วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

The Marxist Theory of Law...II

            ความคิดทางกฎหมายของมาร์กซและการตีความความคิดของเขาภายหลัง..ถึงแม้ว่าข้อสรุปเบื้องต้นที่เพิ่งกล่าวผ่านมาจะแสดงให้เห็นท่าทีของมาร์กซในเชิงเย้ยหยันต่อบทบาทของกฎหมายในระบบทุนนิยม เป็นเรื่องน่าสนใจว่าท่าทีความคิดดังกล่าวแตกต่างจากทรรศนะในวัยหนุ่มของเขาซึ่งเชื่อถือศรัทธาในกฎหมายธรรมชาติด้วยซ้ำไป 
            มาร์กซสำเร็จการศึกษาปริญญาเอกทางด้านปรัชญาจามหาวิทยาลัยเจนา โดยเียนงานวิทยานิพนธ์เรื่อง " ความแตกต่างระหว่างปรัชญาว่าด้วยธรรมชาติของเตโมเครตุสกับอีปีคิวรุส" หลังจากสำรเ็จการศึกษาแล้วมาร์กซตั้งใจจะใช้ชีวิตเป็ฯอาจารย์ สอนหนังสือในมหาวิทยาลย แต่ต้องประสพความผิดหวังเนื่องจากผู้บริหารมหาวิทยาลัยขณะนั้น ไม่ชอบแนวความคิดในักษณะก้าวหน้าซึ่งต่อต้านคัดค้านศาสนาโดยเฉพาะในเรื่องพระเจ้า จนในที่สุดเขาต้องเปลี่ยนเข็มไปทำอาชีพเป็นบรรณาธการหนังสือพิมพ์ซึ่งทำให้เขาต้องขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่เซ็นเซอร์ข่าวของรัฐบาลเป็นประจำ อาชีพนักหนังสือพิมพ์ในวัยหนุ่มของเขา จึงนับเป็นประสบการณ์ช่วงแรกๆ ของเขาที่ต้องต่อสู้กับการกดขี่บีบคั้นจากเจาหน้าที่รัฐบาลปรัสเซีย  และจากประสบการนี้เองเขาจึงมีงานเขียนชื่อ "ข้อคิดเห็นต่อคำสั่งเซ็นเซอร์ล่าสุดของของปรัสเซีย" ปรากฎต่อสาธารณชน และงานเขียนนี้เองได้สะท้อนแนวคิดกฎหมายธรรมชาติภายในตัวเขาออกมา ดังความบางตอนที่ว่า 
          "... กฎหมายที่มีเงื่อนงำซ่อนเร้น, กฎหมายซึ่งไรบรรทัดฐาน อันเป็นภววิสัยเป็นกฎหมายของลัทธิก่อการร้าย เช่นเดี่ยวกับกฎหมายที่ Robespierre ประกาศใช้ในภาวะฉุกเฉินขงรัฐหรือที่จักรพรรดิโรมันประกาศใช้เพราะเหตุความระส่ำระสายของบรรทัดฐาน กฎหมายดังกล่าวมิใช่เป็นเรื่องว่างเปล่าแต่เป็นบทลงโทษของสิ่งซึ่งหาใช่กฎหมาย... กฎหมายในลักษณะเช่นนี้หาใช้เป็นกฎหมายของรัต่อประชาชน แต่เป็นกฎหมายของพรรคๆ หนึ่งต่อพรรคอื่นกฎหมายที่มีเงื่อนงำซ่อนเร้นดังกล่าวเป็น การปิดกั้นความเสมอภาคของบุคคลต่อกฎหมาย...มันมิใช่เป็นกฎหมายแต่หากเป็นเรื่องอำนาจหรือสิทธิพิเศษ.."
          กล่าวโดยสรุป งานเขีนยของมาร์กซในช่วงวัยหนุ่ม  สัมพันธ์กับความเชื่อถือศรัทธาในแนวคิดมนุษย์นิยม และธรรมชาตินิยม อันทำให้เขามีท่าทีต่อต้านความคิดแบบ และสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ ของซาวิญยี่ ซึ่งเขาเห็นว่าเป็นคามคิดที่มุ่งเน้นแต่เรื่องประสิทธิภาพการทำงานของกฎหมาย ดดยที่เขาเห็นแย้งกับซาวิญยี่ว่า แท้จริงแล้วกฎหมายไ่มีประวัติศาสต์ซึ่งเป็นอิสระหรือเป็นตัวของตัวเองในชนิดที่ตัดขาดจาก เศรษฐกิจ, การเมือง, และวัฒนธรรม ในทางตรงกันข้ามมาร์กซ กลับเน้นความสำคัญของกฎหมายในแง่เป็นบรรทัดฐานเชิงคุณค่า ซึ่งเป็นลักษณะของการยอมรับความสำคัญของกฎหมายธรรมชาติ โดยถือว่า กฎหมายอันแท้จริงจะต้องมีลักษณะสากลที่สะท้อนถึงกฎเกณฑ์ภายในชีวิตทางสังคมของมนุษย์และความต้องการภายในของกิจกรรมแห่งความเป็นมนุษย์อันแท้จริงจะต้องมีลักษณธสากลที่สะท้อนถึงกฎเกณฑ์ภายในชีวิตทางสงคมของมนุษย์ และความต้องการภายในของกิจกรรมแห่งความเป็นมนุษย์อันแท้จริง อย่างไรก็ตามจากประสบกาณ์ชีวิต และพัฒนาการทางปัญญาที่เพ่ิมมากขึ้นตามวัยของเขา ประกอบกับการหันมาทุ่มเทความสนใจศึกษาเรื่องเศรษฐกิจตลอดจนการได้เข้าร่วมในปฏิบัติการที่เป้นจริงต่างๆ ในการเปลี่ยนแปลงสังคม แนวความคิดทางปรัชญา และการเมืองของเขาในระยะหลังจึงบ่ายสู่ลักษณะควมคิดแบบสสารธรรม โดยเน้สนการเข้าสู่ปัญหาในแง่รูปธรรมทางเศรษฐกิจมากกว่าการวิจารณ์หรือเข้าสู่ปัญหาในเชิงปรัชญาแบบเดิมและปฏิเสธความสำคัญของเรื่องหลักการนามธรรมต่างๆ โดยเฉพาะหลักคุณค่านามธรรมที่แน่นอนเด็ดขาดหรือเป็นนิรันดร์ และในระยะหลังๆ ปรากฎทรรศนะกระจัดกระจายในงานเขียน บางชิ้นของเขาที่แสดงออกถึงท่าที่วิพากษ์วิจารณ์ความสำคัญของกฎหมาย
            และจากข้อเขียนต่างๆ ที่ต่อมาได้ทำให้นักทฤษฎีมาร์กซิสต์รุ่นหลังจำนวนหนึ่งสรุปความเกี่ยวกับธรรมชขาติหรอบทบาทของกฎหมายออกเป็นข้อสรุปสำคัญหลายประการ กล่าวคือ
            - กฎหมายเป็นผลผลิตหรือผลสะท้อนของโครงสร้างทางเศรษฐกิจประเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ
            - กฎหมายเป็นเสมือนหนึ่งเครื่องมือหรืออาวุธที่ชนชั้นปกครองสร้างขึ้น เพื่อปกป้องอำนาจขชองตน
            - ในสังคมคอมมิวนิสต์ที่สมบูรณ์ กฎหมายในฐานะที่เป็นเครื่องมือของกาควบคุมสังคจะเหือดหายและสูญสิ้นไปในที่สุด

             ตรรกะแห่งข้อสรุปและข้อถกเถียงเกี่ยวกับความชอบธรรมของข้อสรุป 
             บทสรุปได้รับความเชื่อถื่อจากปัญญาชนในช่วงหลักเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ฝ่ายหนึ่งโดยขาดการศึกษาวิเคราะห์ถึงเหตุผล, ความเป็นมาอย่างจริงจัง หายคราวบทสรุปนี้จึงกลายเป็นประหนึ่งบทสวดมนต์ในคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ ที่มีแต่ศรัทธาให้กับถ้อยคำในบทสวดนั้น แต่ไม่มีความเข้าใจหรือากรเข้าถึงคำแปลบทสวดดังกล่าวและเราคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ศรัทธาที่ปราศจากเหตุผลบ่อยคร้งที่มีค่าเท่ากับความงมงายหรืออวิชชาที่อาจนำมาซึ่งความผิดพลาดต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นได้เสมอ
          1. ข้อสรุปว่ากฎหมายเป็นผลผลิตหรือผลสะท้อนของโครงสร้างทางเศรษฐกิจหรือเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ   ข้อสรุปเช่นนี้เป็นมองว่ารูปแบบและนื้อหาของกฎหมายนั้น แท้จริงเป็นเพียงผลิตผลของโครงสร้างหรือระบบเศรษฐกิจ โดยเหตุนี้รูปแบบและเนื้อหาของกฎหมายจึงแปรเปลี่ยนไปเรื่อยตามความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในสังคมนั้นๆ  การตีความทฤษฎีสสารธรรมประวัิศาสตร์ของมาร์กซและเองเกลส์ ฝดดยถือว่า บรรดารูปการทั้งหลายซึ่งเป็นจิตสำนึกของมนุษย์ในเรืื่องการเมือง สังคม ศาสนา วัฒนธรรม หรือกฎเกณฑ์ทางสังคมต่าง ๆ ล้วนถูกกำหนโดยระบบการผลิตหรือระบบเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ โดยที่รูปการของจขิตสำนึกดังกล่าวเป็นเสมือน "ใครงสร้างส่วนบนของสังคม" ซึ่งวางอยู่บนฐานของระบบเศรษฐกิจหรือ "โครงสร้างส่วนล่างหรือส่วนฐานของสังคม" ขณะเดี่ยวกันก็ถือว่า กฎหมายเป้นส่วนหนึ่งขอดครงสร้างส่วนบนของสังคม โดยที่รูปแบบเนื้อหาหรือแนวความคิดทางกฎหมาย จะเป็นผลสะท้อนของระบบเศรษฐกิจหรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
             ในที่นี้ ขอให้สังเกตที่มาของข้อสรุปเช่นนี้จากงานเขียนของมาร์กซเองในหนังสือ "บทนำบทวิจารณ์เศรษฐศาสตร์การเมือง"
              "ในการผิตทางสังคมเพื่อการดำรงอยู่ มนุษย์ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ต่อการก้าวเข้าสู่ความสัมพันธ์ที่แน่นอนหนึ่งซึ่งเป็นอิสระจากเจตจำนงของเขาเองกล่าวคื ความสัมพนธ์ของการผลิตซึ่งสอดคล้องกับขั้นตอนที่แนนอนหนึ่งในพัฒนาการของพลังทางวัตถุของการผลิตของมันส่วนรวมทั้งหมดของความสัมพันธ์ใการผลิตดังกล่าวได้ประกอบขึ้นมาเป้ฯโครงสร้างทางเศรษฐกิจทางสังคมอันเป็นพื้นฐานที่แท้จริง ซึ่งโครงสร้างส่วนบนทางการเมืองและกฎหมายได้ก่อตั้งอยุ่ และซึค่งสอดคล้องกับรูปแบบอันแน่นอนของจิตสำนึกทางสังคมวิถีการผลิตในชีวิตทางวัตถุเป็ฯตัวกำหนดเงื่อนไขโดยทั่วไปของสังคม การเมือง และกระบวนการทางจิตใจของมนุษย์ มันมิใช่จิตสำนึกของมมนุษย์ซึ่งเป็นผู้กำหนดความเป็นอยู่ของเขา แต่หากตรงข้ามกันควรามเป็นอยู่ของเขาที่กำหนดจิตสำนึก"
              "ความสัมพันธ์ทางกฎหมายและบรรดารูปแบบของรัฐ ไม่อาจถูกเข้าใจได้โดยตัวของมันเองหรือไม่อาจอธิบายได้โดยสิ่งที่เรียกว่า ความก้าวหน้าพัฒนาของจิตใใจมนุษย์ทว่ามันเป็นสิ่งซึ่งหยั่งรากอยู่ในเงื่อนไขทางวตถุของชวิต พร้อมกักบการเปลี่ยนแปลงรากฐานทางเศรษฐกิจโครงสร้างส่วนบนของสังคมทั้งหมดก็จะถูกเปลี่ยนรูปไปด้วยไม่เร็วก็ข้า"
              ตามข้อสรุปดังกล่าว หากจะอธิบายให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นในเชิงวิจารณ์ หรือตีความกฎหมายในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ก็คงจะได้ว่า ภายใต้ระบบทุนนิยมเนื้อหาและรูปแบบของกฎหมายโดยส่วนรวมย่อมสอดคล้องกันกับปรัชญาหรือเป้าหมายด้วย เราอาจแสดงความสัมพันธ์ได้ง่ายๆ ดังนี้ 
               ธรรมชาติของระบบทุนนิยม - ธรรมชขาติเนื้อหาของกฎหมายโดยทั่วไป,  การปรับเหลี่ยนธรรมชาติของระบบทุนนิยม - การปรับเปลี่ยนธรรมชาติของกฎหมาย
              อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปังกล่าวที่มองว่ากฎหมายเป็นผลผลิต หรือผลสะท้อนของระบบเศรษฐกิจ โครงสรางทางเศรษฐกิจ ก็สร้างข้อกังขาหรือข้อโต้แยงขึ้นในภายหลังเนื่องจากข้อสรุปดังกล่าวมองว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจ อย่างเดียว ศีลธรรมหรือหลักความยุติธรรมต่างๆ ล้วนถูกละเลยไม่ให้ความสำคัญใดๆ เลยต่อความเป็นของกฎหมาย กฎหมายในทรรศนะเช่นนั้นจึงมิได้มีอะไรเลย นอกจากเป็นการทำงานหรือผลสะท้อนของการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจซึ่งปราศจากการดำรงอยู่ที่เป็นอิสระใดๆ       
              กล่าวโดยส่วนรวมข้อสรุปดังกล่าวเป็นการสะท้อนให้เห็นความเชื่อในปรัชญาแบบนิยัตินิยมทางเศรษฐกิจ หรือ "เศรษฐกิจกำหนด" อันเป็นปรัชญาความเชื่อว่าเงื่อนไขทางเศรษฐกิจหรือผลประโยชน์ของตัวเองในเชิงเศรษฐกิจ เป็นตัวกำหนดตัดสินการกระทำของปัจเจกชนในเรื่องการเมืองโดยตรง
            หากพิจารณากันโดยละเอียดจากงานเขียนของมาร์กซซึ่งเป็นผุ้ให้กำเนิดลัทธินี้ จะพบว่าตัวมาร์กซเองไม่เคยปฏิเสธไว้ที่ใดเลยถึงความเป็นไปได้ ที่โครงสร้างส่วนฐานถูกกำหนดหรือถูกกระทำโดยโครงสร้างส่วนบนในทางตรงกันข้ามกัน งานเขียนหลายๆ ชิ้นของมาร์กซดังเช่น "Grundrisse" "Communal Refome and the Kolnische Zeitung" หรือ "Poverty of Philosophy" ต่างก็ปรากฎข้อความซึ่งแสดงนัยของการยอมรับในผลกระทบซึ่งกันและกัน ของโครงสร้างส่วนบลนหรือกฎหมายที่อาจมีต่อเศรษฐกิจ เริ่มต้นจากจุดนี้เองที่เราไม่อาจยอมรับได้กับข้อสรุปที่มีลักษณะด้านเดียวว่า กฎหมาย เป็นสิ่งที่ถูกกำหนด โดยเศรษฐกิจ เพราะแม้พิจารณาที่เนื้อหาแห่งทฤษฎีสสารธรรมประวัติศาสตร์ ก็อาจแปลความได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างฐานและโครงสร้างส่วนบนของสังคมเ็นไปในเลิงประติการรซึ่งต่างฝ่ายต่างกระทำต่อกัน มิใช่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างอันมิใช่เรื่องเศรษฐกิจ เป็นเพียงผลผลิตโดยตรงหรือโดยทันทีของเหตุปัจจัยของเศรษฐกิจ เป็นไปได้ว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจในท้ายที่สุด อาจเป็นตัวเงื่อนไขพื้นฐานที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง แต่รูปการณ์ของจิตสำนึกอื่นๆ ในโครงสร้างส่วนบนของสังคม ก็อาจส่งผลสะท้อนกลับต่อเศรษฐกิจได้...
           แท้จิรงแล้วแม้พิจารณาจากแกนกลางของทฤษฎีหรือปรัชญาสสารธรรมประวัติศาสตร์ของมาร์กซิสต์เอง กฎหมายก็มิใช่เป็นเพียงผลสะท้อนที่เชื่องๆ ของเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจในทุกกรณี ถึงแม้วว่าเราอาจยอมรับในความสำคัญของเศรษฐกิจในฐานะเป็นปัจจัยสำคัญหลักอันหนึ่งที่กำหนดรูปแบบและเนื้อหาของกฎหมาย
         ประเด็นเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างส่วนฐานและโครงสร้างส่วนบน ในปัจจุบันจึงดูเหมือนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป โดยมีมาร์กซิสต์บางกลุ่ม หันมาเพ่งจุดสนใจใหม่สู่แนวคิดเรื่อง "ตัวสื่อกลาง"ในระหว่างโครงสร้างทั้งสองส่วน ซึ่งดำรงอยู่มากมายในนกระบวนการพัฒนาเปลี่ยนแปลงสังคม
        2. ข้อสรุปว่ากฎหมายเป็นเสมือนมือหรืออาวุธที่ชนชั้นปกครองสร้างขึ้น เพื่อปกป้องอำนาจของตน/กฎหมายเป็นเครื่องมือกดขี่ของชนชั้นปกครอง  ข้อสรุปที่ค่อนข้างแข็งกร้าวเชนนี้  ความจริงมิใช้่เป็นสิ่งใหม่ที่นักลัทธิมาร์กซเพิ่งประดิดษฐ์ขึ้น คงอาจจำได้บ้างว่าเมื่อคราวที่กล่าวถึงเรื่องปรัชญากฎหมายธรรมชาติ ได้เคยเสนอทรรศนะของพวกโซฟิสท์ บางกลุ่มที่คัดค้านกฎหมายธรรมชาติ และมองกฎหมายว่าเป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์หรือกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจสร้างขึ้นเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนโดยมีการเปียบเปรยกฎหมายว่าเป็นเสมือนใยแมงมุมที่มีไว้เพื่อดักสัตว์เล็กๆ เท่านั้น ทรรศนะที่มองกฎหมายในฐานะเป็นเครื่องมือของบุคคลหรือชนชั้นที่ครองความเป็นใหญ่ในสังคม แท้จริงจึงมีปรากฎอยู่ในภูมิปัญญาของกรีกโบราณมานานนับพันๆ ปีแล้ว หาใช่เรื่องใหม่เลย แต่ทว่าอิทธิพลความคิดหรือข้อสรุปความคิดเช่นนั้นอาจมีน้ำหนึกแตกต่างกัน เนื่องจากการปรากฎตัวของความคิดนี้ในยุคใหม่เป็นไปโดยผ่านลัทธิการเมืองที่มากด้วยอิทธิพลความสำคัญระดับหนึ่งในสังคมโลกปัจุบัน ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกเลยที่แม้ในบ้านเรา ข้อสรุปความคิดนี้ก็เป็นที่เชื่อถืยอมรับในหมู่พวกที่มีความคิดแบบสังคมนิยม บทกวีวรรคสำคัญ ของ "นายภูติ" ที่ว่า "...ชั้นใดเขียนกฎหมาย ก็แน่ไซร็เพื่อชั้นนั้น" จึงเป็นบทกวีที่ค่อนข้างคุ้นหูต่อบุคคลหรือนักฎหมายที่สนใจแนวคิดแบบสังคมนิยมและน่เชื่อว่ามีบุคคลจำนวนมิใช่น้อยที่ยึดมั่นอย่างจริงจังในขึ้นสรุปหรือบทหวีดังกบ่าวโดยมิได้มีการสืบค้นความหมาย หรือพิสูจน์ความชอบธรรมของข้อสรุปนี้อย่างจริงจัง.. ที่มาของข้อสรุปข้างต้นอาจสืบร่องรอยไปยังข้อเขียนของมาร์กซ และเองเกลส์ใน "คำประกาศของพรรคคอมมิวนิสต์" อันเป็นงานเขียนสั้นๆ ชิ้นหนึ่ง ซึ่งมีข้อความบางตอนที่กล่าวเสียดสีกฎหมายของชนชั้นเจ้าสมบัติ "..ปรัชญาความคิดทางกฎหมายของพวกเจ้าเป็นเพียงเจตจำนงของชนชั้นพวกเจ้าเองที่ถูกนำมาตราบัญญัติเป็นกฎหมายใช้บังคับสำหรับคนทั้งปวง โดยที่ลักษณะสำคัญและทิศทางของเจตจำนงนั้นได้ถูกกำหนดโดยเหล่าเงื่อนไขการดำรงอยู่ทางเศรษฐกิจของชนชั้นพวกเจ้า"
        จริงหรือที่ "โดยความหายทั่วไป" แล้วกฎหมายคือเครื่องมือกดขี่ทางชนชั้นหรือเครื่องมือกดขี่ของชนชั้นปกครอง ข้อเขียนหรือคภแถลงดังกล่าวของมาร์กซน่าจะเป็ฯเพียงการแสดงออกให้เห็น ลักษณะของกฎหมายภายใต้บริบทของสังคมหสึ่งที่มีควมบกพร่องในตัวเอง ทว่าข้อเขียนนี้มิได้เป็นข้อสรุปหรือคำตัดสินเกี่ยวกับธรรมชาติทั่วไปของกฎหมาย เป็นเพียงแต่คำวิจารณ์กฎหมายในสังคมทุนนิยมเท่านั้น ในขณะเดียวกันข้อเขียนสั้นๆ ดังกล่าวก็มิได้พูดวิจารณ์กล่าวหาไว้โดยตรงว่า ชนชั้นเจ้าสมบัติ(ุ้มีอนจะกินทั้งหลายซึ่งเป็นส่วนใหญ่ในสังคมทุนนิยมจะใช้กฎไกทางกฎหมายที่ตนยึดครอง หรือมีอิทธิพลในลักษณะที่เป็นการกดขี่ หรือทำลายผลประโยชน์ของชนชั้นระดับล่างที่ไม่มีอิทธิพลในสังคมเสมอไป ความข้อนี้ เองเกลส์ได้กล่าวในเชิงรับรองไว้เช่นกัน "..มีเพียงนานๆ ครั้งที่ประมวลกฎหมายจะเป็นการแสดงออกโดยตรงหรืออย่างบริสุทธิ์ ถึงการครอบงำของชนชันหนึ่งๆ"..
         ข้อบกพร่องที่เกิดจากข้อสรุปทางทฤษฎีดังกล่าว ทำให้เกิดข้อโต้แย้งในหมู่มาร์กซิสต์ตะวันตก และนำไปสู่การเกิดขึ้นของคำอธิบายใหม่จากสำนักโครงสร้างนิยม โดยที่สำนักโครงสร้างนิยมนี้พยายามอธิบายถึงปรเด็นเรื่องปัญหาความขัดแย้งในระหว่างชนชั้นปกครองด้วยกัน อันเนื่องจากความไม่เท่าเทียมกันในระดับความเข้มข้นทางอุดมการณ์แบบทุนนิยม ข้อนี้จึงนับเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผลประโยชน์ของกลุ่มทุนไม่อาจผสมกลมกลืนกันได้เสมอไป อย่างไรก็ตามแม้จะเชื่อในเรื่องความขัดแย้งซึ่งผลประโยชน์ในกลุ่มทุนสำนักโครงสร้างนิยมก็ยังยืนยันถึงบทบาทของรัฐในการสืบต่อผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุน "ในระยะยาว" อยู่โดยเห็นว่าความสัมพันธ์ที่เป็นภววิสัยเชิงโครงสร้างระหว่างรัฐและทุนนิยมจะเป็นตัวประกันว่า ภายใต้ข้อจำกัดอันเป็นผลจากความขัดแยงภายใน และการต่อสู้ทางชนชั้นรัฐจะคงบทบาทระยยะยาวเพื่อผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุน แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นอิสระจากการแทรกแซงโดยตรงของทุนคนใดคนหนึ่ง และในการปกป้องผลประโยชน์ระยะยาวเช่นนี้ทำให้รัฐหลีกเลี่ยงมิได้ในการบัญญัติกฎหมาย หรือใช้กลไกทางกฎหมายที่มีนัยก้าวหน้าเพื่อยุติความขัดแย้งในสังคม เพื่อรักษาไว้ึ่งการอยู่รอดของระบบ หรือเพี่อดำรงความชอบธรรมของระบบในสายตาประชาชน....
            
           
            
     
         

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559

The Marxist Theory of Law..I

         ในขณะที่ระบอบประชาธิปไตยแผ่ขยายไปยังประเทศต่างๆ อย่างต่อเนื่องและพัฒนาแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพสังคมนั้น อีกด้านหนึ่ง พัฒนาการทางด้านวิทยาศสตร์และเทคโนโลยีก็เจริญและพันาไปพร้อมๆ กันด้วย ซึ่งในช่วงศตวรรษที่ 17 อังกฤษได้มีความเนิญด้านอุตสาหกรรมทอผ้าอย่างมาก ต่อมา เจมส์วัติ ได้คิดค้นเครื่องจักรไอน้ำทำให้พัฒนาการด้านอุตสาหกรรมเจริญอย่างรวดเร็ซ และเมือสามารถนำถ่านหินมาใช้เป็ฯเชื่อเพลิงได้ก็ทำให้เกิดอุตสาหกรรมถลุงเหล็กตามมา การปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปประสบผลสำเร็จในช่วงปี ค.ศ. 1830 ทำให้เกิดโรงงานอุตสาหกรรม และมีความต้องการในการใช้แรงงานสูงทำให้เกิดการอพยพของประชาชนเข้าเมืองหลวงเกิดชุมชนแออัด เกิดการใช้แรงงาหญิงและเด็ก เกิดปัญหาแรงงานที่เป็ฯปัญหาสำคัญคือปัญหาระหว่านายทุนกับำรรมกร คาลมาร์ค เป็นชาวเยอรมันจบลปริญญาเอกทางปรัชญา เป็ฯหนักหนังสอพิมพ์ทั้งในผรั่งเศาและอังกฤษได้เข้าร่วมกับกลุ่มกรรมกรและเขียนหนังสือเสนอแนวความคิดว่าถ้ากรรมกรจะต่อสู้เอาชนะนายทุนได้จะต้อรวมตัวกัน เพื่อเรียกร้องสิทธิของตน ผลกำไรที่นายทุนได้รับนั้นเป็นหยาดเหลื่อแรงงานของกรรมกร แนวคิดดังกล่าวได้นำไปใช้รวมตัวกันเป็ฯสหภาพเรียกร้องผลประโยชน์ที่ควรจะได้จากนายทุนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้บงที่ 1 และเมื่อสงครามสิ้นสุดลงสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทุกประเทศ จากสถานการดังกล่าว เลนนิน ได้นำกรรมกรรัสเซียเดินขบวนเรียกร้องและทำการปฏิวัติล้มล้างระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ของรัสเซียจนสำเร็จและนำหลักการตามแรวความคิดของคาลมาร์ที่เรียกว่าระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ไปใช้เป็นแนวทางในการปกครองประเทศ หลักการสำคัญคือรัฐเข้าไปดูแลกิจการต่างๆ ทั้งหมดทั้งด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม รวมทั้งด้านอื่นๆ ด้วย และควบคุมดูแลโดยพรรคอมมิวนิสต์เพียงพรรคการเมืองเดียว เป้าหมายของการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์เห็นว่าถ้าปล่อยให้นายทุนยึดครองที่ดินและเป็นเจ้าของกิจการจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาของสังคมขณะนั้นได้
            หลักการของระบอบสังคมคอมมิวนิสต์แตกต่างไปจากเป้าหมายหลักของระบอบประชาธิปไตย ฉะนั้น หลักในการปกครองที่ของอำนาจการปกครอง การใช้อำนาจปกครอง รวมทั้งการควบคุมการใช้อำนาจและองค์กรต่างๆ ในการปกครองจึงแตกต่างไปจากระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น รัฐธรรมนูญของรัสเว๊ยที่ประกาศช้ฉบับแรกจึงไม่ยึดหลักการของระบอบประชาธิปไตบ เป็นรัฐธรรมนูญที่กำหนดอำนาจหน้าที่ในการปกครองแก่ผู้ปกครองอย่างล้นเหลือขชาดองค์กรในการถ่วงดุลอำนาจและตรวจสอบเป็นหลักการของเผด็จการสังคมนิยมคอมมิวนิสต์


           เลนิน นำพรรค Bolshevick เข้าบริหารประเทศตั้งแต่นั้นมา อุดมการของพรรคที่นำแนวคิดของคาลมาร์มาใช้นั้นผสมผสานกับแนวความคิดของ เลนิน ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะกับวิถีชีวิตของชาวรัสเซียขณะนั้น ซึ่งต่อมานิยมเรียกว่าลัทธิมาร์ค - เลนิน แนวความคิดของคาร์ลมาร์ต เชื่อว่าใสระบบทุนนิยมทำให้เกิดปัญหาการกดขี่และเอาเปรียบจากนายทุนและผู้ปกครอง วิธการแก้ไขโดยที่กรรมกรและชนชั้นกรรมาชีพต้องรวมตัวกันเข้ายึดอำนาจรัฐล้มล้างระบอบการปกครองที่เอาเปรียบและแบ่งชนชั้นนั้เน และเมื่อชนชั้นกรรมาชีพสามารถปฏิวัติสำเร็จต่อไปสังคมจะไม่มีชนชั้น  ในสัีงคมคอมมิวนิสต์รัฐจะเป็ฯผุ้ควบคุมกิจการทุกอย่างไม่มีที่ดินหรือทรัพย์สินของเอกชนโดยรัฐเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว ไม่มีนายทุนเพราะรัฐเป็นเจ้าของ ทั้งหมด ประชาชนเสมอกันในแง่ของไม่มีสมบัติเป็นของตนเอง ก่อนที่สังคมคอมมิวนิสต์จะประสพผลสำเร็จตามเป้าหมายดังกล่าวคือสังคมไม่มีชนชั้นนั้นในช่วงของการเปลี่ยนแปลงต้องใช้ระบอบเผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพในการดำเนินการ ดังนั้นพรรคจึงเข้ามาใช้อำนาจเบ็ดเสร็จไปสู่สังคมนิยมคอมมิวนิสต์.... จากหลักการของวคอมมิวนิสต์ดังกล่าวเป็นการต่อต้านระบบทุนนิยม และในการประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์รัสเซีย..ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า รัศเซียกับระบบทุนนิยมต้องเป็นปฏิปักษ์ต่อกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และจะต้องมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายดชนะในที่สุด
            ในการศึกษาหรือทำความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีกฎหมายอขงมาร์กซิสต์หรือพวกสังคมนิยม ในชั้นแรกน่าจะเริ่มจากการทำความเข้าใจถ้อยคำสำคัญบางคำของฝ่ายมาร์กซิสต์ ซึ่งเป็นเสมือนพื้นฐานความคิดหรือความเชื่อ กล่าวคือ
             สสารธรรม : เป็นแนวคิดพื้นฐานทางปรัชญาของลัทธิมาร์ก ซึ่งเชื่อว่าสสารเหรือวัตถุทั้งหลายเป็นประธานของความเคลื่อนไหวที่เป็นจริงทัเงหลาย สสารเป็นปฐมธาตุของสิ่งทั้งหลาย จิตเป็นสิ่งที่โดยทั่วไปถูกกำหนดโดยสสาร หรือกล่าวอีกนั้ยหนึ่งคือสสารเป็นประธานเหนือจิต ในแง่ลัทธิมาร์กซจึงถือว่าโดยทั่วไปสสาสรหรือเงื่อนไขทางวัตถุและธรรมชาติเป็นตัวกำหนดหลักในแง่สาเหตุ ซึ่งใช้อธิบายพัฒนาการของสังคมและความคิดต่างๆ
             ประติการหรือวิภาษวิธี : หมายถึงกฎแห่งปฏิพัฒนาของสรรพสิ่ง เป็นกฎที่อธิบายว่าการเปลี่ยนแปลงในเชิงพฒนาต่างๆ ซึ่งกระทำฝ่านกระบวนการของความขัดแย้งภายในล้วนเป็นสิ่งสากล ซึ่งเกิดขึ้นทั้งในสิ่งที่ำร้ชขีวิตและในธรรมชาติที่มีชีวิตเช่นเดียวกับพฒนาการของสังคมและในกระบวนการความคิดของมนุษย์ ประติมาการจึงเป็นกฎที่ว่าด้วยความเป็นไปของสรรพสิ่งที่เชื่อว่ามีลักษณะเคลื่อนไหว พัฒนาและเปลี่ยนแปลง โดยวิถีทาง หรือโดยกระบวนการของความขัดแย้งภายในสิ่งนั้นๆ
             สสารธรรมประติการ โลกทรรศน์ทางปรัชญาของมาร์กซและเองเกล ซึ่งเชื่อว่าสสสารเป็นตัวกำนหดหลักของความเป็นไปต่างๆ โดยมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามกฎประติการข้างต้น
             สสารธรรมประวิัติศาสตร์ หมายถึงการปรับใช้หลักสสาสรธรรมประติการเข้ากับการศึกษาพัฒนาการของสังคม หรือประวัติศาสตร์ของมนุษย์ โดยถือว่าความคิดของมนุษย์และบรรดาสถาบันต่างๆ ในสังคม เป็นเสมือนโครงสร้างส่วนบนของสังคมที่เป็นผลผลิตหรือถูกกำหนดโดยส่วนใหญ่จากรากฐาน ทางวัตถุและเทคโนโลยีซึ่งแน่นอน กล่าวคือเศรษฐกิจหรือความสัมพันธ์ทางการผลิตซึ่งเป็นเสมือนโครงสร้างส่วนฐานของสังคม และพลังจูงใจให้มีการเปลี่ยนแปลงสังคม คือการต่อสู้ของชนชั้นที่เป็นปรกปักษ์กันอันเนื่องจากความขัดแย้งทางวัตถุหรือเศรษฐกิจ
            หากพิจารณากันในแง่ตัวอักษรแล้ว ไม่ปรากฎว่ามีทฤษฎี หรือแนวความคิดเกี่ยวกับกฎหมายที่ถูกสร้างขขึ้นอย่างเป็น "ระบบ" ในงานเขียนดั้งเดิมของ มาร์กแปละเองเกลส์ซึ่งเป็ฯให้กำเนิดลัทธินี้ ข้อเขียนของมาร์กซและเองเกลส์ที่เกี่ยวกับกฎหมายล้วนมีลักษณะเป็นเพียงการวิจารณ์หรือเสียดสีกฎหมายหรือปรัชญากฎหมายของฝ่ายทุนนิยม ซึ่งเขียนขึ้นอย่างกระจัดกระจาย ไม่มีความต่อเนื่องเป็นระบบและเป็นข้อความสั้นๆ ทั้งสิ้น.. แม้เองเกลส์เองก็ยืนยันในภายหลัว่า จริงๆ แล้วไม่มีอุดมการณ์กฎหมายแบบสังคมนิยมหรือแบบชนชั้นกรรมาชีพ เช่นเดียวกับที่ไม่มีปรัญากฎหมายแบบสังคมนิยม หากมีแต่ข้อิรียกร้องกฎหมายแบบสังคมนิยมหรือกรรมาชีพ ซึ่งเป็นความจำเป็ฯอันขาดไม่ได้ในการต่อสู้ทางชนชั้นทางการเมืองโดยที่ข้อเรียกร้องนี้ต้องสร้างขึ้นบนพื้นฐานของความสัมพันธ์ที่ดำรงอยู่จริง มิใช่บนพื้นฐานของปรัชญานามธรรมทางกฎหมาย

            ทฤษฎีหรือข้อสรุปทางความคิดเกี่ยวกับกฎหมายหรือธรรมชาติของกฎหมายโดยนักทฤษฎีกฏหมายของฝ่ายมาร์กซิสต์ ล้วนมีลักษณะของการสังเคราะห์สร้างหรือตีความขึ้นเองบนพื้นฐานของแนวความคิดหรือข้อเขียนที่กระจัดกระจาย ไม่เป็นระบบของทั้งมาร์กและเองเกลส์ข้างต้น
             นอกเหนือจากการสร้างหรือตีความธรรมชาติของกฎหมาย บนพืนฐานของแนวความคิดเกี่ยวกับกฎหมายที่ไม่เป็ฯระบบดังกล่าว ทฤษฎีกฏหมายของฝ่ายมาร์กซิสต์ช่วงต้นๆ ยังวางอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดนิยัตินิยมทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีการตีความกันสับสนว่าคือ แกนความคิดสำคัญของมาร์กซิสต์ น่าสังเกตว่าข้อสังเกตประการนี้สะท้อนให้เห็นความบกพร่องหรือความจำกัดในตัวลัทธินี้เองที่ไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง และมีประเด็นทางความคิดสำคัญ ๆ หลายอันที่ยังเคลื่อบคลุมไม่หนักแน่นเป็นจุดโหว่ในการแปลความต่างๆ
             จากท่าที่เชิงเสียดสีทั้งของมาร์กและเองเกลส์ต่อบทบาท หรือคุณค่าทางกฎหมายของสังคมทุนนิยม บวกกับการตีความทฤษฎีกฎหมายของนักทฤษฎีมาร์กซิสต์ซึ่งค่อนข้างหยาบกระด้างหรือบกพร่องข้างต้นทำให้เกิดหรือนำไปสู่การสร้างเท่าที่เหยีดหยัดคุณค่าของกฎหมายทั่วไป นำไปสู่ทรรศนะที่มุ่งทำลายหรือจงเกลียดจงชังกฎหมายในหมู่นักทฤษฎีกฎหมายมาร์กซิสต์รุ่นแรกๆ
              ความผิดพลาดหรือบกพร่องล้มเหลวในทางการเมืองของการจัดการการปกครองของสังคมสังคมนิยมซึ่งประกฎเด่นชัดจากลักษณะความเป็นเผด็จการ จำกัดลิดรอนสิทธิเสรีภาพในสังคมใหม่หลังการปฏิวัติ..นับเป็นเงื่อนไขสำคัญที่นำไปสู่การเคลื่อนไหวตีความธรรมชาติ หรือคุณค่าของกฎหมายใหม่ในทิศทางที่ยอมรับความสำคัญ ความจำเป็นของกฎหมายหรือความเป็นไปได้ของบทบาทที่สร้างสรรค์ของกฎหมายในการปกครองสังคมสังคมนิยมหรือการคุ้มครองสิธิเสรีภาพของประชาชนจากการใช้อำนาจเผด็จการของรัฐหรือพรรคคอมมิวนิสต์ ขณะเดียวกันก็วิพากษ์โจมตีทฤษฎีกฎหมายของมาร์กซิสต์รุ่นแรกๆ ว่าได้สร้างทฤษฎีกฏหมายมาร์กซิสต์ขึ้นมาอย่างบิดเบือน ท่าทีใหม่ทางความคิดร่วมสมัยจึงเห็ฯโน้มเอียงว่าในความเป็นจริงแล้ว บทวิจารณ์อุดมการณ์กฎหมายของลัทธิมาร์กซหาได้ระงับลัทธิมาร์กซในการสร้างทฤษฎีกฏหมายซึ่งสัมพันธ์กับปรากฎการณ์ทางสังคมที่สำคัญอื่นๆ... คงมิใช่เรื่องหลักการทางกฎหมายแตหากเป็นการวิจารณ์ต่อความผิดพลาดทางความคิดที่เน้นหลักการทางกฎหมายอย่างเกินเลยไม่ได้สัดส่วนกับองค์ประกอบทางสังคมอื่นๆ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อความเข้าใจกระบวนความเป็นไปของชีวิตทางสังคม

Source de Droit

             " มนุษย์จะดำเนินการตามความพอใจของตนทุกอย่างนั้นหาได้ไม่" กฎหมายซึ่งมนุษย์ใช้บังคับนั้นต้องอนุโลมตามธรรมชาติ คือ ต้องบัญญํติขึ้นตามแต่เหตุการ์สภาพความเป็นอยู่ของประชาชน และอยู่ในสภาพที่บุคคลสามารถทีจะปฏิบัติตามได้ด้วย"  มองเตสกิเออ (Montesquieu)
             ที่มาของกฎหมาย
             กฎหมายเกิดจากวิวัฒน์นาการของมนุษย์ สังคมมนุษย์เป็นตัวผลักดันให้เกิดมีกฎหมายบังคับใช้กันเอง เมื่อเกิดชุมชนขึ้น สังคมในชุมชนก็เกิดขึ้พร้อมกัน แต่ละชุมชนจะมีขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษาพูด มีความเชื่อถือโชคลาง เทพเจ้า วิญญาณต่าง ๆ เป็นของแต่ละชุมชนโดยเฉพาะ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมามีชุมชน คือ ขนบธรรมเนียมประเพณีหรือจารีตประเพณีของแต่ละชุมชน ซึ่งต่อมาจึงกลายเป็นกฎหมายจารีตประเพณีไป เมื่อชุมชนขยายขึน มนุษย์ที่อยู่ในชุมชนนั้นหรือในเผ่านั้นก็ต้องประพฤติปฏิบัติตามประเพณีของเผ่าของตนที่ยึดถือปฏิบัติกันมา ผู้ใดขัดขืน หรือไม่ชอบปฏิบัติตาม ก็จะถูกสังคมในเผ่า ร่วมกันลงโทษผู้นั้น อาจเป็นในรูปการฆ่าหรือกำจัดออกไปจากสังคมนั้น หรือทรมาน หรือขับไล่ไม่ให้อยู่ในกลุ่มของตน ในช่วงนี้จารีตประเพณีมีความสำคัญสำหรับเผ่าหรือชุมชน เปรียบได้เสมือนว่าเป็นกฎหมายที่มีอำนาจบังคับให้คนในกลุ่มในเผ่านั้นๆ ต้องประพฤติปฏิบัติตามได้เลยที่เดียว หากขัดขืนก็จะได้รับผลร้ายติดตามมา ซึ่งถ้าจะเปรียบเป็นกฎหมายแล้ว ในยุคของสังคมระยะเริ่มแรกในช่วงนี้ก็คือ "จารีตประเพณีที่บังคับให้มนุษย์ในชุมชนนั้นต้องประพฤติปฏิบัติตาม หากขัดขืนไม่เชื่อฟังก็จะต้องได้รับผลร้ายติดตามา" นั้นเอง ต่อมากลุ่มหรือเผ่าขยายขึ้น มีประชาชนเพิ่มขึ้น ปัญหาต่างๆ ก็เกิดตามขึ้นมา ทั้งในด้านการควบคุมกลุ่ม เผ่าของตนให้อยู่เป็นกลุ่มเป็นก้อนไม่กระจัดกระจายทั้งใรด้านป้องกันความปลอดภัยของคนในหมู่เผ่าของตนที่จะถูกทำร้ายจากคนกลุ่มอื่น ทั้งในด้านควบคุมความสงบเรียบร้อย การลักขโมย ทะเลาะ ทำร้ายกันภายในกลุ่มของตนเงอ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องตั้งผู้ควบคุมกลุ่ม เป่า หรือชุมชนของตนขึ้น ผุ้ที่ถูกแต่ตั้งเรียกว่าเป็นหัวหน้านั้นมักจะมาจากคนที่มีความเก่งกล้าในการต่อสู้ มีความแข็งแรงกว่าคนอื่นๆ ในชุมชนนั้นจนได้รับความไว้วางใจจากคนในกลุ่มเป็นผู้คุ้มครองตน หรือไม่ห้วหน้าเผ่า ชุมชนนันๆ อาจมาจากคนที่มีความเก่งกล้าในการักษาโรคหรือขจัดผีภัยต่างๆ สร้างความสงบ ความอยู่ดีกินดีให้กับคนในเผ่า ซึ่งเรียกสั้น ๆ สรุปได้ก็คือหมอผีนั้นเอง อาจได้รับแตงตั้งขึ้นเป็นหัวหน้าเผ่าแต่ละเผ่าเช่นกัน
                หัวหน้าเผ่านี้ก็จะทำหน้าที่ควบคุมความอู่ดีกินดีและความสงบสุขให้เกิดแก่เผ่าของตนรวมไปถึงทำหน้าที่ตัีดสินข้อพิพาทต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเผ่าของตนด้วย ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องตั้งกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆ ขึ้นมาเพื่อให้คนในเผ่าเชื่อฟังและปฏิบัติตาม ซึงกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ตนตั้งขึ้น ก็อ้ารงเอาคำสังของวิญญาณบรรพบุรุษ หรือคำสั่งของเทพเจ้าที่หมู่เผ่านั้นนับถือให้มีบัญชาให้คนนำมาใช้กับคนในหมู่เผ่าของตน ซึ่งทำให้คนในหมู่ในเผ่านั้นเกิดความเกรงกลัวและยอมปฏิบัติตามด้วยดี ซึ่งถ้าจะพิจารณากันให้เดีแล้วจะเห็นได้ว่า คำสั่งของเทพเจ้าก็ดีหรือวิยญาณบรรพบุรุษก็ดี เป็นต้นตอของลัทธิหรือศาสนาของชุมชนในเผ่าใหหมู่นั้นนั่นเอง

           
          ดังนั้น ถาจะเปรียบเป็นกฎหมายในยุคสมัยที่กล่าวมานี้ ก็ถือได้ว่าเป็น "คำสั่่ง หรือคำบัญชาของเทพเจ้า หรือของวิญญาณบรรพบุรุษที่ประสงค์จะให้คนในเผ่าของตนนั้นประพฤติปฏิบัติตาม ถ้าหากฝ่าฝืนก็จะได้รับผลร้ายติดตามมา" เช่นกัน แต่อย่างไรก็ดี ในสมัยแรกๆ นั้นมิใช่ว่าจะมีคนประพฤติปฏิบัติตามด้วยดีตลอดมาทุกคน การฝ่าฝืนกฎข้อบังคับอันเกิดจากประเพณีก็ดี หรือเกิดจากเทพเจ้า พระเจ้าหรือวิญญาณบรรพบุรุษต่างๆ ก็ดี ย่อมเกิดมีขึ้นได้เพราะในหมู่ในเผ่าแต่ละเผ่านั้นย่อมมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับธรรมเนียมประเพณีหรือความเชื่อในเทพเจ้าหรือวิญญาณต่างๆ จึงไม่เชื่อถือและไม่ปฏิบัติตาม ดังนั้น หัวหน้าเผ่าจึงต้องกำหนดบทลงโทษเอาไว้ด้วยเช่นกัน ซึ่งการลงโทษในสมัยนันค่อยข้างจะรุนแรง เช่น ตัดคอ ตัดแขน ตัดข เฆี่ยน โบย หรือขับไฃล่ออกไปจากเผ่าของตน แล้วแต่ฐานะของความผิดของคนๆ นั้นจะรุนแรงมากน้อยเพียงใด อันเป็นตัวอย่างให้คนในหมู่หัวหน้าลงโทษแบบเดียวกัน จึงทำให้คำสั่งหรือข้อบังคับของหัวหน้าเผ่ามีความศักดิ์สิทธิ์และง่ายแก่การปกครองคนในเผ่ายิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง คำสั่งหรือข้อบังคับของหัวหน้าเผ่าจึงกลายเป็นหลักบังคับความประพฤติของคนในเผ่าตนขึ้นมาโดยปริยาย จนเป็นความเกี่ยวพันระหว่างกันขึ้นหรือเกิดเป็นกฎหมายขึ้นมานั่นเอง
                ต่อมาเมื่อมนุษย์เจริญขึ้น ชุมชนเผ่าต่างๆ แผ่ขยายใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นรัฐหรือเป็นประเทศในทุกวันนี้ คำสั่งหรือข้อบังคับทั้งหลายก็ถูกปรับปรุงแก้ไขตลอดมาโดยอาศัยพื้นฐานของจารีตประเพณี ลัทธิศาสนา และสภาวะความเป็ฯอยู่ของคนในรัฐหรือในประเทศนั้นๆ เป็นส่วนประกอบในการสร้างกฎหมายขึ้นเพื่อใช้บังคับกับคนในรัฐตนให้ประพฤติปฏิบัติตาม โดยถือหลักเพื่อรักษาความสงบ ความอยู่ดีกินดี และความเป็นปึกแผ่นของรัฐหรือประเทศนั้นให้ดำรงอยู่ตลอดไป การลงดทษที่รุนแรงในสมัยก่อนๆ ก็ค่อยๆ ถูกปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปตามความเจริญของมนุษย์ คือ แทนที่จะลงโทษด้วยวิธีการที่โหดร้าย ก็เปลี่ยนเป็นจำคุกหรือกักขัง หรือปรับเป็นเงิน หรือเป็นค่าสินไหมทดแทนในการทำละเมิด คือ ปรับเป็นค่าเสียหายชดใช้ให้กับผู้ที่ถูกละเมิดนั่นเอง ดังนั้นในยุคปัจจุบันนี้ กฎหมายก็คือ "คำสั่งหรือข้อบังคับของผู้ปกครองรัฐ แระเทศที่บัญญัติออกมาใช้ควบคุมความประพฤติของประชาชนในรัฐหรือประเทศของตน ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกัน หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่เชื่อฟังหรือไม่ปฏิบัติตามก็จะมีความผิดและถูกลงโทษ" หรือจะกล่าวว่า "กฎหมายคือ คำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่ใช้บังคับความประพฤติของบุคคลอันเกี่ยวด้วยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกัน ถ้าใครผ่าผืนไม่ปฏิบัติตามก็จะมีความผดและถูกลงโทษ"
             กฎหมายอาจกำเนิดจาก จารีตประเพณีและมาจากตัวบทกฎหมายหรือกฎหมายลายลักษณ์อักษร
             กฎหมายจากจารีตประเพณี จารีตประเพณีเกิดมาจากการประพฤติปฏิบัติตามแบบอย่างของมนุษย์ที่ปฏิบัติสอดคล้องต้องกันมาเป็ฯเวลาช้านาน โดยมุ่งถึงสิ่งที่เกิดขึ้นภายนอกของมนุษย์ เช่น การพู การแต่งตัว ตลอดถึงวัฒนธรรมต่างๆ จารีตประเพณีจึงคลุมถึงการดำรงชีพของมนุษย์ทั้งหมดในกลุ่มหรือในสังคมแต่ละสังคมของมนุษย์ หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ยอมประพฤติ ปฏิบัติตาม ก็จะได้รับการตำหนิ อย่างวรุนแรงจากสังคมนันๆ หรือบางครั้งอาจถูกขับไล่ไม่ให้อยู่ร่วมในสังคมนั้น ๆ เลยก็ได้
             ดังนั้น วิธีการตัดสินคดีความต่าง ๆในสมัยโบราณได้มีการยอมรับและปฏิบัติสืบต่อกันมาโดยสม่ำเสมอ โดยมีการเปลี่ยแปลงเป็นบางครั้งตามสถาพแวดล้อมของสังคมที่เปลี่ยนไปจนกระทั่งกลายเป็นหลักบงคัยใช้กับประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งต่อมาในภายหลังเรียกหลักนี้ว่า ฝไกฎหมายจารีตประเพณี" เพราะถ้าใครฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามก็จะต้องมีความผิดและถูกลงโทษเช่นเดียวกับหลักของกฎหมายอาญา
           กฎหมายจารีตประเพณีเป็นกฎหมายที่ไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เวลามีคดีเกิดขึ้นจึงไม่อาจจะหยิบหรือจับมาเปิดดูเปรียบเทียบกับคดีต่าง ๆ เหมือนเช่นตัวบทกฎหมายซึ่งเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ฉะนั้น จึงต้องอาศัยค้นคว้าหาดูจากคำพิพากษาของศาลจากคำเบิกความของพยาน หรือจากสุภาษิตกฎหมายในปัจจุบันนี้ จึงทำให้จารีตประเพณีลดความสำคัญลงไปมาก และไม่อาจจะเรียกว่าเป็นกฎหมายได้อีกต่อไป ยกเว้นแต่ที่กำหมดปัจจุบันรับรองให้นำมาใช้ได้
           แม้ว่าจารีตประเพณีจะมีความสำคัญต่อสังคมมนุษย์เช่นเดียวกับกฎหมายที่่มีความสำคัญต่อประเทศหรือรัฐก็ตาม แต่จารีตพระเพณีย่อมมีทั้งดีและไม่ดีปะปนกัน เพราะแม้แต่ในประเทศเดียวกันก็ยังมีประเพณีแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถ่ิน ฉะนั้นปัฐญหาจึงเกิดมีว่า ถ้าบุคคลในท้องถ่ินต่างกันก็จำเป็นต้องเรียนรู้กฎหมายของท้องถ่ินต่างกัน ดังนั้น กฎหมายจารีตนั้นจะเหมาะกับยุคสมัยที่มนุษย์อยู่แต่เฉพาะในถิ่นของตน ซึ่งผิดกับมนุษย์ในสมัยปัจจุบัน
           อีกประการ คือ กฎหมายประเพณีนั้นยากแก่การพิสูจน์เมื่อมีคดีเข้าสูศาลเพราะศาลย่อมจะไม่รู้ประเพณีของท้องถิ่นอื่นหรือของประเทศอื่นได้ทั้งหมด บางครั้งจารีตประเพณีก็เป็นสิ่งไม่เหมาะสม อาทิ ประเพณี ประเพณีในหมู่โจรเป็นต้น จารีตประเพณีที่ควรนำมาปรับกับคดี จึงต้อง เป้ฯประเพณีซึ่งมีและปฏิบัติกันและเป็นเวลาช้านานแล้ว อาทิการต่อสู้ที่ถูกต้องตามกติกาแมคู้ต่อสู้ถึงแก่ความตายก็ไม่มีความผิดฐานฆ่าคนตายตามกฎหมาย ต้องเป็นประเพณีอันควร มีเหตุมีผล และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนโดยทั่วไป  ต้องเป็นประเพณีที่ไม่ขัดต่อตัวบทกฎหมายที่มีอยู่
          จึงเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในปัจจุบันว่า ถ้าประเพณีเกิดไปขัดกับตัวบทกฎหมายแล้ว แม้ไม่มีบทบัญญํติกฎหมายนั้นๆ ห้ามไว้ก็ต้องถือว่าประเพณีนั้นถูกยกเลิก
           กฏหมายกำเนิดจาก ตัวบทกฎหมายหรือกฎหมายลายลักษณ์อักษร เมื่อกฎหมายได้ตราออกมาแล้วย่อมใช้ไปตลอดจะลบล้างไม่ได้ จนกว่าจะถูกยกเลิกไปโดยกฎหมายใหม่กำหนดให้ยกเลิก หรือกฎหมายใหม่ที่ออกมาตีความบทกฎหมายเก่าให้ชัดเจนขึ้น แต่ข้อขัดข้องก็มี คือ เมื่อไดจัดทำเป็นลายลักาณ์อักษรแล้วย่อมตายตัวและแก้ไขได้ยาก ไม่สะดวกในการเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะแวดล้อมและกาลเวลาที่เปลี่ยนไปของประเทศเหมือนอย่างเช่นจารีตประเพณี แต่ก็อาจแก้ไขได้โดยการออกกฎหมายใหม่ลบล้างอันเก่าไปเรื่อยๆ
          การตรากฎหมายขึ้นบังคับใช้นั้น ต้องพิเคราะห์ถึงเหตุการณ์ สถานการณ์ต่าง ๆ เป็นหลัก เพราะต้องคำนึงถึงคงามเป็นอยู่ ภาวะสังคมของประชาชน และต้องออกกฎหมายมาให้ตรงกับความต้องการของประชาชนด้วย ถ้ารัฐบัญญัติกฎหมายออกมาตามใจชอบของตนฝ่ายเดียว กฎหมายนั้นก็อยู่ไม่ยึด

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559

John Locke & Montesquieu

                John Locke นักปรัชญาชาวอังกฤษมีแนวความคิดว่าทุกคนเกดมามีความเท่าเที่ยมแันและเสมอภาคกัน  ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพ รํัฐหรือผู้ปกครองทุกระดับจะใช้อำนาจตามอำเภอใจไม่ได้ คัดค้านระบบกษัตริย์และการมีอำนาจของพวกพระ เพราะไม่เชื่อว่ากษัตริย์และพระมีอนาจเหนือผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมจากประชาชน และเสอนว่าการปกครองประเทศนั้นไม่ควรมีอำนจาจอยู่ที่กษัตริย์เพียงอำนาจเดียว แต่อำนาจในการปกครองประเทศควรมี 3  อำนาจ คือ อำนาจในการออกกฎหมาย อำนาจในการบริหาร และอำนาจในการทำสงครามและสัญญากับต่างประเทศ
              การแบ่งแยกอำนาจดังกล่าวเพื่อต้องการให้อำนาจปกครองสามารถตรวจสอบถ่วงอุลย์ซึ่งกันและกันซึ่งเป็นการป้องกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน แนวคิดของ John Locke เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาการใช้อำนาจของผู้ปกครอง ซึ่งเป้าหมายคือรักษาไว้ซึ่งสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่จะไม่ถูกรบกวนจากการใช้อำนาจของผู้ปกครองโดยขาดความเป็นธรรม
             หลังจากได้เสนอแนวความคิดดังกลบ่าวแล้วได้รับการตอบรับจากประชาชน และนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส Montesquieu ได้ให้คำอธิบาเพ่ิมเติมโดยเฉพาะหลัการแบ่งแยกอำนาจ โดยมีความเห็นว่าการแบ่งแยกอำนาจเป็นหลักการที่จะป้องกันแก้ไขการใช้อำนาจอย่างไร้ขอบเขตของผู้ปกครองได้ และจะทำให้ประชาชนมีสิทธิและมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจ ทั้งี้เพราะอำนาจแต่ละอำนาจจะควบคุมซึ่งกันและกัน
            อำนาจนิติบัญญัติ มีหน้าที่ในการบัญญัติกฎหมายและอำนาจนิติบัญญัตินี้มาจากตัวแทนองประชาชนหมายความว่าประชาชนเลือกตัวแทนขึ้นมากลุ่มหนึ่งเพื่อใช้อำนาจในการบัญญัติกฎหมายให้เป็นไปตามความต้องการของประชาน
             อำนาจบริหาร ทำหน้าที่ในการบริหารการปกครอง แต่การบริหารการปกครองตามแนวทางของนี้ จะต้องมีกฎหมายให้อำนาจไว้ และกฎหมายที่ให้อำนาจและหน้าที่ไว้นันเป็นกฎหมายที่มาจากฝ่ายนิติบัญญัติ คือมาจากตัวแทนของประชานตามความต้องการของประชาชน หลักการนี้จะพบว่าการที่ฝ่ายริหารจะใช้อำนาจในทางปกครองในทุกระดับจะต้องมีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้ ซึ่งก็หมายความว่าฝ่ายบริหารทุกระดับจะใช้อำนาจกคอรงต้องเป็นไปตามความต้องการของประชาชน ตามที่ประชาชนต้องการ หลักการนี้เป็นหลักการที่เรียกว่า "การปกครองครองโดยกฎหมาย หรือ หลักนิติรัฐ"
            อำนาจตุลาการ มีหน้าที่ในการใช้กฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติ บัญญัติไว้ให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของฝ่ายนิติตบัญญัติก็คือจุดประสงค์ของประชารชน ฝ่ายตุลาการจะใช้อำนาจเบี่ยงเบนไปจากความต้องการของประชาชนไม่ได้ อำนจตุลาการนี้ในทางปฏิบัติอาจแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่เป้าหมายที่แท้จริงคือให้ความยุติธรรมแก่ประชาน และเป็นการถ่วงดุลอำนาจระหว่าอำนาจนิติบัญัติกับอำนาจบริหารอีกทางหนึ่ง
           แนวความคิดดังกล่าวได้นำมาเขียนคำประกาศอิสระภาพที่เรียกว่า "Bill of Right" ซึ่งมีใจความตอนหนึ่งว่า "..เราถือว่าความจริงต่อไปนี้มีความหมายชัดเจนในตัวมันเองคือความจริงที่ว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาเท่านเที่ยมกัน เสมอภาคกันได้รับสิทธิจากพระเจ้าผู้ให้กำเนินที่เปลี่ยนโอนไม่ได้สิทธิเหล่านั้นได้แก่ สิทธิในชีวิต เสรีภาพ และการแสวงหาความสุข.." และต่อมาได้นำหลักการดังกล่าวมาเขียนเป็นปนวทางในการปกครองประเทศอเมริกาและเรียกเอกสารที่เป็ฯแนวทางในการปกครองประเทศว่า "รัฐธรรมนูญ หรือ "Constitution" ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้เป็นแนวทางการปกครองประเทศ และเป้นต้นกำเนินของระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน

           หลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยและหลักนิติรัฐ เพื่อเป็นการป้องกนและแก้ไขการใช้อำนาจปกครอง ทำให้เกิดแนวคิดต่อต้านอำนาจนิยม และเกิดหลัการสำคัญในระบอบประชาธิปไตยและหลักนิติรัฐ 4 ประการคือ
           1. ประชาชนทุกคนมีความเท่าเทียมกันเสมอภาคกัน ไม่มีผู้ใดมีสิทธิมากกว่ผู้อื่นการที่ผุ้หนึ่งผุ้ใดจะมีสิทธิมากกว่าผู้อ่นได้นั้นจะต้องมาจากกฎหมายอันเป็ฯที่ยอมรับโดยทั่วไปของประชาชนเท่านั้น ซึ่งหมายความวว่าผู้ปกครองมีอำนาจเหนือผู้ถูกปกครองได้ก็เพราะกฎหมายให้อำนาจไว้และกฎหมายนั้น จะต้องเป็นที่ยอมรับของประชาชส่วนใหญ่ ซึ่งหมายความว่าตัวแทนของประชาชส่วนใหญ่เป็นผู้บัญญัติกฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น
            2.ในสังคมทุกคนมีควาทเท่าเทียมกัน  ผุ้ที่จะทำหน้าที่ใช้อำนาจปกครองจะต้องได้รับความเห็นชอบจากประชานส่วนใหญ่ ซึ่งหมายความว่าประชานจะต้องเลือกตัวแทนขึ้นมาทำหน้าที่ปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งกรบวนากรนี้เองที่ทำให้เกิดพรรคการเมืองและกระบวนการเลือกตั้งในเวลาต่อมาเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งตัวแทนของประชานที่ทำหน้าที่ปกครอง  อันเป็นผลพวงที่ทำให้เกิดพรรคการเมือง กลุ่มผลประดยชน์ที่จะอาสาทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนและเืพ่อที่จำให้ได้มาซึ่งตัวแทน ที่ประชาชนต้องการจึงเกิดกระบวนการเลือกตั้ง
            3. หลักการใช้อำนาจในระบอบประชาธิปไตยต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ทั้งนี้เพราะตามหลักการของระบอบประชาธิปไตย อำนาจมาจากประชาชน เพราะฉะนั้นการใช้อำนาจจะต้องปกป้องสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนเป็นเรื่องหลักสำคัญ ผู้มีอำนาจปกครองเป็นเพียงผู้ที่ปฏิัติตามกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจไว้เท่าน้น
           4. หลักการสำคัญอีกประการคือการใช้อำนาจในทางปกครองจะต้องสมารถตรวจสอบได้ 
           เป้าหมายของระบอบประชาธิปไตย การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น มีหลายระบบไม่ว่าการปกครองระบบใด ถ้าการปกครองนั้นเป็นการปกครอง "ของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน" แล้วไซร์เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะเป้าหมายหลักของการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพื่อรักษาไว้ซึ่งสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ และป้องกันการใช้อำนาจเกินขอบเขต จึงมีองค์กรตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจในแต่ละรูปแบบการปกครอง
            พอจะสรุปได้ว่ารัญธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยบัญญัติเกี่ยวกับสถาบันทางการเมืองที่ใช้อำนาจในการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยไม่จำเป็นต้องถอดแบบกันมา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประวัติศาสตร์ขนบธรรมเนียม ประเพณี รวมทั้งความรู้สึกนึกคิดของประชาชนด้วย แต่ที่สำคัญคือได้ผลตามเป้าหมายของประชาธิปไตยหรือไม่เป็นสำคัญ

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Urban

             เมืองคือ การรวมตัวกันอย่างถาวรของประชาชนในพื้นที่หนึ่งและถ้าจะถามว่าเพราะเหตุใดจึงต้องมีการรวมตัวกันของประชาชนในพื้นที่ ก็อาจจะตอบได้ว่า เพื่อการสร้างมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยเหตุผลสองประการคือ การรวมตัวกันเพื่อเพิ่มผลิตภาพของคน และการรวมตัวเพื่อให้เกิดมีสินค้าและบริการมากขึ้น ในแง่ของการผลิต การรวมตัวของบุคคลและหน่วยผลิตจะมีรูปแบบของการผลิตที่มีความชำนาญเฉพาะอย่างได้มากขึน ดังนั้น จะสามารถมีผลผลิตมากขึ้น ด้วยระดับของทรัพยากรที่มีอยู่ทางด้านการบริโภค การอยู่ร่วมกันอย่างหนาแน่นช่วยให้เกิดตลอดที่มีขนาดใหญ่พอที่จะมีผลผลิตหลากหลายเข้ามาให้เลือกอย่างครบครัน ลักษณะที่สำคัญที่สุดของเมือง ก็คือความสะด้วก คนงานจะไปถึงโรงงานอย่างสะดวก ขฯะเดียวกันหน่วยผลิตจะติดต่อกันอย่างสะดวก ผู้ซื้อจะไปถึงร้านค้าอย่างสะดวก
ความสะดวกจึงหมายถึงมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดี
             เมืองทีหน้าที่มากมายที่เป็นทั้เงหน้าที่ในการเศรษฐศาสตร์ และหน้าที่ที่ไม่ใช่แบบเศรษฐศษสตร์ ได้กล่าวแล้วว่าเมืองก่อให้เกิดกลไก ที่จะนำผู้บริโภคและผู้ผลิตมาอยู่ร่วมกัน จากประวัติศาสตร์ได้ชี้ให้เห็ฯว่าการรวมตัวของประชาชนในพื้นที่หนึ่งและผูู้ผลิตมาอยู่ร่วมกัน จากประวัติศาสตร์ได้ชี้ให้เก็ฯว่าการรวมตัวของประชาชนในพื้นที่หนึ่งเกิดจากความต้องการทั้งทางด้านการป้องกันความปลอดภัยมากพอๆ กัน ความต้องการทางด้านเศรษฐกิจเช่นกัน  แต่ในโลกปัจจุบันอาวุธที่ทันสมัยอาทิ เช่น อาวุธนำวิถีที่สามารถยิงได้จากระยะไกลและอานุภาพร้ายแรง ทำให้หน้าที่ของเมืองในด้านการป้องกันควมปลอดภัยได้พ้นสมัยไป และในความเป็นจริงการเปลี่ยนแปลงของเมืองกลับเป็นไปในทางตรงกันข้ามการกระจายพลเมืองออกสู่ชานเมืองย่อมดีกว่าหากคำนึงถึงการถูกโจมตีด้วยปรมาณู
              หน้าที่ของเมืองที่ทำให้ปริวรรตกรรม (การแลกเปลี่ยน) และวิภาคกรรม (การกระจาย) เป็นไปโดยง่าย เป็นพื้นฐานในทุกระบบเศรษฐกิจ ความสะดวก จึงเป็นกุญแจสำคัญ ที่ทำให้ทรัพยากรและสินค้าและบริการสามารถเกิดการแลกเปลี่ยน และการกระจายไปได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้นถ้าผู้ซื้อและผู้ขายได้รับความสะดวก เมืองจึงเป็นที่รวมของตัวแทนทางเศรษฐกิจ ผลประโยชน์จากการรวมตัวกันของพลเมืองจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้มาตรฐานความเป็นอยู่ดีขึ้นกว่าการที่อยู่กระจัดกระจายห่างไกลการรวมตัวกันดังกล่าวก็ยังคงมีผลเสียในหลายกรณี ซึ่งผลเสียเหล่านี้มีความสำคัญมากขึ้นทุกวันจนทำให้หลายๆ เมืองในปัจจุบันนี้ไม่สามารถทำได้ที่อย่างมีประสิทธิภาพ
                เป็นที่ชัดเจนว่าถึงแม้ความสะดวกจะเป็นกุญแจสำคัญไปสู่ผลประโยชน์ของชีวิตในเมือง ก็ตาม การอยู่ใกล้กันมากเกินไปก็เป็นที่มาของปัญหาอีกมากมาย ถ้าพลเมืองและหน่วยผลิตจะกระจายตัวออกไปตมพื้นที่ว่างรอบนอกของเมือง ก้จะทำให้ปัญหาความคับคั่งลดน้อยลงไปได้ ด้วยเหตุนี้การโยกย้ายออกไปอยู่ชานเมืองจึงเป็นปฏิกริยาที่คนมีาายได้สูงมีต่อผลเสียในเมืองมานับศตวรรษแล้ว ในเมืองใหญ่ซึ่งเต็มไปด้วยปัญหาความยากจน อาชญกรรมและแหล่งเสือมโทรมเหล่านี้เป็นผลที่จะต้งอจ่างจากการที่ได้พอใจกับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการอยู่ร่วมกันแบบแออัดยัดเยียด                                                                                                                          
              กระบวนการทำให้เป็นเมือง เป็นผลที่เกิดกระบวนการทำให้เป็นความทันสมัย ประชาชนจะเข้ามาอาศัยหหางานทำในเมืองมากขึ้น ระบบเศรษฐกิจจะถูกรวมศูนย์อยู่กับเมืองเป็นหลัก โอกาสในการจ้างงานในเมืองมีมากกว่า
              เมื่องเกิดจากกรวมตัวกันอย่างถาวรประชาชนในพื้นที่หนึ่ง เพื่อสร้างมาตรฐานความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น โดยอาศัยความเได้เปรียบที่เป็นลักษณะสัำคัญของเมืองคือ ความสะดวกเป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มผลิตภาพและระะบบการตลาดที่มีประสิทธิภาพ หน้าที่ทางด้านเศรษฐศาสตร์ของเมืองก็คือ การก่อให้เกิปริวรรตกรรมและวิภาพกรรม อันเป็นกิจกรรมพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งต้องอาศัยความสะดวกที่เกิดจากการรวมตัวของทรัพยากร และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในเมือง  
              การรวมตัวของพลเมืองที่หนาแน่นมากเกินปกลับเกิดปัญหาในทางลบต่อการพัฒนาเขตเมือง อาทิ ปัญหาจราจร ปัญหาแหล่งเสือมโทรมปัญหาอาชญากรรมและปัญหามลภาวะต่างๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นล้วนแต่มีแง่มุมทางเศรษฐศาสตร์ทั้งสิ้น การศึกษาวิเคราะห์ในประเด็นปัญหาต่างๆ เหล่านี้ จะเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายสาธารณะที่ใช้แก้ปัญหาของเมืองต่อไป  การแบ่งอารณาเขตของการตั้งถ่ินฐานของมนุษย์อย่างหยาบคอเป็นเขตชุมชนกับชนบท โดยสภาพกายภาพที่แตกต่างนั้น ไม่ตัวเลขที่แน่นอนทางสถิติ ซึ่งเป็นเรื่องลำบากทีจะระบุให้ชัดเจน ในที่สุดเรนาจึงหักมาใช้จำนวนประชากเป็นหลักในการกำหนดเขตเมืองในระดับต่าง ๆ อาทิ พลเมืองเกิด 20,000 เรียกชุมชนเมือง เกิน 100,000 เรียก นคร  ถ้าพลเมืองเกิน 500,000 เรียกนครหลวง และถ้าเกิน 2,500,000 เรียกมหานครเป็นต้น
            การตั้งถิ่นฐานและการกลายเป็นเมือง
            การตั้งถิ่นฐานหมายถึง การอยู่เป็นหลักแหล่งอันถาวร มีการสร้างอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ขึ้นมา รวมทั้งอาคารบ้านเรือน ที่กำบัง ทรัพย์สมบัติ ถนนหนทางรั้วกำแพง นอกจากนี้ยังรวมถึงบทบาทหน้าที่และรูปร่างของการตั้งถ่ินฐานเป็นส่วนรวมด้วยองค์ประกอิบทั้งหมดนี้คือผลรวมของวัฒนธรรมหนึ่งๆ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปจากวัฒนธรรมกลุ่มอื่นๆก็ได้ (ฉัตรชัย, 2527 ) การศึกษาถึงกาตั้งถ่ินฐานในปัจจุบัน นอกจากจะทำให้เราเข้าใจลักษณะองค์ประกอบโครงสร้างของการตั้งถ่ินฐานในระยะเวลานั้นแล้ว ยังทำให้เห็นถึงระบบของการตั้งถ่ินฐานทั้งหมดซึ่งอาจประกอบด้วย จำนวน ขนาดและระยะห่างของบริเวณตั้งถ่ินฐานแต่ละแห่งไม่ว่าจะเป็นชนบทหรือเมือง ยิ่งไปกว่านั้นสิ่งก่อสร้างตลอดจนสิ่งของทรัพย์สมบัติทั้งหลายที่อยู่คงทนต่าง ๆ อาจทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจอดีตความเป็นมาของผู้อาศัยในแหล่งตั้งถ่ินฐานนั้นได้ แหลฃ่งตั้งถ่ินฐานในปัจจุบันคือผลรวมของรูปแบบที่เกิดขึ้นในอดีต และสะท้อนให้เป็นช่วงระยะของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในแง่ของสังคม ความชำนาญควารมรู้ทางวิชาการ ความเจริญทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการสืบเนื่องของวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี
            การกลายเป็นเมือง UrbaniZation เป็นกระบวนการที่เพิ่งปรากฎในตอนต้นศตวรรษที่ 19 ก่อนปี ค.ศ. 1850 ไม่มีประเทศใดหรือสังคมใดที่สามารถเรียกได้ว่าเป็นสังคมเมืองล้วน แต่หลังจากนั้นไม่นานก็มีสหราชอาณาจักรเพียงประเทศเดียวที่มีลักษณะเป็นแหล่งชุมชน อีก 80 ปีต่อมาประเทศอุตสาหกรรมทั้งหมดก็ได้ก้าวสู่ความเป็นแหล่งชุมชนในระดับต่างกัน ส่วนประเทศอื่นๆ ในโลกปัจจุบันที่กำลังตกอยู่ภายใต้อิทธิของกระบวนการกลายเป็นชุมชนเมือง
          กระบวนการอันซับซ้อนทางสังคมและเสณาฐกิจที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในสังคมหสึ่งจากสถาพความเป็นอยู่แบบชนบทโดยทั่วไปได้ก้าวไปสู่ความเป็นแปล่งชุมชนเรียกว่า กระบวนการกลายเป็นแปล่งชุมชนเมือง ขั้นที่กระบวนการเปลี่ยนแปลงในประเทศหนึ่งก้าวไปสู่อีกระดับหนึ่งในเวลาหนึ่งเรียกว่าระดับของแหล่งชุมชน
            การพัฒนาและการขยายตัวของเมืองเกิดจาก ความได้เปรียบเป็นทุนเดิม เป็นจุดเปลี่ยนถ่ยของการขนส่ง เป็ฯทางไปสู่สิ่งท่ต้องการ มีการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ ขบวนการรวมตัวกันอยู่รายรอบ ไม่เพียงเท่านั้น ขบวนการพัฒนาเมืองเกุ่ยเนื่องกับลักษณะของพื้นที่ วิทยาการและวัฒนธรรมในภูมิภาคน้นเช่นกัน และยังเป็นไปได้ที่จะอธิบายพัฒนาเมืองอย่างมีขบวนการเป็นลำดับขั้น
           แหล่งที่เรียกว่าเมืองเกิขึ้นเมือง 5,500 ปีที่ผ่าสมาในแถบตะวันออกกลาง และต่อๆมาเมืองก็ไดขยายตัวไปสู่ส่วนต่างๆ ของโลก คำว่าเมือง มีความหมายเท่ากับอารยธรรม ซึ่งมาจากภาษาละตินที่ว่า ซิวิลิส อันหมายถึง ชาวเมือง ปัจจัยสภคัญซึ่งทำให้เกิดเมืองนั้น เนื่องจากมนุษย์เรารู้จักตั้งหลักแหล่งเป็นที่แน่นอนและสมารถผลิตอาหารได้มากมาย รู้จักกักเก็บอาหารไว้ในยามจำเป็นนอกจากนั้นยังสามารถขีดเขียนและบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆทำให้เกิดกฎหมาย วรรฯคดี และศาสนาขึ้นมา สิ่งที่ตำิตามมาก็คือ การบริหารสังคมที่มีประสิทธิภาพก็เกิดขึ้น ยิ่งกว่านั้นสภาพแวดล้อมก็ม่ส่วนส่งเสริมด้วยคือ การบริหารสังคมที่มีประสิทธิภาพก็เกิดขึ้น ยิ่งกว่านั้นสภาพแวดล้อมก็มีส่วนส่งเสิรมด้วยคือ โดยทั่วไปจะต้องมีลมฟ้าอากาศที่เหมาะสมและอุดมสมบูรณ์ซึ่งในมยก่อนก็ได้แก่บริเวณลุ่มแม่น้ำใหญ่ๆ ในเขตอบอุ่นนั้นเอง เมืองคงเป็นความเป็นเมืองอยู่ได้หรือสามารถขยายตัวใหญ่ขึ้นได้ ต้องอาศัย ความเป็นศูนย์กลาง ความเป้ฯสัญลักษณ์ และสวัสดิการ ซึ่งเมืองโดยทั่วไปจะต้องมีคุณสมบลัติต่างๆ ดังกล่าวไม่มากก็น้อย เมืองจะต้องเป็นศูนย์รวมของชนบทรอบๆ ในด้านการคมนาคมติดต่อ ในด้านการแจกจ่ายและบริการสินค้า ความเป็นแหล่งกลางที่เกิดจากการแบ่งแยกแรงงาน และยึดหลักความสะดวกโดยการเลือกทำเลที่ตั้งให้เหมาะสมที่สุด นั้คือกิจกรรมต่างๆ จะมารวมกันอยู่ตรงใจกลางเมือง.
..

วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2559

Industrial

         กระบวนการการทำให้สังคมมีความก้าวหน้าเป็นสังคมอุตสาหกรรมทซึ่งเกี่ยวข้องกับ กระบวนการทำให้เป็นความทันสมัยอย่างใกล้ชิด กล่าวคือ ผลจาก การทำให้เป็นสังคมอุตสาหกรรมจะทำให้สังคมที่เฉื่อยชามีความกรตือรือร้น สร้งบทบามและหน้าที่ใหม่ๆ มีเครื่องมือใหม่ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กบการใช้เครื่าองจักกลมากขึ้น สรุปได้ว่า กระบวนการทำให้เป็นสังคมอุตสาหกรรมนับเป็นประเด็นสำคัญ กล่าวคือ"เป็นช่วงหนึ่งของสังคมมีบทบามหน้าที่สำคัญๆ เกี่ยวเนื่องกับการผลิต"
           ความหมายของอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในขั้นที่ 2 ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่งเพราะอุตสาหกรรมเปนการแปรรูปใหวัตถุดิบมีมูลค่าสูงขึ้น เพื่อเป็นสินค้าสู่ตลาด การอุตสาหกรรมคือการแปรสภาพวัตถุดิบที่ดำเนินการโดยใช้เงินลงทุนและแรงงานเป็นจำวนวมาก เพื่อดำเนินการให้ได้เป็นผลุิตภัณฑ์สำเร็จรูปเพื่อการค้า เช่น การทำเหมืองแร่ การขุดบ่อน้ำมัน การทำป่าไม้ การแระมง การเกษตรกรรมและการบริการในเชิงการค้า
           อุตสหากรรมสามารถจำแนกได้เป็นหลายขนาดและหลายประเภท ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ
           อุตสาหกรรมจำแนกตามขนาด แบ่งเป็น
           1. อุตสหกรรมขนาดใหญ่ คืออุตสหกรรมที่มีการใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก มีทรัพย์สินถาวรตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไปและมีแรงงานที่มีความรู้ ความสามารถเป็นจำนวนมาก อุตสาหกรรมประเภนี้จะมีเครื่องจักรที่ทันสมัย และมีเทคโนโลยีระดับสูง มีขั้นตอนในการดำเนินงานหลายขั้นตอน เช่น อุตสาหกรรมถลุงเหล็กกล้า อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ ...
           2. อุตสาหกรรมขนาดกลาง หมายถึงอุตสาหกรรมที่มีแรงงานตั้งแต่ 20 คนถึง 50 คนและมีทรัพย์สินถาวรตั้งแต่ 10 -100 ล้านบาท มีเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ทันสมัย เช่น โรงงานผลิตเครื่องไใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมผ้าและปั่นด้าย เป็นต้เน
           3. อุตสหกรรมขนาดย่อม หมายถึงอุตสาหกรรมที่มีแรงงานและจ้างงานไม่เกิน 50 คน และมีทรัพย์สินถาวรต่ำกว่า 10 ล้านบาท เช่น อุตสากรรมน้ำตาลทราย โรงงานโลหะ เป็นต้น
           สังคมอุตสหกรรม ในช่วปรลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 เมื่อสังคมเร่ิมขยาตัว มีการนำเงินตราเข้ามาใช้และการเกิดอาชีพใหม่ๆ  เป็นการเปิดโอกาสให้พวกทาสสามารถหางานอื่นทำ โดยได้รบค่าจ้างเป็นเงินตราและนำไชำระค่าเช่าแทนการใช้แรงงานไ้ ทำให้ระบบสังคมแบบศักดินาเิร่มแสื่อมสลาย เมื่อระบบการค้าเจริญก้าวหน้าและการผลิตอุตาหกรรมค่อยๆ พัฒนาการจากผลิตในครอบครัว โดยอาศัยความชำนาญเฉพาะบุคคลมาเป็นการผลิตเพื่อการค้าขนาดใหญ่ ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างนายจ้างและลูกจ้างค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็นความขัดแยงและแตกร้าวกันเนื่องจาก การผลิตเพื่อกาค้า นายจ้างจำเป็นต้องควบคุมการผลิตอย่างเต็มที่และพยายามลดต้นทุนกาผลิตให้ต่ำสุด ซึ่งเป็น ซึ่งเป็นสาเหตุของการพิพาททางอุตสาหกรรม การกดขี้แรงงานและการเอาเปรียบแรงงานมีผลให้ช่วงว่างทางเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มคน 2 ห่างกันออกไปเรื่อยๆ

          ระยะหลังของสตวรรษที่ 15 การฟื้นฟูศิลปวิทยการ ค้นพบดินแดนใหม่ การเปลี่ยนแปลงทางการค้า การก่อตัวของระบบนายทุนและการปฏิรูปศาสนาผลักดันให้เกิดลัทธิพาณิชย์นิยม พร้อมกับการขยายบทบาทและอำนาจเหนือคนงานของนายจ้างเรื่อยมาถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรม การหลังไหชของแรงงานจำนวนมากจากชนบท ทำให้ความสัมพันธ์ในอุตสาหกรรมเปลี่ยนไปมาก ฝ่ายนายจ้างมีอำนาจอย่างมากในการกำหนดอัตราค่าจ้างและชั่วโมงการทำงาน อุตสาหกรรมสัมพันธ์เลวร้ายลงมาก การเอาเปรียบการจ้างงานและความไม่มั่นคงของการจ้างงาน ทำให้ช่องว่างระหว่างชนชั้นนายทุนและคนงานขยายออกไปเรื่อย ๆ จนเกิดการปฏิวัติล้มล้างชนชั้นนายทุนขึ้นในบางประเทศและเปลี่ยนแปลงระบบสังคมไปเป็แบบสังคนนิยม ส่วนประเทศที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงต่างพยายามพัฒนารูปแบบอุตสาหกรรมสัมพันธ์ต่างๆ เพื่อบรเทาความรุนแรงจากความขัดแย้งทางชนชั้นจนสามารถผ่านวิกฤติการณ์มาได้ แระเทศเหล่านี้ยังคงสามารถรักษาระบบสังคมทุนนิยมไว้ได้



           ลักษณะของสังคมอุตสาหกรรม
           สังคมมนุษย์ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้ว เรียกได้ว่า เป็นสังคม อุตสาหกรรม โดยที่สังคมอุตสาหกรรมในปัจจุบันเป็นผลิตผลทางประวัติศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงของวสังคมมนุษย์ดังกล่าวแล้ว ในสังคมอุตสาหกรรมโดยทั่วไปจะมีลักษณะสำคัญดังนี้
           1. แรงงานส่วนใหญ่จะอยู่ในสาขาอุตสาหกรรมการผลิตและบริการต่าง
           2. มีแรงผลักดันในสังคมเพื่อให้เกิดการขยารยตัวของผลิตภาพในการผลติ
           3. มีอัตราการขยายตัวของนวตกรรมทางด้านเทคโนโลยีสูง
           4.การผลิตมีขนาดให่และมีการแบ่งงานตามความสามารถ
           5. มีองค์กรและสถาบันทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และอื่นๆ ซึ่งทำหน้าที่ทางสังคมเฉพาะอย่าง และมีระบบความสัมพันธ์ที่ดีค่อนข้างสลับซับซ้อน
            6. ลักษณะสังคมมีลักษณะเป็นแบบสังคมเมือง คือ มีบุคคลอยู่รวมกันหนาแน่น มีแบบแผนของความสัมพันธ์ ขึ้นอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกนมากกว่าพื้นฐานทางด้านความสัมพันธ์ของครอบครัวหรือญาติ
            7. ค่านิยมและวัฒธรรม มีลักษณะซึ่งมีการยอมรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ได้มากกว่าและคุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลง
         

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ModreniZation

               ทฤษฎีความทันสมัย Modernization Theory  เป็นทฤษฎีผูกขาดและครอบงำการศึกษาการพัฒนาในประเทศโลกที่สาม มีอิทธิพลต่อการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบ การพัฒนาการเมือง การให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก การบริหารัฐกิจเปรียบเทียบและการบริหารการพัฒนา ศึกษานโยบายสาธารณะในรูปแบบของการตัดสินใจและการเลือกอย่างมีเหตุผล การศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองแนวกฎมพี ต่างจากการศึกษาในแนวมาร์ซีสต์
             ทฤษฎีภาวะทันสมัย เกิดจากแรกผลักสามประการ คือ การประสบความสำเร็จของโครงการฟื้นฟูยุโรปโครงการดังกล่าวเน้นบูรณะประเทศอุตสาหกรรม เหตุจากสงครามโลกคร้งที่ 2 ตามแผนมาร์แชล, สองบทบาทและอิทธิพลทางความคิดของนักเศรษฐศาสตร์การพัฒนา เน้าการเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรม และบทบาท อิทธิพลทางความคิดของนักสังคมศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา การกำหนดประชาธิปไตยแบบตะวันตกและการบริหารเพื่อการพัฒนา
               ลักษณะของ Modernization                                                                           เป็นกระบวนการปฏิวัติ กล่าวคือ กระบวนการเปลียนแปลงนี้จะยังผลให้วิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ถูกแปรเปลี่ยนไปอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ  เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน การเปลี่ยนแปลงชนิดนี้จะเกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงในแทบทุกเรื่อง ครอบคลุมถึความคิดตลอดจนพฤติกรรมของมนุษย์มีปัจจัยต่างๆ เกี่ยวข้องอยู่ อาทิ การปฏิวัติอุตาสหกรรม การสร้างชุมชนเมือง การเปลี่ยนจิตสำนึกทางสังคม การเข้าีสนร่วมทางการเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจ และมีโครงสร้างทางสังคมที่แตกต่างซับซ้อนกันเป็นต้น  เป็นกระบวนการที่เป็นระบบ กล่าวคือ เมื่อด้านใดด้านหนึ่งของชีวิตสังคมแปลเปลี่ยนไปจะยังผล้ให้ด่้านต่างๆ กระทบกระเทือนเปลี่ยนแปรไปด้วย สาระสำคัญของกระบวนการสร้างความเป็นทันสมัยจึงเกี่ยวเนื่องกันเป็นอย่างมาก เป็นกระบวนการที่ครอบคลุมทั้งโลกกระบวนการนี้เริ่มขึ้นในประเทศยุโรปก่อน ต่อมาได้ขยายความคิดและรูปแบบพฤติกรรมไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก จึงถือได้ว่าการสร้างความเป็นทันสมัยปรากฎการณ์ที่ยอมรับกันในทุกสังคม เป็นกระบวนการที่ใช้ระยะวเลายาวนาน แม้จะมีลักษณะของการปฏิวัติ แต่ก็มีลักษณะเป็นวิวัฒนาการ เมื่องคำนึงถึงระยะเวลาที่เปลี่ยนแปลงเหล่านั้จะเกิดขึ้น เป็นกระบวนการที่มีลำดับขั้นตอน เป็นกระบวนการที่สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคมที่ทันสมัยนั้นจะมีปัจจัยหลายประการมีลักษณะคล้ายคลึงกัน จึงเป็นที่เชื่อกันว่ากระบวนการนี้มีแนวโน้มที่จะนำสังคมต่างๆ ไปสู่การรวมตัวกันอย่างเป็นเอกภาพ กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่กลับสู่สภาพเดิมไม่ได้ คือ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นทันสมัยแล้ว กระบวนการนี้จะดำเนินรุดหน้าต่อไปเรื่อย ๆ อาจหยุดชะงักบ้าง แต่จะไม่มีวันถอยหลังกลับสู่ภาวะเกาเป็นอันขาด ผลกระทบของการสร้างกระบวนการนี้ อาจเป็นเรื่องลึกซึ่งในหลายด้าน แต่ในระยะยาวแล้วกระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และเป็นที่พึงปรารถนาของทุกสังคมด้วย   
           ปัจจัยหรือประเด็นความเกี่ยวข้อง   เนื่องจากกระบวนการสร้างความเป็นทันสมัยเกิดขึ้นครั้งแรกในตะวันตก จึงยึดรูปแบบตลอดจนการบวนการของประเทศตะวันตกเป็นหลัก  มีความใกล้ชิดกับกระบวนการทำให้สังคมเป็นสังคมอุตสาหกรรม  มีบทบามหน้าที่ใหม่ๆ มีเครืองมือใหม่ใหม่ๆ ขึ้นอยู่กับการใช้เครื่องจักรกลมากขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งของ "Modernization" เป็นช่วงหนึ่งของสังคม ที่บทบาทหน้าที่สำคัญๆ เกี่ยวเนื่องกับการผลิต เป็นไปไม่ได้ที่สังคมที่เป็นสังคมอุตสาหกรรมแล้วจะปราศจากซึ่งกระบวนการการทำความเป็นทันสมัย กระบวนการทำให้เป็นเมือง ผลกระทบอย่างหนึ่งจากการสร้างความเป็นทันสมัย คือประชาชนจะเข้ามาอาศัยหางานในเมืองมากขึ้ืน ระบบเศรษฐกิจจะถูกรวมศูนย์ที่เมืองเป็นหลัก โอกาสการจ้างงานเมืองจึงมีมากกว่า มีความเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในหลายด้าน เกิดการผลิตเพื่อการตลาดเข้าแทนที่ การผลิตเพื่อยังชีพ การเพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อคนของประชากร ซึ่งเป็นเสมือนมาตรวัดความกินดีอยู่ดีของประชาชน กระบวนการทางจิตวิทยาเกี่ยวเนือ่งกับการที่คนเปลี่ยนค่านิยม ทัศนคติและความคาดหวังแบบเก่าไปสู่แบบใหม่ ผลกระทบอีกประการคือ ประชชาชนมีการเรียนรู้ มีการสื่อสารคมนาคมที่ดีขึ้น มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มต่างๆ เพิ่มมากขึ้น กลุ่มคนเหล่่านี้มีผลประโยชน์และอุดการณ์ของกลุ่มเอง ซึ่งบางครั้งก็ขัดกับกลุ่มอื่นๆ กลุ่มเหล่านี้จึงพยายามรักษาผลประโยชน์ที่ตนควรจะได้ รวมทั้งพยายามให้ได้เพิ่มมากขึ้น การเข้าไปจัดสรรหรือกำหนดนโยบายจึงเกิดขึ้น ฉะนั้นในสังคมที่มีความเป็นทันสมัยจึงมักจะมีประชาชนกลุ่มต่างๆ เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบต่างๆ โครงสร้างทางสังคมมีความแต่กต่างหลากหลายและสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น บทบาทหน้าทต่างๆ มีมากขึ้น ระดับของความชำนาญเฉพาะด้านสูง เกิดเป็นกลุ่ม สมาคมอาชีพ กลุ่มทางสังคม พรรคการเมืองเป็นต้น เชื่อในสิ่งที่สามารถพิสูจน์ได้ การทีสังคมทันสมัยยิ่งขึ้น คนมีโอกาสเรียนรู้แสวงหาข้อเท็จจริงและการค้นพบใหม่ๆ ความเชื่อแบบเก่าๆ จึงถูกแทนที่โดยกระบวนการณ์ทางวิทยาศาสตร์
            ขั้นตอนของการทำให้เป็นความทันสมัย มีประเด็นต่างๆ ที่เป็นปัญหาและมีความตึงเครียด และมีคึวามเสี่ยงในอัตราสูง ซึ่งอาจจำแนกได้ดังนี้
           การท้าทายของความเป็นทันสมัย ในระยะแรกๆ จะไม่ค่อยประสบปัญหามากนัก เพราะสามารถที่จะนำวิทยาการความรู้แปลกๆ ใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ได้เป็นอย่างมาก ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ การสร้างชุมชนและการเลื่อนชั้นทางสังคมมีมาก และนำไปสู่การสร้างองค์กรที่มีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาวิธีการสื่อสารคมนคม การพัฒนาธุรกิจและการรวมกลุ่มทางการเมือง กษัตริย์ในสังคมเก่าขยายพระราชอำนาจโดยการปรับระบบการบริหารและระบบการเก็บภาษี อันเป็นผลให้อำนาจของขุนนางลดลง
            แม้จะมีการยอมรับทัศนคติอย่างกว้างขวางตลอดจนผลที่เกิดจากกระบวนการก็ตาม แต่วิถีการดำเนินชีวิตสมัยใหม่ก็ไม่ซึมซับสู่ทุกส่วนของสังคม ชนชั้นปกครองจะยอมรับในความจำเป็นที่ต้องปฏิรูปซึ่งโดยปกติชนชั้นปกครองจะพิทักษ์ผลประโยชน์ของพ่อค้า ผุ้ผลิตและชาวเมือง จากผุู้มีอิทธิพลที่อยู่ต่างจังหวัดหรือชนบทซึ่งมีพื้นฐานจากชาวนา แต่การปฏิรูปนี้อยู่ในลักษณ์ะที่ไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขอบเขตของขนบธรรมเนียมดังเดิมนัก คงรักษาไว้ซึ่งอภิสิทธิ์และความมั่งคังของกลุ่มผู้ปกครอง เมื่อสถานการณ์บังคับผู้ปกครองอาจจะเปลี่ยนบ้าง โดยการเปลี่ยนแปลงนี้จะไม่ทำลายอภิสิทธิ์ที่พวกตนมีอยู่แต่เก่าก่อน
              ความเป็นปึกแผ่นของผู้นำที่เป็นทันสมัย วิกฤตการณ์ที่สำคัญยิ่งคือการเปลี่ยนแปลงอำนาจจากผู้นำดั้งเดิมไปสู่ผู้นำสมัยใหม่ การต่อสู้เพือ่แย่งชิงอำนาจทางการเมืองจะดำเนินไปอย่างมีลำดับขั้นตอน กล่าวคือ ในขั้นแรกผู้นำทางการเมืองมีความตั้งใจแน่วแนจะนำสังคมสู่ความเป็นทันสมัยกระบนการนี้อาจใช้เวลานับศตวรรษเพื่อให้เกิดการยอมรับอย่างกว้างขวางและกาลยเป็นฐานสนับสนุนให้ผู้นำสมัยใหม่.. ขั้นที่สอง ประชาชนละทิ้งสถาบันดั้งเดิมซึ่งเกี่ยวโยงกับการดำเนินชีวิตแบบเก่า หันมายอมรับวิถีชีวิตในสังคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น การเกษตรกรรมลดความสำคัญลงเมื่อเปรีบยเทียบกับการ การบริการและอุตสหรรมขั้นสุดท้าย มีสถาบันทางการเมืองเกิดขึ้นมา มีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพพอควร                                                                                                                          การปฏิรูปทางเศรษฐกิจและสังคม ผู้คนจะผูกพันกับชุนชนระดับชาติมากกว่าชุมชนระดับท้องถ่ิน ประชากรมากกว่าครึ่งเปลี่ยนอาชีพจากเกษตรกรรมไปเป็นผู้ผลิตสินค้าอุตสหกรรม ขนส่ง การค้าและบริการ มีการย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยเข้าสู่ตัวเมืองเพิ่มมากขึ้น ผลกระทบก่อให้เกิดทั้งประโยชน์และภาระอันหนักอึ้ง กล่าวประชากกรส่วนใหย๋ได้รับการศึกษาและการสาธารณสุขดีข้นกว่าเดิม สภาพความเป็นอยู่ดีกว่าเดิมและจะนำไปสู่การขยับฐานะและชนชั้นใหม่ ฐานะทางการเมืองตลอดจนอำนาจทางการเมืองจึงต้องแปรเปลี่ยนตามไปด้วย รัฐบาชจำเป็นต้องเพิมศักยภาพในการสนองตอบความต้องการต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นนี้ด้วย
          ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม การรวมกลุ่มสังคมแบบเก่าๆ โดยอาศัยท้องถิ่น อาชีพ หรือความผูกพันส่วนตัวเป็นฐานนั้นสลายตัวไป คนจะผู้พันอยู่กับเมืองและข่ายงานอุตสาหกรรมที่กว้างและสับสนขึ้น คนในสังคมอุตสหกรรมจึงค่อนข้างโดดเดี่ยว แต่มีโอกาสที่ดีกว่า เช่น โอกาสทางการศึกษา สินค้า และบริการ ดัชนีที่ใช้วิดความเป็นอันหนึ่งอันเดี่ยวของสังคมอุตสหกรรมมีหลายประการ เช่น สัดส่วนของประชากรที่ข้องเกี่ยวกับการผลิตสินค้าและบริการต่อประชากรที่ทำการเกษตรและผลิตสินค้าขั้นปฐมอื่นๆ และเมื่อพัฒนาไป ความมั่งคั่งกระจายไปทั่วถึงมาตรฐานการศึกษากะจะสูงขึ้น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...