John Locke & Montesquieu

                John Locke นักปรัชญาชาวอังกฤษมีแนวความคิดว่าทุกคนเกดมามีความเท่าเที่ยมแันและเสมอภาคกัน  ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพ รํัฐหรือผู้ปกครองทุกระดับจะใช้อำนาจตามอำเภอใจไม่ได้ คัดค้านระบบกษัตริย์และการมีอำนาจของพวกพระ เพราะไม่เชื่อว่ากษัตริย์และพระมีอนาจเหนือผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมจากประชาชน และเสอนว่าการปกครองประเทศนั้นไม่ควรมีอำนจาจอยู่ที่กษัตริย์เพียงอำนาจเดียว แต่อำนาจในการปกครองประเทศควรมี 3  อำนาจ คือ อำนาจในการออกกฎหมาย อำนาจในการบริหาร และอำนาจในการทำสงครามและสัญญากับต่างประเทศ
              การแบ่งแยกอำนาจดังกล่าวเพื่อต้องการให้อำนาจปกครองสามารถตรวจสอบถ่วงอุลย์ซึ่งกันและกันซึ่งเป็นการป้องกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน แนวคิดของ John Locke เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาการใช้อำนาจของผู้ปกครอง ซึ่งเป้าหมายคือรักษาไว้ซึ่งสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่จะไม่ถูกรบกวนจากการใช้อำนาจของผู้ปกครองโดยขาดความเป็นธรรม
             หลังจากได้เสนอแนวความคิดดังกลบ่าวแล้วได้รับการตอบรับจากประชาชน และนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส Montesquieu ได้ให้คำอธิบาเพ่ิมเติมโดยเฉพาะหลัการแบ่งแยกอำนาจ โดยมีความเห็นว่าการแบ่งแยกอำนาจเป็นหลักการที่จะป้องกันแก้ไขการใช้อำนาจอย่างไร้ขอบเขตของผู้ปกครองได้ และจะทำให้ประชาชนมีสิทธิและมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจ ทั้งี้เพราะอำนาจแต่ละอำนาจจะควบคุมซึ่งกันและกัน
            อำนาจนิติบัญญัติ มีหน้าที่ในการบัญญัติกฎหมายและอำนาจนิติบัญญัตินี้มาจากตัวแทนองประชาชนหมายความว่าประชาชนเลือกตัวแทนขึ้นมากลุ่มหนึ่งเพื่อใช้อำนาจในการบัญญัติกฎหมายให้เป็นไปตามความต้องการของประชาน
             อำนาจบริหาร ทำหน้าที่ในการบริหารการปกครอง แต่การบริหารการปกครองตามแนวทางของนี้ จะต้องมีกฎหมายให้อำนาจไว้ และกฎหมายที่ให้อำนาจและหน้าที่ไว้นันเป็นกฎหมายที่มาจากฝ่ายนิติบัญญัติ คือมาจากตัวแทนของประชานตามความต้องการของประชาชน หลักการนี้จะพบว่าการที่ฝ่ายริหารจะใช้อำนาจในทางปกครองในทุกระดับจะต้องมีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้ ซึ่งก็หมายความว่าฝ่ายบริหารทุกระดับจะใช้อำนาจกคอรงต้องเป็นไปตามความต้องการของประชาชน ตามที่ประชาชนต้องการ หลักการนี้เป็นหลักการที่เรียกว่า "การปกครองครองโดยกฎหมาย หรือ หลักนิติรัฐ"
            อำนาจตุลาการ มีหน้าที่ในการใช้กฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติ บัญญัติไว้ให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของฝ่ายนิติตบัญญัติก็คือจุดประสงค์ของประชารชน ฝ่ายตุลาการจะใช้อำนาจเบี่ยงเบนไปจากความต้องการของประชาชนไม่ได้ อำนจตุลาการนี้ในทางปฏิบัติอาจแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่เป้าหมายที่แท้จริงคือให้ความยุติธรรมแก่ประชาน และเป็นการถ่วงดุลอำนาจระหว่าอำนาจนิติบัญัติกับอำนาจบริหารอีกทางหนึ่ง
           แนวความคิดดังกล่าวได้นำมาเขียนคำประกาศอิสระภาพที่เรียกว่า "Bill of Right" ซึ่งมีใจความตอนหนึ่งว่า "..เราถือว่าความจริงต่อไปนี้มีความหมายชัดเจนในตัวมันเองคือความจริงที่ว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาเท่านเที่ยมกัน เสมอภาคกันได้รับสิทธิจากพระเจ้าผู้ให้กำเนินที่เปลี่ยนโอนไม่ได้สิทธิเหล่านั้นได้แก่ สิทธิในชีวิต เสรีภาพ และการแสวงหาความสุข.." และต่อมาได้นำหลักการดังกล่าวมาเขียนเป็นปนวทางในการปกครองประเทศอเมริกาและเรียกเอกสารที่เป็ฯแนวทางในการปกครองประเทศว่า "รัฐธรรมนูญ หรือ "Constitution" ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้เป็นแนวทางการปกครองประเทศ และเป้นต้นกำเนินของระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน

           หลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยและหลักนิติรัฐ เพื่อเป็นการป้องกนและแก้ไขการใช้อำนาจปกครอง ทำให้เกิดแนวคิดต่อต้านอำนาจนิยม และเกิดหลัการสำคัญในระบอบประชาธิปไตยและหลักนิติรัฐ 4 ประการคือ
           1. ประชาชนทุกคนมีความเท่าเทียมกันเสมอภาคกัน ไม่มีผู้ใดมีสิทธิมากกว่ผู้อื่นการที่ผุ้หนึ่งผุ้ใดจะมีสิทธิมากกว่าผู้อ่นได้นั้นจะต้องมาจากกฎหมายอันเป็ฯที่ยอมรับโดยทั่วไปของประชาชนเท่านั้น ซึ่งหมายความวว่าผู้ปกครองมีอำนาจเหนือผู้ถูกปกครองได้ก็เพราะกฎหมายให้อำนาจไว้และกฎหมายนั้น จะต้องเป็นที่ยอมรับของประชาชส่วนใหญ่ ซึ่งหมายความว่าตัวแทนของประชาชส่วนใหญ่เป็นผู้บัญญัติกฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น
            2.ในสังคมทุกคนมีควาทเท่าเทียมกัน  ผุ้ที่จะทำหน้าที่ใช้อำนาจปกครองจะต้องได้รับความเห็นชอบจากประชานส่วนใหญ่ ซึ่งหมายความว่าประชานจะต้องเลือกตัวแทนขึ้นมาทำหน้าที่ปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งกรบวนากรนี้เองที่ทำให้เกิดพรรคการเมืองและกระบวนการเลือกตั้งในเวลาต่อมาเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งตัวแทนของประชานที่ทำหน้าที่ปกครอง  อันเป็นผลพวงที่ทำให้เกิดพรรคการเมือง กลุ่มผลประดยชน์ที่จะอาสาทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนและเืพ่อที่จำให้ได้มาซึ่งตัวแทน ที่ประชาชนต้องการจึงเกิดกระบวนการเลือกตั้ง
            3. หลักการใช้อำนาจในระบอบประชาธิปไตยต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ทั้งนี้เพราะตามหลักการของระบอบประชาธิปไตย อำนาจมาจากประชาชน เพราะฉะนั้นการใช้อำนาจจะต้องปกป้องสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนเป็นเรื่องหลักสำคัญ ผู้มีอำนาจปกครองเป็นเพียงผู้ที่ปฏิัติตามกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจไว้เท่าน้น
           4. หลักการสำคัญอีกประการคือการใช้อำนาจในทางปกครองจะต้องสมารถตรวจสอบได้ 
           เป้าหมายของระบอบประชาธิปไตย การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น มีหลายระบบไม่ว่าการปกครองระบบใด ถ้าการปกครองนั้นเป็นการปกครอง "ของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน" แล้วไซร์เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะเป้าหมายหลักของการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพื่อรักษาไว้ซึ่งสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ และป้องกันการใช้อำนาจเกินขอบเขต จึงมีองค์กรตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจในแต่ละรูปแบบการปกครอง
            พอจะสรุปได้ว่ารัญธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยบัญญัติเกี่ยวกับสถาบันทางการเมืองที่ใช้อำนาจในการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยไม่จำเป็นต้องถอดแบบกันมา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประวัติศาสตร์ขนบธรรมเนียม ประเพณี รวมทั้งความรู้สึกนึกคิดของประชาชนด้วย แต่ที่สำคัญคือได้ผลตามเป้าหมายของประชาธิปไตยหรือไม่เป็นสำคัญ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)