วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Structuralism

           วิลแฮม  วุ้นด์ : จุดเริ่มต้นของโครงสร้างทางจิต
            วุ้นด์ เป็นผู้ "แยก" จิตวิทยาออกจากปรัชญาและนำจิตวิทยาเข้าสู่การทดลอง วุ้นด์ให้ความสำคัญกับสรีรจิตวิทยาดังนั้นจึงใช้วิธีการและเครื่องมือต่างๆ ทางสรีรวิทยา วุ้นด์มีคามตั้งใจที่จะศึกษาเรื่องของ "จิต"(mind)หรือ "จิตสำนึก" (consciousness)และในการนี้วิธีการที่ใช้จะรวมเรื่องของการทดลองและการสำรวจทางจิต ผลสรุปที่ได้จากห้องทดลองในด้านต้านต่างๆ ดังนี้
      การสัมผัสและการรับรู้ จัดเป็นหัวใจสำคัญของการทดลอง การมองเห็นและการได้ยินเป็นวิธีการทางสรีรจิตวิทยาที่สำคัญในการที่จะศึกษาAbsolute และ Difference Threshold นอกจานี้แล้วยังศึกษาเรื่องของความแตกต่างของสี การผสมสี การเคลื่อไหวของดวงตา รวมทั้งเรื่องของมโนภาพและการสัมพัส
      ปฏิกิริยาตอบสนอง ได้ถูกศึกษาโดยเฮมโฮลล์และดอนเดอร์ แต่สำหรับวุ้นด์นั้นได้พัฒนาการศึกษาเกี่ยวกับสถานการณ์การรับรู้ที่สลับซับซ้อนขึ้นนปฏิกิริยาตอบสนองทั่วไปนั้นจะมีปฏิกิริยาใกนากรตอบสนองให้เร็วที่สุดกับส่ิงเร้าเพียงอย่างเดียว แต่ในปฏิกิริยาตอบสนองทั่วๆ ไปนั้นจะมีปฏิกิริยาในการตอบสนองให้เร็วที่สุดกับสิ้งเร้าเพียงอย่างเดียว แต่ในปฏิกิริยาการตอบสนองที่สลับซับซ้อนขึ้นนั้นกระบวนการทางจิตจะเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น อาจให้ดูแสงสี 2 สี เขียวกับแดง จะต้องมีปฏิกิริยากับสีแดงเท่านั้น วุ้นด์คิดว่าทีการรับรู้ครั้งแรกกับสีแดงนั้นเป็น "การรับรู้"และตามด้วย "การไม่รับรู้" ในสีเขียว นั้นคือการแยกระหว่างสีแดงและสีเขียวและสุดท้ายจะมีการตอบสนองต่อคำสั่ง
      ความตั้งใจ วุ้นด์คิดว่าความตั้งใจเป้นเรื่องของการรับรู้ที่เจาะจงในระดับของิตสำนึก โดยที่ความตั้งใจจะแยกจากส่วนของจิตสำนึกอื่นๆ ระยะเวลาและการเกิดของความตั้งใจเป็นสิ่งที่ควรศึกษาคาเทลได้ศึกษาเรื่องของระยะเวลาของความตั้งใจ ระยะเวลาและการเกิดของความตั้งใจเป็นสิ่งที่ควรศึกษาคาเทลได้ศึกษาเรื่องของระยะเวลาของความตั้งใจ โดยพยายามจะศึกษาให้เป็นหน่วยต่างๆ โดยดูจากตัวเลข ตัวอักษร คำ และจุดซึ่งจะเป็นสิ่งที่จะช่วยเข้าใจสิ่งเร้าได้ดี
      ความรู้สึก ถูกศึกษาโดยวิธีการใหนการเปรียบเทียบ ผู้ทดลองต้องเปรีบเทียบส่ิงเร้ากับอนุกรมขชองสิ่งนั้ เช่น ถ้าต้องการเปรียบเทียบกับเสียงที่ทำให้เกิดความสุข ผู้ทอลองจะต้องเปรีบบเทียบในแต่ละครั้งของการเปรียบเทียบผู้ทอลองจะต้องบอกว่าเสียงใดที่ให้ความ รู้สึกทีดีกับหูมากที่สุด
      จิตวิทยาเป็นการศึกษาจิตสำนึก วุ้นด์มองดูจิตสำนึกเหมือนกับเป็นองค์ประกอบของธาตุหรืออะตอม ซึ่งมี 2 ระดับ คือ ประสาทสัมผัส และความรู้สึก ประสาทสัมผัสเป็นเหมือนกับ ออฟเจค คอนเทนส์ของจิตสำนึก และความรู้สึกเป็น ซับเจคทีบ เพราะฉะนั้นจิตสำนึกจังเป็นผลของการรวมกันขององค์ประกอบเหล่านัน องค์ประกอบองประสาทสัมผัสจะผ่านทางประสาทสัมผัสไม่ว่าเป็นการมองเห็น ได้ยิน สัมผัส รส กลิ่น หรืออื่น ๆ ในส่วนของความรู้สึกมี 3 องค์ประกอบคือ ตื่นเต้น  สงบ สนุกสนาน ไม่สนุกสนาน ตึงเครียด ผ่อนคลาย ซึ่งความรู้สึกต่างๆ เหล่านี้ตั้งอยู่ 3 ลักษณะ
      ทั้งการับสัมผัสและความรู้สึกมี 2 ลักษณะ คือ  ความเข้าความสว่างของสี ความดังของเสียง หรือจำนวนของการกดลงของการสัมพัส
     คุณภาพของความรู้สึกที่มีต่อเฉพาะเสียง รส หรือความอุ่นร้อน วุ้นด์กล่าวว่าความรู้สึกเป็นสิ่งที่ไม่ชัดเจนและลำบากในการทีจีชี้บ่ง และเมือประสาทสัมผัสและความรู้รวมกันผลจะออกมาเป็น psychical compound ดังนั้น คอมพลาวด์ อาจจะเป็นเรื่องเฉพาะประสาทสัมผัสหรือความรู้สึกหรืออาจเป็นผลรวมของทั้ง 2 อย่าง ความคิดหรือ ไอเดีย อาจเป็นส่วนหนึ่งของ คอมพลาว์ด หนึ่ง เช่น่วนที่เกี่ยวกับดอกกุหลาบอาจจะเห็น (ด้วยประสาทสัมผัส) เป็นสีชมพู หรือสีเขียว นุ่มนวลในการสัมผัส มีกลิ่นห่อมและไใ้ความรู้สึกของความรื่นรมย์
      ในส่วนที่สอง คือ การมณ์ อารมณ์เป็นผลรวมที่สลับซับซ้อนของความรู้สึกที่ต่าง ๆ กันออกไปและถ้าความรู้สึกเกิดขึ้นมากจะเกิดความปรรถนาตามมา คสเราอาจจะมี
      ความตั้งใจ หมายถึงเรื่องของจิตสำนึก ซึ่งเน้นถึงจิตสำนึกในส่วนที่เฉพาะเจาะจงเมืองกระบวนการของจิตสำนึกเปลี่ยนไปรูปแบบของความตั้งใจจะเปลี่ยนรูปไป และเกิดเป็นรูปแบบใหม่เกิดขึ้นโดยอาจจะเข้าไปสู่จิตสำนึกบางส่วนและอาจจะหายไป ผลรวมของแต่ละส่วนคือทั้งหมดในขณะนั้น
       กฏการเชื่อโยง ทางหนึ่งของการเชื่อมโยงของจิต คื อ"ความสัมพันธ์เชื่อโยง" ความสัมพันธ์เชื่อมโยงจะเป็นตัวเชื่อมจิตสำนึกเข้าด้วยกัน วุ้นด์มองไกลกว่านั้นโดยได้รวมเอากฎของ "creative synthesis" ซึ่งเหมือนกับที่จอห์น มิลล์กล่าวถึง "mental chemistry" ซึ่ง
        เกมือนกับกฎทางเคมีอื่น ๆ ที่พูดถึงธาตุ 2 ชนิดหรือมากกว่านั้นจะทำให้เกิดธาตุใหม่ ซึ่งผลที่ได้ออามาอาจจะมากกว่าเป็นผลของธาตุนั้นเท่านั้น วุ้นด์ยังพูดถึงกฎของ "Psychic relation" ซึ่งกฎนี้จะให้ความสนใจกับปัญหาหรือนัยสำคัญของเหตุการณ์เฉพาะอยาง วุ้นด์ไม่เคยพูดถึงเรื่องของปัญหาแต่ยังคงอยู่และทิชเนอร์นำมาพูดใน Context Theory
         ในเรื่องของการเรียนรู้สำหรับวุ้นด์แล้ววุ้นด์ไม่ได้กล่าวถึงมากพอฟ กับที่กลุ่มประจักษ์นิยมกล่วไว้ คือ เรื่องการเชื่อมโยงความคิดในเวลาและโอกาสที่เหมาสม นั้นคือการที่ประสาทสัมผัสเป็นผู้ทำให้เกิดมโนภาพ และว้นด์ได้เพิ่มเรื่องของ "Law of Psychic Fusion" ซึ่งกล่าวถึงเรื่องเรื่องประสบการณ์ใหม่อาจเกิดขึ้นโดยที่ไม่รู้ตัวก็ไ นอกจากนี้แล้ววุ้นด์เห็นว่าความจำเป็นเรื่องของการถูกกระทำแต่ความคิดเป็นผุ้กระทำ นั่นคือ ประะสบการณ์เป็นสถานการณ์แต่ความจำไม่ใช่การกลับมาของความคิด ความจำเป็นการกระทำของความตั้งใจซึ่งจะมีระยะจากขอบในจนถึงส่วนกลางของจิตสำนึก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...