วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560

Spratly Islands

           ความร่วมมือทางทะเลในกรอบอาเซียน
           ประเทศไทยเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สสำคัญของเส้นทางการเดินเรือในภูมิภาคโดยมีช่องแคบมะละกาที่เชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรอินเดีย ทะเลจีนใต้ และมหาสมุทรเเปซิฟิกเป็นเส้นทางการเดินเรือที่สำคัญของภูมิภาคและของโลก เมื่อคำนึงว่าการค้าทางทะเลมีสัดส่วนถึงร้อยละ 90 ของมูลค่าการค้าโลก ในจำนวนนี้ ร้อยละ 40 เป็นการค้าผ่านช่องแคบมะละกา พื้นที่ทะเลในภุมิภาคนี้นอกจากเป็นเส้นทางคมนาคมหลักแล้ว ยังเป็นเเหล่งอุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ เช่น น้ำมันดิและก๊าซธรรมชาติ รัฐบาลไทยดำเนินนโยบายเพื่อรักษาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากทะเลให้มากยิ่งขึ้นผ่านการขับเคลื่อนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในประเทศ และดำเนินนโยบายส่งเสริมความร่วมมือทางทะเลในอาเซียนผ่านกรอบและกลไกต่างๆ เช่น การประชุมหารืออาเซียนว่่าด้วยประเด็นทางทะเล การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอชีย-แปซิฟิกและการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน
           ความร่วมมือทางทะเลระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเน้นการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ เพื่อเสริมขีดความสามารถและความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน และส่งเสริมความร่วมมือในการแก้ไขและป้องปรามปัญหาภัยคุกคามที่มี่ผลกระทบต่อความมั่นคงและผลประโยชน์ทางทะเลของประเทศสามชิกอาเซียน ได้แก่ ปัญหาโจรสลัดและการปล้นสดมภ์ การก่อการร้ายทางทะเล ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติต่างๆ รวมทั่งส่งเสริมความร่วมมือด้านทรัพยากรทางทะเล การเพิ่มขีดความสามารถด้านการจัดการประมงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล การพัฒนาชายฝั่ง การอนุรัีกษ์แนวปะการับ เพื่อคงความหลากหลายทางชีวภาพและความมั่นคงทางอาหาร การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายศูนย์ข้อมูลที่เีก่ยวข้อง ตลอดจนสนับสนุนแนวทางการแก้ไขปัญหข้อพิพาทางทะเลโดยการเคารพกฎหมายระหว่งประเทศและกลไกในกรอบอาเซียน เช่น อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล, สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้,ปฏิญญาวว่าด้วยการปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ และโดยสันติวิธี
             ทะเลจีนใต้ เป็นเส้นทางจราจรทางทะเลที่คับคั่งเป็นอันดับสองของโลก และยังมีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตรเนื่องจากคาดว่าในบริเวณนี้มีแหล่งนำมนและก๊าซธรรมชาติอุดมสมบูรณ์
             ทะเลจีนใต้เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก โดยมีอาณาบริเวณจากทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ครอบคลุมจากประเทศสิงคโปร์ และช่องแคบมะละกา ไปจนถึงพื้นที่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณช่องแคบไต้หวัน ในแนวปมู่เกาะสแปรทลีย์ และหมู่เกาะพาราเซล เกาะหรือโขดหินเหล่นี้จำนวนมากเป็นเพียงยอดแหลมโผล่ขึ้นมาจากทะเลเป็นอุปสรรคในการเดินเรือ และไม่เหมาะกับการตั้งถ่ินฐานใดๆ โดยพื้นที่รวมทั้งสิ้นของ หมู่เกาะสแปรทลีย์มีไม่ถึง 3 ตารางไมล์ แต่มีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์และการเมืองอย่างยิ่ง เพราะหากสามารถด้างสิทธิการเป็นเจ้าของเหนือดินแดนดังกล่าวได้สำเร็จ ก็จะนำไปสู่การอ้างสิทธิเพิ่มเติมในน่านน้ำใกล้เคียง และย่อมรวมถึงทรัพยากรอันมหาศาลใต้ท้องทะเลอีกด้วย
            ประเด็นเกี่ยวกับการอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ในทะเลจีนใต้ ซึ่งจุดที่มีความขัดแย้งทีุ่ดคือบริเวณหมู่เกาะสแปรทลีย์ และเกาพาราเซล และบ่อยครั้งที่ความขัดแย้งนี้เกี่ยวพันถึงการอ้างสิทธิเหนือทรัพยากรธรรมชาติน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ดังนี้
            - จีนเผยแพร่แผนที่ทางการของตน โดยแสดงเขตพื้นที่คลุมเครือว่า อาจจะครอบคลุมบริเวณหมู่เกาะนาทูนา อันเป็นเเหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ของอินโดนีเซียด้วยทำให้อินโดนีเซียตอบโต้ด้วยการจดซ้อมรบทางทหารที่ใหญ่ที่สุด เท่าที่เคยมีมาในบริเวณหมู่เกาะนาทูนาในปี 1996
            - ฟิลิปปินส์ทำการสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสท ในเเหล่ง "มาลาปายาและคามาโก"ซึ่งอยู่ในน่าน้ำที่จีนกำลังอ้างสิทธิ โดยที่จีนไม่เคยได้ทักท้วงมาก่อน
            - เเหล่งก๊าซธรรมชาติหลายแห่งของมาเลเซีย บริเวณนอกชายฝั่งของเกาะซาราวัต ก็อยู่ในน่านน้ำที่จีนอ้างสิทธิ แต่จีนก็ไม่เคยทักท้วงการพัฒนาแหล่งก๊าซเหล่านี้เช่นเดียวกันกับแหล่งก๊าซของฟิลิปินส์
           - เวียดนและจีน ต่างอ้างสิทธิเหนือแหล่งน้ำมันในพื้นที่นอกชายฝั่งเวียดนาม ความขัดแย้งนี้ทำให้บริษัทโคโนโค และปิโตรเวียดนาม ไม่สามารถเข้าเจาะสำรวจบริเวณดังกล่าวได้ตามกำหนด นอกจานี้แหล่งน้ำมัน หมีใหญ่ ของเวียดนามก็อยู่ในเขตน่านน้ำที่จีนอ้างสิทธิเช่นกัน
           - ในพื้นที่บริเวณอ่าวไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลจีนใต้ที่มีก๊าซธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ แต่ยังไม่มีการกำหนดเส้นแบ่งเขตแดนในทะเลจีนใต้ที่ชัดเจน แม้กระนั้นได้มีหลายบริษัทที่ำด้ลงนามในข้อตกลงเพื่อทำการขุดสำรวจไปแล้ว แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ในบริเวณที่ยังมีข้อพิพาทกันระหวางกัมพูชากับไทย ในส่วนพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยกับเวียดนาม โดยได้มีการเจรจาตกลงความร่วมมือ ในการสำรวจและพัฒนาในพื้นที่พัฒนาร่วมกัน ไทย-มาเลเซียและ มาเลเซีย-เวียดนาม
         การอ้างสิทธิต่างๆ มีรากฐานมาตั้งแต่ในประวัติศาสตร์ แต่ตั้งอยู่บนหลักการซึ่งเป็นที่ยอมรับกันเป็นสากล ซึ่งอนุญาตให้แต่ละประเทศสามารถอ้างสิทธิเหนืออาณาเขตนอกชายฝั่งบริเวณที่เป็นไหล่ทวีปของประเทศนั้นๆ ได้ รวมทั้งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเล
          หมู่เกาะสแปรดลีย์ Spratly Islands เป็นดินแดนที่ประกอบด้วยหินโสโครก อะทอลล์ สันดอน เกาะ และเกาะขนาดเล็กมากกว่า 750 แห่งในทะเลจีนใต้ตั้งอยู่ระหว่างประเทศเวียดนาม ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศจีน ประเทศมาเลเซียและประเทศบรูไน ประกอบด้วยพื้นที่ที่เป็นผืนแผ่นดินน้อยกว่า 4 ตารางกิโลเมตร แต่ครอบคลุมพ้นที่มหาสมุทรมากว่า 425,000 ตารางกิโลเมตร ผืนแผ่นดินเหล่านี้เป็นเกาะขนาดเล็กที่อยุ่ห่างไกล ำม่มีประชาชตั้งถิ่นฐานและไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจในตัวเองแต่มีความสำคัญในการกำหนดอาณาเขตดินแดนระหว่งประเทศ และเป็นแหล่งกำหนดอาณาเขตดินแดนระหว่างประเทศ และเป็นแหล่งสำคัญในกิจการประมงและยังมีการสำรวจพบแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ
          ปัจจุบันเกาะ 45 เกาะในหมู่เกาะสแปรตลีย์เป็นที่ตั้งกองกำลังทหารของกองทัพเวียดนาม สาธารณรัฐประชาชนจีน ไต้หวัน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และบรูไน เพื่อเป็นการยืนยันสิทธิในพื้นที่พิพาท ซึ่งเป็นข้อขัดแย้งมาแต่เดิมระหว่าง อินโดจีนของฝรั่งเศษ สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน และญี่ปุ่นมาแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง
         การสร้างเกาะเทียมบนพื้นที่ทับซ้อน
         "... รายงานเพนตากอน ระบุว่า โครการถมทะเลในทะเลจีนใต้ 4 แห่งของจีน คืบหน้าชัดเจนจากากรขุดลอกกลายเป็น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ที่อาจครอบคลุมท่าเรือ ระบบสื่อสารและสอดแนม ระบบสนับสนุนด้านการส่งกำลังบำรุง และสนาบินอย่างน้อยหนึ่งแห่ง
          วัตถุประสงค์ไม่เป็นที่ชัดเจน แต่นักวิเคราะห์นอกประเทศจีนระบุว่า ปักกิ่งกำลังพยายามเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงภาคพื้นดิน ด้วยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านกลาโหมในทะเลจีนใต้ รายงานฉบับนี้ครอคลุมข้อมูลการสำรวจจวบจนถึงเดือนธันวาคม 2014 และระบุว่า จีนถมทะเลรวมเป็นเนื้อที่ 500 เอเคอร์ ในน่าน้ำมี่มีข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ ทว่า เจ้าหน้าที่อเมริกันให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่ผุ้สื่อข่าว โดยระบุวา่ นับจากนั้นมา ปักกิ่งเดินหน้าถมทะเลต่ออีกและครอคลุมเนื้อที่รวม 1,500 เอเคอร์(กว่าสี่พันไร่)
        ในอีกด้านหนึ่ง CSIS เปิดเผยภาพการถมทะเลของเวียนนามและจีน โดยสำทับว่า ทั้งขนาดและความคืบหน้าของโครงการถมทะเชของเวียดนามถือว่า เล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับโครงการของจีน ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามไม่ได้แสดงความเห็นใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้
        ขณะที่ โฆษกกระทรวงกลาโหมจีนแถลงตอบโต้รายงายของเพนตากอนว่า บิดเบือนข้อเท็จจริงและมุ่งตีไข่ใส่ความว่า จีนเป็นภัยคุกคามทางทหาร
        ปักกิ่งยังประณามการกระทำของเวียดนาม พร้อมย้ำว่า โครงการของตนเป็นส่วนหนึ่งของภาะผูกพันต่อประชาคมนานาชาติในการปรับปรุงความปลอดภัยในการเดินเรือ ตลอดจนส่งเสริมด้านวิทยาศาสตร์และการวิจัย ซึ่งรวมถึงการสร้างแท่นสังเกตการณ์ 5 จุดจาก 200 จุดเพื่อติดตามระดับน้ำทะเล
       โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนยังกล่าวว่า เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และประเทศอื่นๆ เดินหน้าถมทะเลมานานหลายปี ซึ่งถือเป็นการเข้ายึกครองเกาะของจีนโดยผิดกฎหมาย ปักกิ่งจึงเรียกร้องให้ประเทศเหล่าน้้นยุติกิจกรรมที่ถือเป็นการละเมิดอธิปไตยและสิทธิของจีน
               บทสรุป จากกรณีดังกล่าวทำให้ทราบถึงความสำคัญของยุทธศาสตร์ทางทะเลที่มีในทะเลอาเซียน นอกจากทรัพยากรธรรมชาติและสิทธิครอบครองของแต่ละประเทศแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการคือการถ่วงดุลอำนาจในทางทะเล ซึ่งในเพื้นที่ที่มีหลายประเทศต้องการหากกระทำการใดๆ โดยไม่ชัดเจนโปร่งใสจะถูกเข้าไปในทิศทางต่างๆ นาๆ ดังที่ได้ทราบแล้วจากกรณีถมทะเลของจีนเป็นต้น จึงนับได้ว่าหมู่เกาะเสปียร์ลี่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ในการกำหนดเขตทางทะเลที่ไม่ชัดเจนของเอเซีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...