Jame Earl Carter

      เจมส์ อี. คาร์เตอร์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาลำดับที่ 39 จาพรรคเดโมเครติกนำการบริหารประทเศระหว่างปี 1977-1981 โดยมี Walter F. Mondal เป็นรองประธานาธิบดี ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปว่า จิมมี่ คาร์เตอร์

     จิมมี คาร์เตอร์ เป็นประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกันที่จบจากโรงเรียนนายเรือ เป็นจากกลุ่มรัฐทางใต้สุด เป็นคนแรกที่ได้รับเลือเป็นประธานาธิบดีนับแต่เกิดสงครามกลางเมืองและเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่หลังเสร็จสิ้นพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่างประธานาธิบิเลือกเดินบนถนนเพนซิลวาเนียพร้อมภรรยาจากอาคารพิธีกลับทำเนียบขาวเพื่อแสดงภาพลักษณ์ใหม่ของความเป็นสามัญชนของประธานาธิบดี
     นโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดีคาร์เตอร์ เน้นในเรื่องการเคารพในสิทธิมนุยชน อันหมายถึรัฐบาลต้องยอมรับในเสรีภาพของประชาชนด้านการพูด การพิมพ์ การนับถือศสนา การเดินทาง แรลงคะแนนรวมถึงได้รับการพิพากษาที่ยุติธรรมเมืองกระทำความผิด ประธานาธิบดีคาร์เตอร์จะจำกัดหรือยกเลิกการให้ความช่วยเหลือและหยุดส่งสินค้าให้แก่ประเทศใดก็ตามที่ประธานาธิบดีคาร์เตกรอืเชื่อว่ารัฐบาลกดขี่ข่มเหงหรือละเมิดสิมธิของประชาชนอันกได้แก่บางประเทศในทวีปเอเชีย แอฟริกาและละตินอเมริกา นอกจากนี้มีนโยบายมุ่งลดจำนวนกองกำลังทหารอเมริกันที่ประจำอยูนอกสหรัฐอเมริกา และละการขายอาวุธแก่ต่างชาติ รวมถึงลดการแข่งขันเพื่อการผลิตอาวุธนิวเคลียร์
     สหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จในการเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็ฯทางการกับจีนแผ่นดินใหญ่ ในปี 1979 จีนแผ่นดินใหญ่หลังการเสียชีวิตของเมา เซตุงและ จู เอนไล ในปี 1976 อยู่ภายใต้การนำขอกลุ่มจีนหัวใหม่ ไม่นิยมความรุนแรงและมุ่งพัฒนาประเทศเร่มด้วยหัว กกฟง ดำรงตำแหน่งทั้งนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคคิมมิวนิสต์ในปีเดียวกันนั้นเอง โดยมีเติง เสี่ยวผิง เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรองหัวหร้าพรรคอมมิวนิสต์ เติง เสี่ยวผิงให้ความสนใจอย่างยิ่งในการกระชับความสัมพันะอย่างเป็นทางการกับสหรัฐอเมริกาเพื่อเพิ่มบทบาทและความสำคัญของจีนในเวที่การเมืองโลก อันเป็นในช่วงเวลาเดียวกันกับประธานาธิบดีคาเตอร์เองต้องการพัฒนาความสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่นำสู่การพบกันของตัวแทนทั้งสองชาติเพื่อแสวงหาแนวทางดำเนินการและในปี 1978 รัฐบาลอเมริกันนที่วอชิงตันและรัฐบาลจีนที่ปักกิ่งได้ประกาศให้โลกรู้ในแถลงการณ์ร่วมกน กำหนดสหรัฐอเมริกาและจีนแผ่นดินใหญ่จะเปิดความสัมพันะทางการทูตอยางเป็นทางการ เติง เสีย่ยวผิง เพีมความกระชับสัพันธ์ด้วยการเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกามีการลงนาในข้อตกลงระหว่างเติง เสี่ยวผิงกับประธานาธิบดีคาร์เตอร์ที่ทำเนียบขาว เพื่อการแลกเปลี่ยนด้านการค้า ด้านวัฒนธรรม และด้านวิชาการวิทยาศาสตณืและเทคโนโลยี ปี่1980 หัว กกฝง หมดอำนาจ เติง เสียงผิง ก้าวขึ้นเป็นผู้นำที่มีอำนาจสูงสุดของจีนและคงรักษาความสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐอเมริกา
    ความสัมพันธ์ระหว่างรุสเซียกับสหรัฐอเมริกาในสมัยประธานาธิบดีคาร์เตอร์ตกต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ลอโอนิค ไอ.เบรสเนฟ ก้าวขึ้นเป็นผุ้นำรุสเซียมุ่งหวังใช้นโยบายผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างโลกเสรีกับโลกคอมมิวนิสต์หรือสร้างความสัมพันะอันดีกับโลกเสรี เพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตผลเกษตรกรรม และความช่วยเหลือด้านวิชาการเทคโนโลยีพทรัพยากรขึ้นมาใช้ประโยชน์ จากโลกเสรีความสัมพันธ์ระหว่างรุสเซียกับสหรัฐอเมริกาช่วงปี 1963-1977 เป็นไปด้วยดี แต่ในสมัยประธานาธิบดีคาร์เตดรอ์ความสัมพันะระหว่างรุสเซียกับอเมริกาเลวร้ายลง เพราะลิโอนิค ไอ. เบรสเนฟ เลิกยึดมั่นในนโยบายสร้างความสัมพันธ์อันดีกับโลกเสรี และผู้นำทั้งสองต่างไม่พอใจในท่าที่และการกำหนดนโยบายต่างประเทศระหว่างกัน
     รุสเซียไม่พอใจที่ประธานาธิบดีคาร์เตอร์เลือกปฏิบัติกับประเทศที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน นโยบายสิทธิมนุษยชน หมายถึงรัฐบาลต้องเคารพและยอมรับในเสรีภาพของประชาชนด้านการพูด การพิมพ์ การนับถือศาสนา การเดินทาง การลงคะแนนตลอดจนการได้รบคำพิพากษาที่ยุติธรรมเมื่อกระทำความผิด ประธานาธิบดีคาร์เตอร์จะจำกัดหรอยกเลิกการให้ความช่วยเหลือหรือหยุดส่งสินค้าให้แก่ประเทศใดก็ตาทที่ประธานาธิบดีคาร์เตอร์เชื่อว่ารัฐบาลกดขี่ข่มเหงหรือละเมิดสิทธิประชาชน ในทางปฏิบัติประธานาธิบดีคาร์เตอร์เลือกปฏิบัติกับประเทศที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ข้อเท็จจริงคือหนึ่งประธานาธิบดีคาร์เตอร์สั่งตัดให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ ด้านการเงินและด้านการทหารแก่อาร์เจนตินา อุรุกวัย นิคารากัวและเอธิโอเปีย เพราะเชื่อแน่ว่ารัฐบาลกดขี่ข่มเหงประชาชนอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน สองประธานาธิบดีคาร์เตอร์กล่าววิจารณ์อย่างรุนแรงต่อรัฐบาลรุสเซียที่ระงับและปราบปรามชนชาวยิวในรุสเซียที่เรียกร้องเพื่อการอพยพออกจารัสเซียสู่โลกเสรีว่าการกระทำเช่นนี้บ่งชี้ชัดว่ารัฐบาลกดขี่ประชาชน ไม่เคารพในสทิธิเสรีภาพประชาชน และละเมิดสิทธิมนุษยชน สามประธานาธิบดีคาร์เตอร์สั่งตัดให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ ด้านการเงินและด้านการทหารเพียงช่วงสั้น ๆ แก่ ฟิลิปินส์ อิหร่านและเกาหลีใต้เพราะทั้งสามชาติมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องลงโทษเพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกกล่าวโจมตีของรุสเซยในประเด็นสหรัฐอเมริกาเลือกปฏิบัติ สี่ประธานาธิบดีคาร์เตอร์คงความช่วยเหลือแก่ซิมบับเวและแอฟริกาใต้ เพราะรัฐบาลเป็นคนผิวขาว ปกครองคมผิวดำ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่ารัฐบาลผิวขาวกดขี่ข่มเหงประชาชนผิวดำ สหรัฐอเมริกาก็ยังคงความช่วยเหลือเพราะแอนดรู ยัง ทูตสหรัฐอเมริกาประจำองค์การสหประชาชาติเป็นหลักให้การคุ้มครองรัฐบาลผิวขาวและปรธานาธิบดีคาร์เตอร์คล้อยตามทุกประการ ห้าประธานาธิบดีคาร์เตอร์คงตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับคิวบาและอูกานดาเพราะรัฐบาลในสงอประเทศเป็นรฐบาลเผด็จการเต็มรูปแบบ
    รุสเซียหวาดระแวงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนแผ่นดินใหญเพราะสหรัฐอเมริกาเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกอย่างเป็นทางการกับจีนแผ่นดินใหญ่ในวันที่ 1 มกราคม 1979 ความสัมพันธ์ระหว่างรุสเซียกับจีนแผ่นดินใหญ่ไม่ราบรื่นและหยุดชะงักในปี 1960 เมื่อรุสเซียภายมใต้การนำของ นิกิต้า ครุซอฟ นำการบริหารรุสเซียประกาศใช้นโยบายการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ คือเสียงการทำสงครามกับโลกเสีร ขณะเดียวกันเพื่อการแข่งขันระหว่างโลกคอมมิวนิสต์กับโลกเสรีทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและโครงการอวกาศจีนคอมมิวนิสต์คิดว่าการแข่งขันกับโลกเสรีคือความรุนแรงอันหมายถึงสงครามเท่านั้น และโจมตีรุสเซียว่าทรยศต่ออุดมการณ์คอมมิวนิสต์ รุสเซียตอบโต้ทันที่ในปี 1960 ด้วยการเลิกให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีแก่จีน  ในปี 1962 รุสเซยปฉิเสธให้การสนันสนุนจีนคอมมิวนิสต์เมื่อมีกรณีพิพาทเรื่องพรมแดนกับอินเดีย รุสเซียยอมลงนามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษในสนธิสัญญาห้ามการทดลองนิวเคลียร์ในชั้นบรรยากาศ อวกาศภายนอกและในมหาสมุทร เมื่อกองกำลังทหารผสมรุสเซีย เอยรมันตะวันออก บัลกาเรีย โปแลนด์ และฮังการี เคลื่อนเข้าบดขยี้ชาวเชคโกสโลวาเกียกลุ่มปฏิรูป จีนคอมมิวนิสต์ประณามการกระทำของรุสเซียและกรณีพิพาทเรื่องพรมแดนระหว่างกัน ทังรุสเซียและจีนคอมมิวนิสต์ให้การสนับสนุนด้านเสบียงและยุทธปัจจัยแก่เวียดนามเหนือในสงครามเวียดนาม ประธานาธิบดีนิกสันและดร.เฮนรี่ เอ. คิสซิงเกอร์ เห็นควรเยือนจีนคอมมิวนิสต์เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ ให้การยอมรับในความเป็นชาของจีนคอมมิวนิสต์และเพื่อการเจรจาให้จีนคอมมิวนิสต์หรือเลิกสนับสนุนเวียดนามเหนือในสงครามเวียดนาม การเยือนจีนคอมมิวนิสต์มีชึ้นในปี 1972 ผลของการเยือนนำสู่การค้า แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม วิชาการเทคโนดลยีและการท้องเที่ยวระหว่างกันรวมถึงการจัดตั้งสำนักงานของรัฐบาลบทั้งสองประเทศ ที่กรุงปักกิ่งและวอชิงตัน ดี.ซี.การเยือรุสเซียเพื่อกระชับความสัมพันะ ร่วมลงนามในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ และเจรจาให้รุสเซียลดหรือเลิกสนับสนุนเวียนามเหนือในสงครามเวียดนาม ประธานาธิบดีนิกสันเยือนรุสเซียในปี เดียวกันผลของการเยื่อนนำสู่การค้า และเปลี่ยนวัฒนธรรม วิชาการเทคโนโลยี และความร่วมมือในโครงการอวกาศระหวางกันรวมถึงลดความตึงเครียดทางการเมืองด้วยการร่วมลงนามในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 1 และที่สำคัญยิ่งคือสหรัฐอเมริกาสามารถออกจากสงครามเวียดนามด้เป็นที่เรียบร้อยในปี 1973 ประธานาธิบดีฟอร์ดสานต่อความสัมพันะกับจีนคอมมิวนิสต์ด้วยการเยือนจีนในปี 1975 เมา เช ตุง และจู เอน ไล เสียชีวิตในปี 1976 ในป 1977 จีนคอมมิวนิสต์อยู่ภายใต้การนำของกลุ่มคนหัวใหม่ ผู้นำคนใหม่ไม่นิยมความรุนแรง มุ่งพัฒนาประเทศ มุ่งนำจีนเพ่มการมีบทบาทในเวทีการเมืองโลก และมุ่งกระชับความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีคาร์เตอร์ก็ต้องการกระชับความสัมพันะอย่างเป็นทางการกับจีนแผ่นดินใหญ่เช่นกัน นำสหรัฐอเมริกาสู่การตัดความสัมพันะทางการทูตกับจีนไต้หวัน และเปิดความสัมพันะทางการทูตกับจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งรุสเซียเฝ้าติดตามการพัฒนาความสัพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนแผ่นดินใหญ่ตลอดเวลา และเกิดความหวาดระแวงเกรงอันตรายที่อาจจะเกิดแก่รุสเซียได้ในอนาคต…

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)