วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

The Iranian Hostage Crisis 1979

       ความรู้สึกบาดหมางของรุสเซียและสหรัฐอเมริกาทำให้การลงนมในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 ล่าช้า สนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศษสตร์ฉบับที่ 1 มีการลงนามที่มอสโคว์ระหว่างประธานาธิบดีนิกสันกับลีโอนิค ไอ. เบรสเนฟ ในปี่ 1972 กำหนดอายุสนธิสัญญา 5 ปี การเตรียมการกำหนดแนวทางข้อตกลงในสนะสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 เริ่มในวันที่ 1974 ระหว่างประธานาธิบดีฟอร์ดกับลีโอนิค ไอ. เบรสเนฟ ที่วลาดิวอสต๊อก รุสเซีย เกิดข้อตกลงวลาติวอสต๊อก 1974 ความบาดหมางระหว่างสหรัฐอเมริกากับรุสเซียเร่มจากประธานาธ่บดีคาร์เตอร์ชูนโยบายสิทธิมนุษยชนและกว่างวิจารณ์รุสเซ๊ยว่ากดขี่ข่มเหงชาวยิวในรุสเซีย รวมถึงมีแนวโน้มที่จะเปิดความสัมพันะทางการทูตอย่งเป็นทางการกับจีนแผ่นดินใหญ่ในอนาคต ทั้งสหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนสร้างจรวดขีปนาวุธเอ็มเอ็ก และจรวดขีปนาวุธเพอร์ชิง 2 ซึ่งล้วนมีประสิทธภาพเหนือกว่าจรวดขีปนาวุธยิงข้ามทวีป ต้านการบุกโจมตีของรุสเซีย สร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่รุสเซีย ขณะเดียวกันรุสเซียจับกุม คุมขัง ทรมานและเนรเทศประชาชนที่ต่อต้านกล่าววิจารณ์โจมตีรัฐบาลรุสเซียรวมถึงยับยั้งปราบปรามชนชาวยิวในรุสเซีย
ที่เรียกร้องอพยพจากรุสเซียสู่โลกเสรี ล้วนเป็นการกดขี่ข่มเหงแระชาชนอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนจริง และรุสเซียจัดส่งคณะนายทหารผู้เชี่ยวชาญด้านวางแผนปฏิบัติการรและการใช้อาวุธมาคิวบาเป็นที่ปรึกษาแก่ฟิเดล คัสโตร เพื่อการวางแผนให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มกบฎโค่นล้มรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศ ละตินอเมริกา ในขณะเดียวกันรุสเซียเร่งคิดค้นพัฒนาอาวุธร้ายแรงชนิดใหม่คือจรวดขีปนาวุธเอสเอส-20 มีประสิทธิภาพทำลายล้างสูงเหนือกว่าจรวดขีปนาวุธข้ามทวีป เช่นกัน สร้างความไม่พอใจแก่สหรัฐอเมริกา อันมีผลทำให้ตัวแทนขงอทั้งสองประเทศที่ร่วมร่างสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 ทำงานได้ไม่คล่องตัว ข้อตกลงไม่เสร็จสมบูรณ์ตามกำหนดในปี 1977 ต้องล่าช้าออกไป อย่างไรก็ตามการลงนามร่วมในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 ปี 1979ระหว่างประธานาธิบดีคาร์เตอร์กับลีโอนิค ไอ. เบรสเนฟ มีขึ้นในปี 1979 ที่กรุงเวียนา ออสเตรีย กำหนดจำกัดจำนวนอาวุธร้ายแรงสี่ประเภทระหว่างกันคือหนึ่งจรวดขีปนาวุธยิงข้ามทวีป ในสัดส่วนสหรัฐอเมริกาต่อรุสเซียคือ 1054 ลูกต่อ 1400 ลูก สองจรวดขีปนาวุธยิงจากเรือดำน้ำในสัดส่วนสหรัฐอเมริกาต่อรุสเซียคือ 656 ลูกต่อ 950 ลูก สามจรวดขีปนาวุธในสัดส่วนขีปนาวุธ ในสัดส่วนสหรัฐอเมริกาต่อรุสเซียคือ 350 ลูกต่อ 150 ลูก และสี่หัวรบนิวเคลียร์ ในสัดส่วนสหรัฐอเมริกาต่อรุสเซียคือ 9200 ลูกต่อ 5000 ลูก ไม่มีการกำหนดจำนวนจรวดขีปนาวุธเอสเอส-20 ของรุสเซีย หรือจำนวนจรวดชีปนาวุธเอ็ม เอ็ม และจำนวนจรวดขีปนาวุธเพอร์ชิง 2  ของสหรัฐอเมริกาในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 ปี 1979 ซึ่งอาวุธร้ายแรงทั้งสมประเภทมีประสิทธิภาพเหนือกว่าอาวุธร้ายแรงสี่ประเภทที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 ปี 1979 อันบ่งชี้ได้ถึงปัญหาและความตึงเครียดระหว่างประเทศทั้งสองในอนาคตรัฐสภายังไม่ทันให้การับรองในนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศษสตร์ฉบับที่ 2 ก็พอดีเกิดเหตุการณ์รุสเซียรุกรานอัฟกานิสถานในเดื่อนธันวาคม 1979
    สหรัฐอเมริกาไม่พอใจที่รุสเซียรุกรามอัฟกานิสถานในเดื่อนธันวาคม 1979 อัฟกานิสถาน เป็นประเทศอยู่ทางตะวันออกสุดของตะวันออกกลาง อัฟกานิสถานทางตอนเหนือติดกับรุสเซีย ทางตะวันตกติดกับอิหร่าน ทางตะวันออกและทางตอนใต้ติดกับปากีสถาน ใรเดื่อนสิงหาคม 1919 อังกฤษปลดปล่อยอัฟกานิสถานจากการเป็นอาณานิคม เพราะภายในอัฟกานิสถานวุ่นวายเร่มกลางศตวรรษที่ 20 และรับความช่วยเหลือจากรุสเซียนำพาให้รุสเซียเข้ารุกรานอัฟกานิสถานใน เดือนธันวาคมปีเดียวกัน ประวัติศาสตร์อัฟกานิสถาน ที่ควรจดจำเริ่มจากกษํตริย์มูฮัมหมัด นาเดียร์ ข่าน ปกครองอัฟกานิสถานระหว่างปี 1929-1933 นำการปฏิรูปในทุกด้าน กษัตริย์นาเดียร์ ข่าน ถูกลอบปลงพระชนม์มีผลให้ลูกชายคือมูฮัมหมัด ซาเฮอ ขึ้นปกครองอัฟกานิสถาน โดยมีมูฮัมหมัด เดา ข่าน เป็ฯนายกรัฐมนตรีอัฟการนิสถานวางตนเป็นกลางในสงครามเย็นและรับความช่วยเหลือทั้งจากรุสเว๊ยและสหรัฐอเมริกา ในปี 1973 เดา ข่าน พร้อมกองกำลังทหารก่อการปฏิวัติโค่นอำนาจกษัตริย์ซาเฮอได้สำเร็จ คณะนายทหารเข้ากุมอำนาจการปกครองและประกาศจัดตั้งประเทศสาธารณรัฐแห่งอัฟกานิสถาน มีเดา ข่าน ดำรงตำแหน่งทั้งนายกรัฐมนตรีและปรธานาธิบดี ในปี 1078 กองกำลังทหารนิยมลัทะคอมมิวนิสต์ก่อการปฏิวัติโค่นอำนาจและฆ่า เดา ข่าน หลังจากนั้นรัฐบาลทหารนำโดยบรรดานายทหารกลุ่มนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ากุมอำนาจทางการเมืองและยอมให้รุสเซียเข้าแทรกแซงในอัฟกานิสถานโดยยอมรับความช่วยเหลือด้านการเงินและอาวุธยุทธโธปกรณ์จากรุสเซีย ชาวอัฟกานิสถานส่วนใหญ่ต่อต้านรัฐบาลทหารเพราะเชื่อว่านโยบายการปกครองของรัฐบาลทหารที่ชื่นชอบในลัทธิคอมมิวนิจสต์ขึดต่อหลักคำสอนในศาสนาอิสลาม และทั้งไม่พอใจรัฐบาลทหาที่ยอมให้รุสเซียเข้ามีอิทธิพลแทรกแซงการเมืองการปกครองของอัฟกานิสถาน ชาวอัฟกานิสถานรวมตัวต่อต้านรัฐบาลทหารภายใต้ชื่อ มูจาฮีดดิน มูจาฮีดดีนปฏิบัติการต่อต้านรัฐบาลทหารด้วยการสู้รบแบบกองโจร
   ธันวาคม 1979 กองกำลังรุสเซียเคลื่อนเข้าอัฟกานิสถานเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า วิกฤติการณ์อัฟกานิสถานปี 1979 โดยรุสเซียอ้างว่าเพราะรัฐบาลทหารอัฟกานิสถานร้องของความช่วยเลหือเพ่อการปราบปรามมูจาฮีดดิน ประธานาธิบดีคาร์เตอร์มองว่ารุสเซีย สั่งเคลื่อนกองกำลังทหารรุสเซียเข้าอัฟกานิสถานเพื่อการเข้าควบคุมและมีอิทธิพลเหนือแหล่งน้ำมันโลกบริเวณอ่าวเปอร์เซีย นับเป็นปฏิบัติการทำลายสันติภาพของโลกครั้งรุนแรงที่สุดนับจากสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 และทั้งเป็ฯการเริ่มต้นการขยายอำนาจของรุสเซียเข้าสู่น่านน้ำและพื้นที่แถบทะเลอาหรับในมหาสมุทรอินเดีย ประธานาธิบดีคาร์เตอร์ตอบโต้วิกฤติการณ์อัฟกานิสถานในปี 1979 ทันที่โดยหนึ่งหยุดการส่งข้าวสาลี และอุปกรณ์เทคโนโลยีชั้นสูงแก่รุสเซีย และทั้งทั้งกล่าวประณามการเคลื่อนกองกำลังรุสเซียเข้าอัฟกานิสถานว่าเป็นการก้าวร้าวรุกอธิปไตยของอัฟกานิสถานและทำลายสันติภาพของโลกครั้งรุนแรงที่สุดนับจากปี
1945 รุสเซียเพิกเฉยคำกล่าวประณามของสหรัฐอเมริกาและคงกองกำลังรุสเซียในอัฟกานิสาน สองประท้วง ไม่ส่งนักกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี 1984 ที่ลอสแอนเจลิส สามเตรียมกำลังพล กำหนดให้เยาวชนอเมริกันทั้งชายและหยิงรายงานตัวขึ้นทะเบียนเพื่อรับการเกณฑ์กำลังพลในอนาคต ถ้าจำเป็นเพื่อปกป้องอ่าวเปอร์เซีย จากการอาจถูกกองกำลังรุสเซียเข้ารุกล้ำ สี่ประธานาธิบดีคาร์เตอร์กล้าพูดว่าประเมินรุสเซียผิดอย่างไม่คาดคิดดมาก่อน และดึงกลับสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 จากการพิจารณาของวุฒิสภาห้า ประธานาธิบดีคาร์เตอร์ประกาศหลักการคาร์เตอร์ปี 1980 กำหนดสหรัฐอเมริกนำเป็นต้องเข้าขัดขวางแรกแซงด้วยกองกำลังอเมริกัน ถ้าจำเป็นด้วยปฏิบัติการที่หนักหน่วงและเฉียบขาด เพื่ปกป้องแหล่งน้ำมัน บริเวณอ่านเปอร์เซียด้วยกลักการคาร์เตอร์ เป็นการบ่งชี้ชัดว่าสหรัฐอเมริกาต้องการให้กองกำลังรุสเซียหยุดอยู่ที่อัฟกานิสถาน และเป้นกาตัดสินใจอย่งเด่นชัดในการนำสหรัฐอมเริกาเข้ายุ่งเกี่ยวในปัญหาอันเนื่องกับน้ำมัน บริเวณอ่าวเปอร์เซีย

        จากการต่อสู้รบระหว่างกองกำลังรุสเวียและกองกำลังรัฐบาลทหารอัฟกานิสถานฝ่ายหนึ่งกับกองกำลังมูจาฮีดดีนอีกฝ่ายหนึ่ง นับจากเดือนธันว่าคม ผลปรากฎว่าชาวอัฟกานิสถานส่วนใหญ่หลบหนีการปะทะเข้าอาศัยบริเวณชายแดนปากีสถานและอิกร่าน กองกำลังรุสเซียเริ่มถ่อยออกจากอัพกานิสถาน และถอนหมดสิ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ในอัฟการนิสถานคงมีสงครมลกางเมืองระหว่างกองกำลังมูจาฮีดดินกับกองกำลังรัฐบาลอัฟกานนิสถาน
      สหรัฐอเมริกามีกรณีพิพาทกับอิหน่าน เกิดวิกฤติการณ์อิหร่านจับคนอเมริกันเป็นตัวประกันหรือวิกฤติการณ์อิหร่าน ปี 1979 เป็นประเทศอยู่ทางตะวันออกกลาง ดินแดนทางเหนือติดทะเลแคสเปียน และรุสเซีย ทางตะวันออกติดอัฟกานิสถานและปากีสถานทางใต้ติดอ่าวเปอร์เซีย ทางตะวันตกติดอิรักและตุรกี ในศตวรรษที่ 19 ชาติตะวันตกที่เข้าแทรกแซงอิหร่านคือรุสเซียและอังกฤษ รุสเซียรุกรานอิหร่านเพราะต้องการขยายดินแดนและหาทางออกสู่อ่าวเปอร์เซีย อังกฟษแทรกแซงอิหร่านต้นศตวรรษที่ 20 เพื่อทำธุรกิจน้ำมัน ในแหล่งน้ำมันในพื้นที่ทางตะวันตกเฉพียงใต้ของอิหร่าน ในสงครามโลกครั้งที่ 1 อิหร่านวางตนเป็นกลาง ในสปี 1925 เรซา ข่าน นายทหารแห่งกองทหารม้านำกองกำลังทหารโค่นอำนาจอษัตรยิ์หรือชาห์ ในราชวงศ์คาชร์ และสถาปนาตนเองเป็นชาห์แห่งราชวงศ์ปาห์ลาวี ชาห์ เรชามุ่งพัฒนาอิหร่านให้ทันกับโลกสมัยใหม่ พร้อทั้งรับการเข้ามาของชาติตะวันตกเพื่มมากขึ้น อิหร่านประกาศวางตนเป็นกลางใสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งอังกฤษต้องการใช้เส้นทางรถไฟอิหร่าน ขนยุทธปัจจัยให้แก่รุสเซีย ชาห์ เรซา ปฏิเสธให้ความร่วมมือเป็นผลให้ในปี 1941 กองกำลังผสมอังกฤษ-รุสเซยบุกเข้า อิหร่าน บังคัยให้ชาห์ เรซา สละราชสมบัติ และให้โมฮัมหมัด เรซา ปาห์เลวียอมลงนามให้อังกฟษและรุสเซียร่วมใช้เส้นทางรถไฟอิหร่านและให้คงกองกำลังทหารของทั้งสองชาติอยู่ในอิหร่านจนกว่าสงครามจะยุติ เพื่อ
ปกป้องธุรกิจนำมันและการขนส่งยุทะปัจจัย แรมีกองกำลังทหารต่างชาติในอิหร่านทำให้ชาวอิหร่านกลุ่มชาตินิยมไม่พอใจเกิดขบวนการชาตินิยม ภายใต้ชื่อเมลิส เรียกร้องยุติอิทธิพลอังกฤษในธุรกิจน้ำมันในอิหร่านสร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่อังกฤษและอังกฤษโต้ตอง โดยหยุดดำเนินธุรกิจน้ำมันในอิหร่านพร้อมทั้งไม่นำน้ำมันอิหร่านออกสู่ตลาดโลกน้ำมันในตลาดโลก จึงไม่สามารถนำนำมัออกสู่ตลาดโลกด้วยตนเอง ดิกร่านต้องเผชิญปัญหาเศรษฐกิจการเงิน กลางปี 1953 ชาห์ เรซา ปาห์เลวีบังคับให้ขบวนการชาตินิยมเมลิสเลิการต่อต้านอังกฤษ ขบวนการชาตินิยมเมลิสจับกุมชาห์ เรซา ปาห์เลวีและบังคับให้ลี้ภัยออกนอกอิหร่านสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประนาะบดีไอเซนฮาวร์ สั่งให้หน่วยสืบราชการลับนอกประเทศ เข้าช่วยชาห์ เรซา ปาห์เวลี กลับขึ้นมีอำนาจอีกครั้งในปี 1953 หลังถูกจับกุมอยู่สามวันและชาห์ เรซา ปากห์เลวีสั่งปราบปรามสมาชิกขวบนการชาตินิยมเมลิสทันที่เมืองกลับมีอำนาจ
  
  ทศวรรษที่ 1960 การปฏิรูปทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองประกฏเด่นชัน ขณะเดียวกันชาวอิหร่านเริ่มการเริ่มการต่อต้านชาห์ เพราะไม่พอใจการปฏิรูป ชาห์ เรซาปาห์เลวีนำการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมภายใต้ชื่อปฏิวัติขาวหรือการเปลี่รยแปลงโดยสิ้นเชิงอย่างรวดเร็ว ได้แก่ปผนปฏิรูปที่ดินดวยการจัดสรรแจกจ่ายที่ดินแก่ชาวนาและเกษตรกร แผนส่งเสริมการศึกษา แผนส่งเสริมสวัสดิการและการให้บริการสังคม แผนให้สิทธิสตรีในการลงคะแนน แผนพัฒนาอตาสหกรรมและส่งเสริมเศรษฐกิจด้วเงิยรายได้ที่เพิ่มขึ้จจากการขายน้ำมัน ชาห์ เราซา ปาห์เลวีกุมอำนาจทางการเมืองปกครองด้วยการจับกุม คุมขัง ทรมาน และเนรเทศผู้ต่อต้านทุกคน ชาห์ เรซา ปาห์เลวีสังจับกุมและเนรเทศอะยาโทลลาห์ รูโฮลลาห์ โดไมนี ผุ้นำศาสนานิกายชีอะ จากอิหร่านต้องเข้าอาศํยในอิรัก 13 ปี อยู่ฝรั่งเศสหนึ่งปี ในเดื่อน กุมภาพันธ์ 1979 เดินทางกลับอิหร่าน ศัตรูของชาห์ เรซา ปาห์เลวีมีสองกลุ่ม ๆ แรกคือ นักศึกษาและนักวิชาการ กลุ่มที่สองคือผู้นำศาสนา กลุ่มนักศึกษาและนักวิชาการรวมตัวต่อต้านวิจารณ์โจมตีด้านการปกครองและเสรษฐกิจ ในประเด็นหนึ่งชาห์ เรซา ปาห์เลวี ปฏิเสธในสิทธิเสรีภาพของชาวอิหร่านกดขี่ข่มเหงลิดรอนสิทธิประชาชนในการแสดงความคิดเห็นด้วยการพูด การเขียน การพิมพ์สองใช้เจ้าหน้าที่ลับซาวัค ปราบปรามบดขยี้กลุ่มต่อต้านซาห์อย่างทารุณโหดเหี้ยม สามรัฐบาลกระทำการทุจริตเอื้อประโยชน์แก่ต่างชาติอันเป็นการทำลายเศรษฐกิจอิหร่าน กลุ่มผู้นำศาสนารมถึงคนอิหน่านผุ้ยึดมั่นในขนบประเพณีดังเดิมหรือพวกคนหัวเก่า ต่อต้านวิจารณ์โจมตีด้านสังคมใน ประเด็นการปฏิรูปสังคมของชาห์เป็นไปอย่างรวดเร็วไปอย่างรวดเร็วให้ทักับโลกภายนอก เช่น เรื่องสิทธิสตรีและการแต่งกายของสตรีล้วนขัดต่อหลักคำสอนในศาสนาอิสบามและขัดต่อประเพณีดีงามของมุสลิม
      ช่วงทศวรรษ คนอิหร่านต่อต้านชาห์ เรซา ปาห์เลวี ทีความรุนแรง เริ่มโดยสหรัฐอเมริกาเพิ่มการสั่งซื้อนำมันจากอิหร่านเพื่อขจัดปัญหาวิกฤติพลังงานปี 1973 ขณะเดียวกันชาห์ เรซา ปาห์เลวี เพิ่มการสั่งซื้ออาวุธที่ประสิทธิภาพสู
เพื่อการปราบปรามกลุ่มต่อต้านชาห์ที่เพ่มจำนวนขึ้นและคิดโค่นอำนาจชาห์ ปาห์เลวี ทั้งสหรัฐอเมริกาเองก็ยินดีขายอาวุธแก่อิหร่านในราคามิตภาพที่สุดเพื่อรักษาเสถียรภาพความมั่นคงของธุรกิจน้ำมันอเมริกันในอ่าวเปอร์เซีย มีการบัญญัติศัพท์เฉพาะในธุรกิจขายน้ำมันเพื่อซื่ออาวุธหรือขายอาธเพื่อซื้อนำมัน ว่าปิโครดอลล่าร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงปี 1972-1979 มีการซื้อขายน้ำมันและอาวุธระหว่างกันมีมุลค่าถึง ยี่สิบพันล้านดอลล่าร์ และประธานาธิบดีคาร์เตอร์เดินทางเยือนอิหร่านเพื่อกระชับความสัมพันะห้แน่นแฟ้นในปี 1977 การปฏิบัติการของกลุ่มต่อต้านชาห์ นับจากปี 1960 ได้รับการสั่งการมาโดยตลอดจาอะยาโทลลาห์รูโฮลลาห์ โคไมนี ทั้งขณะอยู่ใอหร่าย ถูกเนรเทศต้องเข้าอาศัยในอิรักและฝรั่งเศส กลุ่มต่อต้านชาห์ กล่าวโจมตีและวิจารณ์ชาห์ทั้งสร้างความโกลาหลวุ่นวายในอิหร่านด้วยการเดินขบวน นัดหยุดงาน ทำลายทรัพย์สินทางราชการ ทำร้ายร่างกาย ฆ่าและทำลายทรัพย์สินกลุ่มผู้สนับสนุนชาห์มีการปล้นสดมภสร้างความเดื่อร้อนอย่างมากแก่ประชาชนโดยเจ้าหน้าที่ไม่อาจเข้าช่วยเหลือได้ อิหร่านขาดวินัยในการปกครองและเศรษฐกิจหยุดชะงัก ด้วยสภาพดังกล่าวสร้างแรงบีบคั้นอย่างมากแก่ชาห์ เรซา ปาห์เลวี เป็นผลให้ในวันที่ 16 มกราคม ชาห์ เรชา ปาห์เลวีตัดสินใจลั้ภัยการเมืองจากอิหร่าน ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 1979 โคไม่นีจากฝรั่งเศสเดินทางกลับอิหร่าน ประกาศจัดตั้งประเทศสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน และใช้คำสอนในศาสนาอิสลามเป็นหลักในการปกครองประเทศ
      ท่าทีประธานาธิบดีคาร์เตอร์ต่อวิกฤติการณ์อิหร่านจับคนอเมริกันเป็นตัวประกัน 1979 ประการแรกคือ ปฏิเสธการส่งตัวชาห์แห่งอิหร่านให้แก่รัฐบาลอิหร่าน ภายใต้การนำของโคไมนี สองสั่งตัดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจด้วยการหยุดขายและส่งอาวุธตลอดจนความช่วยเหลือใด ๆ แก่อิหร่าน สามสั่งควบคุมเงินและของมีค่าของชาวอิหร่านที่นำฝากในธนาคารอเมริกัน สี่จัดส่งนักเรียนนักศึกษาอิหร่านที่ศึกษาในสหรัฐอเมริกากลับอิหร่าน ห้าสหรัฐอเมริกและมวลประเทศสมาชิกโลกเสรีร่วมกันประณามการกระทำของอิหร่าน ว่าละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและเรียกร้องให้รัฐบาลอิหร่านปล่อยตัวประกันอเมริกันทั้ง 52 คน หก ประธานาธิบดีคาร์เตอร์สั่งกองทัพเรื่ออเมริกันประจำน่านน้ำมหาสมุทรอินเดียเตรียมพร้อมปฏิบัติการ เพื่อเป็นการแสดงสัญญาณเตือนรัฐบาลอิหร่านถึงความพร้อมปฏิบัติการของกองกลังอเมริกันถ้าจำเป็น เจ็ดประธานาธิบดีคาร์เตอร์ประกาศหลัการคาร์เตอร์ปี 1980 กำหนดสหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องเข้าขัดขวางแทรกแซงด้วยกองกำลังอเมริกันถ้าจำเป็นก้วยการปฏิบัติการที่หนักหน่วงและเฉียบขาดเพื่อปกป้องแหล่งน้ำมัน บริเวณอ่าวเปอร์เซีย ประธานาธิบดีคาร์เตอร์มุ่งใช้หลักการคาร์เตอร์ ปี 1980 กับทั้งอิหร่านและรุสเซีย รวมถึงกระตุ้นคนอเมริกันให้รับรู้ถ้าจำเป็นต้องการเกณฑ์ทหารเพื่อการปราบปราม และท้งเป็นการตัดสินใจอย่างเด่นชัดในการนำสหรัฐอเมริกาเข้ายุ่งเกี่ยวในปัญหาอันเดี่ยวเหนื่องกับน้ำมันบริเวณอ่านเปอร์เซีย แปด ประธานาธิบดีคาร์เตอร์ประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิหร่านในเดือนเมษายนปี 1980 และเก้าประธานาธิบดีคาร์เตอร์สั่งชิงตัวประกันอเมริกันด้วยปฏิบัติการเฮลิคอบเตอร์แปดลำ ผลการปฏิบัติการล้มเหลวรัฐบาลอิหร่านภายใต้การนำของโคไมนียึดตัวประกันอเมริกันที่ 52 คนไว้เพื่อใช้เป็นโล่ป้องกันมาตรการการโจมตีใดๆ ที่สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีคาร์เตอร์อาจจะกระทำต่ออิหร่าน อย่างไรก็ตามตัวประกันทั้ง 52 คนได้รับการปล่อยตัวในปี 1981 ในวันพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของโรแนล ดับเบิลยู เรแกน รวมเวลาการกักขังตัวประกันชาวอเมริกัน 444 วัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...