วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Soviet-Afganistan

     เป็นการต่สู้ระหว่างกองโจรมุสลิมต่อต้านมูจาฮีดีน กับรัฐบาลอัฟกันฯ และกองทัพโซเวียต สงครามเริ่มต้นจากการทำรัฐประหาร ในปี 1978 โค่นล้มประธานาธิบดีของอัฟกานิสถาน คือ ซาร์ดาร์ เดาวด์ คาน ผู้ซึ่งขึ้นมามีอำนาจโดยการโค่นล้มกษัตริย์ ตัวประธานาธิบดีถูกลอบสังหารและ รัฐบาลคอมมิวนิสต์ที่ฝักใฝ่โซเวียตภายใต้การปกครองของ นัวร์ มูฮามัด ทารากิ ก็ถูกจัดตั้งในปี 1979 การทำรัฐประหารอีกครั้งหนึ่งได้ทำให้ ฮาฟิซูลล่าห์ อามิน มีอำนาจ เป็นปัจจัยให้โซเวียตเข้ามารุกราน และตั้งให้ บาบราก คาร์มาล เป็นประธานาธิบดี   

     การรุกรานของโซเวียตซึ่งทำให้ชาวอัฟกันลุกขึ้นต่อต้าน เกิดจากกองทหารเพียง 30,000 นาย ซึ่งได้เพิ่มขึ้นในที่สุดเป็น 100,000 นาย โดยได้รับการสนับสนุนจาก อเมริกา ซาอุดิอาระเบีย อิสราเอล จีน ปากีสถาน และกลุ่มอิสลามมู จาฮีดีน จากประเทศมุสลิมอื่น ๆ ทั้งโลก ผ่านปากีสถาน ถึงแม้ว่าโซเวียตจะมีอาวุธที่เหนือกว่า และมีกำลังอากาศเพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายต่อต้านก็สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้นได้ สงครามได้กลายเป็นการปักหลักสู้กันโดยกองทัพของโซเวียตควบคุมพื้ที่ในเมือง และกลุ่มกองโจรได้ปฏิบัติการอย่างเป็นอิสระในพื้นที่ชนบท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภูเขา เมือสงครามได้ขยายตัว ฝ่ายต่อต้านได้ปรับปรุงองค์กรและเริ่มใช้อาวุธที่ได้รับการสนับสนุน และที่ยึดได้รวมไปถึง อาวุธต่อต้านอากาศยานของอเมริกา ทำให้โซเวียตไม่ได้เปรียบในเรืองของอาวุธที่ทันสมัย คาร์มัล ลาออก และมูฮามัด นาจิบูลลาห์ ได้ลกายเป็นผู้นำสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสจ์ ประธานาธิบดีมิคคาเอล กอร์บาชอฟ ประกาศการถอนกองทัพโซเวียต ซึ่งเพราะประชาชนของโซเวียตนั้นเร่มไม่พอใจกับสงครามซึ่งยือเยื้อและไม่มีท่าทีจะประสบความสำเร็จนอกจากการสูญเสียของทหารไปเรื่อยๆ

       จากเอกสารจากหอจดหมายเหตุของโซเวียตเก่าและบันทึกช่วยจำของผู้นำทางการเมืองและกองทัพของโซเวียตได้นำเสนอภาพอันน่าเศร้าและซับซ้อนของการเข้าเกี่ยวข้องของกองทัพโซเวียตเป็นเวลสสิบปีในอัฟกานิสถาน ผู้สังเกตการณ์เกือบทั้งหมดเห็นร่วมกันว่าสงครามครั้งสุดท้ายของโซเวียตได้ก่อให้เกิดากรเคลื่อไหวภายในซึ่งทำให้เกิดการล่มสลายของประเทศตัวเอง เอกสารซึ่งถูกนำเสนอในที่นี้จะให้ความกระจ่างแก่ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของสงครามโซเวียตในอัฟกานิสถาน นั้นคือการร้องขอของรัฐบาลอัฟกัน.สำหรับความช่วยเหลือ และการปฏิเสธในช่วงแรก ๆ ของโซเวียตในการส่งกำลังทหาร การผกผันนโยบายนี้โดยคณะโปลิสบูโรกลุ่มเล็ก ๆ และการตัดสินใจของโซเวียตในการเข้ารุกราน และการขยายตัวของปฏิบัติการช่วงเริ่มต้นซึ่งรวมไปถึงการทำสงครามกับฝ่ายต่อต้านชาวอัฟกัน และการวิพากษ์ในช่วงต้น ๆ ต่อนโยบายของโซเวียตและรัฐบาลภายใต้พรรคประชาธิปไตยประชาชนอัฟกานิสถาน และการตัดสินใจการถอนกองกำลังทหาร เอกสารเหล่านั้นเมือนำมารวมกันแล้วก็ได้ให้บทเรียนบลางประการซึ่งอาจจะเกิดจากการประสบการณ์ของโซเวียตในการทำสงครามในอัฟกานนิสถาน
     การตัดสินใจในการส่งกองกำลังทหารเกิดขึ้นภายหลังการแสดงความตั้งใจอย่างยานานและการร้องขอซ้ำๆ ซาก ๆ จากผู้นำของพีดีพีเอนั้นคือประธานาธิบดีฮาฟิซูลลาห์ อามินและประธานาธิบดีนูร์ มุฮามัด ทารากิ การถกเถียงกันในคณะโปลิสบูโรแสดงให้เห็นบรรดาผู้นำโซเวียตนั้นลังเลใจอย่างมากในการส่งกองกำลังทหารและตอบสนองความต้องการของรัฐบาลอัฟกัน..โดยการส่งอุปกรณ์การทหารทาให้แต่ไม่ใช่กำลังทหารตลอดฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนในปี 1979 อย่างไรก็ตามการโค่นล้มทารากิโดยอามินในเดือนกันยายนภายหลบงจากที่ทรารกิได้เดินทางกลับจากรุงมอสโคว์ได้ทำให้ความวิตกกังวลของโซเวียตว่าอามินอาจจะหันไปพังสหรัฐฯเพื่มสูงขึ้น การตัดสินใจที่แท้จิรงในการรุกรานนันมีขึ้นอย่งลับ ๆ โดยกลุ่มเล็ก ๆในคณะโปลิสบูโร ซึ่งต้องพบกับการต่อต้านอย่างเปิดเผยและแข็งขันของกองทัพและโดยสมาชิกคณะโปลิสคนอื่นๆ ผุ้นำของกองทัพคือจอมพล โอการ์คอฟและผุ้ช่วยของเขาคืออาค์โรมีฟแสดงความไม่เห็นด้วอย่างมากในการส่งกองกำลังเข้าไปในพื้นที่ซึ่งกองกำลังซึ่งมีจำนวนจำกัดไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้
     การตัดสินใจส่งทหารเข้าไปตั้งบนพื้นฐานของข้อมูลที่จำกัน เนื่องจากอิทธิพลของประธานเคจีบีคือ ยูริ อันโดรปอฟผู้ซึ่งควบคุมข้อมูลที่ถูกส่งไปยังเลขาธิการพรรคคือเบรซเนฟผู้ซึ่งป่วยและเริ่มบกพร่องเรื่องความสามารถในการตัดสินใจ ตลอดปี 1979 รายงานของเคจีบีจากอัฟกานิสถานได้สร้างภาพของความจำเป็นอันเร่งด่วนและได้มุ่งเน้นอย่งมากต่อความเป็นไปได้ของความสัมพันธ์ของอามินและซีไอเอและกิจกรรมต่อต้านรัฐบาลของสหรัฐฯในภูมิภาคต่างๆ อัฟการนิสถานนั้นไม่ได้เข้ากับกรอบทางอุดมการณ์และแผนที่ความคิดของเหล่าผู้นำโวเวียตเลย พวกเขามองไม่เห็นความเป็นจริงของสังคมชนเผ่าซึ่งมีมาตั้งแต่โบราณของประเทศนี้ พวกเขามองอัฟกันฯว่าเป็น “มองโกเลียแห่งที่สอง” นำมาสู่ความพยายามในการนำวิธีการปฏิบัติแบบต่างชาติมาสู่สังคมอัฟกันเช่นการปฏิรูปที่ดินเชิงบังคับ  และในส่วนของบทบาทความสำคัญของอิสลามชาวอัฟกันมองโซเวียตว่าเป็น “ผู้ทรยศ” รายงานจากอัฟกันฯแสะงให้เห็นถึงความตระหนักต่อ “ปัจจัยของศาสนาอิสลาม”ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในส่วนของนายทหารและนักการเมืองของโซเวียต
     กองทัพโซเวียตตระหนักต่อการเตีรยมตัวและการวางแผนที่ไม่ดีของตนต่อภารกิจนอัฟกันฯ ภารกิจช่วงตนคือการป้องกันเมืองสำคัญ ๆ และการบูรณะประเทศในไม่ช้กายเป็นการต่อสู้ ซึ่งเพิ่มความรุนแรงอย่างรวดเร็ว กองหนุนในฐานะส่วนใหญ่ของกองทัพของโซเวียตในช่วงแรก ๆ ทีถูกส่งไปนั้นถูกดึงเข้าปสู่การสู้รบเต็มรูปแบบกับฝ่ายต่อต้าน ในขณะที่กองทัพประจำของอัฟกันฯนั้นมักจะไม่ได้รับความไว้วามใจเพระมีแต่คนหนีทหารและขาดวินัย
     กองทัพโซเวียตไมได้รับการฝึกให้พบกับการสู้รบแบบกองโจร ในขณะที่ภารกิจแบบเป็นทางการ
ของกองทัพนั้นคือกาปกป้องพลเรือนจากพวกต่อต้านรัฐบาล ตามความเป็นจริงแล้ว ทหารดซเวียตมักจะพบว่าพวกตนต่อสู้กับพลเรือนที่เคยตั้งใจจะมาปกป้อง สิ่งที่หลายครั้งได้นำปสู่การฆ่าชาวบ้านแบบไม่เลือกหน้า  ปกิบัติการในการติกตามและจับกุมกลุ่มต่อต้านนั้นมักจะไร้ผลสำเร็จและต้องถูกทำซ้ำ ๆ กันในพื้นที่เดียวกันเพราะกองกำลังต่อต้านนั้นมัจะล่าถอยไปยงภูเขาและกลับไปยังปมู่บ้านของพวกตนทันที่ที่กองทัพโซเวียตกลับไปที่ค่ายทหาร อาวุธและอุทกรณ์ทางทหารของโซเวียตโดยเฉพาะรถและรถถังหุ้มเกราะนั้นเปราะบางอย่างมากต่อพื้นที่ของอัฟกานิสถาน
     กองทัพโซเวียตยังต้องสับสนในเป้าหมายของตัวเองนั้นคือภารกิจอย่งเป็นทางการในครั้งแรกคือการปกป้องรัฐบาลของพีดีพีเอ แต่เมือกองทัพเข้าถึงกรุงคาบูล คำสั่งที่พวกเขาได้รับคือการโค่นล้มรัฐบาลของอามิน และคำสั่งก็เปลี่ยนอีกครั้ง แต่บรรดาผุ้นำไม่ได้ตั้งใจที่จะยอมรับว่ากองทัพโซเวียตนั้นที่จริงแล้วต่อสู้ในสงครามกลางเมืองของอัฟกานิสถานเพื่อพีดีเอ ความคิดว่า “หน้าที่ของวัรบุรุษแห่งโลก “ซึ่งกองกำลังที่มีอยู่อย่างจำกัดของโซเวียตกำลังปฏิบัติอยู่นั้นเป็นอุดมการณ์แบบล้วน ๆ เกิดจากความคิดที่ว่ากองทัพของสหภาพโซเวียตกำลังปกป้องการปฏิวัติของสังคมนิยมในอัฟกานิสถาน ในขณะที่ประสบการณ์ภาคพื้นดินก็ได้ทำลายเหตุผลเหล่านั้น…

วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

KGB Komitet gosudarstvennoi bezopasnost'i

     คณะกรรมาธิการเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ หรือ เคจีบีเป็นอดีตหน่วยงานกลาง ดูแลการข่าว ความมั่นคง ตำรวจสันติบาล และ กิจการชายแดนของสหภาพโซเวียตั้งแต่ปี 1954-1991 โดย เคจีบีถูกยุบไปหลังจากหัวหน้าเคจีบีได้ร่วมก่อกบฏรัฐบาลประธานาธิบดี กอร์บาชอฟแต่ไม่สำเร็จ จึงถูกแทนที่โดยสำนักงานความมั่นคงกลางFederalnaya sluzhba bezopasnosti, FSB แทน
     มีนาคม ปี 1954 องค์การมั่นคงปลอดภัยแห่งรัฐ ได้แยกเป็นกองอิสระเรียกว่า “KGB” มีหน้าที่ควบคุมตำรวจลับ ตำรวจตระเวณชายแดน และกองทหารรักษาความปลอดภัยภายในให้ความคุ้มครองเจ้าหน้าที่รัฐบาลและสมาชิกพรรคในระดับสูง ทำการจารกรรมในต่างประเทศ ตำรวลับประเทสและในประเทศควบคุมการติดต่อในต่างประเทศ ควบคุมแหล่งข่าวต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบความไม่จงรักภักดีต่อรัฐบาล
     เคจีบีมีสัญลักษณ์ ดาบและโล่ คอยพิทักษ์สังคมโซเวียต มีอำนาจและอิทธิพลมาก พรรคคอมมิวนิสต์จึงต้องควบคุมอย่างใกล้ชิดอีกต่อหนึ่ง เพราะอาสเป็นอันตรายต่อพรรคได้ หลังจากสตาลินถึงแก่รรม อำนาจความทะเยอทะยานของแบเวีย  หัวหน้าเคจีบี  ทำให้คณะกรรมการ โปลิสบูโร หวาดกลัวมาก จึงตั้งข้อหาเขาว่ามีความผิดฐานทรยศและฝ่าฝืนกฎหมายแห่งรัฐ จนถูกัดสินประหารชีวิตในที่สุด ตั้งแต่นั้นมา ภายใต้การนำของแอนโตรปอฟ เคจีบี จึงคำนึงถึงเรื่องความจรงรักภักดีต่อพรรค รัฐบาล และความถูกต้องของสังคมนิยม แอนโดรปอฟ ได้เป็นหัวหน้าเคจีบีในเดื่อนพฤษภาคม ปี 1967 ทำให้เคจีบี เป็นหน่วยสืบราชการลับที่ทันสมัย กระตือรือร้นและเด็ดขาด และฉับไว มีชื่อเสียงเป็นที่น่าเกรงขามมาก
     เคจีบี เป็นหน่วยงานที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกับซีไอเอและเอฟบีไอ ผสมกัน โดยเฉพาะในหน่วย โบเดอร์ การ์ด ที่ทำหน้าที่ปกป้องผู้นำคนสำคัญ ๆ และคอยรักษาความปลดภัย หน่วยงานของรัฐ ยิ่งกว่านั้นเคจีบียังมีหน้าที่ ให้การอบรมและควบคุมงานราชการลับของประเทศคอมมิวนิสต์อื่นๆ ด้วยที่ สำคัญ คือ หน่วยสตาซี่ ของประเทศเยอรมันตะวันออกและของประเทศคิวบา แอนโดรบอฟ ได้ทำการปฏิรูปเคจีบี ใหม่ให้มีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น คัดเลือกคนดีและมีความสามารถเข้าเป็นสายลับ มีรายได้เป็น 3 เท่า ของศลยแพทย์ผ่าตัดสมองและเป็น 5 เท่าของวัศวกร มีอพาร์ตเม้นท์ให้อยู่ฟรี มีรถยนต์ให้ใช้ มีอภิสิทธิ์จองตั้งดูกีฬาหรือการแสดงต่าง ๆ ก่อนผู้อื่น เขาได้บริหารองค์การได้เป็นอย่างดียิ่ง ปรับปรุงโครงสร้าง และทิศทางของหน่วยงานนี้จนเป็นที่ยอมรับว่า เป็นสถาบันที่สำคัญยิ่งสถาบันหนึ่งของโซเวียต
      ในช่วงสมัยของ เบรนเนฟ เคจีบี กลายเป็นตัวจักรสำคัญที่ใช้ต่อต้านการคอร์รัปชั่น ต่อต้านอาชญากรรมด้านเศรษฐกิจ คุ้มครองผู้นำ รักษาความสงบบริเวณชายแดน สร้างสายลับ เคจีบีในยุคนี้จึวมีอนาจมาก และหัวหน้า KGB ที่มีชื่อเสียงในยุคนี้คือ Yuri Andropov ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นผู้นำประเทศต่อจาก เบรสเนฟ ซึ่งดำรงตำแหน่งในปี 1983-1984 เป็นปรธานาธิบดีคนที่ 9 แห่งสหภาพโซเวียต เป็นประธานเคจีบีคนที่ 4 ดำรงตำแหน่งปี 1967-1982

วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Ronald Wilson Regan

     การเลื่อกตั้งในปี 1980 พรรครรีพับลิกันส่งโรนัล เรแกน ได้รับเลือกในตำแหน่งประธานาธิบดี และจอห์น เอ็ช.ดับเบิลยู.บุช George Herbert Walker Bush ได้รับเลือกใรตำแหน่างรองประธานาธิบดี โรนัล เริแกน กล่าววิจร์ผลงานภายในประเทศของประธานาธิบดีคาร์เตอร์ว่าไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ คือภาวะเงินฟ้อยังสูงและอัตราคนว่างงานสุง โรนัล เรแกน เสนอแนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจคือลดการเก็บภาษีรายได้คนอเมริกัน ลดการใข้จ่ายเงินที่ไม่จำเป็นของรัฐบาลกลางอันรวมถึงหยุดการรับเจ้าหน้าที่ใหม่ในหน่วยงานของรัฐ สร้างความสมดุลย์ในงบประมาณรายรับรายจ่าย ลดการแทรกแซงของรัฐบาลกลางในธุรกิจ มอบงานสวัสดิการให้อยู่ภายใต้การดำเนินการของรัฐบาลมลรัฐและรัฐบาลท้องถิ่น ลดค่าจ้างแรงงานต่ำสุดลงอีกเพื่อลดอัตรคนว่างงานลงและสร้างงานที่จำเป็นเพิ่ม และทั้งจะปฏิรูปการทำงานของกระทรวงพลังงานและกระทรวงศึกษาธิการ โรนับ เรแกนกล่าววิจารณ์ผลงานต่างประเทศของประธานาธิบดีคาร์เตอร์ว่าทำให้สหรัฐอเมริกาแสนยานุภาพด้านกองกำลังและอาวุธด้อยกว่ารุสเซียและทั้งลดบทบาทสหรัฐอเมริกาในเวที่การเมืองโลก โดยอิหร่านกล้าจับคนอเมริกันในสถานทูตอเมริกันที่กรุงเตหะรานในอิหร่างเป็นตัวประกันในวันที่ 4 พฤศจิกายน 1979 และรุสเซียกล้ารุกรานอัฟกานิสถานในวันที่ 27 ธัมวาคม 1979 โรนัล เรแกนเสอนแนวทางแก้ไขคือ จะเพิ่มงบประมาณด้านการทหารเพื่อเสริมสร้างกองกำลังและอาวุธของสหรัฐอเมริกาให้แข็งแกร่งประสิทธิภาพสูง จะยืนหยัดต่อต้านรุสเซยและอิหร่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะดำเนินการให้อิหร่านปลดปล่อย 52 ตัวประกันอเมริกันให้เร็วที่สุดและจะนำสหรัฐอเมริกาก้าวสู่การเป็นชาติผู้นำในเวทีการเมืองโลก พรรคเดโมเครติกส่งประธานาธิบดี เจมส์ อี. คาร์เตอร์ รับเลือกในตำแหน่างประธานาธิบดีอีกหนึ่งสมัย และวอลเตอร์ เอฟ.มอนเดล รับเลือกในตำแหน่งรองประธานาธิบดีเช่นกัน คะแนนนิยมที่คนอเมริกันจะให้แก่พรรคเดโมเครตลดลงอย่างมาก ประนาธิบดีคาร์เตอร์ล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และไม่สามารถปลดปล่อย 52 ตัวประกันอเมริกันได้ ผลการนับคะแนนโรนัล เรแกนได้ชัยชนะ 489 คะแนนเสียงจากคณะผู้เลือกประธานาธิบดี ประธานาธิบดีคาร์เตอร์ได้เพียง 49 คะแนนเสียงจากคณะผู้เลือกประธานาธิบดี อันหมายความว่าในวันที่ 20 มกราคม 1981 โรนับ เรแกนจะเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาลำดับที่ 40
     ปัญญาชนต่างกังขาเกี่ยวกับความสามารถในการเป็นผู้นำของเขาเนืองจากเขาเขาไม่มีความเฉลียวฉลาดเท่าใดนัก ขณะเดียวกันนายเรแกนก็มีรูปแบบการทำงานแตกต่างจากประธานาธิบดีคนก่อน ๆ เป็นอย่างมากโดยคนก่อน ๆ ต้องประชุมอย่างเคร่งครัดกันทั้งวันเพื่อหารือในเรื่องปวดหัวต่างๆ มากมาย แต่นายเรแกนกลับทำงานเปรียบเสมือนกับเป็นปรธานกรรมการบริษัท โดยมอบอำนาจให้บรรดาซีอีโอของบริษทัทไปดำเนินการแทนตนเอง
     เขาทำงานแบบสบาย ๆ แบบ 9 โมง-5 โมงเย็น ทั้งนี้ นอกจากนอนเต็มอิ่มในเวลากลางคืนแล้วในเวลาบ่ายก็งีบหลับด้วยตามแต่โอกาสจะอำนวย ปล่อยให้ลูกน้องดำเนินการอย่างค่อนข้างอิสระ ดังนั้นภาพลักษณ์การเป็นผู้นำประเทศที่ทำงานหนักและยากลำบากจึงไม่ปรากฎให้เห็น แต่กลับดูเสมือนเป็นเรื่องง่าย ๆ สบาย ๆ และสนุกสนานด้วยซ้ำเดิมทิสทางการดำเนินนดยลายเศรษฐกิจของรัฐบาลประเทศต่างๆ จะเน้นดำเนินการเก็บภาษีมาก ๆ เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ โดยมีปรัชญาในการบริการรัฐกิจ คือยิ่งรัฐเก็บภาษีและนำมาใช้จ่ายมากเท่าไร เศรษฐกิกจของประเทศก็ยิ่งพัฒนารวดเร็วเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อภาษีมีอัตราสูง ขณะเดียวกันรัฐบาลใช้จ่ายเงินในด้านสวัสดิการสังคมจำนวนมาก ประชาชนก็มีแรงจูงใจในการประกอบอาชีพลอน้อยลง ต่างหันมาแบมือของเงินจากรัฐบาล
     สำหรับทิศทางใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจสหรัฐฯได้รับการกล่าวขานกันว่า “เรแกนโนมิกส์”โดยเป็นการรวม 2 คำเข้าด้วยกัน คือ “เรแกน”และอีโคโนมิกส์ ซึ่งมีความหมายวา “เศรษฐศาสตร์” โดยเปลี่ยนจากนโยบายแบบที่เน้นด้าน “อุปสงค์”กล่าวคื อการเก็บภาษีและการใช้จ่ายงบประมาณมาก ๆ ก็เปลี่ยนมาเน้นในด้าน “อุปทาน”หรือที่เรียกว่า โดยพยายามกระตุ้นให้ภาคธุรกิจเพิ่มความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นมีมาตรการต่าง ๆ เช่น ลดอัตรภาษีอากรลง ฯ ขณะเดียวกันเมื่อมีอุปทานมากขึ้นสินค้าและบิรการก็จะมีราคาถูกลง ส่งผลดีทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง
      สาระสำคัญอีกประการหนึ่งของนโยบายเศรษฐกิจ คือ ลดบทบาทของรัฐบาลลงโดยนายเรแกนได้กล่าวอุปมาอุปไมยว่าประชาชนเปรียบเสมือนกับคนขับ ขณะที่รัฐบาลเปรียบเสมือนกับเป็นรถยนต์เท่านั้น ประชาชนเป็นผู้ขับหรือสั่งการให้รัฐบาลดำเนินการไม่ใช่รัฐบาลเป็นผู้สั่งให้ประชาชนดำเนินการเป็นผู้ชับหรือสั่งการให้รัฐบาลดำเนินการไม่ใช่รัฐบาลเป็นผู้สั่งให้ประชานดำเนินการ
     ในระยะแรกเศรษฐศาสตร์ของ เร แกน ได้รับการวิพากวิจารณ์มาก โดย จอร์จ บุช จูเนียร์ ซึ่งกำลังแย่งชิงเพื่อเป็นตัวแทนพรรครีพลับลิกันในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ได้กล่วถากถางว่าเป็น “นโยบายเศรษฐศาสตร์ของพ่อมดหมดผี”
      เมื่อนายเรแกนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในช่วงแรกเศรษฐกิจสหรัฐฯยิ่งตกต่ำลงไปอีก คนตกงานจำนวนมาก จึงมีการเรียกขานสถานการณ์ช่วงนั้นว่า “ภาวะเศรษฐกิจถอถอยของเรแกน” ดดยเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้นแทนที่จะเป็นผลเสียกลับเป็นผลดี กล่าวคือ สามารถแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อที่เดิมสูง เมื่อเขารับตำแหน่งให้ลดลงเหลือเพียงแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ จากนั้น เศรษฐกิจสหรัฐฯก็เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือโดยได้เติบโตในอัตราสูงมาก ทำให้คะแนนนิยมของนายเรแกนพุ่งสูงขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน
     เมื่อประเมินนโยบายเรแกนโนมิกส์จะพบว่าประสบผลสำเร็จคอ่นข้างมาก โดยทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯที่อยู่ในภาวะตำต่ำกลับมาเข้มแข็งอีกครั้งหนึ่งมีการสร้างงานเป็นจำนวนมาก แม้ในช่วงนั้นจะมีนักเศรษฐกศาสตร์จำนวนมากตั้งข้อกังขาว่านโยบายเศษรฐกิจซึ่งเน้นตลาดเสรีของสหรัฐฯอเมริกาเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องหรือไม่ เนื่องจากสินค้าญี่ปุ่นตีตลาดสหรัฐฯอเมริกา ส่งงผลให้บริษัทสหรัฐฯเป็นจำนวนมากย่ำแย่ ขณะที่นักลงทุนญี่ปุ่นเข้าไปกว้านซื้อกิจการในสหรัฐฯ ซึ่งรัฐบาลเรแกนได้พยายามต่อต้านกระแสเรียกร้องให้คุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ ซึ่งปัจจุบันกาลเวลาก็พิสูจน์แล้วว่าเป็นทิศทางที่ถุกต้อง เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯใช้วิกฤตการณ์ในครั้งนั้นมาเป็นโอกาส มีการปรับโครงสร้างการดำเนินการเพื่อเพเมความสามารถในการแข่งขัน ทำให้สหรัฐฯแข็งแกร่งขึ้นมาอีกครั้งในเวลาต่อมา…

วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

The Iranian Hostage Crisis 1979

       ความรู้สึกบาดหมางของรุสเซียและสหรัฐอเมริกาทำให้การลงนมในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 ล่าช้า สนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศษสตร์ฉบับที่ 1 มีการลงนามที่มอสโคว์ระหว่างประธานาธิบดีนิกสันกับลีโอนิค ไอ. เบรสเนฟ ในปี่ 1972 กำหนดอายุสนธิสัญญา 5 ปี การเตรียมการกำหนดแนวทางข้อตกลงในสนะสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 เริ่มในวันที่ 1974 ระหว่างประธานาธิบดีฟอร์ดกับลีโอนิค ไอ. เบรสเนฟ ที่วลาดิวอสต๊อก รุสเซีย เกิดข้อตกลงวลาติวอสต๊อก 1974 ความบาดหมางระหว่างสหรัฐอเมริกากับรุสเซียเร่มจากประธานาธ่บดีคาร์เตอร์ชูนโยบายสิทธิมนุษยชนและกว่างวิจารณ์รุสเซ๊ยว่ากดขี่ข่มเหงชาวยิวในรุสเซีย รวมถึงมีแนวโน้มที่จะเปิดความสัมพันะทางการทูตอย่งเป็นทางการกับจีนแผ่นดินใหญ่ในอนาคต ทั้งสหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนสร้างจรวดขีปนาวุธเอ็มเอ็ก และจรวดขีปนาวุธเพอร์ชิง 2 ซึ่งล้วนมีประสิทธภาพเหนือกว่าจรวดขีปนาวุธยิงข้ามทวีป ต้านการบุกโจมตีของรุสเซีย สร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่รุสเซีย ขณะเดียวกันรุสเซียจับกุม คุมขัง ทรมานและเนรเทศประชาชนที่ต่อต้านกล่าววิจารณ์โจมตีรัฐบาลรุสเซียรวมถึงยับยั้งปราบปรามชนชาวยิวในรุสเซีย
ที่เรียกร้องอพยพจากรุสเซียสู่โลกเสรี ล้วนเป็นการกดขี่ข่มเหงแระชาชนอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนจริง และรุสเซียจัดส่งคณะนายทหารผู้เชี่ยวชาญด้านวางแผนปฏิบัติการรและการใช้อาวุธมาคิวบาเป็นที่ปรึกษาแก่ฟิเดล คัสโตร เพื่อการวางแผนให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มกบฎโค่นล้มรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศ ละตินอเมริกา ในขณะเดียวกันรุสเซียเร่งคิดค้นพัฒนาอาวุธร้ายแรงชนิดใหม่คือจรวดขีปนาวุธเอสเอส-20 มีประสิทธิภาพทำลายล้างสูงเหนือกว่าจรวดขีปนาวุธข้ามทวีป เช่นกัน สร้างความไม่พอใจแก่สหรัฐอเมริกา อันมีผลทำให้ตัวแทนขงอทั้งสองประเทศที่ร่วมร่างสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 ทำงานได้ไม่คล่องตัว ข้อตกลงไม่เสร็จสมบูรณ์ตามกำหนดในปี 1977 ต้องล่าช้าออกไป อย่างไรก็ตามการลงนามร่วมในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 ปี 1979ระหว่างประธานาธิบดีคาร์เตอร์กับลีโอนิค ไอ. เบรสเนฟ มีขึ้นในปี 1979 ที่กรุงเวียนา ออสเตรีย กำหนดจำกัดจำนวนอาวุธร้ายแรงสี่ประเภทระหว่างกันคือหนึ่งจรวดขีปนาวุธยิงข้ามทวีป ในสัดส่วนสหรัฐอเมริกาต่อรุสเซียคือ 1054 ลูกต่อ 1400 ลูก สองจรวดขีปนาวุธยิงจากเรือดำน้ำในสัดส่วนสหรัฐอเมริกาต่อรุสเซียคือ 656 ลูกต่อ 950 ลูก สามจรวดขีปนาวุธในสัดส่วนขีปนาวุธ ในสัดส่วนสหรัฐอเมริกาต่อรุสเซียคือ 350 ลูกต่อ 150 ลูก และสี่หัวรบนิวเคลียร์ ในสัดส่วนสหรัฐอเมริกาต่อรุสเซียคือ 9200 ลูกต่อ 5000 ลูก ไม่มีการกำหนดจำนวนจรวดขีปนาวุธเอสเอส-20 ของรุสเซีย หรือจำนวนจรวดชีปนาวุธเอ็ม เอ็ม และจำนวนจรวดขีปนาวุธเพอร์ชิง 2  ของสหรัฐอเมริกาในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 ปี 1979 ซึ่งอาวุธร้ายแรงทั้งสมประเภทมีประสิทธิภาพเหนือกว่าอาวุธร้ายแรงสี่ประเภทที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 ปี 1979 อันบ่งชี้ได้ถึงปัญหาและความตึงเครียดระหว่างประเทศทั้งสองในอนาคตรัฐสภายังไม่ทันให้การับรองในนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศษสตร์ฉบับที่ 2 ก็พอดีเกิดเหตุการณ์รุสเซียรุกรานอัฟกานิสถานในเดื่อนธันวาคม 1979
    สหรัฐอเมริกาไม่พอใจที่รุสเซียรุกรามอัฟกานิสถานในเดื่อนธันวาคม 1979 อัฟกานิสถาน เป็นประเทศอยู่ทางตะวันออกสุดของตะวันออกกลาง อัฟกานิสถานทางตอนเหนือติดกับรุสเซีย ทางตะวันตกติดกับอิหร่าน ทางตะวันออกและทางตอนใต้ติดกับปากีสถาน ใรเดื่อนสิงหาคม 1919 อังกฤษปลดปล่อยอัฟกานิสถานจากการเป็นอาณานิคม เพราะภายในอัฟกานิสถานวุ่นวายเร่มกลางศตวรรษที่ 20 และรับความช่วยเหลือจากรุสเซียนำพาให้รุสเซียเข้ารุกรานอัฟกานิสถานใน เดือนธันวาคมปีเดียวกัน ประวัติศาสตร์อัฟกานิสถาน ที่ควรจดจำเริ่มจากกษํตริย์มูฮัมหมัด นาเดียร์ ข่าน ปกครองอัฟกานิสถานระหว่างปี 1929-1933 นำการปฏิรูปในทุกด้าน กษัตริย์นาเดียร์ ข่าน ถูกลอบปลงพระชนม์มีผลให้ลูกชายคือมูฮัมหมัด ซาเฮอ ขึ้นปกครองอัฟกานิสถาน โดยมีมูฮัมหมัด เดา ข่าน เป็ฯนายกรัฐมนตรีอัฟการนิสถานวางตนเป็นกลางในสงครามเย็นและรับความช่วยเหลือทั้งจากรุสเว๊ยและสหรัฐอเมริกา ในปี 1973 เดา ข่าน พร้อมกองกำลังทหารก่อการปฏิวัติโค่นอำนาจกษัตริย์ซาเฮอได้สำเร็จ คณะนายทหารเข้ากุมอำนาจการปกครองและประกาศจัดตั้งประเทศสาธารณรัฐแห่งอัฟกานิสถาน มีเดา ข่าน ดำรงตำแหน่งทั้งนายกรัฐมนตรีและปรธานาธิบดี ในปี 1078 กองกำลังทหารนิยมลัทะคอมมิวนิสต์ก่อการปฏิวัติโค่นอำนาจและฆ่า เดา ข่าน หลังจากนั้นรัฐบาลทหารนำโดยบรรดานายทหารกลุ่มนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ากุมอำนาจทางการเมืองและยอมให้รุสเซียเข้าแทรกแซงในอัฟกานิสถานโดยยอมรับความช่วยเหลือด้านการเงินและอาวุธยุทธโธปกรณ์จากรุสเซีย ชาวอัฟกานิสถานส่วนใหญ่ต่อต้านรัฐบาลทหารเพราะเชื่อว่านโยบายการปกครองของรัฐบาลทหารที่ชื่นชอบในลัทธิคอมมิวนิจสต์ขึดต่อหลักคำสอนในศาสนาอิสลาม และทั้งไม่พอใจรัฐบาลทหาที่ยอมให้รุสเซียเข้ามีอิทธิพลแทรกแซงการเมืองการปกครองของอัฟกานิสถาน ชาวอัฟกานิสถานรวมตัวต่อต้านรัฐบาลทหารภายใต้ชื่อ มูจาฮีดดิน มูจาฮีดดีนปฏิบัติการต่อต้านรัฐบาลทหารด้วยการสู้รบแบบกองโจร
   ธันวาคม 1979 กองกำลังรุสเซียเคลื่อนเข้าอัฟกานิสถานเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า วิกฤติการณ์อัฟกานิสถานปี 1979 โดยรุสเซียอ้างว่าเพราะรัฐบาลทหารอัฟกานิสถานร้องของความช่วยเลหือเพ่อการปราบปรามมูจาฮีดดิน ประธานาธิบดีคาร์เตอร์มองว่ารุสเซีย สั่งเคลื่อนกองกำลังทหารรุสเซียเข้าอัฟกานิสถานเพื่อการเข้าควบคุมและมีอิทธิพลเหนือแหล่งน้ำมันโลกบริเวณอ่าวเปอร์เซีย นับเป็นปฏิบัติการทำลายสันติภาพของโลกครั้งรุนแรงที่สุดนับจากสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 และทั้งเป็ฯการเริ่มต้นการขยายอำนาจของรุสเซียเข้าสู่น่านน้ำและพื้นที่แถบทะเลอาหรับในมหาสมุทรอินเดีย ประธานาธิบดีคาร์เตอร์ตอบโต้วิกฤติการณ์อัฟกานิสถานในปี 1979 ทันที่โดยหนึ่งหยุดการส่งข้าวสาลี และอุปกรณ์เทคโนโลยีชั้นสูงแก่รุสเซีย และทั้งทั้งกล่าวประณามการเคลื่อนกองกำลังรุสเซียเข้าอัฟกานิสถานว่าเป็นการก้าวร้าวรุกอธิปไตยของอัฟกานิสถานและทำลายสันติภาพของโลกครั้งรุนแรงที่สุดนับจากปี
1945 รุสเซียเพิกเฉยคำกล่าวประณามของสหรัฐอเมริกาและคงกองกำลังรุสเซียในอัฟกานิสาน สองประท้วง ไม่ส่งนักกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี 1984 ที่ลอสแอนเจลิส สามเตรียมกำลังพล กำหนดให้เยาวชนอเมริกันทั้งชายและหยิงรายงานตัวขึ้นทะเบียนเพื่อรับการเกณฑ์กำลังพลในอนาคต ถ้าจำเป็นเพื่อปกป้องอ่าวเปอร์เซีย จากการอาจถูกกองกำลังรุสเซียเข้ารุกล้ำ สี่ประธานาธิบดีคาร์เตอร์กล้าพูดว่าประเมินรุสเซียผิดอย่างไม่คาดคิดดมาก่อน และดึงกลับสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 จากการพิจารณาของวุฒิสภาห้า ประธานาธิบดีคาร์เตอร์ประกาศหลักการคาร์เตอร์ปี 1980 กำหนดสหรัฐอเมริกนำเป็นต้องเข้าขัดขวางแรกแซงด้วยกองกำลังอเมริกัน ถ้าจำเป็นด้วยปฏิบัติการที่หนักหน่วงและเฉียบขาด เพื่ปกป้องแหล่งน้ำมัน บริเวณอ่านเปอร์เซียด้วยกลักการคาร์เตอร์ เป็นการบ่งชี้ชัดว่าสหรัฐอเมริกาต้องการให้กองกำลังรุสเซียหยุดอยู่ที่อัฟกานิสถาน และเป้นกาตัดสินใจอย่งเด่นชัดในการนำสหรัฐอมเริกาเข้ายุ่งเกี่ยวในปัญหาอันเนื่องกับน้ำมัน บริเวณอ่าวเปอร์เซีย

        จากการต่อสู้รบระหว่างกองกำลังรุสเวียและกองกำลังรัฐบาลทหารอัฟกานิสถานฝ่ายหนึ่งกับกองกำลังมูจาฮีดดีนอีกฝ่ายหนึ่ง นับจากเดือนธันว่าคม ผลปรากฎว่าชาวอัฟกานิสถานส่วนใหญ่หลบหนีการปะทะเข้าอาศัยบริเวณชายแดนปากีสถานและอิกร่าน กองกำลังรุสเซียเริ่มถ่อยออกจากอัพกานิสถาน และถอนหมดสิ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ในอัฟการนิสถานคงมีสงครมลกางเมืองระหว่างกองกำลังมูจาฮีดดินกับกองกำลังรัฐบาลอัฟกานนิสถาน
      สหรัฐอเมริกามีกรณีพิพาทกับอิหน่าน เกิดวิกฤติการณ์อิหร่านจับคนอเมริกันเป็นตัวประกันหรือวิกฤติการณ์อิหร่าน ปี 1979 เป็นประเทศอยู่ทางตะวันออกกลาง ดินแดนทางเหนือติดทะเลแคสเปียน และรุสเซีย ทางตะวันออกติดอัฟกานิสถานและปากีสถานทางใต้ติดอ่าวเปอร์เซีย ทางตะวันตกติดอิรักและตุรกี ในศตวรรษที่ 19 ชาติตะวันตกที่เข้าแทรกแซงอิหร่านคือรุสเซียและอังกฤษ รุสเซียรุกรานอิหร่านเพราะต้องการขยายดินแดนและหาทางออกสู่อ่าวเปอร์เซีย อังกฟษแทรกแซงอิหร่านต้นศตวรรษที่ 20 เพื่อทำธุรกิจน้ำมัน ในแหล่งน้ำมันในพื้นที่ทางตะวันตกเฉพียงใต้ของอิหร่าน ในสงครามโลกครั้งที่ 1 อิหร่านวางตนเป็นกลาง ในสปี 1925 เรซา ข่าน นายทหารแห่งกองทหารม้านำกองกำลังทหารโค่นอำนาจอษัตรยิ์หรือชาห์ ในราชวงศ์คาชร์ และสถาปนาตนเองเป็นชาห์แห่งราชวงศ์ปาห์ลาวี ชาห์ เรชามุ่งพัฒนาอิหร่านให้ทันกับโลกสมัยใหม่ พร้อทั้งรับการเข้ามาของชาติตะวันตกเพื่มมากขึ้น อิหร่านประกาศวางตนเป็นกลางใสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งอังกฤษต้องการใช้เส้นทางรถไฟอิหร่าน ขนยุทธปัจจัยให้แก่รุสเซีย ชาห์ เรซา ปฏิเสธให้ความร่วมมือเป็นผลให้ในปี 1941 กองกำลังผสมอังกฤษ-รุสเซยบุกเข้า อิหร่าน บังคัยให้ชาห์ เรซา สละราชสมบัติ และให้โมฮัมหมัด เรซา ปาห์เลวียอมลงนามให้อังกฟษและรุสเซียร่วมใช้เส้นทางรถไฟอิหร่านและให้คงกองกำลังทหารของทั้งสองชาติอยู่ในอิหร่านจนกว่าสงครามจะยุติ เพื่อ
ปกป้องธุรกิจนำมันและการขนส่งยุทะปัจจัย แรมีกองกำลังทหารต่างชาติในอิหร่านทำให้ชาวอิหร่านกลุ่มชาตินิยมไม่พอใจเกิดขบวนการชาตินิยม ภายใต้ชื่อเมลิส เรียกร้องยุติอิทธิพลอังกฤษในธุรกิจน้ำมันในอิหร่านสร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่อังกฤษและอังกฤษโต้ตอง โดยหยุดดำเนินธุรกิจน้ำมันในอิหร่านพร้อมทั้งไม่นำน้ำมันอิหร่านออกสู่ตลาดโลกน้ำมันในตลาดโลก จึงไม่สามารถนำนำมัออกสู่ตลาดโลกด้วยตนเอง ดิกร่านต้องเผชิญปัญหาเศรษฐกิจการเงิน กลางปี 1953 ชาห์ เรซา ปาห์เลวีบังคับให้ขบวนการชาตินิยมเมลิสเลิการต่อต้านอังกฤษ ขบวนการชาตินิยมเมลิสจับกุมชาห์ เรซา ปาห์เลวีและบังคับให้ลี้ภัยออกนอกอิหร่านสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประนาะบดีไอเซนฮาวร์ สั่งให้หน่วยสืบราชการลับนอกประเทศ เข้าช่วยชาห์ เรซา ปาห์เวลี กลับขึ้นมีอำนาจอีกครั้งในปี 1953 หลังถูกจับกุมอยู่สามวันและชาห์ เรซา ปากห์เลวีสั่งปราบปรามสมาชิกขวบนการชาตินิยมเมลิสทันที่เมืองกลับมีอำนาจ
  
  ทศวรรษที่ 1960 การปฏิรูปทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองประกฏเด่นชัน ขณะเดียวกันชาวอิหร่านเริ่มการเริ่มการต่อต้านชาห์ เพราะไม่พอใจการปฏิรูป ชาห์ เรซาปาห์เลวีนำการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมภายใต้ชื่อปฏิวัติขาวหรือการเปลี่รยแปลงโดยสิ้นเชิงอย่างรวดเร็ว ได้แก่ปผนปฏิรูปที่ดินดวยการจัดสรรแจกจ่ายที่ดินแก่ชาวนาและเกษตรกร แผนส่งเสริมการศึกษา แผนส่งเสริมสวัสดิการและการให้บริการสังคม แผนให้สิทธิสตรีในการลงคะแนน แผนพัฒนาอตาสหกรรมและส่งเสริมเศรษฐกิจด้วเงิยรายได้ที่เพิ่มขึ้จจากการขายน้ำมัน ชาห์ เราซา ปาห์เลวีกุมอำนาจทางการเมืองปกครองด้วยการจับกุม คุมขัง ทรมาน และเนรเทศผู้ต่อต้านทุกคน ชาห์ เรซา ปาห์เลวีสังจับกุมและเนรเทศอะยาโทลลาห์ รูโฮลลาห์ โดไมนี ผุ้นำศาสนานิกายชีอะ จากอิหร่านต้องเข้าอาศํยในอิรัก 13 ปี อยู่ฝรั่งเศสหนึ่งปี ในเดื่อน กุมภาพันธ์ 1979 เดินทางกลับอิหร่าน ศัตรูของชาห์ เรซา ปาห์เลวีมีสองกลุ่ม ๆ แรกคือ นักศึกษาและนักวิชาการ กลุ่มที่สองคือผู้นำศาสนา กลุ่มนักศึกษาและนักวิชาการรวมตัวต่อต้านวิจารณ์โจมตีด้านการปกครองและเสรษฐกิจ ในประเด็นหนึ่งชาห์ เรซา ปาห์เลวี ปฏิเสธในสิทธิเสรีภาพของชาวอิหร่านกดขี่ข่มเหงลิดรอนสิทธิประชาชนในการแสดงความคิดเห็นด้วยการพูด การเขียน การพิมพ์สองใช้เจ้าหน้าที่ลับซาวัค ปราบปรามบดขยี้กลุ่มต่อต้านซาห์อย่างทารุณโหดเหี้ยม สามรัฐบาลกระทำการทุจริตเอื้อประโยชน์แก่ต่างชาติอันเป็นการทำลายเศรษฐกิจอิหร่าน กลุ่มผู้นำศาสนารมถึงคนอิหน่านผุ้ยึดมั่นในขนบประเพณีดังเดิมหรือพวกคนหัวเก่า ต่อต้านวิจารณ์โจมตีด้านสังคมใน ประเด็นการปฏิรูปสังคมของชาห์เป็นไปอย่างรวดเร็วไปอย่างรวดเร็วให้ทักับโลกภายนอก เช่น เรื่องสิทธิสตรีและการแต่งกายของสตรีล้วนขัดต่อหลักคำสอนในศาสนาอิสบามและขัดต่อประเพณีดีงามของมุสลิม
      ช่วงทศวรรษ คนอิหร่านต่อต้านชาห์ เรซา ปาห์เลวี ทีความรุนแรง เริ่มโดยสหรัฐอเมริกาเพิ่มการสั่งซื้อนำมันจากอิหร่านเพื่อขจัดปัญหาวิกฤติพลังงานปี 1973 ขณะเดียวกันชาห์ เรซา ปาห์เลวี เพิ่มการสั่งซื้ออาวุธที่ประสิทธิภาพสู
เพื่อการปราบปรามกลุ่มต่อต้านชาห์ที่เพ่มจำนวนขึ้นและคิดโค่นอำนาจชาห์ ปาห์เลวี ทั้งสหรัฐอเมริกาเองก็ยินดีขายอาวุธแก่อิหร่านในราคามิตภาพที่สุดเพื่อรักษาเสถียรภาพความมั่นคงของธุรกิจน้ำมันอเมริกันในอ่าวเปอร์เซีย มีการบัญญัติศัพท์เฉพาะในธุรกิจขายน้ำมันเพื่อซื่ออาวุธหรือขายอาธเพื่อซื้อนำมัน ว่าปิโครดอลล่าร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงปี 1972-1979 มีการซื้อขายน้ำมันและอาวุธระหว่างกันมีมุลค่าถึง ยี่สิบพันล้านดอลล่าร์ และประธานาธิบดีคาร์เตอร์เดินทางเยือนอิหร่านเพื่อกระชับความสัมพันะห้แน่นแฟ้นในปี 1977 การปฏิบัติการของกลุ่มต่อต้านชาห์ นับจากปี 1960 ได้รับการสั่งการมาโดยตลอดจาอะยาโทลลาห์รูโฮลลาห์ โคไมนี ทั้งขณะอยู่ใอหร่าย ถูกเนรเทศต้องเข้าอาศัยในอิรักและฝรั่งเศส กลุ่มต่อต้านชาห์ กล่าวโจมตีและวิจารณ์ชาห์ทั้งสร้างความโกลาหลวุ่นวายในอิหร่านด้วยการเดินขบวน นัดหยุดงาน ทำลายทรัพย์สินทางราชการ ทำร้ายร่างกาย ฆ่าและทำลายทรัพย์สินกลุ่มผู้สนับสนุนชาห์มีการปล้นสดมภสร้างความเดื่อร้อนอย่างมากแก่ประชาชนโดยเจ้าหน้าที่ไม่อาจเข้าช่วยเหลือได้ อิหร่านขาดวินัยในการปกครองและเศรษฐกิจหยุดชะงัก ด้วยสภาพดังกล่าวสร้างแรงบีบคั้นอย่างมากแก่ชาห์ เรซา ปาห์เลวี เป็นผลให้ในวันที่ 16 มกราคม ชาห์ เรชา ปาห์เลวีตัดสินใจลั้ภัยการเมืองจากอิหร่าน ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 1979 โคไม่นีจากฝรั่งเศสเดินทางกลับอิหร่าน ประกาศจัดตั้งประเทศสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน และใช้คำสอนในศาสนาอิสลามเป็นหลักในการปกครองประเทศ
      ท่าทีประธานาธิบดีคาร์เตอร์ต่อวิกฤติการณ์อิหร่านจับคนอเมริกันเป็นตัวประกัน 1979 ประการแรกคือ ปฏิเสธการส่งตัวชาห์แห่งอิหร่านให้แก่รัฐบาลอิหร่าน ภายใต้การนำของโคไมนี สองสั่งตัดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจด้วยการหยุดขายและส่งอาวุธตลอดจนความช่วยเหลือใด ๆ แก่อิหร่าน สามสั่งควบคุมเงินและของมีค่าของชาวอิหร่านที่นำฝากในธนาคารอเมริกัน สี่จัดส่งนักเรียนนักศึกษาอิหร่านที่ศึกษาในสหรัฐอเมริกากลับอิหร่าน ห้าสหรัฐอเมริกและมวลประเทศสมาชิกโลกเสรีร่วมกันประณามการกระทำของอิหร่าน ว่าละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและเรียกร้องให้รัฐบาลอิหร่านปล่อยตัวประกันอเมริกันทั้ง 52 คน หก ประธานาธิบดีคาร์เตอร์สั่งกองทัพเรื่ออเมริกันประจำน่านน้ำมหาสมุทรอินเดียเตรียมพร้อมปฏิบัติการ เพื่อเป็นการแสดงสัญญาณเตือนรัฐบาลอิหร่านถึงความพร้อมปฏิบัติการของกองกลังอเมริกันถ้าจำเป็น เจ็ดประธานาธิบดีคาร์เตอร์ประกาศหลัการคาร์เตอร์ปี 1980 กำหนดสหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องเข้าขัดขวางแทรกแซงด้วยกองกำลังอเมริกันถ้าจำเป็นก้วยการปฏิบัติการที่หนักหน่วงและเฉียบขาดเพื่อปกป้องแหล่งน้ำมัน บริเวณอ่าวเปอร์เซีย ประธานาธิบดีคาร์เตอร์มุ่งใช้หลักการคาร์เตอร์ ปี 1980 กับทั้งอิหร่านและรุสเซีย รวมถึงกระตุ้นคนอเมริกันให้รับรู้ถ้าจำเป็นต้องการเกณฑ์ทหารเพื่อการปราบปราม และท้งเป็นการตัดสินใจอย่างเด่นชัดในการนำสหรัฐอเมริกาเข้ายุ่งเกี่ยวในปัญหาอันเดี่ยวเหนื่องกับน้ำมันบริเวณอ่านเปอร์เซีย แปด ประธานาธิบดีคาร์เตอร์ประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิหร่านในเดือนเมษายนปี 1980 และเก้าประธานาธิบดีคาร์เตอร์สั่งชิงตัวประกันอเมริกันด้วยปฏิบัติการเฮลิคอบเตอร์แปดลำ ผลการปฏิบัติการล้มเหลวรัฐบาลอิหร่านภายใต้การนำของโคไมนียึดตัวประกันอเมริกันที่ 52 คนไว้เพื่อใช้เป็นโล่ป้องกันมาตรการการโจมตีใดๆ ที่สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีคาร์เตอร์อาจจะกระทำต่ออิหร่าน อย่างไรก็ตามตัวประกันทั้ง 52 คนได้รับการปล่อยตัวในปี 1981 ในวันพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของโรแนล ดับเบิลยู เรแกน รวมเวลาการกักขังตัวประกันชาวอเมริกัน 444 วัน

วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Deng Xiaoping

เหมา เชตุงประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือประธานหมา ประกาศสถาปนา สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ จตุรัสเทียนอันเหมิน ในกรุงปักกิ่ง ใช้สัญลักษณ์ค้อนเคียวเป็นสัญลักษณ์พรรค  ภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตง ที่มีระเบียบวินัยเคร่งครัด ในปีแรกของการบริหารประเทศ เหมาเน้นการเพิ่มความชำนาญและประสิทธิภาพในการปฏิรูปทางสังคมและเศรษฐกิจและประชาชนทุกชนชั้นเข้ามามีส่วนร่วมในภารกิจนี้ผลตอบรับจึงเป็นที่ประทับใจและได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง ปี 1950 นานาชาติเริ่มาให้การยอมรับรัฐบาลคอมมิวนิสต์มากขึ้นตามลำดับ แต่สิ่งที่ทำให้การยอมรับจากนานาชาติต้องหยุดชะงักคือเหตุการณ์สงครามเกาหลี เนื่องจากในปี 1950 กองกำลังสหประชาชาติได้ส่งเข้าไปเกาหลีเหนือ จีนเกรงว่าจะคุกคามต่อดินแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นหัวใจทางด้านอุตสาหกรรม จีนจึงส่งกองทัพปลดแอกประชาชน ซึ่งเรียกตัวเองว่าอาสาสมัครประชาชนจีนเข้าไปเกาหลี่เหนือตามคำเรียกร้อง ในสงครามครั้งนั้น มีประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ใหญ่ ๆ 2 ประเทศคือจีนแผ่นดินใหญ่และสหภาพโซเวียต เข้าช่วยเหลือเกาหลีเหนือ โดยเหมาเจอตุง เป็นผู้ให้การสนับสนุนเกาหลีเหนือ
      ผลงานและความผิดพลาดของเหมาเจอตุง ที่ประเมินโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้ข้อรุปว่า แม้ในบั้นปลายชีวิต เหมาจะได้ทำความผิดร้ายแรง ในเหตุการณ์เคลื่อนไหวปฏิวัติวัฒนธรรมที่มีประชาชนล้มต่ายเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อเทียบกับผลงานอันใหญ่หลวง และยาวนานที่ท่านสร้างให้แผ่นดินและประชาชนจีน คุณความดีของท่านมีมากกว่าความผิดพลาด ประธานเหมา ยังคงเป็นผู้นไท่ยิ่งใหญ่และเป็นที่เคารพรักของประชาชนจีน
     โจวเอิน ไหล  จุดเริ่มต้นนักปฏิวัติของโจวเอินไหล คือเมื่อเรียนในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมัธยมหนันไค ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนที่เปิดกว้างทางความคิด  โดยได้เข้าร่วมกิจกรรมต่อต้านประธานาธิบดีหยวน ซือ ข่าย และเมื่อจบการศึกษาจึงไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นในช่วงเหตุการณ์เคลื่นอไหว 4 พฤษภาคม 1919 โจวเอินไหลได้เป็นบรรณษธิการหนังสือสมาพันธ์นักเรียนเทีนยจิน แต่ถูกปิดไปพร้อมกับการจับกุมตัว โจว เอิน ไหล เขาถูกจำคุกเป็นเวลาครึ่งปี  เมื่อถูกปล่อยตัวเขาเดินทางไปฝรั่งเศส ในช่วงนั้นโจว..มีแนวความคิดด้าน
สังคมนิยมหลังจากได้อ่านประกาศพรรคคอมมิวนิสต์และหลักการแนวคิดคอมมิวนิสต์ ร่วมถึงหนังสื่อ “สงครามชนชั้น” ซึ่งในระหว่างอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสเขาได้มีส่วนร่วมทางการเมื่องอย่างต่อเนื่อง
    การช่วงชิงแผ่นดินหลายต่อหลายครั้งระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนและก๊กมินตั๋ง ซึ่งในที่สุดพรรคคอมมิวนิสต์สามารถมีชัยชนะเหนือพรรคก๊กมินตั๋งที่ต้องถอยร่นไปอยู่ไต้หวัน และประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้น โดยเหมาเจ๋อตุง เป็นประธานาธิบดี และโจวเอินไหลเป็นนายกรัฐมนตรี
     เติ้งเสี่วยผิง เป็นผู้นำสุงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในทศวรรษที่ 80s ถึงปี 2000 เป็นผู้เปลี่ยนแปลงพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประชาชนจีน เป็นชนชั้นผู้นำรุ่นที่สองของพรรคคอมมิวนิสต์ ภายใต้การนำของเติ้ง เสียวผิง ประเทศจีนได้ก้าวขึ้นมาเป็นชาติที่พัฒนาด้านเศรษฐกิจเร็วที่สุดในโลก
     เติ้ง เสี่ยวผิง จบการศึกษาในประเทศฝรั่งเศส โดยเข้าเรียนโครงการสำหรับนักเรียนจีนซึ่งมีนักปกครอง-นักปฏิวัติหลายคนของเอเซียเคยเรียน เช่น โฮจิมินห์ และโจว เอินไหล
     เติ้งเป็นผู้สนับสนุนที่สำคัญของเหมา เจอ ตุง และได้รับตำแหน่งสำคัญของพรรคหลายตำแหน่ง แต่ในภายหลังด้วยนโยบายที่ขัดแย้งกัน เติ้งเสียวจึงถูกขับจากตำแหน่ง และไปเป็นกรรมกรอยู่ที่โรงงานใน มณฑลเสฉวน เมื่อนายกรัฐมนตรี โจว เอิน ไหลขึ้นครองอำนาจและพบว่าตนเองป่วยด้วยโรคมะเร็ง โจวเอินไหลจึงเรียกเรียกเติ้งกลับมาอีกครั้งเพื่อเป็นทายาททางการเมืองรับหน้าที่ฟื้นฟูประเทศจากความเสียหายที่เกิดจการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด ในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม กอปรกับความร่วมมือของประชาชน ทำให้ได้รับผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ แต่ต่อมาก็ถูกแก๊ง 4 คน ใส่ร้ายป้ายสี จนต้องออกจากตำแหน่งทุกตำแหน่ง เป็นครั้งที่ 2
   
หลังจากแก๊ง 4 คนถูกล้มล้าง ในปีเดียวกันนั้นเอง พร้อมกับการสิ้นสุดการปฏิวัติวัฒนธรรม ที่ประชุมคณะกรรมการพรรคคอมิวนิสต์จีนชุดที่ 10 เต็มคณะครั้งที่ 3 มีมติให้เติ้งเสียยวผิงกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้นำในรัฐบาลอีกครั้ง เติ่งเสี่ยวผิง ได้รับการแต่งตั้งในที่ประชุมผู้แทรพรรรคคอมมิวนิสต์จีนทั่วประเทศครั้งที่ 11 สิงหาคม 1977 เป็นรองประธานพรรคคอมมิวนสต์ เรื่อนมีนาคม 1978 ได้รับเลือกเป็นประธานสภาพที่ปรึกษาทางการเมือง โดย เติ้ง..เสนอให้มีการทบทวนนโยบายที่ผิดพลาดในอดีต และให้พรรคหันมามุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจเป็ฯหลัก
    ธันวาคม 1978 ในการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 11 เต็มคณะครั้งที่ 3 เป็นการเปิดศักราชใหม่ของประเทศ ทั้งในด้าน
การปฏิรูประบบเศรษฐกิจและการพัฒนาระบอบสังคมนิยมพิเศษหรือสังคมนิยมประชาธิปไตยแบบจำเพาะของจีน ภายใต้การนำของคณะกรรมการบริหารพรรครุ่นที่สองโดยมีเติ้ง เสี่ยว ผิง เป็นแกนนำ
    กลางปี 1981 ที่ประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 11 เต็มคณะครั้งที่ 6 ได้มีการทบทวนแนวคิดของเหมาเจ๋อ ตุง ตามหลักและเหตุผล ได้มีมติคงไว้ซึ่งความสำคัญของอดีตผุ้นำเหมาในทางประวัติศาสตร์ ในการประชุมครั้งนั้น เติ้งเสียวผิงได้รับเลือกให้เป็นประธานคณะกรรมการกลางการทหาร(ผู้นำประเทศ)
      ทฤษฎีว่าด้วย “แมว” ที่เป็นหนึ่งในทฤษฎีที่ได้รับการกล่าวขวัญกันมาก แม้ว่าในปัจจุบัน
“ไม่ว่าจะเป็นแมวดำแมวขาวขอให้จับหนูได้ก็ถือว่าเป็นแมวที่ดี”
     ชนบทที่กว้างใหญ่ของจีนได้ดำเนินวิธี”รับเหมาการผลิตถึงครัวเรือน”ขณะนั้นคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนมณฑลอานฮุยได้ให้การสนับสนุนและชี้นำโดยดำเนินการตามระบบ “กำหนดการผลิตถึงที่นากำหนดความรับผิดชอบถึงคน” ระบบที่ว่านี้ นับว่าเป็นจุดทะลวงที่สำคัญภายใต้ระบบคอมมูนในขณะนั้น เรื่องนี้ก็ได้เกิดการโต้แย้งกันค่อนข้างรุนแรง กลุ่มผุ้นำจีนในยุคนั้น เต่งเสียวผิง แสดงความเห็นชอบวิธีการดังกล่าวในการประชุมสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคฯ ที่พิจารณาปัญหาดังกล่าว เติ้งเสียวผิงก็ได้แสดงข้อคิดว่า “รูปแบบการผลิตไหนเป็นการง่ายและเร็วต่อการฟื้นฟูและการพัฒนาการผลิตในภาคการเกษตรก็จะได้ใช้รูปแบบนั้น ขอแต่มวลชนยอมรับที่จะใช้รูปแบบไหน แม้จะเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายก็สามารถทำให้ชอบด้วยกฎหมายได้ เขาได้ยกสุภาษิตชาวบ้านของมณฑลอานฮุยว่า “ไม่ว่าจะเป็นแมวเหลื่อง แมวดำจับหนูได้ก็ถือเป็นแมวดี” ต่อมาจึงเกิดทฤษฎว่าด้วย “แมว” ที่โด่งดังขึ้น ต่อมาก็ได้ถือเป็นทัศนะทางลัทธิอัตถะประโยชน์ที่ไร้แนวทางจุดยืน เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในช่วง “ปฏิวัติวัฒนธรรม”เหมาเจ๋อตงเวลาวิพากษ์เติ่ง..จึงใช้คำว่า “ยังเป็นแมวดำแมวขาวอีก” คำนี้จึงกลายเป็น “ไม่ว่าจะเป็นแมวดำ แมวขาว..” ถึงแม้เติ้งจะขึ้นๆ ลงๆ ทางการเมือง แต่ “ทฤษฎีว่าด้วยแมวดี” รับการวิพากษ์วิจารณ์หลายครั้งหลายคราไม่เพียงไม่ล้มเลิก นับวันกลับทรงอิทธิพลกว้างใหญ่ และมีบทบาทสำคัญต่อการปลดปล่อยความคิดของผู้คนในช่วงต้นของการปฏิรูปเปิดประเทศ
     “ประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศแรกที่ต้องดำเนินนโยบาย “การปฏิรูปภายใน ภายนอกเปิดประเทศ”ของค่ายชนชั้นกรรมชีพสากล มาตรฐานในข้อนี้กลายเป็นความลำบากอันยิ่งใหญ่และมีลักษณะไม่แน่นอนสูง เพราะว่าการดำนเนินการปฏิรูปเปิดประเทศของจีนหลังปี 1978 เป็นการประดิษฐ์คิดค้นใหม่ทางทฏษฎีและการปฎิบัติทางสังคม จำเป็นต้องดูดซับผลทางอารยธรรมของมนุษย์บนพื้นฐานการสรุปบทเรียนจากการปฏิวัติของจีนและขบวนการลัทะคิมมิวนิสต์สากลต้องละทิ้งการกระทำข้อผิดพลาดในอดีตที่ผ่านมา ประดิษฐ์คิดค้นนโยบายใหม่บางอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนเพื่อนำไปปฏิบัติซึ่งเป็นขบวนการการเปลี่ยนแปลงตัวเองของตัวผู้นำ มันเป็ฯการปฏิรูปครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งมันเป็นไปได้ยากที่หาคำตอบที่สำเร็จรูปได้จากคัมภีร์ของมาร์ก เลนิน ฯ บรรดาปรมาจารย์ทั้งหลายหรือคำตอบที่ถูกต้อง หากเกิดสถานการณ์ดังกล่าวก็ง่ายต่อทำให้ผู้คนเกิดความยุ่งเหยิงทางความคิด และเป็นไปได้ง่ายที่ผู้นำการปฏิรูปต้องตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบในเชิงทฤษฎีโดยถูกตราหน้าว่า “ไม่ใช่ผู้ศรัทธาลัทธิมาร์กซ์ที่แท้จริง”หรือไม่ก็ตกอยู่ในฐานะเสียบเปรียบทางคุณธรรมตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีน คือ “ไม่มีความจงรักภักดี ความกตัญญู เมตตาธรรมและคุณธรรม”

วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Jame Earl Carter

      เจมส์ อี. คาร์เตอร์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาลำดับที่ 39 จาพรรคเดโมเครติกนำการบริหารประทเศระหว่างปี 1977-1981 โดยมี Walter F. Mondal เป็นรองประธานาธิบดี ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปว่า จิมมี่ คาร์เตอร์

     จิมมี คาร์เตอร์ เป็นประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกันที่จบจากโรงเรียนนายเรือ เป็นจากกลุ่มรัฐทางใต้สุด เป็นคนแรกที่ได้รับเลือเป็นประธานาธิบดีนับแต่เกิดสงครามกลางเมืองและเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่หลังเสร็จสิ้นพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่างประธานาธิบิเลือกเดินบนถนนเพนซิลวาเนียพร้อมภรรยาจากอาคารพิธีกลับทำเนียบขาวเพื่อแสดงภาพลักษณ์ใหม่ของความเป็นสามัญชนของประธานาธิบดี
     นโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดีคาร์เตอร์ เน้นในเรื่องการเคารพในสิทธิมนุยชน อันหมายถึรัฐบาลต้องยอมรับในเสรีภาพของประชาชนด้านการพูด การพิมพ์ การนับถือศสนา การเดินทาง แรลงคะแนนรวมถึงได้รับการพิพากษาที่ยุติธรรมเมืองกระทำความผิด ประธานาธิบดีคาร์เตอร์จะจำกัดหรือยกเลิกการให้ความช่วยเหลือและหยุดส่งสินค้าให้แก่ประเทศใดก็ตามที่ประธานาธิบดีคาร์เตกรอืเชื่อว่ารัฐบาลกดขี่ข่มเหงหรือละเมิดสิมธิของประชาชนอันกได้แก่บางประเทศในทวีปเอเชีย แอฟริกาและละตินอเมริกา นอกจากนี้มีนโยบายมุ่งลดจำนวนกองกำลังทหารอเมริกันที่ประจำอยูนอกสหรัฐอเมริกา และละการขายอาวุธแก่ต่างชาติ รวมถึงลดการแข่งขันเพื่อการผลิตอาวุธนิวเคลียร์
     สหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จในการเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็ฯทางการกับจีนแผ่นดินใหญ่ ในปี 1979 จีนแผ่นดินใหญ่หลังการเสียชีวิตของเมา เซตุงและ จู เอนไล ในปี 1976 อยู่ภายใต้การนำขอกลุ่มจีนหัวใหม่ ไม่นิยมความรุนแรงและมุ่งพัฒนาประเทศเร่มด้วยหัว กกฟง ดำรงตำแหน่งทั้งนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคคิมมิวนิสต์ในปีเดียวกันนั้นเอง โดยมีเติง เสี่ยวผิง เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรองหัวหร้าพรรคอมมิวนิสต์ เติง เสี่ยวผิงให้ความสนใจอย่างยิ่งในการกระชับความสัมพันะอย่างเป็นทางการกับสหรัฐอเมริกาเพื่อเพิ่มบทบาทและความสำคัญของจีนในเวที่การเมืองโลก อันเป็นในช่วงเวลาเดียวกันกับประธานาธิบดีคาเตอร์เองต้องการพัฒนาความสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่นำสู่การพบกันของตัวแทนทั้งสองชาติเพื่อแสวงหาแนวทางดำเนินการและในปี 1978 รัฐบาลอเมริกันนที่วอชิงตันและรัฐบาลจีนที่ปักกิ่งได้ประกาศให้โลกรู้ในแถลงการณ์ร่วมกน กำหนดสหรัฐอเมริกาและจีนแผ่นดินใหญ่จะเปิดความสัมพันะทางการทูตอยางเป็นทางการ เติง เสีย่ยวผิง เพีมความกระชับสัพันธ์ด้วยการเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกามีการลงนาในข้อตกลงระหว่างเติง เสี่ยวผิงกับประธานาธิบดีคาร์เตอร์ที่ทำเนียบขาว เพื่อการแลกเปลี่ยนด้านการค้า ด้านวัฒนธรรม และด้านวิชาการวิทยาศาสตณืและเทคโนโลยี ปี่1980 หัว กกฝง หมดอำนาจ เติง เสียงผิง ก้าวขึ้นเป็นผู้นำที่มีอำนาจสูงสุดของจีนและคงรักษาความสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐอเมริกา
    ความสัมพันธ์ระหว่างรุสเซียกับสหรัฐอเมริกาในสมัยประธานาธิบดีคาร์เตอร์ตกต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ลอโอนิค ไอ.เบรสเนฟ ก้าวขึ้นเป็นผุ้นำรุสเซียมุ่งหวังใช้นโยบายผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างโลกเสรีกับโลกคอมมิวนิสต์หรือสร้างความสัมพันะอันดีกับโลกเสรี เพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตผลเกษตรกรรม และความช่วยเหลือด้านวิชาการเทคโนโลยีพทรัพยากรขึ้นมาใช้ประโยชน์ จากโลกเสรีความสัมพันธ์ระหว่างรุสเซียกับสหรัฐอเมริกาช่วงปี 1963-1977 เป็นไปด้วยดี แต่ในสมัยประธานาธิบดีคาร์เตดรอ์ความสัมพันะระหว่างรุสเซียกับอเมริกาเลวร้ายลง เพราะลิโอนิค ไอ. เบรสเนฟ เลิกยึดมั่นในนโยบายสร้างความสัมพันธ์อันดีกับโลกเสรี และผู้นำทั้งสองต่างไม่พอใจในท่าที่และการกำหนดนโยบายต่างประเทศระหว่างกัน
     รุสเซียไม่พอใจที่ประธานาธิบดีคาร์เตอร์เลือกปฏิบัติกับประเทศที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน นโยบายสิทธิมนุษยชน หมายถึงรัฐบาลต้องเคารพและยอมรับในเสรีภาพของประชาชนด้านการพูด การพิมพ์ การนับถือศาสนา การเดินทาง การลงคะแนนตลอดจนการได้รบคำพิพากษาที่ยุติธรรมเมื่อกระทำความผิด ประธานาธิบดีคาร์เตอร์จะจำกัดหรอยกเลิกการให้ความช่วยเหลือหรือหยุดส่งสินค้าให้แก่ประเทศใดก็ตาทที่ประธานาธิบดีคาร์เตอร์เชื่อว่ารัฐบาลกดขี่ข่มเหงหรือละเมิดสิทธิประชาชน ในทางปฏิบัติประธานาธิบดีคาร์เตอร์เลือกปฏิบัติกับประเทศที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ข้อเท็จจริงคือหนึ่งประธานาธิบดีคาร์เตอร์สั่งตัดให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ ด้านการเงินและด้านการทหารแก่อาร์เจนตินา อุรุกวัย นิคารากัวและเอธิโอเปีย เพราะเชื่อแน่ว่ารัฐบาลกดขี่ข่มเหงประชาชนอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน สองประธานาธิบดีคาร์เตอร์กล่าววิจารณ์อย่างรุนแรงต่อรัฐบาลรุสเซียที่ระงับและปราบปรามชนชาวยิวในรุสเซียที่เรียกร้องเพื่อการอพยพออกจารัสเซียสู่โลกเสรีว่าการกระทำเช่นนี้บ่งชี้ชัดว่ารัฐบาลกดขี่ประชาชน ไม่เคารพในสทิธิเสรีภาพประชาชน และละเมิดสิทธิมนุษยชน สามประธานาธิบดีคาร์เตอร์สั่งตัดให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ ด้านการเงินและด้านการทหารเพียงช่วงสั้น ๆ แก่ ฟิลิปินส์ อิหร่านและเกาหลีใต้เพราะทั้งสามชาติมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องลงโทษเพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกกล่าวโจมตีของรุสเซยในประเด็นสหรัฐอเมริกาเลือกปฏิบัติ สี่ประธานาธิบดีคาร์เตอร์คงความช่วยเหลือแก่ซิมบับเวและแอฟริกาใต้ เพราะรัฐบาลเป็นคนผิวขาว ปกครองคมผิวดำ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่ารัฐบาลผิวขาวกดขี่ข่มเหงประชาชนผิวดำ สหรัฐอเมริกาก็ยังคงความช่วยเหลือเพราะแอนดรู ยัง ทูตสหรัฐอเมริกาประจำองค์การสหประชาชาติเป็นหลักให้การคุ้มครองรัฐบาลผิวขาวและปรธานาธิบดีคาร์เตอร์คล้อยตามทุกประการ ห้าประธานาธิบดีคาร์เตอร์คงตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับคิวบาและอูกานดาเพราะรัฐบาลในสงอประเทศเป็นรฐบาลเผด็จการเต็มรูปแบบ
    รุสเซียหวาดระแวงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนแผ่นดินใหญเพราะสหรัฐอเมริกาเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกอย่างเป็นทางการกับจีนแผ่นดินใหญ่ในวันที่ 1 มกราคม 1979 ความสัมพันธ์ระหว่างรุสเซียกับจีนแผ่นดินใหญ่ไม่ราบรื่นและหยุดชะงักในปี 1960 เมื่อรุสเซียภายมใต้การนำของ นิกิต้า ครุซอฟ นำการบริหารรุสเซียประกาศใช้นโยบายการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ คือเสียงการทำสงครามกับโลกเสีร ขณะเดียวกันเพื่อการแข่งขันระหว่างโลกคอมมิวนิสต์กับโลกเสรีทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและโครงการอวกาศจีนคอมมิวนิสต์คิดว่าการแข่งขันกับโลกเสรีคือความรุนแรงอันหมายถึงสงครามเท่านั้น และโจมตีรุสเซียว่าทรยศต่ออุดมการณ์คอมมิวนิสต์ รุสเซียตอบโต้ทันที่ในปี 1960 ด้วยการเลิกให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีแก่จีน  ในปี 1962 รุสเซยปฉิเสธให้การสนันสนุนจีนคอมมิวนิสต์เมื่อมีกรณีพิพาทเรื่องพรมแดนกับอินเดีย รุสเซียยอมลงนามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษในสนธิสัญญาห้ามการทดลองนิวเคลียร์ในชั้นบรรยากาศ อวกาศภายนอกและในมหาสมุทร เมื่อกองกำลังทหารผสมรุสเซีย เอยรมันตะวันออก บัลกาเรีย โปแลนด์ และฮังการี เคลื่อนเข้าบดขยี้ชาวเชคโกสโลวาเกียกลุ่มปฏิรูป จีนคอมมิวนิสต์ประณามการกระทำของรุสเซียและกรณีพิพาทเรื่องพรมแดนระหว่างกัน ทังรุสเซียและจีนคอมมิวนิสต์ให้การสนับสนุนด้านเสบียงและยุทธปัจจัยแก่เวียดนามเหนือในสงครามเวียดนาม ประธานาธิบดีนิกสันและดร.เฮนรี่ เอ. คิสซิงเกอร์ เห็นควรเยือนจีนคอมมิวนิสต์เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ ให้การยอมรับในความเป็นชาของจีนคอมมิวนิสต์และเพื่อการเจรจาให้จีนคอมมิวนิสต์หรือเลิกสนับสนุนเวียดนามเหนือในสงครามเวียดนาม การเยือนจีนคอมมิวนิสต์มีชึ้นในปี 1972 ผลของการเยือนนำสู่การค้า แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม วิชาการเทคโนดลยีและการท้องเที่ยวระหว่างกันรวมถึงการจัดตั้งสำนักงานของรัฐบาลบทั้งสองประเทศ ที่กรุงปักกิ่งและวอชิงตัน ดี.ซี.การเยือรุสเซียเพื่อกระชับความสัมพันะ ร่วมลงนามในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ และเจรจาให้รุสเซียลดหรือเลิกสนับสนุนเวียนามเหนือในสงครามเวียดนาม ประธานาธิบดีนิกสันเยือนรุสเซียในปี เดียวกันผลของการเยื่อนนำสู่การค้า และเปลี่ยนวัฒนธรรม วิชาการเทคโนโลยี และความร่วมมือในโครงการอวกาศระหวางกันรวมถึงลดความตึงเครียดทางการเมืองด้วยการร่วมลงนามในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 1 และที่สำคัญยิ่งคือสหรัฐอเมริกาสามารถออกจากสงครามเวียดนามด้เป็นที่เรียบร้อยในปี 1973 ประธานาธิบดีฟอร์ดสานต่อความสัมพันะกับจีนคอมมิวนิสต์ด้วยการเยือนจีนในปี 1975 เมา เช ตุง และจู เอน ไล เสียชีวิตในปี 1976 ในป 1977 จีนคอมมิวนิสต์อยู่ภายใต้การนำของกลุ่มคนหัวใหม่ ผู้นำคนใหม่ไม่นิยมความรุนแรง มุ่งพัฒนาประเทศ มุ่งนำจีนเพ่มการมีบทบาทในเวทีการเมืองโลก และมุ่งกระชับความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีคาร์เตอร์ก็ต้องการกระชับความสัมพันะอย่างเป็นทางการกับจีนแผ่นดินใหญ่เช่นกัน นำสหรัฐอเมริกาสู่การตัดความสัมพันะทางการทูตกับจีนไต้หวัน และเปิดความสัมพันะทางการทูตกับจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งรุสเซียเฝ้าติดตามการพัฒนาความสัพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนแผ่นดินใหญ่ตลอดเวลา และเกิดความหวาดระแวงเกรงอันตรายที่อาจจะเกิดแก่รุสเซียได้ในอนาคต…

วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

international relations (Cold War)

  
  ภาวะ “สงครามเย็น”กับการดำเนินนโยบายของอภิมหาอำนาจสองประเทศคือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต มีดังนี้
     การเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา แนวนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกานับจากภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน แบ่งศึกษาได้เป็น 2 ระยะได้แก่ช่วงก่อนทศวรรษที่ 1980 และหลัง
     - แนวนโยบายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 –1980 สหรัฐอเมริกามีประธานาธิบดีทั้งสิ้น 6 คน แต่แนวนโยบายต่างประเทศทีเป็นหลักมีเพียงเเนวทางเดียว คือ “การสกัดกั้นการแผ่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งความแตกต่างในแต่ละสมัยจะเป็นเรื่องวิธีปฏิบัติ และความเข้มของนโยบาย
แฮรี เอส ทรูแมน ในสมัยนี้นโยบายสกัดกั้นการแผ่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์มีความเข้มสูง ทั้งนี้เพราะได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองของในหลายพื้นที่ ที่สำคัญคือการที่กองทัพแดงของสหภาพโซเวียตบุกเข้าไปในโปแลนด์และฮังการี ในปี 1956 และเชโกสโลวะเกียในปี 1968 นอกจานั้น ตุรกี ยังถูกคุกคาม และดินแดนบางส่วนของอิหร่านถูกยึดครองโดยกองทัพของสหภาพโซเวียตผุ้นำของสหัฐอเมริกาจึงเริ่มมีความเชื่อมั่นว่าสหภาพโซเวียตจะขยายลัทะคอมมิวนิสต์ไปทั่วโลก เพื่อทำลายระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นความจำเป็นที่สหรัฐอเมริกาจะต้องดำเนินการหยุดยั้งการดำเนินงานของสหภาพโซเวียต
     ด้วยความเชื่อมั่นและศรัทธาในระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยและด้วยความรู้สึกต่อต้านลัทะคอมมิวนิสต์ สหรัฐอเมริกาจึงเป็นผุ้นำในการดำเนินการสร้างระบบพันธมิตรที่มีกษณะเป็นแนวปิดล้อมคอมมิวนิสต์ขึ้น กล่าวคือ ภูมิภาคยุโรปจะมีองค์การนาโต เป็นฐานดำเนินการ ภูมิภาคตะวันออกกลางจะมีองค์การเซ็นโตเป็นฐานดำเนินการ ส่วนเอเซ๊ยตะวันออกเฉียงใต้จะมีองค์การซ๊โต เป็นฐานดำเนินการและนอกจากนั้น ยังมีฐานทัพเรือของสหรัฐอเมริกาอีกหลายแห่งเป็นหน่วยร่วมปฏิบัติ เพื่อเป็นการเสริ่มพลังในการสกัดกั้นคอมมิวนิสต์
    ดไวท์ ดี. ไอเซนเฮาร์ สหรัฐอเมริกาใช้หน่วยงานสืบราชการลับหรือ ซีไอเอ.CIA เป็นเครื่องมือในการเข้าแทรกแซงฝ่ายตรงกันข้าม และรักษาความมั่นคงของกลุ่มประเทศสรีประชาธิปไตย พร้อมกันนั้นก็มีการพัฒนาความรู้ทางเทคโนโลยีนิวเคลียนร์เพิ่มมากขขึ้น เพื่อจะนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการกดดันด้านนดยบายต่างประเทศต่อประเทศคอมมิวนิสต์
จอห์น เอฟ. เคเนดี้ ในระยะนี้มีการเพิ่มขีดความสามารถที่จะรักษาเสถียรภาพในดินแดนต่าง ๆ ทั่วโลกที่คาดว่าจะถูกคุกคามจากการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ อาทิ สหรัฐอเมริกาได้ส่งกำลังทหารเข้าตรึงในประเทศลา เขมร และเวียดนาม การเผชิญหน้ากันระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตระหว่างปี 1961-1963 ที่สำคัญได้แก่ วิกฤตการณ์เบอร์ลิน จนนำไปสู่การสร้างกำแพงเบอร์ลิน วิกฤตการณ์คิวบาเป็นต้น
ลินคอม บี. จอห์สัน นโยบายหลักของสหรัฐอเมริกายังคงไม่เปลี่ยนแปลง สหรัฐอเมริกาจึงให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลของประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย และให้การสนับสนุนแก่ฝ่ายที่ทำการต่อต้านลัทะคอมมิวนิสต์ เช่น ให้การสนับสนุนทงทหารอย่างเต็มที่ในสงครามแวเยดนามในสาธารณรัฐโดมินิกัน เป็นต้น อย่างไรก็ตา นธยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในช่วยนี้จะไมเสี่ยงต่อการทำสงครามโลก เพราะการทำสงครามโลกหมายถึงการทำสงครามนิวเคลียร์สหรัอฐอเมริกาหันมสใช้วิธีรณรงค์ทางการทูตควบคู่ไปกับการผ่อนคลายความกดดันทางทหารลงนับตั้งแต่ปี 1965 เป็นต้นมา
ริชาร์ด เอ็ม. นิกสัน และเจอรัล อาร์.ฟอร์ด เป็นช่วงที่ยุทธศาสตร์ทางการเมืองโลกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กล่าวคือ เปลี่ยนจากรูปแบบ 2 ขั้วอำนาจอันได้แก่ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต มาเป็นรูปแบบ 3 ขั้วอำนาจ ซึ่งได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียตและจีนคอมมิวนิสต์การดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาจึงมีการปรับตัวตามยุทธศาสต์การเมืองโลกไปด้วย อย่างไรก็ตาม นโยบายหลักของสหรัฐอเมริกายังคงเดิม แต่ในระดับปฏิบัติการ สหรัฐอเมริกาจะไม่เข้าพัวพันกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยตนเองเต็มรูปแบบ ดังจะเห็นได้จากการประกาศหลักการนิกสัน เมื่อเดือนกรกฎาคม ซึ่งมีสาระสำคัญคือ ให้มีการลดบทบาททางทหารของสหรัฐอเมริกา
รัฐบาลอเมริกาจะจัดหาทั้งอาวุธและกำลังทหารให้แก่ฝ่ายต่อต้านคอมมิวนิต์ เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนประเทศเกาหลีและเวียดนาม มาบัดนี้ สหรัฐอเมริกาจะให้ความ่วยเลหือเฉพาะด้านอาวุธและการเงินเท่านั้น และจะให้กับประเทศที่พร้อมจะหากำลังพลของตนเอง จึงกล่าวโดยทั่วไปได้ว่านโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริการะหว่าง เป็นนโยบายลดความตึงเครียด เหตุกาณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ เช่น ประธานาะบดีนกิสันเดินทางไปเยื่อนจีนคอมมิวนิสต์และสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกาถอยทัพออกจากเวียดนามในลักษณะของการพ่ายปพ้ และปล่อยให้สามประเทศอินโดจีนอันได้แก่ประเทศลาว เขมร และเวียดนาม ตกอยู่ในความยึดครองของฝ่ายคอมมิวนิสต์ เป็นต้น
     การดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวีย นับจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2-1980 แนวนโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียตในช่วงเวลาประมาณ 30 ปีนับจากการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 มีเพียงประการเดียว คือ “การสร้างความมั่นคงให้ระบอบคอมมิวนิสต์ทั้งภายในประเทศสหภาพโซเวียตและในหมู่ ประเทศบริวาร” ทั้งนี้โดยใช้นโยบายเผชิญหน้ากับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำค่ายเสรีประชาธิปไตย ทำให้เห็นลักษณะของการแข่ขันระหว่าง 2 ค่ายอย่างแท้จริง
โจเซฟ สตาลิน ดำเนินนโยบายเผชิญหน้ากับสหรัฐอเมริกาอย่างจริงจัง โดยใช้กลยุทธต่าง ๆ เช่น การเพิ่มกำลังทหา การสะสมอาวุธ การเร่งสร้างอาวุธนิวเคลียร์ การสร้างค่ายของกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ขึ้นอย่งมั่นคง เป็นต้น
สมัยผลัดเปลี่ยนผู้นำ ในช่วงเวลานี้สหภาพโซเวียตใช้วิธีการดำเนินนโยบายต่างประเทศโดยวิธีลดการเผชิญหน้าลงบ้าง และยอมรับหลักการอยู่ร่วมกัน โดยสันติ แต่ในขณะเดียวกันก็เร่งคิดค้นและสร้างอาวุธยุทธศาสตร์ขึ้นมาอีก จึงเห็นได้ว่าความรู้ทางเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างชัดเจน
สมัยนิกิตา ครุสซอฟ มีวิธีการดำเนินนโยบายต่างประเทศที่สำคัญยังคงสืบต่อจากสมัยผลัดเปลี่ยนผู้นำ คือ ใช้นโยบายเผชิญหน้าควบคู่กับการอยู่ร่วมกันและการแข่งขันกัยอย่างสันติ
สมัยผู้นำร่วมเบรซเนฟ-โคชิกิน ยุคนี้การเมืองโลกเปลียนเป็น 3 ขั้วอำนาจ ในขณะที่สหภาพโซเวียตมีปัญหากับจีนคอมมิวนิสต์วิธีการดำเนินนโยบายต่างประเทศต่อสหรัฐอเมริกาจึงปรับกระบวนการไปบ้าง กล่าวคือ จะไม่นิยมเสี่ยงต่อการเผชิญหน้า แต่จะถือหลักการอยู่ร่วมกันและการแข่งขันกันอย่างสันติ
การดำเนินนโยบายต่างประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีน
แนวนโยบายต่างประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีนนับจากปี 1949 เมื่อจีนแผ่นดินใหญ่ได้เปลี่ยนระบบการเมืองการปกครองเป็นลัทธิคอมมิวนิสต์ จนถึงปัจจุบัน  จะมีลักษณะคลอยตามการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในประเทศและผกผันตามการดำเนินนโยบายต่างประเทศจีนคอมมิวนิสต์จึงพอแบ่งได้เป็นช่วงเวลาดังนี้
    ค.ศ. 1949-1954 เป็นระยะเริ่มสร้างอำนาจของรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ จีนคอมมิวนิสต์ได้ดำเนินนโยบายกระชับมิตรกับสหภาพโซเวียต กล่าวคื อประธานเมา เจอตุง เดินทางไปเยือนสหภาพโซเวียตพร้อมกับมีการลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพสามสิบปี สาเหตุสำคัญที่ผลักดันให้จีนคอมมิวนิต์ต้องดำเนินนโยบายดังกล่าวเพราะ “รัฐบาลคอมมิวนิสต์”ยังไม่มีความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเมืองหรือเศรษฐกิจ กล่าวคือทางด้านการเมืองระยะดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่เพิ่งสิ้นสุดสงครามกลางเมืองกับฝ่ายจีนคณะชาติ กลุ่มผู้นิยมจีนคณะชาติอาจยังมีอยู่ นอกจากนั้นสหรัฐอเมริกายังสแดงจุดยืนที่จะสนับสนุนรัฐบาลประชาะไตยของนายเจียนไคเช็คหรือฝ่ายจีนคณะชาติ ความหวาดเกรงว่ารัฐบาลคอมมิวนิสต์จะถูกคุกคามจึงเกิดขึ้น ส่วนทางด้านเศรษฐกิจสาธารณรัฐประชาชนจีนมีสภาพทรุดโทรมทางเศรษฐกิจจนไม่สามารถช่วเหลือตังเองได้อันเป็นผลมาจากภาวะสงครามกลางเมืองและผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่สองปัญหาต่างๆ เหล่านี้ สหภาพโซเวียตได้ให้การช่วยเหลือแก่รัฐบาลจีนอมมิวนิสต์เป็นอย่างมากอาทิ การให้เงินกู้ระยะยาวและมีระยะปลอดหนี้ ตลอดจนได้ส่งผู้เชียวชาญสาขาต่างๆ รวมทั้งที่ปรึกษาทางการทหารจำนวนหนึ่งมาให้รัฐบาลจีน ความผูกพันระหว่างจีนคอมมิวินสต์กับสหภาพโซเวียตจึงมีอย่างแน่นแฟ้นในช่วงนี้
     เริ่มสร้างอำนาจ 1949-1954 เป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ให้ความสนใจต่อความมั่นคงทางการเมืองภายในประเทศด้วยการเร่งกำจัดผู้ไม่เห็นด้วยกับลัทธิคอมมิวนิสต์ หรือที่เรียก ว่า “ผู้ไม่ภักดี” ส่วนด้านความมั่นคงทางการเมืองระหว่างประเทศ จะเป็นการเร่งแพร่ขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ไปสู่ประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะในเขตประเทศใกล้เคียงตามหลักการปฏิวัติคอมมิวนิสต์จึงทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองขึ้นในปะเทศเกาหลีและเขตอินโดจีน
     1955-1961 ในช่วงเวลานี้จีนคอมมิวนิสต์ มีความมั่นคงทางการเมืองภายในประเทศแล้ว รัฐบาลจึงให้ความสนใจในการพัฒนาเศรษฐกิจ ปรับปรุงด้านสังคมและวัฒนธรรม เป็นสำคัญ
     การดำเนินนโยบายต่างประเทศ ไม่เป็นแนวทางเดียวกันตลอดระยะ 6 ปี กล่าวคือ ในช่วง 2 ปีแรก รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ใช้นโยบายขยายความร่วมมือ อาทิ ยอมรับความเป็นกลางของประเทศโลกที่สาม ผู้นำโจวเอินไหลเข้าร่วมประชุมกับกลุ่มประเทศอาเซียนในการประชุมที่บันดุงประเทศอินโดนีเซียเมื่อปี 1956 เป็นต้นจึงจัดได้ว่าเป็นระยะที่รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ดำเนินนโยบายประนีประนอม ในปี 1957-1961 รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ได้ใช้นโยบายแข็งกร้าวอีกครั้งหนึ่งกลับมาให้ความสำคัญการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ จึงให้การสนับสนุนขบวนการคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ ต่าง ๆ ระยะนี้เองทำให้จีนมีปัญหากับประเทศเพื่อบ้าน ได้แก่ ธิเบต และอินเดีย กล่าวคือรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ได้ส่งทหาเข้าปราบกบฎในธิเบตอย่างรุนแรง องค์ดาไลลามะ ผุ้นำทางศาสนาและการเมืองของธิเบตลี้ภัยไปพำนักที่ประเทศอินเดียย การที่รัฐบาลอินเดียให้ที่พักพิงกับองค์ดาไลลามะครั้งนี้ได้สร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์เป็ฯอย่งมาก ซึ่งความไม่พอใจของจีนคอมมิวนิสต์ที่มีต่อการที่อินเดียให้ความช่วยเลหือธิเบตจึงได้พัฒนากลายเป็นกรณีพิพาทพรมแดนในปี 1962 และต่อมาถึงแม้ว่าวิกฤตการณ์ทางการทหารจะยุติลงแต่กรณีครั้งนั้นก็ได้มีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนคอมมิวนิสต์และอินเดียเสื่อมทรามลงเป็นอย่างมาก
     1961-1965 เป็นช่วงเวลาที่ลักษณะการเมืองระหว่างประเทศเป็น 3 รูปแบบ 3 ขั้วอำนาจอย่างเด่นชัด จีนคอมมิวนิสต์ดำเนินนโยบายเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียต และนอกจากนั้นยังพร้อมที่จะแข่งขันด้วย ในการเสริมนโยบายดังกล่าวนี้ จีนคอมมิวนิสต์ใช้วิธีการหาความร่วมมือ หรือสร้างพันธมิตรกับกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายในเอเซีย แฟริกา และลาตินอเมริกา ทั้งนี้โดยสร้างกระแสความรู้สึกต่อต้านลัทะจักรวรรดินิยมไปพร้อม ๆ กับการให้ความช่วยเหลือประเทศต่างๆ อาทิ ปากีสภาน อัฟกานิสถาน พม่า ศรีลักา และให้ความช่วยเหลือทางการทหารแก่เวียดนามเหนือ
     นโยบายการแสวงหาแนวร่วมของจีนคอมมิวนิต์มีเป้าหมายไปสู่กลุ่มประเทศที่พัฒนาทางอุตสาหกรรมด้วย วิธีการที่ใช้กับกลุ่มปรเทศที่พัฒนาทางอุตสาหกรรมจะเป็นเรื่องของการติดต่อค้าขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมดังกล่าวจะขายอุปกรณ์ทางด้านอุตสาหกรรมให้แก่จีน การดำเนินนโยบายนสร้างมิตรประเทศเช่นนี้ นอกจากทำให้จีนคอมมิวนิสต์มีมิตรเพิ่มขึ้นแล้วยังได้รับเสียงสนับสนุนให้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติในปี 1965 โดยในที่ประชุมมีประเทศให้เสียงสนับสนุนถึง 47 เสียงคัดค้าน 49 เสียง และงดออกเสียง 3 ประเทศ
     ในการปฏิวัติวัฒนธรรมเกิดขึ้นในปะเทศสาธารณรัฐประชาชนจันกระแสทางสังคมเกิดความกดดันขึ้นอีกครั้งหนึ่ง อันได้เเก่ เรื่องการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ความขัดแย้งอุดมการณ์ทางการเมือง และการใช้ความรุนแรง ระยะยนี้เองเมา เจอ ตุง และผู้สนับสนุนที่สำคัญ ได้ปลุกระดมนิสิตนักศึกษา ทำการก่อตั้งขบวนการเรดการ์ด ทำหน้าที่เป็นแนวหน้าในการปฏิวัติสังคมจีน มีการรณรงค์ต่อต้านและประณามผุ้ที่เมา เจอ ตุง เห็นว่ากำลังมุ่งแนวทางทุนนิยมและลัทธิแก้
     การดำเนินนโยบายในช่วงนี้ มีความแข็งกร้าว มีการเข้าแทรกแซง ให้ความช่วยเหลือขบวนการปฏิวัติในประเทศกำลังพัฒนาสนับสนุนการใช้สงครามกองโจร ในช่วงนี้เองที่สงครามเวียดนาม ตลอดจนการสู้รบในพื้นที่อินโดจีนเพิ่มความรุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจีนคอมมิวนิสต์จะดำเนินนโยบายแข็งกร้าวในช่วงนี้ แต่รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ก็มิได้ให้ความช่วยเลหือในด้านอาวุธแก่ประเทศที่จีนคอมมิวนิสต์สนับสนุนมากนัก
     1965-1976 นโยบายการปฏิวัติวัฒนธรรมส่งผลเสียหายต่อประเทศจีนคอมมิวนิต์เองหลายประการทำให้เกิดความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศการถดถอยทางเศรษฐกิจและภาพพจน์ของประเทศในสายตาของชาวโลกก็ไม่ดีนัก นโยบายการปฏิวัติวัฒนธรรมจึงถูกละไป ผู้นำจีนคอมมิวนิสต์ก็ได้พยายามสร้างความสงบเรียบร้อย และฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศที่เสียหายในช่วงของการปฏิวัติวัฒนธรรมให้กลับคืนดีขึ้น
     เหตุกาณณ์หลายอย่างมีผลต่อการปรับนโยบายทางการเมืองและการต่างประเทศของจีนคอมมิวนิสต์ กล่าวคือ ในส่วนของค่ายคอมมิวนิสต์ จีนคอมมิวนิสต์เกิดปัญหาข้อพิพาทตามแนวชายแดนกับสหภาพโซเวียต การใช้นโยบายหลักการเบรสเนฟ ที่กล่าวถึงการมีสิทธิแทรกแซงของสหภาพโซเวียตต่อประเทศคอมมิวนิสต์อื่นๆ สำหรับการเปลี่ยนแปลงในค่ายเสรีประชาธิปไตย ได้แก่การเพ่มบทบาทของญี่ปุ่นและประเทศในภูมิภาคยุโรปตะวันตก การเมืองระหว่างประเทศได้ปลเยนจาก รุปแบบ 2 ขั้วอำนาจมาเป็นหลายขั้ยอำนาจ เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยผลักดันให้จีนคอมมิวนิสต์ปรับนโยบายต่างประเทศของตนเอง นโยบายต่างประเทศแบบแข็งกร้าวจึงถูกเลิกไปในที่สุด ดังนั้น ระยะต้นของทศวรรษที่ 1970 จีนคอมมิวนิสต์ได้กลับมาใช้นโยบายสร้างมิตรประเทศอีกครั้ง ได้เริ่มสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับแคนาดา ในปี 1970 ได้เชิญทีมปิงปองของสหรัฐอเมริกาไปเยือนจีน เป็นการเร่ม “การทูตปิงปอง” จนนำไปสู่การเจรจาลับกับนายคิสวิงเจอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐ  และการเดินทางเยื่อนจีนอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีนิกสัน “แถลงการณ์เซี่ยงไฮ้”ซึ่งเป็นการปรับความสัมพันธ์ของสองประเทศ จีนคอมมิวนิสต์และสหรัฐอเมริกา ให้กลับคือสู่ระดับปกตอในเวลาต่อมา
    ปี 1971  จีนคอมมิวนิสต์ได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติหลังจากนั้นประเทศต่าง ๆ ได้เปิดความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับจีนคอมมิวนิสต์ส่วนประเทศไทยได้เปิดความสัมพันธ์กับจีนคอมมิวนิสต์ ในปี 1975
     1976-1979 เป็นเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในประเทศครั้งใหญ่ กล่าวคือ นายโจวเอินไหล และเมา เจอ ตุง ได้สิ้นชีวิตในปี 1976 การสูญเสียผุ้นำระดับสูงลงในเวลาไล่เลี่ยกันได้นำไปสู่การแย่งชิงอำนาจกันเองในพรรคคอมมิวนิสตื กลุ่มอำนาจที่ต่อสู้กันคือกลุ่มของนางเจียงชิง ภริยาหม้ายของ เมา เจอ ตุง กับพวก ที่ชื่อเรียกว่า “แก็งสี่คน” กับกลุ่มของนายหว่าโก๊ะฟง และเติ้งเสี่ยวฝิง
      กลุ่มนายหว่าโก๊ะฟงและเติ้งเสี่ยวผิงเป็นฝ่ายมีชัยในการต่อสู้ทางกาเมืองครั้งนี้รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ในยคุ “หว่า-เติ้ง” ได้ใช้นโยบายพัฒนาประเทศที่มีชื่อเรียกว่า “สี่ทันสมัยFour Modernzation” มุ่งพัฒนาด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระบวนการสนับสนุนนโยบายที่ทันสมัยให้บรรลุผล ผุ้นำยุค “หว่า-เติ้ง”ได้ดำนินการปฏิวัติโครงสร้างทางการปกครองของรัฐบาลกลางและองค์การจัดตั้งต่างๆ ของพรรค โดยมีเจตนาลดประมาณข้าราชการและผู้ปฏิบัติงานในระดับสูงลง 1 ใน 3 สร้างระบบเกษรียณอายุเพื่อให้คนรุ่นใหม่ให้ได้ขึ้นมารับช่วงงานาต่อไป ทำการปราบปรามคอรับชั่นอย่งจริงจัง ที่สำคัญได้ประกาศยกเลิกระบบคอมมูน และได้นำระบบสหกร์เข้ามาใช้แทน
       ด้านการเมืองต่างประเทศของยุคเปลี่ยนผู้นำจะเป็นไปในแนวความคิดของเติ้งเสี่ยงผิงกล่าวคือดดยภาพรวม จีนคอมมิวนิสต์ ดำเนินนโยบายผูกมิตรกับประเทศที่กำลังพัฒนา แต่ก็ยังรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งนี้เป็ฯผลจากความเชื่อในทฤษฎีสามโลก กล่าวคือ ผู้นำจีนคอมมิวนิสต์มีแนวความคิดว่า ประเทศในโลกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหรอือาจเรียกได้ว่า “สามโลก”

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...