อาระกัน หรือยะไข่ในปัจจุบัน มีชื่อย่างเป็นทาการว่า รัฐระไคน์ หรือ"ยะไข่" ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศพม่า มีเมืองหลวงขื่อ ชิตตะเว่ ในอดีตเคยเป็นอาณาจักรที่ปกครองตัวเองอย่างอิสระ มีอาณาเขตติดต่ออนุทวีปจนถูกมองว่าเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของอินเดียตอนใต้
ศาสนาอิสลามมีความรุ่งเรืองในยะไข่ในช่วศตวรรษที่ 14-16 ในช่วงราชวงศ์มรัคอู ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญของอ่าวเบงกอลระหว่างศตวรรษที่ 7-17 และเป็นด่านหน้าในสงครามอังกฤษ-พม่าในยุคล่าอาณานิคม ต่อเนืองมาถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างอังกฤษกับญี่ปุ่น ด้วยลักษณะทางภูมิรัฐศาสตร์ดังกล่าว การพัฒนาทางประวัติศาสตร์ของยะไข่ก่อนยุครัฐชาติสมัยใหม่จึคงเกิดขึ้นท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมและพลวัตทางเศรษฐกิจการเมือง
ความขัดแย้งเริ่มก่อตัวจากปัญหาเศรษฐกิจ เมื่ออังกฤษสนับสนุนให้คนอินเดียจำนวนมากที่เป็นชาวมุสลิมอพยพเข้าสู่พม่า และขับคนท้องถ่ินออกจากพื้นที่เศรษฐกิจ ต่อมาในยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องอิสรภาพพม่ ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศราฐกิจระหว่างชาวอินเดียกับชาวพม่าได้เชื่อมโยงเข้ากระบวนการทางเมืองภายใต้แนวคิด "ชาตินิยมแนวพุทธแบบพม่า" แนวคิดและปฏิบัติการต่อต้านชาวอินเดียได้แพร่กระจายไปยังพื้นที่เศรษฐกิจทั่วไปในพม่าเมื่อขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านไม่แยกแยะระหว่างมุสลิมอินเดียกับมุสลิมพม่า การต่อต้านชาวมุสลิมแบบเหมารวมจึงได้แพร่ขยายออกไปในเวลานั้น และได้พัฒนาไปสู่ความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิม-โรฮิงญาในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นโดยการสนับสนุนของชขาวพุทธพม่าได้ทำสงครามกับอังกฤษ ซึ่งมีความใกล้ชิดและได้รับการสนับสนุนจากชาวมุสลิม-โรฮิงญา
ต่อมาเมือปลายทศวรรษที่ 1940 ประเทศต่างๆ เข้าสู่กระบวนการประกาศเอกราชจากอาณานิคม ชาวมุสลิม-โรฮิงญาในยะไข่ได้แสดงเจตนารมณ์ในการขอแยกตัวเป็ฯอิสระจาพม่าเนื่องจากมีความแต่ต่างทางศาสนาและวัฒนธรรม นอกจากนี้ความขัดแย้งยังเกิดจากการก่อตัวของแนวคิดการรวมชาติอิสลาม ดังจะเห็นได้จากข้อเรียกร้องให้รวมยะไข่ตอนเหนือเข้าเป็นส่วนหนึค่งของปากีสถาน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
เมื่อพม่าได้รับเอกราชในปี 1948 ยะไข่จึงถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของพม่า อัตลักษณ์ของชาวมุสลิม-โรฮิงญาปะทะเข้าโดยตรงกับชาติพม่าที่ตีความ"ความเป็นชาติ" โดยผนวกรวมระหว่างเชื่อชาติพม่าเข้ากับศาสนพุทธ ในขณะที่ชาวมุสลิม-โรฮิงญาก็ยังคงเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิปกครองตนเองรัฐบาพม่าจึงกล่าวหาคนกลุ่มนี้ว่าเป็นชาวต่างชาติที่ไม่มีพื้นเพในพม่า
การกบฏโรฮีนจาในพม่าตะวันตก เป็นความขัดแย้งต่อสู้กันด้วยอาวุธระหว่างรัฐพม่ากบชนกลุ่มน้อยมุสลิมโรฮีนจาโดยมุ่งหมายแยกภูมิภาคชายแดนมายูในรัฐยะไข่ซึ่งมีประชากรโรฮีนจาอาศัยอยู่ออกจาพม่าตะวันตก แล้วผนวกเข้ากับปากีสภานตะวันออกซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่เพิ่งตั้งใหม่ปัจจุบันคือบังคลาเทศ ต่อมาในช่วงสงครามปลอปล่อยบังคลาเทศ และเหตุจลาจลในรัฐยะไข่ตามลำดับ โดยมีความมุ่งหมายจัดตั้งส่วนเหนือของรัฐยะไข่เป็นรัฐเอกราชหรือรัฐปกครองตนเองและล่าสุดกับการปราบปรามชาวโรฮิงจากับรัฐบาลพม่าที่มาจากการเลือกตั้ง
พ.ศ. 2490-2504 มุญาฮีดีนในยะไข่ การต่อสู้เริ่มจากการจักตั้งพรรคกาการเมืองญามีอะตุล อูลามาเอ-อิสลาม นำโดยออมราเมียะห์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากอุลนาร์ โมฮัมหมัด มูซาฮิดข่าน และโมลนาร์ อิบราฮิม ความพยายามของกลุ่มญาฮิดีนเพื่อที่จะรวมเขตชายแดนมายู ซึ่งเป็ตำบลหนึ่งในรัฐยะไข่เข้ากับปากีสถานตะวันออกก่อนการประกาศเอกราชของพม่า มีผู้นำชาวมุสลิมในยะไข่ไปพบมูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ ผู้ก่อตั้งปากีสถานเมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2489 เพื่อขอความช่วยเหลือในการผนวกมายูเข้ากับปากีสถารน สองเดือนต่อมา มีการจัดตั้งสันนิบาตมุสลิมยะไข่เหนือในอักยับ(ปัจจุบันคือ ซิตตเว เมืองหลวงของรัฐยะไข่) เพื่อแสดงควาต้องการที่จะรวมเข้ากับปากีสถาน แต่จินนาห์ปฏิเสธข้อเสนอในที่สุด
ในอีกด้านหนึ่ง รัฐบาลกลางพม่าปฏิเสธที่จะแยกรัฐมุสลิมในเขชตมายูซึ่งมีเมืองบูตีคองและเมืองหม่องต่อในที่สุด กล่มมุสลิมมุญาฮิดีนในยะไข่เหนือได้ประกาศ "ญิฮาด"ต่อพม่า กองทัพมุญาฮิดีนได้เร่ิมสู้รบในเมืองบูตีดองและหม่องด่อที่อยู่ตามแนวชายแดรระหว่งพม่ากับปากีสถานตะวันออก อับคุล กาเซมเป็นผุ้นำกองทัพมุญาฮิดีน ภายในเวลาไม่กี่ปี กลุ่มกบฎมีความก้าวหน้าไปมาก ยึดครองหมู่บ้านในยะไข่ได้หลายหมู่บ้าน ชาวยะไขช่ในเมืองทั้งสองถูกบังคับให้ออกจากบ้าน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2492 การควบคุมของรัฐบาลในเมืองอักยับได้ลดลง ในขณะที่กลุ่มมุญาฮิีดนเข้ายึงครองยะไข่เหนือ รัฐบาลพมาได้จับกุมกลุ่มมุญาฮิดีนที่พยายามจะอพยพชาวเบงกอลเข้ามาในรัฐยะไข่อย่างผิดกฎหมาย เนื่องจากประชากรล้นเกินในปากีสถานตะวันออก
รัฐบาลพม่าประกาศกฎอัยการศึกในเดือนพฤศจิการยน 2491 เมื่อกบฎลุกลาม พระภิษุชาวยะไข่ได้ออกมาประท้วงในย่างกุ้งเพื่อต่อต้านกลุ่มมุญาฮิดีน ผลของการกดดันในรัฐบาลพม่าออก "ปฏิบัติการมรสุม" กลุ่มมุญาอิดีนจำนวนมากถูกจับกุมและหัวหน้ากลุ่มถูกฆ่า ทำให้กิจกรรมของกลุ่มลดลงไปกลายเป็นกลุ่มติดอาวุธหลายกลุ่มที่ก่อการร้ายในภาคเหนือของรัฐยะไข่..มีการเจรจาระหว่างพม่ากับปากีสถานเกี่ยวกับกบฎตามแนวชายแดน ทำให้ความหวังของกบฎลดน้อยลง ในวันที่ 15 พฆศจิกายน พ.ศ. 2504 กลุ่มกบฎมุญาฮีดีนกลุ่มสุดท้ายในบูตีดองถูกกองทัพพม่านำโดยอองจีจับกุมได้ หลังจากรัฐประหารของนายพลเน วิน พ.ศ. 2505 กิจกรรมของกลุ่มมุญาฮิดีนลดลงและเกือบจะหายไป
พ.ศ.2514-2431 ขบวนการอิงศาสนาอิสลามโรฮีจา ขบวนการทางทหารที่ใช้ความรุนแรง ระหวว่างสงครามปลอปล่อยบังคลาเทศปี พ.ศ. 2514 โรฮีนจาที่อยู่ใกล้แนวชายแดนได้สะสมอาวุธจากสงคราม ปี 2515 หัวหน้ากลุ่มกบฎมูญาฮิดีนที่เหลืออยู่ได้จักตั้งพรรคปลดปล่อยโรฮีนจา เมื่อถูกปรอบปรามจาก
กองทัพพม่าก็หนีไปบังคลากเทศ หลังจากนั้นได้มีการจัดตั้งแนวร่วมดรฮีนจารักชาติ รัฐบาลทหารของนายพลเนวิน ได้จัดยุทธการราชามังกรในยะไข่เพื่อตรวจสอบผู้อพยพที่ผิดกฎหมายท่อาศัยอยู่ในพม่า ชาวโรฮีนจาถูกผลักดันไปยังแนวชายแดนบังคลาเทศ มีการลุกฮือของชาวโรฮินจาตามแนวชายแดน แนวร่วมโรฮีนจารักชาติ RPF ถือโอกาสเข้าปลุกระดม ต่อมากลุ่มกัวรุนแรงได้แยกตัวออกาจาก RPF และจัดตั้งองค์การความเป็นปึกแผ่นโรฮีนจา RSO ต่อมาเป็นองค์การหลักของโรฮีนจาตามแนวชายแดนพม่า-บังคลาเทศ RSO ประกาศตนเป็นองค์กรทางศาสนาจึงได้รับการสนับสนุนจาโลกมุสบลิมในบังคลาเทศ ปากีสถาน อัฟกานิสถาน จากรัฐชัมมูและกัศมี มาเลเซีย
พ.ศ. 2531-2554 ค่ายทหารของ RSO ตั้งอยู่ทางใต้ของบังกลาเทศ มีการส่งอาวุธจาฏอลิบานในตามแนวชายแดนพม่า-บังคลาเทศ มีการส่งทหารไปฝึกในอัฟกานิถาน การขยายตัวของ RSO ในช่วงปี 2533 ทำให้รัฐบาลพม่าเข้ามากวาดล้างตามแนวชายแดนพม่า-บังคลาเทศ ซึ่งทำให้เกิดความตึงเครียดกับบังกลาเทศ ในปี 2535 ชาวโรฮีงจากว่า สามแสนคนถูกผลักดันให้ออกจากยะไข่ซึ่งเหตุการณ์นี้ถูกประณาจากซาอุดิอาระเบีย ในปี พ.ศ. 2541 สมาชิก RSO และแนวร่วมอิสลามโรอีนจาอาระกัน ARIF ได้รวมเข้าด้วยกัและจัดตั้งสภาแห่งชาติโรฮีนจา และกองทัพแห่งชาติโรฮีนจา และยังจัดตั้งองค์กรแห่งขาติโรฮีนจาอาระกัน ARNO เพื่อจัดการกับกลุ่มโรฮีนจาที่มีความแตกต่างกัน เข้ามาเป็นกลุ่มเดี่ยว ซึ่งมีรายงานว่ากลุ่ม ARNO มีความเกี่ยวพันกับอัลกออิดะห์ (wikipedia : การกบฎโรฮีนจาในพม่าตะวันตก)
พ.ศ. 2555 การจลาจลที่รัฐยะไข่ เป็นเหตุการพิพาทระหว่างชาวยะไข่พุทธและมุสลิมโรฮีนจาทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ แต่ต่อมามุสลิมทุกชาติพัรธ์ในพม่าเริ่มตกเป็นเป้า เหตุจลาจลเกิดขึ้นหลังข้อพิพาททางศาสนาหลายสัปดาห์และถูกประณามโดยประชาชนทั้งสองฝ่าย สาเหตุของเหตุจลาจลที่แน่นอนยังไม่ชัดเจน ขณะที่นักวิจารณ์หลายคนอ้างว่า ชาวยะไข่สังหารมุสลิมพม่าสิบคนหลังเกิดการข่มขืนและฆ่าสตรีชาวยะไข่เป็นสาเหตุหลัก รัฐบาลพม่าตอบสนองโดยกำหนดการก้ามออกจากเคหสถานเวลาค่ำคืน และประการศสภานการณ์ฉุกเฉินในเวลาต่อมา ตัวเลขผู้เสียชีิวิตอย่างเป็นทางการอยู่ที่ 88 คน เป็นมุสลิม 57 คน และชาวพุทธ 35 คน ประเมินว่าประชากรกว่าแสนคน พลัดถ่ินจากความรุนแรงนี้ บ้านเรือนถูกเผากว่า 2,500 หลัง กองทัพและตำรวจพม่าถูกกล่าวหาว่ามีบทบาทนำในการจับกุมหมุ่และใช้ความรุนแรงตามอำเภอใจต่อชาวโรฮีนจา (wikipedia. เหตุจลาจลในรัฐยะไข่)
1 เมษายน 2558 ประธานธิบดีติน จ่อ จากพรรคสันนิบารแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย NLD พร้อมด้วย นายมิ้น ส่วย รองประธานาธิปดีโควต้ากองทัพ และรองประธานาธิบดีคนที่สอง นายเฮนรี แวน เทียว จากกลุ่มชาติพันธ์ เข้าสาบานตนรับตำแหน่ง ซึ่งเป็นประธานาธิปดีของพม่าในรอบกว่า ห้าสิบปีที่เป็นพลเรือน
นางออง ซาน ซู จี นั่งตำแหน่งรัฐมนตรี คุมทั้งกระทรวงต่างประเทศ กระทรวงพลังงาน กระทรวงศึกษาธิการและสำนักประธานาธิบดี พรรคเอ็นแอลดียังเสนอตำแหน่งพิเศษ "ที่ปรึกษาแห่งชาติ" ในนางซู จี เพื่อให้เป็นผุ้ประสานงานระหว่างประธานาธิบดีกับรัฐสภา กำกับดูแลการประชุมร่างกฎหมายและงบประมาณ
รัฐบาล NLD ยังตั้งกระทรวงกิจการชาติพันธ์ุขึ้นเป้ฯครั้งแรก สะท้อนเป้าหมายการสร้างสันติภาพ จากเดิมกลุ่มชาติพันธ์ุมักไม่ได้รับความสนใจให้เป็นวาระสำคัญสูงสุด (ข่าวสด 3 เมษายน 2559,ข่าวสดรายวัน, สกู๊ปพิเศษ, รัฐบาลพม่าชุดใหม่ อนาคตทหารและปชต.)
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ชี้ว่าความสำเร็จของรัฐบาลเมียนม่าร์ชุดใหม่ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์กับกองทัพด้วยเช่นกัน เนื่องจากาภายใต้รัฐธรรมนูญของเมียนม่าร์ กองทัพยังเป็นผู้ครอบครองที่นั่ง 1 ใน 4 ในรัฐสภา รวมทั้งตำแหน่างรัฐมนตรีในกระทรวงสำคัญ เช่นมหาดไทยและกลาโหม นักวิเคราะห์ แห่งมหาวิทยาลัย Macquarie ในออสเตรเลีย ในความเห็นว่าประชาธิปไตยของเมียนม่าร์ยังไม่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบอย่างที่คาดหวัง เพราะทหารยังคงมีบทบาทอย่างมากทั่งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ถึงกระนั้นก็ถือเป็นช่วงเวลาพิเศษสำหรับความก้าวหน้าด้านประชาธิปไตยในเมียนม่าร์
นักวิเคราะห์ยังชี้ให้เห็นว่าสิ่งสำคัญที่นางออง ซาน ซูจี ต้องทำหน้าที่คุมระทรวงต่างๆ เหล่านั้น โดยเฉพาะกระทรวงการต่างประเทศ เพราะจะทำให้เธอสามารถเข้าถึงสภาความมั่นคงแห่งชาติที่ถือเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดของเมียนม่าร์ได้ (www.voathai.com, สืบค้นเมื่อ 17/1/2560)
ปัญหาโรฮิงญาในเมียนมา : บททดสอบ ออง ซาน ซูจี กับประชาธิปไตยไม่แน่นอน
ตุลาคม 2016 ทหารเมียนมาเริ่มการปราบกลุ่มก่อความไม่สงบ หลังจากตำรวจตระเวนชายแดน 9 นายถูกสังหารในต้นเดือนตุลาคม โดยทหารของเมียนมาสงสัยว่า ชาวโรฮิงญาอยู่เบื้องหลังแต่สำนกข่าวต่างประเทศรายงานว่า ชาวมุสลิมโรฮิงญาทุกคนกลายเป็นเป้าหมายของการโจมตีของทหารเมียนมา ต่อมาสำนักข่าวต่างประเทศรายงานถึงความรุนแรงและการข่มขืนที่เกิดขึ้นอย่งต่อเนื่องกับชาวโรฮิงญา กระทั่งองค์กรสหประชาชาติได้ออกมาแสดงความกังวลว่า เหตุการณ์จะรุนแรงและนำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุ เนื่องจากมีชาวมุสลิมโรฮิงจากว่า สองหมืนคน ต้องอพยพอนีออกาจารัฐยะไข่ของเมียนม่าอีกครั้ง
4 ธันวาคม 2516 นาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย นำขบวนชาวดรฮิงญานับหมื่อนคนประท้วงรัฐบาลเมียนม่า ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ สร้างกระแสให้ประเทศอาเซียนที่มีชาวมุสลิมเป็นประชากรส่วนใหญ่ไม่พอใจรัฐบาลเมียนม่า และ ออง ซาน ซูจี อย่างรุนแรง ( http//www.The Momentum.com. สืบค้นเมื่อ 17/1/2560)