นักคิดในสมัยโบราณให้ความสนใจอย่างมากเกี่ยกับเรื่องของการเปลี่ยนแปลง เป้นที่ประจักษ์แล้วว่า ในเวลาที่หมุนเวียนไป ทุกสิ่งในโลกจะมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอแนวควาคิดของนักปรัชญาโบราณพยายามที่จะศึกษาถึงความจริงข้อนี้ โดยกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นกับทุกสิ่ง
ในปัจจุบันไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ทุกสิ่งในโลกย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีสภาพมั่นคง ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา สังคมและวัฒนธรรมก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน ไม่มีสงคมและวัฒนธรรมใดหยุดอยู่กับที่่โดยแท้จริงตลอดเวลา มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอ อันเป็นลักษณะธรรมดาของสังคมมนุษย์
การเปลี่ยนแปลงจะเกี่ยวข้องหรือขึ้นอยู่กับเวลาเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเวลาในรูปใด แม้แต่เวลาที่นับการครบรอบเหตุการ์หนึ่ง เช่นฤดูกาล ลักษณะหรือสถานภาพของสิ่งนั้นจะแตกต่างไปจากเดิมที่เป็นอยู่ โดยอาศัยองค์ประกอบด้านเวลาเป็นหลัก ในสังคมมีเหตุการร์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่สองอย่างคือ การเกิดและการตาย แต่กระบวนการตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องกันโดยอาศัยเวลาเป็นเครื่องกำหนด
อนิจจลักษณะ คือ เครื่องกำหนดขันธ์ 5 ทั้งหมดซึ่งเป็นตัวอนิจจัง อนิจจัง หมายถึง ขันธ์ 5 ทั้งหมด เป็นปรมัตถ์ เป็นสภาวะธรรม มีอยู่จริง และเป็นชื่อหนึ่งของขันธ์ 5
อนิจจลักษณะทำให้เราทราบได้ว่ขชันธ์ 5 เป็นของไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน ซึ่งได้แก่ อาการความเปลี่ยนแปลง
บางตอนจาก วิสุทธิมรรค
ก็ลักษณะทั้งหลายยอมไม่ปรากฎ เพราะอะไรปิดบังไว้ เหตุไม่มนสิการถึงอะไร.. อับดับแรก อนิจจลักษณะไม่ปรากฎ เพราะถูกสัตติปิดบังไว้เหตุไม่มนสิการถึงความเกิดขึ้น และความเสื่อไป ทุกขงักษณไม่ปรากฏเพราะถูกอิริยาลปิดบังไว้ เหตุไม่มนสิการถึงความถูกบีบคั้นอยู่เนืองๆ อนัตตลักาณะไม่ปรากฏเพราะถูกฆนะ(กลุ่มก้อน) ปิดบังไว้ เหตุไม่มนสิการถึงความแยกจากกันไ้ดแห่งธาตุต่าง ๆ ต่อเมือสันตติถูกทำให้ยกเลิกไป เพราะกำหนดจากความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปได้ อนจจลักษณะจึงปรากฎตามสภาพที่เป็นจริงได้ เมื่ออิริยาบทถูกเพิกเพราะมนสิการถึงความถูกบีบคั้นอยู่เนืองๆ ทุกขลักษณะจึงปรากฎตามสภาพที่เป็นจริงได้ เมื่อทำฆนวินิพโภค(ย่อมก้อนออก) ได้เพราะปยกธาตุต่างๆ ออกอนัตตลักษณะจึงปรากฎจึงปรากฎตามสภาพที่เป็นจริง....
สังคมวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ของสังคม และในสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบความสัมพันธ์ของบุคคล ที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเป็ฯพวกเดียวกัน และการเปลี่ยนแปลงประเภทที่กล่าวนี้ เกิดขึ้นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงในกรอบกำหนดขอบเขตสิทธิและหน้าที่ ที่บุคคลจะปฏิบัติต่อกันได้จากที่เคยกำหนดกันอยู่ก่อน
สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอทั้งในระดับ จุลภาค และระดับ มหาภาคจากหนังสือ "ฝูงชนผุ้เปล่าเปลี่ยว" ของศาสตราจารย์ เดวิด ริสแมน ซึ่งเขียนร่วมกับ นาทาร์น แกลเซอร์ และ โรลแนล เดนนี่ได้บรรยายถึงการเปลี่ยนแปลงอุปนิสัยหรือลักษณะนิสัยหรือลักษณะประจำาติของชาวอเมริกัน ดดยถือว่ามีส่วนสัมพันธ์กับสภาวะทางประชากรศาสตร์ ตามทัศนะของศาสตราจารย์ริสแมน สังคมที่ภวะเกี่ยวกับประชากรสามประเภทคือ มีการขยายตัวมาก ประชากรขยังขึ้นสูงระยะหนึ่ง และเริ่มทีอัตราการเพิ่มขยายตัวลดน้อยลง
สังคมสามยุค ได้แก่ สังคมประเพณีนำ เกิดขึ้นในช่วงที่ประชากกรมีโอกาสขยายตัวมาก, สังคมสำนึกนำ สังคมประเภทนี้มีประชากรซึ่งขยับตัวสูงขึ้นระยะหนึ่ง และยึดถือหลักการเป้นแนวทางแห่งชีวิตมีขึ้นในยุโรปพร้อมกับการฝื้นูทางวัฒนธรรม(เรอแนสซอง)การปกิรูปทางศาสนา การขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม ความเจริญทางเทคโนโลยี การมีสินค้าและตลาดมากยิ่งข้ึน การสำรวจการแสวงหาหาอาณานิคม และการใช้ระบบจักรวรรดินิยมมากยิ่งขึ้น, สังคมผู้นำ
กลไกที่ควบคุมพฤติกรรมในสังคมประเภทต่างๆ ในระบบ "ประเพณีนำ" หรือ "ธรรมเนียมบัญชา" กลไกที่ควบคุมให้คนในสังคมอยู่ในกรอบ ได้แก่ ความรู้สึก "ละอาย" ต่อผุ้ใหญ่ ต่อวงศาคณาญาติ หรือต่อบรรพบุรุษ ในระบบ "สำนึกนำ" หามีการทำผิดจุดประสงค์หรือหลักการที่วางไว้ จะเกิดความรู้สึกทำนอง หิริ โอตตับปะ หรือมีความ "รู้สึกผิด" หรือสำนึกผิด ความสำนึกผิดเป็นความรู้สึกซึ่งประทุอยู่ในจิตใจ ทั้ง ๆ ที่ผู้อื่นอาจมองไม่เห็นหรือไม่ทราบเลย ผุ้มี "สำนึกนำ" หรือ "ผุ้ร่วมสมัยนำ" กลไกที่บังคับให้ทำตามผู้อื่นอยู่เสมอ คือ ความกระวนกระวายใจ โดยคอนึกกังวลว่าจะล้าสมัย และเกรงว่าจะถูกเยาะเย้ยว่าเชยเป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม วัฒนะรรมมีลักษณะที่ไม่อยู่นิ่ง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมหากเป็นไปอย่างช้าๆ เรียกว่า สตาติค ถ้าเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เรียกว่า ไดดามิค การเปลี่ยนแปลในด้านนี้ เช่น ภาษา มารมีการคิดค้นคำใหม่ๆ การเปลี่ยนแปลงแนวความคิด กฎเกณฑ์ ศีลธรรม จรรยา รูปแบบของดนตรี ศิลป ความเสมอภาคของชายและหญิง ...
การเปลียนแปลงทางวัฒนธรรม ขึ้นอยู่กับการเลือกปฏิบัติของคนในสังคม ความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมในอุดคติ และที่ปกิบัติกันจริง ๆ ย่อมปรากฎให้เห็นได้ชัดในกาเลือปฏิบัติของคนในสังคม แต่โดยที่การปฏิบัติจริงกลับมีแนวโน้มที่จะรับเอาวัตถุนิยมหรือเพ่งเล็งค่านิยมในทางเศรษษฐกิจมากว่า เมื่อการปฏิบัติของคนในสังคม แต่โดยที่การปฏิบัติจริงกลับมีแนวโน้มที่จะรับเอาวัตถุนิยมหรือเพ่งเล็งค่านิยมในทางเศรษฐกิจมากว่า เมื่อการปฏิบัติมีแนวโน้มที่แยกออกจาด้านอุดมคติมากขึ้น วัฒนธรรมยิ่งเปลี่ยนแปลงมากขึ้นไปอีก ทั้งนี้เพราะ การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ หรือทางอุดมคติ แม้จะเป็นเรื่องที่เห็นได้ยากแต่ก็มีผลลึกซึ้งต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมมากเพราะเมื่อใดก็ตามที่ความคิดของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป เมื่อนั้นย่อมมีการเปลี่ยนแปลงในด้านพฟติกรรม ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เนื่องจากวัฒนธรรมที่แท้จริงนั้นเป็นการเลือกปฏิบัติของคนในสังคม
วัฒนธรรมย่อมไม่อยู่คงที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ ถ้ายังยึดมั่นอยู่ในสิ่งเดิมโดยไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ก็จะไม่มีความสามารถในการริเริ่มสร้างความก้าวหน้าให้แก่วัฒนธรรม เพราะสิ่งใดถ้าอยู่คงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงนานมากเกินไป สิ่งนั้นจะรัดตัวแข็.กระด้าง และเข้าไม่ได้กับเหตุการณ์ปรือสิ่งแวดล้อมใหม่ ก็จะสลายตัวลงถ้าต้านทานเหตุการณ์ใหม่ไม่อยู่ การเปลี่ยนแปลงนี้เองที่ทำให้วัฒนธรรมในสังคมนั้นยังคงมีอยุ่ได้ แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงนั้นทำไปโดยรวดเร็วก็จะเปลี่ยนบุคลิกลักษณะของวัฒนธรรมนั้น หมดเอกลักษณ์ของตัวเอง การมีวัฒนธรรมจะมีความเจริญงอกงามได้ ก็ต้องมีหลักในการเปลี่ยนแปลง คือ ต้องมีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างสม่ำเสมอ แต่ในขณะเดียวกันก็จะต้องมีเสถียรภาพอยู่ด้วย ไม่เช่นนั้นความเจริญก้าวหน้าของวัฒนธรรมก็จะมีขึ้นไม่ได้ การเปล่ียนแปลงใดๆ ก็ตามในวัฒนธรรม จึงควรยึดหลักของขงจื้อที่ว่า "สิ่งเก่าไม่ใช่จะดีเสมอไป และสิ่งใหม่ก็ไม่ใใช่ว่าจะไใ่ดีเสมอไป ผู้มีปรีชาญาณย่อมรู้จักเลือเฟ้นเมื่อได้ทดลองชิมดูแล้ว"
การต่อต้านและการยอมรับการเปลี่ยนแปลงสังคม วัฒนธรรมใหม่ไม่ใช่ว่าจะได้รับการยอมรับจากสังคมเสมอไป กระบวนการการยอมรับสิ่งใหม่ ๆ บางครั้งสิ่งนั้นจะถุกยอมรับทั้งหมด และบางอย่างอาจต้องใช้เวลาในการยอมรับบางอย่างอาจถูกปฏิเสธไปเลย และบางอย่างอาจยอมรับเพียงบางส่วน การยอมับสิ่งใหม่ไม่ได้เป็นไปโดยอัตโนมัติจะต้องมีการเลือกสรร ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละสังคม
วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557
วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
In my mind
ทรรศนะทางพุทธปรชญาเถรวาท สรุปธรรมชาติของจิตดังนี้
- ภาวะเดิมของจิตผ่องใน แต่เศร้าหมองเพราะกิเลสต่าง ๆ
- ภาวะของจิตขณะที่รับอารมณ์ไม่คงที่ เปลี่ยนอารมณ์อยู่เสมอ
- จิตไม่มีรูปร่าง การเกิดของจิตเป็นที่ละขณะเมื่อถึงคราวดับก็ดับไปที่ละขณะ จิตสามารถรับอารมณ์แม้จะอยู่ในที่ไกล อาศัยอยุ่ในเรื่อนกายมนุษย์และสัตว์
ความหมายของจิต สิ่งที่วิจิตรทั้งหลายในโลก เกิดขึ้นเพราะอาศัยจิตต้นคิด ตัวจิตเองเป็นธรรมชาติอันวิจิตรรวมอยุ่ด้วย ภูมิ อารมณ์ ทั้งที่เลว ประณีต และปานกลาง มีวิบาก(กรรมและกิเลสที่เก็บสังสมไว้ )พฤติกรรมต่างๆ ซึ่งเก็บสังสมไว้คือสันดานของตนและเกิดขึ้นเป็นวิถีจิต จิตนั้นรับอารมณ์มากมายไม่มีที่สิ้นสุด จิตจะเว้นจากอารมณ์ไม่ได้
ลักษณะของจิตแบ่งออกเป็น
- จิตเป็นสภาพธรรมที่รุ้แจ้งอารมณ์
- จิตสั่งสมสันดานของตนด้วยการเสพอารมณ์
- จิตเป็นสภาพธรรมอันประกอบด้วยกิเลสสั่งสมวิบากผล
- จิตทุกดวงเป็นธรรมชาติวิจิตร
หน้าที่ของจิต
- ทำหน้าที่สืบต่อภพ จากอดีตภพเรียกว่ ปฏิสนธิจิต(เกิด)
- ทำหน้าทีรักษาภพของบุคคล เช่น เกิดปฏิสนธิจิตมาด้วจิตใดก็ไห้จิตนั้นเป็นไปตลอดชีวิตในภพหนึ่ง เรียกว่า ภวังคจิต
- ทำหน้าท่ีพิจารณาอารมณ์จากทวารทั้ง 6 เรียกว่า
- ทำหน้าที่เห็นรูป
- ทำหน้าที่ได้ยินเสียง
- ทำหน้าที่ดมกลิ่น
- ทำหน้าที่ลิ้มรส
- ทำหน้าที่สัมผัสทางกาย
- ทำหน้าที่รับอารมณ์ทั้ง 6
- จิตที่ทำหน้าที่ตรจสอบอารมณ์ทั้ง 6
- ทำหน้าที่ตัดสินอารมณ์
- ทำหน้าที่เสพอารมณ์
- ทำหน้าที่ยึดหน่วงอารมณ์
- ทำหน้าที่เคลื่อนจากภพ จากปัจจุบัน จุติจิต
จากลัดษณะหน้าที่ของจิต โดยปกติจิตจะอยู่ภายใน10 ฐาน แต่จะกล่าวเพียง 3 ฐาน คือ ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิต ทั้ง 3 ฐานเป็นจิตที่พ้นวิถีจิตที่ทำหน้าที่ไม่รับอารมณ์จากภายนอก ซึ่งมีปฏิสนธิ ภวัคจิต และจุติจิต จะมีหน้าที่เกี่ยวสัมพันธ์กันหรือทำงานร่วมกันกับภวัคจิตในการสืบต่อดังนี้
ปฏิสนธิจิต เป็นจิตที่ทำหน้าที่สืบต่อภพมีอยู่ 1 ฐาน คือปฏิสนธิจิตจะอยู่ระหว่างจุติจิต(ดับ)กับภวังคจิตผเก็บสั่งสมกรรมเก่า)
ภวังคจิต เป็นจิตที่ทำหน้าที่รักษาภพการเกิดในภพปัจจุบันหรือภพใหม่ ของบุคคลให้เป็นไปโดยำม่ให้เป็นอย่างอื่น
จุติจิตเป็นจิตที่ทำหน้าที่เคลื่อนจากภพหรือการดับของจิตมีอยู่ฐานคือ
ระหว่างเสพอารมณ์กับสืบต่อภพใหม่, ระหว่างรับอารมณ์ต่อจากชวนจิตกับสือต่อภพใหม่และระหว่างรักษาภพชาติกับสืบต่อภพใหม่
ภวังคจิต คือจิตขณะหนึ่งในจำนวน 17 ขณะที่จัดเป็นปกติจิตหรือปกติมโนธรรมชาติเป็นอัพยากฟต คือไม่เป้นบุญไม่เป็นบาป หรือไม่เป็นผลของอะไร แต่มีบทบาทสำคัญในฐานะเป้นองค์ของธรรมชาติหรือเป้นที่เก็บสังสมนิสัยสันดาน
ภวังคจิตแม้จะเกิดติดต่อนับไม่ถ้วย แต่ขณะที่จิตรับอารมณ์มีภวังคจิตเกิดขึ้นเพียง 2 ขณะ(ดวง)เท่านั้น คือ ขณะก่อนรับอารมณ์และขณะที่รับอารมณ์เสร็จแล้ว และมีอีนัยหนึ่งคือ มนะ(ใจปภายในมดนทวาร)
ภวังคจิต คือจิตที่ทำหน้าที่รักษาองค์ของภพ หมายถึง รักษากรรมวิบากของรูปนามสืบต่อจากปติสนธิวิบากจิต และปฏิสนธิกรรมรูปให้ดำรงอยู่ในภพนั้น ๆตราบเท่าอำนาจของกรรมที่ทำให้เกิด จะส่งผลให้เป็นไปเท่าอายุสังขารที่ดำรง
อยู่ได้ ..
บ่อเกิด
ภวังคจิตจะเก็บสั่งสมอารมณ์ หรือเจตนาของอารมณ์ไว้และสืบต่อสู่วิถีจิต ทวารทั้ง 6 คือวิถีจิตรับอารมณ์แล้วภวังคจิตซึ่งเหมือนคลังพัสดุจะเก็บอารมณ์ต่าง ๆ ไว้ที่ผ่านช่องทวารทั้ง 6 แดนภวังคจิตนี้เป็นจิตที่นอนนิ่งอยุ่ในบ้านของตนที่เป็นศูนย์กลางรับผลการกระทำของวิถีจิต จะไม่ข้ึนสุ่วิถีจิตรับอารมณ์ภายนอกใดๆ ทั้งสิ้นเพราะมีกำลังอ่อนแต่จะเกิดดับรับอารมณ์อยู่ภายในอย่างปกติ
ภวังคจิตที่อยู่ในแดนมโนทวาร คือ ภวังคจิตขึ้นสู่วิถีจิต แต่ยังไม่ได้ออกมารับอารมณ์ภายนอก(วิถีจิต)ซึ่งจะมารับอารมณ์ภายในแดนมโนทวาร ธรรมารมณ์ อาการเย่างนี้จะเกิดมโนภาพและจิตนาการต่างๆที่ภวังคจิตเก็บสั่งสมไว้ในนโมทวาร ภวังคจิตที่ทำให้บุคคลเกิดความคิดคำนึงถึงอดีต หรือคิดนึกอย่างลึกซึ้งในอนาคต และเกิดความคิดนึกในขณะทำสมาธิ เป็นต้นหรือมีพฤติกรรมแสดงออกในชีวิตประจำวัน
ภวังคจิตที่ตื่นจากภวังค์ออกมาแสดงพหติกรรทมี่ภวังคจิตเก็บสั่งสมไว้จากทางทวารทั้ง 5 คือ ตา หู จมุก ลิ้น กาย เมือ่ภวังคิตมีกำลังมากหรือมีเตนามากก็จะแสดงพฟติกรรมออกจากทวารทั้ง 5 ภวังคจิตจะอยู่ในภาวะตื่นเต็มที่ เรียกว่า วิถีจิตทำให้ไม่รู้สึกตัวในการแสดงพฤติกรรมอะไรไปตามที่ภวังคจิตได้เก็บสั่งสมไว้ภายในที่จะพบมี 4 ประเด็น คือ ช่วงรอยต่อก่อนหลับ, ช่วงรอยต่อก่อนตื่น, ระหว่างเข้าถึงอัปปนาสมาธิ, เวลาหลับสนิทไม่ฝัน ลักษณะทั้ง 4 อย่างเป็นช่วงที่มีกิริยาอาการย่อมไม่รู้ตัวมากก่อนหรือไม่รู้สึกตัวหมายถึงเป็นภาวะที่จิตอยู่ในช่วงการตกลงสู่ภวังค์ในกระแสจิตนั้นเอง
จะเห็นได้ว่าบ่อเกิดของภวังคจิตจะเกิดจากกระแสวิถีจิต นั้นหมายความว่าถ้ากระแสวิถีจิตมีการดับลงเกิดขึ้น การเก็บสั่งสมอารมณ์ของภวังคจิตก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน
กระบวนการรับรู้อารมณ์ของภวังคจิต โดยธรรมชาติแล้วภวังคจิตจะมีกระบวนการรับรู้อามรณ์อยู่ 2 ลักาณะคือ ลักษณะการรับรู้อารมณ์ของภวังคจิต และภาวะการรับรู้อารมณ์ของภวังคจิต
ลักษณะการรับรู้อารมณ์ของภวังคจิต
อารมณ์ หมายถึง สิ่งที่รับรู้โดยทางอายตนะ ภายในคือ ตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำให้เกิดรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมมารมณ์ ที่เรียกรวมกันว่าอายตนะภายนอก
อารมณ์หมายถึง สิ่งที่จิตรับรู้และสิ่งที่ "ถูกจิตรู้" จิตเป็นผู้รู้ ส่วนอารมณ์เป็นตัวถูกรู้
อารมณ์ คือ สิ่งที่เป็นที่ยึดหน่วงของจิตและเจตสิกหรือเป็นสิ่งที่ยินดีของจิตและเจตสิกคืออารมณ์ 6
ส่วนหนึ่งจากวิทยานิพนธ์ "การศึกษาเปรียบเที่ยภวังคจิตของพุทธปรัชญาเถรวาทกับจิตใต้สำนึกของซิกมันด์ ฟรอยด์"
- ภาวะเดิมของจิตผ่องใน แต่เศร้าหมองเพราะกิเลสต่าง ๆ
- ภาวะของจิตขณะที่รับอารมณ์ไม่คงที่ เปลี่ยนอารมณ์อยู่เสมอ
- จิตไม่มีรูปร่าง การเกิดของจิตเป็นที่ละขณะเมื่อถึงคราวดับก็ดับไปที่ละขณะ จิตสามารถรับอารมณ์แม้จะอยู่ในที่ไกล อาศัยอยุ่ในเรื่อนกายมนุษย์และสัตว์
ความหมายของจิต สิ่งที่วิจิตรทั้งหลายในโลก เกิดขึ้นเพราะอาศัยจิตต้นคิด ตัวจิตเองเป็นธรรมชาติอันวิจิตรรวมอยุ่ด้วย ภูมิ อารมณ์ ทั้งที่เลว ประณีต และปานกลาง มีวิบาก(กรรมและกิเลสที่เก็บสังสมไว้ )พฤติกรรมต่างๆ ซึ่งเก็บสังสมไว้คือสันดานของตนและเกิดขึ้นเป็นวิถีจิต จิตนั้นรับอารมณ์มากมายไม่มีที่สิ้นสุด จิตจะเว้นจากอารมณ์ไม่ได้
ลักษณะของจิตแบ่งออกเป็น
- จิตเป็นสภาพธรรมที่รุ้แจ้งอารมณ์
- จิตสั่งสมสันดานของตนด้วยการเสพอารมณ์
- จิตเป็นสภาพธรรมอันประกอบด้วยกิเลสสั่งสมวิบากผล
- จิตทุกดวงเป็นธรรมชาติวิจิตร
หน้าที่ของจิต
- ทำหน้าที่สืบต่อภพ จากอดีตภพเรียกว่ ปฏิสนธิจิต(เกิด)
- ทำหน้าทีรักษาภพของบุคคล เช่น เกิดปฏิสนธิจิตมาด้วจิตใดก็ไห้จิตนั้นเป็นไปตลอดชีวิตในภพหนึ่ง เรียกว่า ภวังคจิต
- ทำหน้าท่ีพิจารณาอารมณ์จากทวารทั้ง 6 เรียกว่า
- ทำหน้าที่เห็นรูป
- ทำหน้าที่ได้ยินเสียง
- ทำหน้าที่ดมกลิ่น
- ทำหน้าที่ลิ้มรส
- ทำหน้าที่สัมผัสทางกาย
- ทำหน้าที่รับอารมณ์ทั้ง 6
- จิตที่ทำหน้าที่ตรจสอบอารมณ์ทั้ง 6
- ทำหน้าที่ตัดสินอารมณ์
- ทำหน้าที่เสพอารมณ์
- ทำหน้าที่ยึดหน่วงอารมณ์
- ทำหน้าที่เคลื่อนจากภพ จากปัจจุบัน จุติจิต
จากลัดษณะหน้าที่ของจิต โดยปกติจิตจะอยู่ภายใน10 ฐาน แต่จะกล่าวเพียง 3 ฐาน คือ ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิต ทั้ง 3 ฐานเป็นจิตที่พ้นวิถีจิตที่ทำหน้าที่ไม่รับอารมณ์จากภายนอก ซึ่งมีปฏิสนธิ ภวัคจิต และจุติจิต จะมีหน้าที่เกี่ยวสัมพันธ์กันหรือทำงานร่วมกันกับภวัคจิตในการสืบต่อดังนี้
ปฏิสนธิจิต เป็นจิตที่ทำหน้าที่สืบต่อภพมีอยู่ 1 ฐาน คือปฏิสนธิจิตจะอยู่ระหว่างจุติจิต(ดับ)กับภวังคจิตผเก็บสั่งสมกรรมเก่า)
ภวังคจิต เป็นจิตที่ทำหน้าที่รักษาภพการเกิดในภพปัจจุบันหรือภพใหม่ ของบุคคลให้เป็นไปโดยำม่ให้เป็นอย่างอื่น
จุติจิตเป็นจิตที่ทำหน้าที่เคลื่อนจากภพหรือการดับของจิตมีอยู่ฐานคือ
ระหว่างเสพอารมณ์กับสืบต่อภพใหม่, ระหว่างรับอารมณ์ต่อจากชวนจิตกับสือต่อภพใหม่และระหว่างรักษาภพชาติกับสืบต่อภพใหม่
ภวังคจิต คือจิตขณะหนึ่งในจำนวน 17 ขณะที่จัดเป็นปกติจิตหรือปกติมโนธรรมชาติเป็นอัพยากฟต คือไม่เป้นบุญไม่เป็นบาป หรือไม่เป็นผลของอะไร แต่มีบทบาทสำคัญในฐานะเป้นองค์ของธรรมชาติหรือเป้นที่เก็บสังสมนิสัยสันดาน
ภวังคจิตแม้จะเกิดติดต่อนับไม่ถ้วย แต่ขณะที่จิตรับอารมณ์มีภวังคจิตเกิดขึ้นเพียง 2 ขณะ(ดวง)เท่านั้น คือ ขณะก่อนรับอารมณ์และขณะที่รับอารมณ์เสร็จแล้ว และมีอีนัยหนึ่งคือ มนะ(ใจปภายในมดนทวาร)
ภวังคจิต คือจิตที่ทำหน้าที่รักษาองค์ของภพ หมายถึง รักษากรรมวิบากของรูปนามสืบต่อจากปติสนธิวิบากจิต และปฏิสนธิกรรมรูปให้ดำรงอยู่ในภพนั้น ๆตราบเท่าอำนาจของกรรมที่ทำให้เกิด จะส่งผลให้เป็นไปเท่าอายุสังขารที่ดำรง
อยู่ได้ ..
บ่อเกิด
ภวังคจิตจะเก็บสั่งสมอารมณ์ หรือเจตนาของอารมณ์ไว้และสืบต่อสู่วิถีจิต ทวารทั้ง 6 คือวิถีจิตรับอารมณ์แล้วภวังคจิตซึ่งเหมือนคลังพัสดุจะเก็บอารมณ์ต่าง ๆ ไว้ที่ผ่านช่องทวารทั้ง 6 แดนภวังคจิตนี้เป็นจิตที่นอนนิ่งอยุ่ในบ้านของตนที่เป็นศูนย์กลางรับผลการกระทำของวิถีจิต จะไม่ข้ึนสุ่วิถีจิตรับอารมณ์ภายนอกใดๆ ทั้งสิ้นเพราะมีกำลังอ่อนแต่จะเกิดดับรับอารมณ์อยู่ภายในอย่างปกติ
ภวังคจิตที่อยู่ในแดนมโนทวาร คือ ภวังคจิตขึ้นสู่วิถีจิต แต่ยังไม่ได้ออกมารับอารมณ์ภายนอก(วิถีจิต)ซึ่งจะมารับอารมณ์ภายในแดนมโนทวาร ธรรมารมณ์ อาการเย่างนี้จะเกิดมโนภาพและจิตนาการต่างๆที่ภวังคจิตเก็บสั่งสมไว้ในนโมทวาร ภวังคจิตที่ทำให้บุคคลเกิดความคิดคำนึงถึงอดีต หรือคิดนึกอย่างลึกซึ้งในอนาคต และเกิดความคิดนึกในขณะทำสมาธิ เป็นต้นหรือมีพฤติกรรมแสดงออกในชีวิตประจำวัน
ภวังคจิตที่ตื่นจากภวังค์ออกมาแสดงพหติกรรทมี่ภวังคจิตเก็บสั่งสมไว้จากทางทวารทั้ง 5 คือ ตา หู จมุก ลิ้น กาย เมือ่ภวังคิตมีกำลังมากหรือมีเตนามากก็จะแสดงพฟติกรรมออกจากทวารทั้ง 5 ภวังคจิตจะอยู่ในภาวะตื่นเต็มที่ เรียกว่า วิถีจิตทำให้ไม่รู้สึกตัวในการแสดงพฤติกรรมอะไรไปตามที่ภวังคจิตได้เก็บสั่งสมไว้ภายในที่จะพบมี 4 ประเด็น คือ ช่วงรอยต่อก่อนหลับ, ช่วงรอยต่อก่อนตื่น, ระหว่างเข้าถึงอัปปนาสมาธิ, เวลาหลับสนิทไม่ฝัน ลักษณะทั้ง 4 อย่างเป็นช่วงที่มีกิริยาอาการย่อมไม่รู้ตัวมากก่อนหรือไม่รู้สึกตัวหมายถึงเป็นภาวะที่จิตอยู่ในช่วงการตกลงสู่ภวังค์ในกระแสจิตนั้นเอง
จะเห็นได้ว่าบ่อเกิดของภวังคจิตจะเกิดจากกระแสวิถีจิต นั้นหมายความว่าถ้ากระแสวิถีจิตมีการดับลงเกิดขึ้น การเก็บสั่งสมอารมณ์ของภวังคจิตก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน
กระบวนการรับรู้อารมณ์ของภวังคจิต โดยธรรมชาติแล้วภวังคจิตจะมีกระบวนการรับรู้อามรณ์อยู่ 2 ลักาณะคือ ลักษณะการรับรู้อารมณ์ของภวังคจิต และภาวะการรับรู้อารมณ์ของภวังคจิต
ลักษณะการรับรู้อารมณ์ของภวังคจิต
อารมณ์ หมายถึง สิ่งที่รับรู้โดยทางอายตนะ ภายในคือ ตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำให้เกิดรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมมารมณ์ ที่เรียกรวมกันว่าอายตนะภายนอก
อารมณ์หมายถึง สิ่งที่จิตรับรู้และสิ่งที่ "ถูกจิตรู้" จิตเป็นผู้รู้ ส่วนอารมณ์เป็นตัวถูกรู้
อารมณ์ คือ สิ่งที่เป็นที่ยึดหน่วงของจิตและเจตสิกหรือเป็นสิ่งที่ยินดีของจิตและเจตสิกคืออารมณ์ 6
ส่วนหนึ่งจากวิทยานิพนธ์ "การศึกษาเปรียบเที่ยภวังคจิตของพุทธปรัชญาเถรวาทกับจิตใต้สำนึกของซิกมันด์ ฟรอยด์"
วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
Life Continuum
ภวังคจิต ภวังคะ หรือ ภะ-วัง-คะ ภว+องฺคะ แปลตามพยัญชนะว่า "องค์ของภพ" มักใช้รวมกับจิต เป็นภวังคจิต ในทางพระพุทธศาสนา ถือว่า จิตมีลักษณะเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการสืบต่อสันตติของจิต ย่อมอาศัยการถ่ายทอดข้อมูลจากภวังคจิตจิตดวงเดิม ไปสู่จิตดวงใหม่ ด้วยกระบวนการของการทำงานของภวังคจิต เพราะเหตุว่าภวังคจิตเป็นเหตุให้สร้างจิตดวงใหม่ตลอดเวลาก่อนจิตดวงเก่าจะดับไป จึงชื่อว่าเป็นเหตุแห่ง "ภพ" หรือเป็นเหตุสร้าง"ภพ"
จิต ในทางศาสนาพุทธแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ 1.วิถีจิต จิตสำนึก 2.ภวังคจิต จิตใต้สำนึก
ภวังคจิต คือจิตใต้สำนึกในทางศาสนาพุทธหมายถึงเป็นกระบวนการทำงานแบบอัตตโนมัติของจิต จิตใต้สำนึกในความหมายของภวังคจิตนี้จึงอาจแตกต่างจากทางจิตวิทยา
ภวังคจิต มี 3 อย่าง คือ
- ภวังคบาท คือภวังคจิตที่ทรงอารมณ์เก่า อันเป็นอารมณ์ที่ได้มาจากภพหรือจิตดวงก่อน และกำลังกระทบอารมณ์ใหม่
- ภวังคจลนะ คือ เป็นภวังคจิตที่ไหวตัว เพราะเหตุที่มีอารมณ์ใหม่ มากระทบ จึงน้อมไปในอารมณ์ใหม่(สร้างและถ่ายทอดข้อมูลสู่จิตดวงใหม่)
- ภวังคปัจเฉทะ คือเป็นภวังคจิตที่ตัดกระแสภวังค คือ ปล่อยอารมณ์เก่า วางอารมณ์เก่า เพื่อรับอยู่กับอารมณ์ใหม่หรือจิตดวงใหม่
ภวังคจิต เป็น วิบากจิต คือ จิตใต้สำนึกส่วนลึกที่สุดของจิตเป็นที่สั่งสมอารมณ์จนกลายเป็นอุปนิสัย
ภวังคจิต จะเกิดคั่นระหว่างวิถีจิตในแต่ละวาระ ทำหน้าที่สืบต่อและดำรงภพชาติ
ภวังคจิต จะเกิดขึ้นเมื่อวิถีจิตดับ และเมื่อเกิดวิถีจิตภวังคจิตจะดับลง เมื่อวิถีจิตดับลงภวังคจิตจะเกิดขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่มีภวังคจิต พอขาดวิถีจิต จิตจะไม่มีการสืบต่อสันตติก็เท่ากับสิ้นชีวิต
ภวังคจิต ในขณะที่เปลี่ยนภพจุติใหม่สู่ชาติใหม่ จะใช้ชื่อว่า ปฏิสนธิจิตแทน ซึ่งเป็นขณะจิตแรกของแต่ละชาติ ภวังคจิตจึงสืบต่อภพในระดับเปลี่ยนชาติด้วย
ภวังคจิต คือมโนทวารเป็นอายตนะที่ ๖ อันเป็นวิบาก เป็นอัพยากฤต ซึ่งเป็นจิตตามสภาพปกติ เมื่อยังไม่ขึ้นสู่วิถีจิตรับรู้อารมณ์ จะเป็นเพียงมโน ยังไม่เป็นมโนวิญญาณ เมื่อรับอารมณ์คือเจตสิก จะกลายเป็นมโนวิญญาณ
มีพุทธพจน์ว่า “จิตนี้ประภัสสร (ผุดผ่อง ผ่องใส บริสุทธิ์) แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา" จิตที่ประภัสสรในที่นี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่าหมายถึงภวังคจิต
ภวังคจิต หมายถึง เป็นชื่อเรียกจิตขณะหนึ่งใน 17 ขณะ ภวังคจิต คือปกติจิตมีธรรมชาติเป็นอัพยากฤตมีบทบาทสำคัญ คือเป็นฐานแห่งองค์ภพชาติหรือเก็บสั่งสมสันดาน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือจิตที่ไม่ได้ขึ้นวิถีรับอารมณ์ แต่เกิดดับอยู่ตลอดเวลา มีหน้าที่รักษาปัจจุบันรูปนามให้คงอยู่ไปจนถึงอายุขัย เช่น ขณะที่นอหลับสนิ และไม่ฝันเป็นต้น และรวบตวมกรรม(การกระทำ) ที่ยังไม่ได้ให้ผลเก็บไว้แผงอยู่ในภวังคจิตและปล่อยสู่วิถีจิตต่อไป
จิตใต้สำนึก หมายถึง ภาวะของจิตที่ไม่อาจรู้สึกได้เพราะอยู่ในส่วนของจิตหรือความรู้สึกนึกคิดหรือุปนิสัยใจคอที่ฝังอยู่ในส่วนของจิตมาแต่เกิด (คำว่าจิตใต้สำนึกนี้เป็นศัพท์ที่นักจิตวิทยารุ่นใหม่นิยมกัน)
จิตไร้สำนึก หมายถึงความคิด ความรู้สึก และแรงผลักดันซึ่งถูกกดเก็บไว้ภายในจิตใจโดยไม่รู้ตัว แม้จะพยามนึกอย่างไรก็นึกไม่ออก(ซิกมัน ฟรอยด์ใช้ควำว่าจิตไร้สำนึก)
จิตสำนึก หมายถึง ภาวะที่จิตตื่อนและรู้ตัวสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากประสาทสัมผัสทั้ง 6 คือ รุป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่สัมผัสได้ทางกาย และธรรมมารมณ์อยู่ตลอดเวลา
จิตกึ่งสำนึก หรือจิตก่อนสำนึก หมายถึง เป็นกระบวนทางจิตที่มีได้อยู่ในระดับจิตสำนึก คือภาวะจิตไม่ค่อยรู้สึกตัวเมือปลุกอาจรู้สึกตัวดีขึ้นแต่ไม่รู้ตัวเต็มที่และพร้อมที่คืนสู่ระดับจิตนี้ได้โดยอาศัยความพยายามเพียงเล็กน้อย
ภวังคจิต การเข้าใจเรื่องภวังคจิตของพุทธปรัชญาเถรวาทจะต้องมีความรู้พื้นฐานเรื่องจิตในพุทธปรชญาเถรวาท เพราะภวังคจิตก็อยู่ในกระแสจิตที่มีกระบวนการเกิดดับอยู่ 17 ขณะจิต หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือภวังคจิตอยู่ในกระแสจิตที่มีการเกิดดับ ๆ โดยหนึ่งกระแสจิตจะมีองค์ประกอบการทำงานที่แตกต่างกันตามลักษณะหมายถึง จิตหนึ่งกระแสจะมีองค์แระกอบการทำงายอยู่ 4 อย่าง คือ ปฏิสนธิจิต ภวัคจิต จุติจิต วิถีจิต เรียกกระบวนการทั้งหมดนี้ว่าจิต ดังที่คำกล่าวไว้ว่า "ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิต ก็เป็นอย่างเดียวกันนั้นเอง และมีอารมณ์อย่งเดียวกัน ในชาติหนึ่งเหมือนอย่างนั้แล ในทางอภิธรรมของพุทธปรัชญาเถรวาท ได้มีการแบ่งจิตออกไว้ 89 ดวง คำว่าจิตในถุทธปรัชญาเถรวาทนั้นจะประกอบไปด้วยเจตสิกอยู่ด้วยเสมอ จิตและเจตสักเป็นนามธรรมโดยที่จิตจะเป็นประธานในการับรู้อารมณ์ ส่นเจตสิกมีหน้าที่ในการเกิดร่วมกับจิตโดยการปรุงแต่งจิตให้มีอามณ์เป็นไปต่าง ๆ ซึ่งจะมีอาการของเจตสิกหรือลักษณะของเจตสิกอยู่ 4 ประการ คือ เกิดพร้อมกับจิตหนึ่ง ดับพร้อมกับจิตหนึ่ง มีอามร์เดียวกับจิตหนึ่ง อาศัยอยู่ในสถานที่เดียวกับจิตหนึ่ง จะเห็นได้ว่าจิตมิได้เกิดขึ้นเพียงลำพังแต่เป็นธรรมชาติของจิตที่มีเตจสิกเข้ามาประกอบ่าวมด้วยเสมอๆ ที่จะทำให้จิตมีความสามารถจะรับรู้อารมณ์ได้ยอ่างละเอียดประณต หรือสามารถที่จะแบ่งแยกอารมณ์ต่างๆ ออกได้ โดยปกติจิตจะสามารถบังคับควบคุมเจตสิกได้
Structuralism
วิลแฮม วุ้นด์ : จุดเริ่มต้นของโครงสร้างทางจิต
วุ้นด์ เป็นผู้ "แยก" จิตวิทยาออกจากปรัชญาและนำจิตวิทยาเข้าสู่การทดลอง วุ้นด์ให้ความสำคัญกับสรีรจิตวิทยาดังนั้นจึงใช้วิธีการและเครื่องมือต่างๆ ทางสรีรวิทยา วุ้นด์มีคามตั้งใจที่จะศึกษาเรื่องของ "จิต"(mind)หรือ "จิตสำนึก" (consciousness)และในการนี้วิธีการที่ใช้จะรวมเรื่องของการทดลองและการสำรวจทางจิต ผลสรุปที่ได้จากห้องทดลองในด้านต้านต่างๆ ดังนี้
การสัมผัสและการรับรู้ จัดเป็นหัวใจสำคัญของการทดลอง การมองเห็นและการได้ยินเป็นวิธีการทางสรีรจิตวิทยาที่สำคัญในการที่จะศึกษาAbsolute และ Difference Threshold นอกจานี้แล้วยังศึกษาเรื่องของความแตกต่างของสี การผสมสี การเคลื่อไหวของดวงตา รวมทั้งเรื่องของมโนภาพและการสัมพัส
ปฏิกิริยาตอบสนอง ได้ถูกศึกษาโดยเฮมโฮลล์และดอนเดอร์ แต่สำหรับวุ้นด์นั้นได้พัฒนาการศึกษาเกี่ยวกับสถานการณ์การรับรู้ที่สลับซับซ้อนขึ้นนปฏิกิริยาตอบสนองทั่วไปนั้นจะมีปฏิกิริยาใกนากรตอบสนองให้เร็วที่สุดกับส่ิงเร้าเพียงอย่างเดียว แต่ในปฏิกิริยาตอบสนองทั่วๆ ไปนั้นจะมีปฏิกิริยาในการตอบสนองให้เร็วที่สุดกับสิ้งเร้าเพียงอย่างเดียว แต่ในปฏิกิริยาการตอบสนองที่สลับซับซ้อนขึ้นนั้นกระบวนการทางจิตจะเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น อาจให้ดูแสงสี 2 สี เขียวกับแดง จะต้องมีปฏิกิริยากับสีแดงเท่านั้น วุ้นด์คิดว่าทีการรับรู้ครั้งแรกกับสีแดงนั้นเป็น "การรับรู้"และตามด้วย "การไม่รับรู้" ในสีเขียว นั้นคือการแยกระหว่างสีแดงและสีเขียวและสุดท้ายจะมีการตอบสนองต่อคำสั่ง
ความตั้งใจ วุ้นด์คิดว่าความตั้งใจเป้นเรื่องของการรับรู้ที่เจาะจงในระดับของิตสำนึก โดยที่ความตั้งใจจะแยกจากส่วนของจิตสำนึกอื่นๆ ระยะเวลาและการเกิดของความตั้งใจเป็นสิ่งที่ควรศึกษาคาเทลได้ศึกษาเรื่องของระยะเวลาของความตั้งใจ ระยะเวลาและการเกิดของความตั้งใจเป็นสิ่งที่ควรศึกษาคาเทลได้ศึกษาเรื่องของระยะเวลาของความตั้งใจ โดยพยายามจะศึกษาให้เป็นหน่วยต่างๆ โดยดูจากตัวเลข ตัวอักษร คำ และจุดซึ่งจะเป็นสิ่งที่จะช่วยเข้าใจสิ่งเร้าได้ดี
ความรู้สึก ถูกศึกษาโดยวิธีการใหนการเปรียบเทียบ ผู้ทดลองต้องเปรีบเทียบส่ิงเร้ากับอนุกรมขชองสิ่งนั้ เช่น ถ้าต้องการเปรียบเทียบกับเสียงที่ทำให้เกิดความสุข ผู้ทอลองจะต้องเปรีบบเทียบในแต่ละครั้งของการเปรียบเทียบผู้ทอลองจะต้องบอกว่าเสียงใดที่ให้ความ รู้สึกทีดีกับหูมากที่สุด
จิตวิทยาเป็นการศึกษาจิตสำนึก วุ้นด์มองดูจิตสำนึกเหมือนกับเป็นองค์ประกอบของธาตุหรืออะตอม ซึ่งมี 2 ระดับ คือ ประสาทสัมผัส และความรู้สึก ประสาทสัมผัสเป็นเหมือนกับ ออฟเจค คอนเทนส์ของจิตสำนึก และความรู้สึกเป็น ซับเจคทีบ เพราะฉะนั้นจิตสำนึกจังเป็นผลของการรวมกันขององค์ประกอบเหล่านัน องค์ประกอบองประสาทสัมผัสจะผ่านทางประสาทสัมผัสไม่ว่าเป็นการมองเห็น ได้ยิน สัมผัส รส กลิ่น หรืออื่น ๆ ในส่วนของความรู้สึกมี 3 องค์ประกอบคือ ตื่นเต้น สงบ สนุกสนาน ไม่สนุกสนาน ตึงเครียด ผ่อนคลาย ซึ่งความรู้สึกต่างๆ เหล่านี้ตั้งอยู่ 3 ลักษณะ
ทั้งการับสัมผัสและความรู้สึกมี 2 ลักษณะ คือ ความเข้าความสว่างของสี ความดังของเสียง หรือจำนวนของการกดลงของการสัมพัส
คุณภาพของความรู้สึกที่มีต่อเฉพาะเสียง รส หรือความอุ่นร้อน วุ้นด์กล่าวว่าความรู้สึกเป็นสิ่งที่ไม่ชัดเจนและลำบากในการทีจีชี้บ่ง และเมือประสาทสัมผัสและความรู้รวมกันผลจะออกมาเป็น psychical compound ดังนั้น คอมพลาวด์ อาจจะเป็นเรื่องเฉพาะประสาทสัมผัสหรือความรู้สึกหรืออาจเป็นผลรวมของทั้ง 2 อย่าง ความคิดหรือ ไอเดีย อาจเป็นส่วนหนึ่งของ คอมพลาว์ด หนึ่ง เช่น่วนที่เกี่ยวกับดอกกุหลาบอาจจะเห็น (ด้วยประสาทสัมผัส) เป็นสีชมพู หรือสีเขียว นุ่มนวลในการสัมผัส มีกลิ่นห่อมและไใ้ความรู้สึกของความรื่นรมย์
ในส่วนที่สอง คือ การมณ์ อารมณ์เป็นผลรวมที่สลับซับซ้อนของความรู้สึกที่ต่าง ๆ กันออกไปและถ้าความรู้สึกเกิดขึ้นมากจะเกิดความปรรถนาตามมา คสเราอาจจะมี
ความตั้งใจ หมายถึงเรื่องของจิตสำนึก ซึ่งเน้นถึงจิตสำนึกในส่วนที่เฉพาะเจาะจงเมืองกระบวนการของจิตสำนึกเปลี่ยนไปรูปแบบของความตั้งใจจะเปลี่ยนรูปไป และเกิดเป็นรูปแบบใหม่เกิดขึ้นโดยอาจจะเข้าไปสู่จิตสำนึกบางส่วนและอาจจะหายไป ผลรวมของแต่ละส่วนคือทั้งหมดในขณะนั้น
กฏการเชื่อโยง ทางหนึ่งของการเชื่อมโยงของจิต คื อ"ความสัมพันธ์เชื่อโยง" ความสัมพันธ์เชื่อมโยงจะเป็นตัวเชื่อมจิตสำนึกเข้าด้วยกัน วุ้นด์มองไกลกว่านั้นโดยได้รวมเอากฎของ "creative synthesis" ซึ่งเหมือนกับที่จอห์น มิลล์กล่าวถึง "mental chemistry" ซึ่ง
เกมือนกับกฎทางเคมีอื่น ๆ ที่พูดถึงธาตุ 2 ชนิดหรือมากกว่านั้นจะทำให้เกิดธาตุใหม่ ซึ่งผลที่ได้ออามาอาจจะมากกว่าเป็นผลของธาตุนั้นเท่านั้น วุ้นด์ยังพูดถึงกฎของ "Psychic relation" ซึ่งกฎนี้จะให้ความสนใจกับปัญหาหรือนัยสำคัญของเหตุการณ์เฉพาะอยาง วุ้นด์ไม่เคยพูดถึงเรื่องของปัญหาแต่ยังคงอยู่และทิชเนอร์นำมาพูดใน Context Theory
ในเรื่องของการเรียนรู้สำหรับวุ้นด์แล้ววุ้นด์ไม่ได้กล่าวถึงมากพอฟ กับที่กลุ่มประจักษ์นิยมกล่วไว้ คือ เรื่องการเชื่อมโยงความคิดในเวลาและโอกาสที่เหมาสม นั้นคือการที่ประสาทสัมผัสเป็นผู้ทำให้เกิดมโนภาพ และว้นด์ได้เพิ่มเรื่องของ "Law of Psychic Fusion" ซึ่งกล่าวถึงเรื่องเรื่องประสบการณ์ใหม่อาจเกิดขึ้นโดยที่ไม่รู้ตัวก็ไ นอกจากนี้แล้ววุ้นด์เห็นว่าความจำเป็นเรื่องของการถูกกระทำแต่ความคิดเป็นผุ้กระทำ นั่นคือ ประะสบการณ์เป็นสถานการณ์แต่ความจำไม่ใช่การกลับมาของความคิด ความจำเป็นการกระทำของความตั้งใจซึ่งจะมีระยะจากขอบในจนถึงส่วนกลางของจิตสำนึก
วุ้นด์ เป็นผู้ "แยก" จิตวิทยาออกจากปรัชญาและนำจิตวิทยาเข้าสู่การทดลอง วุ้นด์ให้ความสำคัญกับสรีรจิตวิทยาดังนั้นจึงใช้วิธีการและเครื่องมือต่างๆ ทางสรีรวิทยา วุ้นด์มีคามตั้งใจที่จะศึกษาเรื่องของ "จิต"(mind)หรือ "จิตสำนึก" (consciousness)และในการนี้วิธีการที่ใช้จะรวมเรื่องของการทดลองและการสำรวจทางจิต ผลสรุปที่ได้จากห้องทดลองในด้านต้านต่างๆ ดังนี้
การสัมผัสและการรับรู้ จัดเป็นหัวใจสำคัญของการทดลอง การมองเห็นและการได้ยินเป็นวิธีการทางสรีรจิตวิทยาที่สำคัญในการที่จะศึกษาAbsolute และ Difference Threshold นอกจานี้แล้วยังศึกษาเรื่องของความแตกต่างของสี การผสมสี การเคลื่อไหวของดวงตา รวมทั้งเรื่องของมโนภาพและการสัมพัส
ปฏิกิริยาตอบสนอง ได้ถูกศึกษาโดยเฮมโฮลล์และดอนเดอร์ แต่สำหรับวุ้นด์นั้นได้พัฒนาการศึกษาเกี่ยวกับสถานการณ์การรับรู้ที่สลับซับซ้อนขึ้นนปฏิกิริยาตอบสนองทั่วไปนั้นจะมีปฏิกิริยาใกนากรตอบสนองให้เร็วที่สุดกับส่ิงเร้าเพียงอย่างเดียว แต่ในปฏิกิริยาตอบสนองทั่วๆ ไปนั้นจะมีปฏิกิริยาในการตอบสนองให้เร็วที่สุดกับสิ้งเร้าเพียงอย่างเดียว แต่ในปฏิกิริยาการตอบสนองที่สลับซับซ้อนขึ้นนั้นกระบวนการทางจิตจะเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น อาจให้ดูแสงสี 2 สี เขียวกับแดง จะต้องมีปฏิกิริยากับสีแดงเท่านั้น วุ้นด์คิดว่าทีการรับรู้ครั้งแรกกับสีแดงนั้นเป็น "การรับรู้"และตามด้วย "การไม่รับรู้" ในสีเขียว นั้นคือการแยกระหว่างสีแดงและสีเขียวและสุดท้ายจะมีการตอบสนองต่อคำสั่ง
ความตั้งใจ วุ้นด์คิดว่าความตั้งใจเป้นเรื่องของการรับรู้ที่เจาะจงในระดับของิตสำนึก โดยที่ความตั้งใจจะแยกจากส่วนของจิตสำนึกอื่นๆ ระยะเวลาและการเกิดของความตั้งใจเป็นสิ่งที่ควรศึกษาคาเทลได้ศึกษาเรื่องของระยะเวลาของความตั้งใจ ระยะเวลาและการเกิดของความตั้งใจเป็นสิ่งที่ควรศึกษาคาเทลได้ศึกษาเรื่องของระยะเวลาของความตั้งใจ โดยพยายามจะศึกษาให้เป็นหน่วยต่างๆ โดยดูจากตัวเลข ตัวอักษร คำ และจุดซึ่งจะเป็นสิ่งที่จะช่วยเข้าใจสิ่งเร้าได้ดี
ความรู้สึก ถูกศึกษาโดยวิธีการใหนการเปรียบเทียบ ผู้ทดลองต้องเปรีบเทียบส่ิงเร้ากับอนุกรมขชองสิ่งนั้ เช่น ถ้าต้องการเปรียบเทียบกับเสียงที่ทำให้เกิดความสุข ผู้ทอลองจะต้องเปรีบบเทียบในแต่ละครั้งของการเปรียบเทียบผู้ทอลองจะต้องบอกว่าเสียงใดที่ให้ความ รู้สึกทีดีกับหูมากที่สุด
จิตวิทยาเป็นการศึกษาจิตสำนึก วุ้นด์มองดูจิตสำนึกเหมือนกับเป็นองค์ประกอบของธาตุหรืออะตอม ซึ่งมี 2 ระดับ คือ ประสาทสัมผัส และความรู้สึก ประสาทสัมผัสเป็นเหมือนกับ ออฟเจค คอนเทนส์ของจิตสำนึก และความรู้สึกเป็น ซับเจคทีบ เพราะฉะนั้นจิตสำนึกจังเป็นผลของการรวมกันขององค์ประกอบเหล่านัน องค์ประกอบองประสาทสัมผัสจะผ่านทางประสาทสัมผัสไม่ว่าเป็นการมองเห็น ได้ยิน สัมผัส รส กลิ่น หรืออื่น ๆ ในส่วนของความรู้สึกมี 3 องค์ประกอบคือ ตื่นเต้น สงบ สนุกสนาน ไม่สนุกสนาน ตึงเครียด ผ่อนคลาย ซึ่งความรู้สึกต่างๆ เหล่านี้ตั้งอยู่ 3 ลักษณะ
ทั้งการับสัมผัสและความรู้สึกมี 2 ลักษณะ คือ ความเข้าความสว่างของสี ความดังของเสียง หรือจำนวนของการกดลงของการสัมพัส
คุณภาพของความรู้สึกที่มีต่อเฉพาะเสียง รส หรือความอุ่นร้อน วุ้นด์กล่าวว่าความรู้สึกเป็นสิ่งที่ไม่ชัดเจนและลำบากในการทีจีชี้บ่ง และเมือประสาทสัมผัสและความรู้รวมกันผลจะออกมาเป็น psychical compound ดังนั้น คอมพลาวด์ อาจจะเป็นเรื่องเฉพาะประสาทสัมผัสหรือความรู้สึกหรืออาจเป็นผลรวมของทั้ง 2 อย่าง ความคิดหรือ ไอเดีย อาจเป็นส่วนหนึ่งของ คอมพลาว์ด หนึ่ง เช่น่วนที่เกี่ยวกับดอกกุหลาบอาจจะเห็น (ด้วยประสาทสัมผัส) เป็นสีชมพู หรือสีเขียว นุ่มนวลในการสัมผัส มีกลิ่นห่อมและไใ้ความรู้สึกของความรื่นรมย์
ในส่วนที่สอง คือ การมณ์ อารมณ์เป็นผลรวมที่สลับซับซ้อนของความรู้สึกที่ต่าง ๆ กันออกไปและถ้าความรู้สึกเกิดขึ้นมากจะเกิดความปรรถนาตามมา คสเราอาจจะมี
ความตั้งใจ หมายถึงเรื่องของจิตสำนึก ซึ่งเน้นถึงจิตสำนึกในส่วนที่เฉพาะเจาะจงเมืองกระบวนการของจิตสำนึกเปลี่ยนไปรูปแบบของความตั้งใจจะเปลี่ยนรูปไป และเกิดเป็นรูปแบบใหม่เกิดขึ้นโดยอาจจะเข้าไปสู่จิตสำนึกบางส่วนและอาจจะหายไป ผลรวมของแต่ละส่วนคือทั้งหมดในขณะนั้น
กฏการเชื่อโยง ทางหนึ่งของการเชื่อมโยงของจิต คื อ"ความสัมพันธ์เชื่อโยง" ความสัมพันธ์เชื่อมโยงจะเป็นตัวเชื่อมจิตสำนึกเข้าด้วยกัน วุ้นด์มองไกลกว่านั้นโดยได้รวมเอากฎของ "creative synthesis" ซึ่งเหมือนกับที่จอห์น มิลล์กล่าวถึง "mental chemistry" ซึ่ง
เกมือนกับกฎทางเคมีอื่น ๆ ที่พูดถึงธาตุ 2 ชนิดหรือมากกว่านั้นจะทำให้เกิดธาตุใหม่ ซึ่งผลที่ได้ออามาอาจจะมากกว่าเป็นผลของธาตุนั้นเท่านั้น วุ้นด์ยังพูดถึงกฎของ "Psychic relation" ซึ่งกฎนี้จะให้ความสนใจกับปัญหาหรือนัยสำคัญของเหตุการณ์เฉพาะอยาง วุ้นด์ไม่เคยพูดถึงเรื่องของปัญหาแต่ยังคงอยู่และทิชเนอร์นำมาพูดใน Context Theory
ในเรื่องของการเรียนรู้สำหรับวุ้นด์แล้ววุ้นด์ไม่ได้กล่าวถึงมากพอฟ กับที่กลุ่มประจักษ์นิยมกล่วไว้ คือ เรื่องการเชื่อมโยงความคิดในเวลาและโอกาสที่เหมาสม นั้นคือการที่ประสาทสัมผัสเป็นผู้ทำให้เกิดมโนภาพ และว้นด์ได้เพิ่มเรื่องของ "Law of Psychic Fusion" ซึ่งกล่าวถึงเรื่องเรื่องประสบการณ์ใหม่อาจเกิดขึ้นโดยที่ไม่รู้ตัวก็ไ นอกจากนี้แล้ววุ้นด์เห็นว่าความจำเป็นเรื่องของการถูกกระทำแต่ความคิดเป็นผุ้กระทำ นั่นคือ ประะสบการณ์เป็นสถานการณ์แต่ความจำไม่ใช่การกลับมาของความคิด ความจำเป็นการกระทำของความตั้งใจซึ่งจะมีระยะจากขอบในจนถึงส่วนกลางของจิตสำนึก
วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
Conduct Disorder
ความตั้งใจบกพร่อง และพฤิตกรรมบกพร่อง
ความตั้งใจบกพร่อง การไม่อยู่นิ่ง มีอาการขาดสมาธิ ไม่อยู่นิ่ง ควบคุมตนเงไม่ได้ หุนหันพลันแล่น ซึ่งเป็นนานต่อกันกว่า 6 เดือน จนถึงระดับที่ไม่อาจปรับตัวได้และไม่เข้ากับระดับพัฒนาการ
การขาดสมาธิ คือการที่ไม่สามารถจดจ่อกับรายละเอียด เลินเล่อต่อกิจกรรมต่างๆ ขาดสมาธิในการฟัง การประกอบการงาน ไม่สามารถทำตามคำสั่ง ทั้งงานที่โรงเรียน บ้าน หรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ขาดความใส่ใจพยายาม ขาดความรับผิดชอบ เช่น ทำของที่จำเป็นหาย วอกแวก และหลงลืม นอกจากนี้ยังมีอาการ ไม่อยู่นิ่ง หยุกหยิก นั่งไม่ติดที่ วิ่ง ปีนป่าย อย่างมาก ไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ มีความยาก ลำบากในการทำงานอย่า่งเงียบๆ พูดมาก ขาดความอดทน เช่น มักชิงตอบคำถามก่อนจะถามจบ รอคอยไม่ได้ มักแทรกขึ้นระหว่างการสนทนา หรือระหว่างกิจกรรมต่างๆ อาการมักเกิดก่อนอายุ 7 ปี และมักพบว่าบกพร่องในสถานการที่บ้าน และที่โรงเรียน
พฤติกรรมต่อต้านสังคม มีพฤติกรรมที่ละเมิดสิทธิพื้นฐานของคนอื่น โดยมีแบบแผนพฤติกรรมที่เป็นซ้ำๆ และคงอยู่ตลอด โดยไม่เคารพกฎบรรทัดฐานที่สำคญของวันนั้น อันได้แก่ ก้าวร้าวต่อคน หรือสัตว์ ทำลายทรัพย์สิน ฉ้อโกง หรือขโมย มีการก้าวร้าวแบบเผชิญหน้า รวมทั้ง ข่มขืน การทำลาย ทรัพย์สิน จงใจวางเพลิง งัดแงะ บ้าน รถ พูดปลิ้นปล้อน หลอกลวง เลี่ยงกฎเกณฑ์ ขโมยของมีค่าแบบไม่เผชิญหน้า เช่น แอบหยิบของมีค่าจากร้าน
การละเมิดกฎอย่างรุนแรง มักเร่ิมตั้งแต่ก่อนอายุ 13 ปี โดยมีพฤติกรรมออกจากบ้านกลางคืน โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือ้างคืน โดยไม่บอกผู้ดูแลและมักหนีโรงเรียน
พฤติกรรมดังกล่าวทำให้กิจกรรมด้านการศึกษา สังคม งานบกพร่องลง อาจเริ่มมีอาการอย่างน้อย 1 อย่าง ในวัยอายุก่อน 10 หรืออาจมีอาการในวัยรุ่นก็ได้
พฤติกรรมที่แสดงออกถ้าเป็นระดับไม่รุนแรงมักเป็นพฤติกรรมทีไม่เผชิญหน้า ก่อผลเสียหาย เพียงเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นระดับรุนแรงมักก่อผลเสียต่อผู้อื่นมาก และมีพฤติกรรมแบบเผชิญหน้า เช่น ทำร้ายร่างกาย ข่มขืน เป็นต้น
พฤติการดื้อ ต่อต้าน
มีพฤติกรรม ก้าวร้าว ต่อต้าน โมโห เถียงผู้ใหญ่ ปฏิเสธระเบียบอย่งมากจงใจทำให้ผู้อื่นรำคาญ อารมณ์โกรธขุ่นเคืองอยู่เป็นนิจ อารมณ์เสียง่าย พยาบาทและใช้วิธีโทษผู้อื่น มีอารการเหล่านี้ต้องเป็นติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน สาเหตุ
ด้านพันธุกรรม จากการศึกษาวิจัยพบว่า ลักษณะโครโมโซมเพศที่มีxyy มีผลต่อพฤติกรรมก้าวร้าวได้ เป็นต้น
ด้านจิตสังคม จากการศึกษกรณีทางจิตเวช พบว่าเด็กที่ไม่ได้รับการยอมรับ ขาดพื้นฐานการไว้ใจผู้อื่น เช่น มาจากครอบครัวที่ปฏิเสธ ไม่ยอมรับ ปล่อยปละละเลย ขาดแม่ตั้งแต่วัยต้น โดยไม่มีผู้ดูที่ทอแทนแม่ได้ หรือการที่เด็กอยู่กับพ่อแม่ แต่เป็นเด็กเลี่ยงยากมาตั้งแต่เกิด ทำให้การเลี่้ยงดูเป็นลักษณะทางลบมากกว่าบวก หรือในรายที่มีปัญหาพฤติกรรมที่มีสาเหตุมาจากความบกพร่องทางสมองมาก่อน เช่น อยู่ไม่สุก วอกแวก ขาดความอดทนฯ สิ่งเหล่นนี้อาจทำให้ขาดการยอมรับจากคนรอบข้างถูกลงโทษฯ เด็กจะเก็บความรู้สึกที่ว่าตรเองไม่ดี ขณะเดียวกันก็รู้สึกว่าคนรอบข้างสังคมไม่ดีเช่นกันเด็กจึงเกิดการต่อต้าน และทำง่ายมากกว่าจะสร้างสรรค์
นอกจากนี้การเลี้ยงดูแบบลำเอียง เช่น ช่วงมีน้องใหม่เด็กอิจฉาน้อง แล้วไม่ได้รับการดูแลเรื่องความรู้สึกนี้ ก็อาจทำให้เกิดการต่อต้าน ก้าวร้าวได้ เมื่อก้าวร้าวถูกทำโทษ เด็กก็จะเพิ่มความรู้สึก เกลี่ยดชัดผู้อื่นมากขึ้น และรู้สึกตนเองด้อยก็เพิ่มขึ้นด้วย ก็ยิ่งมีพฤติกรรมที่ไม่ดี โดยไม่รู้สึกผิด ไม่แคร์ความรู้สึกผู้อื่น และเป็นเหตุให้ตกอยู่ในวงจรนี้ไปเรื่อยๆ การป้องกันจึงควรทำก่อนที่เด็กจะรู้สึกตนเองไม่ดีและคนอื่นไม่ดี ควรใช้วิธีทางบวกและสื่อสารในทางบวกมากกว่าลบ ไม่ควรตำหนิที่ตัวเด็ก แต่ให้พูดถึงพฤติกรรมที่เราไม่ชอบ ที่ชอบเป็นอย่างไร และให้ความรักเด็กโดยแสดงออกทั้งคำพูดและท่าทาง
พฤติกรรมที่เป็นปัญหา ซึ่งพบบ่อยในเด็กและวัยรุ่น
ปัญหาการแยกจาก มีความกังวลเกินควรที่จะต้องห่างบ้าน ห่างคนที่รู้สึกผูกพันด้วย ในวัยรุ่นมักพบว่ามีอาการกังวลกลัวเรื่องการสูญเสีย กลัวคนที่ผูกพันจะเกิดอันตราย มักคิดถึงเหตุการณ์ร้าย ๆ กับคนที่ตนรัก และกลัวจะเกิดขึ้นจริง มักมีอาการฝันร้ายซ้ำๆ เรื่องการพลัดพราก บางครั้งไม่อยากอยู่คนเดียว ไม่อยากนอนคนเดียว ถ้าไปนอนค้างนอกบ้านจะลังเลอย่างมาก หรือปฏิเสธถ้าไม่มีคนที่ผูกพันสนิทอยู่ด้วย นอกนี้อาจมีอาการทางกายร่วมด้วย... ซึงสาหตุมาจากการเลี้ยงดูทีปกป้องมากเกินไป จนทำให้เด็กเกิดความผูกพันจนแยกไม่ออกระหว่างตนเองกับผู้อืน เด็กถูกวางเงื่อนไขว่าสถานการณ์ต่างๆ ไม่น่าปลอดภัย ไม่น่าไว้วางใจ เด็กไม่ได้ถูกฝึกให้ช่วยเหลือตนเอง ไม่เรียนรู้ความเป็นตัวของตัวเอง ทำให้อยากพึงพิงผู้อื่นอยู่รำ่ไป เมื่อโตขึ้น รู้สึกขาดที่พึ่งไม่ได้ ไม่สามารถยืนได้ด้วยตนเอง และอาจเรียนรู้เรื่องการคิดทางลบ ขี้กังวล เครียดง่าย จากคนรอบข้าง
พฤติกรรมขาดประสิทธิภาพ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามลักษณะดังนี้
การบิดเบือนความจริง การพัฒนาพฤติกรรมปรับตัวที่มีประสิทธิภาพที่สำคัญคือ ความสามารถที่จะรับรู้ความจริงอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง บุคคลจะต้องแยกใหได้ระหว่างความจริงกับส่ิงที่เขาจินตนาการไปเอง ระหว่งแรงจูงใจในระดับจิตสำนึกกับจิตใต้สำนึก ผู้ที่แยกระหว่างความจริงกับการเพ้อฝันไม่ได้ คือ พวกที่เป็นโรคจิต พวกที่มีความวิตกกังวลเป็นตัวผลักดันให้กระทำในสิ่งที่ขาตเหตุผลจะมาอธิบาย คือ อาการโรคประสาท ในพวกโรคจิตสูญเสียความจริงไปทั้งหมด ในพวกโรคประสาทเป็นการหลีกหนีความเป็นจริงโดยการเก็บกด
นอกจานี้จะพบว่า ยังมีพวกที่พฤติกรรมการปรับตัวไม่เหมาะสมที่มีระดับการต่อสู้กับตนเองน้อยกว่าแบบอื่น พวกนี้ก่อความยุ่งยากให้กับคนอื่นมากว่าตนเอง คนอื่นมักตกเป็นเหยื่อของพวกนี้ ซึ่งมีลักษณะบิดเบือนความจริงให้สนองความต้องการของตน มีการปรับตัวทางสังคมไม่ดี ไม่มีความรู้สึกขัดแย้ง วิตกกังวล หรือสำนึกบาป มักก่อปัญหาให้ผู้อื่น
เป็นผลมาจากการพัฒนาบุคลิกภาพแบบผิดๆ เรียนรู้การแสดงพฟติกรรมบางอย่างเมื่อเกิดความขัดแย้งแทนการพยายามปรับตัวด้วยการเก็บกดความปรารถนาที่ไม่เป็นที่ยอมรับมีลักษณะที่สำคัญ ือ การแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมเป็นแบบฉบับประจำตัว จะปรกกฎอาการให้เห็นในระยะวัยรุ่น พฤติกรรมดังกล่าวจะก่อกวนความสัมพันธ์กับผุ้คนมากกว่าการเรียนหรือการทำงาน ไม่สามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
ลักษณะบุคลิกถาพผิดปกติ
การผลัดผ่อน การประวิงเวลาถือเป็นการแสดงความมุ่งร้ายที่ซ่อนอยู่ภายในพวกนี้เกิดความรู้สึกว่าคนจะตำหนิสิ่งที่ยังไม่ได้ทำน้อยกว่าสิ่งที่ปฏิบัติแล้ว ในขณะที่ผลัดผ่อนไปเรื่อยๆ จะแสดงออกว่าตนจริงใจ ทำตัวมีเสน่ห์ และเห็นชอบด้วย
บุคลิกภาพระแวง ลักษณะที่สำคัญอย่างยิ่งของผุ้ที่มีบุคลิกภาพแบบนี้คือ ความริษยาแบบโง่ๆ ความริษยาเกิดจากความไม่ไว้วางใจ ชอบล่อหลอกหาทางจับผิดผู้อื่น ชอบถามซอกแซกเพื่อรู้เรื่องราวของคนอื่น แรกๆ ผู้คนจะรู้สึกว่าพวกนี้เอาใจใส่ผู้อื่น แต่หนักๆ เข้าจะรู้จะรู้สึกรำคาญ พวกนี้ไวต่อความรู้สึกไปหมดทุกเรื่อง มักอ้าวว่าการกระทำต่างๆ ของตนเองเป็นไปเพราะความรัก
บุคลิกภาพเจ้าระเบียบ ลักษณะที่มักแสดงออกคือ การเคร่งครัดต่อกฎระเบียบ ระมัดระัง เป็นพวกพิถีพิถัน ละเอียดถี่ถ้วนมักจะครุ่นคิดในเรื่องความสะอาดและอนามัย ทุกอย่างต้องประณีตมีระเบียบ ใช้เวลามากมายกับเรื่องรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ
การหลีกเลี่ยงความจริง
คำพูดที่ว่า "พ้นสายตาก็จะจางไปจากใจ" คงไม่จริงเมือเราพบว่าปัญหาไม่ได้พ้นไปจากใจง่าย ๆ บางคนดูเหมือจะไม่สามารถจัดการกับปัญหาเลยตลอดีวิต เมื่อเป็นเช่นนี้อาจนำไปสู่พฟติกรรมปรับตัวที่ไม่ดี คู่สมาสที่มีปัญหาแก้ไม่ตกจะพัฒนาความรู้สึกไม่มั่นงปลอดภัยและมีปมด้อยขึ้นมาได้ ความบ้มเหลวจะทำให้บุคคลตำหนิตนเองและดำเนินชีวิตตามแบบที่ตนเองเห็นว่าไม่เข้าท่า คนที่กลัวการปฏิเสธจากผู้อื่นอาจทำตัวให้ถูกปฏิบเสธหนักเข้าไปอีก
การหนีความจริง
แม้พฤติกรรมการปรับตัวของเราและเทคนิคต่าง ๆ จะเป็นสิ่งที่ได้รับจากวัยเด็ก แต่จะมาแสดงให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพแค่ไหนในระยะวัยรุ่น การยอมรับตนเองเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนามโนภาพต่อตนเองที่บริบูรณ์ และการบรรลุวุฒิภาวะทางอารมณ์ พฤติกรรมของการหนีความจริง ได้แก่ การติดสุรา การติดยาเสพติด และอาการโรคจิต
ความตั้งใจบกพร่อง การไม่อยู่นิ่ง มีอาการขาดสมาธิ ไม่อยู่นิ่ง ควบคุมตนเงไม่ได้ หุนหันพลันแล่น ซึ่งเป็นนานต่อกันกว่า 6 เดือน จนถึงระดับที่ไม่อาจปรับตัวได้และไม่เข้ากับระดับพัฒนาการ
การขาดสมาธิ คือการที่ไม่สามารถจดจ่อกับรายละเอียด เลินเล่อต่อกิจกรรมต่างๆ ขาดสมาธิในการฟัง การประกอบการงาน ไม่สามารถทำตามคำสั่ง ทั้งงานที่โรงเรียน บ้าน หรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ขาดความใส่ใจพยายาม ขาดความรับผิดชอบ เช่น ทำของที่จำเป็นหาย วอกแวก และหลงลืม นอกจากนี้ยังมีอาการ ไม่อยู่นิ่ง หยุกหยิก นั่งไม่ติดที่ วิ่ง ปีนป่าย อย่างมาก ไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ มีความยาก ลำบากในการทำงานอย่า่งเงียบๆ พูดมาก ขาดความอดทน เช่น มักชิงตอบคำถามก่อนจะถามจบ รอคอยไม่ได้ มักแทรกขึ้นระหว่างการสนทนา หรือระหว่างกิจกรรมต่างๆ อาการมักเกิดก่อนอายุ 7 ปี และมักพบว่าบกพร่องในสถานการที่บ้าน และที่โรงเรียน
พฤติกรรมต่อต้านสังคม มีพฤติกรรมที่ละเมิดสิทธิพื้นฐานของคนอื่น โดยมีแบบแผนพฤติกรรมที่เป็นซ้ำๆ และคงอยู่ตลอด โดยไม่เคารพกฎบรรทัดฐานที่สำคญของวันนั้น อันได้แก่ ก้าวร้าวต่อคน หรือสัตว์ ทำลายทรัพย์สิน ฉ้อโกง หรือขโมย มีการก้าวร้าวแบบเผชิญหน้า รวมทั้ง ข่มขืน การทำลาย ทรัพย์สิน จงใจวางเพลิง งัดแงะ บ้าน รถ พูดปลิ้นปล้อน หลอกลวง เลี่ยงกฎเกณฑ์ ขโมยของมีค่าแบบไม่เผชิญหน้า เช่น แอบหยิบของมีค่าจากร้าน
การละเมิดกฎอย่างรุนแรง มักเร่ิมตั้งแต่ก่อนอายุ 13 ปี โดยมีพฤติกรรมออกจากบ้านกลางคืน โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือ้างคืน โดยไม่บอกผู้ดูแลและมักหนีโรงเรียน
พฤติกรรมดังกล่าวทำให้กิจกรรมด้านการศึกษา สังคม งานบกพร่องลง อาจเริ่มมีอาการอย่างน้อย 1 อย่าง ในวัยอายุก่อน 10 หรืออาจมีอาการในวัยรุ่นก็ได้
พฤติกรรมที่แสดงออกถ้าเป็นระดับไม่รุนแรงมักเป็นพฤติกรรมทีไม่เผชิญหน้า ก่อผลเสียหาย เพียงเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นระดับรุนแรงมักก่อผลเสียต่อผู้อื่นมาก และมีพฤติกรรมแบบเผชิญหน้า เช่น ทำร้ายร่างกาย ข่มขืน เป็นต้น
พฤติการดื้อ ต่อต้าน
มีพฤติกรรม ก้าวร้าว ต่อต้าน โมโห เถียงผู้ใหญ่ ปฏิเสธระเบียบอย่งมากจงใจทำให้ผู้อื่นรำคาญ อารมณ์โกรธขุ่นเคืองอยู่เป็นนิจ อารมณ์เสียง่าย พยาบาทและใช้วิธีโทษผู้อื่น มีอารการเหล่านี้ต้องเป็นติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน สาเหตุ
ด้านพันธุกรรม จากการศึกษาวิจัยพบว่า ลักษณะโครโมโซมเพศที่มีxyy มีผลต่อพฤติกรรมก้าวร้าวได้ เป็นต้น
ด้านจิตสังคม จากการศึกษกรณีทางจิตเวช พบว่าเด็กที่ไม่ได้รับการยอมรับ ขาดพื้นฐานการไว้ใจผู้อื่น เช่น มาจากครอบครัวที่ปฏิเสธ ไม่ยอมรับ ปล่อยปละละเลย ขาดแม่ตั้งแต่วัยต้น โดยไม่มีผู้ดูที่ทอแทนแม่ได้ หรือการที่เด็กอยู่กับพ่อแม่ แต่เป็นเด็กเลี่ยงยากมาตั้งแต่เกิด ทำให้การเลี่้ยงดูเป็นลักษณะทางลบมากกว่าบวก หรือในรายที่มีปัญหาพฤติกรรมที่มีสาเหตุมาจากความบกพร่องทางสมองมาก่อน เช่น อยู่ไม่สุก วอกแวก ขาดความอดทนฯ สิ่งเหล่นนี้อาจทำให้ขาดการยอมรับจากคนรอบข้างถูกลงโทษฯ เด็กจะเก็บความรู้สึกที่ว่าตรเองไม่ดี ขณะเดียวกันก็รู้สึกว่าคนรอบข้างสังคมไม่ดีเช่นกันเด็กจึงเกิดการต่อต้าน และทำง่ายมากกว่าจะสร้างสรรค์
นอกจากนี้การเลี้ยงดูแบบลำเอียง เช่น ช่วงมีน้องใหม่เด็กอิจฉาน้อง แล้วไม่ได้รับการดูแลเรื่องความรู้สึกนี้ ก็อาจทำให้เกิดการต่อต้าน ก้าวร้าวได้ เมื่อก้าวร้าวถูกทำโทษ เด็กก็จะเพิ่มความรู้สึก เกลี่ยดชัดผู้อื่นมากขึ้น และรู้สึกตนเองด้อยก็เพิ่มขึ้นด้วย ก็ยิ่งมีพฤติกรรมที่ไม่ดี โดยไม่รู้สึกผิด ไม่แคร์ความรู้สึกผู้อื่น และเป็นเหตุให้ตกอยู่ในวงจรนี้ไปเรื่อยๆ การป้องกันจึงควรทำก่อนที่เด็กจะรู้สึกตนเองไม่ดีและคนอื่นไม่ดี ควรใช้วิธีทางบวกและสื่อสารในทางบวกมากกว่าลบ ไม่ควรตำหนิที่ตัวเด็ก แต่ให้พูดถึงพฤติกรรมที่เราไม่ชอบ ที่ชอบเป็นอย่างไร และให้ความรักเด็กโดยแสดงออกทั้งคำพูดและท่าทาง
พฤติกรรมที่เป็นปัญหา ซึ่งพบบ่อยในเด็กและวัยรุ่น
ปัญหาการแยกจาก มีความกังวลเกินควรที่จะต้องห่างบ้าน ห่างคนที่รู้สึกผูกพันด้วย ในวัยรุ่นมักพบว่ามีอาการกังวลกลัวเรื่องการสูญเสีย กลัวคนที่ผูกพันจะเกิดอันตราย มักคิดถึงเหตุการณ์ร้าย ๆ กับคนที่ตนรัก และกลัวจะเกิดขึ้นจริง มักมีอาการฝันร้ายซ้ำๆ เรื่องการพลัดพราก บางครั้งไม่อยากอยู่คนเดียว ไม่อยากนอนคนเดียว ถ้าไปนอนค้างนอกบ้านจะลังเลอย่างมาก หรือปฏิเสธถ้าไม่มีคนที่ผูกพันสนิทอยู่ด้วย นอกนี้อาจมีอาการทางกายร่วมด้วย... ซึงสาหตุมาจากการเลี้ยงดูทีปกป้องมากเกินไป จนทำให้เด็กเกิดความผูกพันจนแยกไม่ออกระหว่างตนเองกับผู้อืน เด็กถูกวางเงื่อนไขว่าสถานการณ์ต่างๆ ไม่น่าปลอดภัย ไม่น่าไว้วางใจ เด็กไม่ได้ถูกฝึกให้ช่วยเหลือตนเอง ไม่เรียนรู้ความเป็นตัวของตัวเอง ทำให้อยากพึงพิงผู้อื่นอยู่รำ่ไป เมื่อโตขึ้น รู้สึกขาดที่พึ่งไม่ได้ ไม่สามารถยืนได้ด้วยตนเอง และอาจเรียนรู้เรื่องการคิดทางลบ ขี้กังวล เครียดง่าย จากคนรอบข้าง
พฤติกรรมขาดประสิทธิภาพ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามลักษณะดังนี้
การบิดเบือนความจริง การพัฒนาพฤติกรรมปรับตัวที่มีประสิทธิภาพที่สำคัญคือ ความสามารถที่จะรับรู้ความจริงอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง บุคคลจะต้องแยกใหได้ระหว่างความจริงกับส่ิงที่เขาจินตนาการไปเอง ระหว่งแรงจูงใจในระดับจิตสำนึกกับจิตใต้สำนึก ผู้ที่แยกระหว่างความจริงกับการเพ้อฝันไม่ได้ คือ พวกที่เป็นโรคจิต พวกที่มีความวิตกกังวลเป็นตัวผลักดันให้กระทำในสิ่งที่ขาตเหตุผลจะมาอธิบาย คือ อาการโรคประสาท ในพวกโรคจิตสูญเสียความจริงไปทั้งหมด ในพวกโรคประสาทเป็นการหลีกหนีความเป็นจริงโดยการเก็บกด
นอกจานี้จะพบว่า ยังมีพวกที่พฤติกรรมการปรับตัวไม่เหมาะสมที่มีระดับการต่อสู้กับตนเองน้อยกว่าแบบอื่น พวกนี้ก่อความยุ่งยากให้กับคนอื่นมากว่าตนเอง คนอื่นมักตกเป็นเหยื่อของพวกนี้ ซึ่งมีลักษณะบิดเบือนความจริงให้สนองความต้องการของตน มีการปรับตัวทางสังคมไม่ดี ไม่มีความรู้สึกขัดแย้ง วิตกกังวล หรือสำนึกบาป มักก่อปัญหาให้ผู้อื่น
เป็นผลมาจากการพัฒนาบุคลิกภาพแบบผิดๆ เรียนรู้การแสดงพฟติกรรมบางอย่างเมื่อเกิดความขัดแย้งแทนการพยายามปรับตัวด้วยการเก็บกดความปรารถนาที่ไม่เป็นที่ยอมรับมีลักษณะที่สำคัญ ือ การแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมเป็นแบบฉบับประจำตัว จะปรกกฎอาการให้เห็นในระยะวัยรุ่น พฤติกรรมดังกล่าวจะก่อกวนความสัมพันธ์กับผุ้คนมากกว่าการเรียนหรือการทำงาน ไม่สามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
ลักษณะบุคลิกถาพผิดปกติ
การผลัดผ่อน การประวิงเวลาถือเป็นการแสดงความมุ่งร้ายที่ซ่อนอยู่ภายในพวกนี้เกิดความรู้สึกว่าคนจะตำหนิสิ่งที่ยังไม่ได้ทำน้อยกว่าสิ่งที่ปฏิบัติแล้ว ในขณะที่ผลัดผ่อนไปเรื่อยๆ จะแสดงออกว่าตนจริงใจ ทำตัวมีเสน่ห์ และเห็นชอบด้วย
บุคลิกภาพระแวง ลักษณะที่สำคัญอย่างยิ่งของผุ้ที่มีบุคลิกภาพแบบนี้คือ ความริษยาแบบโง่ๆ ความริษยาเกิดจากความไม่ไว้วางใจ ชอบล่อหลอกหาทางจับผิดผู้อื่น ชอบถามซอกแซกเพื่อรู้เรื่องราวของคนอื่น แรกๆ ผู้คนจะรู้สึกว่าพวกนี้เอาใจใส่ผู้อื่น แต่หนักๆ เข้าจะรู้จะรู้สึกรำคาญ พวกนี้ไวต่อความรู้สึกไปหมดทุกเรื่อง มักอ้าวว่าการกระทำต่างๆ ของตนเองเป็นไปเพราะความรัก
บุคลิกภาพเจ้าระเบียบ ลักษณะที่มักแสดงออกคือ การเคร่งครัดต่อกฎระเบียบ ระมัดระัง เป็นพวกพิถีพิถัน ละเอียดถี่ถ้วนมักจะครุ่นคิดในเรื่องความสะอาดและอนามัย ทุกอย่างต้องประณีตมีระเบียบ ใช้เวลามากมายกับเรื่องรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ
การหลีกเลี่ยงความจริง
คำพูดที่ว่า "พ้นสายตาก็จะจางไปจากใจ" คงไม่จริงเมือเราพบว่าปัญหาไม่ได้พ้นไปจากใจง่าย ๆ บางคนดูเหมือจะไม่สามารถจัดการกับปัญหาเลยตลอดีวิต เมื่อเป็นเช่นนี้อาจนำไปสู่พฟติกรรมปรับตัวที่ไม่ดี คู่สมาสที่มีปัญหาแก้ไม่ตกจะพัฒนาความรู้สึกไม่มั่นงปลอดภัยและมีปมด้อยขึ้นมาได้ ความบ้มเหลวจะทำให้บุคคลตำหนิตนเองและดำเนินชีวิตตามแบบที่ตนเองเห็นว่าไม่เข้าท่า คนที่กลัวการปฏิเสธจากผู้อื่นอาจทำตัวให้ถูกปฏิบเสธหนักเข้าไปอีก
การหนีความจริง
แม้พฤติกรรมการปรับตัวของเราและเทคนิคต่าง ๆ จะเป็นสิ่งที่ได้รับจากวัยเด็ก แต่จะมาแสดงให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพแค่ไหนในระยะวัยรุ่น การยอมรับตนเองเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนามโนภาพต่อตนเองที่บริบูรณ์ และการบรรลุวุฒิภาวะทางอารมณ์ พฤติกรรมของการหนีความจริง ได้แก่ การติดสุรา การติดยาเสพติด และอาการโรคจิต
วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
aggressive
คำจำกัดความของความก้าวร้าวตามแนวคิดนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษาเรื่องความก้าวร้าง คือ บารอน Baron ได้กล่าวถึงนิยามความก้าวร้าวไว้ว่า คือ "พฤติกรรมใดก็ตาม ที่มีจุดมุ่งหมายในการทำร้าย หรือทำให้เกิดการบาดเจ็บแก่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ โดยทีสิ่งมีชีวิตนั้น พยายามหลีกหนีจากการถูกทำร้ายนั้นๆ"
คำจำกัดความนี้จะเห็นว่าความก้าวร้าวเป็นพฤติกรรมทางสัังคมที่มีความเกี่ยวข้องทางสังคมหลายระดับ เช่น ระหว่างมีชีวิตอย่างน้อย 2 สิ่ง คือ ผู้รุกราน และเหยื่อ นอกจานี้ก็มีความเกี่ยวข้องทางแรงขับเข้ามาประกอบ คือแรงขับที่จะทำร้ายผู้อื่น และแรงขับที่จะหลีกหนีการถูกทำร้ายนั้น ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกันก็คือ พลังอำนาจของผู้รุก และผู้ต้าน จะต้องแตกต่างกัน การทำร้ายผู้อื่นได้นั้นจะต้องหมายความว่าผู้รุกจะต้องมีพลังอำนาจพอที่จะเอาชนะการต่อต้านของฝ่ายตรงข้ามได้ ตัวแปรสุดท้ายของความเกี่ยวข้องกันก็คือ สภาพสิ่งแวดล้อมและกาลเวลา กล่าวคือ ผู้รุกราน และเหยื่อจะต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่การรุกจะเกิดขึ้นได้ ถ้าผู้รุกอยู่ขั้วโลกเหนือ และเหยื่ออยู่ขั้วโลกได้ การรุกรานอาจทำได้โดยไม่สะดวกนักเป็นต้น
ทฤษำีที่เกี่ยวกับความก้าวร้าว แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 3 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มที่เน้นเรื่องสัญชาติญาณ
- กลุ่มที่เน้นเรื่องแรงขับ
- กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้
ทฤษฎีทางสัญชาติญานและชีววิทยา ตามแนวคิดของฟรอย และทฤษฎีจิตวิเคราะห์นั้นได้รากฐานมาจากความเชื่อทางสรีวิทยา กล่าวคือ มนุษย์มีความต้องการทางสรีรวิทยาอยู่เสมอ และเมื่อมีความต้องการเกิดขึ้นก็ได้ก่อให้เกิดความกระวนกระวายใจ และความกดดันขึ้นแก่บุคคลกลายเป็นพลังงานที่ร่างกายจะต้องขับออกไปด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้นพลังงานความก้าวร้าวนี้จึงเป็นส่ิงที่เกิดจากการสะสมของความต้องกาทางร่างกายนี้เอง เป็นสัญชาติญาณส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิต
นักสัตว์ศาสตร์มีความสนใจศึกษาแบบแผนพฤติกรรมทางสัญชาติญาณของสิ่งมีชีวิต นักสัตว์ศาสตร์มักจะศึกษาพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต ในสภาพธรรมชาิตเพื่อแสวงหาความเข้าใจในแบบแผนทางพฤติกรรมของสัตว์เหล่านั้นอย่างชัดเจนและนำมาประยุกต์ในการเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ได้อีกด้วย
ในเรื่องของความก้าวร้าวนี้ นักสัตว์ศาสตร์มีความเห็นใกล้เคียงกับพวกนักจิตวิเคราะห์มาก กล่าวคือพวกนี้มีความเชื่อว่าการแสดงออกของพฤติกรรมก้าวร้าวนั้น กำเนดจากการที่พลังงานได้ถูกเก็บสะสมเอาไว้มากๆ แต่กลุ่มนี้มีความเห็นเพิ่มเติมอีกว่า ในการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวนั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอก กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการแสดงความก้าวร้าวจะเกิดโดดๆ ไม่ได้ จะต้องมีสิ่งกระตุ้นเกิดขึ้นเป็นตัวลือพฤติกรรมก้าวร้าวจึงปรกกฎตามมา กลุ่มนี้จึงย้ำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของตัวล่อกับพฤติกรรมก้าวร้าวว่าจะต้องเกิดร่วมกันเสมอ
กล่าวโดยสรุป ทั้งทฤษฎีจิตวิเคราะห์ และทฤษฎีทางชีววิทยานี้ ต่างก็มองความก้าวร้าวว่าเกิดจากพัลังงานที่ร่างกายเก็บสะสมเอาไว้ และมาแสดงออกในลักษณะของความก้าวร้าวแต่ทฤษฎีทางชีววิทยานี้ได้เปรียบกว่าทฤษฎีทางจิตวิเคราะห์อยู่ตรงที่ ได้นำปัจจัยหรือตัวกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมเข้ามาสัมพันธ์กับการแสดงความก้าวร้าวด้วย แต่ทั้ง 2 ทฤษฎีต่างก็เชื่อในเรื่องของสัญชาติญาณความก้าวร้าวเป็นสวนที่กำเนิขึ้นเองภายในบุคคลและสัตว์ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิตทุกรูปแบบ
ทฤษฎีแรงขับ
สมมุติว่า ท่านมีธุระจะต้องไปขึ้นรถไฟให้ทัน ปรากฎว่ารถที่นั่งไปยางเกิดแตกโดยที่ในรถไม่ียางอะไหล่ และเป็ฯถนนเปลี่ยวที่ไม่ใคร่มีรถวิ่งผ่าน ท่านจะรู้สึกอย่างไร..โมโห..ฉุนเฉียว..มนุษย์ทุกคนคงเคยประสบเหตุการณ์ที่ทำให้เราต้องหัวเสีย หงุดหงิด โกระแค้นกันแทบทั้งสิ้น และแต่ละคนก็คงมีปฏิกริยาตอบโต้ต่ความหงุดหงิดในลักษณะที่แตกต่างกันทฤษฎีแรงขับมีความเชื่อว่า ความก้าวร้าวจะมีสาเหตุโดยตรงมาจากมาจากความคับข้องใจ
ดอลลาร์ดและเพื่อนเขามีความเห็นว่าความคับข้องใจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดปฏิกริยาก้าวร้าวเสมอ ถ้าแปลตรงตัวตามทฤษฎีนี้ก็จะหมายความว่า ความคับข้องใจนั้นไม่ว่าจะเกิดจำนวนสักน้อยนิดหรือมากมายเพียงใดก็ตาม ย่อมจะต้องนำไปสู่การแสดงออกถึงความก้าวร้าวเสมอ
เบอร์โกวิท ได้ทำการปรับปรุงทฤษฎีแรงขับ ความเห็นของเขามีดังนี้
- สภาพอารมณ์ที่ถูกปิดกั้น ไม่ให้ไปถึงจุดหมายที่ต้องการจะเป็นปัจจัยทำให้บุคคลโกรธ
- ความโกรธจะไม่นำไปสู่ความก้าวร้าวในทันที แต่อารมณ์โกรธจะทำให้บุคคลเตรียมพร้อมที่จะก้าวร้าว
- ความก้าวร้าวจะเกิดได้ต้องมีตัวกระตุ้นที่เหมาะสม ตัวกรุตุ้นนี้อาจเป็นสิ่งในสถานการณ์อดีต ปัจจุบันก็ได้ อาจเป็นสิ่งที่อยู่นอกหรือในตัวลุคคลผู้นั้นถ้าโกรธมีปริมาณรุนแรงมากพอ
- การแสดงความก้าวร้าวบ่อยๆ จะก่อให้เกิดเป็นอุปนิสัยก้าวร้าว แม้ในระยะหลังปราศจากความคับข้องใจ ก็อาจแสดงความก้าวร้าวออกมาได้เช่นกัน
สถานภาพความคับข้องใจหรือสภาพอารมณ์โกรธจะนำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าวได้ หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือความก้าวร้าวนั้นมีสาเหตุประการหนึ่งมาจากอารมณ์โกรธที่เป็นความคับข้องใจนั้นเอง
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่า มนุษย์เรียนรู้โดยการเลียนแบบ สังเกต และจดจำจากแม่แบบ โดยเฉพาะการเียนรู้จากแม่แบบนั้นทางกลุ่มที่เชื่อเรื่องเรียนรู้นี้เห็นว่ามีความสำคัญมากกว่าการเรียนรู้ด้วยวิธีอื่นได จอห์นสัน
นักจิตวิทยาการเรียนรู้ที่เชื่อในเรื่องความก้าวร้าวเกดจากการเรียนรู้จากแม่แบบนี้ ได้ทำการทดลองเรื่องการเรียนรู้ความก้าวร้าวนี้ไว้ ผลสรุปของแบนดูราถูกวิจารณ์ในแง่ของความก้าวร้าวที่มาจากสื่อมวลชน กล่าวคือ เด็กจะแสดงกริยาก้าวร้าวตามแม่แบบที่ได้สังเกต นอกจากนี้แบนดูร่ายังได้แสดงให้เห็นอีกด้วยว่า แม่แบบที่เด็กๆ เรียนรู้วิธีการนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับเด็กเสมอไป อาจเป็นสิ่งที่เด็กเห็นและสังเกตได้จากจอโทรทัศน์ได้เช่นกัน
ผลสรุปของแยนดูราถูกวิจารณ์ในแง่ของความก้าวร้าวมาจากสื่อมวลชน กล่าวคือ ยังไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยเด็ดขาดว่าความโหดร้ายทารุณที่สื่อมวลชนเสนอ โดยเฉพาะทางโทรทัศน์นั้นจะเป็นสาเหตุให้เกิดความก้าวร้าวเป็นที่แน่นอน อย่างไรก็ดี สิ่งหนึ่งที่เราจะปฏิเสธไม่ได้จากการทอลองของแบนดูราคือ การเลี่ยนแบบได้นำไปสู่พฤติกรรมหลายประเภท และพฤติกรรมก้าวร้าวนี้ก็เป็นส่วนหสค่งที่เกิดจากการเห็นจากแม่แบบ หรือเราอาจจะพูดสรุปได้กว้างๆ ว่า พฤติกรรมก้าวร้าวนี้มีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ มากมาย การเรียนรู้โดยการสังเกต และมีแม่แบบก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวได้
ทฤษฎีทั้งสามกล่าวถึงสาเหตุของความก้าวร้าวไว้ต่างกัน ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ และทางชีววิทยามีความเชื่อว่าความก้าวร้าวเป็นสัญชาติญาณ เป็นการแสดงออกของความต้องการทางสรีรวิทยา ความก้าวร้าวในที่นี้คือพลังงานที่เก็บสะสมไว้และต้องการแสดงออก ส่วนความเชื่อทางทฤษฎีแรงขับนั้นเห็นว่าสภาพอารมณ์โกรธจะนำไปสู่ความก้าวร้าวได้โดยเฉพาะเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นที่เหมาะสม ในขณะที่ความเชื่อของทฤษฎีการเรียนรู้นั้น ย้ำในเรื่องความสำคัญของการเลี่ยนแบบโดยเฉพาะจากแม่แบบ ถ้าแม่แบบแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวจะมีผลทำให้ผู้สังเกตจดจำและมีพฤติกรรมก้าวร้าวบ้างในโอกาสต่อไป
คำจำกัดความนี้จะเห็นว่าความก้าวร้าวเป็นพฤติกรรมทางสัังคมที่มีความเกี่ยวข้องทางสังคมหลายระดับ เช่น ระหว่างมีชีวิตอย่างน้อย 2 สิ่ง คือ ผู้รุกราน และเหยื่อ นอกจานี้ก็มีความเกี่ยวข้องทางแรงขับเข้ามาประกอบ คือแรงขับที่จะทำร้ายผู้อื่น และแรงขับที่จะหลีกหนีการถูกทำร้ายนั้น ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกันก็คือ พลังอำนาจของผู้รุก และผู้ต้าน จะต้องแตกต่างกัน การทำร้ายผู้อื่นได้นั้นจะต้องหมายความว่าผู้รุกจะต้องมีพลังอำนาจพอที่จะเอาชนะการต่อต้านของฝ่ายตรงข้ามได้ ตัวแปรสุดท้ายของความเกี่ยวข้องกันก็คือ สภาพสิ่งแวดล้อมและกาลเวลา กล่าวคือ ผู้รุกราน และเหยื่อจะต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่การรุกจะเกิดขึ้นได้ ถ้าผู้รุกอยู่ขั้วโลกเหนือ และเหยื่ออยู่ขั้วโลกได้ การรุกรานอาจทำได้โดยไม่สะดวกนักเป็นต้น
ทฤษำีที่เกี่ยวกับความก้าวร้าว แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 3 กลุ่ม ดังนี้
- กลุ่มที่เน้นเรื่องสัญชาติญาณ
- กลุ่มที่เน้นเรื่องแรงขับ
- กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้
ทฤษฎีทางสัญชาติญานและชีววิทยา ตามแนวคิดของฟรอย และทฤษฎีจิตวิเคราะห์นั้นได้รากฐานมาจากความเชื่อทางสรีวิทยา กล่าวคือ มนุษย์มีความต้องการทางสรีรวิทยาอยู่เสมอ และเมื่อมีความต้องการเกิดขึ้นก็ได้ก่อให้เกิดความกระวนกระวายใจ และความกดดันขึ้นแก่บุคคลกลายเป็นพลังงานที่ร่างกายจะต้องขับออกไปด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้นพลังงานความก้าวร้าวนี้จึงเป็นส่ิงที่เกิดจากการสะสมของความต้องกาทางร่างกายนี้เอง เป็นสัญชาติญาณส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิต
นักสัตว์ศาสตร์มีความสนใจศึกษาแบบแผนพฤติกรรมทางสัญชาติญาณของสิ่งมีชีวิต นักสัตว์ศาสตร์มักจะศึกษาพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต ในสภาพธรรมชาิตเพื่อแสวงหาความเข้าใจในแบบแผนทางพฤติกรรมของสัตว์เหล่านั้นอย่างชัดเจนและนำมาประยุกต์ในการเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ได้อีกด้วย
ในเรื่องของความก้าวร้าวนี้ นักสัตว์ศาสตร์มีความเห็นใกล้เคียงกับพวกนักจิตวิเคราะห์มาก กล่าวคือพวกนี้มีความเชื่อว่าการแสดงออกของพฤติกรรมก้าวร้าวนั้น กำเนดจากการที่พลังงานได้ถูกเก็บสะสมเอาไว้มากๆ แต่กลุ่มนี้มีความเห็นเพิ่มเติมอีกว่า ในการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวนั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอก กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการแสดงความก้าวร้าวจะเกิดโดดๆ ไม่ได้ จะต้องมีสิ่งกระตุ้นเกิดขึ้นเป็นตัวลือพฤติกรรมก้าวร้าวจึงปรกกฎตามมา กลุ่มนี้จึงย้ำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของตัวล่อกับพฤติกรรมก้าวร้าวว่าจะต้องเกิดร่วมกันเสมอ
กล่าวโดยสรุป ทั้งทฤษฎีจิตวิเคราะห์ และทฤษฎีทางชีววิทยานี้ ต่างก็มองความก้าวร้าวว่าเกิดจากพัลังงานที่ร่างกายเก็บสะสมเอาไว้ และมาแสดงออกในลักษณะของความก้าวร้าวแต่ทฤษฎีทางชีววิทยานี้ได้เปรียบกว่าทฤษฎีทางจิตวิเคราะห์อยู่ตรงที่ ได้นำปัจจัยหรือตัวกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมเข้ามาสัมพันธ์กับการแสดงความก้าวร้าวด้วย แต่ทั้ง 2 ทฤษฎีต่างก็เชื่อในเรื่องของสัญชาติญาณความก้าวร้าวเป็นสวนที่กำเนิขึ้นเองภายในบุคคลและสัตว์ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิตทุกรูปแบบ
ทฤษฎีแรงขับ
สมมุติว่า ท่านมีธุระจะต้องไปขึ้นรถไฟให้ทัน ปรากฎว่ารถที่นั่งไปยางเกิดแตกโดยที่ในรถไม่ียางอะไหล่ และเป็ฯถนนเปลี่ยวที่ไม่ใคร่มีรถวิ่งผ่าน ท่านจะรู้สึกอย่างไร..โมโห..ฉุนเฉียว..มนุษย์ทุกคนคงเคยประสบเหตุการณ์ที่ทำให้เราต้องหัวเสีย หงุดหงิด โกระแค้นกันแทบทั้งสิ้น และแต่ละคนก็คงมีปฏิกริยาตอบโต้ต่ความหงุดหงิดในลักษณะที่แตกต่างกันทฤษฎีแรงขับมีความเชื่อว่า ความก้าวร้าวจะมีสาเหตุโดยตรงมาจากมาจากความคับข้องใจ
ดอลลาร์ดและเพื่อนเขามีความเห็นว่าความคับข้องใจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดปฏิกริยาก้าวร้าวเสมอ ถ้าแปลตรงตัวตามทฤษฎีนี้ก็จะหมายความว่า ความคับข้องใจนั้นไม่ว่าจะเกิดจำนวนสักน้อยนิดหรือมากมายเพียงใดก็ตาม ย่อมจะต้องนำไปสู่การแสดงออกถึงความก้าวร้าวเสมอ
เบอร์โกวิท ได้ทำการปรับปรุงทฤษฎีแรงขับ ความเห็นของเขามีดังนี้
- สภาพอารมณ์ที่ถูกปิดกั้น ไม่ให้ไปถึงจุดหมายที่ต้องการจะเป็นปัจจัยทำให้บุคคลโกรธ
- ความโกรธจะไม่นำไปสู่ความก้าวร้าวในทันที แต่อารมณ์โกรธจะทำให้บุคคลเตรียมพร้อมที่จะก้าวร้าว
- ความก้าวร้าวจะเกิดได้ต้องมีตัวกระตุ้นที่เหมาะสม ตัวกรุตุ้นนี้อาจเป็นสิ่งในสถานการณ์อดีต ปัจจุบันก็ได้ อาจเป็นสิ่งที่อยู่นอกหรือในตัวลุคคลผู้นั้นถ้าโกรธมีปริมาณรุนแรงมากพอ
- การแสดงความก้าวร้าวบ่อยๆ จะก่อให้เกิดเป็นอุปนิสัยก้าวร้าว แม้ในระยะหลังปราศจากความคับข้องใจ ก็อาจแสดงความก้าวร้าวออกมาได้เช่นกัน
สถานภาพความคับข้องใจหรือสภาพอารมณ์โกรธจะนำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าวได้ หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือความก้าวร้าวนั้นมีสาเหตุประการหนึ่งมาจากอารมณ์โกรธที่เป็นความคับข้องใจนั้นเอง
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่า มนุษย์เรียนรู้โดยการเลียนแบบ สังเกต และจดจำจากแม่แบบ โดยเฉพาะการเียนรู้จากแม่แบบนั้นทางกลุ่มที่เชื่อเรื่องเรียนรู้นี้เห็นว่ามีความสำคัญมากกว่าการเรียนรู้ด้วยวิธีอื่นได จอห์นสัน
นักจิตวิทยาการเรียนรู้ที่เชื่อในเรื่องความก้าวร้าวเกดจากการเรียนรู้จากแม่แบบนี้ ได้ทำการทดลองเรื่องการเรียนรู้ความก้าวร้าวนี้ไว้ ผลสรุปของแบนดูราถูกวิจารณ์ในแง่ของความก้าวร้าวที่มาจากสื่อมวลชน กล่าวคือ เด็กจะแสดงกริยาก้าวร้าวตามแม่แบบที่ได้สังเกต นอกจากนี้แบนดูร่ายังได้แสดงให้เห็นอีกด้วยว่า แม่แบบที่เด็กๆ เรียนรู้วิธีการนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับเด็กเสมอไป อาจเป็นสิ่งที่เด็กเห็นและสังเกตได้จากจอโทรทัศน์ได้เช่นกัน
ผลสรุปของแยนดูราถูกวิจารณ์ในแง่ของความก้าวร้าวมาจากสื่อมวลชน กล่าวคือ ยังไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยเด็ดขาดว่าความโหดร้ายทารุณที่สื่อมวลชนเสนอ โดยเฉพาะทางโทรทัศน์นั้นจะเป็นสาเหตุให้เกิดความก้าวร้าวเป็นที่แน่นอน อย่างไรก็ดี สิ่งหนึ่งที่เราจะปฏิเสธไม่ได้จากการทอลองของแบนดูราคือ การเลี่ยนแบบได้นำไปสู่พฤติกรรมหลายประเภท และพฤติกรรมก้าวร้าวนี้ก็เป็นส่วนหสค่งที่เกิดจากการเห็นจากแม่แบบ หรือเราอาจจะพูดสรุปได้กว้างๆ ว่า พฤติกรรมก้าวร้าวนี้มีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ มากมาย การเรียนรู้โดยการสังเกต และมีแม่แบบก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวได้
ทฤษฎีทั้งสามกล่าวถึงสาเหตุของความก้าวร้าวไว้ต่างกัน ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ และทางชีววิทยามีความเชื่อว่าความก้าวร้าวเป็นสัญชาติญาณ เป็นการแสดงออกของความต้องการทางสรีรวิทยา ความก้าวร้าวในที่นี้คือพลังงานที่เก็บสะสมไว้และต้องการแสดงออก ส่วนความเชื่อทางทฤษฎีแรงขับนั้นเห็นว่าสภาพอารมณ์โกรธจะนำไปสู่ความก้าวร้าวได้โดยเฉพาะเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นที่เหมาะสม ในขณะที่ความเชื่อของทฤษฎีการเรียนรู้นั้น ย้ำในเรื่องความสำคัญของการเลี่ยนแบบโดยเฉพาะจากแม่แบบ ถ้าแม่แบบแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวจะมีผลทำให้ผู้สังเกตจดจำและมีพฤติกรรมก้าวร้าวบ้างในโอกาสต่อไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...