วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

The Marxist Theory of Law...II

            ความคิดทางกฎหมายของมาร์กซและการตีความความคิดของเขาภายหลัง..ถึงแม้ว่าข้อสรุปเบื้องต้นที่เพิ่งกล่าวผ่านมาจะแสดงให้เห็นท่าทีของมาร์กซในเชิงเย้ยหยันต่อบทบาทของกฎหมายในระบบทุนนิยม เป็นเรื่องน่าสนใจว่าท่าทีความคิดดังกล่าวแตกต่างจากทรรศนะในวัยหนุ่มของเขาซึ่งเชื่อถือศรัทธาในกฎหมายธรรมชาติด้วยซ้ำไป 
            มาร์กซสำเร็จการศึกษาปริญญาเอกทางด้านปรัชญาจามหาวิทยาลัยเจนา โดยเียนงานวิทยานิพนธ์เรื่อง " ความแตกต่างระหว่างปรัชญาว่าด้วยธรรมชาติของเตโมเครตุสกับอีปีคิวรุส" หลังจากสำรเ็จการศึกษาแล้วมาร์กซตั้งใจจะใช้ชีวิตเป็ฯอาจารย์ สอนหนังสือในมหาวิทยาลย แต่ต้องประสพความผิดหวังเนื่องจากผู้บริหารมหาวิทยาลัยขณะนั้น ไม่ชอบแนวความคิดในักษณะก้าวหน้าซึ่งต่อต้านคัดค้านศาสนาโดยเฉพาะในเรื่องพระเจ้า จนในที่สุดเขาต้องเปลี่ยนเข็มไปทำอาชีพเป็นบรรณาธการหนังสือพิมพ์ซึ่งทำให้เขาต้องขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่เซ็นเซอร์ข่าวของรัฐบาลเป็นประจำ อาชีพนักหนังสือพิมพ์ในวัยหนุ่มของเขา จึงนับเป็นประสบการณ์ช่วงแรกๆ ของเขาที่ต้องต่อสู้กับการกดขี่บีบคั้นจากเจาหน้าที่รัฐบาลปรัสเซีย  และจากประสบการนี้เองเขาจึงมีงานเขียนชื่อ "ข้อคิดเห็นต่อคำสั่งเซ็นเซอร์ล่าสุดของของปรัสเซีย" ปรากฎต่อสาธารณชน และงานเขียนนี้เองได้สะท้อนแนวคิดกฎหมายธรรมชาติภายในตัวเขาออกมา ดังความบางตอนที่ว่า 
          "... กฎหมายที่มีเงื่อนงำซ่อนเร้น, กฎหมายซึ่งไรบรรทัดฐาน อันเป็นภววิสัยเป็นกฎหมายของลัทธิก่อการร้าย เช่นเดี่ยวกับกฎหมายที่ Robespierre ประกาศใช้ในภาวะฉุกเฉินขงรัฐหรือที่จักรพรรดิโรมันประกาศใช้เพราะเหตุความระส่ำระสายของบรรทัดฐาน กฎหมายดังกล่าวมิใช่เป็นเรื่องว่างเปล่าแต่เป็นบทลงโทษของสิ่งซึ่งหาใช่กฎหมาย... กฎหมายในลักษณะเช่นนี้หาใช้เป็นกฎหมายของรัต่อประชาชน แต่เป็นกฎหมายของพรรคๆ หนึ่งต่อพรรคอื่นกฎหมายที่มีเงื่อนงำซ่อนเร้นดังกล่าวเป็น การปิดกั้นความเสมอภาคของบุคคลต่อกฎหมาย...มันมิใช่เป็นกฎหมายแต่หากเป็นเรื่องอำนาจหรือสิทธิพิเศษ.."
          กล่าวโดยสรุป งานเขีนยของมาร์กซในช่วงวัยหนุ่ม  สัมพันธ์กับความเชื่อถือศรัทธาในแนวคิดมนุษย์นิยม และธรรมชาตินิยม อันทำให้เขามีท่าทีต่อต้านความคิดแบบ และสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ ของซาวิญยี่ ซึ่งเขาเห็นว่าเป็นคามคิดที่มุ่งเน้นแต่เรื่องประสิทธิภาพการทำงานของกฎหมาย ดดยที่เขาเห็นแย้งกับซาวิญยี่ว่า แท้จริงแล้วกฎหมายไ่มีประวัติศาสต์ซึ่งเป็นอิสระหรือเป็นตัวของตัวเองในชนิดที่ตัดขาดจาก เศรษฐกิจ, การเมือง, และวัฒนธรรม ในทางตรงกันข้ามมาร์กซ กลับเน้นความสำคัญของกฎหมายในแง่เป็นบรรทัดฐานเชิงคุณค่า ซึ่งเป็นลักษณะของการยอมรับความสำคัญของกฎหมายธรรมชาติ โดยถือว่า กฎหมายอันแท้จริงจะต้องมีลักษณะสากลที่สะท้อนถึงกฎเกณฑ์ภายในชีวิตทางสังคมของมนุษย์และความต้องการภายในของกิจกรรมแห่งความเป็นมนุษย์อันแท้จริงจะต้องมีลักษณธสากลที่สะท้อนถึงกฎเกณฑ์ภายในชีวิตทางสงคมของมนุษย์ และความต้องการภายในของกิจกรรมแห่งความเป็นมนุษย์อันแท้จริง อย่างไรก็ตามจากประสบกาณ์ชีวิต และพัฒนาการทางปัญญาที่เพ่ิมมากขึ้นตามวัยของเขา ประกอบกับการหันมาทุ่มเทความสนใจศึกษาเรื่องเศรษฐกิจตลอดจนการได้เข้าร่วมในปฏิบัติการที่เป้นจริงต่างๆ ในการเปลี่ยนแปลงสังคม แนวความคิดทางปรัชญา และการเมืองของเขาในระยะหลังจึงบ่ายสู่ลักษณะควมคิดแบบสสารธรรม โดยเน้สนการเข้าสู่ปัญหาในแง่รูปธรรมทางเศรษฐกิจมากกว่าการวิจารณ์หรือเข้าสู่ปัญหาในเชิงปรัชญาแบบเดิมและปฏิเสธความสำคัญของเรื่องหลักการนามธรรมต่างๆ โดยเฉพาะหลักคุณค่านามธรรมที่แน่นอนเด็ดขาดหรือเป็นนิรันดร์ และในระยะหลังๆ ปรากฎทรรศนะกระจัดกระจายในงานเขียน บางชิ้นของเขาที่แสดงออกถึงท่าที่วิพากษ์วิจารณ์ความสำคัญของกฎหมาย
            และจากข้อเขียนต่างๆ ที่ต่อมาได้ทำให้นักทฤษฎีมาร์กซิสต์รุ่นหลังจำนวนหนึ่งสรุปความเกี่ยวกับธรรมชขาติหรอบทบาทของกฎหมายออกเป็นข้อสรุปสำคัญหลายประการ กล่าวคือ
            - กฎหมายเป็นผลผลิตหรือผลสะท้อนของโครงสร้างทางเศรษฐกิจประเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ
            - กฎหมายเป็นเสมือนหนึ่งเครื่องมือหรืออาวุธที่ชนชั้นปกครองสร้างขึ้น เพื่อปกป้องอำนาจขชองตน
            - ในสังคมคอมมิวนิสต์ที่สมบูรณ์ กฎหมายในฐานะที่เป็นเครื่องมือของกาควบคุมสังคจะเหือดหายและสูญสิ้นไปในที่สุด

             ตรรกะแห่งข้อสรุปและข้อถกเถียงเกี่ยวกับความชอบธรรมของข้อสรุป 
             บทสรุปได้รับความเชื่อถื่อจากปัญญาชนในช่วงหลักเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ฝ่ายหนึ่งโดยขาดการศึกษาวิเคราะห์ถึงเหตุผล, ความเป็นมาอย่างจริงจัง หายคราวบทสรุปนี้จึงกลายเป็นประหนึ่งบทสวดมนต์ในคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ ที่มีแต่ศรัทธาให้กับถ้อยคำในบทสวดนั้น แต่ไม่มีความเข้าใจหรือากรเข้าถึงคำแปลบทสวดดังกล่าวและเราคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ศรัทธาที่ปราศจากเหตุผลบ่อยคร้งที่มีค่าเท่ากับความงมงายหรืออวิชชาที่อาจนำมาซึ่งความผิดพลาดต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นได้เสมอ
          1. ข้อสรุปว่ากฎหมายเป็นผลผลิตหรือผลสะท้อนของโครงสร้างทางเศรษฐกิจหรือเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ   ข้อสรุปเช่นนี้เป็นมองว่ารูปแบบและนื้อหาของกฎหมายนั้น แท้จริงเป็นเพียงผลิตผลของโครงสร้างหรือระบบเศรษฐกิจ โดยเหตุนี้รูปแบบและเนื้อหาของกฎหมายจึงแปรเปลี่ยนไปเรื่อยตามความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในสังคมนั้นๆ  การตีความทฤษฎีสสารธรรมประวัิศาสตร์ของมาร์กซและเองเกลส์ ฝดดยถือว่า บรรดารูปการทั้งหลายซึ่งเป็นจิตสำนึกของมนุษย์ในเรืื่องการเมือง สังคม ศาสนา วัฒนธรรม หรือกฎเกณฑ์ทางสังคมต่าง ๆ ล้วนถูกกำหนโดยระบบการผลิตหรือระบบเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ โดยที่รูปการของจขิตสำนึกดังกล่าวเป็นเสมือน "ใครงสร้างส่วนบนของสังคม" ซึ่งวางอยู่บนฐานของระบบเศรษฐกิจหรือ "โครงสร้างส่วนล่างหรือส่วนฐานของสังคม" ขณะเดี่ยวกันก็ถือว่า กฎหมายเป้นส่วนหนึ่งขอดครงสร้างส่วนบนของสังคม โดยที่รูปแบบเนื้อหาหรือแนวความคิดทางกฎหมาย จะเป็นผลสะท้อนของระบบเศรษฐกิจหรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
             ในที่นี้ ขอให้สังเกตที่มาของข้อสรุปเช่นนี้จากงานเขียนของมาร์กซเองในหนังสือ "บทนำบทวิจารณ์เศรษฐศาสตร์การเมือง"
              "ในการผิตทางสังคมเพื่อการดำรงอยู่ มนุษย์ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ต่อการก้าวเข้าสู่ความสัมพันธ์ที่แน่นอนหนึ่งซึ่งเป็นอิสระจากเจตจำนงของเขาเองกล่าวคื ความสัมพนธ์ของการผลิตซึ่งสอดคล้องกับขั้นตอนที่แนนอนหนึ่งในพัฒนาการของพลังทางวัตถุของการผลิตของมันส่วนรวมทั้งหมดของความสัมพันธ์ใการผลิตดังกล่าวได้ประกอบขึ้นมาเป้ฯโครงสร้างทางเศรษฐกิจทางสังคมอันเป็นพื้นฐานที่แท้จริง ซึ่งโครงสร้างส่วนบนทางการเมืองและกฎหมายได้ก่อตั้งอยุ่ และซึค่งสอดคล้องกับรูปแบบอันแน่นอนของจิตสำนึกทางสังคมวิถีการผลิตในชีวิตทางวัตถุเป็ฯตัวกำหนดเงื่อนไขโดยทั่วไปของสังคม การเมือง และกระบวนการทางจิตใจของมนุษย์ มันมิใช่จิตสำนึกของมมนุษย์ซึ่งเป็นผู้กำหนดความเป็นอยู่ของเขา แต่หากตรงข้ามกันควรามเป็นอยู่ของเขาที่กำหนดจิตสำนึก"
              "ความสัมพันธ์ทางกฎหมายและบรรดารูปแบบของรัฐ ไม่อาจถูกเข้าใจได้โดยตัวของมันเองหรือไม่อาจอธิบายได้โดยสิ่งที่เรียกว่า ความก้าวหน้าพัฒนาของจิตใใจมนุษย์ทว่ามันเป็นสิ่งซึ่งหยั่งรากอยู่ในเงื่อนไขทางวตถุของชวิต พร้อมกักบการเปลี่ยนแปลงรากฐานทางเศรษฐกิจโครงสร้างส่วนบนของสังคมทั้งหมดก็จะถูกเปลี่ยนรูปไปด้วยไม่เร็วก็ข้า"
              ตามข้อสรุปดังกล่าว หากจะอธิบายให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นในเชิงวิจารณ์ หรือตีความกฎหมายในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ก็คงจะได้ว่า ภายใต้ระบบทุนนิยมเนื้อหาและรูปแบบของกฎหมายโดยส่วนรวมย่อมสอดคล้องกันกับปรัชญาหรือเป้าหมายด้วย เราอาจแสดงความสัมพันธ์ได้ง่ายๆ ดังนี้ 
               ธรรมชาติของระบบทุนนิยม - ธรรมชขาติเนื้อหาของกฎหมายโดยทั่วไป,  การปรับเหลี่ยนธรรมชาติของระบบทุนนิยม - การปรับเปลี่ยนธรรมชาติของกฎหมาย
              อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปังกล่าวที่มองว่ากฎหมายเป็นผลผลิต หรือผลสะท้อนของระบบเศรษฐกิจ โครงสรางทางเศรษฐกิจ ก็สร้างข้อกังขาหรือข้อโต้แยงขึ้นในภายหลังเนื่องจากข้อสรุปดังกล่าวมองว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจ อย่างเดียว ศีลธรรมหรือหลักความยุติธรรมต่างๆ ล้วนถูกละเลยไม่ให้ความสำคัญใดๆ เลยต่อความเป็นของกฎหมาย กฎหมายในทรรศนะเช่นนั้นจึงมิได้มีอะไรเลย นอกจากเป็นการทำงานหรือผลสะท้อนของการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจซึ่งปราศจากการดำรงอยู่ที่เป็นอิสระใดๆ       
              กล่าวโดยส่วนรวมข้อสรุปดังกล่าวเป็นการสะท้อนให้เห็นความเชื่อในปรัชญาแบบนิยัตินิยมทางเศรษฐกิจ หรือ "เศรษฐกิจกำหนด" อันเป็นปรัชญาความเชื่อว่าเงื่อนไขทางเศรษฐกิจหรือผลประโยชน์ของตัวเองในเชิงเศรษฐกิจ เป็นตัวกำหนดตัดสินการกระทำของปัจเจกชนในเรื่องการเมืองโดยตรง
            หากพิจารณากันโดยละเอียดจากงานเขียนของมาร์กซซึ่งเป็นผุ้ให้กำเนิดลัทธินี้ จะพบว่าตัวมาร์กซเองไม่เคยปฏิเสธไว้ที่ใดเลยถึงความเป็นไปได้ ที่โครงสร้างส่วนฐานถูกกำหนดหรือถูกกระทำโดยโครงสร้างส่วนบนในทางตรงกันข้ามกัน งานเขียนหลายๆ ชิ้นของมาร์กซดังเช่น "Grundrisse" "Communal Refome and the Kolnische Zeitung" หรือ "Poverty of Philosophy" ต่างก็ปรากฎข้อความซึ่งแสดงนัยของการยอมรับในผลกระทบซึ่งกันและกัน ของโครงสร้างส่วนบลนหรือกฎหมายที่อาจมีต่อเศรษฐกิจ เริ่มต้นจากจุดนี้เองที่เราไม่อาจยอมรับได้กับข้อสรุปที่มีลักษณะด้านเดียวว่า กฎหมาย เป็นสิ่งที่ถูกกำหนด โดยเศรษฐกิจ เพราะแม้พิจารณาที่เนื้อหาแห่งทฤษฎีสสารธรรมประวัติศาสตร์ ก็อาจแปลความได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างฐานและโครงสร้างส่วนบนของสังคมเ็นไปในเลิงประติการรซึ่งต่างฝ่ายต่างกระทำต่อกัน มิใช่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างอันมิใช่เรื่องเศรษฐกิจ เป็นเพียงผลผลิตโดยตรงหรือโดยทันทีของเหตุปัจจัยของเศรษฐกิจ เป็นไปได้ว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจในท้ายที่สุด อาจเป็นตัวเงื่อนไขพื้นฐานที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง แต่รูปการณ์ของจิตสำนึกอื่นๆ ในโครงสร้างส่วนบนของสังคม ก็อาจส่งผลสะท้อนกลับต่อเศรษฐกิจได้...
           แท้จิรงแล้วแม้พิจารณาจากแกนกลางของทฤษฎีหรือปรัชญาสสารธรรมประวัติศาสตร์ของมาร์กซิสต์เอง กฎหมายก็มิใช่เป็นเพียงผลสะท้อนที่เชื่องๆ ของเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจในทุกกรณี ถึงแม้วว่าเราอาจยอมรับในความสำคัญของเศรษฐกิจในฐานะเป็นปัจจัยสำคัญหลักอันหนึ่งที่กำหนดรูปแบบและเนื้อหาของกฎหมาย
         ประเด็นเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างส่วนฐานและโครงสร้างส่วนบน ในปัจจุบันจึงดูเหมือนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป โดยมีมาร์กซิสต์บางกลุ่ม หันมาเพ่งจุดสนใจใหม่สู่แนวคิดเรื่อง "ตัวสื่อกลาง"ในระหว่างโครงสร้างทั้งสองส่วน ซึ่งดำรงอยู่มากมายในนกระบวนการพัฒนาเปลี่ยนแปลงสังคม
        2. ข้อสรุปว่ากฎหมายเป็นเสมือนมือหรืออาวุธที่ชนชั้นปกครองสร้างขึ้น เพื่อปกป้องอำนาจของตน/กฎหมายเป็นเครื่องมือกดขี่ของชนชั้นปกครอง  ข้อสรุปที่ค่อนข้างแข็งกร้าวเชนนี้  ความจริงมิใช้่เป็นสิ่งใหม่ที่นักลัทธิมาร์กซเพิ่งประดิดษฐ์ขึ้น คงอาจจำได้บ้างว่าเมื่อคราวที่กล่าวถึงเรื่องปรัชญากฎหมายธรรมชาติ ได้เคยเสนอทรรศนะของพวกโซฟิสท์ บางกลุ่มที่คัดค้านกฎหมายธรรมชาติ และมองกฎหมายว่าเป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์หรือกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจสร้างขึ้นเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนโดยมีการเปียบเปรยกฎหมายว่าเป็นเสมือนใยแมงมุมที่มีไว้เพื่อดักสัตว์เล็กๆ เท่านั้น ทรรศนะที่มองกฎหมายในฐานะเป็นเครื่องมือของบุคคลหรือชนชั้นที่ครองความเป็นใหญ่ในสังคม แท้จริงจึงมีปรากฎอยู่ในภูมิปัญญาของกรีกโบราณมานานนับพันๆ ปีแล้ว หาใช่เรื่องใหม่เลย แต่ทว่าอิทธิพลความคิดหรือข้อสรุปความคิดเช่นนั้นอาจมีน้ำหนึกแตกต่างกัน เนื่องจากการปรากฎตัวของความคิดนี้ในยุคใหม่เป็นไปโดยผ่านลัทธิการเมืองที่มากด้วยอิทธิพลความสำคัญระดับหนึ่งในสังคมโลกปัจุบัน ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกเลยที่แม้ในบ้านเรา ข้อสรุปความคิดนี้ก็เป็นที่เชื่อถืยอมรับในหมู่พวกที่มีความคิดแบบสังคมนิยม บทกวีวรรคสำคัญ ของ "นายภูติ" ที่ว่า "...ชั้นใดเขียนกฎหมาย ก็แน่ไซร็เพื่อชั้นนั้น" จึงเป็นบทกวีที่ค่อนข้างคุ้นหูต่อบุคคลหรือนักฎหมายที่สนใจแนวคิดแบบสังคมนิยมและน่เชื่อว่ามีบุคคลจำนวนมิใช่น้อยที่ยึดมั่นอย่างจริงจังในขึ้นสรุปหรือบทหวีดังกบ่าวโดยมิได้มีการสืบค้นความหมาย หรือพิสูจน์ความชอบธรรมของข้อสรุปนี้อย่างจริงจัง.. ที่มาของข้อสรุปข้างต้นอาจสืบร่องรอยไปยังข้อเขียนของมาร์กซ และเองเกลส์ใน "คำประกาศของพรรคคอมมิวนิสต์" อันเป็นงานเขียนสั้นๆ ชิ้นหนึ่ง ซึ่งมีข้อความบางตอนที่กล่าวเสียดสีกฎหมายของชนชั้นเจ้าสมบัติ "..ปรัชญาความคิดทางกฎหมายของพวกเจ้าเป็นเพียงเจตจำนงของชนชั้นพวกเจ้าเองที่ถูกนำมาตราบัญญัติเป็นกฎหมายใช้บังคับสำหรับคนทั้งปวง โดยที่ลักษณะสำคัญและทิศทางของเจตจำนงนั้นได้ถูกกำหนดโดยเหล่าเงื่อนไขการดำรงอยู่ทางเศรษฐกิจของชนชั้นพวกเจ้า"
        จริงหรือที่ "โดยความหายทั่วไป" แล้วกฎหมายคือเครื่องมือกดขี่ทางชนชั้นหรือเครื่องมือกดขี่ของชนชั้นปกครอง ข้อเขียนหรือคภแถลงดังกล่าวของมาร์กซน่าจะเป็ฯเพียงการแสดงออกให้เห็น ลักษณะของกฎหมายภายใต้บริบทของสังคมหสึ่งที่มีควมบกพร่องในตัวเอง ทว่าข้อเขียนนี้มิได้เป็นข้อสรุปหรือคำตัดสินเกี่ยวกับธรรมชาติทั่วไปของกฎหมาย เป็นเพียงแต่คำวิจารณ์กฎหมายในสังคมทุนนิยมเท่านั้น ในขณะเดียวกันข้อเขียนสั้นๆ ดังกล่าวก็มิได้พูดวิจารณ์กล่าวหาไว้โดยตรงว่า ชนชั้นเจ้าสมบัติ(ุ้มีอนจะกินทั้งหลายซึ่งเป็นส่วนใหญ่ในสังคมทุนนิยมจะใช้กฎไกทางกฎหมายที่ตนยึดครอง หรือมีอิทธิพลในลักษณะที่เป็นการกดขี่ หรือทำลายผลประโยชน์ของชนชั้นระดับล่างที่ไม่มีอิทธิพลในสังคมเสมอไป ความข้อนี้ เองเกลส์ได้กล่าวในเชิงรับรองไว้เช่นกัน "..มีเพียงนานๆ ครั้งที่ประมวลกฎหมายจะเป็นการแสดงออกโดยตรงหรืออย่างบริสุทธิ์ ถึงการครอบงำของชนชันหนึ่งๆ"..
         ข้อบกพร่องที่เกิดจากข้อสรุปทางทฤษฎีดังกล่าว ทำให้เกิดข้อโต้แย้งในหมู่มาร์กซิสต์ตะวันตก และนำไปสู่การเกิดขึ้นของคำอธิบายใหม่จากสำนักโครงสร้างนิยม โดยที่สำนักโครงสร้างนิยมนี้พยายามอธิบายถึงปรเด็นเรื่องปัญหาความขัดแย้งในระหว่างชนชั้นปกครองด้วยกัน อันเนื่องจากความไม่เท่าเทียมกันในระดับความเข้มข้นทางอุดมการณ์แบบทุนนิยม ข้อนี้จึงนับเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผลประโยชน์ของกลุ่มทุนไม่อาจผสมกลมกลืนกันได้เสมอไป อย่างไรก็ตามแม้จะเชื่อในเรื่องความขัดแย้งซึ่งผลประโยชน์ในกลุ่มทุนสำนักโครงสร้างนิยมก็ยังยืนยันถึงบทบาทของรัฐในการสืบต่อผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุน "ในระยะยาว" อยู่โดยเห็นว่าความสัมพันธ์ที่เป็นภววิสัยเชิงโครงสร้างระหว่างรัฐและทุนนิยมจะเป็นตัวประกันว่า ภายใต้ข้อจำกัดอันเป็นผลจากความขัดแยงภายใน และการต่อสู้ทางชนชั้นรัฐจะคงบทบาทระยยะยาวเพื่อผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุน แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นอิสระจากการแทรกแซงโดยตรงของทุนคนใดคนหนึ่ง และในการปกป้องผลประโยชน์ระยะยาวเช่นนี้ทำให้รัฐหลีกเลี่ยงมิได้ในการบัญญัติกฎหมาย หรือใช้กลไกทางกฎหมายที่มีนัยก้าวหน้าเพื่อยุติความขัดแย้งในสังคม เพื่อรักษาไว้ึ่งการอยู่รอดของระบบ หรือเพี่อดำรงความชอบธรรมของระบบในสายตาประชาชน....
            
           
            
     
         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...