วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560

Ro-hing-gya II (Human Rights)

     ณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ASEAN Intergovernmmental Commission on Human Rights-AICHR
             AICHR เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามข้อ 14 ของกฎบัตรอาเซียน ที่มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเมื่อเดือนกรกฎาคม 2552 ในช่วงที่ไทยเป็นประธานอาเซียน ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมือวันที่ 13 ตุลาคม 2552 แต่งตั้งให้ ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี เป้นผู้แทนไทยใน AICHR โดยมีวาระ 3 ปี  ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552 -ตุลาคม 2555 โดยผู้แทนไทยฯ มีความเป็นอิสระในการดำเนินนโยบาย โดยได้มีการปรึกษาด้านแนวนโยบายกับกระทรวงฯ เป็นระยะ ในช่วงที่ผ่านมา ผู้แทนไทยฯได้ดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม เรื่องสิทธิมนุษยชนทั้งภายนอกประเทศ และภายในประเทศ
            พัฒนาการและการดำเนินงานของ AICHR
            AICHR ได้มีการประชุมไปแล้ว 9 ครั้ง ในระยะยแรกของการำงาน ได้ใช้เวลาการวางรากฐานการทำงาน เพื่อการส่งวเาริมและคุ้มครองสิทะิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ โดย 1) การจัดทำไกล์ไลน์เพื่อกำหนดวิธีการดำเนินงาน 2) แผนงานกิจกรรม 5ปี 3)มีการหรือเกี่วกับการทำงานร่วมระหว่าง AICHR กับ ASEAN Commission for the Promotion and Protection of the Rights of Women and Children (ACWC)
            กิจกรรมของ AICHR ประกอบด้วย
            1 การศึกษาประเด็นสิทธิมนุษยชน 11 ประเด็น ซึ่งกำหนดทำการศึกษาปีละ 2 ประเด็น โดยในช่วงแรกเป็นเรื่อง  Corporate Social Responsibility and Human Rights เรื่อง Migration และ Right to Peace เปนตน
            2. การจัดเวิร์คชอป ร่วมกับองค์กรภายนอก
            3. การยกร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
            4. การจัดทำ Study of ASEAN blueprints from human rights perspectives
            5. การจัดอบรมระดับภูมิภาค
            6. การจัดทำสื่อเผยแพร่การทำงานของ AICHR ผาน website และ AICHR booklet
            7. การประชุมและสร้างปฏิสัมพันธ์กับองค์กรระหว่างประเทศ
            ชาวโรฮิงจา
            - กลุ่มโรฮิงจาที่เข้าร่วกับกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงในบังคลาเทศ RSO ในการต่อสู้เพื่อเอกราชจากรัฐบาลทหารพม่า กลุ่มนี้จะผ่านการฝึกและมีประสบการณ์ด้านการใช้อาวุธและความรุนแรง เป็นกลุ่มที่แยกตัวออกมาจาก Rohingya Patriotic Front (RPF) นำโดยนายแพทย์ชาวพม่าอารกัน ดร.มูฮาเมด ยูนุส เป้นกลุ่มติดอาวุธที่มีบทบาทอยู่ในบังคลาเทศและตามแนวชายแดนบังคลาเทศ-พม่า จากการที่กลุ่มนี้มีการเคลื่อนไหวในลักษณะปฏิบัติการเพื่ออิสรภาพ กลุ่มนี้จึงเป็นมุสลิมหัวรุนแรงที่ได้รับการสนับสนุนจาโลกมุสลิมในปัจจุบัน
            - โรฮิงยาที่เป็นอาชญากรข้ามชาติ ในเรื่องการลักลอบนำบุคคลต่างด้าวไปประเทศที่สาม การทำเอกสารปลอม การค้าอาวุธ และการค้ายาเสพติด ทั้งนี้การดำเนินการของกลุ่มนี้เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของกลุ่ม RSO (ด้านเงินทุนและด้านอื่นๆ เมื่อต้องการ) และเป็ฯการหารายได้จากกลุ่มที่สองในรูปแบบของการช่วยเหลือการเดินทางไปประเทศที่สาม โดยมีเครื่อข่ายในประเทศไทย มาเลเซีย ออสเตรเลีย แคนาดา อังกฤษ และฝรั่งเศส
           - กลุ่มโรฮิงยาที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับมุสลิมหัวรุนแรง เป็นกลุ่มที่หนีชีวิตความเป็นอยุ่ที่ยากแค้น และต้องการหาชีวิตที่ดีกว่า กลุ่มนี้เดินทางข้ามพรมแดนพม่าเข้าสู่บังกลาเทศ เพื่อพบกับตัแทน หรือเครื่องข่ายอาชญากรรมข้ามชาติที่เมืองด๊อกซ์บาซาร์หรือจิตตะกอง แล้วจึงลงเรือมุ่งหน้าสู่ประเทศไทย เพื่อขึ้นฝั่งที่จังหวัดระนอง หรือพังงา โดยมีนายหน้ารอรับขึ้นฝั่งประเทศไทย มีจุดมุ่งหมายปลายทางมุ่งหน้าสู่มาเลเซียเป็นหลัก สำหรับขบวนการนี้มีการจัดการอย่างเป็นระบบโดยมีนายหน้าชาวพม่าโรฮิงจาที่อยุ่ประเทศไทยเป็นผุ้ติดต่อประสานงานกับนายหน้าชาวไทย และเจ้าหน้าที่รัฐเพื่ออำเนินการต่อไป
           รัฐบาลพม่าภายใต้การปกครองของนายอูนุ มีความขัดแย้งกันในแนวความคิดทางการเมือง นายอูนุถูกกดดันจาฝ่ายทหารพม่า จำเป็นต้องจัดให้มีการเลือกตั้ง รัฐบาบของนายอูนุออกกฎหมาย เพื่อเอาใจชนกลุ่มน้อย และชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชนเชื้อสายจีนและอินเดียเพื่อให้สิทธิเป็นพลเมืองพม่าได้ นายอุนุเดินทางไปรัฐอารกัน และรับปากกับชาวอารกันมุสลิมว่าจะให้พื้นที่แก่ชาวมุสลิมจัดตั้งเขตปกครองตนเองในรัฐอารกันขึ้นตรงกับกรุงย่างกุ้ง ให้มีารยการวิทยุโรฮิงจากระจายเสียงเป้นภาษาเบงกาลีและเรียกชาวมุสลิมในอารกันว่า "โรฮิงยา"เป็นครั้งแรก อย่างไรก็ตาม นายอูนุไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ไว้ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง พร้อมทังยกเลิกรายการวิทยุโรฮิงยา และประกาศว่าประเทศพม่าเป็นประเทศพุทธศาสนา
          รัฐบาล นายพล เน วิน ยึดอำนาจพม่าและตั้งรัฐบาลสังคมนิยมพม่า ใช้ระบบสังคมนิยมปกครองประเทศ ยุบพรรคการเมืองต่างๆ สังหารและจับกุมผุ้นำฝ่ายค้าน และผุ้ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ยกเลิกพันธกรณีต่างๆ สมัยนายอูนุเคยสัญญาไว้ ตลอดจนส่งกำลังโจมตี กองกำลังคอมมิวนิสต์ และกองกำลังโรฮิงยา นายพล เน วิน ขับไล่ชาวจีน ชาวอินเดียและชาวบังคลาเทศ ซึงส่วนใหญ่เป็นักธุรกิจระดับประเทศ/ระดับท้องถิ่นกลับประเทศ โรฮิงจาถูกขับไล่ไปอยู่มี่เมืองด๊อกซ์บาซาร์ของบังคลาเทศซึ่งอยู่ชายแดนติดกับรัฐอารกันของพม่า บังคลาเทศแยกตัวจากปกรีสถานเป็นประเทศใหม่สงผลให้ชาวเบกาลีอพยพเข้ามาในรัฐอารกันเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากในห้วงเวลาดังกล่าวเศรษฐกิจพม่ากำลังรุ่งเรือง พล.อ.เน วิน มีโครงการสำรวจสำมะโนประชากร ออกกฎหมายให้คนจีนและอินเดียที่อยู่ในประเทศพม่าเกินกว่า 10 ปี ได้รับสัญชาติพม่า แต่ไม่รวมชาวโรฮิงยาในรัฐอารกันต่อมา รัฐบาลทหารพม่าออกกฎหมายขับไล่คนที่ไม่มีสัญชาติ รวมทั้งชาวโรฮิงยาออกนอกประเทศ ซึ่งมีชาวมุสลิมโรฮิงจาถูกผลักดันออกนอกประเทศกว่างสองแสนคนแต่บังคลาเทศไม่ยอมรับคนเหล่านี้
           รัฐบาลทหารพม่าและบังคลาเทศร่วมกันแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยา โดยเปิดค่ายผุ้อพยพบริเวณชายแดนพม่า-บังคลาเทศ มีชาวโรฮิงยาเดินทางมาอยู่ในค่ายผุ้พยพกว่าสามแสนคน เนื่องจากชาวเบงกาลีที่เป็นชนพื้นเมืองส่วนใหญ่ไม่ต้องการอยู่ในบังกลาเทศ รัฐบาลทหารพม่าได้ออกมาตรการพิสูจน์สัญชาติผุ้อพยพ หากพบว่ามีบิดามารในรัฐอารกันจะให้สัญชาติพม่า กระทั่งปี 2525 รัฐบาลทหารพม่าประกาศยกเลิกค่ายผุ้อพยพชาวโรฮิงยาทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2548 รัฐบาลบังคลาเทศระบุว่ามีผุ้อพยพชาวโรฮิงยาในบังคลาเทศ จำนวน 20,000 คน แต่ในความเป้นจริงมีชาวโรฮิงยาถือสัญชาติบังกลาเทศในบังคลาเทศกว่า 200,000 คน ทั้งนี้ องค์การสหประชาชาติ โดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ได้เข้าไปจัดตั้งสำนักงานและค่ายผุ้อพยพอยู่ทีเมืองค๊อกซ์บาซาร์ของบังคลาเทศและได้จัตั้งศูนย์อพยพบริเวณชายแดนบังคลาเทศ-พม่า อีก 3 แห่ง
            จากสภาพการกดขี่และบับบังคับมุสลิมโรฮิงยาตลอดจนการปล่อยข่าวเกี่ยวกับช่องทางในการทำงานและสภาพการดำรงชีวิตที่ดีกว่าในศูนย์ดพยพที่เมืองค๊อกซ์บาซาร์ของรัฐบาลบังคลาเทศ ส่งผลให้มุสลิมโรฮิงยาเริ่มอพยพหลบหนีออกจากศูนย์อพยพที่บังกลาเทศ และ จังหวัดมองดอ มาขึ้นฝั่งไทยที่จังหวัดระนอง ครั้งแรกในปี 2541 จำนวน 104 คน และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
            พ.ศ. 2552 ชาวโรฮิงจากว่า 2,000,000 กระจายอยู่ในประเทศต่างๆ สามารถรวมตัวจัดตั้งเป็นกลุ่มหรือองค์กร เช่น กลุ่มสมาคมชาวพม่าโรฮิงจาในไทย (Burma Rohingya Association in Thailand - BRAT) กลุ่มองค์กรชาวพม่าโรฮิงยาในอังกฤษ(Burma Rohingya Organization in UK - BROUK) กลุ่มสมาคมชาวพม่าโรฮิงจาในญี่ปุ่น (Burma Rohingya Association in Japan – BRAJ) และกลุ่ม Arakan Rohingya National Organization - ARNO) ฯลฯ โดยกลุ่มชาวโรฮิงจาเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเรียกร้องสิทธิมนุษยชน การเรียกร้องสิทธิในการเป็นราษฎรในรัฐอารกันของพม่ และดูแลช่วยเหลือชาวพม่าโรฮิงยามที่อยู่ในต่างแดน รวมทั้งสนับสนุนด้านการเงินแก่กองกำลังติดอาวุธชาวมุสลิมโรฮิงยาที่เคลื่อนไหวบริณชายแดนพม่า-บังคลาเทศ
            รัฐบาลทหารพม่ามีความชิงชังต่อโรฮิงยาที่เป็นทหารรับจ้างของอังกฤษต่อสู้กับพม่าจนตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เมื่อรัฐบาลพม่าได้รับอิสรภาพ จึงได้ดำเนินการกวาดล้างชนกลุ่มน้อยต่างๆ ในประเทศอย่างหนัก จากความสำคัญของปัญหา พอสรุปเป็นประเด็นๆ ดังนี้
           - มุสลิมโรฮิงจาเป็นกลุ่มชนที่ถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และถูกกดขี่มากที่สุดกลุ่มหนึ่ง
           - รัฐบาลพม่าไม่ยอมรับชาวโรฮิงจาเป็นประชาชนชาวพม่า โดยให้เหตุผลทางด้านศาสนาและชขาวโรฮิงจาส่วนใหญ่ไม่ยอมใช้ภาษาพม่าในการสื่อสาร
           - รัฐบาลทหารพม่าออกกฎหมายว่าด้วยความเป็นพลเมืองของพม่าปี พ.ศ. 2525 ซึ่งกำหนดว่าหากกลุ่มใดมีความเกี่ยวข้องกัีบขบวนการชนกลุ่มน้อยจะถูกตัดขาดจากการเป็นพลเมืองและต้องหลบหนีอพยพออกนอกประเทศ
          - พม่าและบังคลาเทศมีข้อพิพาทในการสร้างท่อก๊าซในรัฐอารกัน โดยบังคลาเทศคิดว่าการสร้างท่อก๊าซดังกล่าวเป็นการบีบให้ชาวโรฮิงจาไม่มีที่อยู่อาศัยและต้องอพยพเข้าไปในประเทศบังคลาเทศ
          - การปล่อยข่าวในค่ายอพยพเพื่อให้เกิดการอพยพสู่ประเทศที่ 3
          รัฐบาลพม่าที่มาจากการเลือกตั้ง 19 ธันวาคม 2559 มาเลเซีย กล่าวว่า ชะตากรรมของชาวมุสลิมโรฮิงญาในพม่าเป้นความวิตกกังวลในระดับภูมิภาค และเรียกร้องให้สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ประสานความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และสืบสวนข้อกล่าวหาการทำคความรุนแรงต่อชาวโรฮิงจา
          นายอานิฟาห์ อามัน รัฐมนตรต่างประเทศมาเลเซีย กล่าวในที่ประชุมกลุ่ม 10 ชาติสมาชิกในนครย่่างกุ้ง ตามคำเชิญของนางอองซาน ซูจี หลังมีรายงานเกี่ยวกับว่า กองทัพได้สังหาร ขช่มขืน และจับกุมพลเรือนโรฮิงญาหลายสัปดาห์ แต่พม่าปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านี้ โดยระบุว่ารายงานไม่เป็นความจริง และยืนยันว่าปัญหารัฐยะไข่เป็นเรื่องภายใน และเพื่อที่ขจึดแรงกดดันทางการทูตต่อวิกฤตโรฮิงญา รัฐบาลพม่าได้เชิญคณะสื่อมวลชนที่ผ่านการคัดเลือกลงพ้นที่ที่ไดัรับผลกระทบ
            นายอานิฟาห์ อามัน กล่าวว่า เหตุการณ์ในรัฐยะไข่เป็นเราื่องความปลอดภัย และความมั่นคงของภูมิภาค ชี้ว่ามีชาวโรฮิงญาราว 56,000 คน อาศัยอยู่ในมาเลเซียตอนนี้
             "เราเชื่อว่าสถาการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นความวิตกกังวลของภูมิภาคในตอนนี และควรที่จะได้รับการแก้ไขร่วมกัน" อานิฟาห์ กล่าวต่อที่ประชุม และเสริมว่าความคืบหน้าในการปรับปรุงสิทธิมนุษยชนของโรฮิงญาค่อนข้างช้า เนื่องจากยังเต็มไปด้วยรายงานเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิที่เกิดในรัฐยะไข่ และยังเตือนว่า กลุ่มก่อการร้ายรัฐอิสลามอาจใช้ประโยชน์จากสถานการณ์นี้


             ด้านรัฐมนตรีต่างประเทศของไทย กล่าวว่า ทุกคนรู้สึกยินดีต่อการประชุมในวันนี ที่อธิบายว่าเป็นการบรรยายสรุปของพม่าต่อสถานการณ์ในรัฐยะไข่ ส่วนรัฐมนีต่างประเทศอินโดนีเซีย กล่าวว่า พม่าตกลงที่จะให้ข้อมูลเป็นประจำต่อสมาชิกอาเซียน และได้ให้คำมั่นว่าจะเปิดการการเข้าถึงสำหรับการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
             ด้านรัฐบาลพม่า ระบุว่า ผู้ก่อความไม่สงบที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีด่านชายแดนใกล้ชายแดนบังคลาเทศ ทางเหนือของรัฐยะไข่ มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มหัวรุนแรงในต่างประเทศ
               กองกำลังทหารพม่าได้ระดมกำลังลงพื้นที่ที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมนับตั้งแต่เกิดการโจมตีที่ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต 9 นาย ตั้งแต่วันที่ 9 เดือนตุลาคม เป็นต้นมา มีผุ้เสียีวิตอย่างน้อย 86 คน และชาวโรฮิงญาราว 27,000 คน ได้หลบหนีเข้าไปในบังคลาเทศ ซึ่งบรรดาผุ้ลี้ภัย ประชาชน และกลุ่มสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า ทหารพม่ากระทำการสังหาร ข่มขืนผู้หญิงโรฮิงญา และเผ่าบ้านเรือน
            ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ทางเหนือของรัฐยะไข่ เป็นชาวมุสลิมโรฮิงจาที่ถูกปฏิเสธสิทธิความเป็นพลเมืองในพม่า และถูกพิจารณาว่าเป็นผุ้อพยพผิดกฎหมายจากบังคลาเทศ ผุ้สังเกตการณ์และองค์กรสื่ออิสระไม่ได้รับอนุญาติให้เข้าไปในพื้นที่ปิดล้อม ที่ชุมชนชาวโรฮิงญาบางส่วนถูกตัดขาดจาหน่วยงานความช่วยเหลือ ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงเป็นเวลามากกว่า 2 เดือน ซึ่งเพิ่มความวิตกเกี่ยวกับสวัสดิการของประชาชนที่ประสบต่อภาวะขาดสารอาหารที่มีอัตราสูงมาก
             กลุ่มผู้สื่อข่าวที่ได้รับเลือกโดยกระทรวงข้อมูลข่าวสารจะเป็นตัวแทนสือในประเทศและต่างประเทศ มีกำหนดเดนทางไปเยือนเมืองหม่องตอพื้นที่หลักของความขัดแย้ง แต่เจ้าหน้าที่ไม่ได้เชิญสื่อที่รายงานข่าวเกี่ยกับข้อกล่าวหาการละเมิด ซึ่งรวมทั้งรอยเตอร์ 
                  ความพยายามที่จะโต้แย้งข้อกล่าวหาของการละเมิดสิทธิมนุษยชนของกองทัพต้องล้มเหลวไปจาการเผยแพร่รายงานโดยองค์การนิรโทษกรรมสากล ที่กล่าวหาว่า การรณรงค์ความรุนแรงของพม่าต่อชาวโรฮิงญาอาจเปรียบได้กับการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ขณะที่กลุ่มสิทธิมนุษยชนยังอ้างภาพถ่ายดาวเทียม และคำให้การของชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่และบังกลาเทศ ท่ามกลางการละเมิดสิทธิชนต่างๆ ยังกล่าวหาว่า มีการอุ้มหายผุ้สูงอายุและแกนนำศาสนาในเมืองหม่องตอ
                  "ขณะที่ทหารเป็นผุ้รับผิดชอบโดยตรงต่อการละเมิด อองซานซูจี ก็ล้มเหลวที่จะดำเนินการด้วยความรับผิดชอบทั้งทางศีลธรรม และทางการเมืองในความพยายามที่จะหยุดยั้ง และประณามส่ิงที่ปรากฎออกมาให้เห็นในรัฐยะไข่" ผุ้อำนวยการองค์การนิรโทษกรรมสากล ประจำภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก ระบุในคำแถลงฉบับหนึ่ง.(http//www.manager.co.th หน้าแรกผู้จัดการ Online, มาเลเซียร้องอาเซียนประสานความช่วยเหลือแก่ชาวโรฮิงจาในพม่า)
               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...