Ro-hing-gya III : Trafficking in Persons

              แนวคิดเรื่องการค้ามนุษย์ข้ามชาติ
              - ความหมายของการค้ามนุษย์ข้ามชาติ ในระดับสากล ควาหมายของการค้ามนุษย์ได้ถูกนิยามไว้ในพิธีสารเพื่อป้องกันปราบปรามและลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก เพิ่มเติมอนุสัาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมขช้ามชาติที่จัดตั้งในลัการะองค์การ กล่าวคือ
                    (ก)ให้การ "ค้ามนุษย์" หมายถึง การจัดหา การขนส่ง การส่งต่อ การจัดให้อยู่อาศัย หรือการรับไว้ซึ่งบุคคล ด้วยวิธีการขู่เข็ญ หรือด้วยการใช้กำลัง หรือด้วยการบีบบังคับในรูปแบบอื่นใด ด้วยการลักาพาตัว ด้วยการฉ้อโกง ด้วยการหลอกลวง ด้วยการใช้อำนาจโดยมิชอบหรือด้วยการใช้สถานะความเสี่ยงภัยจากการค้ามนุษย์โดยมิชอบ หรือมีการให้หรือรับเงินหรือผลประโยชน์เพื่อให้ได้มาซึ่งความยินยอมทของบุคคลผุ้มีอำนาจควบคุมบุคคลอื่น เพื่อความมุ่งประสงค์ในการแสวงหาประโยชน์ การแสวงหาประ
โยชน์อย่างน้อยที่สุดให้รวมถึงการแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณีของบุคคลอื่นหรือการแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรุปแบบอื่น การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ การเอาคนลงเป็นทาสหรือการกระทำอื่นเสมือนการเอาคนลงเป็นทาส  การทำให้ตกอยู่ในบังคับ หรือการตัดอวัยวะออกจาร่างกาย
                    (ข)ให้ถือว่าไม่สามารถยกความยินยอมของผุ้เสียหายจากากรค้ามนุษย์ที่ให้กับการหาประโยชน์โดยเจตนาที่ระบุไว้ในวรรคก่อน ของข้อนี้ มาเป็นข้ออ้างในกรณีที่มีการใช้วิะีการระบุไว้ในวรรค (ก)
                   (ค) ให้ถือว่าการจัดหา การขนส่ง การโยกย้าย การให้ที่พักอาศัย หรือการรับไว้ซึ่งเด็กเพื่อความมุ่งประสงค์ในการแสวงหาประโยชน์ เป็น "การค้ามนุษย์" แม้ว่าจะไม่มีวิธีการใดๆ ที่ระบุไว้ในย่อหน้าย่อย(ก)ของข้อนี้
                   (ง) "เด็ก"หมายถึงบุคคลใดก็ตามที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี....
                   ศิริพร สโครบาเนค(2548) ให้ความหมายของการค้ามนุษย์ที่สัมพันธ์กับการลักลอบเข้าเมืองว่าผุ้ลักลอบขนของเข้าเมืองอาจจะช่วยจัดการเรื่องเอกสารเพื่อข้ามพรมแดนและจัดหาพาหนะ และวิธีการต่างๆ เพื่อให้ผู้ต้องการย้ายถ่ินสามารถข้ามพรมแดนได้ ผุ้ลักลอบขนคนเข้าเมืองต่างจากนักค้ามนุษย์ เพราะไม่มีเจตจำนงที่จะแสวงหาประโยชน์จากผุ้ลักลอบเข้าเมืองเมื่อถึงจุดหมายปรลายทง ส่วนการค้ามนุษย์สัมพันธ์กับการบย้ายถ่ินนั้นกล่าวว่า การค้ามนุษย์เป็นการส่งและการซื้อขายมนุษย์ ซึ่งสวนใหญ่
เป็นหญิงและเด็กเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ด้วยการใช้กำลังและการหลอกลวง การค้ามนุษย์จึงเป็นสวนหนึ่งของการย้ายถิ่น แต่แตกต่างกับการย้ายถ่ิน เพราะการค้ามนุษย์มีวัตถุประสงค์ที่เด่นชัดในการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบธรรมจากผุ้ที่ถูกค้าที่ต้องกลายเป็นเหยือ  และถูกลิดรอนสิทธิในความสามรถในการกำหนดตัดสินใจเลือกทางชีวิตของตนเอง และต้องดำรงชีวิตภายใต้การควบคุมของผุ้อื่น แต่เดิมเหยื่อของการค้ามนุษย์อาจจะถูกบังคับข่มขืนใจหรือลักพาตัวจากถ่ินฐานเดิมของตน แต่ในปัจจุบัน เหยื่อของการค้ามนุษย์อาจจะถูกบังคับข่มขืนใจหรือลักพาตัวจากถิ่นฐานเดิมของตน แต่ปัจจุบันเหยื่อของการค้ามนุษย์อาจจะตัดสินใจย้ายถิ่นด้วยความสมัครใจ แต่ถูกหลอกลวงในเรื่องประเภทของงานและรายได้และนักค้ามนุษย์อาจจะใช้วิธีการลักลอบพาเหยื่อเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ทำให้เหยื่อต้องกลายเป็นคนเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายเป็นแรงงานผิดกฎหมาย และเสียงต่อการถูกลงโทษจากเจ้าหน้าที่รัฐ   นอกจากนี้ยังกล่าวถึงองค์ประกอบที่สำคัญของการค้ามนุษย์ว่าประกอบไปด้วย 1) การจัดหา การขนส่งเคลื่อนย้าย 2) วิธีการล่อลวง ขู่เข็ญ รวมถึงการใช้อำนาจครอบงำ 3) วัตถุประสงค์เพื่อให้ยอมรับการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเอาเปรียบ ที่ครอบคลุมเรื่องการค้าบริหการทางเพศ และการใสช้แรงงาน รวมทั้งการบังคับให้ขอทาน และ 4) ขอบข่ายการค้ามนุษย์ครอบคลุมทั้งในและนอกประเทศ...(วิทยานิพนธ์, "กระบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติในประเทศไทย",บทที่ 2, หน้า 1-14.)
         
          ผุ้อพยพชาวโรฮิงจา มีทางเลือกไม่มากในการอพยพออาจาบ้านเกิดของตน บังคลาเทศไม่สามารถรองรับผู้อพยพที่เพิ่มจำนวนขึ้น รวมถึงนโยบายของรัฐพม่า จึงเหนือเส้นทางเดี่ยวที่อพยพออกาจากประเทศ คือ ลงเรือมุ่งหน้าสู่อ่าวเบงกอล โดยส่วนมากเกินทางต่อเนื่อมาถึงอันดามันเลียบชายฝั่งเข้าสู่ประเทศไทย บางส่วนอาจเดินทางต่อไปยังประเทศมาเลเซีย บางส่วนอาจไปถึงอินโดนีเซีย
          ความซับซ้อนของการอพยพด้วยการลักลอบข้มชายแดนมีมากขึ้น เมื่อผุ้อพยพต่างสมัครใจที่จะเดินทางโดยอาศัยเครือข่ายขบวนการนอกกฎหมาย อาจมีบางคนที่ถูกบังคับ แต่ส่วนใหญที่เดินทางเข้าโดยสมัครใจเมื่อเข้ามาถึงประเทศไทยกลับพบว่าตนเองกลับถูกควบคุม กักขังโดยคนของขบวนการอีกลุ่ม ที่พวกเขาพยายามติดต่อญาติพี่น้องให้ส่งเงินมาไถ่ตัวพวกเขา หลายคนโชคดีที่ญาตพี่น้องยอมทำตามและขบวนการก็ส่งตัวพวกเขาออกไป แต่โรฮิงจา
จำนวนมากไม่ได้โชคดีแบบนั้น พวกเขาถูกทุบตี ถูกทำร้ายร่างกาย อดอาหารหลายคนเสียชีวิต
           นับตั้งแต่มกราคม 2558 มีการจับกุมชาวโรฮิงจาในประเทศครั้งใหญ่ และเป็นการจับกุมที่ทำให้ลกายคนเร่ิมเห็นความรุนแรงที่ชาวโรฮิงจาต้องเผชิญระหว่างเกินทางเข้ามาในประเทศไทย คือการจับกุมเมื่อวันที่ 11 มกราคม พื้นที่ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช เป็นรถกระบะ 5 คน บรรทุกชาวโรฮิงจา 98 คน
           การพบหลุ่มฝัวศพ 32 หลุม และศพชาวโรฮิงจา 26 ศพ ในพื้นที่บ้นตะโล๊ะ ต.ปากังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา ระหว่างวันที่ 1-2 พฤษภาคน 2558 เป็นสัญญาฯที่แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวในการเผชิญหน้าปัญหาชาวโรฮิงจา และบางส่วนเป้นชาวบังกลาเทศที่อพยพเข้าในประเทศไทยของรัฐบาลในระยะเวลาที่ผ่านมา (http//www.komchadluek.net, 7 พ.ค. 2558 เส้นทางชีวิตโรฮิงญาจากบ้านเกิดสู่ความตาย)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)