วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Conduct Disorder

ความตั้งใจบกพร่อง และพฤิตกรรมบกพร่อง
      ความตั้งใจบกพร่อง การไม่อยู่นิ่ง มีอาการขาดสมาธิ ไม่อยู่นิ่ง ควบคุมตนเงไม่ได้ หุนหันพลันแล่น ซึ่งเป็นนานต่อกันกว่า 6 เดือน จนถึงระดับที่ไม่อาจปรับตัวได้และไม่เข้ากับระดับพัฒนาการ
      การขาดสมาธิ คือการที่ไม่สามารถจดจ่อกับรายละเอียด เลินเล่อต่อกิจกรรมต่างๆ ขาดสมาธิในการฟัง การประกอบการงาน ไม่สามารถทำตามคำสั่ง ทั้งงานที่โรงเรียน บ้าน หรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ขาดความใส่ใจพยายาม ขาดความรับผิดชอบ เช่น ทำของที่จำเป็นหาย วอกแวก และหลงลืม นอกจากนี้ยังมีอาการ ไม่อยู่นิ่ง หยุกหยิก นั่งไม่ติดที่ วิ่ง ปีนป่าย อย่างมาก ไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ มีความยาก ลำบากในการทำงานอย่า่งเงียบๆ พูดมาก ขาดความอดทน เช่น มักชิงตอบคำถามก่อนจะถามจบ รอคอยไม่ได้ มักแทรกขึ้นระหว่างการสนทนา หรือระหว่างกิจกรรมต่างๆ อาการมักเกิดก่อนอายุ 7 ปี และมักพบว่าบกพร่องในสถานการที่บ้าน และที่โรงเรียน
      พฤติกรรมต่อต้านสังคม มีพฤติกรรมที่ละเมิดสิทธิพื้นฐานของคนอื่น โดยมีแบบแผนพฤติกรรมที่เป็นซ้ำๆ และคงอยู่ตลอด โดยไม่เคารพกฎบรรทัดฐานที่สำคญของวันนั้น อันได้แก่ ก้าวร้าวต่อคน หรือสัตว์ ทำลายทรัพย์สิน ฉ้อโกง หรือขโมย มีการก้าวร้าวแบบเผชิญหน้า รวมทั้ง ข่มขืน การทำลาย ทรัพย์สิน จงใจวางเพลิง งัดแงะ บ้าน รถ พูดปลิ้นปล้อน หลอกลวง เลี่ยงกฎเกณฑ์ ขโมยของมีค่าแบบไม่เผชิญหน้า เช่น แอบหยิบของมีค่าจากร้าน
       การละเมิดกฎอย่างรุนแรง มักเร่ิมตั้งแต่ก่อนอายุ 13 ปี โดยมีพฤติกรรมออกจากบ้านกลางคืน โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือ้างคืน โดยไม่บอกผู้ดูแลและมักหนีโรงเรียน
       พฤติกรรมดังกล่าวทำให้กิจกรรมด้านการศึกษา สังคม งานบกพร่องลง อาจเริ่มมีอาการอย่างน้อย 1 อย่าง ในวัยอายุก่อน 10 หรืออาจมีอาการในวัยรุ่นก็ได้
       พฤติกรรมที่แสดงออกถ้าเป็นระดับไม่รุนแรงมักเป็นพฤติกรรมทีไม่เผชิญหน้า ก่อผลเสียหาย เพียงเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นระดับรุนแรงมักก่อผลเสียต่อผู้อื่นมาก และมีพฤติกรรมแบบเผชิญหน้า เช่น ทำร้ายร่างกาย ข่มขืน เป็นต้น
       พฤติการดื้อ ต่อต้าน
       มีพฤติกรรม ก้าวร้าว ต่อต้าน โมโห เถียงผู้ใหญ่ ปฏิเสธระเบียบอย่งมากจงใจทำให้ผู้อื่นรำคาญ อารมณ์โกรธขุ่นเคืองอยู่เป็นนิจ อารมณ์เสียง่าย พยาบาทและใช้วิธีโทษผู้อื่น มีอารการเหล่านี้ต้องเป็นติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน สาเหตุ
            ด้านพันธุกรรม จากการศึกษาวิจัยพบว่า ลักษณะโครโมโซมเพศที่มีxyy มีผลต่อพฤติกรรมก้าวร้าวได้ เป็นต้น
            ด้านจิตสังคม จากการศึกษกรณีทางจิตเวช พบว่าเด็กที่ไม่ได้รับการยอมรับ ขาดพื้นฐานการไว้ใจผู้อื่น เช่น มาจากครอบครัวที่ปฏิเสธ ไม่ยอมรับ ปล่อยปละละเลย ขาดแม่ตั้งแต่วัยต้น โดยไม่มีผู้ดูที่ทอแทนแม่ได้ หรือการที่เด็กอยู่กับพ่อแม่ แต่เป็นเด็กเลี่ยงยากมาตั้งแต่เกิด ทำให้การเลี่้ยงดูเป็นลักษณะทางลบมากกว่าบวก หรือในรายที่มีปัญหาพฤติกรรมที่มีสาเหตุมาจากความบกพร่องทางสมองมาก่อน เช่น อยู่ไม่สุก วอกแวก ขาดความอดทนฯ สิ่งเหล่นนี้อาจทำให้ขาดการยอมรับจากคนรอบข้างถูกลงโทษฯ เด็กจะเก็บความรู้สึกที่ว่าตรเองไม่ดี ขณะเดียวกันก็รู้สึกว่าคนรอบข้างสังคมไม่ดีเช่นกันเด็กจึงเกิดการต่อต้าน และทำง่ายมากกว่าจะสร้างสรรค์
      นอกจากนี้การเลี้ยงดูแบบลำเอียง เช่น ช่วงมีน้องใหม่เด็กอิจฉาน้อง แล้วไม่ได้รับการดูแลเรื่องความรู้สึกนี้ ก็อาจทำให้เกิดการต่อต้าน ก้าวร้าวได้ เมื่อก้าวร้าวถูกทำโทษ เด็กก็จะเพิ่มความรู้สึก เกลี่ยดชัดผู้อื่นมากขึ้น และรู้สึกตนเองด้อยก็เพิ่มขึ้นด้วย ก็ยิ่งมีพฤติกรรมที่ไม่ดี โดยไม่รู้สึกผิด ไม่แคร์ความรู้สึกผู้อื่น และเป็นเหตุให้ตกอยู่ในวงจรนี้ไปเรื่อยๆ การป้องกันจึงควรทำก่อนที่เด็กจะรู้สึกตนเองไม่ดีและคนอื่นไม่ดี ควรใช้วิธีทางบวกและสื่อสารในทางบวกมากกว่าลบ ไม่ควรตำหนิที่ตัวเด็ก แต่ให้พูดถึงพฤติกรรมที่เราไม่ชอบ ที่ชอบเป็นอย่างไร และให้ความรักเด็กโดยแสดงออกทั้งคำพูดและท่าทาง
      พฤติกรรมที่เป็นปัญหา ซึ่งพบบ่อยในเด็กและวัยรุ่น
      ปัญหาการแยกจาก มีความกังวลเกินควรที่จะต้องห่างบ้าน ห่างคนที่รู้สึกผูกพันด้วย ในวัยรุ่นมักพบว่ามีอาการกังวลกลัวเรื่องการสูญเสีย กลัวคนที่ผูกพันจะเกิดอันตราย มักคิดถึงเหตุการณ์ร้าย ๆ กับคนที่ตนรัก และกลัวจะเกิดขึ้นจริง มักมีอาการฝันร้ายซ้ำๆ เรื่องการพลัดพราก บางครั้งไม่อยากอยู่คนเดียว ไม่อยากนอนคนเดียว ถ้าไปนอนค้างนอกบ้านจะลังเลอย่างมาก หรือปฏิเสธถ้าไม่มีคนที่ผูกพันสนิทอยู่ด้วย นอกนี้อาจมีอาการทางกายร่วมด้วย... ซึงสาหตุมาจากการเลี้ยงดูทีปกป้องมากเกินไป จนทำให้เด็กเกิดความผูกพันจนแยกไม่ออกระหว่างตนเองกับผู้อืน เด็กถูกวางเงื่อนไขว่าสถานการณ์ต่างๆ ไม่น่าปลอดภัย ไม่น่าไว้วางใจ เด็กไม่ได้ถูกฝึกให้ช่วยเหลือตนเอง ไม่เรียนรู้ความเป็นตัวของตัวเอง ทำให้อยากพึงพิงผู้อื่นอยู่รำ่ไป เมื่อโตขึ้น รู้สึกขาดที่พึ่งไม่ได้ ไม่สามารถยืนได้ด้วยตนเอง และอาจเรียนรู้เรื่องการคิดทางลบ ขี้กังวล เครียดง่าย จากคนรอบข้าง
      พฤติกรรมขาดประสิทธิภาพ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามลักษณะดังนี้
      การบิดเบือนความจริง การพัฒนาพฤติกรรมปรับตัวที่มีประสิทธิภาพที่สำคัญคือ ความสามารถที่จะรับรู้ความจริงอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง บุคคลจะต้องแยกใหได้ระหว่างความจริงกับส่ิงที่เขาจินตนาการไปเอง ระหว่งแรงจูงใจในระดับจิตสำนึกกับจิตใต้สำนึก ผู้ที่แยกระหว่างความจริงกับการเพ้อฝันไม่ได้ คือ พวกที่เป็นโรคจิต พวกที่มีความวิตกกังวลเป็นตัวผลักดันให้กระทำในสิ่งที่ขาตเหตุผลจะมาอธิบาย คือ อาการโรคประสาท ในพวกโรคจิตสูญเสียความจริงไปทั้งหมด ในพวกโรคประสาทเป็นการหลีกหนีความเป็นจริงโดยการเก็บกด
       นอกจานี้จะพบว่า ยังมีพวกที่พฤติกรรมการปรับตัวไม่เหมาะสมที่มีระดับการต่อสู้กับตนเองน้อยกว่าแบบอื่น พวกนี้ก่อความยุ่งยากให้กับคนอื่นมากว่าตนเอง คนอื่นมักตกเป็นเหยื่อของพวกนี้ ซึ่งมีลักษณะบิดเบือนความจริงให้สนองความต้องการของตน มีการปรับตัวทางสังคมไม่ดี ไม่มีความรู้สึกขัดแย้ง วิตกกังวล หรือสำนึกบาป มักก่อปัญหาให้ผู้อื่น
       เป็นผลมาจากการพัฒนาบุคลิกภาพแบบผิดๆ เรียนรู้การแสดงพฟติกรรมบางอย่างเมื่อเกิดความขัดแย้งแทนการพยายามปรับตัวด้วยการเก็บกดความปรารถนาที่ไม่เป็นที่ยอมรับมีลักษณะที่สำคัญ ือ การแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมเป็นแบบฉบับประจำตัว จะปรกกฎอาการให้เห็นในระยะวัยรุ่น พฤติกรรมดังกล่าวจะก่อกวนความสัมพันธ์กับผุ้คนมากกว่าการเรียนหรือการทำงาน ไม่สามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
       ลักษณะบุคลิกถาพผิดปกติ
       การผลัดผ่อน การประวิงเวลาถือเป็นการแสดงความมุ่งร้ายที่ซ่อนอยู่ภายในพวกนี้เกิดความรู้สึกว่าคนจะตำหนิสิ่งที่ยังไม่ได้ทำน้อยกว่าสิ่งที่ปฏิบัติแล้ว ในขณะที่ผลัดผ่อนไปเรื่อยๆ จะแสดงออกว่าตนจริงใจ ทำตัวมีเสน่ห์ และเห็นชอบด้วย
        บุคลิกภาพระแวง ลักษณะที่สำคัญอย่างยิ่งของผุ้ที่มีบุคลิกภาพแบบนี้คือ ความริษยาแบบโง่ๆ ความริษยาเกิดจากความไม่ไว้วางใจ ชอบล่อหลอกหาทางจับผิดผู้อื่น ชอบถามซอกแซกเพื่อรู้เรื่องราวของคนอื่น แรกๆ ผู้คนจะรู้สึกว่าพวกนี้เอาใจใส่ผู้อื่น แต่หนักๆ เข้าจะรู้จะรู้สึกรำคาญ พวกนี้ไวต่อความรู้สึกไปหมดทุกเรื่อง มักอ้าวว่าการกระทำต่างๆ ของตนเองเป็นไปเพราะความรัก
        บุคลิกภาพเจ้าระเบียบ ลักษณะที่มักแสดงออกคือ การเคร่งครัดต่อกฎระเบียบ ระมัดระัง เป็นพวกพิถีพิถัน ละเอียดถี่ถ้วนมักจะครุ่นคิดในเรื่องความสะอาดและอนามัย ทุกอย่างต้องประณีตมีระเบียบ ใช้เวลามากมายกับเรื่องรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ
       การหลีกเลี่ยงความจริง
       คำพูดที่ว่า "พ้นสายตาก็จะจางไปจากใจ" คงไม่จริงเมือเราพบว่าปัญหาไม่ได้พ้นไปจากใจง่าย ๆ บางคนดูเหมือจะไม่สามารถจัดการกับปัญหาเลยตลอดีวิต เมื่อเป็นเช่นนี้อาจนำไปสู่พฟติกรรมปรับตัวที่ไม่ดี คู่สมาสที่มีปัญหาแก้ไม่ตกจะพัฒนาความรู้สึกไม่มั่นงปลอดภัยและมีปมด้อยขึ้นมาได้ ความบ้มเหลวจะทำให้บุคคลตำหนิตนเองและดำเนินชีวิตตามแบบที่ตนเองเห็นว่าไม่เข้าท่า คนที่กลัวการปฏิเสธจากผู้อื่นอาจทำตัวให้ถูกปฏิบเสธหนักเข้าไปอีก
       การหนีความจริง
       แม้พฤติกรรมการปรับตัวของเราและเทคนิคต่าง ๆ จะเป็นสิ่งที่ได้รับจากวัยเด็ก แต่จะมาแสดงให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพแค่ไหนในระยะวัยรุ่น การยอมรับตนเองเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนามโนภาพต่อตนเองที่บริบูรณ์ และการบรรลุวุฒิภาวะทางอารมณ์ พฤติกรรมของการหนีความจริง ได้แก่ การติดสุรา การติดยาเสพติด และอาการโรคจิต
      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...