ModreniZation

               ทฤษฎีความทันสมัย Modernization Theory  เป็นทฤษฎีผูกขาดและครอบงำการศึกษาการพัฒนาในประเทศโลกที่สาม มีอิทธิพลต่อการศึกษาการเมืองเปรียบเทียบ การพัฒนาการเมือง การให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก การบริหารัฐกิจเปรียบเทียบและการบริหารการพัฒนา ศึกษานโยบายสาธารณะในรูปแบบของการตัดสินใจและการเลือกอย่างมีเหตุผล การศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองแนวกฎมพี ต่างจากการศึกษาในแนวมาร์ซีสต์
             ทฤษฎีภาวะทันสมัย เกิดจากแรกผลักสามประการ คือ การประสบความสำเร็จของโครงการฟื้นฟูยุโรปโครงการดังกล่าวเน้นบูรณะประเทศอุตสาหกรรม เหตุจากสงครามโลกคร้งที่ 2 ตามแผนมาร์แชล, สองบทบาทและอิทธิพลทางความคิดของนักเศรษฐศาสตร์การพัฒนา เน้าการเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรม และบทบาท อิทธิพลทางความคิดของนักสังคมศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา การกำหนดประชาธิปไตยแบบตะวันตกและการบริหารเพื่อการพัฒนา
               ลักษณะของ Modernization                                                                           เป็นกระบวนการปฏิวัติ กล่าวคือ กระบวนการเปลียนแปลงนี้จะยังผลให้วิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ถูกแปรเปลี่ยนไปอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ  เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน การเปลี่ยนแปลงชนิดนี้จะเกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงในแทบทุกเรื่อง ครอบคลุมถึความคิดตลอดจนพฤติกรรมของมนุษย์มีปัจจัยต่างๆ เกี่ยวข้องอยู่ อาทิ การปฏิวัติอุตาสหกรรม การสร้างชุมชนเมือง การเปลี่ยนจิตสำนึกทางสังคม การเข้าีสนร่วมทางการเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจ และมีโครงสร้างทางสังคมที่แตกต่างซับซ้อนกันเป็นต้น  เป็นกระบวนการที่เป็นระบบ กล่าวคือ เมื่อด้านใดด้านหนึ่งของชีวิตสังคมแปลเปลี่ยนไปจะยังผล้ให้ด่้านต่างๆ กระทบกระเทือนเปลี่ยนแปรไปด้วย สาระสำคัญของกระบวนการสร้างความเป็นทันสมัยจึงเกี่ยวเนื่องกันเป็นอย่างมาก เป็นกระบวนการที่ครอบคลุมทั้งโลกกระบวนการนี้เริ่มขึ้นในประเทศยุโรปก่อน ต่อมาได้ขยายความคิดและรูปแบบพฤติกรรมไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก จึงถือได้ว่าการสร้างความเป็นทันสมัยปรากฎการณ์ที่ยอมรับกันในทุกสังคม เป็นกระบวนการที่ใช้ระยะวเลายาวนาน แม้จะมีลักษณะของการปฏิวัติ แต่ก็มีลักษณะเป็นวิวัฒนาการ เมื่องคำนึงถึงระยะเวลาที่เปลี่ยนแปลงเหล่านั้จะเกิดขึ้น เป็นกระบวนการที่มีลำดับขั้นตอน เป็นกระบวนการที่สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคมที่ทันสมัยนั้นจะมีปัจจัยหลายประการมีลักษณะคล้ายคลึงกัน จึงเป็นที่เชื่อกันว่ากระบวนการนี้มีแนวโน้มที่จะนำสังคมต่างๆ ไปสู่การรวมตัวกันอย่างเป็นเอกภาพ กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่กลับสู่สภาพเดิมไม่ได้ คือ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นทันสมัยแล้ว กระบวนการนี้จะดำเนินรุดหน้าต่อไปเรื่อย ๆ อาจหยุดชะงักบ้าง แต่จะไม่มีวันถอยหลังกลับสู่ภาวะเกาเป็นอันขาด ผลกระทบของการสร้างกระบวนการนี้ อาจเป็นเรื่องลึกซึ่งในหลายด้าน แต่ในระยะยาวแล้วกระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และเป็นที่พึงปรารถนาของทุกสังคมด้วย   
           ปัจจัยหรือประเด็นความเกี่ยวข้อง   เนื่องจากกระบวนการสร้างความเป็นทันสมัยเกิดขึ้นครั้งแรกในตะวันตก จึงยึดรูปแบบตลอดจนการบวนการของประเทศตะวันตกเป็นหลัก  มีความใกล้ชิดกับกระบวนการทำให้สังคมเป็นสังคมอุตสาหกรรม  มีบทบามหน้าที่ใหม่ๆ มีเครืองมือใหม่ใหม่ๆ ขึ้นอยู่กับการใช้เครื่องจักรกลมากขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งของ "Modernization" เป็นช่วงหนึ่งของสังคม ที่บทบาทหน้าที่สำคัญๆ เกี่ยวเนื่องกับการผลิต เป็นไปไม่ได้ที่สังคมที่เป็นสังคมอุตสาหกรรมแล้วจะปราศจากซึ่งกระบวนการการทำความเป็นทันสมัย กระบวนการทำให้เป็นเมือง ผลกระทบอย่างหนึ่งจากการสร้างความเป็นทันสมัย คือประชาชนจะเข้ามาอาศัยหางานในเมืองมากขึ้ืน ระบบเศรษฐกิจจะถูกรวมศูนย์ที่เมืองเป็นหลัก โอกาสการจ้างงานเมืองจึงมีมากกว่า มีความเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในหลายด้าน เกิดการผลิตเพื่อการตลาดเข้าแทนที่ การผลิตเพื่อยังชีพ การเพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อคนของประชากร ซึ่งเป็นเสมือนมาตรวัดความกินดีอยู่ดีของประชาชน กระบวนการทางจิตวิทยาเกี่ยวเนือ่งกับการที่คนเปลี่ยนค่านิยม ทัศนคติและความคาดหวังแบบเก่าไปสู่แบบใหม่ ผลกระทบอีกประการคือ ประชชาชนมีการเรียนรู้ มีการสื่อสารคมนาคมที่ดีขึ้น มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มต่างๆ เพิ่มมากขึ้น กลุ่มคนเหล่่านี้มีผลประโยชน์และอุดการณ์ของกลุ่มเอง ซึ่งบางครั้งก็ขัดกับกลุ่มอื่นๆ กลุ่มเหล่านี้จึงพยายามรักษาผลประโยชน์ที่ตนควรจะได้ รวมทั้งพยายามให้ได้เพิ่มมากขึ้น การเข้าไปจัดสรรหรือกำหนดนโยบายจึงเกิดขึ้น ฉะนั้นในสังคมที่มีความเป็นทันสมัยจึงมักจะมีประชาชนกลุ่มต่างๆ เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบต่างๆ โครงสร้างทางสังคมมีความแต่กต่างหลากหลายและสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น บทบาทหน้าทต่างๆ มีมากขึ้น ระดับของความชำนาญเฉพาะด้านสูง เกิดเป็นกลุ่ม สมาคมอาชีพ กลุ่มทางสังคม พรรคการเมืองเป็นต้น เชื่อในสิ่งที่สามารถพิสูจน์ได้ การทีสังคมทันสมัยยิ่งขึ้น คนมีโอกาสเรียนรู้แสวงหาข้อเท็จจริงและการค้นพบใหม่ๆ ความเชื่อแบบเก่าๆ จึงถูกแทนที่โดยกระบวนการณ์ทางวิทยาศาสตร์
            ขั้นตอนของการทำให้เป็นความทันสมัย มีประเด็นต่างๆ ที่เป็นปัญหาและมีความตึงเครียด และมีคึวามเสี่ยงในอัตราสูง ซึ่งอาจจำแนกได้ดังนี้
           การท้าทายของความเป็นทันสมัย ในระยะแรกๆ จะไม่ค่อยประสบปัญหามากนัก เพราะสามารถที่จะนำวิทยาการความรู้แปลกๆ ใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ได้เป็นอย่างมาก ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ การสร้างชุมชนและการเลื่อนชั้นทางสังคมมีมาก และนำไปสู่การสร้างองค์กรที่มีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาวิธีการสื่อสารคมนคม การพัฒนาธุรกิจและการรวมกลุ่มทางการเมือง กษัตริย์ในสังคมเก่าขยายพระราชอำนาจโดยการปรับระบบการบริหารและระบบการเก็บภาษี อันเป็นผลให้อำนาจของขุนนางลดลง
            แม้จะมีการยอมรับทัศนคติอย่างกว้างขวางตลอดจนผลที่เกิดจากกระบวนการก็ตาม แต่วิถีการดำเนินชีวิตสมัยใหม่ก็ไม่ซึมซับสู่ทุกส่วนของสังคม ชนชั้นปกครองจะยอมรับในความจำเป็นที่ต้องปฏิรูปซึ่งโดยปกติชนชั้นปกครองจะพิทักษ์ผลประโยชน์ของพ่อค้า ผุ้ผลิตและชาวเมือง จากผุู้มีอิทธิพลที่อยู่ต่างจังหวัดหรือชนบทซึ่งมีพื้นฐานจากชาวนา แต่การปฏิรูปนี้อยู่ในลักษณ์ะที่ไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขอบเขตของขนบธรรมเนียมดังเดิมนัก คงรักษาไว้ซึ่งอภิสิทธิ์และความมั่งคังของกลุ่มผู้ปกครอง เมื่อสถานการณ์บังคับผู้ปกครองอาจจะเปลี่ยนบ้าง โดยการเปลี่ยนแปลงนี้จะไม่ทำลายอภิสิทธิ์ที่พวกตนมีอยู่แต่เก่าก่อน
              ความเป็นปึกแผ่นของผู้นำที่เป็นทันสมัย วิกฤตการณ์ที่สำคัญยิ่งคือการเปลี่ยนแปลงอำนาจจากผู้นำดั้งเดิมไปสู่ผู้นำสมัยใหม่ การต่อสู้เพือ่แย่งชิงอำนาจทางการเมืองจะดำเนินไปอย่างมีลำดับขั้นตอน กล่าวคือ ในขั้นแรกผู้นำทางการเมืองมีความตั้งใจแน่วแนจะนำสังคมสู่ความเป็นทันสมัยกระบนการนี้อาจใช้เวลานับศตวรรษเพื่อให้เกิดการยอมรับอย่างกว้างขวางและกาลยเป็นฐานสนับสนุนให้ผู้นำสมัยใหม่.. ขั้นที่สอง ประชาชนละทิ้งสถาบันดั้งเดิมซึ่งเกี่ยวโยงกับการดำเนินชีวิตแบบเก่า หันมายอมรับวิถีชีวิตในสังคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น การเกษตรกรรมลดความสำคัญลงเมื่อเปรีบยเทียบกับการ การบริการและอุตสหรรมขั้นสุดท้าย มีสถาบันทางการเมืองเกิดขึ้นมา มีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพพอควร                                                                                                                          การปฏิรูปทางเศรษฐกิจและสังคม ผู้คนจะผูกพันกับชุนชนระดับชาติมากกว่าชุมชนระดับท้องถ่ิน ประชากรมากกว่าครึ่งเปลี่ยนอาชีพจากเกษตรกรรมไปเป็นผู้ผลิตสินค้าอุตสหกรรม ขนส่ง การค้าและบริการ มีการย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยเข้าสู่ตัวเมืองเพิ่มมากขึ้น ผลกระทบก่อให้เกิดทั้งประโยชน์และภาระอันหนักอึ้ง กล่าวประชากกรส่วนใหย๋ได้รับการศึกษาและการสาธารณสุขดีข้นกว่าเดิม สภาพความเป็นอยู่ดีกว่าเดิมและจะนำไปสู่การขยับฐานะและชนชั้นใหม่ ฐานะทางการเมืองตลอดจนอำนาจทางการเมืองจึงต้องแปรเปลี่ยนตามไปด้วย รัฐบาชจำเป็นต้องเพิมศักยภาพในการสนองตอบความต้องการต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นนี้ด้วย
          ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคม การรวมกลุ่มสังคมแบบเก่าๆ โดยอาศัยท้องถิ่น อาชีพ หรือความผูกพันส่วนตัวเป็นฐานนั้นสลายตัวไป คนจะผู้พันอยู่กับเมืองและข่ายงานอุตสาหกรรมที่กว้างและสับสนขึ้น คนในสังคมอุตสหกรรมจึงค่อนข้างโดดเดี่ยว แต่มีโอกาสที่ดีกว่า เช่น โอกาสทางการศึกษา สินค้า และบริการ ดัชนีที่ใช้วิดความเป็นอันหนึ่งอันเดี่ยวของสังคมอุตสหกรรมมีหลายประการ เช่น สัดส่วนของประชากรที่ข้องเกี่ยวกับการผลิตสินค้าและบริการต่อประชากรที่ทำการเกษตรและผลิตสินค้าขั้นปฐมอื่นๆ และเมื่อพัฒนาไป ความมั่งคั่งกระจายไปทั่วถึงมาตรฐานการศึกษากะจะสูงขึ้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)