Impeachment (Richard M.Nixon Part 2)

     คดีอื้อฉาววอเตอร์เกท ปี่ 1972 มีผลให้ประธานาธิบดีนิกสันต้องประกาศลาออกจากการเป็นประธานาธิบดี วอเตอร์เกท เป็นชื่ออาคารอยู่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.ถูกใช้เป็นสำรักงานใหญ่ศูนย์บัญชาการเลือกตั้งของพรรคเดโมเครติกเพื่อการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน 1972 ในเดื่อนมิถุนายปี  1972 ตำรวจเข้าจับกุมชายฉกรรจ์ 5 คน ขณะกำลังรับโทรศัพท์บนชั้นหกของอาคารวอเตอร์เกท ทุกคนมีกล้องถ่ายรูปและเพิ่งหยุดการรื้อค้นเอกสาร หนึ่งในกลุ่มจารชนคือ เจมส์ ดับเบิลยู แมคคอร์ด เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองกลาง CIA รับหน้าที่เป็นผู้ประสานงานด้านความมั่นคงของคณะกรรมการเพื่อการเลือกตั้ง
ประธานาธิบดีของพรรครีพลับบลิกันจารชนอี 4 คนเป็นชาวคิวบากลุ่มต่อต้านคัสโตรจากไมอามี่ ฟลอริดา ตำรวจไม่รู้ว่ามีอีกสองคนหลบอยู่ในอาคารวอเตอร์เกท อดีตเจ้าหน้าที่หน่วย่าวกรองกลาง CIA รับงานเป็นหัวหน้าด้านความมั่นคงของคณะกรรมการเพื่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีของพรรครีพับลิกัน และจี. กอร์ดอน ลิคดี เจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลับภายในประเทศ รับงานเป็นสมาชิกในคณะกรรมการจัดการกิจการภายในประเทศของทำเนียบขาว สามในเจ็ดจารชนล้วนใกล้ชิดประธานาธิบดีนกสัและเป็นคนในทำเนียบขาว มีการตั้งคำถามกันว่า จารชนเหล่านี้พยายามค้นหาอะไรในอาคารวอเตอร์เกท ซึ่งเป็นสำนักงานของพรรคเดโมแครต..จารชนได้ยินอะไรจากโทรศัพย์..และใครเป็นผู้สั่งดำเนินการ..
     การสอบสวนเบื้องต้นรู้ว่าจารชนทั้งเจ็ดคนเป็นคนของพรรครีพลับบลิกันส่งมาทำการจารกรรม เพื่อความคืบหน้าในคดี ศาลชั้นต้น คนของประธานาธิบดีนิกสันเข้าทำการสอบสวน ให้ความร่วมมือกับคณะกรรมาธิการแห่งวุฒิสภาเพื่อตรวจสอบปฏิบัจิการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง
     ผลการสอบสวนช่วงพฤษภา-พฤศจิกายน 1973 รุกหน้ามาก ผู้ต้องหาคนแรกให้การเปิดเผยความจริงว่าได้รับเงินจากทำเนียบขาวให้ทำจารกรรม หากถูกจับได้จะได้รับการอภัยถ้าไม่ให้การใด ๆ แก่คณะผู้สอบสวน และซัดทอดว่าจอห์น ดีนที่ปรึกษาของประธานาธิบดีนกสันและ เจบ แมกรูเอร์ หนึ่งในคณะกรรมการเพื่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีของพรรครัพับบลิกันว่ามีส่วนร่วมในคดีวอ
เตอร์เกท ทั้งสองเข้าให้การคล้ายกันว่าประธานาธิบดีนิกสันมีส่นร่วมรู้เห็นและปกปิดรายชื่อผู้วางแผนสั่งการในคดีวอเตอร์เกทประธานาธิบดีนกสันชอบใช้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐบาลข่มขู่รังควาญคู่แข่งและชื่นชอบการรณรงค์กาเสียงด้วยวิธีการผิดกฏหมายทั้งได้มอบรายชื่อศัตรูของทำเนียบขาว จอห์น อีร์ลิชแมน หัวหน้าคณะที่ปรึกษางานกิจการภายในประเทศของทำเนียบขาวและจอห์น มิทเชล อดีตอธิบดีกรมอับการช่วงปี 1969-1971 และริชาร์ด จี.คลินเดนส์ อธิบดีกรมอัยการขณะนั้น ร่วมพยายามปกปิดรายชื่อผู้วางแผนสั่งการในคดีวอเตอร์เกท การสอบสวนถูกเปิดเผยเข้าใกล้ตัวประธานาธิบดี นิกสัน คณะกรรมาธิการแห่งวุฒิสภาฯเชื่อในคำให้การของผู้ใกล้ชิดประธานาธิบดีนิกสันแต่ขาดหลักฐานสนับสนุนว่าประธานาธิบดี นิกสัน ร่วมกระทำความผิดจริง
     30 เมษายน 1973 ประธานาธิบดีนิกสันปฏิบัติการสองเรื่อง คือ ประกาศรับการลาออกของเอช อาร์. เฮลเดแมน และจอห์น อีร์ลิชแมน สองหัวหน้าคณะผู้ทำงานของทำเนียบขาว และจอห์น มิทเชล อดีตอธิบดีกรมอัยการ และริชาร์ด จี. คลินเดนส์ อธิบดีกรมอัยการและแต่งตั้งอัยการพิเศษ คุมคดีวอเตอร์เกท
    อเล็กซานเดอร์ บัตเตอร์ฟิล หนึ่งในเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวเข้าเปิดเผยให้การต่อคณะกรรมาธิการแห่งวุฒิสภาฯว่าตั้งแต่ปี 1971 ประธานาธิบดีนิกสันกำหนดให้มีการติดตั้งระบบการบันทึกเสียง การสนทนาในห้องรูปไข่ และการ
สนทนาเกี่ยวกับคดีวอเตอร์เกทตั้งมีการบันทึกเสียงเก็บไว้แน่นอนในม้วนเทป เพราะในเดือนกรกฎาคม จากการได้รู้ว่ามีม้วนเทปบันทึกจากสนทนาของประธานาธิบดีนิกสันที่ทำเนียบขาวเป็นผลให้อาร์ชิบอล คอดซ์ซึ่งเป็นอัยการพิเศษ และคณะกรรมาธิการแห่งวุฒิสภาฯร้องขอให้ประธานาธิบดีนิกสันมอบม้วนเทปดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการสอบสวน ประธานาธิบดีนิกสันปฏิเสธการมอบม้วยเทปโดยให้เหตุผลว่า การบันทักเสียงในห้องทำงานประธานาธิบดีทำไปเพื่อผลงานเป็ฯการส่วนตัว และรัฐธรรมนูญให้ประธานาธิบดีมีสิทธิคงรักษาการสนทนาที่เป็นการส่วนตัวของประธานาธิบดีเป็นความลับได้
    เพราะประธานาธิบดีนิกสันไม่ยอมมอบม้วนเทปเป็นผลให้ในเดือนสิงหาคม 1973 อาร์ชิบอล คอดซ์ และคณะกรรมาธิการแห่งวุฒิสภาฯ ร้องขอต่อศาลในการสั่งให้ประธานาธิบดีนิกสันมอบม้วนเทป ผู้พิพากษาจอห์น เจ.ซิริกา ตัดสินใจจะเป็นผู้ตวจสอบฟังม้วนเทปด้วยตนเอง และสังให้ประธานาธิบดีมอบม้วนเทปแก่ตน ประธานาธิบดีนิกสันไม่ยอมมอบม้วนเทปและอุทธรร์คำสั่ง แต่คณะผูพิพากษาสนับสนุนคำสั่งของผู้พิพากษาจอห์น เจ.ซิริกา
      ในวันที่ 19 ตุลาคม 1973 ประธานาธิบดีนิกสันเสนอจะมอบม้วนเทปสรุปย่อการสนทนาแก่ อาร์ชิบอล คอตซ์ และคณะกรรมการธิการแห่งวุฒิสภาฯ อาร์ซิบอล คอดซ์ ปฏิเสธไม่รับม้วนเทปสรุปย่อด้วยเหตุผลใช้เป็นหลักฐานในศาลไม่ได้ต้องใช้ม้วนเทปดังเดิม ประธานาธิบดีนิกสันไม่พอใจในความเคร่งครัดจริงจังของอาร์ซิบอล คอตซ์ และใอนาจบริหารก้าวก่ายอำนาจตุลาการทันที โดยสังการในคืนต่อมา ในสามเรื่องคือ หนึงให้เอลไลออท ริชาร์ดสันออกจากการเป็นอธิบดีกรมอัยการ สองสั่งให้รองอธิบดีกรมอัยการปลดอร์ชิบอล คอดซ์ออกจากการเป็ฯอัยการพิเศษ และส่งอาร์ชิบอล คอตซ์ กลับมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สามแต่งตั้งลี
ออง  จาโวร์สกี้ คนของประธานาธิบดีนิกสันเป็ฯอัยการพิเศษแทนอาร์ชิบอล คอดซ์ คนอเมริกันเรียกคือวันที่ 20 ตุลาคม 1973 ว่าการฆาตกรรมหมู่คืนวันเสาร์ปี 1973 “The Saturday Night Massacre of 1973” คนอเมริกันประท้วงคัดค้านการกระทำที่ไม่ถูกต้องของประธานาธิบดีนิกสัน หนังสือพิมพ์และผู้สื่อข่าวกลาวโจมตีการก้าวก่ายอำนาจบริหารในอำนาจตุลาการ  เปิดเผยรายละเอียดในประเด็นจำนวนเงินมหาศาลที่ใช้เพื่อการรณรงค์หาเสียงเพื่อการทำลายล้างคู่แข่งขันและปิดปากพยานถึงอ้างชื่อกลุ่มบุคคลที่มีส่วนร่วมในคดีวอเตอร์เกท สำหรับลีออง จาโวร์สกี มีความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบรีบทวงม้วนเทปทันทีจากทำเนียบขาวเมื่อเขารับตำแหน่งอัยการพิเศษ สร้างความผิดหวังอย่างมากแก่ประธานาธิบดีนิกสัน
      24 กรกฎาคม 1974 ศาลฎีกามีคำสั่งให้ประธานาธิบดีนิกสันมอบม้วนเทปแก่ผู้พิพากษาจอห์น เจ. ซิริกา ประธานาธิบดีนิกสันคงเพิกเฉย ปฏิเสธ นับจากเดื่อนตุลาคม 1973 คณะกรรมาธิการตุลาการแห่งสภาผู้แทนราษฎรร่วมพยายามเรียกร้องอย่างเป็นทางการเพื่อให้ประธานาธิบดีนิกสันมอบม้วนเทป แต่ประธานาธิบดีคงเพิกเฉยและปฏิเสธเช่นที่ผ่านมา เป็นผลให้ปลายเดือน กรกฎาคม 1974 คณะกรรมาธิการตุลาการแห่งสภาผู้แทนราษฎร มีมติยื่นฟ้องเพื่อการถอดถอน Impeachment ประธานาธิบดีนิกสันต่อวุฒิสภา ในข้อหาสามประการคือ หนึ่ง ขัดขวางขบวนการยุติธรรม ด้วยกาการปกปิดชื่อผู้วางแผนสั่งการและใช้เงินปิดปากพยานทำให้การสอบสวนเป็นไปอย่างล้าช้า สองใช้อำนาจประธานาธิบดี เกินขอบเขตด้วยการใช้อำนาจบริหารก้าวก่ายอำนาจตุลาการ สามไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ที่สั่งให้มอบม้วนเทป
     ประธานาธิบดีนิกสันมอบม้วนเทปในวันที่ 5 สิงหาคม 1974 สาเหตุจากการทวงม้วนเทปของคณะกรรมาธิการแห่งวุฒิสภา ในเดือนกรกฎาคม ผู้พิพากษาศาลจอห์น เจ. ซิริกา สั่งมอบม้วนเทปในเดื่อน
สิงหาคม อัยการพิเศษลีออง จาโวร์สกียืนยันทวงม้วนเทปในเดือน ตุลาคม 1973 ศาลฎีกาสั่งมอบม้วนเทปในเดือนกรกฎาคม 1974 , คนอเมริกันโจมตีประธานาธิบดีนิกสันที่ก้าวก่ายอำนาจตุลาการและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล และปรธานาธิบดีนิกสันรู้มติในเดือน กรกฎาคม 1974 ของคณะกรรมาธิการตุลาการแห่งสภาผู้แทนราษฎร เป็นผลให้ในวันที่  5 สิงหาคม 1974 ประธานาธิบดียอมมอบม้วนเทปแก่คณะผู้สอบสวน การสนทนาจากม้วนเทปยืนยันว่าประการแรกประธานาธิบดีนิกสันรู้เรื่องทุกอย่างของคดีวอเตอร์เกท เมื่อรู้เรื่องคดีวอเตอร์เกทเป็นเป็นอย่างดีแล้วประธานาธิบดีนิกสันปกป้องพรรคพวกไม่เปิดเผยชื่อ และปกปิดเรื่องเสแสร้งว่าไม่รู้ (ออกโทรทัศน์ในวันที่ 30 เมษายน 1973 บอกคนอเมริกันว่าจะพยายามหาข้อเท็จจริงและจะนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ) เป็นการหลอกลวงคนอเมริกัน ประการที่สองไม่มีข้อความการสนทนาตอนใดบ่งชี้ว่าประธานาธิบดีนิกสันร่วมวางแผนคดีวอเตอร์เกทในคือวันที่ 17 มิถุนายน 1972
      ผลจากการฟังม้วนเทปต่อสถานภาพความเป็นประธานาธิดี ประการแรกคือวุฒิสมาชิกในวุฒิสภาเลิกให้การสนับสนุนประธานาธิบดีนิกสัน ประการที่สองบรรดาผู้นำรีพลับบลิกันทั้งในวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรเตือนประธานาธิบดีนิกสันว่า ประธานาธิบดีต้องเผชิญกับการถูกฟ้องเพื่อการถอดถอน จากสภาผุ้แทนราษฎรและถูกถอดถอน จากวุฒิสภา ควรลาออกจากการเป็นประธานาธิบดีก่อนมีการฟ้องร้อง เพราะจะเป็นคดีอาณาต้องโทษจำคุกและจะไม่ได้รับเงินตอบแทนและสวัสดิการหลังการพ้นตำแหน่งประธานาธิบดี
   
ในวันที่ 7 สิงหาคม 1974 ประธานาธิบดีนิกสันบอกสมาชิกในครอบครัวถึงการจะลาออกจากการเป็นประธานาธิบดี ในวันที่ 8 สิงหาคม 1974 ประธานาธิบดีนิกสันออกโทรทัศน์บอกคนอเมริกันถึงความจำเป็นต้องลาออกจากการเป็นประธานาธิบดีเพราะขาดเสียงสนับสนุนทางการเมืองจากรัฐสภา และในเช้าวันที่ 9 สิงหาคม 1974 ประธานาธิบดีนิกสันลงนามลาออกจากการเป็นประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ และในเวลาเที่ยงของวันที่ 9 สิงหาคม 1974 รองประธานาธิบดีเจอรัล อาร์.ฟอร์ด เข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีลำดับที่ 38 ของสหรัฐอเมริกา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)