วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556
international relations (Cold War)
ภาวะ “สงครามเย็น”กับการดำเนินนโยบายของอภิมหาอำนาจสองประเทศคือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต มีดังนี้
การเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา แนวนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกานับจากภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน แบ่งศึกษาได้เป็น 2 ระยะได้แก่ช่วงก่อนทศวรรษที่ 1980 และหลัง
- แนวนโยบายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 –1980 สหรัฐอเมริกามีประธานาธิบดีทั้งสิ้น 6 คน แต่แนวนโยบายต่างประเทศทีเป็นหลักมีเพียงเเนวทางเดียว คือ “การสกัดกั้นการแผ่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งความแตกต่างในแต่ละสมัยจะเป็นเรื่องวิธีปฏิบัติ และความเข้มของนโยบาย
แฮรี เอส ทรูแมน ในสมัยนี้นโยบายสกัดกั้นการแผ่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์มีความเข้มสูง ทั้งนี้เพราะได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองของในหลายพื้นที่ ที่สำคัญคือการที่กองทัพแดงของสหภาพโซเวียตบุกเข้าไปในโปแลนด์และฮังการี ในปี 1956 และเชโกสโลวะเกียในปี 1968 นอกจานั้น ตุรกี ยังถูกคุกคาม และดินแดนบางส่วนของอิหร่านถูกยึดครองโดยกองทัพของสหภาพโซเวียตผุ้นำของสหัฐอเมริกาจึงเริ่มมีความเชื่อมั่นว่าสหภาพโซเวียตจะขยายลัทะคอมมิวนิสต์ไปทั่วโลก เพื่อทำลายระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นความจำเป็นที่สหรัฐอเมริกาจะต้องดำเนินการหยุดยั้งการดำเนินงานของสหภาพโซเวียต
ด้วยความเชื่อมั่นและศรัทธาในระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยและด้วยความรู้สึกต่อต้านลัทะคอมมิวนิสต์ สหรัฐอเมริกาจึงเป็นผุ้นำในการดำเนินการสร้างระบบพันธมิตรที่มีกษณะเป็นแนวปิดล้อมคอมมิวนิสต์ขึ้น กล่าวคือ ภูมิภาคยุโรปจะมีองค์การนาโต เป็นฐานดำเนินการ ภูมิภาคตะวันออกกลางจะมีองค์การเซ็นโตเป็นฐานดำเนินการ ส่วนเอเซ๊ยตะวันออกเฉียงใต้จะมีองค์การซ๊โต เป็นฐานดำเนินการและนอกจากนั้น ยังมีฐานทัพเรือของสหรัฐอเมริกาอีกหลายแห่งเป็นหน่วยร่วมปฏิบัติ เพื่อเป็นการเสริ่มพลังในการสกัดกั้นคอมมิวนิสต์
ดไวท์ ดี. ไอเซนเฮาร์ สหรัฐอเมริกาใช้หน่วยงานสืบราชการลับหรือ ซีไอเอ.CIA เป็นเครื่องมือในการเข้าแทรกแซงฝ่ายตรงกันข้าม และรักษาความมั่นคงของกลุ่มประเทศสรีประชาธิปไตย พร้อมกันนั้นก็มีการพัฒนาความรู้ทางเทคโนโลยีนิวเคลียนร์เพิ่มมากขขึ้น เพื่อจะนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการกดดันด้านนดยบายต่างประเทศต่อประเทศคอมมิวนิสต์
จอห์น เอฟ. เคเนดี้ ในระยะนี้มีการเพิ่มขีดความสามารถที่จะรักษาเสถียรภาพในดินแดนต่าง ๆ ทั่วโลกที่คาดว่าจะถูกคุกคามจากการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ อาทิ สหรัฐอเมริกาได้ส่งกำลังทหารเข้าตรึงในประเทศลา เขมร และเวียดนาม การเผชิญหน้ากันระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตระหว่างปี 1961-1963 ที่สำคัญได้แก่ วิกฤตการณ์เบอร์ลิน จนนำไปสู่การสร้างกำแพงเบอร์ลิน วิกฤตการณ์คิวบาเป็นต้น
ลินคอม บี. จอห์สัน นโยบายหลักของสหรัฐอเมริกายังคงไม่เปลี่ยนแปลง สหรัฐอเมริกาจึงให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลของประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย และให้การสนับสนุนแก่ฝ่ายที่ทำการต่อต้านลัทะคอมมิวนิสต์ เช่น ให้การสนับสนุนทงทหารอย่างเต็มที่ในสงครามแวเยดนามในสาธารณรัฐโดมินิกัน เป็นต้น อย่างไรก็ตา นธยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในช่วยนี้จะไมเสี่ยงต่อการทำสงครามโลก เพราะการทำสงครามโลกหมายถึงการทำสงครามนิวเคลียร์สหรัอฐอเมริกาหันมสใช้วิธีรณรงค์ทางการทูตควบคู่ไปกับการผ่อนคลายความกดดันทางทหารลงนับตั้งแต่ปี 1965 เป็นต้นมา
ริชาร์ด เอ็ม. นิกสัน และเจอรัล อาร์.ฟอร์ด เป็นช่วงที่ยุทธศาสตร์ทางการเมืองโลกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กล่าวคือ เปลี่ยนจากรูปแบบ 2 ขั้วอำนาจอันได้แก่ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต มาเป็นรูปแบบ 3 ขั้วอำนาจ ซึ่งได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียตและจีนคอมมิวนิสต์การดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาจึงมีการปรับตัวตามยุทธศาสต์การเมืองโลกไปด้วย อย่างไรก็ตาม นโยบายหลักของสหรัฐอเมริกายังคงเดิม แต่ในระดับปฏิบัติการ สหรัฐอเมริกาจะไม่เข้าพัวพันกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยตนเองเต็มรูปแบบ ดังจะเห็นได้จากการประกาศหลักการนิกสัน เมื่อเดือนกรกฎาคม ซึ่งมีสาระสำคัญคือ ให้มีการลดบทบาททางทหารของสหรัฐอเมริกา
รัฐบาลอเมริกาจะจัดหาทั้งอาวุธและกำลังทหารให้แก่ฝ่ายต่อต้านคอมมิวนิต์ เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนประเทศเกาหลีและเวียดนาม มาบัดนี้ สหรัฐอเมริกาจะให้ความ่วยเลหือเฉพาะด้านอาวุธและการเงินเท่านั้น และจะให้กับประเทศที่พร้อมจะหากำลังพลของตนเอง จึงกล่าวโดยทั่วไปได้ว่านโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริการะหว่าง เป็นนโยบายลดความตึงเครียด เหตุกาณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ เช่น ประธานาะบดีนกิสันเดินทางไปเยื่อนจีนคอมมิวนิสต์และสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกาถอยทัพออกจากเวียดนามในลักษณะของการพ่ายปพ้ และปล่อยให้สามประเทศอินโดจีนอันได้แก่ประเทศลาว เขมร และเวียดนาม ตกอยู่ในความยึดครองของฝ่ายคอมมิวนิสต์ เป็นต้น
การดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวีย นับจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2-1980 แนวนโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียตในช่วงเวลาประมาณ 30 ปีนับจากการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 มีเพียงประการเดียว คือ “การสร้างความมั่นคงให้ระบอบคอมมิวนิสต์ทั้งภายในประเทศสหภาพโซเวียตและในหมู่ ประเทศบริวาร” ทั้งนี้โดยใช้นโยบายเผชิญหน้ากับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำค่ายเสรีประชาธิปไตย ทำให้เห็นลักษณะของการแข่ขันระหว่าง 2 ค่ายอย่างแท้จริง
โจเซฟ สตาลิน ดำเนินนโยบายเผชิญหน้ากับสหรัฐอเมริกาอย่างจริงจัง โดยใช้กลยุทธต่าง ๆ เช่น การเพิ่มกำลังทหา การสะสมอาวุธ การเร่งสร้างอาวุธนิวเคลียร์ การสร้างค่ายของกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ขึ้นอย่งมั่นคง เป็นต้น
สมัยผลัดเปลี่ยนผู้นำ ในช่วงเวลานี้สหภาพโซเวียตใช้วิธีการดำเนินนโยบายต่างประเทศโดยวิธีลดการเผชิญหน้าลงบ้าง และยอมรับหลักการอยู่ร่วมกัน โดยสันติ แต่ในขณะเดียวกันก็เร่งคิดค้นและสร้างอาวุธยุทธศาสตร์ขึ้นมาอีก จึงเห็นได้ว่าความรู้ทางเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างชัดเจน
สมัยนิกิตา ครุสซอฟ มีวิธีการดำเนินนโยบายต่างประเทศที่สำคัญยังคงสืบต่อจากสมัยผลัดเปลี่ยนผู้นำ คือ ใช้นโยบายเผชิญหน้าควบคู่กับการอยู่ร่วมกันและการแข่งขันกัยอย่างสันติ
สมัยผู้นำร่วมเบรซเนฟ-โคชิกิน ยุคนี้การเมืองโลกเปลียนเป็น 3 ขั้วอำนาจ ในขณะที่สหภาพโซเวียตมีปัญหากับจีนคอมมิวนิสต์วิธีการดำเนินนโยบายต่างประเทศต่อสหรัฐอเมริกาจึงปรับกระบวนการไปบ้าง กล่าวคือ จะไม่นิยมเสี่ยงต่อการเผชิญหน้า แต่จะถือหลักการอยู่ร่วมกันและการแข่งขันกันอย่างสันติ
การดำเนินนโยบายต่างประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีน
แนวนโยบายต่างประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีนนับจากปี 1949 เมื่อจีนแผ่นดินใหญ่ได้เปลี่ยนระบบการเมืองการปกครองเป็นลัทธิคอมมิวนิสต์ จนถึงปัจจุบัน จะมีลักษณะคลอยตามการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในประเทศและผกผันตามการดำเนินนโยบายต่างประเทศจีนคอมมิวนิสต์จึงพอแบ่งได้เป็นช่วงเวลาดังนี้
ค.ศ. 1949-1954 เป็นระยะเริ่มสร้างอำนาจของรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ จีนคอมมิวนิสต์ได้ดำเนินนโยบายกระชับมิตรกับสหภาพโซเวียต กล่าวคื อประธานเมา เจอตุง เดินทางไปเยือนสหภาพโซเวียตพร้อมกับมีการลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพสามสิบปี สาเหตุสำคัญที่ผลักดันให้จีนคอมมิวนิต์ต้องดำเนินนโยบายดังกล่าวเพราะ “รัฐบาลคอมมิวนิสต์”ยังไม่มีความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเมืองหรือเศรษฐกิจ กล่าวคือทางด้านการเมืองระยะดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่เพิ่งสิ้นสุดสงครามกลางเมืองกับฝ่ายจีนคณะชาติ กลุ่มผู้นิยมจีนคณะชาติอาจยังมีอยู่ นอกจากนั้นสหรัฐอเมริกายังสแดงจุดยืนที่จะสนับสนุนรัฐบาลประชาะไตยของนายเจียนไคเช็คหรือฝ่ายจีนคณะชาติ ความหวาดเกรงว่ารัฐบาลคอมมิวนิสต์จะถูกคุกคามจึงเกิดขึ้น ส่วนทางด้านเศรษฐกิจสาธารณรัฐประชาชนจีนมีสภาพทรุดโทรมทางเศรษฐกิจจนไม่สามารถช่วเหลือตังเองได้อันเป็นผลมาจากภาวะสงครามกลางเมืองและผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่สองปัญหาต่างๆ เหล่านี้ สหภาพโซเวียตได้ให้การช่วยเหลือแก่รัฐบาลจีนอมมิวนิสต์เป็นอย่างมากอาทิ การให้เงินกู้ระยะยาวและมีระยะปลอดหนี้ ตลอดจนได้ส่งผู้เชียวชาญสาขาต่างๆ รวมทั้งที่ปรึกษาทางการทหารจำนวนหนึ่งมาให้รัฐบาลจีน ความผูกพันระหว่างจีนคอมมิวินสต์กับสหภาพโซเวียตจึงมีอย่างแน่นแฟ้นในช่วงนี้
เริ่มสร้างอำนาจ 1949-1954 เป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ให้ความสนใจต่อความมั่นคงทางการเมืองภายในประเทศด้วยการเร่งกำจัดผู้ไม่เห็นด้วยกับลัทธิคอมมิวนิสต์ หรือที่เรียก ว่า “ผู้ไม่ภักดี” ส่วนด้านความมั่นคงทางการเมืองระหว่างประเทศ จะเป็นการเร่งแพร่ขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ไปสู่ประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะในเขตประเทศใกล้เคียงตามหลักการปฏิวัติคอมมิวนิสต์จึงทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองขึ้นในปะเทศเกาหลีและเขตอินโดจีน
1955-1961 ในช่วงเวลานี้จีนคอมมิวนิสต์ มีความมั่นคงทางการเมืองภายในประเทศแล้ว รัฐบาลจึงให้ความสนใจในการพัฒนาเศรษฐกิจ ปรับปรุงด้านสังคมและวัฒนธรรม เป็นสำคัญ
การดำเนินนโยบายต่างประเทศ ไม่เป็นแนวทางเดียวกันตลอดระยะ 6 ปี กล่าวคือ ในช่วง 2 ปีแรก รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ใช้นโยบายขยายความร่วมมือ อาทิ ยอมรับความเป็นกลางของประเทศโลกที่สาม ผู้นำโจวเอินไหลเข้าร่วมประชุมกับกลุ่มประเทศอาเซียนในการประชุมที่บันดุงประเทศอินโดนีเซียเมื่อปี 1956 เป็นต้นจึงจัดได้ว่าเป็นระยะที่รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ดำเนินนโยบายประนีประนอม ในปี 1957-1961 รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ได้ใช้นโยบายแข็งกร้าวอีกครั้งหนึ่งกลับมาให้ความสำคัญการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ จึงให้การสนับสนุนขบวนการคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ ต่าง ๆ ระยะนี้เองทำให้จีนมีปัญหากับประเทศเพื่อบ้าน ได้แก่ ธิเบต และอินเดีย กล่าวคือรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ได้ส่งทหาเข้าปราบกบฎในธิเบตอย่างรุนแรง องค์ดาไลลามะ ผุ้นำทางศาสนาและการเมืองของธิเบตลี้ภัยไปพำนักที่ประเทศอินเดียย การที่รัฐบาลอินเดียให้ที่พักพิงกับองค์ดาไลลามะครั้งนี้ได้สร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์เป็ฯอย่งมาก ซึ่งความไม่พอใจของจีนคอมมิวนิสต์ที่มีต่อการที่อินเดียให้ความช่วยเลหือธิเบตจึงได้พัฒนากลายเป็นกรณีพิพาทพรมแดนในปี 1962 และต่อมาถึงแม้ว่าวิกฤตการณ์ทางการทหารจะยุติลงแต่กรณีครั้งนั้นก็ได้มีผลทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนคอมมิวนิสต์และอินเดียเสื่อมทรามลงเป็นอย่างมาก
1961-1965 เป็นช่วงเวลาที่ลักษณะการเมืองระหว่างประเทศเป็น 3 รูปแบบ 3 ขั้วอำนาจอย่างเด่นชัด จีนคอมมิวนิสต์ดำเนินนโยบายเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียต และนอกจากนั้นยังพร้อมที่จะแข่งขันด้วย ในการเสริมนโยบายดังกล่าวนี้ จีนคอมมิวนิสต์ใช้วิธีการหาความร่วมมือ หรือสร้างพันธมิตรกับกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายในเอเซีย แฟริกา และลาตินอเมริกา ทั้งนี้โดยสร้างกระแสความรู้สึกต่อต้านลัทะจักรวรรดินิยมไปพร้อม ๆ กับการให้ความช่วยเหลือประเทศต่างๆ อาทิ ปากีสภาน อัฟกานิสถาน พม่า ศรีลักา และให้ความช่วยเหลือทางการทหารแก่เวียดนามเหนือ
นโยบายการแสวงหาแนวร่วมของจีนคอมมิวนิต์มีเป้าหมายไปสู่กลุ่มประเทศที่พัฒนาทางอุตสาหกรรมด้วย วิธีการที่ใช้กับกลุ่มปรเทศที่พัฒนาทางอุตสาหกรรมจะเป็นเรื่องของการติดต่อค้าขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมดังกล่าวจะขายอุปกรณ์ทางด้านอุตสาหกรรมให้แก่จีน การดำเนินนโยบายนสร้างมิตรประเทศเช่นนี้ นอกจากทำให้จีนคอมมิวนิสต์มีมิตรเพิ่มขึ้นแล้วยังได้รับเสียงสนับสนุนให้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติในปี 1965 โดยในที่ประชุมมีประเทศให้เสียงสนับสนุนถึง 47 เสียงคัดค้าน 49 เสียง และงดออกเสียง 3 ประเทศ
ในการปฏิวัติวัฒนธรรมเกิดขึ้นในปะเทศสาธารณรัฐประชาชนจันกระแสทางสังคมเกิดความกดดันขึ้นอีกครั้งหนึ่ง อันได้เเก่ เรื่องการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ความขัดแย้งอุดมการณ์ทางการเมือง และการใช้ความรุนแรง ระยะยนี้เองเมา เจอ ตุง และผู้สนับสนุนที่สำคัญ ได้ปลุกระดมนิสิตนักศึกษา ทำการก่อตั้งขบวนการเรดการ์ด ทำหน้าที่เป็นแนวหน้าในการปฏิวัติสังคมจีน มีการรณรงค์ต่อต้านและประณามผุ้ที่เมา เจอ ตุง เห็นว่ากำลังมุ่งแนวทางทุนนิยมและลัทธิแก้
การดำเนินนโยบายในช่วงนี้ มีความแข็งกร้าว มีการเข้าแทรกแซง ให้ความช่วยเหลือขบวนการปฏิวัติในประเทศกำลังพัฒนาสนับสนุนการใช้สงครามกองโจร ในช่วงนี้เองที่สงครามเวียดนาม ตลอดจนการสู้รบในพื้นที่อินโดจีนเพิ่มความรุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจีนคอมมิวนิสต์จะดำเนินนโยบายแข็งกร้าวในช่วงนี้ แต่รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ก็มิได้ให้ความช่วยเลหือในด้านอาวุธแก่ประเทศที่จีนคอมมิวนิสต์สนับสนุนมากนัก
1965-1976 นโยบายการปฏิวัติวัฒนธรรมส่งผลเสียหายต่อประเทศจีนคอมมิวนิต์เองหลายประการทำให้เกิดความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศการถดถอยทางเศรษฐกิจและภาพพจน์ของประเทศในสายตาของชาวโลกก็ไม่ดีนัก นโยบายการปฏิวัติวัฒนธรรมจึงถูกละไป ผู้นำจีนคอมมิวนิสต์ก็ได้พยายามสร้างความสงบเรียบร้อย และฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศที่เสียหายในช่วงของการปฏิวัติวัฒนธรรมให้กลับคืนดีขึ้น
เหตุกาณณ์หลายอย่างมีผลต่อการปรับนโยบายทางการเมืองและการต่างประเทศของจีนคอมมิวนิสต์ กล่าวคือ ในส่วนของค่ายคอมมิวนิสต์ จีนคอมมิวนิสต์เกิดปัญหาข้อพิพาทตามแนวชายแดนกับสหภาพโซเวียต การใช้นโยบายหลักการเบรสเนฟ ที่กล่าวถึงการมีสิทธิแทรกแซงของสหภาพโซเวียตต่อประเทศคอมมิวนิสต์อื่นๆ สำหรับการเปลี่ยนแปลงในค่ายเสรีประชาธิปไตย ได้แก่การเพ่มบทบาทของญี่ปุ่นและประเทศในภูมิภาคยุโรปตะวันตก การเมืองระหว่างประเทศได้ปลเยนจาก รุปแบบ 2 ขั้วอำนาจมาเป็นหลายขั้ยอำนาจ เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยผลักดันให้จีนคอมมิวนิสต์ปรับนโยบายต่างประเทศของตนเอง นโยบายต่างประเทศแบบแข็งกร้าวจึงถูกเลิกไปในที่สุด ดังนั้น ระยะต้นของทศวรรษที่ 1970 จีนคอมมิวนิสต์ได้กลับมาใช้นโยบายสร้างมิตรประเทศอีกครั้ง ได้เริ่มสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับแคนาดา ในปี 1970 ได้เชิญทีมปิงปองของสหรัฐอเมริกาไปเยือนจีน เป็นการเร่ม “การทูตปิงปอง” จนนำไปสู่การเจรจาลับกับนายคิสวิงเจอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐ และการเดินทางเยื่อนจีนอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีนิกสัน “แถลงการณ์เซี่ยงไฮ้”ซึ่งเป็นการปรับความสัมพันธ์ของสองประเทศ จีนคอมมิวนิสต์และสหรัฐอเมริกา ให้กลับคือสู่ระดับปกตอในเวลาต่อมา
ปี 1971 จีนคอมมิวนิสต์ได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติหลังจากนั้นประเทศต่าง ๆ ได้เปิดความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับจีนคอมมิวนิสต์ส่วนประเทศไทยได้เปิดความสัมพันธ์กับจีนคอมมิวนิสต์ ในปี 1975
1976-1979 เป็นเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในประเทศครั้งใหญ่ กล่าวคือ นายโจวเอินไหล และเมา เจอ ตุง ได้สิ้นชีวิตในปี 1976 การสูญเสียผุ้นำระดับสูงลงในเวลาไล่เลี่ยกันได้นำไปสู่การแย่งชิงอำนาจกันเองในพรรคคอมมิวนิสตื กลุ่มอำนาจที่ต่อสู้กันคือกลุ่มของนางเจียงชิง ภริยาหม้ายของ เมา เจอ ตุง กับพวก ที่ชื่อเรียกว่า “แก็งสี่คน” กับกลุ่มของนายหว่าโก๊ะฟง และเติ้งเสี่ยวฝิง
กลุ่มนายหว่าโก๊ะฟงและเติ้งเสี่ยวผิงเป็นฝ่ายมีชัยในการต่อสู้ทางกาเมืองครั้งนี้รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ในยคุ “หว่า-เติ้ง” ได้ใช้นโยบายพัฒนาประเทศที่มีชื่อเรียกว่า “สี่ทันสมัยFour Modernzation” มุ่งพัฒนาด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระบวนการสนับสนุนนโยบายที่ทันสมัยให้บรรลุผล ผุ้นำยุค “หว่า-เติ้ง”ได้ดำนินการปฏิวัติโครงสร้างทางการปกครองของรัฐบาลกลางและองค์การจัดตั้งต่างๆ ของพรรค โดยมีเจตนาลดประมาณข้าราชการและผู้ปฏิบัติงานในระดับสูงลง 1 ใน 3 สร้างระบบเกษรียณอายุเพื่อให้คนรุ่นใหม่ให้ได้ขึ้นมารับช่วงงานาต่อไป ทำการปราบปรามคอรับชั่นอย่งจริงจัง ที่สำคัญได้ประกาศยกเลิกระบบคอมมูน และได้นำระบบสหกร์เข้ามาใช้แทน
ด้านการเมืองต่างประเทศของยุคเปลี่ยนผู้นำจะเป็นไปในแนวความคิดของเติ้งเสี่ยงผิงกล่าวคือดดยภาพรวม จีนคอมมิวนิสต์ ดำเนินนโยบายผูกมิตรกับประเทศที่กำลังพัฒนา แต่ก็ยังรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งนี้เป็ฯผลจากความเชื่อในทฤษฎีสามโลก กล่าวคือ ผู้นำจีนคอมมิวนิสต์มีแนวความคิดว่า ประเทศในโลกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหรอือาจเรียกได้ว่า “สามโลก”
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น