วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2560

Foreign policy

           นโยบายต่างประเทศของรัฐ โดยทั่วไปหมายถึง กลุ่มของมาตรารหรือยุทธศาสตร์ที่รัฐกำหนดขึ้น และใช้ปฏิบัตต่อรัฐอื่น ในอันที่จะให้ได้มาซึ่งจุดประสงค์ที่ต้องการจุดประสงค์ของการดำเนินนโยบายต่างประเทศก็คือ การักษาและเสริมสร้างผลประโยชน์ของรัฐในด้านต่างๆ โดยที่ผลประโยชน์ของขาติเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนและหลากหลาย นโยบายต่างประเทศของรัีฐจึงเป็นเหมือนกับแผนการอันกว้างขวาง ที่ประกอบด้วยมาตรการเหรือยุทธศาสตร์หลายประการสำหรับใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ของชาติอันหลากหลายในขณะใดขณะหนึ่ง หรือในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง นักวิชากการบางท่านให้ความหายของนโยบายต่างผระเทศไว้เพียงกว้างๆ ่านโยบายต่างประเทศหมายถึงหลักการกว้าง ๆ ซึ่งรัฐหนึ่งวางไว้เพื่อกำหนดและควบคุมการกระทำของตนในสภาพแวดล้อมของสังคมระหว่างประเทศ โดยที่ นโยบายต่างประเทศมีจะดมุ่งหมาายที่จะให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ของชาติ โดยมาตรการต่างๆ ซึ่งมีพื้นฐานอยู่ในความสามารถของแต่ละรัฐจึงอาจกล่าวได้ว่า นโยบายต่างผระเศของรัฐเป็นสิ่งที่เชื่อโยงผลประโยชน์ของชาติกับอำนาจของชาติ นโยบายต่างประเทศเป็นสิ่งที่เชื่อโยงความต้องการของรัฐในการที่จะได้มาซึ่งผลประโยชน์ของชาติกับอำนาจของชาติซึ่งแต่ละรัฐมีอยู่ การที่จะทำให้นโยบายบรรลุเป้าหมายก็ขึ้นอยู่กับอำนาจของรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับรัฐที่เป็นเป้าหมายของนโยบายต่างประเทศนั้นๆ
           จุดมุ่งหมายของนโยบายต่างประเทศประการต่างๆ ได้รัฐจึคงมักจะมีการจัดลำดับความสำคัญ ของจุดมุ่งหมายต่างๆ ซึ่งเกี่ยวกับนโบายต่างผระเทศ ความสำคัญที่รัฐจะให้กับจุดมุ่งหมายหลายประการนั้นมีความแตกต่างกันออกไป ความแตกต่างเช่นว่านี้ รัฐจะให้ความสำคัญแก่จุดมุ่งหมายระยะยาวมากกว่าจุดมุ่งหมายระยะสั้น อย่างไรก็ตามอาจมีความขัดกันระหว่างจุดมุ่งหมายระยะยาวด้วยกันเองก็ได้ เช่น ความขักกันระหว่างความมั่นคงของรัฐกับอุดมการณ์ที่ชาติยึดถืออยู่ ซึ่งถือว่าทั้งสองเป็นจุดมุ่งหมายว่าทั้งสองเป็นจุดมุ่งหมายระยะยาวของรัฐด้วยกันทั้งคู่ เรามักพบว่าในการณีเช่นี้ ความมั่นคงของรัฐหรือความอยู่รอดของชาติได้รับความสำคัญมากกว่าเรื่องของอุดมกาณ์ แตอย่างไรก็ตาม มิได้หมายคึวามว่าเมื่อมีความขัดกันเช่นนี้จุดมุ่งหมายที่เกี่ยวกับอุดมการณ์จะถูกละทิ้งไปโดยเด็ดขาด แต่เป็นแต่เพียงการถูกลดความสำคัญลงไปในขณะใดขณะหนึ่ง และตคามสภาพอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เราทราบกันดีว่าอุดมการณ์ประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกา และอุดมกาณ์คอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียตนั้นเข้ากันไม่ได้ และเป็นปฏิปักษ์กันอย่างมาก แต่ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตก็ลดความสำคัญที่แต่ละฝ่ายให้แก่อุดมการ์ของตน และหันมาร่วมมือกันในสงครามโลกครั้งที่สอง ในเมื่อทั้งสองฝ่ายให้แก่อุดมการณ์ของตน และหันมาร่วมมือกันในสงครามโลกครั้งสอง ในเมื่อทั้งสองฝ่ายเห็นว่า ความมั่นคงปลอดภัยของตนจะได้รับการกระทบกระเทือนจากการกระทำการรุกรานโดยเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น แต่่เมื่ออันตรายดังกล่าวได้สิ้นสุดลง
สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตก็ได้กลับมาให้คามสำคัญกับอุดมการณ์ของตนอย่างจริงจังอีก จนทำให้ทั้งสองต้องมีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในสภาพที่เยยกว่า "สงครามเย็น"ในขณะเีด่ยวกันเราอาจกล่าวได้ว่า หลังจากที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ครอบตรองจีนแผ่นดินใหญ่ จีนคอมมิวนิสต์กับสหภาพโซเวียตมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในส่วนที่เกี่ยวกับอุดมกาณณ์คอมมิวนิสต์ แต่เมื่อรัฐทั้งสองมีความขัดแย้งกันเรื่องผลปรโยชน์ของชาติประการอื่น ๆ โดยเฉพาะในเรื่องควรามมั่นคงของชขาติในการีความขัดแย้งในบริเวณพรมแดร่วมของประเทศทั้งสอง ความสำคัญในเรื่องอุดมการณ์ก็ต้องหลีกทางให้กับความต้องการที่จะรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงปละอภัยแห่งชาติ ซึ่งปรากฎให้เก็นในรูปของความขัดแย้งระหว่างสหภาพโซเวียตกับจีนคอมมิวนิสต์ ในการจัดลำดับความสำคัญให้กับจุดมุ่งหมายต่างๆ ของนโยบายต่างประเทศน้น รัฐมักจะมีข้อพิจารณาว่าจะต้องใ้ห้ความสำคัญำับจุดประสงค์ที่รัฐเห้ฯว่าสำคัญที่สุดเหนือจุดประสงค์อื่นในขณะใดขณะหนึ่ง และในภาวะแวดล้อมอย่างใดอย่างหนึ่ง
             นโยบายต่างประเทศกับนโยบายภายใน
             นโยบายต่างประเทศของรัฐ มีความเกี่ยวพันกัยบอย่างใกล้ชิดกับนโยบายภายในรัฐเราอาจพิจารณาได้ว่า นโยบายภายในประเทศเป็นแนวทางที่ผุ้มีอำนาจในการปกครองประเทศกำหนดขึ้นเพื่อบริหารประเทศให้มีความสงบเรียบร้อย สร้างความเจิรญในด้านต่างๆ ให้กับประชาชน และกลุ่มชนภายนอาณาเขตของรัฐ ในหลายรัฐ นโยบายต่างประเทศถูกใช้เป็นเครื่องมืออันหนึ่งของนโยบายภายใน ในอินโดนิเซียในสมัยการเรืองอำนาจของประธานาธิบดีซูการ์โน เขาเป็นผุ้ที่มีบทบาทมากในการกำหนดนโยบายต่างประเทศของอินโดนีเซีย รัฐบาลอินโดนีเซียในขณะนั้นมนโยบายต่างประเทศที่ต่อต้านและคัดค้านการจัดตั้งรัฐมาเลเซียอย่างรุนแรง นโยบายดังกล่าว เรียกกันว่า การเผชิญหน้ากับมาเลเซีย ซึ่งเป้าหมายของนโยบายดังกบล่าวก็คือ การบดขยี้รัฐมาเลเซีย นโยบายนี้ ถือว่าเริ่มใช้ตั้งแต่ก่อนการจัดตั้งมาเลเซีย และสิ้นสุดอย่างเป็นทางการ การดำเนินนโยบายดังกบล่าวของประธานาธิบดี ซูกาณ์โน อันนี้ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายภายในที่ซูการ์โนต้องการให้ประชาชนซึ่งกำลังอยู่ในภาวะเสื่อมโทรม ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมภายในอินโดนีเซียหันมาสนใจและเห็นถึงอันตรายจาก "อาณานิคมแนวใหม่" ซึ่งปรเทศอินโดนีเซียกำลังเผชิญอยู่ เพื่อประชาชนจะไ้ดลืมความเสื่อมโทรมของประเทศและให้การสนับสนุนการเป็นผู้นำของซูการ์โนอย่างเต็มที่ เป็นความพยายามที่จะสร้างสถานการณ์โดยอาศัยนโยบายต่างประเทศ เพื่อผลประโยชน์ของนโยบายภายใน
          ในเรื่องความเกี่ยวพันระหว่างนโยบายภายในกับนโยบายต่างปรเทศของรัฐนั้น ฮันส์ เจ มอร์เกนธอ มีความเห็นในลักาณะที่ว่า เราไม่อาจแยกนโยบายภายนกับนโยบายต่างประเทศของรัฐได้อีกต่อไปแล้วในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะว่า การดำเนินนโยบายต่างประเทศในสมัยปัจจุบันนั้น มิได้กระทำด้วยเครื่องมือการทูต และทางอำนาจทางทหารเท่านั้น แต่นโยบายต่างประเทศต้องอาศัยเครื่องมือทางการโฆษณาชวนเชื่อประกอบเป็นส่วนสำคัญด้วย มอร์เกนธอ เห็นว่าการต่อสู้ดิ้นรนเพื่ออำนาจระหว่างรัฐในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ มิใช่การดิ้นรนเพื่อความเหนือกว่าทางการทหาร หรือการมีอิทธิพลเหนือกว่าทางการเมืองเท่านั้น แต่รวมถึงความพยายามที่จะเอาชนะจิตใจของคนด้วย ดังนั้นอำนาจของชาติจึงมิได้ขึ้นอยู่กับเพียงความชำนาญในการดำเนินการทางการทูตและความเข้มแข็งทางการมหารของรัฐเท่านั้น แต่ัยังขึ้นอยู่กับการที่รัฐอื่นจะนิยมชมชอบในปรัชญา สถาบัน และนโยบายทางการเมืองของรัฐนั้นๆ ด้วย สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต มิด้แข่งขันกันในฐานะของการเป็นอภิมหาอำนาจในทางทหารและทางการเมืองเท่รนั้น แต่ประเทศทั้งสองยังแข่งขันกันในฐานะเป้ฯตัวแทนปรัชญาทางการเมือง  ระบอบการปกครองและวิถีชีวิตที่แตกต่างกันสองอัน ในอกณีของประเทศเล็กๆ การแข่งขันระหว่งกันเพื่ออำนาจของรัฐนั้นก็มีลักาณะทำนองเดียวกับการแข่งขันระหว่างอภิมหาอำนาจทั้งสองด้วย เช่น รัฐที่มีนโยบายในที่กีดกันเชื้อชาติหรือแผ่งแยกผิว ก็มักจะไม่สามารถเป็นที่นิยมชมชอบของรัฐต่างๆ ซึ่บมีประชาชนที่มีสีผิวต่างไป ถือว่ารัฐที่มีนโยบายเช่นนั้นถูก "ลดอำนาจของชาติ" ลงไปแล้ว ในขณะเดียวกั หากประเทศด้อยพัฒนาสามารถทีจะยกระดับความเป็นอยู่ของประชากร การรู้หนังสือ และากรสาะารณสุขภายในรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพก็อาจถือได้ว่า ประเทศนั้นมีอำนาจแห่งชาติเพ่ิมสูงขึ้นในสายตาของประเทศด้อยพัฒนาอื่นๆ เช่นนี้ จึงถือว่าในปัจจุบันไม่มีความแตกต่างระหว่างนโยบายภายในกับนโยบายต่างประเทศของรัฐอีกต่อไป
              ลักษณะนโยบายต่างประเทศ โดยทั่วไป นโยบายต่างปรเทศจะจัดเข้าในลักาณะหรือแบบแผนอย่างใดอย่างหนึ่ง
              1 นโยบายเพื่อากรรักษาไว้ซึ่งสถานะคงเดิมระหว่งประเทศ หมายถึง นโยบายต่างประเทศที่จะพยายามรักษาสภาพการกระจายอำนาจ และทรัพยากรธรรมชาติในสังคมระหว่างประเทศที่เป็นอยู่ในขณะนั้น ซึ่งอยู่ในลักษณะเช่นนี้ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต มีนโยบายต่างประเทศหลายประการทีจัดอยู่ในลักษณะนี้เพราะทั้งสองอภิมหาอำนาจต่างก็มอิทธิพลและผลประโยชน์กว้างขวางในสังคมระหว่างประเทศ ทั้งสองจึงพยายามที่จะรักษาสภาพเช่นว่านี้ไว้เป็นส่วนใหญ่
              2 นโยบายแห่งการแผ่ขยายหรือนโยบายที่ต้องการเปลี่ยนแปลง เป็นลักษระของนโยบายต่างประเทศที่ต้องการเพิ่มอำนาจให้กับรัฐตนมากกว่าฐานะแห่งอำนาจของตนในขณะใดขณะหนึง โดยมุ่งหมายที่จะให้ม่การเปลี่ยนแปลงสภาพในสังคมระวห่างประเทศในขณะนั้น ให้เป็นไปในทางที่รัฐตนจะมีฐานะที่ดีขึ้นในังคมระวห่งประเทศ เป็นลักษณะของนโยบายต่างประเทศที่ตรงกันข้ามกับลักษณะแรก นโยบายต่างประเทศของเยอรมนีในสมัยของฮิตเลอร์ เป็นจัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้
การกำหนดนโยบาต่างประเทศ ในรัฐต่างๆ ผุ้ที่ทำหน้าที่เป็นผุ้กำหนดนโยบายต่างประเทศก็คือ รัฐบาล ซึ่งเป็นผุ้แสดงบทบาทในการเมืองระหว่งประเทศในนามของรัฐ ตามปกติ นอกจากคณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดนโยบายต่างประเทศร่วมกันแล้ว รัฐมนตรีต่างประเทศจะเป็นผุ้มีบทบาทโดยตรง และในระดับต่ำลงไปจากรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศในระดับต่างๆ จะมีหน้าที่สำคัญ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอข้อมูลข่าวสาร และความคิดเห็นเพื่อให้ผุ้ที่รับผิดชอบสุงขึ้นไปพิจารณาและตัดสินใจเลือกทางปฏิบัติทางใดทางหนึ่งในหลายๆ ทาง นอกจากนั้น หน่วยงานของรัฐนอกจากกระทรวงการต่างประเทศก็อาจมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย
ต่างประเทศของรัฐ โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานรับผิดชอบของหน่วยงานนั้นๆ โดยตรง ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริการในกรณีควาขัดแย้งในอินโดจีน ฝ่ายทางเสนาธิการทหารและกระทรวงกลาโหม ซึ่งต้องการให้อเมริกาเน้นหนักในทางการใช้กำลังทหาร จนทำให้ได้ชื่อว่าเป็นฝ่ายเหยี่ยว กับนักการเมืองส่วนอื่นๆ และกระทรวงการต่างผระเทศซึ่งคัดค้านวิธีการดังกล่วและสเนอให้ใช้วิธีการทางการทูตมากกว่าซึ่งเรียกกันว่าพวกนกพิราบทั้งสองฝ่ายแข่งขันกันชักจูงให้ประธานาธิบดีสหรัฐดำเนินนโยบายไปในทางที่ตนเห็นควร อิทธิพลของฝ่ายเหยี่ยวมีมากในการกำหนดนโยบายสหรัฐฯ ทำใหสหรัฐมีทหารเข้าปฏิบัติการรบในเวียดนามกว่า ห้าแสนคน
            ในการกำหนดนโยบายต่างประเทศ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรัฐบาลจะประกอบด้วยปัจจัยที่มีอยุ่และเกิขึ้นภายใรัฐนั้น กับปัจจัยที่เป็นเรื่องของสังคมระวห่างประเทศ ปัจจัยภายในที่สำคัญก็คอ อำนาจของรัฐเอง อำนาจของรัฐรวมหมายความถึง อำนาจทังที่เป้นส่ิงที่เห้ฯได้ชัด เช่น ความเข้มแข็งทางทหาร ความมั่งคั่งมั่นคงทางเศรษฐฏิจและทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เป็นต้น ส่วนอำนาจที่อาจมองเห็นได้ไม่ชัดได้แก่ ลักษณะผู้นำของรัฐ ลักษณะประจำชาติต่างๆ รวมทั้งขวัญและวินัยของประชาชนในชาติ นอกจากนั้น ก็รวมถึงบทบาทของกลุ่มอิทธิพล กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง และกลุ่มการเมือง และอื่นๆ ภายในประเทศนั้น ส่วนปัจจัยภายนอก เป็นเหตุการณ์หรือความเปลี่ยนแปลงผันผวนที่เกิดขึ้นในประเทศอื่น โดยเฉพาะประเทศที่อยู่ใกล้เคียง หรือรัฐที่เกี่ยวข้องกับคน ทั้งในด้านความร่วมมือและความขัดแย้ง หรือในัที่มีอำนาจกว้างขวางในโลก และรวมถึงความสัมพันธ์ระหว่่างรัฐต่างๆ ในสังคมระหว่างประเทศด้วย
             การดำเนินนโยบายต่างประเทศ หรือการนำนโยบายที่กำหนดไว้แล้วไปใช้ในทางปฏิบติ รัฐมีเครื่องมือในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ ซึ่งอาจแนกกล่าวได้ 2 ประการ
             1. เครื่องมือสันติ  โดยทั่วไปหมายถึงการดำเนินการทางการทูต และการเจรจา เป้นความพยายามของรัฐที่จะใช้กุศโลบายความเฉลี่ยวฉลาดรอบคอบล และความชำนาญทางการทู๔ต เพื่อให้ได้มาซึ่งจุดประสงค์ของนธบยายต่างประเทศของรัฐ โดยปกติ มักเข้าใจกันว่าการดำเนินการทางการทูตเป็นเรื่องของนักการทูตและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่งประเทศของรัฐโดยเฉพาะ แต่ในทาสง)กิบัตินั้นผุ้แทนของรัฐที่มีการจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งคราวเฉาพะกรณี หรือการแสดบทบาทโดยผู้นำของรัฐเองโดยตรง นับเป็นการดำเนินการทางการทูตที่สำคัญยิ่งขึ้นตลอดเวลา ยิ่งกว่านั้น การใชบ้เครื่องมือทางสันติ ก็มิได้จำกัดอยู่เฉพาะเรื่องของการทุตและการเจรจาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการดำเนินการอื่น  ๆ ทีรวมั้งการแสดงแสนยานุภาพทางทหาน  ละารคุกคามที่จะใช้สงครามด้วย ทั้งนี้เพราะถือว่า การดำเนินการทางการทูตจะยุติลงเมือรัฐหันไปใช้กำลังเป็เนครื่องมือในทางปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งจุดประสงค์ของนโยบายต่างประเทศเท่านั้น
             2. เครื่องมือทางการใช้กำลัง ซึ่งหมายถึงการใช้มาตรการทางทหาน ในการเข้าทำสงครามเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของนโยบายต่างประเทศ การใช้กำลังเป็นมาตรการขั้นต่อเนื่องของวอธีการสันตะ โดยที่วไป ในสภาพที่สัีงคมระหว่างประเทศมีลักษระอนาธิปไตยที่แตกต่างจากสภาพการเมืองภายในประเทศ ในขึ้นสูดท้ายรัฐจึงจำเป็นต้องพึงตัวเอง เพราะฉะนั้น การใบช้กำลังทำสงครามเพื่อให้ได้มาซึ่งผลบประโยชน์ของรัฐจึคงยังคงงเป็นมตรการที่สำคัญ

             การใช้มาตรการทางทหารเพื่อให้ได้มาซึ่งจุดมุ่งหมายของนโยบายต่างประเทศนับเป็ฯเรื่องสำคัญมากในการเมืองระหว่างประเทศ ก่อนที่รัฐใดรัฐหนึ่งจะตัดสินใจใช้มาตรการทางทหาร รัฐนั้นๆ จะต้องพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนและรอบคอบ โดยเฉพาะอย่งยิ่งการพิจารณาถึงการตอบโต้จากรัฐคู่กรณี รวมทั้งปฏิกิริยาจากรัฐอื่น ๆ ในสังคมระวห่างปรเทศด้วย รัฐที่ตัดสินใจใช้สงครามเป็นเครืองมือของนโยบายต่างประเทศ จะต้องมีการคาดหวังถึงโอกาสที่ไม่เห็นโอาสเช่นว่านั้นเลย อย่างไรก็ดี หากความอยู่รอดของรัฐอยู่ในภาวะที่เป็นอันตรายและไม่มีมาตรการอื่นที่จะช่วยแก้ไขสถานการณ์ได้รัฐก็อาจำเป็นต้องใช้กำลังทำสงครามทั้งๆ ที่ไม่เห็นโอกาสแห่งชัยชนะเลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...