การเลื่อกตั้งในปี 1980 พรรครรีพับลิกันส่งโรนัล เรแกน ได้รับเลือกในตำแหน่งประธานาธิบดี และจอห์น เอ็ช.ดับเบิลยู.บุช George Herbert Walker Bush ได้รับเลือกใรตำแหน่างรองประธานาธิบดี โรนัล เริแกน กล่าววิจร์ผลงานภายในประเทศของประธานาธิบดีคาร์เตอร์ว่าไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ คือภาวะเงินฟ้อยังสูงและอัตราคนว่างงานสุง โรนัล เรแกน เสนอแนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจคือลดการเก็บภาษีรายได้คนอเมริกัน ลดการใข้จ่ายเงินที่ไม่จำเป็นของรัฐบาลกลางอันรวมถึงหยุดการรับเจ้าหน้าที่ใหม่ในหน่วยงานของรัฐ สร้างความสมดุลย์ในงบประมาณรายรับรายจ่าย ลดการแทรกแซงของรัฐบาลกลางในธุรกิจ มอบงานสวัสดิการให้อยู่ภายใต้การดำเนินการของรัฐบาลมลรัฐและรัฐบาลท้องถิ่น ลดค่าจ้างแรงงานต่ำสุดลงอีกเพื่อลดอัตรคนว่างงานลงและสร้างงานที่จำเป็นเพิ่ม และทั้งจะปฏิรูปการทำงานของกระทรวงพลังงานและกระทรวงศึกษาธิการ โรนับ เรแกนกล่าววิจารณ์ผลงานต่างประเทศของประธานาธิบดีคาร์เตอร์ว่าทำให้สหรัฐอเมริกาแสนยานุภาพด้านกองกำลังและอาวุธด้อยกว่ารุสเซียและทั้งลดบทบาทสหรัฐอเมริกาในเวที่การเมืองโลก โดยอิหร่านกล้าจับคนอเมริกันในสถานทูตอเมริกันที่กรุงเตหะรานในอิหร่างเป็นตัวประกันในวันที่ 4 พฤศจิกายน 1979 และรุสเซียกล้ารุกรานอัฟกานิสถานในวันที่ 27 ธัมวาคม 1979 โรนัล เรแกนเสอนแนวทางแก้ไขคือ จะเพิ่มงบประมาณด้านการทหารเพื่อเสริมสร้างกองกำลังและอาวุธของสหรัฐอเมริกาให้แข็งแกร่งประสิทธิภาพสูง จะยืนหยัดต่อต้านรุสเซยและอิหร่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะดำเนินการให้อิหร่านปลดปล่อย 52 ตัวประกันอเมริกันให้เร็วที่สุดและจะนำสหรัฐอเมริกาก้าวสู่การเป็นชาติผู้นำในเวทีการเมืองโลก พรรคเดโมเครติกส่งประธานาธิบดี เจมส์ อี. คาร์เตอร์ รับเลือกในตำแหน่างประธานาธิบดีอีกหนึ่งสมัย และวอลเตอร์ เอฟ.มอนเดล รับเลือกในตำแหน่งรองประธานาธิบดีเช่นกัน คะแนนนิยมที่คนอเมริกันจะให้แก่พรรคเดโมเครตลดลงอย่างมาก ประนาธิบดีคาร์เตอร์ล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และไม่สามารถปลดปล่อย 52 ตัวประกันอเมริกันได้ ผลการนับคะแนนโรนัล เรแกนได้ชัยชนะ 489 คะแนนเสียงจากคณะผู้เลือกประธานาธิบดี ประธานาธิบดีคาร์เตอร์ได้เพียง 49 คะแนนเสียงจากคณะผู้เลือกประธานาธิบดี อันหมายความว่าในวันที่ 20 มกราคม 1981 โรนับ เรแกนจะเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาลำดับที่ 40
ปัญญาชนต่างกังขาเกี่ยวกับความสามารถในการเป็นผู้นำของเขาเนืองจากเขาเขาไม่มีความเฉลียวฉลาดเท่าใดนัก ขณะเดียวกันนายเรแกนก็มีรูปแบบการทำงานแตกต่างจากประธานาธิบดีคนก่อน ๆ เป็นอย่างมากโดยคนก่อน ๆ ต้องประชุมอย่างเคร่งครัดกันทั้งวันเพื่อหารือในเรื่องปวดหัวต่างๆ มากมาย แต่นายเรแกนกลับทำงานเปรียบเสมือนกับเป็นปรธานกรรมการบริษัท โดยมอบอำนาจให้บรรดาซีอีโอของบริษทัทไปดำเนินการแทนตนเอง
เขาทำงานแบบสบาย ๆ แบบ 9 โมง-5 โมงเย็น ทั้งนี้ นอกจากนอนเต็มอิ่มในเวลากลางคืนแล้วในเวลาบ่ายก็งีบหลับด้วยตามแต่โอกาสจะอำนวย ปล่อยให้ลูกน้องดำเนินการอย่างค่อนข้างอิสระ ดังนั้นภาพลักษณ์การเป็นผู้นำประเทศที่ทำงานหนักและยากลำบากจึงไม่ปรากฎให้เห็น แต่กลับดูเสมือนเป็นเรื่องง่าย ๆ สบาย ๆ และสนุกสนานด้วยซ้ำเดิมทิสทางการดำเนินนดยลายเศรษฐกิจของรัฐบาลประเทศต่างๆ จะเน้นดำเนินการเก็บภาษีมาก ๆ เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ โดยมีปรัชญาในการบริการรัฐกิจ คือยิ่งรัฐเก็บภาษีและนำมาใช้จ่ายมากเท่าไร เศรษฐกิกจของประเทศก็ยิ่งพัฒนารวดเร็วเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อภาษีมีอัตราสูง ขณะเดียวกันรัฐบาลใช้จ่ายเงินในด้านสวัสดิการสังคมจำนวนมาก ประชาชนก็มีแรงจูงใจในการประกอบอาชีพลอน้อยลง ต่างหันมาแบมือของเงินจากรัฐบาล
สำหรับทิศทางใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจสหรัฐฯได้รับการกล่าวขานกันว่า “เรแกนโนมิกส์”โดยเป็นการรวม 2 คำเข้าด้วยกัน คือ “เรแกน”และอีโคโนมิกส์ ซึ่งมีความหมายวา “เศรษฐศาสตร์” โดยเปลี่ยนจากนโยบายแบบที่เน้นด้าน “อุปสงค์”กล่าวคื อการเก็บภาษีและการใช้จ่ายงบประมาณมาก ๆ ก็เปลี่ยนมาเน้นในด้าน “อุปทาน”หรือที่เรียกว่า โดยพยายามกระตุ้นให้ภาคธุรกิจเพิ่มความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นมีมาตรการต่าง ๆ เช่น ลดอัตรภาษีอากรลง ฯ ขณะเดียวกันเมื่อมีอุปทานมากขึ้นสินค้าและบิรการก็จะมีราคาถูกลง ส่งผลดีทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง
สาระสำคัญอีกประการหนึ่งของนโยบายเศรษฐกิจ คือ ลดบทบาทของรัฐบาลลงโดยนายเรแกนได้กล่าวอุปมาอุปไมยว่าประชาชนเปรียบเสมือนกับคนขับ ขณะที่รัฐบาลเปรียบเสมือนกับเป็นรถยนต์เท่านั้น ประชาชนเป็นผู้ขับหรือสั่งการให้รัฐบาลดำเนินการไม่ใช่รัฐบาลเป็นผู้สั่งให้ประชาชนดำเนินการเป็นผู้ชับหรือสั่งการให้รัฐบาลดำเนินการไม่ใช่รัฐบาลเป็นผู้สั่งให้ประชานดำเนินการ
ในระยะแรกเศรษฐศาสตร์ของ เร แกน ได้รับการวิพากวิจารณ์มาก โดย จอร์จ บุช จูเนียร์ ซึ่งกำลังแย่งชิงเพื่อเป็นตัวแทนพรรครีพลับลิกันในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ได้กล่วถากถางว่าเป็น “นโยบายเศรษฐศาสตร์ของพ่อมดหมดผี”
เมื่อนายเรแกนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในช่วงแรกเศรษฐกิจสหรัฐฯยิ่งตกต่ำลงไปอีก คนตกงานจำนวนมาก จึงมีการเรียกขานสถานการณ์ช่วงนั้นว่า “ภาวะเศรษฐกิจถอถอยของเรแกน” ดดยเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้นแทนที่จะเป็นผลเสียกลับเป็นผลดี กล่าวคือ สามารถแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อที่เดิมสูง เมื่อเขารับตำแหน่งให้ลดลงเหลือเพียงแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ จากนั้น เศรษฐกิจสหรัฐฯก็เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือโดยได้เติบโตในอัตราสูงมาก ทำให้คะแนนนิยมของนายเรแกนพุ่งสูงขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน
เมื่อประเมินนโยบายเรแกนโนมิกส์จะพบว่าประสบผลสำเร็จคอ่นข้างมาก โดยทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯที่อยู่ในภาวะตำต่ำกลับมาเข้มแข็งอีกครั้งหนึ่งมีการสร้างงานเป็นจำนวนมาก แม้ในช่วงนั้นจะมีนักเศรษฐกศาสตร์จำนวนมากตั้งข้อกังขาว่านโยบายเศษรฐกิจซึ่งเน้นตลาดเสรีของสหรัฐฯอเมริกาเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องหรือไม่ เนื่องจากสินค้าญี่ปุ่นตีตลาดสหรัฐฯอเมริกา ส่งงผลให้บริษัทสหรัฐฯเป็นจำนวนมากย่ำแย่ ขณะที่นักลงทุนญี่ปุ่นเข้าไปกว้านซื้อกิจการในสหรัฐฯ ซึ่งรัฐบาลเรแกนได้พยายามต่อต้านกระแสเรียกร้องให้คุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ ซึ่งปัจจุบันกาลเวลาก็พิสูจน์แล้วว่าเป็นทิศทางที่ถุกต้อง เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯใช้วิกฤตการณ์ในครั้งนั้นมาเป็นโอกาส มีการปรับโครงสร้างการดำเนินการเพื่อเพเมความสามารถในการแข่งขัน ทำให้สหรัฐฯแข็งแกร่งขึ้นมาอีกครั้งในเวลาต่อมา…
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น