สมาคมอาสา Association of Southeast Asia, ASA สมาคมนี้ไม่ปรากฎชื่อเนื่องจากเป็นเพียงแผนการที่เสนอกันระหว่างประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 กรกฎาคึม 1961 ประเทศสมาชิกได้แก่ ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และมลายู ดำเนินการโดยอาศัยวิธีการที่เรียกว่า "ปฏิญญา กรุงเทพฯ" ในขณะที่ ASA เริ่มดำนินการก็เกิดความขัดแย้งระหว่างฟิลิปินส์กับมาเลเซียในเรื่องสิทธิการครอบครองเหนือดินแดนรัฐซาบาห์ สืบเนื่องจากมลายูได้จัดต้งสหพันธ์มาเลเซ๊ยขึ้น ดดยรวมสิงคโปร์และดินแดนบริเวณบอร์เนียวเหนือ ซึ่งประกอบไปด้วย ซาบาห์ ซาราวัค และบรูไน แต่ฟิลิปินส์ไม่ยอมรับสหพันธ์มาเลเซียน อันเกิดจากความไม่พอใจที่มาเลเซียรวม ซาบาห์ ซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของฟิลิปินน์ อินโดนะเซีย ก็ไม่พอใจและขัดขวางในการรวมหมู่เกาะบอร์เนียนเหนือ เพราะอินโดนิเซียก็ปรารถนาจะรวมดินแดนแถบนี้เข้าด้วยกัน เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นสมาคมอาสาจึงหยุดดำเนินการไปชั่วคราว หลังจากมีข้อยุติสมาคมอาสาจึงเริ่มดำเนินการต่อไป ซึ่งยังไม่ทันดำเนินการใดๆ ได้มีการก่อตั้งสมาคมอาเซียนขึ้น จึงมีความเห็นว่าควรในสมาคมลดกิจกรรมและรวมเข้ากับอาเซียนในที่สุด
แม้ว่าชาติต่างๆ ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีความรู้สึกในทำนอกโต้แย้งการรวมกลุ่มใดๆ ที่จะเกิดขึ้น แต่โดยเหตุปัจจัยภายนอก มีส่วนช่วยให้ผุ้นำชาติต่างในภูมิภาคได้ระลึกถึงความจำเป็นที่ต้องอยู่ร่วมกับประเทศเพื่อบย้านอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น กล่าวคือ
นับแต่ปี 1960 จีนคอมมิวนิสต์ประกาศย้ำให้โค่นล้มรัฐบาลไทยและมาเลเซีย ซึ่งปรากฎเด่นชัดในกรณีพยายามทำรัฐประหารในอินโดนีเซีย โดยฝ่ายคอมมิวนิสในอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าจีนให้การสนับสนุนอยู่ จึงทำให้เกิดความสงสัยในเจตนาและท่าทีของคอมมิวนิสต์และหวาดระแวงภัยจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ เป็นความวิตกในความมั่นคงปลอดภัยในแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่"แอบซ่อน"และฝังลึกอยู่ในใจของผู้นำชาติต่างๆในภูมิภาคนี้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นในคำประกาศปฏิญญาของสมาคมอาเซียนฉบับแรก
นอกจาปัญหาการรุกรานโดยตรงจากภายนอกประเทศแล้ว ประเทศในภูมิภาคนี้ยังมีปัญหาภายในของแต่ละชาติซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันเกี่ยวกับสภาพที่อ่อนแอของสังคมและเศรษฐกิจซึ่งเห็นได้จากคำกล่าวของ นายนาร์ซิสโซ รามอส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ ในปี 1967 ว่า "สภาพเศรษฐกิจที่ขาดการปสมปสานกันในระหว่างประชาชาติในเอเซียตะวีันออกเฉียงใต้โดยแต่ละประเทศวางเป้าหมายอนจำกัดของตนไว้ในลัษณะที่ทุ่มเททรัพยากรเท่าที่ตนมีอยู่ เข้าแก่งแย่งแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยวิธีการเช่นนั้นก็จะยิ่งเพื่อความอ่อนแอให้แก่ขีดความสามารถในการขยายตัวทางเศรษฐกิจและนำตนให้ต้องพึงพิงชาติที่ก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมอยู่ตลอดไป"
ปัจจัยภายในของแต่ละประเทศซึ่งมีส่วนชักจูงและเอื้อำนวยให้แต่ละประเทศได้ทบทวยสัมพันธ์ธภาพกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคดังนี้
อินโดนีเซีย หลังจากรัฐประหารที่ล้มเหลวในปี 1965 นับว่ามีผลต่อการเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศของอินโดนีเซียเป็นอย่างยิ่ง อินโดนีเซียหับกลับมาให้ความสนใจต่อความร่ยวมมือส่วนภูมิภาค โดยละทิ้งนโยบาย "เผชิญหน้า" ที่ปฏิบติมาแต่ก่อน ใช้นโยบายเป็นมิตรกบเพื่อนบ้าน อินโดนีเซียพยายามแสดงออกด้วยความกระตือรือร้นที่จะเป็นผู้นำกลุ่มประเทศในเอเซียยตะวันออกเฉียงใต้เพราะถือว่าฐานะของจำนวนประชากรและความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ นับว่าเกื้อกูลอยู่แล้ว การวางตัวและการทำหน้าที่ฐานะผู้ไกล่เกลี่ยของรัฐมนตรีต่างประเทศของไทย ถนัด คอมันต์ ได้ผลอย่างดีเยี่ยม มีการจัดการเจรจากันระหว่างอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซียในกรุงเทพฯ มิถุนา 1966 ทั้งสามประเทศเห็นความประโยชน์จากความร่วมมือในส่วนภูมิภาค
สิงคโปร์ เพิ่งได้รับเอกราชโดยแยกตวจามมาเลเซีย เมือ 9 สิงหาคม 1965 ในฐานะรัฐใหม่ มีความประสงค์จะเข้าร่วมในสมาคมอาเซียนด้วยความจำเป็นทางการทูตย่ิงกว่าความเชื่อมั่นในผลประโยชน์ สมาคมอาเซียนที่จะก่อรูปขึ้นจะช่วยให้สิงคโปร์ซึ่เงป็นประเทศเกิดใหม่มีบทบาทสำคัญ และมีภาพพจน์ที่ดีในสายตาของประเทศต่างๆ ซึ่งจะช่วยลบคำกล่าวที่ว่าเป็นรัฐชาวจีน หรือ จีนที่สามในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ฟิลิปปินส์ นอกจากจะมีนโยบายสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ยังมีท่าทีสนับสนุนหลักการสมาคม ในฐานะที่หลักการของสมาคม อาเซียน มีลักษณะเป็นกลาง ผู้นำฟิลิปปินส์ขณะนั้นเห็นว่าการเข้าร่วมกับองค์การส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะกับกลุ่มที่เป็นปฏิปักษ์ กับคอมมิวสิสต์ย่อมจะทำให้เอกลักษณ์ของฟิลิปปินส์ดีขึ้นในสายตาของรปะเทศเพื่อบ้านขณะเดียวกันก็จะทำความพอใจให้แก่พวกชาตินิยมมากกว่าที่จะนำไปผูกับมหาอำนาจเพียงอย่างเดี่ยว
ประเทศไทย ในขณะนั้น ประเทศต่างๆในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ตกเป็นอาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตกทั้งสิ้น ไทยลอดพ้นสถานะการนี้เนื่องจากการที่รู้จักปรับตัวตามนโบาย "ลู่ลม" และหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยก็รอดพ้นจากการถูกปรับให้อยู่ในฐานะประเทศแพ้สงคราม ในฐานะที่ได้เคยประกาศสงครามกับพันธมิตร โดยความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่นั้นมาความสัมพันธ์ของไทยกับสหรัฐก็มีความใกล้ชิดกัน และด้วยสาเหตุที่ไทยหวาดระแวงภัยจากจีนคอมมิวนิสต์เป็นสำคัญ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้นโยบายต่อมาของไทยมีลักษณะพึงพิงสหรัฐมาโดยตลอด นับแต่ ปี 1960-1967
ผู้นำไทยตระหนักดีว่า โดยฐานะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศ ซึ่งเสมือนอยู่ใจกลางดินแดนของผืนแผ่นดินของเอเซียตะวันออกเฉียงไต้ ล้อมรอบด้วยประเทศที่เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองแบบอาณานิคม แม้จะได้รับเอกราชแล้ว แต่บางประเทศ ก็ต้องเผชิญกับภัยคุกคามของประเทศกลุ่ม
คอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง ประเทศไทยซึ่งดำเนินนโยบายในการต่อสู้ขัดขวางจีนคอมมิวนิสต์มาโดยตลอด ตั้งแต่สงครามเกาหลี กระทั้งสงครามเวียดนาม ลาว และเขมร อันเป็นประเทศที่อยู่ประชิดตอิกับพรมแดนไทยเอง ทำให้ประเทศไทยตระหนักดีถึงความไม่ปลอดภัยจากสถานกาณ์ในประเทศอินโดจีน
แม้ว่าไทยยังผูกพันกับสหรัฐอเมริการอย่างแน่นแฟ้น ประเทศไทยกลับต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากการก่อการร้ายภายในประเทศ โดยการสนับสนุนของจีนคอมมิวนิสต์ซึ่งทำให้ประเทศไทยจำต้องได้คำมั่นจากพันธมิตรของไทย ในพันธกรณีของสนธิสัญญาป้องกันเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา แต่เมื่อพิจารณาอย่างถ่องแท้แล้ว ข้อตกลงยังไม่ชัดเจน เหมือนอย่างสัญญานาโต้เนื่องจากในกรณีที่เกิดความจำเป็นที่ต้องใช้กำลัง ประเทศสมาชิกจะต้องดำเนินการผ่านกระบวนการทางรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศก่อน แต่สำหรับกลุ่มนาโต้นั้จะประชุมแก้ปัญหาในทันที รวมทั้งกำหนดไว้ชัดว่า การโจมตีประเทศหนึ่งง ถือเป็นการโจมตีประเทศสมาชิก
ด้วยความรู้สึกไม่ปลอดภัยของประเทศไทยทั้งจากปัจจัยภายอกอันเนื่องจากสถานการณ์ที่ไม่มั่นคงของกลุ่มประเทศอินโดนีเซีย และความหวามระแวงต่อการรุกรานโดยตรงจาจีนคอมมิวนิสต์ รวมทั้งความไม่มั่นใจต่อการปฏิบัติตามพันธกรณีของมิตรประเทศ ประกอบกับปัจจัยภายในอันเนื่องมาจากภัยก่อการร้าย ทำให้ประเทศไทยจำต้องแสวงหาหนทาง สำหรับอนาคตเอง ไม่เพียงหวังการช่วยเหลือจากชาติมหาอำนาจฝ่ายเดียว ทางเลือกที่เหมาะสมกับสถานการณ์ขณะนั้น คือการแสวงหาความร่วมมือในส่วนภูมิภาค ดังนั้น ประเทศไทยจึงเป็นประเทศที่มีบทบาทอย่างสำคัญในการจัดตั้งสมาคมอาเซียน
สมาคมประชาชาติเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือสมาคมอาเซียน Association of Southeast Asian
Nation, ASEAN ถือกำเนินขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1967 โดยประเทศอินโดนีเซีย สหพันธ์มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย ได้ร่วมกันออกปฏิญญาอาเซียน แถลงเจตจำนงที่จะสร้างสันติภาพเสถียรภาพ ความเจริญรุ่งเรือง และสวัสดิภาพ ความมั่นคงในทางเศรษบกิ สังคมท สัฒนธรรมของประเทศสมาชิก ต่อมาในปี 1984 บรูไน เข้าเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามในปี 1995 และลาวกับพม่าในปี 1997 และกัมพูชาเข้าร่วมเป็นสมาชิกในลำดับที่ 10 ในปี 1999 ทำให้ปัจจุบันอาเซีนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500 ล้านคน
ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 ในปี 2003 ผุ้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน ASEAN Community ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ
1. ประชาคมเศรษบกิจอาเซียน Asean Economic Community : AEC
2. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน Socio-Cultural Pillar
3. ประชาคมความมั่นคงอาเซียน Political and Security Pillar
"One Vision, One Identity, One Community." หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม เป็นคำขวัญของอาเซียน เดิมกำหนดเป้าหมายที่จะตั้งขึ้นในปี 2020 แต่เลือนกำหนดให้เร็วขึ้น เป็นปี 2015 และก้าวสำคัญต่อมาคือการจัดทำปฏิญญาอาเซียนซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่ปี2009 นับเป็นการยกระดับความร่วมมือของอาเซียนเข้าสู่มิติใหม่ในการสร้างประชาคม โยมีพื้นฐานที่แข็.แกร่งทางกฎหมายและมีองค์กรรองรับการดำเนินการเข้าสู้เป้าหมายดังกล่าว
บทสรุป การรวมกลุ่มอาเซียนมีวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่ปี 1961ด้วยเหตุและสถานะการณ์ต่างๆ การรวมกลุ่มจึงมีลำดับค่อยเป็นค่อยไปตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมีชาติร่วมก่อตั้ง 5 ประเทศกระทั่งปัจจุบัน ชาติในอาเซียนทั้งหมดทั้งหมด 10 ประเทศ ในปี 2017 ซึ่งเปิดเขตการค้าเสรี ได้สร้างแรงกระตุ้นและเกิดการตื่นตัวในการร่วมกลุ่มกัน อย่างไรก็ดีการรวมกลุ่มเพื่อความมั่นคงของภูมิภาค และความเจริญทางเศรษฐกิจจึงเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่จะนำไปสู่การกำหนดนโยบายในระดับภูมิภาคร่วมกันในภายหน้า
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น