วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559

The Marxist Theory of Law..I

         ในขณะที่ระบอบประชาธิปไตยแผ่ขยายไปยังประเทศต่างๆ อย่างต่อเนื่องและพัฒนาแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพสังคมนั้น อีกด้านหนึ่ง พัฒนาการทางด้านวิทยาศสตร์และเทคโนโลยีก็เจริญและพันาไปพร้อมๆ กันด้วย ซึ่งในช่วงศตวรรษที่ 17 อังกฤษได้มีความเนิญด้านอุตสาหกรรมทอผ้าอย่างมาก ต่อมา เจมส์วัติ ได้คิดค้นเครื่องจักรไอน้ำทำให้พัฒนาการด้านอุตสาหกรรมเจริญอย่างรวดเร็ซ และเมือสามารถนำถ่านหินมาใช้เป็ฯเชื่อเพลิงได้ก็ทำให้เกิดอุตสาหกรรมถลุงเหล็กตามมา การปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปประสบผลสำเร็จในช่วงปี ค.ศ. 1830 ทำให้เกิดโรงงานอุตสาหกรรม และมีความต้องการในการใช้แรงงานสูงทำให้เกิดการอพยพของประชาชนเข้าเมืองหลวงเกิดชุมชนแออัด เกิดการใช้แรงงาหญิงและเด็ก เกิดปัญหาแรงงานที่เป็ฯปัญหาสำคัญคือปัญหาระหว่านายทุนกับำรรมกร คาลมาร์ค เป็นชาวเยอรมันจบลปริญญาเอกทางปรัชญา เป็ฯหนักหนังสอพิมพ์ทั้งในผรั่งเศาและอังกฤษได้เข้าร่วมกับกลุ่มกรรมกรและเขียนหนังสือเสนอแนวความคิดว่าถ้ากรรมกรจะต่อสู้เอาชนะนายทุนได้จะต้อรวมตัวกัน เพื่อเรียกร้องสิทธิของตน ผลกำไรที่นายทุนได้รับนั้นเป็นหยาดเหลื่อแรงงานของกรรมกร แนวคิดดังกล่าวได้นำไปใช้รวมตัวกันเป็ฯสหภาพเรียกร้องผลประโยชน์ที่ควรจะได้จากนายทุนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้บงที่ 1 และเมื่อสงครามสิ้นสุดลงสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทุกประเทศ จากสถานการดังกล่าว เลนนิน ได้นำกรรมกรรัสเซียเดินขบวนเรียกร้องและทำการปฏิวัติล้มล้างระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ของรัสเซียจนสำเร็จและนำหลักการตามแรวความคิดของคาลมาร์ที่เรียกว่าระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ไปใช้เป็นแนวทางในการปกครองประเทศ หลักการสำคัญคือรัฐเข้าไปดูแลกิจการต่างๆ ทั้งหมดทั้งด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม รวมทั้งด้านอื่นๆ ด้วย และควบคุมดูแลโดยพรรคอมมิวนิสต์เพียงพรรคการเมืองเดียว เป้าหมายของการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์เห็นว่าถ้าปล่อยให้นายทุนยึดครองที่ดินและเป็นเจ้าของกิจการจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาของสังคมขณะนั้นได้
            หลักการของระบอบสังคมคอมมิวนิสต์แตกต่างไปจากเป้าหมายหลักของระบอบประชาธิปไตย ฉะนั้น หลักในการปกครองที่ของอำนาจการปกครอง การใช้อำนาจปกครอง รวมทั้งการควบคุมการใช้อำนาจและองค์กรต่างๆ ในการปกครองจึงแตกต่างไปจากระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น รัฐธรรมนูญของรัสเว๊ยที่ประกาศช้ฉบับแรกจึงไม่ยึดหลักการของระบอบประชาธิปไตบ เป็นรัฐธรรมนูญที่กำหนดอำนาจหน้าที่ในการปกครองแก่ผู้ปกครองอย่างล้นเหลือขชาดองค์กรในการถ่วงดุลอำนาจและตรวจสอบเป็นหลักการของเผด็จการสังคมนิยมคอมมิวนิสต์


           เลนิน นำพรรค Bolshevick เข้าบริหารประเทศตั้งแต่นั้นมา อุดมการของพรรคที่นำแนวคิดของคาลมาร์มาใช้นั้นผสมผสานกับแนวความคิดของ เลนิน ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะกับวิถีชีวิตของชาวรัสเซียขณะนั้น ซึ่งต่อมานิยมเรียกว่าลัทธิมาร์ค - เลนิน แนวความคิดของคาร์ลมาร์ต เชื่อว่าใสระบบทุนนิยมทำให้เกิดปัญหาการกดขี่และเอาเปรียบจากนายทุนและผู้ปกครอง วิธการแก้ไขโดยที่กรรมกรและชนชั้นกรรมาชีพต้องรวมตัวกันเข้ายึดอำนาจรัฐล้มล้างระบอบการปกครองที่เอาเปรียบและแบ่งชนชั้นนั้เน และเมื่อชนชั้นกรรมาชีพสามารถปฏิวัติสำเร็จต่อไปสังคมจะไม่มีชนชั้น  ในสัีงคมคอมมิวนิสต์รัฐจะเป็ฯผุ้ควบคุมกิจการทุกอย่างไม่มีที่ดินหรือทรัพย์สินของเอกชนโดยรัฐเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว ไม่มีนายทุนเพราะรัฐเป็นเจ้าของ ทั้งหมด ประชาชนเสมอกันในแง่ของไม่มีสมบัติเป็นของตนเอง ก่อนที่สังคมคอมมิวนิสต์จะประสพผลสำเร็จตามเป้าหมายดังกล่าวคือสังคมไม่มีชนชั้นนั้นในช่วงของการเปลี่ยนแปลงต้องใช้ระบอบเผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพในการดำเนินการ ดังนั้นพรรคจึงเข้ามาใช้อำนาจเบ็ดเสร็จไปสู่สังคมนิยมคอมมิวนิสต์.... จากหลักการของวคอมมิวนิสต์ดังกล่าวเป็นการต่อต้านระบบทุนนิยม และในการประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์รัสเซีย..ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า รัศเซียกับระบบทุนนิยมต้องเป็นปฏิปักษ์ต่อกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และจะต้องมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายดชนะในที่สุด
            ในการศึกษาหรือทำความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีกฎหมายอขงมาร์กซิสต์หรือพวกสังคมนิยม ในชั้นแรกน่าจะเริ่มจากการทำความเข้าใจถ้อยคำสำคัญบางคำของฝ่ายมาร์กซิสต์ ซึ่งเป็นเสมือนพื้นฐานความคิดหรือความเชื่อ กล่าวคือ
             สสารธรรม : เป็นแนวคิดพื้นฐานทางปรัชญาของลัทธิมาร์ก ซึ่งเชื่อว่าสสารเหรือวัตถุทั้งหลายเป็นประธานของความเคลื่อนไหวที่เป็นจริงทัเงหลาย สสารเป็นปฐมธาตุของสิ่งทั้งหลาย จิตเป็นสิ่งที่โดยทั่วไปถูกกำหนดโดยสสาร หรือกล่าวอีกนั้ยหนึ่งคือสสารเป็นประธานเหนือจิต ในแง่ลัทธิมาร์กซจึงถือว่าโดยทั่วไปสสาสรหรือเงื่อนไขทางวัตถุและธรรมชาติเป็นตัวกำหนดหลักในแง่สาเหตุ ซึ่งใช้อธิบายพัฒนาการของสังคมและความคิดต่างๆ
             ประติการหรือวิภาษวิธี : หมายถึงกฎแห่งปฏิพัฒนาของสรรพสิ่ง เป็นกฎที่อธิบายว่าการเปลี่ยนแปลงในเชิงพฒนาต่างๆ ซึ่งกระทำฝ่านกระบวนการของความขัดแย้งภายในล้วนเป็นสิ่งสากล ซึ่งเกิดขึ้นทั้งในสิ่งที่ำร้ชขีวิตและในธรรมชาติที่มีชีวิตเช่นเดียวกับพฒนาการของสังคมและในกระบวนการความคิดของมนุษย์ ประติมาการจึงเป็นกฎที่ว่าด้วยความเป็นไปของสรรพสิ่งที่เชื่อว่ามีลักษณะเคลื่อนไหว พัฒนาและเปลี่ยนแปลง โดยวิถีทาง หรือโดยกระบวนการของความขัดแย้งภายในสิ่งนั้นๆ
             สสารธรรมประติการ โลกทรรศน์ทางปรัชญาของมาร์กซและเองเกล ซึ่งเชื่อว่าสสสารเป็นตัวกำนหดหลักของความเป็นไปต่างๆ โดยมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามกฎประติการข้างต้น
             สสารธรรมประวิัติศาสตร์ หมายถึงการปรับใช้หลักสสาสรธรรมประติการเข้ากับการศึกษาพัฒนาการของสังคม หรือประวัติศาสตร์ของมนุษย์ โดยถือว่าความคิดของมนุษย์และบรรดาสถาบันต่างๆ ในสังคม เป็นเสมือนโครงสร้างส่วนบนของสังคมที่เป็นผลผลิตหรือถูกกำหนดโดยส่วนใหญ่จากรากฐาน ทางวัตถุและเทคโนโลยีซึ่งแน่นอน กล่าวคือเศรษฐกิจหรือความสัมพันธ์ทางการผลิตซึ่งเป็นเสมือนโครงสร้างส่วนฐานของสังคม และพลังจูงใจให้มีการเปลี่ยนแปลงสังคม คือการต่อสู้ของชนชั้นที่เป็นปรกปักษ์กันอันเนื่องจากความขัดแย้งทางวัตถุหรือเศรษฐกิจ
            หากพิจารณากันในแง่ตัวอักษรแล้ว ไม่ปรากฎว่ามีทฤษฎี หรือแนวความคิดเกี่ยวกับกฎหมายที่ถูกสร้างขขึ้นอย่างเป็น "ระบบ" ในงานเขียนดั้งเดิมของ มาร์กแปละเองเกลส์ซึ่งเป็ฯให้กำเนิดลัทธินี้ ข้อเขียนของมาร์กซและเองเกลส์ที่เกี่ยวกับกฎหมายล้วนมีลักษณะเป็นเพียงการวิจารณ์หรือเสียดสีกฎหมายหรือปรัชญากฎหมายของฝ่ายทุนนิยม ซึ่งเขียนขึ้นอย่างกระจัดกระจาย ไม่มีความต่อเนื่องเป็นระบบและเป็นข้อความสั้นๆ ทั้งสิ้น.. แม้เองเกลส์เองก็ยืนยันในภายหลัว่า จริงๆ แล้วไม่มีอุดมการณ์กฎหมายแบบสังคมนิยมหรือแบบชนชั้นกรรมาชีพ เช่นเดียวกับที่ไม่มีปรัญากฎหมายแบบสังคมนิยม หากมีแต่ข้อิรียกร้องกฎหมายแบบสังคมนิยมหรือกรรมาชีพ ซึ่งเป็นความจำเป็ฯอันขาดไม่ได้ในการต่อสู้ทางชนชั้นทางการเมืองโดยที่ข้อเรียกร้องนี้ต้องสร้างขึ้นบนพื้นฐานของความสัมพันธ์ที่ดำรงอยู่จริง มิใช่บนพื้นฐานของปรัชญานามธรรมทางกฎหมาย

            ทฤษฎีหรือข้อสรุปทางความคิดเกี่ยวกับกฎหมายหรือธรรมชาติของกฎหมายโดยนักทฤษฎีกฏหมายของฝ่ายมาร์กซิสต์ ล้วนมีลักษณะของการสังเคราะห์สร้างหรือตีความขึ้นเองบนพื้นฐานของแนวความคิดหรือข้อเขียนที่กระจัดกระจาย ไม่เป็นระบบของทั้งมาร์กและเองเกลส์ข้างต้น
             นอกเหนือจากการสร้างหรือตีความธรรมชาติของกฎหมาย บนพืนฐานของแนวความคิดเกี่ยวกับกฎหมายที่ไม่เป็ฯระบบดังกล่าว ทฤษฎีกฏหมายของฝ่ายมาร์กซิสต์ช่วงต้นๆ ยังวางอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดนิยัตินิยมทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีการตีความกันสับสนว่าคือ แกนความคิดสำคัญของมาร์กซิสต์ น่าสังเกตว่าข้อสังเกตประการนี้สะท้อนให้เห็นความบกพร่องหรือความจำกัดในตัวลัทธินี้เองที่ไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง และมีประเด็นทางความคิดสำคัญ ๆ หลายอันที่ยังเคลื่อบคลุมไม่หนักแน่นเป็นจุดโหว่ในการแปลความต่างๆ
             จากท่าที่เชิงเสียดสีทั้งของมาร์กและเองเกลส์ต่อบทบาท หรือคุณค่าทางกฎหมายของสังคมทุนนิยม บวกกับการตีความทฤษฎีกฎหมายของนักทฤษฎีมาร์กซิสต์ซึ่งค่อนข้างหยาบกระด้างหรือบกพร่องข้างต้นทำให้เกิดหรือนำไปสู่การสร้างเท่าที่เหยีดหยัดคุณค่าของกฎหมายทั่วไป นำไปสู่ทรรศนะที่มุ่งทำลายหรือจงเกลียดจงชังกฎหมายในหมู่นักทฤษฎีกฎหมายมาร์กซิสต์รุ่นแรกๆ
              ความผิดพลาดหรือบกพร่องล้มเหลวในทางการเมืองของการจัดการการปกครองของสังคมสังคมนิยมซึ่งประกฎเด่นชัดจากลักษณะความเป็นเผด็จการ จำกัดลิดรอนสิทธิเสรีภาพในสังคมใหม่หลังการปฏิวัติ..นับเป็นเงื่อนไขสำคัญที่นำไปสู่การเคลื่อนไหวตีความธรรมชาติ หรือคุณค่าของกฎหมายใหม่ในทิศทางที่ยอมรับความสำคัญ ความจำเป็นของกฎหมายหรือความเป็นไปได้ของบทบาทที่สร้างสรรค์ของกฎหมายในการปกครองสังคมสังคมนิยมหรือการคุ้มครองสิธิเสรีภาพของประชาชนจากการใช้อำนาจเผด็จการของรัฐหรือพรรคคอมมิวนิสต์ ขณะเดียวกันก็วิพากษ์โจมตีทฤษฎีกฎหมายของมาร์กซิสต์รุ่นแรกๆ ว่าได้สร้างทฤษฎีกฏหมายมาร์กซิสต์ขึ้นมาอย่างบิดเบือน ท่าทีใหม่ทางความคิดร่วมสมัยจึงเห็ฯโน้มเอียงว่าในความเป็นจริงแล้ว บทวิจารณ์อุดมการณ์กฎหมายของลัทธิมาร์กซหาได้ระงับลัทธิมาร์กซในการสร้างทฤษฎีกฏหมายซึ่งสัมพันธ์กับปรากฎการณ์ทางสังคมที่สำคัญอื่นๆ... คงมิใช่เรื่องหลักการทางกฎหมายแตหากเป็นการวิจารณ์ต่อความผิดพลาดทางความคิดที่เน้นหลักการทางกฎหมายอย่างเกินเลยไม่ได้สัดส่วนกับองค์ประกอบทางสังคมอื่นๆ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อความเข้าใจกระบวนความเป็นไปของชีวิตทางสังคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...