กำหนดให้แบ่งเวียดนามเป็นเหนือ-ใต้ ชั่วคราวเป็นเวลา 2 ปี แต่ก็ไม่สามารถรวมกันได้ โดยผุ้นำเวียดนามใต้อ้างว่าไม่ได้ลงนามในสนธิสัญญานั้น เวียดนามใต้เกรงกลัวว่าหากปล่อยให้มีการเลือกตั้งเพื่อรวมปรเทศในครั้งนั้นฝ่ายใต้จะเป็นฝ่ายแพ้เนื้องจากความนิยมชองชาวเวียดนามที่ีมีต่อโอจิมินห์ ซึ่งเป็นผู้นำเวียดนามตอนเหนือ (ความแตกแยกเหนือ-ใต้ ของเวียดนามมีมาตั้งแต่โบราณจากความแตกต่างทางภฺมิศาสตร์ แนวคิด อุดมการณ รวมทั้งคุณลักษณะของประชากร) ทำให้เวียดนามตกอยู่ในสภาวะสงครามภายใน ซึ่งต่อมากลายเป็นสงครามตัวแทนของฝ่ายคอมมิวนิสต์และฝ่ายโลกเสรีในยุคสงครามเย็น กระทั่งปี พ.ศ. 2518 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของเวียดนามเหนือและเวียดกง ต่อเวียดนามใต้และพันธมิตร ในปีต่อมาเวียดนามก็สามารถรวมประเทศได้อีกครั้งภายใต้ระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
จากชัยชนะครั้งนั้น ประกอบกับการหนุนหลังของสหภาพโซเวียตและประเทศในยุโรปตะวันออกในการขยายอิทะิพลอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ รวมทั้งแนวคิดของอดีตผู้นำเวียดนามคือ โฮจิมินห์ ที่เรียกว่าพินัยกรรม ฉบับ พ.ศ.2512 และสรรนิพนธ์โฮจิมินห ซึ่งพิจารณาว่าลาวและกัมพูชาเป็นดินแดอยู่ในอาณัติของเวียดนามด้วย ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้เป็นผลให้เวียดนามกำหนดนโยบายต่างประเทศเป็นมิตรกับประเทศในกลุ่มคอมมิวนิสต์และเป็นศัตรูกับประเทศโลกเสรีทั้งยังส่งทหารเข้ารุกรามกัมพูชา และยึดพนมเปญได้ใน ผลจากการดำเนินนโยบายต่างประเทศ และการกระทำของเวียดนามในครั้งนั้นได้กระทบต่อสภาพแวดล้อมในภูมิภาคอย่างใหญ่หลวง ประเทศโลกเสรีทั้งหบลาย รวมทั้งอาเซียนต่างก็วิตกถึงภัยคุกคามจาการแพร่ขยายของคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประทเศไทยฐานะประเทศด่านหน้า ทำให้ประเทศต่างๆ ในอาเซียนหันมากระชับความร่วมมือระหว่างกันมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาการยึดครองกัมพูชาของเวียดนาม ทั้งทางการเมืองระหว่างประเทศและการให้ความช่วยเลหือกองกำลังกัมพูชา 3 ฝ่ายอย่างลับๆ ในกาต่อสู้กับรัฐบาลหุ่น เฮง สัมริน ของเวียดนาม อาจกล่าวได้ว่า ผลจากสิ่งแวดล้อมในขณะนั้นได้กระทบต่อนโยบายของแต่ละประเทศในอาเซียนและนโยบายของอาเซียนโดยส่วนรวม
เมื่อสถานะการณ์เปลี่ยนไป อภิมหาอำนาจสหภาพโซเวียตประสบปัญหาเศรษบกิจภายในประเทศ มิคาเอง กอร์บาชอฟ เปลี่ยนนโยบายทั้งนโยบายภายในและต่างประเทศโดยนำนโยบายการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและการเปิดกว้างทางการเมืองมาใช้ และการดำเนินการของอาเชียนในเวทีการเมอืงโลก เพื่อผลักดันเวียดนามให้ออกจากกัมพูชา และปัญหาภายในเวียดนามเอง ส่งผลให้เวียดนามต้องถอนทหารออกจากกัมพูชาในปี พ.ศ. 2532 ซึ่งช่วยคลายความตึงเครียดในภูมิภาคเป็นอย่างมาก และเมื่อโลกสิ้นสุดยุคสงครามเย็นอันเนื่องมาจากการล้มสลายของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2534 เวียดนามเองก็ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้ จึงปรับท่าที่โดยใน พ.ศ. 2535 เวียดนามได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งเป็นฉบับที่ 4 สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ เลิกระบุชาติที่เป็นศัตรู เลิกระบุถึงพินัยกรรมโอจิมินห์ ทางด้านนโยบายต่างประเทศได้ปรับเปลี่ยนเป็นการสร้างความร่วมมือต่อทุกประเทศโดยไม่คำนึงถึงคามแตกต่างทางการเมือง นอกจากนี้ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจก็มีส่วนสำคัญ ที่ทำให้เวียดนามต้องทำการปฏิรูปทางเศรษฐกิจของตนเองโดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2529 จนถึงปัจจุบัน เวียดนามมีระบบเศรษฐกิจที่ยินยอมให้การตลอดเข้ามามีบทบาทสำคัญ ภายใต้ระบบการเมืองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (งานวิจัย "ทัศนะของทหารต่อการเข้าร่วมเป็นสมาขิกอาเซียนของเวียดนาม" บทที่ 2, น.17-19, 2538.)
ลักษณะการปกครอง เวียดนามเป็ฯประเทศสัีงคมนิยมที่ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ (พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเวียดนาม Communist of Vietnam-CPV ซึ่งเป็นสถาบันการเมืองที่มีอำนาจสูงสุด ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายในการปกครองประเทศโดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการร่างกฎหมายและปกครองทั่วไป ประธานาธิบดีทำหน้าที่ดูแลนโยบายของรัฐ การทหาร และการรักษาความสงบภายในประเทศและมีสถาบันที่สำคัญคือ รัฐบาล ซึ่งแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีและรับรองโดยสภาแห่งชาิต โดยมีวาระ 5 ปีเวียดนามแบ่งออกเป็น 59 จังหวัด และ 5 เขตเมือง หรือเรียกว่า นคร (Can Tho, Da Nang, Hai Phong, Ha Noi, Ho Chi Minh)
การเมืองของเวียดนามมีเสถียรภาพ เนื่องจากมีพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นองค์กรที่มีอำนาจ สูงสุดผูกขาดการชี้นำภายใต้ระบบผู้นำร่วม ที่คานอำนาจระหว่างกลุ่มผุ้นำ ได้แก่
- กลุ่มปฏิรูป ที่สนับสนุนการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ฟาน วัน
- กลุ่มอนุรักษ์นิยม ซึ่งต่อต้านหรือชะลอการเปิดประเทศ เพราะเกรงภัยของ "วิวัฒนาการที่สันติ" อันเนื่องมากจากการเปิดประเทศ
- กลุ่มที่เป็นกลาง ประนีประนอมระหว่างสองกลุ่มแรก นำโดยอดีตประธานาธิบดี เจิ่น ดึ๊ก เลือง ส่งผลให้รัฐบาลเวียดนามต้องปรับแนวทางการบริหารประเทศให้ยือหยุ่นและเปิดกว้างมากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถดำเนินไปได้ในย่างก้าวที่รวดเร็วนัก(http//www.61.47.41.107/..การเมืองการปกครองเวียดนาม)
โครงสร้างการปกครองเวียดนาม
ฝ่ายนิติบัญญัติ สภาแห่งชาติทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ มีสมาชิกรวม 493 คน มีอำนาจสูงสุดในการกำหนดนโยบายทั้งภายในและต่างประเทศ มีหน้าที่บัญญํติและแก้ไขกฎหมาย แต่งตั้งประธานาธิบดีตามที่พรรคคอมมิวนิสต์เสนอ ให้การรับรองหรือถอดถอนนายกรัฐมนตรีตามที่ประธานาธิบดีเสนอ รวมทั้งแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ อันเป็นระบบการบิหารแบบผู้นำร่วมสมาชิกสภาแห่งชาติมาจากเลือกตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต แต่กฎหมายเวียดนามก็อนุญาตให้ผู้ที่มิได้เป็นสมาชิกของพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งได้เช่นกันโดยต้องได้รับความเห็นชอบจากแนวร่วมปิตุภูมิแห่งชาติ อันเป็นองค์กรส่วนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์ ทำหน้าที่ดูแลรักษาอุดมการณ์สังคมนิยม
ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี รวมไปถึงตำแหน่งสำคัญในพรรคคอมมิวนิสต์ เช่น สมัชชาของพรรคคอมมิวนิสต์ มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี มีหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับการำนินงานขององค์กรริหารระดับสูง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นผุ้มีอำนาจสูงสุดของพรรค คณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์ ทำหน้าที่กำหนดนโยบายด้านการเสือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม กรมการเมือง เป็นองค์กรบริหารสูงสุด เป็นศูนย์กลางอำนาจในการกำหนดนโยบายและควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนด
สภาเเห่งชาติ ของเวียดนาม ปัจจุบันเป็นชุดที่ 12 ได้รับเลือกตั้งเมื่อเดือน พฤษภาคม 2550 ซึ่งในครั้งนี้มีการลงมติรับรองการปรับคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยปรับลดจำนวนกระทรวงและรัฐมนตรีเหลือเพียง 22 ตำแหน่ง จากเดิม 26 ตำแหน่ง โดยรวมและยกเลิกกระทรวงต่างๆ ที่มีลักษณะงานใหกล้เคียงหรือสามารถบริหารร่วมกันได้ อาทิเช่น กระทรวงการประมงรวมกับกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทกระทรวงการค้าเปลียนชื่อเป็นกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า คณะกรรมการพลศึกษาและการกีศา รวมกับองค์กรด้านการท่องเที่ยว เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงวัฒนธรรมท กีฆา และท่องเที่ยว กระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม รวมกับกระทรวงวัฒนธรรมและข่าวสาร เปลี่ยนเป็นกระทรวงข้อมูลแบะการสื่อสาร และยกเลิกคณะกรรมการด้านประชากร ครอบครัวและเด็ก เป็นต้น นโยบายดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาลที่ต้องการลดขั้นตอนและซ้ำซ้อนในการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารประเทศ
การปกครองท้องถิ่น แต่ละจังหวัดจะมีคณะกรรมการประชาชน ทำหน้าที่บริหารงานภายในท้องถ่ินให้เป็นไปตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ นโยบายและกฎระเบียบต่างๆ ที่บัญญัติโดยองค์กรของรัฐที่อยู่ในระดับสูงกว่า ระบบการบริาหรราชการท้องถิ่นของเวียดนามแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คอื ระดับจังหวัดและเทียบเท่า มี 59 จังหวัด กับอีก 5 นคร คือ ฮานอย โอจิมินห์ ไฮฟอง ดานัง และเกิ่นเธอ ซึ่งจะได้รับงบประมาณจากส่วนหลางโดยตรง รวมทั้งข้าราชการจะได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากส่วนกลาง จึงมีอำนาจในการตัดสินใจอย่างเต็มที่ ชวยให้เกิดความคล่องตัวในการบิรหารงาน สำหรับระดับเมืองและเทศบาลมีประมาณ 600 หน่วยและระดับตำบลมประมาณ 10,000 ตำบล (http//www.boi.go.th/.., โครงสร้างการปกครองของเวียดนาม)