามชาติอาหรับ ผลอย่งเป็นทางการของสงครามหกวันปี 1967 คืออิสราเอลสามารถยึดคาบสมุทรไซนาย และฉนวนกาซา จากอียิปต์ ยึดที่ราบสูงโกลาน จากซีเรีย ยึดดินแดนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน รวมทั้งดินแดนฝั่งตะวันตกของแมน้ำจอร์แดน รวมั่งดินแดนซีกตะวันออกของกรุงยะรูซาเล็ม จากจอร์แดน ทั้งนี้
อิสราเอลประกาศทันที่อย่งเป็นทางการรวมดินแดนซึกตะวันออกของกรถงยะรูซาเล็มเป็นส่วนหนึ่งของอิสราเอล สงครามหกวันปี 1967 อิสราเอลขนะกลุ่มชาติอาหรับ แสนยานุภาพกองกำลังอิสราเอลเหนือกลุ่มชาติอาหรับ กลุ่มชาติอาหรับเพิ่มความโกรธแค้นอิสราเอล สหรัฐอเมริกาและอังกฤษสนับสนุนอิสราเอล รุสเซียสนับสนุนกลุ่มชาติอาหรับ ในวันที่ 11 มถุนายน 1967 องค์การสหประชาชาติยื่นมติกำหนดให้อิสราเอลถอนทหารออกจากดินแดนที่ยึดครองได้ในสงครามหกวัน ด้วยเกรงกลุ่มชาติอาหรับอาจใช้ดินแดนเหล่านี้เป็นเส้นทางคุกคามเอกราชอิสราเอลในอนาคต การถอนทหารอาจเกิดได้ในอนาคตต่อเมือกลุ่มชาติอาหรับยอมรับในเอกราชของอิสราเอลเท่านั้น และจากการที่อิสราเอลได้ยึดครองฉนวนกาซาและดินแดนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน มีผลให้ชาวปาเลสไตน์เชื้อสายอาหรับ ส่วนหนึ่งลี้ภัยออกจากปาเลสไตน์เข้าอาศัยในอียิปต์ ซีเนีย จอร์แดน และเลบานอน และปาเลสไตน์เชื้อสายอาหรับมีความคิดใฝ่ฝันจัดตั้งรัฐอาหรับในดินแดนปาเลสไตน์บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน เร่มการรวมตัวทางการเมืองเป็นสมพันธ์ในปี 1964 ภายใต้ชื่องค์การปลดแอกปาเลสไตน์ กระบวนการต่อสู้นิยมการต่อสู้แบบกองโจรปฏิบัติการก่อการร้าย ปละปฏิบัติการจู่โจม ผู้นำกลุ่มชาติอาหรับให้การสนับสนุนกองกำลังองค์การปลดแอกปาเลสไตน์ปฏิบัติการต่อต้านอิสราเอล ในปี 1969 ยาเซอ อาราฟัด ก้าวขึ้นเป็นผู้นำองค์การปลดแอกปาเลสไตน์ อิสราเอลไม่เกรงกลัวการปฏิบัติการใด ๆ ขององค์การปลดแอกปาเลสไตน์ ทั้งมั่นใจในแสนยานุภาพกองกำลังอิสราเอล และไม่เกรงคำขู่ใด ๆ ของกลุ่มชาติอาหรับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)